1 / 27

บทที่ 3 การเคลื่อนที่ในหนึ่งมิติ

บทที่ 3 การเคลื่อนที่ในหนึ่งมิติ. 3.1 ตำแหน่งและการกระจัด. ตำแหน่ง (position) คือ การบอกให้ทราบว่า วัตถุหรือสิ่งของที่เราพิจารณาอยู่ที่ใด เทียบกับจุดอ้างอิง. วัตถุอยู่ที่ตำแหน่ง x = x 1 ที่เวลา t 1 หมายถึง วัตถุอยู่ที่ระยะทาง x 1 จากจุด O (จุดอ้างอิง) ที่เวลา t 1

kevyn
Download Presentation

บทที่ 3 การเคลื่อนที่ในหนึ่งมิติ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 3 การเคลื่อนที่ในหนึ่งมิติ 3.1 ตำแหน่งและการกระจัด ตำแหน่ง (position) คือ การบอกให้ทราบว่า วัตถุหรือสิ่งของที่เราพิจารณาอยู่ที่ใด เทียบกับจุดอ้างอิง วัตถุอยู่ที่ตำแหน่ง x = x1ที่เวลา t1หมายถึง วัตถุอยู่ที่ระยะทาง x1 จากจุด O (จุดอ้างอิง) ที่เวลา t1 ถ้าวัตถุเลื่อนที่ไปอยู่ที่ x2ที่เวลา t2แสดงว่า วัตถุได้มีการเคลื่อนที่ไประหว่างเวลา t1และ t2 -X +X x2 x1 O

  2. การกระจัด (displacement) การเปลี่ยนตำแหน่งของวัตถุจาก x = x1ไปเป็น x = x2หรือ x2 – x 1 การกระจัด หมายถึง การเปลี่ยนตำแหน่งของวัตถุไปจากตำแหน่งปกติ (สมดุล) 2.2 ความเร็วเฉลี่ยและอัตราเร็วเฉลี่ย ความเร็ว (velocity) คือ การกระจัดต่อเวลา ความเร็วเฉลี่ย (average velocity) คือ การกระจัดหารด้วยช่วงเวลา

  3. อัตราเร็ว (speed) เป็นปริมาณสเกลาร์ หมายถึง ระยะทางของการเคลื่อนที่ทั้งหมดโดยไม่คำนึงถึงทิศทางหารด้วยเวลา อัตราเร็วเฉลี่ย (average speed) คือ ระยะทางทั้งหมดที่เคลื่อนที่หารด้วยเวลา พิจารณาการเคลื่อนที่ของวัตถุจาก x1 ไป x3 และจาก x3 กลับมา x2 ใช้เวลาทั้งหมด (t2 – t1) -X +X x1 x3 x2 O อัตราเร็วเฉลี่ย = (x3 – x1) + (x3 – x2) / (t2 – t1) ความเร็วเฉลี่ย = (x2 – x1) / (t2 – t1)

  4. ตัวอย่าง โยนลูกบอลขึ้นในแนวดิ่ง ลูกบอลลอยขึ้นไปได้สูง 5 เมตร แล้วตกกลับมายังมือในเวลา 2 วินาที อัตราเร็วเฉลี่ย = ระยะทางทั้งหมดที่เคลื่อนที่ / เวลา = (5 เมตร + 5 เมตร) / 2 วินาที = 5 เมตรต่อวินาที ความเร็วเฉลี่ย = การกระจัดทั้งหมด / เวลา = 0 / 2 = 0 เมตรต่อวินาที (การกระจัดเป็นศูนย์เพราะ ลูกบอลกลับมาที่เดิม)

  5. 2.3 ความเร็วและอัตราเร็วขณะใดขณะหนึ่ง ความเร็วขณะใดขณะหนึ่ง (instantaneous velocity) คือ ความเร็วของวัตถุในช่วงเวลาสั้นมากขณะผ่านจุดจุดหนึ่งหรือที่เวลาใดเวลาหนึ่ง X x2 Q ความชันเป็นความเร็วที่ผ่าน Q ความชันเป็นความเร็วเฉลี่ย P x1 t O t1 t2 O

  6. ความเร็วเฉลี่ย ความชันของเส้นตรงที่ลากผ่าน PQ คือ (x2 – x1) / (t2 – t1) ความเร็วขณะใดขณะหนึ่ง ความเร็วของวัตถุที่ Q เป็นความเร็วขณะใดขณะหนึ่งที่เวลา t2หรือ ที่จุด Q หาได้จากลิมิตของความชัน ตัวอย่าง ความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งกับเวลาเป็นไปตามสมการ x = 5t2เมตรให้ Q เป็นตำแหน่งที่ 2.00 วินาที ค่าของตำแหน่ง P ที่เวลาต่างๆ ใกล้ Q และค่าของความชันของเส้น PQ ดังตาราง ลิมิตของความชันที่ Q เป็น 20.00 เมตรต่อวินาที

  7. ตารางแสดงค่า x ของ P และ Q ที่เวลาต่างๆ และค่าความชันของเส้น PQ จากตาราง แสดงว่าความชันไม่เปลี่ยนเมื่อ t เข้าใกล้ 2.00 วินาทีมาก

  8. 2.4 ความเร่ง ความเร่ง (acceleration) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงความเร็วต่อเวลา ถ้าที่เวลา t2วัตถุมีความเร็ว v2 และที่เวลาก่อนนั้นคือ t1วัตถุมีความเร็ว v1 ความเร่งเฉลี่ย = ความเร่งขณะใดขณะหนึ่ง = กราฟของความเร็วกับเวลา ความชันของเส้นสัมผัสที่จุดต่างๆ คือ ความเร่งของวัตถุที่จุดนั้นๆ อัตราเร่ง เป็นปริมาณสเกลาร์ ไม่คิดทิศทางเช่นเดียวกับอัตราเร็ว

  9. กราฟระหว่างการกระจัดกับเวลา (x-t) ตัวอย่างการเคลื่อนที่แบบตกอิสระระหว่าง x กับ t จะได้กราฟเส้นโค้งพาราโบลา ความเร็วที่ตำแหน่ง x0 = ความชันของเส้นสัมผัสเส้นกราฟ ณ ตำแหน่ง (0, x0) การกระจัด (x) T1 ความชันของ T1 = v(t) = v x (t, x) x0 ความชันของ T0 = v0 T0 (0, x0) t (วินาที) O t ความเร็วขณะใดขณะหนึ่ง = ความชันของเส้นสัมผัสเส้นกราฟ

  10. กราฟระหว่างความเร็วกับเวลา (v – t) v ความชันของเส้นกราฟ = (v – v0) / (t – 0) a = (v – v0) / (t – 0)  v = v0 + at ระยะทาง x หาได้จาก x = พื้นที่สี่เหลี่ยม + พื้นที่สามเหลี่ยม v at v0 v0 t O t ความเร่ง = ความชันของเส้นกราฟระหว่าง v กับ t ขณะเวลา t ใดๆ

  11. กราฟระหว่างความเร่งกับเวลา (a – t) วัตถุที่มีการเปลี่ยนแปลงความเร็วเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างสม่ำเสมอ v a ความเร็วเพิ่มขึ้น a a = v / t vav = a t หาความเร็วเฉลี่ย ได้จาก พื้นที่ใต้กราฟ a - t t O t t O v a ความเร็วลดลง t O t -a t O

  12. สมการการเคลื่อนที่กรณีความเร่งเป็นค่าคงตัว ความเร็ว วัตถุที่มีการเปลี่ยนแปลงความเร็วแบบเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างสม่ำเสมอ กราฟความเร็วกับเวลาเป็นกราฟเส้นตรง ความชันทุกจุดบนเส้นตรงเท่ากัน v v0 ความชัน = มีค่าเท่ากับความเร่ง ( a0 ) เวลา (t) O t ................สมการ (1.1)

  13. ความเร็ว การหาระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ พิจารณาจากกราฟ ช่วงเวลา t สั้นๆ วัตถุมีความเร็ว v ระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ในช่วงเวลา t คือ v t ระยะทางของการเคลื่อนที่ทั้งหมด ได้จากการรวม vt ทั้งหมด โดยเริ่มจาก t = 0 จนถึง t = t1 ระยะทางทั้งหมดสมมติว่าเป็น (x1 – x0) v1 v v0 เวลา O t1 t ................สมการ (1.2)

  14. ความเร็ว จากกราฟ vt เป็นพื้นที่ใต้กราฟ การรวมพื้นที่ vt ทั้งหมดจะได้พื้นที่ใต้กราฟทั้งหมดเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู มีค่าเท่ากับ (1/2)(v0+v1)(t1-0) v1 v v0 เวลา ระยะทางทั้งหมด O t1 t ........สมการ (1.3) แทนค่า v จากสมการ (1.1) จะได้ ........สมการ (1.4)

  15. v – v0 = a0t ดังนั้น t = (v – v0)/a0 แทนค่า t ลงในสมการ (1.3) จะได้ ........สมการ (1.5) สรุปเป็นสูตร สูตรทั้ง 4 สูตรนี้ใช้ได้ถูกต้องเฉพาะกรณีที่ a มีค่าคงตัวเท่านั้น

  16. ตัวอย่าง ถ้าการเคลื่อนที่ของก้อนหินในแนวดิ่ง เกิดจากการโยนขึ้นด้วยความเร็วต้น 5.0 เมตรต่อวินาที ซึ่งจะมีความเร่งคงตัวในทิศลงมีค่า 10 เมตรต่อ (วินาที)2 ก้อนหินจะใช้เวลาเท่าใดจะถึงจุดสูงสุด และใช้เวลาอีกเท่าใดจึงจะกลับถึงจุดที่โยน ความเร็วเฉลี่ยของช่วงขาขึ้นเป็นเท่าใด และระยะทางถึงจุดสูงสุดเป็นเท่าใด กราฟของความเร็วสำหรับช่วงเวลาทั้งขึ้นและลงจะเป็นอย่างไร วิธีทำ กำหนดให้ x เป็น การกระจัดในทิศขึ้น v เป็น ความเร็วในทิศขึ้น a เป็น ความเร่งในทิศขึ้น (a = -10 m/s2) จากสมการ v = u + at ความเร็วที่จุดยอดจะเป็น 0 และความเร็วต้น 5.0 m/s จะได้ 0 = 5.0 + (-10 )t t = 0.50 s  ก้อนหินใช้เวลา 0.50 วินาที จะถึงจุดสูงสุด ANS1

  17. เวลาในช่วงขาลง = เวลาในช่วงขาขึ้น เท่ากับ 0.50 วินาที เพราะการเคลื่อนที่ของก้อนหินเคลื่อนที่ด้วยความเร่งอย่างเดิมในระยะทางเท่ากันกับขาขึ้น  ก้อนหินใช้เวลาอีก 0.50 วินาทีจึงจะกลับถึงจุดที่โยน ANS2 ความเร็วเฉลี่ยของช่วงขาขึ้น (v + v0) / 2 = (0 + 5.0)/2 = 2.5 m/s ANS3 ระยะทางถึงจุดสูงสุด = ความเร็วเฉลี่ย  เวลา = 2.5  0.5 = 1.25 m ANS4

  18. v(m/s) และกราฟของความเร็วกับเวลาจะเป็นดังรูป 5.0 อาจตรวจสอบความถูกต้องของคำตอบได้จากสมการ t(s) O 0.5 1.0 -5.0 ใช้ค่าเวลาของคำตอบ 1 แทนค่าจะได้ x = 5.0  0.5 + (1/2)(-10 ) (0.50 )2 m = 1.25 m ตรงกับคำตอบที่ 4 หากใช้สูตรระยะทางนี้ หาเวลาการเคลื่อนที่ขาลง ซึ่งการกระจัดขาลงเป็น -0.125 เมตร เพราะ การกระจัดมีทิศลง ใช้ความเร็วต้นเป็นศูนย์ (จากจุดยอด) แทนค่าจะได้ -0.125 = 0 – (1/2)(-10) t2 t = +0.5 , -0.5 sตรงกับคำตอบที่ 1 และ 2

  19. ตัวอย่างที่ 1 วัตถุก้อนหนึ่งมีการกระจัดเป็นไปตามสมการ x = 10t2 + 5 เมตร จงคำนวณหาค่าก. ความเร็วที่เวลา t = 2 วินาทีข. ความเร่งที่เวลา t = 3 วินาที วิธีทำ ก. ความเร็วขณะใดขณะหนึ่ง = dx = d (10t2+5) dt dt v(t) = 20 t เมตรต่อวินาที t = 2 วินาที , v = 20 x 2 = 40 เมตรต่อวินาที ข. ความเร่งขณะใดขณะหนึ่ง = dv = d (20t) dt dt a(t) = 20 เมตรต่อวินาที2 t = 3 วินาที , a = 20 เมตรต่อวินาที2

  20. ตัวอย่างที่ 2 อนุภาคอันหนึ่งเดิมอยู่นิ่ง แล้วทำให้เกิดความเร่ง = 3t เมตรต่อวินาที 2 เมื่อ t คือ เวลา จงหาความเร่ง ความเร็ว และการกระจัด ภายหลังเมื่อเคลื่อนที่ได้นาน 5 วินาที วิธีทำ ก. ความเร่ง a = 3t = 3x5 = 15 m/s2 ข. ความเร็ว เมื่อ t0 = 0 , t = 5 s และ a = 3t จะได้ ค. การกระจัด เมื่อ t0 = 0 , t = 5 s และv = 3t2 / 2 จะได้

  21. ตัวอย่างที่ 3 รถยนต์คันหนึ่งเคลื่อนที่ได้ 30 กิโลเมตรในครึ่งชั่วโมงแรกและเคลื่อนที่ได้ระยะทาง 50 กิโลเมตรในครึ่งชั่วโมงต่อมาอัตราเร็วเฉลี่ยใน 1 ชั่วโมงมีค่าเท่าใด วิธีทำอัตราเร็วเฉลี่ย = ระยะทาง เวลา = 30 กิโลเมตร + 50 กิโลเมตร 1/2ชั่วโมง + 1/2 ชั่วโมง = 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง คำตอบอัตราเร็วเฉลี่ย 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง

  22. ตัวอย่างที่ 4 ก้อนหินตกแบบเสรีจากที่สูงแห่งหนึ่งจะใช้เวลานานเท่าใดความเร็วของก้อนหินจะเป็น 4 เท่าของความเร็วเมื่อสิ้นวินาทีที่ 1 ของการเคลื่อนที่ วิธีทำหาความเร็วของก้อนหินเมื่อสิ้นวินาทีที่ 1 จาก v= u + at v = 0 + (-10) x 1 v = -10 เมตร/วินาที หาเวลาที่ก้อนหินมีความเร็ว 40 m/s จาก v = u + at -40 เมตร/วินาที = 0 + (-10) x t t = 4 วินาที คำตอบก้อนหินตกลงมาใช้เวลา 4 วินาที

  23. ตัวอย่างที่ 5 วัตถุชิ้นหนึ่งเคลื่อนที่ในแนวตรงด้วยความเร็วต้น 10 เมตร/วินาทีโดยมีความเร่ง 5 เมตร/วินาที2ขณะที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ระยะทาง 480 เมตรวัตถุเคลื่อนที่มาแล้วกี่วินาที วิธีทำ จากสูตร s = ut + ½ at 2 480 เมตร = 10 เมตร/วินาที . t + ½ x 5 เมตร/วินาที2 . t2 960 = 20t + 5t2 (t - 12)(t + 16) = 0 t = 12 และ -16 วินาทีแต่เวลาเป็นลบไม่มีความหมายดังนั้นวัตถุเคลื่อนที่มาแล้ว 12 วินาที คำตอบวัตถุเคลื่อนที่มาแล้ว 12 วินาที

  24. ตัวอย่างที่ 6 รถยนต์คันหนึ่งออกวิ่งจากจุดหยุดนิ่งไปตามถนนตรงด้วยขนาดความเร่งคงตัวและวิ่งไปได้ไกล 75 เมตรภายในเวลา 5 วินาทีขนาดของความเร่งของรถยนต์เป็นท่าใด วิธีทำจากสูตร s = ut + ½ x at2 75 เมตร = 0 + ½ a 25 วินาที2 a = 6 เมตร/วินาที2 คำตอบขนาดความเร่งของรถยนต์เป็น 6 เมตร/วินาที2 ตัวอย่างที่ 7 โยนก้อนหินไปตามแนวดิ่งด้วยความเร็วต้น 10 เมตร/วินาทีถามว่า ก. เมื่อใดก้อนหินมีความเร็วเป็นศูนย์ ข. ก้อนหินขึ้นไปได้สูงสุดเท่าใด ค. เป็นเวลานานเท่าใดก้อนหินจึงจะตกลงมาถึงตำแหน่งเริ่มต้น

  25. วิธีทำ ก. จากสูตรv= u + at 0= 10 เมตร/วินาที + (-10) เมตร/วินาที2 x t t= 1 วินาที คำตอบก้อนหินมีอัตราเร็วเป็นศูนย์หลังจากโยนขึ้นไปนาน 1.0 วินาที ข. จากสูตร s = (u+v)t/2 = (10 เมตร/วินาที + 0 ) × 1.0 วินาที 2 = 5.0 เมตร คำตอบก้อนหินขึ้นไปได้สูงสุดเป็นระยะ5.0 เมตร

  26. ค. เมื่อก้อนหินตกถึงพื้น s=0 s=ut +1/2at2 s=10t + ½ (-10) เมตร/วินาที2 x t 0=10t – 5t2 0=5t(2 – t) t=2.0 s คำตอบจะต้องใช้เวลา 2.0 วินาทีก้อนหินจึงตกถึงพื้น ตัวอย่างที่ 8 อิเล็กตรอนตัวหนึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 1.0 x 10 4เมตร/วินาทีเข้าสู่บริเวณสนามไฟฟ้าและถูกเร่งโดยสนามไฟฟ้าเป็นระยะทาง 1.0 เซนติเมตรเมื่อออกจากสนามไฟฟ้าอิเล็กตรอนนั้นมีความเร็ว 4.0 x 106เมตร/วินาทีจงคำนวณหาความเร่ง

  27. วิธีทำจากสูตร v2=u2 + 2 as (4.0 x 104เมตร/วินาที) 2 = (1.0 x 104เมตรต่อวินาที) 2 + 2a x 1.0 x 10-2เมตร 16.0 x 1012=0.0001 x 1012 + 2a x 1.0 x 10-2 a = 8.0 x 1014เมตร/วินาที 2 คำตอบความเร่งของอิเล็กตรอนมีค่าเท่ากับ 8.0 x 1014เมตรต่อวินาที2 ตัวอย่างที่ 9 โยนก้อนหินขึ้นไปในแนวดิ่งจากพื้นดินด้วยความเร็วต้น20 เมตร/วินาทีหลังจากโยนไปแล้วเป็นเวลาเท่าไรก้อนหินจึงตกลงมาด้วยความเร็ว 10 เมตร/วินาที วิธีทำกำหนดให้ความเร็วในทิศขึ้นเป็น + จาก v = u + at ความเร็วขณะตก = 10 เมตร/วินาที -10 เมตร/วินาที = 20 เมตร/วินาที + (-10) x t t = 3 วินาที

More Related