200 likes | 269 Views
"...เยาวชนทั้งหลายที่อยู่ในวัยเรียน ย่อมมีความมุ่งมั่นที่จะศึกษาวิชาการต่างๆ ให้ได้มากๆเพื่อนำไปใช้ทำประโยชน์สร้างสมความสุขความเจริญ ให้แก่ตัวเองตลอดจนส่วนรวม แต่การใช้วิชาความรู้นั้นจำเป็นจะต้องใช้อย่างถูกต้องด้วยคุณธรรม และความสามารถที่เหมาะ จึงจะได้ผลเต็มเปี่ยม..."
E N D
"...เยาวชนทั้งหลายที่อยู่ในวัยเรียน ย่อมมีความมุ่งมั่นที่จะศึกษาวิชาการต่างๆ ให้ได้มากๆเพื่อนำไปใช้ทำประโยชน์สร้างสมความสุขความเจริญ ให้แก่ตัวเองตลอดจนส่วนรวม แต่การใช้วิชาความรู้นั้นจำเป็นจะต้องใช้อย่างถูกต้องด้วยคุณธรรม และความสามารถที่เหมาะ จึงจะได้ผลเต็มเปี่ยม..." ความตอนหนึ่งในพระบรมราโชวาท ในพิธีปฏิญาณตนและสวนสนามเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ ณ สนามศุภชลาศัย วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๒๒ ทรงพระเจริญ
จุดประสงค์การเรียนรู้จุดประสงค์การเรียนรู้ 1.อธิบายกำเนิดของดินได้ 2.อธิบายและเขียนแผนภาพชั้นหน้าตัดของดินได้ 3.ทดสอบและอธิบายสมบัติบางประการของดินได้ 4.อธิบายการปรับปรุงแก้ไขคุณภาพของดินให้เหมาะกับการใช้ประโยชน์ 5.สรุปสาเหตุและผลกระทบของการชะล้างพังทลายของดินได้ 6.อธิบายวิธีการอนุรักษ์และพัฒนาดินได้
สาระการเรียนรู้ 1.กำเนิดของดินสมบัติบางประการของดิน 2.การปรับปรุงแก้ไขคุณภาพของดิน 3.สาเหตุและผลกระทบของการชะล้างพังทลายของดิน 4.วิธีการอนุรักษ์และพัฒนาดิน
ความสำคัญของดินที่มีต่อชีวิตของมนุษย์ ดินเป็นแหล่งกำเนิดและแหล่งผลิตปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค
กำเนิดของดิน ที่มา: http://www.dmr.go.th/main.php?filename=soil
ส่วนประกอบของดิน ที่มา: http://www.yalasci.com/html/elearning/biodiversity/natural_agri.php
ที่มา: http://osl101.ldd.go.th/easysoils/s_profile.htm
ชั้นดินหลัก ๆ มีอยู่ด้วยกัน5 ชั้น คือ ชั้น O, A, E, B และ C “ชั้น O” หรือเรียกว่า ชั้นดินอินทรีย์ คือ ชั้นที่มีการสะสมอินทรียวัตถุทั้งที่มาจากพืชและสัตว์ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะมาจากพืช เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ หญ้า และพืชอื่น ๆ “ชั้น A” หรือ ชั้นดินบน ชั้นดินที่ประกอบด้วยอินทรียวัตถุที่สลายตัวแล้วผสมคลุกเคล้าอยู่กับแร่ธาตุในดิน มักมีสีคล้ำ “ชั้น E” หรือ ชั้นชะล้าง เป็นชั้นดินที่มีสีซีดจาง มีปริมาณอินทรียวัตถุน้อยกว่ากว่าชั้น A และมักจะมีเนื้อดินหยาบกว่าชั้น B ที่อยู่ตอนล่างลงไป
“ชั้น B” หรือ ชั้นดินล่าง เป็นชั้นที่แสดงถึงการเคลื่อนย้ายมาสะสมของวัสดุต่างๆ เช่น อนุภาคดินเหนียว “ชั้น C” หรือ ชั้นวัตถุต้นกำเนิดดิน เป็นชั้นของวัสดุที่เกาะตัวกันอยู่หลวมๆ อยู่ใต้ชั้นที่เป็นดิน ประกอบด้วยหินและแร่ที่กำลังผุพังสลายตัวชั้นหินพื้นฐาน หรือที่เรียกกันว่า ชั้น R ซึ่งเป็นชั้นของหินแข็งชนิดต่าง ๆ ที่ยังไม่มีการผุพังสลายตัวอยู่ในหน้าตัดดินด้วย “ชั้น R” หรือ ชั้นหินพื้น เป็นชั้นหินแข็งที่ยังไม่ผุพังสลายตัว อาจจะมีหรือไม่มีในหน้าตัดดินก็ได้
หรือแบ่งชั้นดินเป็น 2 ชั้น คือ ดินชั้นบนและดินชั้นล่าง ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันดังตารางเปรียบเทียบลักษณะของดินดังนี้
สมบัติของดิน ความเป็นกรด-เบสของดินหมายถึงปริมาณของไฮโดรเจนที่มีอยู่ ในดินความเป็นกรด-เบส กำหนดค่าเป็นตัวเลขตั้งแต่ 1-14 เรียกค่าตัวเลขนี้ว่าค่า pH โดยจัดว่า - สารละลายใดที่มีค่า pH น้อยกว่า 7 สารละลายนั้นมีสมบัติเป็นกรด - สารละลายใดที่มีค่า pH มากกว่า 7 สารละลายนั้นมีสมบัติเป็นเบส - สารละลายใดที่มีค่า pH เท่ากับ 7 สารละลายนั้นมีสมบัติเป็นกลาง
การแก้ไขปรับปรุงดิน 1. ดินเป็นกรด แก้ไขได้โดยการเติมปูนขาว หรือดินมาร์ล 2. ดินเป็นเบส แก้ไขได้โดยการเติมแอมโมเนียมซัลเฟตหรือผงกำมะถัน
การชะล้างพังทลายของดิน คือ การที่ดินถูกกัดเซาะเป็นร่องหรือถูกขุดเป็นบริเวณกว้างเป็นการเปลี่ยนแปลงของผิวดินอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นจากสาเหตุ 2 ประการ คือ 1. การชะล้างพังทลายตามธรรมชาติ 2. การชะล้างพังทลายโดยการกระทำของมนุษย์และสัตว์
การชะล้างพังทลายดิน จากการกระทำของมนุษย์ 1. การเผ้าถางจนเตียนและไม่มีพืชคลุมดิน 2. การทำไร่ทำสวนบนที่เนินการเพาะปลูกบนไหล่เขา 3. การปลูกพืชชนิดเดียวซ้ำซาก 4. การขาดความรู้ในการใช้ปุ๋ยที่ถูกต้อง 5. การเผาพืชหรือหญ้าในไร่นา
การอนุรักษ์ หมายถึง การใช้อย่างประหยัดและให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ตลอดจนการนำสิ่งที่ใช้แล้วมาใช้ใหม่หรือหาสิ่งอื่นมาทดแทน การอนุรักษ์และพัฒนาที่ดิน หมายถึง การรู้จักใช้ที่ดิน ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด มีการสูญเปล่าน้อยที่สุด และมี การสร้างหรือทำให้ดินมีมากขึ้น การอนุรักษ์และพัฒนาที่ดิน สามารถทำได้โดย 1. ปลูกพืชคลุมดิน เพื่อไม่ให้น้ำชะเอาแร่ธาตุต่าง ๆ ไป 2. ปลูกพืชหมุนเวียนและใช้ปุ๋ยให้ถูกวิธี 3. ปลูกหญ้าเพื่อเลี้ยงสัตว์และปลูกป่าไม้ 4. ปลูกพืชตระกูลถั่วแล้วทำให้เน่าเปื่อยกลายเป็นปุ๋ย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการจัดการทรัพยากรที่ดิน 1. การแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวด้วยวิธี“การแกล้งดิน” การแกล้งดิน คือ การแกล้งดินให้เปรี้ยวสุดขีด ด้วยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันเพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดินพรุที่มีสารประกอบของกำมะถันที่จะทำให้ดินมีสภาพเป็นกรดจัด เมื่อดินแห้ง จากนั้นก็จึงทำการปรับปรุงดินที่เป็นกรดจัดนั้นด้วยวิธีการ ต่าง ๆ ที่จะลดความเป็นกรด ลงมาให้อยู่ในระดับที่จะปลูกพืชได้
2. "หญ้าแฝก" กับการอนุรักษ์ดินและฟื้นฟูพื้นที่เสื่อมสภาพ การป้องกันการเสื่อมโทรมและการพังทลายของดินโดยใช้วิถีธรรมชาติ คือ การใช้หญ้าแฝก การปลูก "หญ้าแฝก"พืชจากพระราชดำริที่ทำหน้าที่ เป็นกำแพงที่มีชีวิตในการอนุรักษ์และ คืนธรรมชาติสู่แผ่นดิน หญ้าแฝกช่วยอนุรักษ์ดิน
นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์ต่อไปนี้ http://www.dmr.go.th http://www.ipst.ac.th http://www.manager.co.th http://www.kr.ac.th http://www.tmdseismology.com