1 / 36

ต้นทุนชนิดต่างๆ ของการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

ต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต (Unit Cost). ของห้องปฏิบัติการชันสูตร. วัตถุประสงค์การเรียนการสอน. ให้นักศึกษาสามารถ อธิบาย. ต้นทุนชนิดต่างๆ ของการตรวจทางห้องปฏิบัติการ. วิธีการ allocate ค่าใช้จ่ายไปที่การตรวจทางห้องปฏิบัติการ. วิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคาเฉลี่ย.

kita
Download Presentation

ต้นทุนชนิดต่างๆ ของการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต (Unit Cost) ของห้องปฏิบัติการชันสูตร วัตถุประสงค์การเรียนการสอน ให้นักศึกษาสามารถ อธิบาย ต้นทุนชนิดต่างๆ ของการตรวจทางห้องปฏิบัติการ วิธีการ allocate ค่าใช้จ่ายไปที่การตรวจทางห้องปฏิบัติการ วิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคาเฉลี่ย การคำนวณต้นทุนต่อหน่วยการตรวจทางห้องปฏิบัติการได้

  2. Basic concepts and definitions ความหมายของต้นทุน ทุน [ทุน] (1) น. ของเดิมหรือเงินเดิมที่มีไว้ ลงไว้ กำหนดไว้ จัดตั้งไว้ เพื่อประโยชน์ ให้งอกงาม เช่น มีความรู้เป็นทุน มีเงินเป็นทุน (2) น. เงินหรือทรัพย์สินอื่นๆ ที่ตั้งไว้สำหรับดำเนินกิจการเพื่อหา ผลประโยชน์ ต้นทุน [ต้น-ทุน] น. ทุนเดิมสำหรับทำกิจการ

  3. ราชบัณฑิตยสถานให้คำแปลของ Costไว้ 2 ความหมายคือ (๑) ค่าใช้จ่ายและ (๒) ต้นทุน Expenditureหมายถึง การใช้จ่ายต้นทุน (Cost) ต้นทุน (Cost)หมายถึง จำนวนเงินที่จ่ายเป็นเงินสดหรือสินทรัพย์ โดยการบริการผลิตหรือก่อหนี้ เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการ ค่าใช้จ่าย (Expenditure)หมายถึง การใช้ต้นทุนให้หมดไป โดยหักจากรายได้ในรอบระยะเวลาหนึ่ง โดยทั่วไปหมายถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดำเนินงาน

  4. ประเภทของต้นทุน แบ่งตามเจ้าของหรือผู้รับภาระ ได้ 3 ประเภท คือ ต้นทุนของผู้ผลิต (Provider cost)หมายถึง ต้นทุนสินค้าหรือบริการ (product cost or service cost) ได้แก่ ค่าวัสดุ ค่าเสื่อมราคาครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้าง และค่าแรง ต้นทุนของลูกค้า (Customer cost)หมายถึง ต้นทุนการใช้บริการของลูกค้า ได้แก่ ค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าบริการ และอาจรวมต้นทุนทางอ้อมอื่นๆ อีก เช่น ความกลัวบริการหรือต้นทุนทางจิตใจ (psychological cost) และเวลาที่ต้องเสียไปเมื่อ มารับบริการ ซึ่งทำให้ลูกค้าเสียโอกาสที่ควรจะได้ เช่น ผลผลิตลดลง หรือ มีรายได้ลดลง ต้นทุนทางสังคม (Social cost)หมายถึง ต้นทุนที่เกิดจากผลกระทบของ สิ่งแวดล้อมหรือสังคมรอบๆ ข้าง

  5. แบ่งตามลักษณะการใช้จ่าย ได้ 2 ประเภท คือ ตัวเงิน (Monetary cost)หมายถึง จำนวนเงินที่ต้องจ่ายจริงหรืออาจเป็น หนี้ผูกพันที่ต้องจ่ายในอนาคต ไม่ใช่ตัวเงิน (Non monetary cost)หมายถึง ของรับบริจาค แรงงานอาสาสมัคร แบ่งตามความเป็นรูปธรรม มองเห็น (Tangible cost)หมายถึง ตัวเงิน เช่น ค่าเดินทาง ค่ารักษา ค่าอาหาร ค่าใช้บริการ มองไม่เห็น (Intangible cost)หมายถึง ค่าเสียโอกาส ต้นทุนทางจิตใจ มูลค่าผลกระทบที่อาจเกิด

  6. แบ่งตามวัตถุประสงค์ของต้นทุนแบ่งตามวัตถุประสงค์ของต้นทุน ต้นทุนโดยตรง(direct cost) หมายถึง ต้นทุนที่ใช้โดยตรง เพื่อก่อให้เกิดผลสำเร็จของผลิตภัณฑ์หรือบริการ เช่น ค่าแรงงาน ค่าวัสดุ/อุปกรณ์หรือเครื่อง ที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์สิ่งส่งตรวจ ต้นทุนโดยอ้อม(indirect cost)หมายถึง ต้นทุนที่ไม่ได้ใช้ โดยตรงเพื่อก่อให้เกิดผลสำเร็จของผลิตภัณฑ์หรือบริการ เช่น ค่าบริหารองค์กร ค่าพัฒนาบุคลากร

  7. แบ่งตามพฤติกรรมของต้นทุนแบ่งตามพฤติกรรมของต้นทุน ต้นทุนคงที่(fixed cost) หมายถึง ต้นทุนรวมที่ต้องจ่าย โดยไม่ขึ้นกับผลผลิต/บริการที่เพิ่มหรือลด เช่น ค่าเช่าอาคาร ค่าเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ ต้นทุนต่อหน่วยจะเปลี่ยนตามจำนวนผลผลิต/บริการ ต้นทุนผันแปร(variable cost) หมายถึง ต้นทุนรวมที่ต้องจ่ายแปรผันตามจำนวนผลผลิต/บริการ เช่น ต้นทุนค่าน้ำยาตรวจวิเคราะห์ ต่อ 1 การตรวจทดสอบ ต้นทุนต่อหน่วยจะคงที่ต่อหน่วยผลผลิต/การบริการ

  8. พฤติกรรมของต้นทุน ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) ต้นทุนผันแปรอย่างแท้จริง (True variable costs)

  9. ต้นทุนผันแปรตามระดับ (Step variable costs)

  10. ต้นทุนคงที่ (Fixed Costs) ต้นทุนคงที่อย่างแท้จริง (True Fixed Costs) ระดับการผลิต(หน่วย) ต้นทุนคงที่(บาท) ต้นทุนต่อหน่วย(บาท) 10,000 200,000 20.00 20,000 200,000 10.00 40,000 200,000 5.00 80,000 200,000 2.50 ต้นทุนคงที่ตามระดับ (Step Fixed Costs) จำนวนกะ ระดับการผลิต (หน่วย) ต้นทุนคงที่รวม (บาท) 1 0 – 200,000 50,000 2 200,001 – 400,000 100,000 3 400,001 – 600,000 150,000

  11. ต้นทุนผสม (Mixed Costs) ต้นทุนผสมอย่างแท้จริง (Trued Mixed Costs) 1,000,000 800,000 600,000 400,000 200,000 ต้นทุนผันแปร ต้นทุนรวม (บาท) ต้นทุนคงที่ จำนวนหน่วยผลผลิต

  12. แบ่งตามมูลเหตุที่ก่อให้เกิดรายได้แบ่งตามมูลเหตุที่ก่อให้เกิดรายได้ ต้นทุนสินค้าหรือบริการ (Product cost)หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่ใช้ไปเพื่อ ให้ได้สินค้าหรือบริการ ต้นทุนตามรอบระยะเวลาบัญชี (Period cost)เป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นตาม รอบระยะเวลาปิดงบกำไรขาดทุนประจำงวด เช่น ค่าเสื่อมราคาครุภัณฑ์ แบ่งตามพฤติกรรมต้นทุนต่อปริมาณสินค้าหรือบริการ ต้นทุนผันแปร (Variable cost)หมายถึงค่าใช้จ่ายที่มีมูลค่ารวมแปรผัน ตามปริมาณการผลิต สินค้าหรือบริการ ได้แก่ ค่าวัสดุ ค่าแรงที่จ่ายตามปริมาณการผลิต ต้นทุนคงที่ (Fixed cost)หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่มีมูลค่ารวมคงที่ ไม่แปรผัน ตามปริมาณการผลิตสินค้าหรือบริการ ได้แก่ ค่าเสื่อมราคาครุภัณฑ์ ค่าแรงที่จ่ายเป็นเงินเดือน

  13. แบ่งตามประเภททรัพยากรที่ใช้แบ่งตามประเภททรัพยากรที่ใช้ ต้นทุนวัสดุ (Material cost)หมายถึง ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับวัสดุที่ใช้ใน การผลิตสินค้าหรือบริการ รวมถึงค่าวัสดุที่สูญเสียไปโดยไม่ทำให้ได้ สินค้าและบริการในรอบการผลิตด้วย ต้นทุนค่าแรง (Labor cost)หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน และค่าสวัสดิการต่างๆ ที่จ่ายให้บุคลากร เพื่อให้เกิดการ ดำเนินงาน อาจเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่สัมพันธ์กับปริมาณงานหรือ ตามปริมาณงานก็ได้ ต้นทุนลงทุน (Capital cost)หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปเพื่อให้ได้สิทธิ ในทรัพย์สินที่ใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการ เช่น ที่ดิน อาคาร สิ่งก่อสร้าง เครื่องจักร รถยนต์ ครุภัณฑ์ เป็นต้น ต้นทุนลงทุนนี้อาจแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

  14. ต้นทุนลงทุน (Capital cost)อาจแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ค่าเสียโอกาส (Opportunity cost) ค่าเสื่อมราคาตามอายุการใช้ทรัพย์สิน (Depreciated cost) ในการวิเคราะห์ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ (Economic cost) ต้นทุนลงทุนจะรวมทั้งค่าเสียโอกาสและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน แต่การวิเคราะห์ต้นทุนการเงิน (Financial cost) ต้นทุนลงทุนจะไม่รวมค่าเสียโอกาส

  15. ผังแสดงประเภทของต้นทุนในธุรกิจผลิตสินค้าหรือบริการผังแสดงประเภทของต้นทุนในธุรกิจผลิตสินค้าหรือบริการ ต้นทุนรวม ต้นทุนผันแปร ต้นทุนคงที่ ต้นทุนการผลิตผันแปร ต้นทุนการผลิตคงที่ ค่าใช้จ่ายใน การขายและ การบริหาร ผันแปร ค่าใช้จ่ายใน การขายและ การบริหาร คงที่ วัตถุดิบทางตรง แรงงานทางตรง ค่าใช้จ่ายในการผลิตผันแปร ค่าใช้จ่ายในการผลิตคงที่

  16. วัตถุดิบทางตรง(Direct Materials)หมายถึง วัตถุดิบที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตสินค้าหรือบริการ และสามารถแบ่งแยกหรือคิดเข้าเป็นต้นทุนของสินค้าหรือบริการที่ผลิตได้ง่ายสำหรับวัตถุดิบที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้หรือไม่สามารถคิดเข้าเป็นต้นทุนของสินค้าหรือบริการได้ให้ถือเป็นวัตถุดิบทางอ้อม (Indirect Materials)หรือวัสดุสิ้นเปลือง (Supplies)ซึ่งปรากฏเป็นรายการอยู่ในค่าใช้จ่ายในการผลิต แรงงานทางตรง(Direct Labor)หมายถึง ค่าแรงงานที่จ่ายให้กับพนักงานที่ผลิตสินค้าหรือบริการโดยตรง และสามารถคิดเป็นต้นทุนของสินค้าหรือบริการได้ง่าย สำหรับค่าแรงที่ไม่สามารถคิดเข้าเป็นต้นทุนของสินค้าหรือบริการได้เนื่องจากไม่ใช่แรงงานที่ผลิตสินค้าโดยตรง จะถือเป็นแรงงานทางอ้อม (Indirect Labor)ซึ่งปรากฏเป็นรายการอยู่ในค่าใช้จ่ายในการผลิต

  17. ค่าใช้จ่ายในการผลิต(Manufacturing Overhead)หมายถึง ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการผลิตสินค้าหรือบริการ ยกเว้น วัตถุดิบทางตรงและแรงงานทางตรง เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถระบุได้ชัดว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขั้นจากการผลิตสินค้าหรือบริการชนิดใด แต่เป็นค่าใช้จ่ายที่ช่วยให้กระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการเป็นไปโดยราบรื่น โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท ค่าใช้จ่ายในการผลิตผันแปร(variable cost) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เปลี่ยนแปลงไปตามกิจกรรมการผลิต ค่าใช้จ่ายในการผลิตคงที่(fixed cost)หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกิจกรรมการผลิต เช่น ค่าเช่าสถานที่ ค่าประกันภัย ค่าเสื่อมราคาครุภัณฑ์

  18. วัตถุประสงค์การวิเคราะห์ต้นทุน ต้องการทราบ • ต้นทุนการให้บริการผู้ป่วยนอก เท่ากับ ....บาท/ครั้ง • ต้นทุนการให้บริการผู้ป่วยใน เท่ากับ .... บาทต่อราย • ต้นทุนการให้บริการผู้ป่วยใน เท่ากับ .... บาทต่อราย • ต้นทุนต่อหน่วยการให้บริการตรวจ .... บาทต่อตัวอย่าง • ต้นทุนต่อหน่วยการให้บริการตรวจ .... บาทต่อ 1 รายการตรวจ • อัตราส่วนของต้นทุน เป็น ค่าแรง : ค่าวัสดุ : ค่าลงทุน เท่ากับเท่าใด ต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตของห้องปฏิบัติการ หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่จ่ายเพื่อให้เกิดผลผลิตที่ต้องการ 1 หน่วย ผลผลิตของห้องปฏิบัติคือ ผลตรวจตัวอย่าง

  19. กรอบแนวคิดและขั้นตอนในการวิเคราะห์กรอบแนวคิดและขั้นตอนในการวิเคราะห์ 1. ศึกษาและวิเคราะห์โครงสร้างของระบบงาน (System analysis) และโครงสร้างการบริหารงบประมาณ เพื่อจำแนกหน่วยงานเป็นหน่วยต้นทุน (Cost center) ตามลักษณะหน้าที่และความสัมพันธ์ในการให้บริการและการสนับสนุนกันของแต่ละหน่วยงาน หน่วยต้นทุนที่ให้บริการแก่หน่วยงานภายในและไม่มีบริการที่ใช้เรียกเก็บค่าบริการจากผู้มาขอรับบริการได้ เรียก หน่วยต้นทุนที่เรียกเก็บเงินไม่ได้ (Non-revenue produciing center: NRPCC) หน่วยต้นทุนที่เรียเก็บค่าบริการจากผู้มาขอรับบริการได้ (Revenue producing cost center: RPCC) หน่วยงานที่ให้บริการผู้ป่วยโดยตรง (Direct patient service center,Patient service area: PS หน่วยงานที่ไม่ให้บริการผู้ป่วยโดยตรง (Indirect patient service center,Non-patient service area: NPS

  20. กรอบแนวคิดและขั้นตอนในการวิเคราะห์กรอบแนวคิดและขั้นตอนในการวิเคราะห์ 2. ศึกษาต้นทุนรวมโดยตรง (total direct cost) ของทุกหน่วยต้นทุน ค่าแรง ค่าวัสดุ ค่าลงทุน 3. จัดสรรต้นทุนของ NRPCC และ RPCC ไปให้หน่วยต้นทุนสุดท้าย (หน่วยบริการผู้ป่วย) ต้นทุนที่ PS ได้รับนี้เรียกว่า ต้นทุนทางอ้อม 4. หาต้นทุนต่อหน่วยบริการ ต้นทุนทั้งหมด = ต้นทุนทางตรง + ต้นทุนทางอ้อม

  21. หน่วยต้นทุนของงานบริการสุขภาพหน่วยต้นทุนของงานบริการสุขภาพ หน่วยบริการ หน่วยสนับสนับสนุนการบริการ เรียกเก็บค่าบริการรวม ตามรายการ ไม่สามารถเรียกเก็บค่าบริการ จากผู้มารับบริการ กำหนดค่าบริการ/รายการ เพื่อให้หน่วยบริการเรียกเก็บ หน่วยบริการผู้ป่วยนอก งานชันสูตร งานบริการและธุรการ งานการเงิน หน่วยบริการผู้ป่วยใน งานรังสีวินิจฉัย งานเวชระเบียน งานสาธารณสุขชุมชน งานเภสัชกรรม งานจ่ายกลาง คลินิกโรคเฉพาะทาง งานทันตกรรม งานพัสดุ งานห้องผ่าตัด งานซ่อมบำรุง ผลิต: งานบริการที่เรียกเก็บค่าบริการ/รายการ งานยานพาหนะ ต้นทุนค่าบริการ/รายการ Unit Cost งานซักฟอก งานโภชนาการ

  22. Cost components (องค์ประกอบของต้นทุน) Total Cost (ต้นทุนรวม) หน่วยงานที่ผลิตผลผลิต/บริการ หน่วยงานสนับสนุน Total Indirect Cost (ต้นทุนรวมทางอ้อม) ของหน่วยงานสนับสนุน Total Direct Cost (ต้นทุนรวมทางตรง) OC CC Operating Cost ต้นทุนดำเนินการ Capital Cost เงินลงทุน LC MC Labor Cost ต้นทุนค่าแรง Materials Cost ต้นทุนค่าวัสดุ Allocate (จัดสรร) จากหน่วยงานสนับสนุน เป็นต้นทุนของหน่วยงาน ที่ผลิตผลผลิต/บริการ Fixed or Variable Cost ต้นทุนคงที่ หรือ ต้นทุนผันแปร Fixed Cost ต้นทุนคงที่

  23. ต้นทุนของห้องปฏิบัติการชันสูตรต้นทุนของห้องปฏิบัติการชันสูตร มีพฤติกรรมแบบไหน ?

  24. ต้นทุนทางตรง (Direct cost) • ต้นทุนของผลผลิตที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกระบวนการผลิต • ตัวอย่างเช่น • ค่าแรงผู้ปฏิบัติหน้าที่ตรวจวิเคราะห์ • ค่าวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์ • ค่าวัสดุในระบบควบคุมคุณภาพผลการตรวจ • ค่าเสื่อมราคาเครื่องที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์

  25. ต้นทุนทางอ้อม (Indirect cost) • ต้นทุนของผลผลิตที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกระบวนการผลิต • ตัวอย่าง เช่น • ค่าแรงผู้บริหารห้องปฏิบัติการ • การบริหาร • ค่าแรงผู้ปฏิบัติงานสนับสนุนการตรวจ • ค่าใช้จ่ายในการตลาด • ค่าบำรุงรักษาอาคารปฏิบัติงาน • ค่าเช่าสถานที่ปฏิบัติงาน

  26. 1. ต้นทุนคงที่จาก 1.1 ค่าเสียโอกาสในที่ดิน & ค่าเสื่อมราคาของที่ดิน ? 1.2ค่าเสื่อมราคาของครุภัณฑ์ที่ใช้ภายในหน่วยงานชันสูตร 1.4 ต้นทุนที่ได้รับการปันส่วนมาจากหน่วยงานอื่นๆ ห้องปฏิบัติการชันสูตร ไปขอใช้บริการ เพื่อให้งานของห้องปฏิบัติการชันสูตรบรรลุเป้าหมาย 1.5ค่าใช้จ่ายคงที่ ในการดำเนินงานของห้องปฏิบัติการชันสูตร 1.5.1 วัตถุดิบทางอ้อม 1.5.2 แรงงานทางอ้อม 2. ต้นทุนผันแปรจาก 2.1 วัตถุดิบทางตรงที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์ 2.2 แรงงานทางตรงที่จ่ายให้กับเจ้าหน้าที่ที่ตรวจวิเคราะห์ 2.3 ค่าใช้จ่ายผันแปรตามปริมาณงาน 2.3.1 วัตถุดิบทางอ้อม 2.3.2 แรงงานทางอ้อม

  27. ราคาทุน – มูลค่าซาก อายุการใช้งาน ค่าเสื่อมราคารายปี = ค่าเสื่อมราคา (Depreciation cost) คือ มูลค่าของครุภัณฑ์ ที่ดิน และอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่ถูกกระจายออกเป็นงวดๆ เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายรายปีอันเกิดจากครุภัณฑ์ ที่ดิน และอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างเหล่านั้น ซึ่งประเมินจากอายุการใช้งานเป็นปัจจัยหลัก นิยมคิดให้เท่ากับ 0 เมื่อครบอายุการใช้งาน วิธีเส้นตรง (Straight line method) เครื่องปั่น ราคา 150,000 บาท อายุการใช้งาน 5 ปี ค่าเสื่อมราคา = ?

  28. ขั้นตอนการจัดทำต้นทุนหน่วยผลผลิตขั้นตอนการจัดทำต้นทุนหน่วยผลผลิต 1. กำหนด ผลผลิต/บริการ ตามพันธกิจ ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน 2. ระบุกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องปฏิบัติเพื่อให้ได้ ผลผลิต/บริการ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ ผลผลิต/บริการ ค่าใช้จ่ายที่ใช้กับกิจกรรมนี้ เป็นต้นทุนทางตรง direct cost กิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ ผลผลิต/บริการ ค่าใช้จ่ายที่ใช้กับกิจกรรมนี้ เป็นต้นทุนทางอ้อม indirect cost 3. ระบุหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่โดยตรงในการสร้างผลผลิต/บริการ หน่วยงานหลัก => Functional cost center หน่วยงานสนับสนุน => Support cost center 4. ระบุต้นทุนรวมของทั้งหน่วยงาน แยกเป็นต้นทุนทางตางและต้นทุนทางอ้อม และระบุว่าเป็นต้นทุนของหน่วยงานใดบ้าง 5. กำหนดเกณฑ์การปั่นส่วนต้นทุนของหน่วยงานสนับสนุนเข้าหน่วยงานหลัก ค่าใช้จ่ายบางอย่างอาจเป็นได้ทั้งค่าใช้จ่ายทางตรงและทางอ้อม

  29. ต้นทุน หน่วยงาน กิจกรรม ผลผลิต จุลทรรศน์ ตรวจวิเคราะห์ & บันทึกผล ผลตรวจ1 Direct C ผลตรวจ2 เคมีคลินิก ตรวจวิเคราะห์ & บันทึกผล Labor C ผลตรวจ3 จุลชีววิทยา ตรวจวิเคราะห์ & บันทึกผล Material C ภูมิคุ้มกัน ตรวจวิเคราะห์ & บันทึกผล ผลตรวจ4 Capital C ตรวจวิเคราะห์นอกเวลา&บันทึกผล Indirect C เก็บตัวอย่าง เจาะ/เก็บตัวอย่าง Labor C ลงทะเบียนรับตัวอย่าง Material C ธุรการ รายงานผล Capital C จัดหาควบคุมปริมาณวัสดุ ประสานงานทั่วไป

  30. ต้นทุนรวมทั้งหมด ปริมาณผลผลิต ต้นทุนต่อหน่วย = สูตรการคิดต้นทุนต่อหน่วย ต้นทุนรวมของการตรวจ glucose ปริมาณการตรวจ glucose ต้นทุนต่อหน่วยการตรวจ glucose = ต้นทุนคงที่ต่อหน่วย + ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย ต้นทุนต่อหน่วย = ต้นทุนคงที่ต่อหน่วยการตรวจ glucose + ต้นทุนผันแปรต่อหน่วยการตรวจ glucose ต้นทุนต่อหน่วยการตรวจ glucose =

  31. การปั่นส่วนหรือกระจายต้นทุนการปั่นส่วนหรือกระจายต้นทุน การจัดสรรต้นทุนทางตรงของหน่วยสนับสนุนหนึ่ง (ซึ่งเป็น ต้นทุนร่วมของหน่วยต้นทุนอื่นๆ) ตามเกณฑ์ที่กำหนดไปยัง หน่วยต้นทุนอื่นๆ ที่มีต้นทุนร่วมกัน

  32. Direct Variable Costs(DVC) for Automated Analyzers Test A: ( 13 min ) Labor: 1 Tech.($14/hour) / 60 = $0.23/min $3.03 /test 13 min x $0.23/min Benefits: (Social security, Workman’s compensation, Group health, Vacation, Sick time, etc. ) Slack: ( 10 % of wage + benefits ) 35% of hourly wage $1.06 /test Consumables: Saline 30 ml@ $.0012 /ml $0.04 /test Pipette 3 ea.@ $.02 /ea. $0.06 /test Antiserum 0.2 ml@ $1.00 /ml $0.20 /test Test tubes 2 ea.@ $.025 /ea. $0.05 /test DVC /test = $4.85 /test

  33. ตัวอย่างการวางแผนเก็บข้อมูลค่าใช้จ่ายตัวอย่างการวางแผนเก็บข้อมูลค่าใช้จ่าย เพื่อคำนวณต้นทุนต่อการตรวจ 1 รายการ ของหน่วยชันสูตรโรค http://home.kku.ac.th/wiskun/450222/SampleUCA2554x.xlsx สร้างด้วย Microsoft Excel 2007

  34. แนวคิดการคำนวณต้นทุนรวมต่อหน่วย(บริการ) ของงานชันสูตรโรค กระจายให้ ตามเกณฑ์ ต้นทุนรวม ของหน่วยงานอื่นๆ ต้นทุนรวมทางอ้อม ของหน่วยชันสูตร ต้นทุนรวมของหน่วยชันสูตร ค่าแรง + ค่าเสื่อมราคา ต้นทุนรวมทางอ้อม กระจายให้ทุกรายการเท่ากัน รายการตรวจ 1 รายการตรวจ 2 รายการตรวจ 3 ... รายการตรวจ n ต้นทุนรวม/หน่วย ของแต่ละรายการ ต้นทุนรวมของหน่วยชันสูตร ค่าวัสดุ ต้นทุนทางตรง กระจายให้ตาม ความสัมพันธ์ ต้นทุนรวมทั้งหมดของการตรวจ 1 ในรอบปี จำนวนการตรวจ 1 ทั้งหมดในรอบปี

  35. ค่าเสื่อมราคาอาคาร ค่าเสื่อมราคาครุภัณฑ์ ค่าแรง ค่าน้ำประปาและค่าไฟฟ้า ตารางคำนวณต่อทุนต่อหน่วย บันทึกการใช้วัสดุ

More Related