340 likes | 613 Views
ปัจจัยต่างๆที่มีอิทธิพลต่อการใช้น้ำของพืช. คุณสมบัติของดิน - น้ำในดิน - ฝนและภูมิอากาศ - พืช และอัตราการคายระเหยน้ำ. อนินทรียวัตถุ (mineral matter) 45 % โดยปริมาตร อินทรียวัตถุ (organic matter) 5 % โดยปริมาตร น้ำ 25 % โดยปริมาตร อากาศ 25 % โดยปริมาตร.
E N D
ปัจจัยต่างๆที่มีอิทธิพลต่อการใช้น้ำของพืชปัจจัยต่างๆที่มีอิทธิพลต่อการใช้น้ำของพืช • คุณสมบัติของดิน- น้ำในดิน- ฝนและภูมิอากาศ- พืช และอัตราการคายระเหยน้ำ
อนินทรียวัตถุ (mineral matter) 45% โดยปริมาตร • อินทรียวัตถุ (organic matter) 5%โดยปริมาตร • น้ำ 25%โดยปริมาตร • อากาศ 25%โดยปริมาตร
ลักษณะทางกายภาพของดินลักษณะทางกายภาพของดิน เนื้อดิน(ขนาดของเม็ดดินหรืออนุภาคดิน) ลักษณะโครงสร้างของดิน(รูปร่างของก้อนดิน) ความแน่นทึบหรือความพรุนของก้อนดิน ความสามารถในการอุ้มน้ำหรือดูดยึดน้ำของดิน อัตราการซาบซึมของน้ำในดิน สีของดิน ฯลฯ
ความสำคัญของเนื้อดิน 1. สามารถประเมินความอุดม สมบูรณ์ของดินได้อย่าง คร่าวๆ 2. ชนิดของพืชที่จะปลูก 3. ด้านการจัดการดิน
ประเภทของเนื้อดินปริมาณของอนุภาคในกลุ่มขนาดต่างๆ ดินเนื้อหยาบ : ดินทราย ดินทรายปนร่วน ดินร่วนปนทราย ดินเนื้อปานกลาง: ดินร่วน ดินร่วนปนทรายแป้ง ดินร่วนเหนียวปนทราย ดินทรายแป้ง ดินเนื้อละเอียด : ดินเหนียวปนทราย ดินเหนียว ปนทรายแป้ง ดินร่วนเหนียว ดินเหนียว ดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง
ขนาดของอนุภาคดินจำแนกกลุ่มขนาดอนุภาคอนินทรีย์ อนุภาคทราย (sand) ขนาด 0.05 - 2.0 มม. อนุภาคทรายแป้ง (silt) ขนาด 0.002 - 0.05 มม. อนุภาคดินเหนียว (clay) ขนาด < 0.002 มม.
การเก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ดินทางกายภาพการเก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ดินทางกายภาพ ลักษณะการเก็บตัวอย่างดิน เก็บแบบรบกวนโครงสร้างดิน (disturbed soil sampling) โดยการใช้จอบ เสียม ฯลฯ เก็บแบบไม่รบกวนโครงสร้างดิน (undisturbed soil sampling) โดยการใช้กระบอกวงแหวน เก็บตัวอย่างดิน
การวิเคราะห์หาชนิดของ เนื้อดิน (Soil Texture) คือ การวิเคราะห์หาปริมาณ อนุภาคดินในแต่ละกลุ่ม ขนาดอนุภาคดิน
โครงสร้างดิน (soilstructure)ขบวนการเกิดโครงสร้างดิน การเกาะกลุ่มของอนุภาคเดี่ยวเป็นกลุ่มก้อนอย่างหลวมๆ การเชื่อมยึดอนุภาคดินที่เกาะกลุ่มกันหลวมๆเป็นเม็ดดินที่ถาวร
ดินไร้โครงสร้าง ลักษณะเป็นอนุภาคเดี่ยว ได้แก่ ดินทราย ลักษณะเป็นก้อนทึบ (massive) ได้แก่ ดินเนื้อละเอียด
ดินมีโครงสร้าง • รูปร่างแบบเม็ดเล็กหรือเม็ดกลม • รูปร่างเป็นก้อนเหลี่ยมหรือค่อนข้างเหลี่ยม • รูปร่างแบบแท่งปลายเหลี่ยมหรือปลายมน
ความแน่นทึบและความพรุนของดินความแน่นทึบและความพรุนของดิน ความหนาแน่นอนุภาค (Particle density, Ds) ความหนาแน่นรวม (Bulk density, Db) และความพรุนรวม (Total porosity)
ความแน่นทึบ (Compaction) ที่สัมพันธ์กับช่องว่างในดิน (pore space)
ค่า Db ที่ใช้กับดินทุกชนิด ค่า Db ≤ 1.3 g/cm3 non-limiting crop growth ค่า Db ≥ 2.1 g/cm3 limiting crop growth Singh et al. (1992)
ค่า Db ที่จำกัด root growth Clay loam ≥ 1.55 g/cm3 Silt loam ≥ 1.65 g/cm3 Fine sandy loams ≥ 1.80 g/cm3 Loamy fine sands ≥ 1.85 g/cm3 Bowen (1981)
ค่า Db ที่จำกัดการเจริญเติบโตของข้าว Clay soil > 1.2 g/cm3 Loam soil > 1.6 g/cm3 Sandy loam > 1.8 g/cm3 Kar et al. (1976)
ความพรุนรวมของดิน (Soil Porosity) Macro-pores > 0.05 mm. Micro-pores < 0.05 mm. ค่า Porosity = 25 % แสดงว่าดินแน่นมาก ค่า Porosity = 50% แสดงว่าดินนั้น พอใช้ได้ ค่า Porosity = 65% แสดงว่าดินนั้นมี ปริมาณอินทรีย์วัตถุสูงมาก ทำให้เกิดเป็นเม็ดดินอย่างดี
น้ำในดิน (Water in Soil)ความเร็วการไหลของน้ำในดิน(Hydraulic Conductivity) • ขนาดของช่อง • ความต่อเนื่องของช่อง • ระดับความชื้น
การแบ่งชั้นของสภาพนำน้ำขณะอิ่มตัวของดิน(saturated hydraulic conductivity)
การวิเคราะห์หาปริมาณความชื้นของดินการวิเคราะห์หาปริมาณความชื้นของดิน ภายใต้แรงดันบรรยากาศต่างๆ 1/3 bar (ความจุสภาพสนาม Field Capacity) 15 bar (จุดเหี่ยวเฉาถาวรของพืช Permanent Wilting Point) เพื่อวิเคราะห์หาปริมาณความชื้น ที่เป็นประโยชน์ต่อพืช
น้ำที่เป็นประโยชน์ต่อพืช(available water) • น้ำที่บรรจุอยู่ในช่องขนาด 0.2 - 20 µm • ความจุความชื้นที่เป็นประโยชน์ (available water capacity, AWCA) = ผลต่างของระดับความชื้นที่ความจุสนาม (FC) กับจุดเหี่ยวถาวร (PWP) หรือ AWCA = FC – PWP
Available Water Capacities of Soils Texture class AWC (mm. water/ m. soil) Clay 200 Clay loam 200 Silt loam 208 Clay loam 200 Loam 175 Fine sandy loam 142 Sandy loam 125 Loamy sand 100 Sand 83
สรุป สมบัติทางกายภาพ/ฟิสิกส์ของดิน 1. เนื้อดิน (soil texture) เป็นสมบัติพื้นฐานซึ่งมีส่วนกำหนดสมบัติทางฟิสิกส์อื่นๆของดิน จำแนกได้ 3 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มดินเนื้อหยาบ กลุ่มดินเนื้อปานกลาง และกลุ่มดินเนื้อละเอียด • ดินเนื้อหยาบ มีการระบายน้ำและถ่ายเทอากาศดี แต่มีความสามารถอุ้มน้ำต่ำ และดูดซับธาตุอาหารได้น้อย การจัดการดิน คือ ต้องมีการชลประทานและการใส่ปุ๋ย โดยกำหนดอัตราและปริมาณต่อครั้งไม่มากเกินไป • ดินเนื้อละเอียดอุ้มน้ำได้มาก ดูดซับธาตุอาหารได้มาก แต่มีการระบายน้ำเลว การจัดการดิน คือดินเนื้อละเอียดสามารถรับการใส่ปุ๋ยได้ครั้งละมากๆ แต่ต้องระวังเรื่องการให้น้ำซึ่งจะมีผลกระทบต่อการถ่ายเทอากาศของดิน
สรุป สมบัติทางกายภาพ/ฟิสิกส์ของดิน 2. โครงสร้างดิน โครงสร้างดินหมายถึงการจับตัวเป็นเม็ดของอนุภาคเดี่ยว การปรับปรุงโครงสร้างของดิน ทำได้ 2 วิธี คือ ส่งเสริมการเกิดเม็ดดิน โดยการเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุ การป้องกันการสลายตัวของเม็ดดินที่มีอยู่แล้ว โดยการปลูกพืชคลุมดิน การไถพรวนอย่างถูกวิธีหรือหลีกเลี่ยงการไถพรวนที่มากเกินจำเป็น งดการเผาตอซัง
สรุป สมบัติทางกายภาพ/ฟิสิกส์ของดิน 3. น้ำในดิน ดินที่มีสภาพนำน้ำต่ำกว่า 0.1 เมตร/วัน ต้องระวังปัญหาน้ำท่วม อาจแก้ปัญหาโดยการขุด ร่อง ระบายน้ำหรือเพาะปลูกแบบร่องสวน ดินที่มีสภาพนำน้ำ 0.1-1.0 เมตร/วัน อาจมีปัญหาน้ำท่วมได้ในฤดูฝน แก้ปัญหาโดยขุดร่องระบายน้ำส่วนเกินหรือไถทำลายชั้นดานเพื่อระบายน้ำใต้ดิน หรือทำรูระบายน้ำเพื่อระบายน้ำจากดินชั้นบน ดินที่มีสภาพนำน้ำเกิน 1.0 เมตร/วัน จัดว่าระบายน้ำดี ไม่จำเป็นต้องจัดการเรื่องระบายน้ำ ยกเว้นกรณีมีชั้นแน่นทึบหรือชั้นหินอยู่ด้านล่างซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำใต้ดินระดับตื้นขึ้นได้ในช่วงฤดูฝนหรือเมื่อทำการชลประทานมากเกินไป