1 / 37

ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตสัตว์

ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตสัตว์. 1. เศรษฐกิจและสังคม - ตลาด - เงินทุน - ระบบการส่งเสริมจากภาครัฐและเอกชน - ความต้องการของผู้บริโภค 2. สภาพแวดล้อม ทำเลที่ตั้ง แหล่งน้ำและการคมนาคม ภูมิอากาศ 3. การจัดการ พันธุ์สัตว์ อาหาร เทคโนโลยีที่ใช้ 4. ผู้ประกอบการ (คน).

krysta
Download Presentation

ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตสัตว์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตสัตว์ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตสัตว์ 1. เศรษฐกิจและสังคม - ตลาด - เงินทุน - ระบบการส่งเสริมจากภาครัฐและเอกชน - ความต้องการของผู้บริโภค 2. สภาพแวดล้อม ทำเลที่ตั้ง แหล่งน้ำและการคมนาคม ภูมิอากาศ 3. การจัดการ พันธุ์สัตว์ อาหาร เทคโนโลยีที่ใช้ 4. ผู้ประกอบการ (คน)

  2. โอกาสและข้อจำกัดในการพัฒนาการปศุสัตว์ของไทยโอกาสและข้อจำกัดในการพัฒนาการปศุสัตว์ของไทย • โอกาส • 1. ผลของการเจรา WTO (มีโอกาสในการส่งสินค้าออกมากขึ้น) • 2. การวิจัยมีการพัฒนาให้เท่าเทียมประเทศอื่นได้ • 3. อุตสาหกรรมแปรรูปมีการพัฒนามากขึ้น

  3. ข้อจำกัด • 1. ผลของการเจรา WTO (สินค้าจากประเทศคู่แข่งเข้ามาตีตลาดมากขึ้น)2. งบวิจัยมีค่อนข้างจำกัด 3. ปัญหาโรคระบาด (วัคซีนไม่พอ/ลักลอบนำเข้า/ โรคระบาดทั่วไปเช่นไข้หวัดนก) 4. เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มาตรฐานที่เพิ่มขึ้น (เพิ่มงบลงทุน/บุคคลากร) • 5. ต้นทุนที่สูงขึ้น (ค่าแรง/ค่าที่ดิน/ค่าโรงเรือน)

  4. หลักการปรับปรุงพันธุ์สัตว์หลักการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ • ลักษณะที่สัตว์แสดงออกมา (Phenotype, VP) มาจากผลของ (VP=VG+VE) 1.อิทธิพลของพันธุกรรม (สีผิว/ สีตา ยีน 100%) (Heredity หรือ Gene effect, VG) 2. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม (ผลผลิต มีสิ่งแวดล้อมร่วม) (Environmental effect, VE)

  5. Heredity หรือ อิทธิพลของยีนแบ่งเป็น • ยีนที่ควบคุมด้านปริมาณ (Quantitative) Additive gene effect; VA • ยีนที่ควบคุมลักษณะด้านคุณภาพ (Qualitative) In additive gene effect; VI ดังนั้น VG=VA+VI

  6. กลุ่มของยีนที่ควบคุมด้านปริมาณเป็นยีนหรือกลุ่มของยีนที่ร่วมกันทำงานต่อลักษณะนั้นๆ เรียกว่า เป็นผลของยีนที่ทำงานร่วมกัน(Additive gene effect; VA)เช่นอัตราการให้นม ยีนที่ควบคุมด้านคุณภาพเป็นยีนหรือกลุ่มของยีนที่แสดงผลเมื่อเกิดการข่มกันภายในคู่ของยีน (dominance) ซึ่งเป็นการข่มแบบปกติหรือเกินปกติ(over dominance) หรือการข่มกันข้ามคู่ของยีน (Epistasis) เรียกว่าเป็นผลมาจากของการข่มกันของยีน(ไม่ได้ทำงานร่วมกัน) (In additive gene effect; VI)

  7. เมื่อ VP= VG+VE • และ VG=VA+VI ดังนั้น VP=(VA+VI)+VE

  8. VP=VG+VE =100% สมมุติ VG มีค่า 60 % ดังนั้น VE ก็น่าจะมีค่าเท่ากับ 100-60= 40 % หมายถึง อิทธิพลของยีน (VG)มีผลต่อลักษณะที่ปรากฏ 60% ส่วนสิ่งแวดล้อม(VE)มีผลต่อลักษณะที่ปรากฏ 40%

  9. ดังนั้น สัดส่วนของ VG/VP ในลักษณะนี้ก็จะเท่ากับ • VG/VP = 60/100 = 60% • หรือ 0.6 หรือ 60 ส่วนใน 100 ส่วน • ค่า VG/VP เรียกว่าค่า • Heritability (h2) • ซึ่งเป็นค่าที่บอกว่า ยีนมีผลต่อลักษณะนั้นอยู่เท่าไร (เปอร์เซ็นต์ หรือ ส่วน)

  10. ถ้าลักษณะของกล้ามเนื้อมากมี ค่า h2 สูงเท่ากับ 60% • แสดงว่ายีนที่ควบคุมเรื่องกล้ามเนื้อมีผลถึง 60% ส่วนสิ่งแวดล้อมมีผล 40% • ถ้าพ่อแม่ตัวโตมีกล้ามเนื้อเยอะ โอกาสที่เราจะได้ลูกที่ตัวมีกล้ามเนื้อเยอะก็มีสูงเพราะลักษณะนี้มียีนคุมอยู่ถึง 60%

  11. แต่ถ้าลักษณะของการให้ลูกดกมีค่า h2 เท่ากับ 10% • แสดงว่ายีนที่ควบคุมเรื่องการให้ลูกดกมีผลเท่ากับ 10% ส่วนสิ่งแวดล้อมมีผล 90% • นั่นคือถึงพ่อแม่จะให้ลูกดกแต่โอกาสที่ลูกจะให้ลูกดกเหมือนพ่อแม่มีน้อยเพราะยีนคุมลักษณะนี้อยู่เพียง 10% โดยไปขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมถึง 90%

  12. ตัวอย่าง ถ้าวัวทั้งฝูงหนึ่งมีค่าการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวัน เท่ากับ 1.0 กิโลกรัม (มีทั้งโตดีและไม่ดีปะปนกันอยู่) • ถ้าเราคัดเอาเฉพาะพ่อแม่วัวในฝูงนั้นที่มีอัตราการเจริญเติบโตดีๆเช่นโตวันละ 1.5 กิโลกรัมมาผสมกัน เราสามารถคาดการณ์ได้ว่าลูกควรจะมีอัตราการเจริญเติบโตเท่าไร • ถ้าค่า h2 ของอัตราการเจริญเติบโตของโคเท่ากับ 0.6 หรือ 60%

  13. ค่าความแตกต่างของการคัดเลือก (selection differential) หรือผลต่างที่เกิดจากการเลือกเอาตัวดีๆแยกออกมาผสมพันธุ์กัน เท่ากับ 1.5-1.0 เท่ากับ 0.5 กิโลกรัม (ค่าของตัวที่ดีๆ มากกว่าค่าเฉลี่ยของฝูง)

  14. ถ้าค่ามีค่าเท่ากับ 100 %หรือยีนคุม 100% • ผลต่างของการคัดเลือกที่จะส่งผลในรุ่นลุกก็เท่ากับ (0.5 x 100)/100= 0.5 • แต่ลักษณะนี้ยีนคุม 60% • ผลต่างของการคัดเลือกที่จะส่งผลในรุ่นลูกเท่ากับ (0.5x 60)/100 =0.3

  15. ดังนั้นถ้ายีนคุม 100%พ่อแม่โต 1.5 กก.ลูกก็ควรจะโต 1.5 กก.ต่อวันแต่ยีนคุมแค่ 60% ลูกที่ได้มีอัตราการเจริญเติบโตเท่ากับ 1.0 +0.3 = 1.3 กก. ซึ่งดีกว่าค่าเฉลี่ยของฝูงเท่ากับ 0.3 กก.

  16. นั่นคือฝูงวัวใหม่ที่คัดเอาเฉพาะรุ่นลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่ดีๆนี้ไว้จะมีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ย วันละ 1.3 กก. • ถ้าทำต่อไปเรื่อยๆ โดยคัดเอาพ่อแม่ของรุ่นต่อๆไปที่โตดีๆมาผสมกัน รุ่นลูกก็จะมีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยที่ดีขึ้นเรื่อยๆ (ประโยชน์ของการคัดพันธุ์)

  17. แต่ถ้าลักษณะการให้ลูกดกที่มีค่ายีนคุมอยู่แค่ 10%(Heritability (h2) =10%) • เช่นหมูฝูงหนึ่งมีค่าเฉลี่ยการให้ลูก =10 ตัว • คัดเอาพ่อแม่ที่ให้ลูกเฉลี่ย =12 ตัว • ผลต่างที่เกิดจากการคัดเลือก (selection differential) = 12-10 =2 ตัว • ยีนมีผล 10% จึงเท่ากับ (2 x 10)/100 = 0.2 ตัว

  18. ลูกที่เกิดมาจึงให้ลูกเฉลี่ย 10 +0.2 = 10.2 ตัวซึ่งให้ผลน้อยมาก 10.2 เทียบกับ 10 ตัว • แสดงว่าการคัดเลือกให้ผลไม่ดีในลักษณะที่มีค่า Heritability (h2)ต่ำหรือยีนคุมลักษณะนั้นน้อย • แต่การคัดเลือกให้ผลดีในลักษณะที่มีค่า Heritability (h2)สูง หรือยีนคุมลักษณะนั้นมาก

  19. ตารางประมาณการค่า Heritability (h2)ในลักษณะต่างๆ

  20. การปรับปรุงพันธุ์จึงใช้การคัดเลือกเอาพ่อแม่ที่ดีมาผสมกัน เพื่อให้ลูกที่ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะในลักษณะที่ยีนมีอิทธิพลมาก (h2 สูง) • คำถาม????????? • แล้วจะทำอย่างไรให้ลักษณะที่ยีนมีอิทธพลน้อย (h2 ต่ำ) เช่น เรื่องการให้ลูกดก มีการปรับปรุงพันธุ์ให้ดีขึ้น • (คัดพ่อแม่ให้ลูกดก ลูกอาจไม่ให้ลูกดกตาม เพราะลักษณะนี้ มี h2 ต่ำ

  21. การปรับปรุงพันธุ์ • การปรับปรุงพันธุ์โดยการผสมพันธุ์แบ่งเป็น 2 ชนิด • 1. การผสมเลือดชิด (Inbreeding) • 2. การผสมข้ามหรือผสมต่างสายเลือด (Out breeding)

  22. การผสมเลือดชิด (Inbreeding) • เป็นการผสมระหว่างสัตว์ที่มีความสัมพันธ์เครือญาติใกล้ชิดกัน ทั้งนี้มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดไม่เกิน 4-5 ชั่วอายุ • ผลดี ทำให้ยีนที่เหมือนกันมาจับคู่กันมากขึ้นทำให้ได้ลักษณะพันธุ์แท้มากขึ้น

  23. ตัวอย่าง Aa x Aa AA x Aa Aa x aa 2AA, 2Aa 2Aa, 2aa

  24. สัตว์ที่มียีน AA เมื่อผสมกันลูกก็ได้ AA เหมือนเดิม จึงเป็นสัตว์พันธุ์แท้(หรือถ้ามี aa ผสมกับ aa ก็ยังได้ aa เช่นกัน) • แต่ผลเสียคือ อาจเกิดความอ่อนแอในสัตว์พันธุ์แท้โดยเฉพาะในกรณีของยีนด้อย recessive gene (a) ที่เดิมเคยถูกข่มด้วยยีนเด่น dominance gene(A) ในรูปของ Aa เมื่อเป็นสัตว์พันธุ์แท้ก็จะเป็น aa ซึ่งจะแสดงผลของยีนด้อยนั้นออกมา เช่นทำให้สัตว์ให้ลูกน้อย ผสมติดต่ำ อ่อนแอ

  25. การผสมข้ามหรือการผสมต่างสายเลือด (Outbreeding) • สัตว์ที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดกันมาผสมกันทำให้ยีนที่ต่างกันมาจับคู่และเกิดการข่มกันของยีนขึ้น • เช่น AA x aa Aa Aa Aa Aa

  26. การข่มกันของยีนจะเกิดผลได้หลายรูปแบบเช่นการข่มกันของยีนจะเกิดผลได้หลายรูปแบบเช่น 1. A ข่ม a ให้ผลเท่ากับ A เรียกข่มปกติ Dominance 2. A ข่ม a ให้ผลมากกว่า A เรียกข่มเกินปกติ Over dominance 3. A ข่ม b ที่อยู่ข้ามคู่กันให้ผลมากกว่าA เรียก Epistasis

  27. ลักษณะที่ข่มแล้วให้ผลมากกว่าปกตินั่นคือลูกที่เกิดจากการผสมข้ามนี้ให้ผลดีเกินกว่าพ่อแม่ลักษณะที่ข่มแล้วให้ผลมากกว่าปกตินั่นคือลูกที่เกิดจากการผสมข้ามนี้ให้ผลดีเกินกว่าพ่อแม่ • เรียกว่า เกิด Heterosis หรือ Hybrid Vigor หรือ อภิชาตบุตร • เช่น AA ในแม่ทำให้แม่มีลูกดก 12 ตัว • aa ทำให้แม่มีลูกไม่ดกคือ 6 ตัว • ถ้าผสม AA กับ aa ลูกที่ได้คือ Aa • ถ้าเป็นการข่มปกติ dominance • Aa ก็จะให้ลูก 12 ตัว มีผลเท่า AA

  28. เมื่อเกิด over dominance ข่มเกินปกติ • ลูกที่มีลักษณะ Aa จะให้ลูกมากกว่า 12 ตัว เช่น อาจเป็น 14 ตัว เป็นต้น • ซึ่งการเกิด Heterosis นี้มักเกิดกับสัตว์พันธุ์เดียวกันแต่ต่างสายเลือด (out crossing) หรือ ต่างพันธุ์ (cross breeding)มาผสมกัน • แต่ไม่ใช่การผสมข้ามเหล่า (species)เช่นม้ากับลา เพราะทำให้เกิดผลเสียเช่นเป็นหมัน

  29. ตัวอย่างผสมข้ามพันธุ์ตัวอย่างผสมข้ามพันธุ์ ผสมหมูพันธ์ลาร์จไวท์ กับพันธ์แลนด์เรซ ได้ลูกผสมลาร์จไวทxแลนด์เรซ (50:50) ข้อดีคือได้ลูกที่สามารถจะให้ลูกดกมากกว่าพันธ์ลาร์จไวท์ หรือพันธุ์แลนเรซ เพราะเกิด Heterosis ระหว่างสองสายพันธุ์ (มีผลเพิ่มขึ้นประมาณ 5 -20%)

  30. และถ้าผสมข้ามสามสายพันธุ์ คือในรุ่นลูกผสมลาร์จไวท์แลนเรซเมื่อโตเป็นแม่พันธุ์ นำมาผสมกัน พ่อดูรอด ก็จะเกิด heterosis ขึ้นอีก 17-50% (หลานจะมีอัตราการให้ลูกดกมากขึ้น ถ้านำไปผสมต่อ แต่ในทางปฏิบัติไม่ทำ)เพราะ • เพราะการผสมดูรอค ให้ลูกผสมลาร์จไวท์xแลนด์เรซ มีจุดประสงค์เพื่อให้ลักษณะของดูรอคที่มีกล้ามเนื้อและคุณภาพซากดี ถ่ายทอดไปโดยตรง เพราะลักษณะนี้ยีนมีอิทธิพลมาก h2 สูง • หลานที่ได้จึงน่าจะมีกล้ามเนื้อและคุณภาพซากดีเหมือนพ่อดูรอค

  31. แผนการผสมนี้เรียกว่า การผสมหมูสามสาย • คือ ผสม พ่อลาร์จไวท์ กับแม่ แลนเรซ • เพื่อให้ลูกที่ได้เกิด heterosis และสามารถให้ลูกดกมากกว่าพ่อแม่ • เมื่อลูกผสมโตขึ้น คัดเป็นแม่พันธุ์ที่สามารถให้ลูกดก และนำไปผสมกับพ่อดูรอคที่คัดมาว่าดี • เพื่อให้ได้ลูกจำนวนมาก(Heterosis) และลูกที่ได้มีกล้ามเนื้อและคุณภาพซากดี (h2 สูง)

  32. ข้อสังเกตุ • 1. ลักษณะที่เกี่ยวกับระบบสืบพันธ์ เช่นอัตราการให้ลูก อัตราการเลี้ยงรอด จะมีค่า h2 ต่ำ กล่าวคือยีนมีอิทธิพลค่อนข้างน้อย การใช้การผสมข้ามพันธุ์จะทำให้เกิด Heterosis ขึ้นและแก้ปัญหานี้ได้

  33. แต่ถ้าลักษณะที่ยีนมีอิทธิพลอยู่สูงแต่ถ้าลักษณะที่ยีนมีอิทธิพลอยู่สูง • 2. ลักษณะที่เกี่ยวกับคุณภาพซาก กล้ามเนื้อที่ใหญ่โต จะมีค่า h2 สูง กล่าวคือยีนมีอิทธิพลค่อนข้างมาก การผสมโดยการคัดเอาพ่อแม่พันธุ์ที่มีลักษณนั้นดีๆ มาผสมกัน (การคัดพันธุ์) ซึ่งจะเป็นการผสมข้ามพันธุ์หรือการผสมในพันธุ์เดียวกันก็ได้ จะได้ลูกที่ดีคล้ายพ่อแม่ในลักษณะนั้นๆ

  34. นอกจากนั้นยังมีการผสมพันธุ์เช่นนอกจากนั้นยังมีการผสมพันธุ์เช่น • การผสมแบบเพิ่มเลือด up grading • คือการผสมระหว่างสัตว์ต่างพันธุ์ โดยเน้นการผสมข้ามระหว่างสัตว์ต่างประเทศกับสัตว์พื้นเมือง เพื่อเพิ่มลักษณะที่ดีของสัตว์พันธ์ต่างประเทศหรือเพิ่มเลือดเข้าไป แต่ยังคงเลือดหรือลักษณะของสัตว์พื้นเมืองไว้เพื่อประโยชน์บางประการ

  35. เช่น • การผสมโคนมพ่อพันธุ์ขาวดำ กับ แม่โคพันธุ์พื้นเมือง • เพื่อให้ลูกที่ได้ให้นมได้มากขึ้น (ยิ่งมีเลือดขาวดำมาก ก็ให้นมมากขึ้น) • แต่ยังคงเลือดพื้นเมืองไว้ เพราะมีลักษณะการทนร้อนได้ดีกว่า • ส่วนใหญ่จะผสมให้ได้เลือดขาวดำประมาณ 50-87.5% และมีเลือดพื้นเมืองเหลือไว้ 12.5-50%

  36. Na (100) x BW (100) BWna (50:50) x BW (100) BWna (75:25) x BW (100) BWna (87.5:12.5)

  37. หรือการนำสัตว์พันธุ์ดีเข้ามาโดยตรง (ไม่ต้องผสมข้ามกับพันธุ์พื้นเมือง) • สรุป • 1. คัดพันธ์เดิม โดย คัดลักษณะเด่น (h2 สูง) • 2. ผสมในสายพันธ์เดียวกันและคัดเอาลักษณะเด่นเพื่อทำพันธุ์แท้ • 3. ผสมข้ามพันธุ์ เพื่อให้เกิด heterosis • 4.ผสมแบบเพิ่มเลือด • 5. นำสัตว์พันธุ์แท้จากต่างประเทศเข้ามาโดยตรง

More Related