1 / 13

33711 ชุดวิชาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการ รัฐประศาสนศาสตร์ หน่วยที่ 7

33711 ชุดวิชาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการ รัฐประศาสนศาสตร์ หน่วยที่ 7. รศ.ดร.เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนาระบบงาน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. รัฐประศาสนศาสตร์กับ การตรวจสอบถ่วงดุล. Accountability (หลักภาระรับผิดชอบ). หมายถึง

korene
Download Presentation

33711 ชุดวิชาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการ รัฐประศาสนศาสตร์ หน่วยที่ 7

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. 33711ชุดวิชาแนวคิดทฤษฎีและหลักการรัฐประศาสนศาสตร์หน่วยที่ 7 รศ.ดร.เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนาระบบงาน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช รัฐประศาสนศาสตร์กับการตรวจสอบถ่วงดุล

  2. Accountability (หลักภาระรับผิดชอบ) หมายถึง - ความพร้อมที่จะถูกตรวจสอบ สามารถตรวจสอบได้ ภาระรับผิดชอบ การตรวจสอบถ่วงดุล - สภาพของการถูกผูกมัด หรือข้อผูกมัดให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ต้องถูกเรียกให้ชี้แจง หรือแสดงบัญชีรายการแก่อีกบุคคลหนึ่ง - เป็นเรื่องของการควบคุมการใช้อำนาจ โดยอาศัยวิธีการวาง กฎระเบียบ หลักเกณฑ์ มาตรฐานการตัดสินใจ และขั้นตอน การปฏิบัติงาน - เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอย่างน้อยสองฝ่ายซึ่ง มีสถานภาพไม่เท่าเทียมกัน คือฝ่ายผู้มอบหมายอำนาจหน้าที่ ของตนให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งกระทำการแทน

  3. ความคิดเห็นของนักวิชาการต่อเรื่องหลักภาระรับผิดชอบความคิดเห็นของนักวิชาการต่อเรื่องหลักภาระรับผิดชอบ 1. James Fesler and Donald Kett - เชื่อมั่นอย่างสุจริตใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย สายการบังคับบัญชา และดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ไม่ละเมิดกรอบมาตรฐานของจรรยาวิชาชีพ 2. Robert D. Behn 1. สามารถตอบคำถาม อธิบาย หรือให้เหตุผลประกอบ การกระทำได้ 2. จับผิด ลงโทษ รวมถึงยับยั้งและป้องกันปัญหาการกระทำ ผิดในอนาคต 3. ขึ้นอยู่กับความคาดหวังของผู้เกี่ยวข้อง อาจมุ่งเน้นความ ซื่อสัตย์สุจริต และเสมอภาค หรือ มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์

  4. มิติมุมมองเรื่องภาระรับผิดชอบมิติมุมมองเรื่องภาระรับผิดชอบ 1. มิติเชิงวัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมาย - ต้องการผูกมัดใครให้รับผิดชอบต่อเรื่องใด 2. มิติเชิงสถาบัน - ใครมีความสัมพันธ์ในเชิงภาระรับผิดชอบ ต่อใคร และความสัมพันธ์เป็นลักษณะใด

  5. ภาระรับผิดชอบ มิติในเชิงวัตถุประสงค์ 1. มุ่งเน้นการมอบหมายและความไว้วางใจ ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ กฎเกณฑ์ นโยบาย คำสั่ง (compliance-based accountability) - ภาระรับผิดชอบต่อการใช้อำนาจรัฐ (accountability for the use of power) เน้นการใช้อำนาจอย่างถูกต้อง เป็นธรรมและเท่าเทียม - ภาระรับผิดชอบต่อการใช้จ่ายเงินแผ่นดิน (accountability for finance) เน้นการปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ซื่อสัตย์สุจริต ตอบคำถามต่อรัฐสภาและ ประชาชน 2. มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงาน(performance-based accountability) - การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่เน้นเรื่องคุณภาพ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความคุ้มค่าของเงิน

  6. ภาระรับผิดชอบ: มิติเชิงสถาบัน 1. ความสัมพันธ์ของลำดับขั้นตามโครงสร้างสายการบังคับบัญชาอย่างเป็นทางการ 1.1 ภาระรับผิดชอบทางการเมือง (political accountability) - ฝ่ายบริหารต่อฝ่ายนิติบัญญัติ 1.2 ภาระรับผิดชอบทางราชการ (bureaucratic accountability) - ข้าราชการประจำต่อฝ่ายการเมือง 1.3 ภาระรับผิดชอบทางการบริหารจัดการ (managerial accountability) 1.4 ภาระรับผิดชอบทางกฎหมาย (legal accountability) - การถ่วงดุลอำนาจ 1.5 ภาระรับผิดชอบทางการบริหารปกครอง (administrative accountability) - ฝ่ายปกครองกับองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ 2. ความสัมพันธ์ในบริบทของการบริหารปกครองประเทศแนวใหม่ 2.1 ภาระรับผิดชอบต่อสาธารณะ (public accountability) - การเปิดเผย การมีส่วนร่วมของประชาชน 2.2 ภาระรับผิดชอบต่อตลาด (market accountability) – ลดการผูกขาดของรัฐ ส่งเสริมให้มีการแข่งขันในการจัดบริการสาธารณะ (contestability) 3. ความสัมพันธ์ที่มีต่อตนเองและวิชาชีพ 3.1 การยึดมั่นค่านิยม 3.2 การยึดมั่นจรรยาบรรณวิชาชีพ 3.3 การยึดมั่นหลักศีลธรรม

  7. ประเภทของระบบควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินประเภทของระบบควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน 1. ระบบการควบคุมตนเอง - รับผิดชอบต่อตนเองและวิชาชีพ 2. ระบบการควบคุมภายใน 3. ระบบการควบคุมจากภายนอก

  8. ระบบการควบคุมภายใน • ระบบการควบคุมภายในของหน่วยงาน • - ควบคุมทางการบัญชีและการเงิน • - ควบคุมทางด้านการบริหาร • การควบคุมภายในของผู้บริหารราชการแผ่นดินฝ่ายการเมือง • - รัฐบาลรับผิดชอบต่อรัฐสภา • - ข้าราชการประจำมีหน้าที่ปฏิบัติตามนโยบายและคำสั่งฝ่าย • การเมือง

  9. ระบบการควบคุมจากภายนอกระบบการควบคุมจากภายนอก 1. โดยสถาบันที่เป็นทางการ • - สภา แต่งตั้ง สอดส่อง เร่งรัด รัฐบาล • - ศาล ตรวจสอบถ่วงดุลให้ฝ่ายบริหารปฏิบัติตามกฎหมาย • - องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ สอบสวนข้อเท็จจริง ไต่สวน • ฟ้องร้อง ตรวจสอบการใช้จ่ายเงิน 2. โดยสถาบันที่ไม่เป็นทางการ • - ประชาชน ชุมชน องค์กรประชาสังคม สื่อมวลชน และกลุ่มผลประโยชน์ ร้องเรียน ลงชื่อถอดถอน ขอให้เปิดเผยข้อมูล • และร่วมปรึกษาหารือ • - ระบบตลาด ปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่และลดขนาดภาครัฐ เปิดให้ • มีการแข่งขันประมูลงาน

  10. เครื่องมือสมัยใหม่ในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินเครื่องมือสมัยใหม่ในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน • การควบคุมตามโครงสร้าง สายการบังคับบัญชา 2. การควบคุมโดยอาศัยกลไกอื่น

  11. การควบคุมตามโครงสร้างสายการบังคับบัญชาการควบคุมตามโครงสร้างสายการบังคับบัญชา 1. การทำสัญญาข้อตกลงว่าด้วยผลงาน - เน้นควบคุมก่อน (ex ante control) - มุ่งเน้นภาระรับผิดชอบต่อผลงานและต่อการปรับปรุงขีดสมรรถนะมากขึ้น ให้อิสระผู้บริหารในการใช้ดุลยพินิจมากขึ้นโดยการระบุผลสัมฤทธิ์ที่ต้องการไว้ล่วงหน้า 2. การตรวจสอบและประเมินผลการบริหารราชการ - เน้นควบคุมหลัง (ex post control) - เป็นวิธีการควบคุมสมัยใหม่ ใช้ประโยชน์ในสถานการณ์ที่ แตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ - การสืบสวนหาข้อเท็จจริง - ทุจริต - การประเมินผลการดำเนินงาน - ผลผลิต ผลลัพธ์ - การประเมินผลกระทบ - ทางบวก ทางลบ

  12. การควบคุมโดยอาศัยกลไกอื่น(Albert O. Hirchman) 1. การเปิดให้มีทางเลือกออกไปใช้บริการ จากรายอื่น (Exit) 2. การแสดงความเห็นถึงความพอใจ – ไม่พอใจ ของประชาชนผู้รับบริการจากภาครัฐ (Voice)

  13. การเลือกใช้บริการกับการแสดงออกของประชาชนการเลือกใช้บริการกับการแสดงออกของประชาชน 1. ออกไปยาก – เสียงไม่ดัง (low exit-lowvoice) เช่น บริการด้านการแพทย์ (เปิดช่องให้ร้องเรียน จัดหน่วยบริการเคลื่อนที่) 2. ออกไปยาก - เสียงดัง (low exit-strongvoice) เช่น ไฟฟ้า ประปา (แต่งตั้งตัวแทนประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมตัดสินใจ) 3. ออกไปง่าย - เสียงไม่ดัง (high exit-lowvoice) เช่น การเคหะ สถานีอนามัย (เปิดให้มีผู้ให้บริการหลายราย contract out) 4. ออกไปง่าย - เสียงดัง (high exit-highvoice) เช่น สายการบิน (เปิดให้มีการแข่งขัน การแปรสภาพกิจการของรัฐให้เป็นเอกชน)

More Related