1 / 61

คำแนะนำการทำสัมมนา วิชาสัมมนา 515-497 515-596 และ 515-597

คำแนะนำการทำสัมมนา วิชาสัมมนา 515-497 515-596 และ 515-597. นิยามและความหมาย. วิชา สัมมนาคือ...................................?. วิชาสัมมนาที่มีกลุ่มนักศึกษาเรียนร่วมกันภายใต้การกำกับดูแลของอาจารย์ โดย

kineta
Download Presentation

คำแนะนำการทำสัมมนา วิชาสัมมนา 515-497 515-596 และ 515-597

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. คำแนะนำการทำสัมมนาวิชาสัมมนา 515-497 515-596 และ 515-597

  2. นิยามและความหมาย

  3. วิชาสัมมนาคือ...................................?วิชาสัมมนาคือ...................................? วิชาสัมมนาที่มีกลุ่มนักศึกษาเรียนร่วมกันภายใต้การกำกับดูแลของอาจารย์ โดย • 1. นักศึกษาต่างคนต่างก็ไปศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองในหัวข้อที่ยังไม่เคยมีการศึกษามาก่อน เพื่อหาความรู้หรือข้อสรุปใหม่ๆ • 2. มาเรียบเรียงเป็นรายงานบรรยายในที่ประชุมของนักศึกษาในชั้นเรียน • 3. เพื่อการอภิปรายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและความรู้ต่างๆ ระหว่างกัน

  4. บทความสัมมนาคือ...........................?บทความสัมมนาคือ...........................? • เป็นบทความทางวิทยาศาสตร์ ที่เขียนขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ จัดอยู่ในประเภทบทความเทคนิค (technical paper) • เป็นข้อมูลมือสองที่ผู้เขียนไม่ได้วิจัยเอง

  5. บทความสัมมนาคือ..............? (ต่อ) • เป็นการรวบรวมข้อมูลทางวิชาการจากเอกสารต่างๆ หรืองานวิจัยของผู้อื่น • ต้องนำมาเรียบเรียงหรือสังเคราะห์ให้เป็นชุดวิชาการ (package) เพื่อให้ได้ข้อสรุปในเรื่องนั้นๆ • ต้องมีเอกสารอ้างอิง

  6. ชนิดของสิ่งพิมพ์

  7. ชนิดของสิ่งพิมพ์ทางวิทยาศาสตร์ชนิดของสิ่งพิมพ์ทางวิทยาศาสตร์ ก.หนังสือ • ตำรา (Textbook) • หนังสือเฉพาะเรื่อง (Monograph) • หนังสือทั่วไป ข. วารสาร (Journal)

  8. ชนิดของสิ่งพิมพ์ทางวิทยาศาสตร์ (ต่อ) ค.รายงานการประชุมสัมมนา (Proceeding) ง. รายงานการวิจัย (Research report) จ. นิตยสาร (Magazine)

  9. ชนิดของบทความทางวิทยาศาสตร์ชนิดของบทความทางวิทยาศาสตร์ ก.บทความปฐมภูมิ • วิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์ (Thesis and Dissertation) • บทความวิจัย (Research article) • รายงานวิจัย (Research report)

  10. ชนิดของบทความทางวิทยาศาสตร์ (ต่อ) ข. บทความทุติยภูมิ • บทความปริทัศน์ (Review article) • บทความเทคนิคและภาคนิพนธ์ (Technical paper and Term paper) • บทความทั่วไป

  11. โครงสร้างของบทความ

  12. โครงสร้างของบทความทางวิทยาศาสตร์โครงสร้างของบทความทางวิทยาศาสตร์

  13. โครงสร้างของบทความวิทยาศาสตร์ (ต่อ)

  14. โครงสร้างของบทความวิทยาศาสตร์ (ต่อ)

  15. การนำเสนอสัมมนา

  16. การนำเสนอสัมมนา • เป็นการบรรยายเนื้อหาที่ได้เรียบเรียง โดยผู้นำเสนอสัมมนา จะถูกประเมินทั้งการเขียน การพูดและเทคนิคการนำเสนอ • ตัวหนังสือชัดเจน อ่านง่าย คำบรรยายใน powerpoint จะมีเฉพาะประเด็นที่สำคัญ ต่างจากการเขียนบทความใน word • มีภาพมีสีสัน มีเสียง มี animation

  17. การนำเสนอสัมมนา (ต่อ) • ขนาดตัวหนังสือในตารางต้องมีขนาดพอเหมาะและควรเน้นข้อมูลที่สำคัญให้ชัดเจน • ผู้พูดต้องรู้จักเรียบเรียงเรื่องที่จะพูดไม่ให้วกวน เยิ่นเย้อ พูดได้ตามเวลาที่กำหนด • ผู้พูดต้องศึกษาเรื่องที่จะพูดให้เข้าใจ ไม่ใช่มาอ่านเรื่องให้ฟัง และควรพยายามตอบคำถามในเนื้อเรื่องให้ได้

  18. โครงสร้างของสัมมนา

  19. โครงสร้างของสัมมนา • ชื่อเรื่อง • ชื่อผู้เขียน • บทคัดย่อ • คำนำ • เนื้อเรื่อง • ตอน 1 • ตอน 2 • สรุป • เอกสารอ้างอิง

  20. (1) ชื่อเรื่อง • เปรียบเหมือนบทคัดย่อที่สั้นที่สุด • เลือกคำที่เด่น น่าสนใจและจูงใจให้อ่านเรื่องเต็ม • ชื่อเรื่องที่ดีควรมีคุณสมบัติ 4 อย่างคือ • - แสดงเอกลักษณ์ทางวิชาการ • - มีคำสำคัญ (keyword) • - มีคำดรรชนี (index word) • - แสดงวัตถุประสงค์

  21. หลักในการตั้งชื่อเรื่อง...................หลักในการตั้งชื่อเรื่อง................... • อย่าให้สั้นหรือยาวเกินไป (ไม่ควรสั้นกว่า 5 คำ หรือยาวกว่า 20 คำ) • ชื่อเรื่องเป็นวลี ไม่เป็นประโยคที่สมบูรณ์ ไม่มีกริยา • หลีกเลี่ยงการใช้คำที่ไม่มีความหมายหรือไม่มีความสำคัญที่ชัดเจน เช่น การศึกษา...อิทธิพลของ..... • ชื่อเรื่องไม่ใช้ชื่อย่อ คำย่อ ศัพท์เทคนิค เช่น ไม่ใช้ พรบ. , GMO, Fe

  22. (2) การเขียนบทคัดย่อ • คือการย่อทุกโครงสร้างของบทความ ดึงมาเฉพาะส่วนสำคัญ และเก็บรายละเอียดเท่าที่จะทำได้ตามความยาวที่กำหนด • ส่วนที่ย่อคือ คำนำ วัตถุประสงค์ อุปกรณ์วิธีการ ผล และส่วนสรุปที่สำคัญ • บทคัดย่อต้องแยกเป็นหน้าอิสระจากเรื่องเต็ม • ไม่มีเอกสารอ้างอิง • เสนอผลที่แน่นอน เช่น เป็นตัวเลข • เป็นหน้าแรกของบทความที่ตีพิมพ์

  23. การเขียนบทคัดย่อ (ต่อ) แม้จะปรากฏแรกสุด.......แต่ต้องเป็นสิ่งที่เขียนหลังสุด หลังจากเขียนทั้ง paper หมดแล้ว • หน้าที่ของ abstract คือ "ทำให้คนอ่านรู้ว่า paper นี้มันเกี่ยวกับอะไร เพื่อให้เขาตัดสินใจได้ว่าเขาต้องการอ่าน full paper หรือไม่" มันจึงต้องมีข้อมูลที่จะทำหน้าที่นี้ให้สมบูรณ์ และเป็นเหตุให้มัน คือ "ย่อความ" ของ full paper

  24. การเขียนบทคัดย่อ (ต่อ) • Abstract จะประกอบด้วย "ทำไมถึงทำงานวิจัยนี้" "ทำอะไร" "ทำอย่างไร" และ "ได้ผลอะไร" • "ทำไมจึงทำงานวิจัยนี้“ เป็นการบอกให้ผู้อ่านทราบ background ของเรื่องว่ามีปัญหาอะไร (บอกให้ทราบเหตุผลการทำ) • "ทำอะไร" เป็นการบอกว่าปัญหาข้างต้นนั้น ทำให้เราทำวิจัยเรื่องนี้ใน "ประเด็นอะไร" • สองหัวข้อนี้สำคัญมาก เพราะเป็นการทำให้เขาเชื่อว่า เราได้ทำในสิ่งที่ควรทำ

  25. การเขียนบทคัดย่อ (ต่อ) • ส่วน "ทำอย่างไร" "ได้ผลอะไร" นั้นเป็นการสรุปวิธีการและผล เราจะเน้นที่ผลมากกว่าวิธีการ (เพราะต้องไม่ให้ยืดเยื้อ) เวลาบอกผล เราต้องบอกเป็นเชิงปริมาณมากกว่าเชิงคุณภาพ • ผู้อ่านที่สนใจเรื่องนี้เขาต้องการตัวเลขที่บอกความก้าวหน้าของศาสตร์นี้ เช่น ต้องบอกว่า "วิธีนี้ทำให้ต้นทุนลดลงเหลือเพียง 20 บาท/กก. ซึ่งคิดเป็นเพียง 30% ของวิธีเดิม" ไม่ใช่เขียนว่า "วิธีนี้ช่วยให้ลดต้นทุนได้มาก

  26. (3) การเขียนบทนำ คือ ส่วนแนะนำและปูพื้นเรื่อง เพื่อให้ผู้อ่านทราบว่า • เรื่องนั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องใด สำคัญอย่างไร • ตอบคำถามว่าเราทำเรื่องนี้ทำไม • เมื่อได้ทำการค้นคว้าทดลองแล้วได้ประโยชน์อย่างไร

  27. การเขียนบทนำ (ต่อ) • “Introduction เปรียบเสมือนประตูหน้าบ้านที่เปิดแง้มอยู่ ภายในมีเฟอร์นิเจอร์เป็นประกายวับ ภายใต้แสงดาวสลัวที่ผ่านหน้าต่างเข้ามา เมื่อคุณถอดรองเท้าก้าวเข้าไปเปิดสวิทซ์ไฟ คุณก็พบกับทางเดินภายในที่มีบรรยากาศเชิญชวนให้คุณก้าวเท้าเข้าไป นี่คือบรรยากาศของ introduction”

  28. การเขียนบทนำ • หน้าที่ของ introduction คือ บอกให้คนอ่านเชื่อว่าเรื่องนี้ "เป็นเรื่องสมควรทำ" และคุณ "สมควรอ่านเนื้อหาภายในให้จบ" จะว่า introduction เป็น ”คนเชียร์แขก” ก็ย่อมได้ • หากไม่สามารถ convince ได้ว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสมควรทำ มันก็จะไม่มีใครสนใจอ่าน(ถึงแม้เนื้อหาภายในจะน่าสนใจ)

  29. เทคนิคการเขียนบทนำ 1. เริ่มต้น ภายใน 5 ประโยคแรกให้ผู้อ่านเห็นความสำคัญของปัญหา แล้วชี้แจงให้เห็นว่า หากเราแก้ปัญหานี้ได้มันจะทำให้เกิดประโยชน์ต่างๆ อย่างไร (ทั้งประเทศชาติ ผู้ประกอบการ เกษตรกร ฯลฯ) ตรงนี้เรียกว่าโผล่หัวเข้าประตูมาก็ถูกยัดด้วยข้อมูลที่มี impact สูง หากสามารถทำให้เหมือนเปิดสวิทซ์ไฟแล้วเข้าไปวาบสว่างภายในความคิดได้ยิ่งดี มันเป็นการใช้ "ความสำคัญ" ของเรื่องไปกระตุ้นต่อมความสนใจของคนอ่าน

  30. เทคนิคการเขียนบทนำ (ต่อ) 2. ตอนต่อไปก็เป็น literature review (กรุณาย้อนไปอ่าน literature review ว่ามันต่างกับใน proposal อย่างไร) ใช้ literature review แสดงให้เห็นว่าเรา "ไม่มีวิธีหาคำตอบด้วยวิธีอื่นอีกแล้วนอกจากทำวิจัย (ที่คุณกำลังอ่านอยู่นี้ )" ดังนั้นการตรวจเอกสารจะต้องกระชับ ตรงประเด็น ที่สำคัญมาก คือ "แสดงให้เห็นช่องว่างของความรู้" ตอนนี้ประมาณ 20 -30 ประโยค

  31. เทคนิคการเขียนบทนำ (ต่อ) 3 ตามด้วยเสนอสมมุติฐาน เมื่อแสดง gap ของความรู้แล้วก็ต้องเสนอสมมุติฐานของการทำงานวิจัยด้วย สมมุติฐานเป็นการบอกว่าเรามีความคิดทำมันอย่างไร ซึ่งมันจะสะท้อนต่อไปใน methodology สัก10-15 ประโยคสำหรับตอน 3 นี้ ก็น่าจะเพียงพอแล้ว 4. สรุปให้ได้ความทำนองว่า ดังนั้นเราจึงเสนอผลงานวิจัยเรื่องนี้ ซึ่งคุณจะได้อ่านต่อไป ตรงนี้ไม่เกิน 2 ประโยค

  32. (4) การตรวจเอกสาร • คือ การสรุปงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนั้นที่ได้ทำมาก่อน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลว่า • ในอดีต ได้มีการทำวิจัยไว้บ้างหรือไม่ ทำอย่างไร ได้ผลอย่างไร • ในขณะนี้ ได้ผลสรุปว่าอย่างไร • วิธีการเขียนขั้นกับข้อกำหนดของแหล่งที่ต้องการตีพิมพ์ • ระบบนาม- ปี • ระบบตัวเลข

  33. หลักการเขียนการตรวจเอกสารหลักการเขียนการตรวจเอกสาร ตัวอย่างเอกสารอ้างอิงฉบับเดียว • ผู้แต่งคนเดียว • นำหน้าประโยค สุวรรณ (2545) รายงานว่า........................ • หลังประโยค ....................... (สุวรรณ, 2545) ระบบ นาม - ปี

  34. หลักการเขียนการตรวจเอกสาร (ต่อ) ตัวอย่างเอกสารอ้างอิงฉบับเดียว • ผู้แต่ง 2 คน (นำหน้าประโยค ) • สุวรรณ และ กนก (2545) รายงานว่า... • ผู้แต่ง >=3 คน (นำหน้าประโยค ) • สุวรรณ และ คณะ (2545) รายงานว่า...

  35. หลักการเขียนการตรวจเอกสาร (ต่อ) ตัวอย่างเอกสารอ้างอิงภาษาอังกฤษ • จากเอกสารอ้างอิงฉบับเดียว • การถ่ายทอดยีนเข้าสู่พืช อาจกระทำโดยใช้เครื่องยิงอนุภาค (Sanford และคณะ, 1987) • Sanford และคณะ (1987) ได้ใช้เครื่องยิง...

  36. หลักการเขียนการตรวจเอกสาร (ต่อ) • จากเอกสารอ้างอิงมากกว่า 1 ฉบับ • 2 ฉบับและผู้เขียนหลายคน(Petersan, 1960; Johnson และ Anderson, 1972) • ผู้เขียนคนเดียวกันแต่มีหลายฉบับ(Gardner, 1980a, b, c) • ผู้เขียนหลายคนแต่ชื่อซ้ำกัน (Johnson, 1989a; Johnson, 1989b)

  37. หลักการเขียนการตรวจเอกสาร (ต่อ) • ต้องเขียนให้กลมกลืนแทบเป็นเนื้อเดียวกัน โดยนำรายละเอียดจากเอกสารแต่ละเรื่องมาต่อกันให้มีลำดับแบบใดแบบหนึ่ง เช่น • แบบเก่า - ใหม่ • แบบเหตุ - ผล • แบบวิธีการ - ผล เช่น............(พิจารณาจากหน้าถัดไป)

  38. หลักการเขียนการตรวจเอกสาร (ต่อ) • การปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้ทนแล้ง กระทำได้สำเร็จ โดยคัดเลือกในสภาพการปลูกที่เป็นจริง (เอกสารอ้างอิง) แต่วิธีการนี้ต้องใช้เวลาตลอดทั้งฤดู และเป็นวิธีที่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตที่มีความปรวนแปรในเรื่องปริมาณน้ำฝน (เอกสารอ้างอิง) ดังนั้นวิธีที่เหมาะสมคือการคัดเลือกในห้องปฏิบัติการ หรือในเรือนเพาะชำ (เอกสารอ้างอิง)

  39. หลักการเขียนการตรวจเอกสาร (ต่อ) • จัดตามลำดับเวลา เอกสารใดเกิดก่อนจัดลำดับไว้ก่อน • จัดแยกเอกสารออกเป็นกลุ่มๆ เช่น กลุ่มวิธีการทดลอง กลุ่มของผลการทดลองที่มีความสอดคล้องกัน สนับสนุนกัน หรือ ขัดแย้งกัน • ไม่ใช้เอกสารเรื่องใดมากเกินความจำเป็น ให้นำมาเฉพาะผลสำคัญ และอยู่ในแนวเดียวกับบทความที่กำลังเขียน • ตอนสุดท้ายให้ทิ้งท้ายด้วยปัญหาที่เป็นเหตุให้ต้องทำการวิจัย

  40. (5) หลักการเขียนวิธีการทดลอง (Materials and Methods) • วิธีการทดลอง เป็นการบรรยายว่าเราจะทำอะไรอย่างไรใช้วัสดุอุปกรณ์อะไรบ้าง บรรยายวิธีการทดลองเป็นขั้นตอนตามลำดับเวลา และตามลำดับความสำคัญ • วัสดุทั่วไปที่ไม่ทำให้ผลการทดลองแตกต่างกับการทดลองอื่น ไม่ต้องกล่าวถึงอย่างละเอียดแต่หากใช้เครื่องมือที่แตกต่างกันน่าจะให้ผลต่างกันแนะนำว่าก็ให้ระบุชนิดของเครื่องมือหรือเครื่องหมายการค้า ถ้าเป็นวิธีการทดลองที่คิดขึ้นเองให้บรรยายอย่างละเอียด

  41. หลักการเขียนวิธีการทดลอง (ต่อ) • ถ้าการทดลองใช้วิธีทางสถิติที่มีความเฉพาะ ให้บรรยายด้วย เช่น แผนการทดลอง วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล และชนิดของโปรแกรมสถิติที่ใช้

  42. (6) ผลการทดลอง สามารถเสนอได้หลายรูปแบบ เช่น การบรรยาย รูป กราฟ และตาราง ทั้งนี้ให้พิจารณาตามความเหมาะสม โดยมีหลักดังนี้..... • การเสนอผลในแบบบรรยาย รูป กราฟ และตาราง ต้องมีรายละเอียดที่ไม่ซ้ำกัน

  43. ผลการทดลอง (ต่อ) • ถ้าไม่มีตอนวิจารณ์แยกต่างหาก ให้วิจารณ์หลัการเสนอผลแต่ละตาราง โดยให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ของการทดลอง • การบรรยายต้องชี้ให้เห็นจุดเด่น ผลการวิจัยที่น่าสนใจ ความแตกต่างระหว่างปัญหาต่างๆ (Treatment)

  44. ตัวอย่างการเสนอผลการทดลองแบบต่าง

  45. การนำเสนอประเภทตาราง • ต้องมีชื่อตาราง (caption) เพื่อให้ชื่อและรายละเอียดสั้นๆ แก่ตารางนั้น • แต่ละตารางต้องมีการกล่าวถึงไว้ในเนื้อเรื่อง เช่น “ผลการทดลองครั้งนี้ได้แสดงไว้ในตารางที่ 1” • ชื่อตารางต้องอยู่เหนือตาราง • ต้องมีเลขที่ตาราง แม้ในเรื่องมีเพียงตารางเดียว • ในตารางต้องบอกหน่วยวัดให้ชัดเจน

  46. การนำเสนอประเภทตาราง (ต่อ) • ข้อความในตารางส่วนใหญ่จะเป็นตัวเลข ซึ่งต้องมีการจัดระเบียบเป็นอย่างดี ข้อมูลในสดมภ์เดียวกันต้องวางให้ตรงกัน • ถ้าข้อมูลเป็นจำนวนเต็ม ควรวางให้เลขหลักหน่วยตรงกัน และควรมีเครื่องหมายจุลภาคคั่นค่าตัวเลข เช่น 12,462 • ถ้าข้อมูลเป็นทศนิยม ควรจัดให้มีจุดทศนิยมตรงกัน ตัวเลขหลังจุดทศนิยมควรลดให้เหลือเท่าที่จำเป็น ปกติจะเหลือเป็นจำนวนคู่ คือ 2 หลัก หรือ 4 หลัก

  47. การนำเสนอประเภทตาราง (ต่อ) • กรณีใช้คำย่อ ต้องมีหมายเหตุอธิบายใต้ตาราง • ในกรณีที่ได้ตารางมาจากบทความที่อื่น ต้องบอกที่มาของตารางด้วย

  48. การนำเสนอประเภทกราฟ • กราฟวงกลม ข้อมูลที่แสดงสัดส่วน • กราฟเส้น ข้อมูลที่แสดงการเปลี่ยนไป ตามเวลา • กราฟแท่ง ข้อมูลที่แสดงการเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยต่างๆ • กราฟที่นำเสนอ ควรอ่านผลได้ง่าย ไม่ใช่มีเส้นเต็มไปหมด หากเป็นดังนี้ ต้องเปลี่ยนนำเสนอในลักษณะอื่น

  49. โอกาสที่เชื้อไวรัสจะมีชีวิตอยู่ในผลิตภัณฑ์และสิ่งแวดล้อมโอกาสที่เชื้อไวรัสจะมีชีวิตอยู่ในผลิตภัณฑ์และสิ่งแวดล้อม ตารางที่2.The effect of temperature and pH on time for 90% Foot-and- mouth virus inactivation.

  50. ภาพที่ X กราฟแสดงการจัดสรรเงินงบประมาณและเงินรายได้ ปี 2544 ที่มา งานนโยบายและแผน คณะทรัพยากรธรรมชาติ, 2545

More Related