300 likes | 492 Views
แรงงานต่าง ด้าว กับ การ รักษาความสามารถ ในการแข่งขัน ของ อุตสาหกรรมเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มไทย. กิริยา กุลกลการ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ kiriya@econ.tu.ac.th 22 กรกฎาคม 2552. สถานการณ์แรงงานต่างด้าวในประเทศไทย. มีจำนวน 2-2.5 ล้านคน
E N D
แรงงานต่างด้าว กับ การรักษาความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มไทย กิริยา กุลกลการ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ kiriya@econ.tu.ac.th 22 กรกฎาคม 2552
สถานการณ์แรงงานต่างด้าวในประเทศไทยสถานการณ์แรงงานต่างด้าวในประเทศไทย • มีจำนวน 2-2.5 ล้านคน • เป็นชาวพม่า 70%, ลาว 15% และกัมพูชา 15% • 43% ในกรุงเทพและปริมณฑล และจำนวนมากในจังหวัดชายแดน • ส่วนใหญ่เป็นแรงงานไร้ฝีมือ • ทำงานในภาคเกษตร ประมง ก่อสร้าง และภาคบริการ
นโยบายเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยนโยบายเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย • ประเทศไทยเปลี่ยนจากประเทศที่ส่งออกแรงงานสุทธิไปเป็นประเทศที่นำเข้าแรงงานสุทธิในปี 1990 • ประเทศไทยไม่มีนโยบายให้มีการนำเข้าแรงงานจากต่างประเทศ • ก่อนปี 2001 ผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวทำงานในบางพื้นที่บางกิจการ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานต่างด้าว • ปี 2001 เปิดให้มีการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวทั่วประเทศ ไม่จำกัดพื้นที่และกิจการเพื่อทราบข้อมูลแรงงานต่างด้าวที่แท้จริง • ปี 2002-2003 ได้มีการทำ MOU กับพม่า ลาว และกัมพูชา • ปี 2008 มีพระราชบัญญัติแรงงานต่างด้าว
ปัญหาเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวปัญหาเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว • แรงงานต่างด้าวส่งผลต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของชาติ • ด้านเศรษฐกิจ • ตลาดแรงงาน • ภาระการคลัง • ความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม • การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
วัตถุประสงค์ของการศึกษาวัตถุประสงค์ของการศึกษา • ศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกิจการที่ใช้และไม่ใช้แรงงานต่างด้าวในเรื่องการลงทุน เทคโนโลยี นวัตกรรม เครื่องจักร การส่งออก และการเป็นเจ้าของโดยชาวต่างชาติ • ทดสอบสมมติฐานว่า กิจการที่ใช้แรงงานต่างด้าวมีความสามารถในการแข่งขันต่ำกว่ากิจการที่ไม่ใช้แรงงานต่างด้าวหรือไม่
ผลการศึกษาในอดีต • การยกเลิกโครงการ Bracero ทำให้การพัฒนาเครื่องจักรเพื่อเก็บเกี่ยวเจริญรุดหน้าอย่างมากในภาคเกษตรกรรมของอเมริกา (Krikorian 2000; Martin 2001; Sarig, Thompson & Brown 2000; Lind 2006) • ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีขึ้นกับทักษะแรงงานที่มีในประเทศ (Acemoglu 1998; Quispe-Agnoli & Zavodny 2002; Lewis 2005)
ผลการศึกษาในอดีต • แรงงานต่างชาติทำให้ผลิตภาพเพิ่มสูงขึ้น เพราะแรงงานต่างชาติได้นำทักษะความสามารถที่แตกต่างจากแรงงานท้องถิ่นเข้าสู่ขบวนการผลิต(Ottaviano 2005) • การเกี่ยวข้าวในอเมริกาใช้เครื่องจักรที่ทันสมัยเมื่อเทียบกับประเทศอื่น • การใช้แรงงานต่างชาติมีความยุ่งยากมาก และในยุคโลกาภิวัตน์ ผู้ผลิตควรต้องเร่งพัฒนาการผลิตเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
งานศึกษาในประเทศไทย • Beesey (2004) พบว่า เครื่องจักรมีราคาแพง และไม่สามารถทำงานแทนคนได้ เช่น งานเชื่อมเหล็ก งานจัดวางโครงเหล็ก และการเทซีเมนต์ • ARCM (2004) พบว่าโรงงานส่งออกขนาดใหญ่เท่านั้นที่สามารถเปลี่ยนไปใช้เครื่องแกะกุ้งได้อย่างคุ้มทุน
อุตสาหกรรมเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มไทยอุตสาหกรรมเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มไทย • อุตสาหกรรมเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม เพราะเป็นอุตสาหกรรมการผลิตที่มีการใช้แรงงานต่างด้าวจำนวนมาก • เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น • มูลค่าส่งออกลดลงจาก 25% ของมูลค่าส่งออกทั้งหมดในปี 1987 เป็น 5% ในปี 2005 • จำนวนโรงงานเพิ่มขึ้นจาก 1,574 โรงในปี 1989 เป็น 3,066 โรงในปี 1995 แล้วลดลงเป็น 2,541 โรงในปี 2005
อุตสาหกรรมเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มไทยอุตสาหกรรมเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มไทย • การจ้างงานเพิ่มขึ้นจาก 688,000 คนเป็น 862,000 คน (22%) ในปี 1996 แล้วจึงลดลงเป็น 825,700 คน (15% ของการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรม) ในปี 2005 • สัดส่วนการส่งออกต่อการผลิตได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆตั้งแต่ปี 1995 ถึง 2005
อุปสรรคของอุตสาหกรรม • ค่าจ้างที่เพิ่มสูงขึ้น • ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น • การแข่งขันที่สูงขึ้น • โดยเฉพาะเมื่อระบบโควต้านำเข้าสิ่งทอถูกยกเลิกไปภายใต้การเปิดเสรีการค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
การปรับตัวของอุตสาหกรรมการปรับตัวของอุตสาหกรรม • เน้นการออกแบบ • พัฒนาวัสดุใหม่ๆ • พัฒนาเทคโนโลยีการผลิต เช่น CAD, CAM, GTS • เปลี่ยนจาก OEM เป็น OBM
การปรับตัวของอุตสาหกรรมการปรับตัวของอุตสาหกรรม • ขนส่งสินค้าด่วนทางอากาศ • แสวงหาตลาดใหม่ • ตั้งศูนย์บริการส่งออกโบ๊เบ๊และสร้างตราสินค้ากลาง • ย้ายฐานการผลิต • ใช้แรงงานต่างด้าว
ความหมายของความสามารถในการแข่งขันความหมายของความสามารถในการแข่งขัน • ความสามารถที่จะผลิตสินค้าและบริการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลทัดเทียมหรือดีกว่าคู่แข่ง • ผลิตภาพ (Productivity):Michael E. Porter • ผลิตภาพ • เทคโนโลยี • ประสิทธิภาพ
ข้อมูลที่ใช้ • ใช้ข้อมูลจากการสำรวจผลิตภาพและบรรยากาศการลงทุนในประเทศไทย ของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ปี 2006 • 96 กิจการ: 84 กิจการไม่ใช้แรงงานต่างด้าว,12 กิจการใช้แรงงานต่างด้าว
ลักษณะที่ใช้ในการเปรียบเทียบ 26 ประการ • อายุและขนาดของกิจการ • อายุและประเภทของเครื่องจักรและอุปกรณ์ • สัดส่วนเครื่องจักรที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ • การติดต่อกับต่างประเทศ • สัดส่วนการเป็นเจ้าของโดยชาวต่างชาติ • การขายสินค้าให้บริษัทข้ามชาติ • สัดส่วนการส่งออก
ลักษณะที่ใช้ในการเปรียบเทียบ 26 ประการ • การวิจัยและการพัฒนา (R&D) • ค่าใช้จ่าย • การจ้างพนักงาน • การจ้างองค์กรอื่น • การลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ • การมีตราสินค้าเป็นของตนเอง • เครือข่ายธุรกิจและการมีส่วนร่วมของลูกค้า • การคาดการณ์ยอดขายในอนาคต
แผนการลงทุนเพิ่มกำลังการผลิตหรือปรับปรุงคุณภาพแผนการลงทุนเพิ่มกำลังการผลิตหรือปรับปรุงคุณภาพ • การปรับปรุงสินค้าเดิม • จำนวนสินค้าใหม่ที่โรงงานผลิตในช่วง 2004-2006 • การปรับปรุงและพัฒนาเครื่องจักรและอุปกรณ์ • การเปิดตลาดใหม่ • การซื้อหรือยื่นจดลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตร • การพัฒนาสินค้าหลักตัวใหม่ • การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตสินค้าหลักโดยใช้เทคโนโลยีใหม่ • การได้รับสิทธิประโยชน์จากภาครัฐในการคิดค้นนวัตกรรมทางเทคโนโลยีหรือการทำวิจัยและพัฒนา
ผลการศึกษา • กิจการที่ใช้แรงงานต่างด้าวมีลักษณะด้อยกว่ากิจการที่ไม่ใช้แรงงานต่างด้าว 12 ประการจากทั้งหมด 26 ประการ ดังนี้
ประเภทของเครื่องจักรและอุปกรณ์ประเภทของเครื่องจักรและอุปกรณ์ กิจการที่ใช้แรงงานต่างด้าว กิจการที่ไม่ใช้แรงงานต่างด้าว
อายุของเครื่องจักร กิจการที่ใช้แรงงานต่างด้าว กิจการที่ไม่ใช้แรงงานต่างด้าว
สมการถดถอย: ผลิตภาพกับการใช้แรงงานต่างด้าว • Pคือ ตัวชี้วัดความสามารถในการแข่งขัน • Ageคือ อายุของกิจการ • Firmsizeคือ ขนาดของกิจการ • DomExคือ สถานะการส่งออก • Foreignคือ สัดส่วนการเป็นเจ้าของโดยชาวต่างชาติ • Compคือ สัดส่วนเครื่องจักรที่ถูกควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ • Vinคือ สัดส่วนของเครื่องจักรที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี • RDคือ ค่าใช้จ่ายในการทำ R&D • Xregคือ ที่ตั้งของกิจการ • Mคือ สัดส่วนการจ้างแรงงานต่างด้าว
สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะสรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ • กิจการที่ใช้แรงงานต่างด้าวมีลักษณะด้อยกว่ากิจการที่ไม่ใช้แรงงานต่างด้าวบางประการที่อาจส่งผลเสียต่อความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว • ความสามารถในการแข่งขันของกิจการที่ใช้แรงงานต่างด้าวไม่ได้ต่ำกว่าความสามารถในการแข่งขันของกิจการที่ไม่ใช้แรงงานต่างด้าว • อุปสรรคสำคัญของอุตสาหกรรมเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มไทยคือ การขาดแคลนแรงงานมีฝีมือ เพราะงานบางอย่างไม่สามารถใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคนได้
สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะสรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ • ค่าจ้างแรงงานไทยและแรงงานต่างด้าวเท่ากัน แสดงว่า แรงงานทั้งสองประเภททดแทนกันได้สมบูรณ์ • การพึ่งพิงแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านอาจไม่ใช่ทางออกที่ยั่งยืน • ผู้ประกอบการควรเปลี่ยนไปผลิตเสื้อผ้าที่ค่าจ้างแรงงานไม่ใช่หัวใจสำคัญในการแข่งขัน