1 / 15

การละหมาดวันศุกร์( ญุมุอะฮฺ )

การละหมาดวันศุกร์( ญุมุอะฮฺ ). الصلاة الجمعة. كاملة سأمأعى. วันศุกร์เป็นวันสำคัญยิ่งในศาสนาอิสลาม มุสลิมต้องไปร่วมละหมาดวันศุกร์ที่มัสยิดซึ่งเป็นการละหมาดครั้งสำคัญในรอบสัปดาห์เพื่อเป็นการภัคดีต่ออัลลอฮฺ ดังฮัล-กุรอ่านกล่าวว่า..

kohana
Download Presentation

การละหมาดวันศุกร์( ญุมุอะฮฺ )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การละหมาดวันศุกร์(ญุมุอะฮฺ)การละหมาดวันศุกร์(ญุมุอะฮฺ) الصلاة الجمعة كاملة سأمأعى

  2. วันศุกร์เป็นวันสำคัญยิ่งในศาสนาอิสลาม มุสลิมต้องไปร่วมละหมาดวันศุกร์ที่มัสยิดซึ่งเป็นการละหมาดครั้งสำคัญในรอบสัปดาห์เพื่อเป็นการภัคดีต่ออัลลอฮฺ ดังฮัล-กุรอ่านกล่าวว่า.. يَاَيُّهاالَّذِينَ آمَنواإذا نُوْدِىَ لِلصَّلاةِ مِنْ يَوْمِ الجُمْعَةِ فَا سْعَواْإلىَ ذِكْرِاللهِ وَذَرواْ الْبَيْعَ ذَالِكُمْ خَيْرُلَكُمْ إنْ كُنْتُمْ تَعْلَموْنَ ความว่า... “โอ้มวลชนผู้ศรัทธา เมื่อมีการประกาศให้ละหมาดในวันศุกร์ สูเจ้าจงรีบเร่งมายังการรำลึก(ด้วยการทำละหมาดโดยพร้อมเพรียงกัน)และสูเจ้าจงละการค้าไว้(ในช่วงเวลานั้น)นั่นเป็นความประเสริฐที่สุดสำหรับสูเจ้า หากสูเจ้ารู้” (สูเราะฮิอัล-ญุมุอะฮฺ อายะฮฺที่๙)

  3. การละหมาดวันศุกร์มี ๒ ร็อกอะฮฺ และ ๒ คุฏบะฮฺก่อนละหมาด คุฏบะฮฺ คือ การกล่าวตักเตือนให้มุสลิมยำเกรงต่ออัลลอฮฺ ให้ปฏิบัติตนในทางที่ดีงาม ละเว้นความชั่ว ผู้ร่วมละหมาดวันศุกร์ต้องฟังคุฏบะฮฺด้วยความตั้งใจ มีสมาธิเพื่อให้การละหมาด มีความสมบูรณ์ ดังนั้นระหว่างการฟังคุฏบะฮฺ จึงห้ามพูดคุยกัน ท่านนบีมูฮัมหมัด ได้กล่าวว่า... ความว่า “เมื่อท่านกล่าวแก่เพื่อนในขณะที่อิหม่ามกำลังอ่านคุฏบะฮฺวันศุกร์ว่า “จงเงียบ” แน่แท้ ท่านได้กระทำสิ่งที่ยังให้เกิดการโมฆะ ท่านได้ทำให้ผลบุญในการละหมาดญุมุอะฮฺของท่านหมดไป (รายงานโดยบุคอรี และอื่นๆ) إِذَا قُلْتُ لِصَا حِبِكَ يَوْمَ الْجُمْعَةِ وَالإمَامِ يَخْطُبْ أَنْصِتْ فَقَدْ لَغَوْتَ

  4. การอ่านคุฏบะฮฺที่ถูกต้องและสมบูรณนั้น ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข และรุกนต่างๆ คือ ต้องอ่านคุฏบะฮฺก่อนละหมาด อ่านรุกนของคุฏบะฮฺด้วยภาษาอาหรับ อ่านเสียงดังฟังชัดต่อเนื่องกัน คอฏีบต้องยืนในขณะที่อ่านและนั่งในระหว่าง ๒ คุฏบะฮฺ

  5. รุกนคุฏบะฮฺ คือ ๑.การกล่าวสรรเสริญอัลลอฮฺในคุฏบะฮฺที่๑ และที่ ๒ เช่น คำว่า.. اَلْحَمْدُلِله ๒.การกล่าวเศาะลาวาตนบี ด้วย คำว่า.. ألْلّهُمَّ صَلِىْ عَلَىْ مُحَمَّدٍ ๓.การกล่าวตักเตือนให้มีความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ ด้วย คำว่า..إِتَّقُوْاْ الله ในคุฏบะฮฺที่ ๑ และที่ ๒ อ่านอายะฮฺอัล-กุรอ่านและกล่าวดุอาอ์ให้แก่มุสลิมในคุฏบะฮฺที่ ๒

  6. คุณสมบัติของผู้อ่านคุฏบะฮฺคุณสมบัติของผู้อ่านคุฏบะฮฺ

  7. ผู้อ่านคุฏบะฮฺ มีบุคลิกสง่างาม อ่านออกเสียงดัง ชัดเจน ใช้ภาษาเหมาะสมกับสภาพของมะอ์มูม เข้าใจง่าย สามารถนำไปปฏิบัติได้

  8. บุคคลที่ต้องไปร่วมละหมาดวันศุกร์บุคคลที่ต้องไปร่วมละหมาดวันศุกร์

  9. บุคคลที่ต้องไปร่วมละหมาดวันศุกร์บุคคลที่ต้องไปร่วมละหมาดวันศุกร์ ๑. มุสลิมที่เป็นชายบรรลุศาสนภาวะ ๒.เป็นผู้ที่มีถิ่นฐานในชุมชนนั้นๆ ๓. เป็นผู้ที่มีความสามารถเดินทางไปละหมาดได้ ส่วนมุสลิมะฮฺนั้นจะไปร่วมละหมาดวันศุกร์ก็ได้

  10. เวลาสำหรับการละหมาดวันศุกร์เวลาสำหรับการละหมาดวันศุกร์

  11. เวลาสำหรับการละหมาดวันศุกร์นั้น เป็นเวลาเดียวกับการละหมาดซุฮฺริเมื่อถึงเวลาแล้วให้อะซาน และละหมาดทันที

  12. คุณค่าของ การละหมาด วันศุกร์

  13. เป็นการแสดงออกถึงความเสียสละต่ออัลลอฮฺเป็นการแสดงออกถึงความเสียสละต่ออัลลอฮฺ • เป็นโอกาสที่ทำให้มุสลิมได้ทบทวนพฤติกรรมของตนเอง ที่ผ่านมาในรอบสัปดาห์ เพื่อที่จะไปปรับปรุงพัฒนาตนเองต่อไป • เป็นการแสดงความสมานฉันท์ทางสังคมบนพื้นฐาน ของจริยธรรมและคุณธรรม • เป็นการแสดงออกซึ่งความจงรักภักดีต่ออัลลอฮฺ • เป็นการแสดงความสามัคคีของชุมชน และการพบปะในรอบสัปดาห์

  14. สิ่งที่ควรจำ ๑.ละหมาดวันศุกร์ หรือละหมาดญุมุอะฮฺ มี ๒ ร็อกอะฮฺ และ ๒ คุฏบะฮฺก่อนละหมาด ๒.ทุกคนต้องฟังคุฏบะฮฺด้วยความสงบนิ่ง และมีสมาธิ

  15. وووو وَالسَّلامُ

More Related