580 likes | 758 Views
เครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร 1. อาจารย์โกศวัต รัตโนทยานนท์ สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. เนื้อหา. ความหมายของการสื่อสารข้อมูลและโทรคมนาคม แนวโน้มของการสื่อสารโทรคมนาคม ชนิดของสัญญาณและการแปลงสัญญาณ การรับ - ส่งข้อมูล ช่องทางการสื่อสาร
E N D
เครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร 1 อาจารย์โกศวัต รัตโนทยานนท์ สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
เนื้อหา • ความหมายของการสื่อสารข้อมูลและโทรคมนาคม • แนวโน้มของการสื่อสารโทรคมนาคม • ชนิดของสัญญาณและการแปลงสัญญาณ • การรับ - ส่งข้อมูล • ช่องทางการสื่อสาร • การเชื่อมต่อและการให้บริการสายสื่อสาร
ความหมายของการสื่อสารข้อมูลความหมายของการสื่อสารข้อมูล และโทรคมนาคม • การสื่อสารข้อมูล (Data Communication) การส่งหรือแลกเปลี่ยนข้อมูล และสารสนเทศ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยผ่านช่องทางการสื่อสาร แต่ข้อมูลที่ส่งถึงนั้นจะเป็นเพียงข้อมูลเท่านั้นไม่มีเสียงพูด • โทรคมนาคม (Telecommunication) การติดต่อสื่อสารระหว่างกันในระยะทางไกล ๆ โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารเหมือนกับการสื่อสารข้อมูล แต่สามารถส่งได้ทั้งข้อมูล และเสียงพูด
แนวโน้มของการสื่อสารโทรคมนาคมแนวโน้มของการสื่อสารโทรคมนาคม • แนวโน้มด้านอุตสาหกรรมการสื่อสาร • เปลี่ยนจากการควบคุมดูแลของรัฐบาลมาเป็นการแข่งขันระหว่างผู้ให้บริการหลายๆราย • การเติบโตอย่างรวดเร็วของอินเตอร์เน็ตและ wwwก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์และบริการทางด้านการสื่อสารโทรคมนาคม
แนวโน้มของการสื่อสารโทรคมนาคมแนวโน้มของการสื่อสารโทรคมนาคม • แนวโน้มด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร • การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตนำมาซึ่งการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น การพัฒนาแอปพลิเคชั่นบนเครือข่าย • มุ่งสู่การสร้างเครือข่าย Client / Server บนพื้นฐานของสถาปัตยกรรม ระบบเปิด
แนวโน้มของการสื่อสารโทรคมนาคมแนวโน้มของการสื่อสารโทรคมนาคม • แนวโน้มด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร (ต่อ) • การเปลี่ยนแปลงจากการสื่อสารแบบอนาลอกไปสู่เทคโนโลยีเครือข่ายดิจิตอล • การเปลี่ยนแปลงสื่อกลางในการส่งข้อมูลที่เป็นสายทองแดงและระบบไมโครเวฟ เป็นการใช้เคเบิลใยแก้วนำแสง เซลลูลาร์ ดาวเทียม และเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายแบบอื่นๆ
แนวโน้มของการสื่อสารโทรคมนาคมแนวโน้มของการสื่อสารโทรคมนาคม • แนวโน้มด้านแอปพลิเคชั่นธุรกิจ • เกิดแอปพลิเคชั่นที่เป็น E-commerce แอปพลิเคชั่นที่ทำให้สามารถทำงานร่วมกันตั้งแต่ 2 บริษัทขึ้นไป และแอปพลิเคชั่นสำหรับองค์กรเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน การจัดการ และการวางแผนกลยุทธ์
ชนิดของสัญญาณและการแปลงสัญญาณชนิดของสัญญาณและการแปลงสัญญาณ • ชนิดของสัญญาณ • แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ • สัญญาณอนาล็อก (Analog Signal)
ชนิดของสัญญาณและการแปลงสัญญาณ (ต่อ) • สัญญาณดิจิตอล (Digital Signal)
ชนิดของสัญญาณและการแปลงสัญญาณ (ต่อ) • สัญญาณอนาล็อก เมื่อระยะทางในการส่งข้อมูลเพิ่มขึ้น พลังงานของสัญญาณจะอ่อนลง • จึงต้องใช้เครื่องขยายสัญญาณ (Amplifier) แต่ว่าจะทำให้เกิดสัญญาณรบกวน (Noise)
ชนิดของสัญญาณและการแปลงสัญญาณ (ต่อ) • สัญญาณดิจิตอล เมื่อระยะทางการส่ง มากขึ้น ทำให้สัญญาณดิจิตอลจางหายไป • จึงต้องใช้เครื่องทวนสัญญาณ (Repeater) เพื่อกู้ข้อมูลคืนมา
ชนิดของสัญญาณและการแปลงสัญญาณ (ต่อ) • การแปลงสัญญาณ มอดูเลชัน (Modulation) • เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบสัญญาณจากสัญญาณดิจิตอลเป็นสัญญาณอนาล็อก โดยมีการเพิ่มพลังให้กับสัญญาณเนื่องจากต้องส่งไปเป็นระยะทางไกล • สามารถทำได้โดยการผสมสัญญาณของข้อมูลเข้ากับสัญญาณอีกสัญญาณหนึ่งเรียกว่า คลื่นพาห์ (Carrier Signal) ซึ่งเป็นสัญญาณที่มีขนาดและความถี่คงที่
ชนิดของสัญญาณและการแปลงสัญญาณ (ต่อ) • การแปลงสัญญาณ ดีมอดูเลชัน (ต่อ) • เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบสัญญาณจากสัญญาณ • อนาล็อกให้กลับมาเป็นสัญญาณดิจิตอลที่ผู้รับปลายทาง • สามารถทำได้โดยการแยกสัญญาณของคลื่นพาห์ออกและแปลงข้อมูลกลับไปเป็นสัญญาณดิจิตอลเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลได้
ชนิดของสัญญาณและการแปลงสัญญาณ (ต่อ) การแปลงสัญญาณ สัญญาณอนาลอก (Analog signal) สัญญาณดิจิตอล (Digital signal) สัญญาณดิจิตอล (Digital signal) โมเด็ม (Modem) โมเด็ม (Modem) สถานีงานการสื่อสาร (Communications workstation) คอมพิวเตอร์ (Computer)
การรับ - ส่งข้อมูล • รูปแบบการรับ - ส่งข้อมูล • รูปแบบการรับ – ส่งข้อมูลนั้นมีอยู่ 2 รูปแบบ ได้แก่ • การรับส่งข้อมูลแบบอนุกรม (Serial Transmission) • การรับส่งข้อมูลแบบขนาน (Parallel Transmission)
การรับ - ส่งข้อมูล • รูปแบบการรับ – ส่งข้อมูล (ต่อ) • การรับส่งข้อมูลแบบอนุกรม (Serial Transmission) • เป็นการรับส่งข้อมูลครั้งละ 1 บิต เรียงตามลำดับกันไปโดยใช้สายสื่อสารเพียงเส้นเดียว 1 0 0 1 0 1 1 Source Destination
การรับ - ส่งข้อมูล • รูปแบบการรับ – ส่งข้อมูล (ต่อ) • การรับส่งข้อมูลแบบอนุกรม (Serial Transmission) • เกิดปัญหาที่เครื่องฝั่งรับไม่สามารถแยกแยะได้ว่า ข้อมูลที่ส่งมานั้นเป็นข้อมูลอะไรเพราะไม่ทราบว่าข้อมูลที่รับเข้ามาเริ่มต้นและสิ้นสุดที่บิตใด • ดังนั้นจึงได้มีการแบ่งการรับส่งข้อมูลแบบอนุกรมเป็น 2 วิธี คือ Asynchronous Transmission และ Synchronous Transmission
การรับ - ส่งข้อมูล • รูปแบบการรับ – ส่งข้อมูล (ต่อ) • Asynchronous Transmission • มีการเพิ่มบิตควบคุม เพื่อใช้แบ่งข้อมูลออกมาเป็น 1 ตัวอักขระ (1 character) อันได้แก่ Start Bit , Stop Bit และ Parity Bit • ความเร็วในการรับส่งข้อมูลแบบนี้จะช้า เพราะต้องเพิ่มทั้ง 3 บิตลงไปยังตัวอักขระทุกตัว
การรับ - ส่งข้อมูล • รูปแบบการรับ – ส่งข้อมูล (ต่อ) • Synchronous Transmission • เป็นการรับส่งข้อมูลเป็นกลุ่มของอักขระจำนวนมาก เรียกว่า แพ็คเก็ต (Packet) และมีการเพิ่มไบต์ที่เป็น Header และ Trailer และเพิ่ม Parity Bit • การรับส่งข้อมูล ทั้ง 2 ฝั่งต้องทำงานสอดคล้องกันโดยใช้สัญญาณนาฬิกาที่มีความถี่เท่ากัน
การรับ - ส่งข้อมูล • รูปแบบการรับ – ส่งข้อมูล (ต่อ) • การรับส่งข้อมูลแบบขนาน (Parallel Transmission) • เป็นการรับส่งข้อมูลครั้งละหลายๆบิตพร้อมกัน โดยข้อมูล 1 บิต จะใช้สารสื่อสาร 1 เส้น • เสียค่าใช้จ่ายมากกว่าการรับส่งข้อมูลแบบอนุกรม และไม่สามารถส่งไปในระยะทางไกลๆได้
การรับ - ส่งข้อมูล • ทิศทางการรับ – ส่งข้อมูล • สามารถแบ่งทิศทางการรับ – ส่งข้อมูลได้เป็น 3 ทาง ได้แก่ • แบบทางเดียว (Simplex) • แบบทางใดทางหนึ่ง (Half-duplex) • แบบสองทาง (Full-duplex)
การรับ - ส่งข้อมูล การสื่อสารแบบทางเดียว (Simplex) • เป็นการสื่อสารที่ผู้ส่งส่งข้อมูลได้เพียงทางเดียวเท่านั้น ผู้รับไม่สามารถส่งข้อมูลตอบกลับมาได้ เรียกว่าเป็น “One Way Communication”
การรับ - ส่งข้อมูล การสื่อสารแบบทางใดทางหนึ่ง (Half-duplex) • เป็นการสื่อสารที่แต่ละฝ่ายสามารถรับ – ส่งข้อมูลกันได้ แต่ว่าไม่สามารถทำได้ในเวลาเดียวกัน
การรับ - ส่งข้อมูล การสื่อสารแบบสองทาง (Full-duplex) • เป็นการสื่อสารที่สามารถรับ – ส่งข้อมูลกันได้พร้อมกันทั้งสองทาง แม้ขณะที่เครื่องฝั่งส่งยังส่งข้อมูลอยู่ ฝั่งรับก็สามารถส่งข้อมูลได้เช่นกัน
การรับ - ส่งข้อมูล • อุปกรณ์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารโทรคมนาคม มัลติเพล็กเซอร์ (Multiplexer : Mux) • เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรวมสัญญาณหลายๆสัญญาณจากแหล่งข้อมูลหลายๆแหล่ง เพื่อให้สามารถเดินทางไปในช่องทางการสื่อสารเพียงช่องทางเดียวได้ • ที่ปลายทางจะมีดีมัลติเพล็กเซอร์ (Demultiplexer) ทำหน้าที่ในการแบ่งสัญญาณให้กลับไปเป็นหลายสัญญาณดังเดิม
การรับ - ส่งข้อมูล • อุปกรณ์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารโทรคมนาคม มัลติเพล็กเซอร์ (Multiplexer : Mux) • หลักการทำงานของมัลติเพล็กเซอร์ จะใช้เทคนิคที่เรียกว่า “มัลติเพล็กซิ่ง (Multiplexing)”
การรับ - ส่งข้อมูล • อุปกรณ์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารโทรคมนาคม มัลติเพล็กเซอร์ (Multiplexer : Mux) • วิธีการมัลติเพล็กซ์สัญญาณที่สำคัญมีอยู่ 2 วิธี ดังนี้ • การมัลติเพล็กแบบแบ่งตามความถี่ (Frequency Division Multiplexing : FDM) • การมัลติเพล็กแบ่งตามเวลา (Time Division Multiplexing : TDM)
การรับ - ส่งข้อมูล • อุปกรณ์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารโทรคมนาคม มัลติเพล็กเซอร์ (Multiplexer : Mux) • การมัลติเพล็กซ์แบ่งตามความถี่ (FDM) • เป็นการรวมเอาสัญญาณที่มีความถี่แตกต่างกันมาไว้ด้วยกัน แล้วส่งออกไปพร้อมๆกัน • นิยมใช้กันมากในด้านวิทยุและโทรทัศน์
การรับ - ส่งข้อมูล • อุปกรณ์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารโทรคมนาคม มัลติเพล็กเซอร์ (Multiplexer : Mux) • การมัลติเพล็กซ์แบ่งตามเวลา (TDM) • เป็นการแบ่งช่วงเวลาในการส่งสัญญาณออกเป็นช่วงเล็กๆ แล้วส่งข้อมูลจากแต่ละแหล่งไปในแต่ละช่วงเวลานั้น • วิธีนี้ใช้ได้กับสัญญาณดิจิตอลเท่านั้น
การรับ - ส่งข้อมูล • อุปกรณ์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารโทรคมนาคม มัลติเพล็กเซอร์ (Multiplexer : Mux) • การมัลติเพล็กซ์แบ่งตามเวลา (TDM)
การรับ - ส่งข้อมูล • อุปกรณ์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารโทรคมนาคม PBX (Private Branch Exchange) • เป็นชุมสายโทรศัพท์ย่อยขององค์กร หรือตู้สาขาโทรศัพท์ ที่สามารถเลือกเส้นทางต่อสัญญาณสายโทรศัพท์โดยอัตโนมัติ • PBX แบบดิจิตอลในปัจจุบันมีความสามารถในการรวมสัญญาณเสียงและข้อมูล เข้าด้วยกันและส่งไปพร้อมกันตามสายสัญญาณจากภายในอาคารสู่ภายนอกอาคารได้
ช่องทางการสื่อสาร หมายถึง สื่อกลางการส่งผ่านสารสนเทศระหว่างอุปกรณ์ 2 ชนิด ความเร็วในการสื่อสารข้อมูลขึ้นอยู่กับ ปัจจัยพื้นฐาน 2 ประการ ได้แก่ • ความกว้างของช่องสัญญาณ (Bandwidth) • ชนิดของข้อมูล ช่องทางการติดต่อสื่อสารแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด • ช่องทางการสื่อสารแบบมีสาย • ช่องทางการสื่อสารแบบไร้สาย
ช่องทางการสื่อสาร ช่องทางการสื่อสารแบบมีสาย สามารถแบ่งออกได้ดังนี้ • สายคู่บิดเกลียว (Twisted-pair Wire) • สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) • เคเบิลใยแก้วนำแสง (Fiber-optic Cable)
ช่องทางการสื่อสาร • ช่องทางการสื่อสารแบบมีสาย สายคู่บิดเกลียว (Twisted-pair Wire) • เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สายคู่บิดเกลียว เป็นสายโทรศัพท์ทั่วไป • ลักษณะเป็นสายทองแดง 2 เส้น ซึ่งแต่ละเส้นมีฉนวนหุ้ม แล้วนำมาพันเกลียวและเก็บอยู่ในเปลือกหุ้ม (Jacket) เดียวกัน
ช่องทางการสื่อสาร • ช่องทางการสื่อสารแบบมีสาย สายคู่บิดเกลียว (ต่อ) • การบิดเกลียวช่วยลดสัญญาณรบกวน (Noise) ได้ • ในระบบเครือข่ายที่มีการรับส่งข้อมูลมากๆ ไม่นิยมใช้สายโทรศัพท์ แต่จะใช้สายคู่บิดเกลียวที่มีทองแดง 8 เส้น ซึ่งแบ่งได้ 2 ชนิดคือ • สายคู่บิดเกลียวมีชิลด์ (Shielded Twisted Pair) • สายคู่บิดเกลียวไม่มีชิลด์ (Unshielded Twisted Pair)
ช่องทางการสื่อสาร • ช่องทางการสื่อสารแบบมีสาย สายคู่บิดเกลียวมีชิลด์ (Shielded Twisted Pair : STP) • เป็นสายที่มีการป้องกันสัญญาณรบกวนโดยใช้ฉนวนพิเศษพันอยู่โดยรอบ • มีระยะทางในการส่ง 600 – 800 เมตร
ช่องทางการสื่อสาร • ช่องทางการสื่อสารแบบมีสาย สายคู่บิดเกลียวไม่มีชิลด์ (Unshielded Twisted Pair : UTP) • เป็นสายที่ไม่มีการป้องกันสัญญาณรบกวนเป็นพิเศษ • มีระยะทางในการส่ง 400 – 600 เมตร • เป็นสายมาตรฐานที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน
ช่องทางการสื่อสาร • ช่องทางการสื่อสารแบบมีสาย สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) • เป็นสายเคเบิลทีวีที่ใช้อยู่ตามบ้านโดยทั่วไปและนำมาใช้กับการส่งสัญญาณในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ • มีลักษณะเป็นสายทองแดงเดี่ยวอยู่ตรงกลางและหุ้มด้วยวัสดุที่ทำหน้าที่เป็นฉนวนและชิลด์ • ลดสัญญาณรบกวนและส่งข้อมูลได้ดีกว่าสายทวิสเตดแพร์ มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงสุด 200 Mbps
ช่องทางการสื่อสาร • ช่องทางการสื่อสารแบบมีสาย สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) • สามารถแบ่งสายโคแอคเชียลตามลักษณะของสายได้ 2 ชนิด คือ • โคแอกเชียลบาง • โคแอกเชียลหนา
ช่องทางการสื่อสาร • ช่องทางการสื่อสารแบบมีสาย เคเบิลใยแก้วนำแสง (Fiber-optic Cable) • ใช้แท่งแก้วที่มีลักษณะเป็นทรงกระบอกอยู่ตรงกลางใช้วิธีการส่งข้อมูลด้วยแสงแทนสัญญาณไฟฟ้า • ประกอบด้วยเส้นแก้ว เรียกว่า Core หลายร้อยเส้น ถูกห่อหุ้มด้วยแท่งแก้ว เรียกว่า Cladding และห่อหุ้มด้วยเปลือก (Coat) เพื่อป้องกันแสงหักเห และหุ้มด้วยเปลือกนอกอีกชั้นหนึ่ง
ช่องทางการสื่อสาร • ช่องทางการสื่อสารแบบมีสาย เคเบิลใยแก้วนำแสง (Fiber-optic Cable) • สามารถส่งข้อมูลที่มีปริมาณเยอะๆได้เร็วมาก และมีสัญญาณรบกวนน้อย • ข้อมูลมีความปลอดภัยสูง • ต้องใช้ความชำนาญในการติดตั้ง • ราคาสายเคเบิลและค่าติดตั้งมีราคาแพง
ช่องทางการสื่อสาร • ช่องทางการสื่อสารแบบไร้สาย สามารถแบ่งออกได้ดังนี้ • ไมโครเวฟ • ดาวเทียมสื่อสาร • อินฟาเรด • คลื่นวิทยุ • เซลูลาร์
ช่องทางการสื่อสาร • ช่องทางการสื่อสารแบบไร้สาย (ต่อ) ไมโครเวฟ (Microwave) • เป็นการสื่อสารโดยใช้คลื่นวิทยุความถี่สูง • ส่งสัญญาณจากสถานีส่งสัญญาณส่วนกลาง ไปยังเสารับสัญญาณในหลายๆพื้นที่ • จะส่งคลื่นจากจานส่ง พุ่งตรงไปยังจานรับในทิศทางเส้นระนาบ เรียกว่า “เส้นสายตา” • ปกติคลื่นไมโครเวฟจะส่งสัญญาณได้ 25 – 30 ไมล์
ช่องทางการสื่อสาร • ช่องทางการสื่อสารแบบไร้สาย (ต่อ) ไมโครเวฟ (Microwave) • ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินสายสัญญาณ และสามารถส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูง • ต้องไม่มีสิ่งกีดขวางเส้นสายตาระหว่างเครื่องรับและเครื่องส่ง • สัญญาณถูกรบกวนหรือแทรกแซงและถูกดักจับสัญญาณได้ง่าย
ช่องทางการสื่อสาร • ช่องทางการสื่อสารแบบไร้สาย (ต่อ) ดาวเทียมสื่อสาร (Satellite) • เป็นสถานีรับส่งสัญญาณไมโครเวฟที่มีจานรับส่งคลื่นความถี่ขนาดใหญ่ลอยอยู่ในอวกาศ • ทำหน้าที่ขยายสัญญาณที่รับจากสถานีภาคพื้นดิน ขยายสัญญาณแล้วกระจายสัญญาณต่อไปยังสถานีภาคพื้นดินที่เป็นเป้าหมาย • สามารถส่งข้อมูลปริมาณมากๆ ด้วยความเร็วสูง แต่ถูกดักจับสัญญาณได้ง่ายและค่าใช้จ่ายสูงมาก
ช่องทางการสื่อสาร • ช่องทางการสื่อสารแบบไร้สาย (ต่อ) อินฟาเรด • การสื่อสารโดยใช้คลื่นแสงอินฟาเรด ซึ่งต้องหันตัวรับและตัวส่งให้ตรงกัน และไม่มีสิ่งกีดขวางเส้นสายตา • คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่สื่อสารด้วยวิธีการนี้ต้องมีพอร์ต IrDA • สามารถเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ได้ง่ายและไม่ต้องติดตั้งสายสัญญาณ แต่ระยะทางในการส่งข้อมูลสั้น
ช่องทางการสื่อสาร • ช่องทางการสื่อสารแบบไร้สาย (ต่อ) คลื่นวิทยุ • เป็นการสื่อสารที่กระจายสัญญาณได้ทั้งในระยะไกลและระยะใกล้ • ผู้ส่งต้องใช้เครื่องส่งสัญญาณวิทยุและผู้รับต้องมีอุปกรณ์รับสัญญาณด้วย • มีความเร็วในการส่งข้อมูลน้อยและถูกรบกวนและดักจับสัญญาณได้ง่าย
ช่องทางการสื่อสาร • ช่องทางการสื่อสารแบบไร้สาย (ต่อ) เซลลูลาร์ (Cellular) • เป็นการสื่อสารที่ใช้คลื่นวิทยุ โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็นเซลล์ • แต่ละเซลล์มีเสาสัญญาณเพื่อรับและส่งข้อมูล โดยข้อความจะถูกส่งไปยังเซลล์ใกล้สุดแล้วส่งต่อไปยังเซลล์อื่นๆ จนถึง Mobile Telephone Switching Office (MTSO) • MTSO จะหาเซลล์ปลายทางและส่งข้อมูลไปยังเซลล์ปลายทาง
ช่องทางการสื่อสาร • ช่องทางการสื่อสารแบบไร้สาย (ต่อ) เซลลูลาร์ (Cellular) • การสื่อสารแบบนี้ใช้งานอย่างแพร่หลายในอุปกรณ์สื่อสารแบบพกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ • สามารถใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ในการติดต่อสื่อสารได้ แต่สัญญาณจะถูกรบกวนหรือดักฟังได้ง่าย
ช่องทางการสื่อสาร • ช่องทางการสื่อสารแบบไร้สาย (ต่อ) เซลลูลาร์ (Cellular)