210 likes | 354 Views
การจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อในชีวิตประจำวัน. เสนอ. อาจารย์สุวิ สาข์ เหล่าเกิด. จัดทำโดย. นายชยานนท์ แตงเกษม เลขที่ 25 รหัสนักศึกษา 533010611325. นางสาวจุไรพร มุทุ วงค์ เลขที่ 28 รหัสนักศึกษา 533010611366. นางสาว กนกวรรณ เกี๋ยงมูล เลขที่ 31
E N D
การจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อในชีวิตประจำวันการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อในชีวิตประจำวัน
เสนอ อาจารย์สุวิสาข์ เหล่าเกิด
จัดทำโดย นายชยานนท์ แตงเกษม เลขที่ 25 รหัสนักศึกษา 533010611325 นางสาวจุไรพร มุทุวงค์ เลขที่ 28 รหัสนักศึกษา533010611366 นางสาวกนกวรรณ เกี๋ยงมูล เลขที่ 31 รหัสนักศึกษา 533010611366
การจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อในชีวิตประจำวันการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อในชีวิตประจำวัน
ความหมาย สื่อในชีวิตประจำวัน หมายถึง เอกสารประเภทเสียงและเอกสารจริงประเภทสิ่งพิมพ์ซึ่งผลิตขึ้นมาเพื่อการสื่อสาร ให้ข้อมูล แนะนำ ชักชวน อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่ง ศุภวรรณ สงวนแก้ว ให้ความหมายของเอกสารจริงว่า คือเอกสารที่มิได้ผลิตเพื่อใช้ในการเรียนการสอนภาษาแต่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร โดยแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
2.เอกสารจริงประเภทเสียง ได้แก่
ทฤษฎี/แนวคิด การใช้สื่อในชีวิตประจำวัน การนำเอกสารจริงมาใช้ในการเรียนการสอน ครูจะต้องสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์จากเอกสารจริง ที่เหมือนหรือคล้ายคลึง กับสถานการณ์ในชีวิตจริง ควรมีลักษณะดังนี้
1.ความเหมาะสมของตัวสาร เนื้อหาและระดับของภาษา จะต้องเหมาะสม กับความสามารถของผู้เรียน งานที่ให้ผู้เรียนปฏิบัตินั้นจะต้องเหมาะสมกับความสามารถ และความสนใจของผู้เรียน 2.ความเหมาะสมของงาน การจัดลำดับงานที่ให้จะต้องเริ่มจากงานที่ซับซ้อนน้อยไปมาก 3.ความเหมาะสมตามลำดับขั้น
ประโยชน์ของสื่อในชีวิตประจำวันประโยชน์ของสื่อในชีวิตประจำวัน การใช้ข้อความจากเอกสารจริงนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารในสถานการณ์จริงสถานการณ์หนึ่ง ที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เห็นตัวอย่างในสถานการณ์จริงซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนมาก ดังนี้
1. ความสมบูรณ์และลักษณะของข้อความจากเอกสารจริง 2. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พบกับความหลากหลาย และความเป็นธรรมชาติของข้อความเนื่องจากผู้เรียนมีโอกาสเลือกเรื่องตาม ความสนใจของตน 3. เหมาะสำหรับการอ่านเพื่อความสนุกสนานหรือการอ่านนอกเวลา 4. ข้อความในเอกสารจริงมีลักษณะความซ้ำซ้อน ซึ่งจะช่วยในการฝึก เดาความคิด 5. ข้อความในเอกสารจริงจะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ความรู้เดิมในการเดาความหมาย
6. ข้อความในเอกสารจริงที่นักเรียนคุ้นเคยและสนใจ ช่วยในด้านความทรงจำของผู้เรียน ซึ่งผู้เรียนจำได้ดีขึ้น 7. ผู้เรียนได้ประสบการณ์จริงทางด้านวัฒนธรรม เช่น วัฒนธรรมในการทักทาย เป็นต้น 8. เอกสารจริงเป็นเครื่องช่วยเชื่อมระหว่างความรู้ในชั้นเรียน และความสามารถที่จะสื่อภาษาในสถานการณ์จริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ 9. การที่ผู้เรียนได้มีโอกาสใช้ภาษาในถานการณ์จริงจะทำให้เกิดแรงจูงใจในการเรียนเต็มที่จะมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
แนวทางการจัดการเรียนรู้แนวทางการจัดการเรียนรู้
การเลือกใช้สื่อในชีวิตประจำวันในการเรียนการสอนการเลือกใช้สื่อในชีวิตประจำวันในการเรียนการสอน การนำเอกสารจริงมาใช้มาใช้ในการเรียนการสอนมีแนวการเลือกใช้ดังนี้ 1.ครูควรศึกษาจุดมุ่งหมายในการใช้ เพื่อจัดอันดับและประเทของเอกสารจริงที่ ต้องการใช้ได้ถูกต้อง 2.ควรดูความสั้นยาวของข้อความว่าเหมาะสมกับระดับชั้นของผู้เรียนหรือไม่ 3.ควรเป็นเรื่องใหม่และทันสมัย 4.ควรเน้นข้อความหรือเนื้อเรื่องที่น่าเชื่อถือและเหมาะสมกับผู้เรียน 5.ควรหมอบหมายเอกสารจริงให้ผู้เรียนได้ฝึกทำ เพื่อเน้นการกระตุ้นให้ผู้เรียนมี ความสนใจในการใช้ภาษามากขึ้น
swaffar(1985)ได้กล่าวถึงเกณฑ์ในการเลือกเอกสารจริงดังนี้swaffar(1985)ได้กล่าวถึงเกณฑ์ในการเลือกเอกสารจริงดังนี้ 1.คัดเลือกเอาเอกสารจริงที่มีข้อความเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในการสอน 2.จำแนกประเภทและเรื่องของลักษณะเอกสารจริง โดยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเลือกเอกสารจริง 3.คัดเลือกข้อความที่ผู้เรียนมีความคุ้นเคย เพราะทำให้ผู้เรียนเข้าใจเรื่องนั้นได้เร็ว 4.คัดเลือกข้อความที่มีความชัดเจน สอดคล้องตามหลักเหตุผล 5.เป็นข้อความที่มีความเชื่อมโยงกับกิจกรรมที่เคยทำในชั้นเรียนมาก่อนแล้ว 6.เลือกข้อความที่คำนึงถึงศัพท์ โครงสร้างที่ผู้เรียนคุ้นเคยรวมทั้งหัวข้อที่น่าสนใจ เพื่อช่วยในด้านความทรงจำของนักเรียน
ศุวรรณ สงวนแก้ว(2526)ได้สรุปการใช้เอกสารจริงในการสอนภาษาได้ดังนี้ 1.ใช้เป็นอุปกรณ์สื่อให้ผู้เรียนเข้าถึงและเข้าใจภาษาและวัฒนธรรม 2.ใช้เป็นการสอนหลักสำหรับการสอนความเข้าใจภาษาและการเขียน 3.ใช้เป็นตัวบทเรียนสำหรับสอนคำศัพท์ สำนวนภาษาและเนื้อเรื่อง 4.ใช้เป็นอุปกรณ์การสอนเขียน 5.ใช้เป็นแบบทดสอบเพื่อจะได้ทราบว่าสิ่งที่เรียนไปแล้วนั้น ผู้เรียนมีความเข้าใจมากน้อยเพียงใด
สาวิตรี วุฒิคะโร(2530)ได้กล่าวถึงการนำข้อความจากเอกสารจริงเพื่อใช้ในการสอนภาษาไว้ดังนี้ 1.บทบาทของผู้สอน ควรเป็นเพียงผู้จัด ประสบการณ์จริงให้กับผู้เรียนผู้สอนจึงเป็นเพียงผู้ชี้แนะเท่านั้น 2.ผู้สอนควรจัดให้มีกิจกรรมหลายๆ กิจกรรม ที่เน้นการสื่อสารหลังจากที่ผู้เรียนได้อ่านเอกสารจริง 3.อาจใช้เป็นบทเรียนเสริมบทเรียนที่เรียนมาแล้ว
คำถาม 1. จงบอกความหมายของสื่อในชีวิตประจำวัน 2. เอกสารจริงมีกี่ประเภท อะไรบ้าง 3. การสร้างกิจกรรมจากเอกสารจริงมีลักษณะอย่างไร 4. จงบอกประโยชน์ของสื่อในชีวิตประจำวัน อย่างน้อย 3ข้อ 5. เอกสารจริงประเภทเขียนหรือประเภทสิ่งตีพิมพ์ มีอะไรบ้างยกตัวอย่างมาอย่างน้อย 3 ชนิด
คำตอบ • ตอบ หมายถึง เอกสารประเภทเสียงและเอกสารจริงประเภทสิ่งพิมพ์ซึ่งผลิตขึ้นมาเพื่อการสื่อสาร ให้ข้อมูล แนะนำ ชักชวน อย่างใดอย่างหนึ่ง • ตอบ 2 ประเภท คือ 1. เอกสารจริงประเภทเขียนหรือประเภทสิ่งตีพิมพ์ 2.เอกสารจริงประเภทเสียง • ตอบ 1.ความเหมาะสมของตัวสาร 2.ความเหมาะสมของงาน 3.ความเหมาะสมตามลำดับขั้น
ตอบ 1.เหมาะสำหรับการอ่านเพื่อความสนุกสนานหรือการอ่านนอก เวลา 2.ข้อความในเอกสารจริงมีลักษณะความซ้ำซ้อน ซึ่งจะช่วยใน การฝึกเดาความคิด 3.ข้อความในเอกสารจริงจะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ความรู้เดิม ในการเดาความหมาย 5. ตอบ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร โฆษณา การ์ตูน โปสเตอร์ แผ่นป้าย ตั๋ว ตาราง เทเล็กซ์ แผนภูมิ นิทาน นวนิยาย รูปภาพ บท ประพันธ์ ใบปลิว ฉลากยา แบบสำรวจ แบบสอบถาม แบบฟอร์มต่างๆ