1 / 32

ปฏิบัติการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

ปฏิบัติการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์. By Juthawut Chantharamalee. Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science). บทที่ 2 เมนบอร์ด (Mainboard). บทที่ 2. Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science). บทนำ.

kimo
Download Presentation

ปฏิบัติการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ปฏิบัติการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ By Juthawut Chantharamalee Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)

  2. บทที่ 2เมนบอร์ด (Mainboard) บทที่ 2 Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)

  3. บทนำ • เมนบอร์ดที่ใช้กันโดยทั่วไปในปัจจุบันมีหลายรูปแบบและหลายผู้ผลิตแตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กัลักษณะ ขนาดโครงสร้างการทำงานซ็อกเก็ตใส่ซีพียู ภายในเมนบอร์ดประกอบไปด้วยระบบบัส ชิปเซ็ต ชิปรอมไบออส แบตเตอรีแบ็คอัพ พอร์ตต่างๆ อุปกรณ์ Onboard และอุปกรณ์เสริมอื่นๆรวมกันแล้วจึงทำให้เมนบอร์ดเป็นศูนย์รวมของอุปกรณ์ต่างๆ ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ตามปกติ Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)

  4. ชนิดของเมนบอร์ด • เมนบอร์ดมีแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่ 1. เมนบอร์ดแบ่งตามโครงสร้าง เมนบอร์ดประเภทนี้ได้แบ่งออกเป็นตามลักษณะโครงสร้าง ขนาดและรูปร่าง แสดงได้ดังรูปที่ 2.1 มาตรฐาน ได้แบ่งออกเป็นหลายรูปแบบและมีลักษณะโครงสร้างที่แตกต่างกันดังรายละเอียด ดังต่อไปนี้ Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)

  5. Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)

  6. ชนิดของเมนบอร์ด 2. เมนบอร์ดแบ่งตามช๊อคเก็ต (Socket) ที่ใส่ซีพียู เมนบอร์ดประเภทนี้ได้ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับซีพียูแต่ละรูปแบบเหตุผลซีพียูในปัจจุบันได้ผลิตรูปแบบและโครงสร้างไม่เหมือนกันทำให้ซ๊อกเก็ตใส่ซีพียูจึงไม่เหมือนกันเมนบอร์ดในปัจจุบันที่แบ่งตามซ็อคเก็ตใส่ซีพียูได้ดังต่อไปนี้ Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)

  7. Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)

  8. รูปที่2.1รูปแสดงรเมนบอร์ดรูปที่2.1รูปแสดงรเมนบอร์ด Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)

  9. ระบบบัสและสล๊อตของเมนบอร์ดระบบบัสและสล๊อตของเมนบอร์ด • ความเร็วในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นอยู่กับซีพียู และส่วนประกอบอื่นๆ เพราะการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องมีการส่งข้อมูล คำสั่งผ่านไปมาระหว่างอุปกรณ์ บนเมนบอร์ดและอุปกรณ์ภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์โดยอาศัยบัสเป็นช่องทางเดิน ความเร็วอุปกรณ์ของอุปกรณ์จึงมีส่วนในการประมวลผลของเครื่องพิวเตอร์ช้าหรือเร็วด้วย ความเร็วของระบบบัสมีความเร็วระหว่าง 66-133 MHz ระบบบัสมีการพัฒนาการมาเรื่อยตั้งแต่ AT-Bus, EISA , MCA, VL-Bus, PCI, AGP ดังรายละเอียดต่อไปนี้ Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)

  10. Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)

  11. ระบบบัสและสล๊อตของเมนบอร์ดระบบบัสและสล๊อตของเมนบอร์ด ระบบบัสแบบPCI (Peripheral Component Interconnect) เป็นระบบบัสแบบ PCI แทนที่VL-bus พัฒนาโดยบริษัท Intel ใช้ชิปเซ็ตสำหรับควบคุมบัส ทำให้เพิ่มความเร็วให้กับอุปกรณ์เพิ่มมากขึ้น มีมาตรฐานความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลที่ 33 MHz มีอัตราการรับส่งข้อมูลเป็น 133 MB/sec ต่อมาได้พัฒนาสล๊อตและบัส PCI ความเร็วสูงขึ้นโดยเพิ่มความกว้างบัสเป็น 64 บิตและเพิ่มความเร็วเป็น 66 MHz ทำให้ได้อัตราการรับส่งข้อมูลเพิ่มเป็น 528 MB2/sec ปัจจุบันได้พัฒนาการด้านความเร็วของบัสมากกว่าที่กล่าวมา แสดงได้ดังรูปที่ 2.2 Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)

  12. รูปที่2.2รูปแสดงPCI Slots Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)

  13. ระบบบัสและสล๊อตของเมนบอร์ดระบบบัสและสล๊อตของเมนบอร์ด ระบบบัสแบบ AGP (Accelerated Graphic Port) เป็นระบบบัสที่ผลิตโดยบริษัท Intel เพื่อรองรับการประมวลผลทางด้านกราฟิกสูง มีความเร็วคือ 66-266 MHZ การผลิตบัสชนิดนี้ได้วางไว้ใกล้กับซีพียูเพื่อความรวดเร็วในการส่งผ่านข้อมูล โดยมากบนเมนบอร์ดจะมีสล๊อตแบบ AGP มาให้เพียงชุดเดียว แสดงได้ดังรูปที่ 2.3 Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)

  14. รูปที่2.3รูปแสดงAGP Slots Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)

  15. ชิปเช็ต • ชิปเซ็ตเป็นส่วนประกอบสำคัญของเมนบอร์ด ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของส่วนต่างๆและเป็นศูนย์กลางที่ทำให้อุปกรณ์ต่างๆ บนเมนบอร์ดสามารถทำงานร่วมกันได้อย่าง มีประสิทธิภาพชิปเซต 2 ตัวแรก ได้แก่ 1. North Bridge ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ที่ทำงานด้วยความเร็วสูงได้แก่ ซีพียูแรมและการ์ดแสดงผล 2. South Bridge ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ความเร็วต่ำได้แก่อุปกรณ์ ฟล๊อปปี้ดิสก์ คีย์บอร์ด เมาส์ ฮาร์ดดิสก์ Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)

  16. ชิปเช็ต • มีบริษัทที่ผลิตซีพียูได้แก่ Intel และAMD ได้ผลิตชิปเซ็ตเพื่อรองรับซีพียูด้วย นอกจากนั้นได้มีบริษัทที่ผลิตชิปเซ็ต การผลิตชิปเซ็ตในปัจจุบันได้รวมเอาการแสดงผลกราฟิกรวมเข้าไปด้วยพร้อมกับรองรับการทำงานกับหน่วยความจำแบบใหม่คือ DRSDRAM และ RDRAM ซึ่งมีความเร็วในการทำงานสูงกว่า SDRAM ถึงเท่าตัว ซึ่ง North Bridge/South Bridge Chipsets แสดงได้ดังรูปที่ 2.4 Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)

  17. รูปที่2.4รูปแสดงNorth Bridge/South Bridge Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)

  18. ชิปเช็ต ชิปเซ็ตของ Intel ปัจจุบันชิปเซ็ตบริษัท Intel ได้ผลิตชิปเซ็ตที่ประกอบไปด้วยไอซี 2 ตัวได้แก่ North Bridge หรือ System Controller และ South Bridge หรือ PCI to ISA Bridge ปัจจุบันได้ใช้สถาปัตยกรรมใหม่ที่เรียกว่า Accelerated Hub Architecture โดยเพิ่มชิปเซ็ตจาก 2 ตัวเป็น 3 ตัว มีหลักการทำงานดังนี้คือ Graphic & Memory Controller Hub(GMCH) ซึ่งทำงานคล้ายชิป North Bridge เดิม โดย GMCH มีอยู่ในชิปเซ็ต i810 ซึ่งมีชิปแสดงผลกราฟิกอยู่ในตัว ต่อมาได้ตัดส่วนของการแสดงผลกราฟิกออกเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้การ์ดกราฟิกได้ตามต้องการ จึงเปลี่ยนมาเรียกว่า MCH ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมต่อกับส่วนสำคัญภายในเครื่องได้แก่ ซีพียู หน่วยความจำ Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)

  19. ชิปเช็ต • ส่วนแสดงผลกราฟิกและ I/O Controller Hub การประมวลผลได้ผ่านระบบบัสความเร็วสูง I/O Controller Hub หรือ ICH ทำหน้าที่คล้ายกับชิปเซ็ตSouth Bridge เดิมแต่มีความกว้างช่องทางสื่อสารสูง มีประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้น ICH ได้แก่ 82801AA 82801BA และ 82801AB FirmWare Hub หรือ FWH เป็นชิปที่เพิ่มจากโครงสร้างเดิม ซึ่งไม่มีการติดต่อกับอุปกรณ์ภายนอกเหมือน MCH และ ICH ชิปนี้ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของชิปเช็ต แสดงได้ดังรูปที่ 2.5 Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)

  20. รูปที่2.5รูปแสดงชิปเซ็ตของ Intel Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)

  21. ชิปเช็ต ชิปเซ็ตของ VIA VIA เป็นผู้ผลิตชิปเซ็ตสำหรับซีพียูช๊อคเก็ต7 และช๊อคเก็ต370 ได้แก่ Apollo Pro 133 ซึ่งมีโครงสร้างดังนี้ 1. North Bridge ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ความเร็วสูงเช่น ซีพียูหน่วยความจำแคชหน่วยความจำ RAM ระบบบัสแบบ AGP และระบบบัสแบบ PCI 2. South Bridge ชิปเซ็ตของ VIA เป็นชิปที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างบัส PCI กับอุปกรณ์ความเร็วต่ำได้แก่ พอร์ต USB ระบบบัส ISA IDE Controller ROM BIOS ฟล๊อปปี้ดิสก์คีย์บอร์ด เมาส์แบบ PS/2 พอร์ตอนุกรมพอร์ตขนาน เป็นต้น แสดงได้ดังรูปที่ 2.6 Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)

  22. รูปที่2.6รูปแสดงชิปเซ็ตของ VIA Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)

  23. ชิปรอมไบออสและแบตเตอรีแบ็คอัพชิปรอมไบออสและแบตเตอรีแบ็คอัพ ชิปรอมไบออส BIOS ย่อมาจาก Basic Input Output System เป็นชิปประเภทซีมอส (CMOS) เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บโปรแกรมประเภทไบออสและเป็นส่วนที่ใช้ในการบู๊ตเครื่อง สามารถเปลี่ยนแปลงค่าได้ตามต้องการชิปประเภทนี้มีด้วยกันหลายยี่ห้อได้แก่ Award AMI และ Phoenix Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)

  24. ชิปรอมไบออสและแบตเตอรีแบ็คอัพชิปรอมไบออสและแบตเตอรีแบ็คอัพ แบตเตอรีแบ็คอัพ โดยทั่วไปเรียกว่าถ่านซึ่งมีลักษณะคล้ายกระดุมแบตเตอรี่นี้ได้ถูกผลิตจากลิเธียม มีหน้าที่ในการจ่ายไฟให้กับชิปซีมอสและวงจรนาฬิกาบนเมนบอร์ด ตลอดเวลา หากต้องการล้างค่าดังกล่าวทำได้โดยการถอดแบตเตอรีออกหรืออีกวิธีหนึ่งคือให้ถอดจัมเปอร์เสียงระหว่างขาที่มีตัวอักษรกำกับไว้ว่า Clear CMosในการถอดให้ถอดโดยใช้เวลาประมาณ 3-5 นาที จากนั้นให้นำจัมเปอร์มาเสียบตำแหน่งเดิม หากแบตเตอรี่หมดโดยสังเกตจากวันที่ในเครื่องแสดงวันเวลาผิดไป แม้จะตั้งค่าให้ถูกต้องแล้วให้เปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่และตั้งค่าวัน เวลาใหม่แสดงได้ดังรูปที่ 2.7 Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)

  25. รูปที่2.7รูปแสดงแบตเตอรีแบ็คอัพรูปที่2.7รูปแสดงแบตเตอรีแบ็คอัพ Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)

  26. พอร์ต พอร์ตเป็นส่วนที่ใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอก เพื่อนำข้อมูลเข้าหรือออกจากเครื่องพอร์ตในเมนบอร์ด ATX จะติดมากับตัวเมนบอร์ด แสดงได้ดังรูปที่ 2.8 รูปที่2.8รูปแสดงรูปแบบพอร์ตต่างๆ Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)

  27. พอร์ต 1. พอร์ต PS/2 เป็นพอร์ตสำหรับต่อเมาส์บนเมนบอร์ดแบบ ATX, AT มีขาจำนวน 6 ขา หากต้องการนำเอาพอร์ตเมาส์แบบ Serial มาใช้งานกับพอร์ต PS/2 ทำได้โดยการนำเอาอะแดปเตอร์แปลงข้อต่อ 2. พอร์ตคีย์บอร์ด เป็นพอร์ตขนาดเล็กสำหรับต่อคีย์บอร์ดมีขาสัญญาณจำนวน 6 ขาสำหรับต่อกับเมนบอร์ดแบบ ATX ส่วนพอร์ตคีย์บอร์ดที่มีขนาดใหญ่โดยการนำเอา อะแดปเตอร์แปลงข้อต่อ 3. พอร์ต USB (Universal Serial Bus) เป็นพอร์ต สำหรับต่อพ่วงอุปกรณ์ที่มีความเร็วสูงได้แก่ กล้องดิจิตอล เมาส์ สแกนเนอร์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)

  28. พอร์ต 4. พอร์ตอนุกรมหรือ Serial Port หรือ com Port เป็นพอร์ตสำหรับต่อพ่วงอุปกรณ์ที่มีการส่งข้อมูลแบบอนุกรม มีจำนวนขาสัญญาณ 9 ขา มีความเร็วในการส่งสัญญาณต่ำประมาณ 10 กิโลไบต์ต่อวินาที โดยส่งผ่านข้อมูลครั้งทีละบิต อุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทนี้ได้แก่ เมาส์ โมเด็ม 5. พอร์ตขนาน หรือ Parallel Port หรือ LPT Port เป็นพอร์ตสำหรับต่อพ่วงอุปกรณ์ที่มีการส่งข้อมูลแบบขนาน มีจำนวนขาสัญญาณ 25 ขา มีการส่งผ่านข้อมูลครั้งละ 8 บิต พอร์ตขนานสำหรับต่อพ่วงอุปกรณ์ได้แก่ เครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)

  29. อุปกรณ์ประเภทOnboard • การผลิตเมนบอร์ดที่ใช้ชิปเซ็ตบางรุ่นได้รวมเอาส่วนต่างๆ ของอุปกรณ์ไว้บนเมนบอร์ดได้แก่ ชิปเซ็ตi810 ของ Intel ได้รวมการแสดงผลกราฟิกไว้ในตัว และชิปเช็ตของSiSมีการแสดงผลกราฟิกเสียง โมเด็มและ LAN เป็นต้นอุปกรณ์ onboard มีรายละเอียดดังนี้ • การ์ดจอ onboard มีสายสัญญาณจำนวน 15 Pin สำหรับต่อกับคอนแน็คเตอร์บนเมนบอร์ดเป็นการ์ดที่อยู่ภายใต้ชิปเซ็ตi810 ของ Intel และในชิปเซ็ตรุ่น SiS620, SiS630 และ SiS640 ของ SiS • การ์ดเสียง onboard มีสายสัญญาณจำนวน 25 Pin สำหรับต่อกับคอนแน็คเตอร์บนเมนบอร์ดเป็นการ์ดที่อยู่ภายใต้ชิปเซ็ตSiSด้านหลังการ์ดนี้จะมีช่องต่อ line in, line out, microphone และ portgame Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)

  30. อุปกรณ์ประเภทOnboard • การ์ดโมเด็ม onboard หรือ Fax/Modem Module มีสายสัญญาณจำนวน 16 Pin เป็นการ์ดที่อยู่ภายใต้ชิปเซ็ตSiSด้านหลังการ์ดมีช่องสำหรับเสียบสายโทรศัพท์บ้านเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์และอีกด้านหนึ่งสำหรับต่อพ่วงเครื่องโทรศัพท์ • การ์ด LAN onboard การ์ด LAN มีสายสัญญาณจำนวน 9 Pin สำหรับต่อกับ คอนแน็คเตอร์บนเมนบอร์ดเป็นการ์ดที่อยู่ภายใต้ชิปเซ็ตSiSการ์ด LAN สำหรับเสียบที่ คอนแน็คเตอร์บนเมนบอร์ดหลังจากเสียบเรียบร้อยให้ขันน๊อตยึดให้แน่น แสดงได้ดังรูปที่ 2.9 Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)

  31. รูปที่2.9รูปแสดงเมนบอร์ด onboard Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)

  32. The EndUnit 2 Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)

More Related