220 likes | 435 Views
งานนำเสนอ. อ . สุวิ สาข์ เหล่า เกิด. จัดทำโดย. น . ส นิภาพรรณ ดีจันทร์ ID.533011210135 เลขที่ 9 น . ส ชุติมา โจนลายดา ID.533011210259 เลขที่ 18 น . ส จันทร์สุดา นน ทะ วงษา ID.533011210267 เลขที่ 19 นาย สุรชัย อ่อนพิทักษ์ ID.533011210283 เลขที่ 21
E N D
งานนำเสนอ อ.สุวิสาข์เหล่าเกิด
จัดทำโดย • น.ส นิภาพรรณ ดีจันทร์ ID.533011210135 เลขที่ 9 • น.ส ชุติมา โจนลายดา ID.533011210259 เลขที่ 18 • น.ส จันทร์สุดา นนทะวงษาID.533011210267 เลขที่ 19 • นาย สุรชัย อ่อนพิทักษ์ ID.533011210283 เลขที่ 21 • น.ส นพรัตน์ หงส์สุวรรณID.533011210515 เลขที่ 31 นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ (ค.บ.5ปี) ห้อง 1 คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
ความหมาย การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาหลักเป็นการสอนที่มุ่งสร้างใจและหาทางแก้ไขปัญหาโดยปัญหาจะเป็นจุดตั้งต้นของกระบวนการการเรียนรู้ และเป็นตัวกระตุ้นต่อไปในการพัฒนาทักษะ การแก้ไขปัญหาด้วยเหตุผล ละการสืบค้นข้อมูลที่ต้องการเพื่อสร้างความเข้าใจกลไกของตัวปัญหารวมทั้งวิธีการแก้ปัญหา(Barrows and Tamblyn,1980: 1,18)
lnois Mathematics and Science Academy (lMSA) (2001) ให้ความหมายการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาเป็นหลัก เป็นกระบวนการเรียนที่พัฒนากลวิธีการแก้ปัญหา พัฒนาความรู้ พัฒนาทักษะต่างๆ โดยให้นักเรียนเผชิญกับปัญหาในสภาพชีวิตจริง ซึ่งไม่มีการจัดโครงสร้างที่ชัดเจน
ยุรวัฒน์ คล้ายมงคล (2545: 55 ) ความหมายการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักว่า เป็นการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้ปัญหาเป็นเครื่องกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะศึกษาค้นคว้าหาความรู้โดยใช้กระบวนการแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้เรียนได้สมรรถภาพที่ต้องการ โดยมีครูเป็นผู้ให้การสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้
ทฤษฎี /แนวคิด แนวคิดพื้นฐานของการเรียนโดยที่ใช้ปัญหาเป็นหลักมี 2 แนวคิด คือ แนวคิดเรื่องการเรียนที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (student-centered learning) กับแนวคิดเรื่องการเรียนรู้แบบเอกัตภาพ (individualized learning) (ยุวดี ฤาชา,2536: 18-19) โดยกลวิธีการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนใช้ปัญหาหรือสถานการณ์ที่ต้องการปรับปรุงเป็นหลักในการแสวงหาความรู้ โดยใช้การหาความรู้
แนวทางการจัดการเรียนรู้การเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักและการดำเนินการในแต่ละขั้นตอน ไว้ดังนี้ ( Arends, 2001: 362-366) • แนะนำปัญหา • กำหนดงานที่ต้องดำเนินการ • รวบรวมข้อมูล • เตรียมนำเสนอผลงาน • วิเคราะห์และประเมินผลการทำงาน
Peter Schwartz et al. ( 2001: 2 ) เสนอขั้นตอนการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักไว้ดังนี้ • เผชิญกับปัญหา • สำรวจความรู้เกี่ยวกับปัญหาที่มีในทุกคนของกลุ่ม • ตั้งสมมติฐานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหา และทดลองสอบ • สมมุติฐานที่ตั้ง • ระบุสิ่งที่จำเป็นต้องเรียนรู้เพิ่มเติมเพิ่มเติมเพื่อแก้ปัญหา • แบ่งกลุ่มย่อยเพื่อค้นคว้าหาข้อมูลในการแก้ปัญหา
Peter Schwartz et al. ( 2001: 2 ) เสนอขั้นตอนการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักไว้ดังนี้ • รวบรวมความรู้ที่ได้มาจากการค้นคว้ากลุ่มย่อย และนำความรู้มา • ใช้กับปัญหา • หากยังแก้ปัญหาไม่ได้ให้ดำเนินการในข้อ 3-6 ใหม่จนกว่าจะ • แก้ปัญหาได้ • สรุปความรู้ที่ได้ทั้งด้านเนื้อหาและกระบวนการ
ยุรวัฒน์ คล้ายมงคล ( 2545: 118-123 ) ได้เสนอ กระบวนการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาหลักในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมมรรถภาพทางคณิตศาสตร์ 7 ขั้นตอน ดังนี้ 1.เตรียมปัญหา -จุดมุ่งหมาย เพื่อสร้างปัญหาสำหรับการเรียนให้ได้ตามสาระการเรียนรู้ด้านเนื้อหาและกระบวนการที่ต้องการ 2.สร้างความเชื่อมโยงสู่ปัญหา -จุดมุ่งหมาย เพื่อทำให้นักเรียนมีความรู้สึกว่าปัญหาะสบกรความสำคัญ และน่าให้ความสนใจและเวลาดำเนินการ และเพื่อนำเสนอปัญหา
3.สร้างกรอบของการศึกษา3.สร้างกรอบของการศึกษา -จุดมุ่งหมาย เพื่อสร้างกรอบหรือขอบเขตที่ชัดเจนที่จะทำให้การศึกษาค้นคว้าเป็นรูปธรรมชัดเจน ดำเนินต่อไปได้ง่ายและไปตามทิศทางที่กำหนด 4.ศึกษาค้นคว้าโดยกลุ่มย่อย -จุดมุ่งหมาย เพื่อรวบรวมข้อมูลที่ใช้ในการตัดสินใจ แก้ปัญหาตามที่กำหนดไว้กรอบการศึกษา 5.ตัดสินใจหาทางแก้ปัญหา -จุดมุ่งหมาย เพื่อประเมินความเป็นไปได้ ความเหมาะสมของแนวคิดเกี่ยวกับการแก้ปัญหาที่กำหนดไว้ โดยพิจารณาจากข้อมูลที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้า และเพื่อตัดสินใจเลือกวิธีการที่จะใช้ในการแก้ปัญหา
6.สร้างผลงาน -จุดมุ่งหมาย เพื่อสร้างชิ้นงานหรือดำเนินการตามแนวทางที่กำหนดไว้วิธีและเทคนิคการสอน ใช้ในการทำงานเป็นกลุ่ม 7.ประเมินผลการเรียนรู้ -จุดมุ่งหมายเพื่อสรุปสาระการเรียนรู้เรื่องเนื้อหา และกระบวนการประเมินการเรียนรู้และสร้างความเชื่อมโยงกับเรื่องที่เกี่ยวข้อง
สำหรับการประเมินสมรรถภาพในการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักนั้นควรดำเนินการ ดังนี้ 1.การประเมินความรู้ เป็นการประเมินความรู้ในเนื้อหาวิชาที่เป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพ ซึ่งได้จากการศึกษาค้นคว้าและการนำไปใช้ในการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน ประเมินจากการผู้เรียนตอบคำถาม เพื่อวัดความสามารถในการแก้ปัญหา 2.การประเมินสมรรถภาพในการใช้กระบวนการค้นคว้าหาความรู้ เป็นความสามารถในการค้นคว้าด้วยตนเองของผู้เรียน ซึ่งวิธีการประเมินทำได้ทั้งการให้ผู้เรียนประเมินตนเองหรือให้ผู้เกี่ยวข้องในการเรียนของนักศึกษาร่วมประเมินด้วย
3.การประเมินสมรรถภาพในการชี้นำด้วยตนเอง เป็นการประเมินความสามารถของผู้เรียนในการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองยอมรับตนเองประเมินตนเองตามความเป็นจริง 4.การประเมินสมรรถภาพในการทำงานเป็นกลุ่ม เป็นการประเมินความสามารถของผู้เรียนขณะอยู่ในกลุ่ม โดยกลุ่มจะเรียนรู้ไปพร้อมๆกันจากการช่วยการทำงานและค้นคว้าหาความรู้
ข้อค้นพบจากการวิจัยจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก มีข้อค้นพบจากการวิจัยดังนี้ 1.สมรรถภาพจากการจัดการเรียน ยุวดี ฤาชา (2536) ได้พัฒนาสูตรฝึกอบรมการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักสำหรับอาจารย์พยาบาล พบว่าทั้งอาจารย์และนักศึกษาพยาบาลกลุ่มที่ได้รับการฝึกอบรมมีสมรรถภาพในการจัดการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักเพิ่มขึ้นกว่าก่อนฝึกอบรมและหลังฝึกอบรม
2.ความสามารถในการแก้ปัญหา Faulkner (1999) ศึกษากับนักเรียนที่เรียนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักกับการใช้ตัวอย่างงานเป็นหลัก พบว่า นักเรียนที่เรียนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักมีความสามารถในการแก้ปัญหาสูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยใช้ตัวอย่างงาน และ ยุรวัฒน์ คล้ายมงคล (2545) วิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการการเรียนการสอนโดยการประยุกต์แนวการใช้ปัญหาเป็นหลักกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์ พบว่า กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น สามารถพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและทักษะการเสื่อมโยงให้เพิ่มขึ้นสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 20 ของคะแนนเต็มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.ผลสำฤทธิ์ทางการเรียน อาภรณ์ แสงรัศมี (2533) ได้ศึกษาผลการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักมีคะแนนเฉลี่ยลักษณะการเรียนรู้ด้วยตัวเองหลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีคะแนนเฉลี่ยหลังการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการเรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4.ทักษะการคิดวิจารณญาณ Shepherd 1998 ศึกษาผลการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักต่อทักษะการคิดวิจารณญาณของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่4และระดับประถมศึกษาปีที่5 พบว่าการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักช่วยพัฒนาทักษะการคิดวิจารณญาณได้และช่วยพัฒนาทัศนคติต่อการแก้ปัญหา
5.ความมั่นใจในตนเอง Campbell (1999) ศึกษาการรับรู้ประสิทธิภาพของการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักของครูและนักเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ พบว่า การเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักช่วยเพิ่มความมั่นใจในตนเอง และการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักแบบกลุ่มร่วมมือส่งผลโดยตรงต่อความสำเร็จของนักเรียน
6.แรงจูงใจในการเรียน Pedersen (2000) ศึกษาผลของเครื่องมือช่วยให้คำแนะนำในการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก พบว่า การเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักช่วยสร้างแรงจูงใจในการเรียนแก่นักเรียนมากกว่าการเรียนแบบปกติ 7.ความคงทนในการเรียนรู้ Nowak (2001) ศึกษาผลการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักในการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ พบว่า นักเรียนที่เรียนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักมีความคงทนในเนื้อหามากกว่าการเรียนแบบปกติ
จบการนำเสนอขอบคุณครับ/ค่ะจบการนำเสนอขอบคุณครับ/ค่ะ