370 likes | 562 Views
ศ. 401 เศรษฐศาสตร์การเมือง. เศรษฐศาสตร์การเมืองใหม่ ว่าด้วยการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ. ความกลัว “ระบบตลาด”. ความเชื่อว่า ตลาดเป็น “ zero-sum game ” การแข่งขันเป็นการทำลายล้างกันของคู่แข่ง ธุรกิจใหญ่ทำลายธุรกิจเล็ก รายย่อยแพ้วันยังค่ำ รายใหญ่ชนะและผูกขาดตลอดกาล
E N D
ศ.401 เศรษฐศาสตร์การเมือง เศรษฐศาสตร์การเมืองใหม่ ว่าด้วยการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ
ความกลัว “ระบบตลาด” • ความเชื่อว่า ตลาดเป็น “zero-sum game” • การแข่งขันเป็นการทำลายล้างกันของคู่แข่ง • ธุรกิจใหญ่ทำลายธุรกิจเล็ก • รายย่อยแพ้วันยังค่ำ รายใหญ่ชนะและผูกขาดตลอดกาล • สินค้าส่วนใหญ่มีราคาแพง แต่คุณภาพต่ำ • ระบบเศรษฐกิจเต็มไปด้วยการผูกขาดทุกหนแห่ง • ลูกจ้างคนงานเสียเปรียบ ถูกกดขี่ขูดรีด ไม่มีทางสู้ • ผู้ขายมีสถานะได้เปรียบ รังแกผู้ซื้อเสมอ
ผู้ผลิตและผู้ขายได้กำไรมหาศาล ผู้ซื้อถูกเอาเปรียบตลอดเวลา • การโฆษณาเป็นกิจกรรมสูญเปล่า แต่มีอำนาจจูงใจเบ็ดเสร็จ • ผู้บริโภคถูกชักจูงให้หลงเชื่ออย่างงมงายด้วยการโฆษณา • รัฐบาลต้องแทรกแซงระบบเศรษฐกิจอย่างทั่วด้าน • ปราบการผูกขาด • สร้างเสถียรภาพให้กับตลาด • ควบคุมราคา • ลดกำไรให้อยู่ในระดับ “เป็นธรรม” • “คุ้มครองผู้บริโภคและธุรกิจรายย่อย”
ผลประโยชน์ส่วนตนกับการแข่งขันผลประโยชน์ส่วนตนกับการแข่งขัน • ทุกคนเห็นแก่ประโยชน์ตนและไม่ชอบการแข่งขัน • แต่การแข่งขันทำให้ระบบตลาดเป็น “positive-sum game” • อันตรายจากการผูกขาดโดยเอกชนเป็นเรื่องเกินจริง • ผู้ขายต้องเผชิญกับเส้นอุปสงค์ที่แน่นอน (ค่าความยืดหยุ่น) • ถ้าปราศจากการสนับสนุนของรัฐ การผูกขาดของเอกชนมักจะอยู่ได้ไม่นาน • การผูกขาดถาวรมักจะเป็นผลจากการใช้อำนาจของรัฐบาลเพื่อแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ(economic rent)
ตลาดผูกขาด (monopoly) • มีผู้ผลิต/ผู้ขายเพียงรายเดียว (ในความหมายแคบ) • มีอิทธิพลในการกำหนดราคา (price-maker) • ผลผลิตของบริษัทคือผลผลิตของทั้งอุตสาหกรม • บริษัทเผชิญกับเส้นอุปสงค์ที่มีความชันลาดลง • ถ้าบริษัทเปลี่ยนปริมาณการผลิต ราคาจะเปลี่ยนแปลงในทางตรงข้าม • การผูกขาดในความหมายกว้าง • มีผู้ผลิตน้อยราย และมีการรวมหัวกันคุมตลาด • แบ่งสัดส่วนการผลิต แบ่งส่วนตลาด จำกัดปริมาณเพื่อขึ้นราคาสินค้า
Profit maximization P LRMC economic rents LRAC A Pm E Pc G F D=AR MR Q Qm Qc
อำนาจในตลาด (market power) • ความสามารถในการตั้งราคาให้สูงกว่าต้นทุนหน่วยสุดท้าย(MC) และได้รับกำไรทางเศรษฐศาสตร์ (P > MR=MC) • เส้นอุปสงค์ส่วนที่มีค่าความยืดหยุ่นต่ำ (ลดปริมาณผลิต ทำให้ราคาและรายรับจากการขายสูงขึ้น) • ไม่มีสินค้าทดแทนที่ใกล้เคียง • รสนิยมของผู้บริโภค • อุปสรรคในการเข้าสู่ตลาด (เทคโนโลยี วัตถุดิบ สภาพภูมิศาสตร์ กฎหมายและการแทรกแซงของรัฐ)
P LRMC=S A C Pm B Pc D E D=AR MR Q Qc Qm
การสูญเสียสวัสดิการ (Deadweight loss) • ส่วนเกินผู้บริโภคบางส่วนถูกโอนไปให้ผู้ผลิต • ส่วนเกินผู้บริโภคและส่วนเกินผู้ผลิตบางส่วนสูญหายไป • ผลลัพธ์ในกรณีตลาดแข่งขัน • Consumer surplus = A + B + C. • Producer surplus = D + E • Collective surplus = A + B + C + D + E • ผลลัพธ์ในตลาดผูกขาด • Consumer surplus = A • Producer surplus = B + D • Collective surplus = A + B + D • Welfare loss = C + E
อำนาจการผูกขาดจากด้านต้นทุนอำนาจการผูกขาดจากด้านต้นทุน • การผูกขาดอาจเกิดจากความได้เปรียบด้านต้นทุน (cost advantage) • การเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตเฉพาะที่หายาก • เหมืองแร่ บุคลากรพิเศษ • เทคโนโลยีใหม่ กระบวนการผลิตใหม่และการจัดองค์กรใหม่ • การผูกขาดธรรมชาติและการประหยัดขนาด • ต้นทุนเฉลี่ย (AC) ลดลงเมื่อเพิ่มปริมาณการผลิต • ผู้ผูกขาดรายเดียวมีประสิทธิภาพมากกว่าผู้ผลิตหลายรายที่มีขนาดเล็กกว่า
Natural monopoly AC,MC • ผู้ผลิตรายเดียวทำการผลิตที่ q1 และขายที่ราคา p1. • ผู้ผลิตสองราย แต่ละรายผลิตที่ q2 และขายที่ราคา p2. AC b p2 a p1 q q1 q2
การแทรกแซงโดยรัฐเพื่อแก้การผูกขาดการแทรกแซงโดยรัฐเพื่อแก้การผูกขาด • รัฐบาลกำหนดเพดานราคา (price ceiling) ณ จุดที่ MR=MC ให้ได้ผลลัพธ์เท่ากับตลาดแข่งขัน (optimal pricing) • เส้นอุปสงค์และ MR “หักมุม” ณ ระดับราคาที่ควบคุม • ปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น ราคาลดลง ส่วนเกินผู้บริโภคและส่วนเกินผู้ผลิต มีขนาดเท่ากับตลาดแข่งขันทุกประการ
Optimal price regulation P MC=S A C Pm B Pc D E D=AR MR Q Qc Qm
ปัญหา optimal pricing • ผู้ผูกขาดมักจะมีอิทธิพลทางการเมืองเหนือรัฐบาล • การติดสินบน การข่มขู่ การใช้อิทธิพล “เหนือการเมือง” • รัฐบาลมักจะเกรงใจผู้ผูกขาดมากกว่าเกรงใจผู้บริโภค • รัฐและเจ้าหน้าที่มีพฤติกรรมแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจร่วมกับผู้ผูกขาด • รัฐบาลไม่รู้ลักษณะของเส้นอุปสงค์และ MR ของผู้ผูกขาด • รัฐบาลตั้งราคาสูงเกินไป ผู้ผูกขาดยังคงได้กำไรทางเศรษฐศาสตร์ • รัฐบาลตั้งราคาต่ำเกินไป ปริมาณผลผลิตน้อย เกิด deadweight loss.
Non-optimal price regulation P MC=S price = pg output = q2 deadweight loss = B + D B A Pm D C Pg E D=AR MR Q qd q2 q1
รัฐบาลตั้งราคาต่ำกว่า optimal pricing • ถ้าราคาควบคุมต่ำกว่า shutdown point ผู้ผูกขาดจะหยุดผลิต • ถ้าราคาควบคุมสูงกว่า shutdown point เกิดอุปสงค์ส่วนเกิน ปริมาณผลผลิตต่ำกว่าระดับเหมาะสม • ผู้บริโภคบางส่วนได้รับสินค้าที่ราคาควบคุม แต่บางส่วนไม่ได้รับ • เกิด deadweight loss เนื่องจากปริมาณผลผลิตต่ำกว่าระดับเหมาะสม
การผูกขาดโดยเอกชนไม่อาจอยู่ได้นานการผูกขาดโดยเอกชนไม่อาจอยู่ได้นาน • การผูกขาดถูกใช้เป็นเหตุผลให้รัฐบาลเข้าแทรกแซงระบบเศรษฐกิจ • การผูกขาดโดยเอกชนมีแนวโน้มที่จะล้มเหลวในระยะยาวถ้าไม่มีอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาด • ผู้ผูกขาดเผชิญกับเส้นอุปสงค์และโครงสร้างต้นทุนที่แน่นอน • สินค้าทดแทนทั้งใกล้เคียงและห่างไกลมีอยู่เสมอ • กำไรผูกขาดดึงดูดคู่แข่งให้เข้ามาแข่งขันช่วงชิงกำไร • ความได้เปรียบด้านต้นทุนหายไปเมื่อคู่แข่งเลียนแบบได้สำเร็จ • การผูกขาดโดยเอกชนจะอยู่ได้ ต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล
การผูกขาดที่สร้างโดยรัฐบาลการผูกขาดที่สร้างโดยรัฐบาล • รัฐบาลสร้างการผูกขาดโดยการสร้างอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาด • การผูกขาดโดยเอกชน ได้แก่ ใบอนุญาต สัมปทาน สัญญาเช่า • มีอยู่ทั่วไปในกิจการสาธารณูปโภคและอุตสาหกรรมหนัก • อุตสาหกรรมทารก(infant industries) คุ้มครองด้วยกำแพงอัตราภาษีนำเข้า โควต้าการนำเข้า การห้ามนำเข้า • รัฐบาลเป็นผู้ผูกขาดเสียเอง --- รัฐวิสาหกิจ • รัฐให้อำนาจผูกขาดเพื่อจูงใจการประดิษฐ์คิดค้น (สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์) • การผูกขาดชั่วคราวแลกกับการทำกำไรเพื่อจูงใจการประดิษฐ์คิดค้น
เหตุผลที่รัฐบาลอ้างเพื่อให้ผูกขาด?เหตุผลที่รัฐบาลอ้างเพื่อให้ผูกขาด? • ในกิจการสาธารณูปโภค มักเกิดการผูกขาดธรรมชาติเนื่องจากการประหยัดขนาด • ให้บริการแก่ประชาชนในปริมาณที่เหมาะสมและราคาต่ำ • เพื่อ “ความมั่นคงของชาติ” • การผูกขาดโดยเอกชนแต่กำกับโดยรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ • อุตสาหกรรมทารก • ให้ผู้ผลิตในประเทศมีโอกาสเติบโตและได้ประโยชน์จากการประหยัดขนาด • เปิดให้มีการแข่งขันและการนำเข้าเมื่อผู้ผลิตเหล่านี้ “พร้อม”
การแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ • การผูกขาดเป็นการโอนส่วนเกินผู้บริโภคไปเป็นค่าเช่า (rents) • ค่าเช่าทางเศรษฐกิจคือมูลค่าของสิทธิผูกขาดที่ผู้ผูกขาดได้จากการรับโอนส่วนเกินผู้บริโภค • รัฐบาลสร้างการผูกขาดขึ้นเพื่อมีส่วนแบ่งในค่าเช่ากับผู้ผูกขาด • ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ค่าสัมปทาน ส่วนแบ่งรายได้ • เงินสินบน คอรัปชั่น ผลประโยชน์ต่างตอบแทน • ตลาดซื้อขายสิทธิผูกขาด • อุปทาน ได้แก่ ชนชั้นปกครอง รัฐบาล นักการเมือง ข้าราชการ • อุปสงค์ ได้แก่ ธุรกิจเอกชน รัฐวิสาหกิจ
ถ้าไม่มีอุปสรรคการเข้าสู่ตลาด เส้นอุปทานของตลาดจะเป็นเส้นนอน รัฐบาลจำกัดจำนวนผู้ผลิตในตลาด (ระบบใบอนุญาต) ผู้ได้รับใบอนุญาตมีอำนาจในตลาด ได้ค่าเช่าเศรษฐศาสตร์ และจ่าย “ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต” ตลาดนั้น ๆ กลายเป็น “ตลาดเชลย” (captive market) ปริมาณผลผลิตต่ำกว่าและราคาสูงกว่าระดับที่เหมาะสม เกิดการสูญเสียสวัสดิการ deadweight loss มักใช้ในอุตสาหกรรมหนัก เชื้อเพลิง เคมี ปิโตรเคมี เหล็ก รถยนต์ ผูกขาดด้วยการจำกัดจำนวนผู้ผลิต
License holder Market p p mc s2 ac d profits A p2 p2 C B s1 p1 p1 q q q1 q2 n2q2 n1q1
ถ้าไม่มีอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาด จะมีผู้ผลิตเป็นจำนวน n1 และผลผลิตตลาดในปริมาณ n1q1 • ส่วนเกินผู้บริโภคเท่ากับ A+B+C • การบังคับใบอนุญาตทำให้จำนวนผู้ผลิตลดลงเป็น n2 และผลผลิตตลาดในปริมาณ n2q2 • ส่วนเกินผู้บริโภคลดลงเหลือ A • B ถูกโอนไปเป็นส่วนเกินผู้ผลิต • C = deadweight loss • กำไรถูกแบ่งระหว่างผู้มีใบอนุญาตกับผู้มีอำนาจอนุญาต
การห้ามเข้าสู่ตลาดเด็ดขาด (entry ban) • รัฐบาลให้อำนาจผูกขาดด้วยการห้ามรายใหม่เข้ามาแข่งขัน • ให้สัมปทานผูกขาดแก่ผู้ผลิตเอกชนรายเดียว โดยมีสัญญาแบ่งรายได้ (revenue sharing) • ผู้ผูกขาดเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจต้องส่งส่วนแบ่งกำไรให้แก่รัฐบาล • นิยมปฏิบัติในกิจการสาธารณูปโภค ที่มีลักษณะ “ผูกขาดตามธรรมชาติ” (natural monopoly) • อ้างเหตุผล “เพื่อประสิทธิภาพ” “คุ้มครองผู้บริโภค” และ “ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของชาติ”
การห้ามนำเข้า (import bans) • ถ้าให้นำเข้าโดยเสรี เส้นอุปทานจะเป็นเส้นนอน ณ ระดับราคาในตลาดโลก • รัฐบาลห้ามการนำเข้าสินค้าที่เป็นคู่แข่ง (เพื่อปกป้อง “ผู้ผลิตภายในประเทศ” หรือ “อุตสาหกรรมทารก”) • สินค้าเกษตร ปัจจัยการผลิต วัสดุก่อสร้าง เหล็ก ปิโตรเคมี รถยนต์ • ผู้บริโภคต้องพึ่งพาผู้ผลิตภายในประเทศเท่านั้น • ตลาดภายในประเทศกลายเป็น “ตลาดเชลย” (captive market) • ราคาสูง แต่ปริมาณผลผลิตต่ำกว่าระดับที่เหมาะสม
p d sd A pb B C pw sw D q qd qb q*
ถ้าให้นำเข้าได้โดยเสรี ผู้บริโภคจะซื้อผลผลิตในประเทศเท่ากับ qd และซื้อสินค้านำเข้าเท่ากับ qd-q* และจ่ายราคา pw • ส่วนเกินผู้บริโภคเท่ากับ A+B+C • ส่วนเกินผู้ผลิตเท่ากับ D • เมื่อรัฐบาลห้ามการนำเข้า ผู้ผลิตจะซื้อผลผลิตในประเทศเท่ากับ qb และจ่ายที่ราคา pb • ส่วนเกินผู้บริโภคเท่ากับ A • ส่วนเกินผู้ผลิตเท่ากับ B+D = ค่าเช่าผูกขาด • กำไรจากความได้เปรียบด้านต้นทุนจริงเท่ากับ D • Deadweight loss = C
กำแพงภาษีนำเข้า (tariffs) • Specific tariff คิดภาษีคิดบาทต่อปริมาณ (กิโล ตัน ฯลฯ) • Ad valorem tariff คิดเป็นร้อยละของราคาขาย • ภาษีนำเข้าเลื่อนส่วนที่เป็นเส้นนอนของเส้นอุปทานขึ้นไปเท่ากับจำนวนภาษีนำเข้า • ผลผลิตในประเทศสูงขึ้น ขณะที่ปริมาณนำเข้าลดลง และราคาสูงขึ้น • ส่วนเกินผู้บริโภคบางส่วนกลายเป็นรายได้ภาษีศุลกากรของรัฐ • ผลสุทธิแล้ว เกิด deadweight loss • สินค้าบริโภคทั่วไป วัสุดุก่อสร้าง ปิโตรเคมี เคมี รถยนต์
p sd d A pw+t sw+t B D C E pw sw F q q* q2 q1 q0
ถ้าไม่มีภาษีนำเข้า ปริมาณขายคือ q* ณ ราคาเท่ากับ pw • ผลผลิตในประเทศเท่ากับ q2 ปริมาณนำเข้าเท่ากับ q2-q* • ส่วนเกินผู้บริโภคเท่ากับ A+B+C+D+E • ส่วนเกินผู้ผลิตเท่ากับ F • เมื่อมีภาษีนำเข้า ปริมาณขายเท่ากับ q0 ณ ราคาเท่ากับ pw+t • ผลผลิตในประเทศเพิ่มเป็น q1 ปริมาณนำเข้าลดลงเป็น q1-q0 • ส่วนเกินผู้บริโภคเท่ากับ A • ส่วนเกินผู้ผลิตเท่ากับ B+F • รายรับจากภาษีนำเข้าเท่ากับ D • Deadweight loss = C+E
โควต้าการนำเข้า (import quota) • รัฐบาลจำกัดปริมาณนำเข้าสูงสุดไม่เกินเพดาน • มีผลเสมือนการกำหนดอัตราภาษีนำเข้า • แต่สูญเสียสวัสดิการมากกว่า เพราะรัฐไม่ได้รับรายได้ภาษีนำเข้า • โควต้าการนำเข้าถูกกำหนดไว้ที่ q1-q0 • Deadweight loss = C+D+E • สินค้าเกษตร อาหาร ปัจจัยการผลิตเกษตร
การกีดกันการค้าและการแสวงหาค่าเช่าการกีดกันการค้าและการแสวงหาค่าเช่า • ผู้ผลิตในประเทศนิยมให้จำกัดการนำเข้า • ส่วนเกินผู้บริโภคบางส่วนถูกโอนไปเป็นส่วนเกินผู้ผลิตแก่ผู้ผลิตในประเทศในรูปของกำไรจากการกีดกันการค้า (protective tariffs) • ทั้งรัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐได้รับส่วนแบ่งค่าเช่าทั้งถูกและผิดกฎหมาย • ตลาดสินค้านั้น ๆ กลายเป็น “ตลาดเชลย” (captive market) • ผู้ผลิตในประเทศสามารถขึ้นราคาสินค้าของตนได้เท่ากับอัตราภาษีนำเข้า
อุตสาหกรรม “เฒ่าทารก” • การกีดกันการนำเข้ามักอ้างเพื่อคุ้มครอง “อุตสาหกรรมทารก” • ปัญหาการ “เลือกผู้ชนะ” (picking the winner) มักลงเอยเป็นการเลือกผิดและคอรัปชั่น • กีดกันทั้งการนำเข้าและผู้ผลิตในประเทศรายอื่น ๆ • ความไม่แน่นอนว่า ผู้ที่ถูกเลือกจะชนะในอนาคต ประโยชน์ของผู้บริโภคถูกเสียสละให้กับความไม่แน่นอนของความสำเร็จนโยบายของรัฐ • อุตสาหกรรมทารกจำนวนมากไม่เคยเติบโตจนแข่งขันได้ • บางส่วนกลายเป็นผู้ผูกขาดถาวรที่อิงการคุ้มครองจากรัฐบาลตลอดไป
รัฐวิสาหกิจ • รัฐวิสาหกิจคือการผูกขาดโดยรัฐ • เชื่อว่า กิจการของรัฐดำเนินไปเพื่อ “ประโยชน์ของประชาชน” • มีแพร่หลายในกิจการสาธารณูปโภคและสินค้าปกติทั่วไป • ความล้มเหลวของรัฐวิสากิจ • ขาดทุนเรื้อรัง เป็นภาระที่รัฐต้องหาเงินภาษีหรือเงินกู้มาอุดหนุน • องค์กรมีขนาดใหญ่โต จ้างพนักงานล้นเกิน ลงทุนขนาดใหญ่เกินไป แต่ผลตอบแทนต่ำ • ค่าจ้างเงินเดือนสวัสดิการสูงกว่าแต่ผลิตภาพต่ำกว่าตลาด • ทุจริตคอรัปชั่น ลัทธิอุปถัมป์ ลัทธิพวกพ้อง
การแก้ปัญหาการผูกขาดโดยเอกชนการแก้ปัญหาการผูกขาดโดยเอกชน • การผูกขาดโดยเอกชนและการรวมหัวกัน (cartels) ที่ไม่มีรัฐบาลหนุนหลังมักจะล้มเหลวในเวลาไม่นาน • ลดการแทรกแซงของรัฐในธุรกิจผูกขาดเอกชนที่รัฐควบคุม (deregulation) • การแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นเอกชนและให้ผู้ประกอบการเอกชนเข้ามาแข่งขัน (privatization) • กำหนดนโยบายการแข่งขันและ “กฎหมายการแข่งขัน” (antitrust/competition laws) • ข้อกำหนดด้าน “โครงสร้าง” และ “พฤติกรรม”
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นเอกชน (privatization) • ในตลาดสินค้าส่วนบุคคล ให้รัฐบาลถอนตัว ให้เอกชนแข่งขันกันเอง • ในกิจการสาธารณูปโภค • แปลงสภาพรัฐวิสาหกิจให้เป็นบริษัทมหาชนเพื่อเพิ่มความโปร่งใสทางงบประมาณและบัญชี ลดภาระหนี้สาธารณะ • แยกโครงสร้างเครือข่ายพื้นฐาน (network) ออกจากการให้บริการ (service) • เปิดประมูลให้เอกชนได้สิทธิเข้ามาประกอบการให้บริการในช่วงเวลาที่กำหนด ณ ราคาต่ำสุด