1 / 47

รายงานความเป็นมาและความก้าวหน้า โครงการพัฒนาศูนย์กระจายสินค้าภาคใต้-ทุ่งสง

รายงานความเป็นมาและความก้าวหน้า โครงการพัฒนาศูนย์กระจายสินค้าภาคใต้-ทุ่งสง ( Cargo Distribution Center-Thungsong). วัตถุประสงค์โครงการฯ. เพื่อส่งเสริมการลงทุนและพัฒนาพื้นที่อำเภอทุ่งสงเป็นศูนย์กระจายสินค้าของภาคใต้ตอนกลาง และลดต้นทุนในการขนส่ง

kory
Download Presentation

รายงานความเป็นมาและความก้าวหน้า โครงการพัฒนาศูนย์กระจายสินค้าภาคใต้-ทุ่งสง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. รายงานความเป็นมาและความก้าวหน้ารายงานความเป็นมาและความก้าวหน้า โครงการพัฒนาศูนย์กระจายสินค้าภาคใต้-ทุ่งสง (Cargo Distribution Center-Thungsong)

  2. วัตถุประสงค์โครงการฯ • เพื่อส่งเสริมการลงทุนและพัฒนาพื้นที่อำเภอทุ่งสงเป็นศูนย์กระจายสินค้าของภาคใต้ตอนกลาง และลดต้นทุนในการขนส่ง • เพื่อสนองนโยบายรัฐบาลในการพัฒนาระบบขนส่งโลจิสติก ลดการใช้พลังงาน • เพื่อบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน เพิ่มขีดความสามารถแข่งขัน

  3. เป้าหมาย • ระยะสั้น ทุ่งสงเป็นศูนย์เก็บรวบรวมและขนสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ระบบรางของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย และจังหวัดใกล้เคียง (แก้ปัญหาความเดือดร้อนในกลุ่มจังหวัดภาคใต้) • ระยะยาว เป็นศูนย์รวมรวมและกระจายสินค้าระบบรางระดับภูมิภาค(รองรับการพัฒนาภาคใต้ ประเทศ และIMT-GT)

  4. ความเป็นมา สืบเนื่องจากการประชุมหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดส่วนหน้าแบบบูรณาการ โดยท่านภาณุ อุทัยรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย (ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ขณะนั้น) เป็นประธาน ซึ่งสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช (นางวานิช พันธุ์พิพัฒน์ ) ได้เสนอที่ประชุมว่า “ทุ่งสงมีศักยภาพที่จะตั้งศูนย์กระจายสินค้าของภาคใต้” ซึ่งหน่วยงานของรัฐ และภาคเอกชนในพื้นที่อำเภอทุ่งสงให้การสนับสนุนแนวความคิดนี้ นายทรงชัย วงษ์วัชรดำรง นายกเทศมนตรีเมืองทุ่งสงได้เสนอพื้นที่ บริเวณหมวดศิลา (รอยต่อตำบลปากแพรกและตำบลชะมาย) ซึ่งเป็นที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย จำนวน 85 ไร่ น่าจะมีความเหมาะสม

  5. ภาพการประชุมจังหวัดส่วนหน้า (ทุ่งสง)

  6. มติที่ประชุมจังหวัดส่วนหน้ามติที่ประชุมจังหวัดส่วนหน้า - ทุกภาคส่วนมีความต้องการให้เกิดศูนย์กระจายสินค้าที่อำเภอทุ่งสง - ท่านภาณุ อุทัยรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดขณะนั้น ได้มอบหมายให้เทศบาลเมืองทุ่งสงไปศึกษาและเทศบาลเมืองทุ่งสงได้ประสานไปยัง ศ.ดร.พิชัย ธานีรณานนท์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อศึกษาและประเมินศักยภาพเบื้องต้น - จังหวัดได้เชิญทุกภาคส่วนร่วมประชุมระดมสมอง เพื่อรวบรวมข้อมูลและร่วมเสนอแนะผลักดันโครงการจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน รัฐวิสาหกิจ ชุมชน สื่อมวลชน

  7. ภาพการประชุมเสวนาปรึกษาหารือและผลักดันโครงการพัฒนาศูนย์กระจายสินค้าภาคใต้ตอนกลาง(ทุ่งสง) วันที่ 3 มิถุนายน 2552 เวลา 13.00 น -16.30น.ณ ห้องประชุมเทศบาลเมืองทุ่งสง นายภาณุ อุทัยรัตน์ ผวจ.นศ. ดร.ธนิต โสรัตน์ รองปธ.สภาอุตสาหกรรมแห่งปท. นางวานิช พันธุ์พิพัฒน์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจว.นครศรี และผู้บริหาร ICDลาดกระบัง ร่วมชี้แนะ

  8. ดร.ธนิต โสรัตน์ รอง ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและคณะผู้เชี่ยวชาญสำรวจพื้นที่โครงการ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2552 และเห็นด้วยว่าบริเวณหมวดศิลาเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม

  9. นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยสำรวจพื้นที่ด้วยตนเอง

  10. ภาพการประชุมเสวนาปรึกษาหารือและผลักดันภาพการประชุมเสวนาปรึกษาหารือและผลักดัน โครงการพัฒนาศูนย์กระจายสินค้าภาคใต้ตอนกลาง(CDC-ทุ่งสง) ร่วมกับผู้แทน ADB วันที่ 20 สิงหาคม 2552 เวลา 10.00 น -13.20 น. ณ ห้องประชุมเทศบาลเมืองทุ่งสง

  11. ภาพการประชุมเสวนาปรึกษาหารือและผลักดันโครงการพัฒนาศูนย์กระจายสินค้าภาคใต้ตอนกลาง(CDC-ทุ่งสง) วันที่ 27 สิงหาคม 2552 เวลา 13.00 น -16.30 น. ณ ห้องประชุมเทศบาลเมืองทุ่งสง

  12. ภาพการประชุมเสวนากรอบแนวทางศึกษาความเป็นไปได้ (Pre-Feasibility Study) และปรึกษาหารือแนวทางผลักดันโครงการพัฒนาศูนย์กระจายสินค้าภาคใต้-ทุ่งสง วันที่ 2 มีนาคม 2553 เวลา 13.00 น -16.30 น.ณ ห้องประชุมเทศบาลเมืองทุ่งสง นายธัชพงศ์ แผ่ความดี นายอำเภอทุ่งสง ประธานที่ประชุม หน.สนจ.นศ, ผู้แทนนายกอบจ.นศ., นายกทม.ทุ่งสง, ปลัดทม.ทุ่งสง, รองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, ผู้แทนสน.บริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ประชุมร่วม

  13. Mr.John Olof & Mr.David Villeneuve ผู้แทน ADB., ดร.จำเนียร วรรัตน์ชัยพันธ์, ผอ.อาวุโส TEI, ดร.อานนท์ นัจสถาปนิก, ประธานสภาอุตสาหกรรม จว.นศ., หน.กลุ่มงานยุทธศาสตร์จว.นศ., สมาชิกสภาจังหวัด จว.นศ., ผู้แทนนายก อบต.ชะมาย, นักวิชาการจากมทร.ศรีวิชัย, ม.วลัยลักษณ์ และม.ราชภัฏ นศ., ผู้แทนภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรมเอกชน, และหน.ส่วนราชการ ประชุมร่วม

  14. ภาพการประชุมรายงานความก้าวหน้าโครงการฯเสนอต่อนายภาณุ อุทัยรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2553 ณ ห้องประชุมเทศบาลเมืองทุ่งสง

  15. ผลการประเมินศักยภาพเบื้องต้น (โดย ม.สงขลานครินทร์)1. พื้นที่หมวดศิลามีความเหมาะสมทางภูมิศาสตร์

  16. ระยะทางไปเส้นทางเซาร์เทรินซีบอร์ด 100 กม. ระยะทางไปนิคม ฯ นาบอน 25 กม. ระยะทางไปสิชล 90 กม. หมวดศิลา ระยะทางไปสงขลา 230 กม. ระยะทางไปกันตัง 90 กม. ระยะทางไปท่าเรือปากบารา 300 กม.

  17. ที่ตั้ง โครงการหมวดศิลา

  18. พื้นที่ประมาณ 85ไร่ หรือ 136,000ตรม. อยู่ใกล้กับสถานีรถไฟทุ่งสง ประมาณ 3 km อยู่ใกล้กับทางหลวงหมายเลข403 ประมาณ0.825 km อยู่ใกล้กับทางหลวงหมายเลข41 ประมาณ1.2 km

  19. พื้นที่ หมวดศิลา จำนวน 85 ไร่ใช้ในโครงการ 60 ไร่ระยะที่ 1 จำนวน 35 ไร่ ระยะที่ 2 จำนวน 25 ไร่

  20. ผลการประเมินศักยภาพเบื้องต้น (ต่อ) 2.มีDemandมากเพียงพอ ยางพารา 3 จังหวัด นครศรีธรรมราช ตรัง กระบี่ มากกว่า 800,000 ตัน / ปี ปูนซิเมนต์ (ทุ่งสง) ประมาณ 470,000 ตัน / ปี รวมทั้งสิ้น 1,270,000 ตัน / ปี ทั้งนี้ยังไม่รวมผลิตผลปาล์ม น้ำมัน กาแฟ ข้าว และอุตสาหกรรมสินแร่ ซึ่งเป็นผลผลิตของจังหวัดนครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง กระบี่ สุราษฏร์ธานี สงขลา โดยเฉพาะพื้นที่อำเภอทุ่งสงและอำเภอใกล้เคียง จากการสำรวจเบื้องต้น มีโรงงานอุตสาหกรรมที่เห็นด้วยและสนับสนุนโครงการนี้ และมีความต้องการใช้ศูนย์กระจายสินค้าภาคใต้ทุ่งสงมากกว่า 30 โรงงานและรองรับการขนส่งสินค้าระบบรางของภาคใต้ เนื่องจากสามารถลดต้นทุนการขนส่ง และเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน เพราะการขนส่งระบบรางเป็นระบบที่ถูกที่สุด และในอนาคตเป็นโครงการรองรับนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ (นาบอน)

  21. ผลการประเมินศักยภาพเบื้องต้น (ต่อ) 3. สอดคล้องกับวาระของชาติ ด้านการพัฒนาด้านการพัฒนาโลจิสติกส์/ ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดกลุ่มภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย/ยุทธศาสตร์จังหวัดนครศรีธรรมราช

  22. Infrastructure Development in the 10th plan Development of infrastructure and logistics services in order to support production structural adjustment 1 Improved energy efficiency and expediting alternative energy initiatives 2 A framework for fair distribution of infrastructure development 3

  23. Longshuanka Myitkyina Kunming Dali Mangshi Chuxiong Ruili Yuki Muse Mohei Yuanjiang Lashio Simao Hekou Thibaw Xiaomengyang Lao Cai Jinghong Mandalay Leuang Phrabang Vinh Pakkading Inter-Customer Muang Pek Supplier Distribution center Thakhek Inter-Customer Gateway Supplier Dong Ha Muang Phin Customer Hua Khanthabouri Distribution center Manufacturing site Supplier Da Nang Customer Hanoi Pak Se Chiang Rai Attapeau Mae Sai Integrated Transport System Chiang Khong Dung quat Chiang Mai BuaYai Nan Nong Khai Vientiane Udon Thani Tak Phitsanulok Mukdahan Khon Kaen Nakohon Sawan Yangon Mae Sod Ubon Rachatani Nakhon Rachasima Buriram Sa Kaew Bangkok Aranyaprathet Chachoengsao Phetchaburi Trat Phnom Penh Surat Thani Nakorn Srithammarat Phuket Trang Songkla Mongla Dalug New Trade Lanes & Logistics Network Optimization Mohan Kangtung Loilem Boten Pak Mong Louang Namtha Hoa Binh Tachilek Haiphong Houayxay Vang Vieng เด่นชัย Ban Dara Moulmein Jira Kangkoi Tavoy Ban Pashe Sisophon Syung Treng Quy Nhon National Capital Poi Pet Siemreab City/Town Mabtaput Laem Chabang Port Myeik Proposed Container Yard Kampong Cham Krong Kaoh Kong Proposed Distribution Center Inland Container Depot Tay Ninh Ho Chi Min International Boundary Vung Tau Kampong Saom Proposed Sub-regional Road National Railway Rach Gia Proposed National Railway Ban Thung Pho River Quang Long Deep Sea Port Thung Song Borders/Logistics Center Kho Chum Tong Main Railway Station Ban Pashe Pak Bara Port Satun

  24. Location of Thungsong

  25. ความก้าวหน้าของโครงการความก้าวหน้าของโครงการ 1.การใช้ที่ดิน 1.1 ถนนทางเข้าโครงการ • จากทางหลวง 403 ถึง ทางรถไฟสายทุ่งสง-กันตัง และจากทางหลวง 41 เลียบริมทางรถไฟเข้าโครงการรวม 1,960 เมตร พร้อมลานวางคอนเทรนเนอร์ยาร์ด รวมวงเงินงบประมาณ 42,000,000.- ล้านบาท โดยสำนักงานทางหลวงชนบทนครศรีฯเป็นหน่วยดำเนินการ และได้รับงบประมาณพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย จากรัฐบาลในปี 2554 แล้วและเทศบาลเมืองทุ่งสง จัดซี้อที่ดินขยายถนน ดังกล่าว 4 ล้านบาทแล้วเมื่อปี2553 เริ่มดำเนินการก่อสร้างมกราคม 2554

  26. ผังถนนทางเข้าโครงการจากสาย 403 ระยะทางประมาณ 350 ม. หมวดศิลา ระยะทางประมาณ 750 ม.

  27. แผนที่ แนวถนนที่ตัดผ่านที่ดินเอกชน

  28. 1.2 งานก่อสร้างศูนย์กระจายสินค้าภาคใต้-ทุ่งสง • เทศบาลเมืองทุ่งสง ได้ขอเช่าที่ดินก่อสร้างศูนย์กระจายสินค้า เทศบาลเมืองทุ่งสงขอเช่าที่ดินจากการรถไฟ จำนวนทั้งสิ้น 60 ไร่ โดยเช่า ระยะที่ 1 จำนวน 35 ไร่ อยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติของบอร์ดการรถไฟแห่งประเทศไทย ระยะที่ 2 จำนวน 25 ไร่

  29. ความก้าวหน้าของโครงการ (ต่อ) 4. งานออกแบบรายละเอียดก่อสร้าง(ศูนย์กระจายสินค้าภาคใต้) งานออกแบบรายละเอียดและการก่อสร้างศูนย์กระจายสินค้า วงเงิน 20 ล้านบาท ได้รับอนุมัติบรรจุในแผนปฏิบัติราชการกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย (ชุมพร, สุราษฏร์ธานี, นครศรีฯ, และพัทลุง)ปี2555 แล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการเสนอคณะกรรมการฯพิจารณา

  30. ความก้าวหน้าของโครงการ (ต่อ) 3. งานก่อสร้างรางรถไฟแยกทางเข้าศูนย์กระจายสินค้า เพื่อให้บรรลุเป้าหมายระยะสั้นแก้ปัญหาความเดือดร้อนให้สามารถใช้งานได้ก่อน จึงจำเป็นต้องก่อสร้างทางแยกรางรถไฟเข้าโครงการฯเพื่อเชื่อมต่อกับงานถนนและลานคอนเทรนเนอร์ยาร์ด ที่ได้รับงบประมาณแล้วในปี 2554 จึงได้เสนอของบประมาณผ่านกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยประจำปี 2555 เพื่อก่อสร้างรางรถไฟเข้าโครงการศูนย์กระจายสินค้าภาคใต้-ทุ่งสง วงเงินประมาณ 28 ล้าน และได้รับอนุมัติให้บรรจุในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย และแผนปฎิบัติราชการกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยประจำปี 2555 แล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาจากคณะกรรมการฯ

  31. ความก้าวหน้าของโครงการ (ต่อ) • 2. ความร่วมมือระหว่างภาคีร่วม 2.1 ความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2.1.1เป็นความร่วมมือระหว่างอบจ.นครศรีฯ เทศบาลเมืองทุ่งสง และอบต.ชะมายในการร่วมทุนและผลักดันโครงการ 2.1.2 สภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้มีหนังสือยืนยันให้ความร่วมมือในการร่วมทุนและบริหารจัดการ 2.1.3 ม.สงขลานครรินทร์ ศึกษาความเหมาะสมและประเมินศักยภาพเบื้องต้น และจัดทำแผนธุรกิจ 2.1.4 ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย(ADB)โดยCities Development Initiativefor Asia โดย CDIA สนับสนุนผู้เชี้ยวชาญศึกษาความเป็นไปได้และผลกระทบ 2.1.5 กรอ.จังหวัดนครศรีธรรมราช เห็นชอบโครงการร่วมเสนอโครงการ 2.1.6 การรถไฟแห่งประเทศไทย และภาคธุรกิจ/เอกชน สนับสนุนโครงการ 2.1.7 ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สนับสนุนโครงการ

  32. ความก้าวหน้าของโครงการ(ต่อ)ความก้าวหน้าของโครงการ(ต่อ) • 5.จังหวัดนครศรีธรรมราชได้เสนอโครงการก่อสร้างศูนย์กระจายสินค้าภาคใต้-ทุ่งสง เข้าเป็นโครงการตามกรอบความร่วมมือเขตเศรษฐกิจ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย (IMT-GT) และได้รับการพิจารณาเป็นโครงการสำคัญ แล้ว

  33. รูปแบบถนนทางเข้าโครงการรูปแบบถนนทางเข้าโครงการ

  34. ตัวอย่างศูนย์กระจายสินค้าตัวอย่างศูนย์กระจายสินค้า

  35. สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง การรถไฟฯ ลาดกระบัง

  36. เครนคร่อมรางรถไฟ โดยส่วนใหญ่จะเป็น รางรถไฟรางคู่ และ ปลายตัน เข้ามาจอด แล้วลากออก

  37. ICD ในต่างประเทศ

  38. ตัวอย่างพื้นที่ใช้สอยตัวอย่างพื้นที่ใช้สอย

  39. ตัวอย่างพื้นที่ใช้สอยตัวอย่างพื้นที่ใช้สอย

  40. ผังพื้นที่ใช้สอย CDC-Thungsong

  41. พิจารณา ขนาดพื้นที่โครงการ CDC-Thungsong 1. 35ไร่ หรือ 56,000 ตรม. 2. 60ไร่ หรือ 96,000 ตรม.

  42. โครงการระยะที่ 1 : 35 ไร่ หรือ 56,000 ตรม. Transfer zone Container yard + Go down Office

  43. โครงการเสร็จสิ้น :60ไร่ หรือ 96,000ตรม. - Transfer zone - Container yard + Go down - Office- พื้นที่ซ่อมตู้ - โรงงานอุตสาหกรรมขนาดย่อม

  44. องค์ประกอบสำคัญของ CDC-Thungsong • คลังสินค้า • อาคารที่ทำงาน • ระบบสารสนเทศ • รถยก รถโฟค์ลิฟท์ • เครนขนาด 22 ตัน

  45. การบูรณาการความร่วมมือผลักดันโครงการฯการบูรณาการความร่วมมือผลักดันโครงการฯ • การร่วมทุน -อยู่ระหว่างการลงนาม MOU ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช เทศบาลเมืองทุ่งสง และองค์การบริหารส่วนตำบลชะมาย -สภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยสมาชิกสภาอุตสาหกรรมฯยืนยันยินดีร่วมทุนและร่วมบริหารจัดการโครงการ • ร่วมผลักดันโครงการ • กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย • สภาพัฒน์ฯ (ภาคใต้) • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ • - สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย • สภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช • กระทรวงมหาดไทย • กระทรวงคมนาคม • - จังหวัดนครศรีธรรมราช และหน่วยงานภาครัฐ, เอกชน • - สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรจังหวัดนครศรีธรรมราช • - การรถไฟแห่งประเทศไทย

More Related