370 likes | 741 Views
การศึกษารูปแบบและการดำเนินการด้านสุขภาพที่เหมาะสมของกองทุนระบบประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย. ดร.ภญ.อุษาวดี สุตะภักดิ์ มูลนิธิภิวัฒน์สาธารณสุขไทย (ภวส.).
E N D
การศึกษารูปแบบและการดำเนินการด้านสุขภาพที่เหมาะสมของกองทุนระบบประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยการศึกษารูปแบบและการดำเนินการด้านสุขภาพที่เหมาะสมของกองทุนระบบประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย ดร.ภญ.อุษาวดี สุตะภักดิ์ มูลนิธิภิวัฒน์สาธารณสุขไทย (ภวส.)
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนงานการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขของแรงงานต่างด้าว มูลนิธิภิวัฒน์สาธารณสุขไทย (ภวส.) โดยการสนับสนุนงบประมาณจาก สำนักงานกองทุนสนับสนับการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ความเป็นมา ระบบบริการด้านสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข แรงงานกลุ่มใต้ดินรวมถึงผู้ติดตาม แรงงานต่างด้าวกลุ่มผ่อนผัน ทร. 38/1 แรงงานต่างด้าวกลุ่มพิสูจน์สัญชาติ แรงงานต่างด้าวกลุ่มนำเข้า ประกันสังคม
วัตถุประสงค์ของการศึกษาวัตถุประสงค์ของการศึกษา • เพื่อศึกษารูปแบบและการดำเนินการด้านสุขภาพที่เหมาะสม ของกองทุนระบบประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวที่บริหารโดยกระทรวงสาธารณสุขในอนาคต
วิธีการศึกษาวิจัย • ทบทวนการดำเนินงาน สิทธิประโยชน์ วิธีการจ่ายเงินให้หน่วยบริการ ของระบบประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวที่บริหารโดยกระทรวงสาธารณสุข • วิเคราะห์อัตราการใช้บริการด้านการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค • การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview)ผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ และนักวิชาการ ในพื้นที่ 4 แห่ง (สมุทรสาคร กาญจนบุรี ระนอง ตาก) ในประเด็นปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัด ในการดำเนินการของกองทุน
วิธีการศึกษาวิจัย (ต่อ) • การศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการ (health seeking behavior) ของแรงงานต่างด้าว ภายใต้กองทุนระบบประกันสุขภาพของแรงงานต่างด้าว • การใช้เทคนิคเดลฟายด์ประยุกต์ (EDFR) เพื่อหาแนวทางและรูปแบบการดำเนินการที่เหมาะสมของระบบประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว • การสังเคราะห์เป็นข้อเสนอในการพัฒนาระบบการประกันสุขภาพของแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย
พัฒนาการระบบประกันสุขภาพของแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย*พัฒนาการระบบประกันสุขภาพของแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย* • ปี พ.ศ. 2544 ดำเนินการตรวจและประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นระบบเป็นปีแรก • ปี พ.ศ. 2548-49 ขยายขอบข่ายของการตรวจและประกันสุขภาพในแรงงานต่างด้าวไปยังผู้ติดตามและครอบครัวตามความสมัครใจ • ปี พ.ศ. 2550 ประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวเป็นหลัก สำหรับผู้ติดตามและครอบครัวให้สถานบริการสุขภาพพิจารณาดำเนินการตามความเหมาะสม เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีไม่มีความชัดเจนในสิทธิอาศัยอยู่ของคนกลุ่มนี้ ที่มา: ทัศนัย ขันตยาภรณ์ และคณะ. การพัฒนาแนวทางการคาดประมาณประชากรต่างด้าว บริการวางแผนครอบครัว อนามัยแม่และเด็กและสร้างเสริมความครอบคลุมของวัคซีนเด็กในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. 2556.
ปี พ.ศ. 2551 ประกันสุขภาพสามารถทำได้ในแรงงานต่างด้าว ผู้ติดตาม และครอบครัว ทั้งที่ได้รับการผ่อนผันและไม่ได้รับการผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในประเทศไทย แต่การรับประกันหรือไม่ยังคงขึ้นอยู่กับหน่วยบริการสุขภาพเป็นหลัก • ปี พ.ศ. 2552-53 ประกันสุขภาพทำได้ในแรงงานต่างด้าวที่ต่อทะเบียนแรงงาน และจดทะเบียนใหม่ ตามมติคณะรัฐมนตรี แต่มีความชัดเจนว่าไม่รวมถึงผู้ติดตามและครอบครัว • ปี พ.ศ. 2554 ประกันสุขภาพในแรงงานต่างด้าวทั้งที่ต่อทะเบียนและขึ้นทะเบียนใหม่ ตามมติคณะรัฐมนตรี รวมทั้งผู้ติดตามที่เป็นบุตรที่อายุไม่เกิน 15 ปีโดยสมัครใจโดยไม่รวมผู้ติดตามประเภทอื่นๆ
ปี พ.ศ. 2556 มีนโยบายให้ประกันสุขภาพครอบคลุมคนต่างด้าวทุกคนซึ่งครอบคลุมถึง ผู้ติดตามและครอบครัวโดยสมัครใจ โดยมีการแยกอัตราค่าทำประกันสุขภาพเป็นคนต่างด้าวทั่วไป และเด็กอายุไม่เกิน 7 ปี และขยายชุดสิทธิประโยชน์ให้ครอบคลุมถึงการบริการ ARV และมีการเพิ่มอัตราค่าใช้จ่ายค่าประกันสุขภาพจากเดิม 1,300 บาท เป็น 2,200 บาท
อัตราการใช้บริการผู้ป่วยนอก ปี พ.ศ. 2553-2555 (ครั้ง/คน/ปี)
อัตราการใช้บริการผู้ป่วยใน ปี พ.ศ. 2553-2555 (ร้อยละ/คน/ปี)
อัตราการจำหน่ายบัตรประกันสุขภาพ ปีงบประมาณ 2553-2555 819 ล้านบาท 506 ล้านบาท 297 ล้านบาท
ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลแรงงานต่างด้าว ปีงบประมาณ 2553-2555 (ล้านบาท)
ค่าใช้จ่ายด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ปีงบประมาณ 2553-2555 (ล้านบาท)
ความเจ็บป่วยและการใช้บริการสุขภาพของแรงงานต่างด้าวและครอบครัวความเจ็บป่วยและการใช้บริการสุขภาพของแรงงานต่างด้าวและครอบครัว • สำรวจสถานะความเจ็บป่วยและการใช้บริการสุขภาพของแรงงานต่างด้าวและครอบครัว จำนวน 831 ครัวเรือน ในพื้นที่ 4 จังหวัด • อำเภอมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร • อำเภอเมือง จังหวัดระนอง • อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก • อำเภอสังขละบุรีและอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
การมีหลักประกันด้านสุขภาพ จำแนกตามเพศและกลุ่มอายุ
ความพึงพอใจต่อสถานพยาบาลของผู้ที่มีหลักประกันด้านสุขภาพความพึงพอใจต่อสถานพยาบาลของผู้ที่มีหลักประกันด้านสุขภาพ @การเดินทางไม่สะดวก @ไม่อยู่ในภูมิลำเนาเดิม @ไม่มั่นใจบริการ @รู้สึกว่าได้รับบริการที่แย่กว่าคนไทย
ร้อยละความเจ็บป่วยที่ไม่ต้องนอนในโรงพยาบาลใน 1 เดือนที่ผ่านมา **จากการสำรวจในการศึกษานี้ และ การสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2556
การรักษาความเจ็บป่วยที่ไม่ต้องนอนในโรงพยาบาลของแรงงานต่างด้าวการรักษาความเจ็บป่วยที่ไม่ต้องนอนในโรงพยาบาลของแรงงานต่างด้าว
ร้อยละโรคเรื้อรังของแรงงานต่างด้าวและครอบครัว จำแนกตามเพศและอายุ เบาหวาน ความดัน
ร้อยละความเจ็บป่วยที่ต้องพักรักษาในโรงพยาบาลในระยะ 1 ปีที่ผ่านมา คลอดบุตร ไข้สูง
การใช้สวัสดิการรักษาพยาบาลในการเจ็บป่วยที่ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลการใช้สวัสดิการรักษาพยาบาลในการเจ็บป่วยที่ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล @เดินทางไม่สะดวก @ช้า รอนาน
การสูบบุหรี่ของแรงงานต่างด้าวและครอบครัวจำแนกตามเพศการสูบบุหรี่ของแรงงานต่างด้าวและครอบครัวจำแนกตามเพศ
การดื่มสุราของแรงงานต่างด้าวและครอบครัวการดื่มสุราของแรงงานต่างด้าวและครอบครัว
การบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุของแรงงานต่างด้าวในระยะ 1 เดือนที่ผ่านมา
ปัญหา อุปสรรคในการดำเนินการของกองทุนประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว (การสัมภาษณ์เชิงลึก) ความครอบคลุมของการมีหลักประกันด้านสุขภาพของแรงงานต่างด้าวและสถานการณ์การจำหน่ายบัตรประกันสุขภาพในระยะที่ผ่านมา @ การไม่ทราบจำนวนของแรงงานต่างด้าวและผู้ติดตามที่แท้จริง @ การไม่มีสภาพบังคับในการซื้อบัตรประกันสุขภาพ @ ช่องว่างของการดำเนินนโยบายให้มีการพิสูจน์สัญชาติและเข้าสู่ระบบประกันสังคม
ปัญหาในการให้บริการด้านสุขภาพปัญหาในการให้บริการด้านสุขภาพ ปัญหาด้านการรักษาพยาบาล @ การสื่อสารกับผู้ป่วย @ การติดตามการรักษาในกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องรักษาให้ครบ course ปัญหาด้านการสร้างเสริมสุขภาพและควบคุมโรค @ การสื่อสารกับผู้ป่วย @ การค้นหาผู้ป่วยในชุมชน @ ระเบียบการจัดจ้างในการปฏิบัติงานเป็นพนักงานสาธารณสุขต่างด้าว (พสต.) @ ประชากรมีการเคลื่อนย้ายสูง เป็นอุปสรรคต่องานสร้างเสริมสุขภาพฯ @ งบประมาณดำเนินการด้านสร้างเสริมสุขภาพฯของแรงงานต่างด้าว
ปัญหาการไม่จำหน่ายบัตรประกันสุขภาพให้แก่แรงงานต่างด้าวปัญหาการไม่จำหน่ายบัตรประกันสุขภาพให้แก่แรงงานต่างด้าว ปัญหาการประสานงานระหว่างส่วนกลางและพื้นที่ และปัญหาด้านโปรแกรมสนับสนุนการดำเนินงานในพื้นที่ ข้อกังวลต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข @ การเพิ่มอัตราบัตรประกันสุขภาพ @ การเปิดขายบัตรประกันสุขภาพตลอดทั้งปี @ การบริหารจัดการในบริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยเอดส์ @ การขยายกลุ่มเป้าหมายการจำหน่ายบัตรไปยังคนต่างด้าวที่มีศักยภาพในการจ่าย
ข้อเสนอในการพัฒนาระบบประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวของกระทรวงสาธารณสุข แรงงานต่างด้าวและผู้ติดตามต้องมีหลักประกันสุขภาพอย่างใดอย่างหนึ่งและต้องเข้าถึงบริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน ครอบคลุมการรักษาพยาบาล การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค รวมถึงการควบคุมโรค โดยไม่คำนึงถึงสถานะทางกฎหมาย ระบบประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวของกระทรวงสาธารณสุขต้องมีสภาพบังคับต่อการขออนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าว
มีแนวทางในการขึ้นทะเบียนผู้ติดตามและครอบครัวของแรงงานต่างด้าวโดยกระทรวงสาธารณสุข เพื่อใช้ในการวางแผนด้านสาธารณสุข ควรกำหนดอัตราการประกันสุขภาพที่เหมาะสม สอดคล้องกับการทำงานของแรงงานต่างด้าว เช่น แรงงานเกษตรกรรมที่เข้ามาเฉพาะบางฤดูกาล หรือแรงงานประมง เป็นต้น และอาจกำหนดอัตราการประกันให้สอดคล้องกับระยะเวลาการขออนุญาตทำงานของแรงงาน เพิ่มสิทธิประโยชน์การใช้บริการจากสถานพยาบาลอื่นในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินได้ตามความจำเป็นโดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง และครอบคลุมการรักษากรณีอุบัติเหตุทุกประเภท
เพิ่มเติมงบประมาณของกองทุนที่จัดสรรให้โดยตรงแก่สถานพยาบาลในส่วนค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และค่าบริการทางการแพทย์ และมีมาตรการช่วยเหลือสถานพยาบาลที่ประสบปัญหาการขาดทุนในระบบหลักประกันสุขภาพคนต่างด้าว ให้การบริการยาต้านไวรัสเอดส์ อยู่ภายใต้การรักษาพยาบาลที่มีค่าใช้จ่ายสูง และใช้ระบบการบริหารจัดการยาของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้มีพนักงานสาธารณสุขต่างด้าว (พสต.) เป็นองค์ประกอบในงานบริการสุขภาพของคนต่างด้าวทั้งด้านการรักษาพยาบาลและการสร้างเสริมสุขภาพ โดยมีการจัดจ้างที่ถูกต้องตามระเบียบราชการ
ควรมีการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ (primary care) ในการให้การดูแลแรงงานต่างด้าว และมีการพัฒนาอาสาสมัครต่างด้าว (อสต.) ในการดำเนินงานด้านสุขภาพในชุมชนของคนต่างด้าว ควรมีระบบการประเมินผล ความครอบคลุมของผู้มีสิทธิ ความพึงพอใจในการรับบริการ คุณภาพบริการ และความคุ้มทุนของสถานพยาบาลในการให้บริการแรงงานต่างด้าวและผู้ติดตาม กระทรวงสาธารณสุขควรมีการกำหนดนโยบายที่ชัดเจน รวมถึงมีระบบสนับสนุนที่มีศักยภาพ เช่น ระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ ระบบการลงทะเบียนต่างๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานบริการสุขภาพให้แก่แรงงานต่างด้าวและผู้ติดตามในพื้นที่ มีช่องทางในการรับฟังความเห็นของพื้นที่เพื่อการพัฒนางาน
ข้อเสนอต่อการพัฒนาระบบบริการสุขภาพของแรงงานต่างด้าวโดยรวมข้อเสนอต่อการพัฒนาระบบบริการสุขภาพของแรงงานต่างด้าวโดยรวม กระทรวงสาธารณสุขควรมีบทบาทที่ชัดเจนในการผลักดันให้การมีหลักประกันสุขภาพของแรงงานต่างด้าวและครอบครัวเป็นความจำเป็น เพื่อประกันความมั่นคงด้านสุขภาพของประชาชนไทย และประชากรต่างด้าวที่มาอาศัยในประเทศไทย โดยการทำความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระบบ กระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานประกันสังคมต้องมีมาตรการทางกฎหมายที่ชัดเจน และมีผลในทางปฏิบัติ เพื่อแก้ไขปัญหาการหลบเลี่ยงเข้าสู่ระบบประกันสุขภาพของแรงงานต่างด้าวและครอบครัว
ควรมีนโยบายและแนวทางที่ชัดเจนในการดำเนินงานด้านสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้แก่แรงงานต่างด้าวและผู้ติดตาม รวมถึงมีมาตรการด้านงบประมาณที่ชัดเจนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อันประกอบด้วย กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานประกันสังคม และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ควรให้ความสำคัญต่อบริการด้านสุขภาพที่สำคัญนอกเหนือจากบริการรักษาพยาบาล เช่น งานอนามัยเจริญพันธุ์และการวางแผนครอบครัว ควรมีแนวทางที่ชัดเจนในการช่วยเหลือสถานพยาบาลที่ประสบปัญหาขาดทุน อันเนื่องมาจากการให้บริการสุขภาพแก่แรงงานต่างด้าวและผู้ติดตามที่ไม่มีหลักประกันสุขภาพใดๆ
ขอบคุณครับ ที่จะช่วยกันดูแลสุขภาพของพวกเราอย่างเท่าเทียม และไม่กังวลว่าผมมาอย่างถูกกฎหมายหรือไม่