600 likes | 947 Views
หย่าโดยคำพิพากษาของศาล. การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล เกิดจากคู่สมรสฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง ตามเหตุหย่าที่กฎหมายกำหนด ในมาตรา 1516 ซึ่งจำแยกเหตุหย่าได้ 2 กรณีดังนี้ เหตุเกิดจากความผิดของคู่สมรส เหตุที่ที่ทำให้ชีวิตสมรสสิ้นสุดหรือไม่สามารถดำเนินต่อไปได้โดยปกติสุข
E N D
หย่าโดยคำพิพากษาของศาลหย่าโดยคำพิพากษาของศาล กฎหมายครอบครัว
การหย่าโดยคำพิพากษาของศาลการหย่าโดยคำพิพากษาของศาล • เกิดจากคู่สมรสฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง ตามเหตุหย่าที่กฎหมายกำหนด ในมาตรา 1516 ซึ่งจำแยกเหตุหย่าได้ 2 กรณีดังนี้ • เหตุเกิดจากความผิดของคู่สมรส • เหตุที่ที่ทำให้ชีวิตสมรสสิ้นสุดหรือไม่สามารถดำเนินต่อไปได้โดยปกติสุข • ศาลจะพิพากษาให้หย่าต่อเมื่อมีการกระทำของคู่สมรสฝ่ายหนึ่งอันเป็นเหตุให้หย่า กฎหมายครอบครัว
เหตุหย่าเกิดจากความผิดของคู่สมรสเหตุหย่าเกิดจากความผิดของคู่สมรส • สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ • เหตุเกิดจากสามี • อุปการะเลี้ยงดู กล่าวคือ เลี้ยงดูเสมือนภริยาของตน ถ้าฐานะอื่น เช่น ลูก หรือบุตรบุญธรรม • การอุปการะ ไม่จำกัดว่าต้องมีระยะเนิ่นนานเพียงใด ถ้าอยู่ในฐานะฉันภริยา • การยกย่องหญิงอื่น เป็นการยกย่องให้บุคคลภายนอกทราบว่าเป็นภรยา หรือมีความสัมพันธ์ฉันภรยา ซึ่งต่างจาการอุปการะเลี้ยงดู ซึ่งอาจะไม่เปิดเผย กฎหมายครอบครัว
เหตุเกิดจากสามี (ต่อ) • เป็นชู้ ตามพจนานุกรม 2542 ชายที่ร่วมประเวณีด้วยเมียเขา หรือการผิดเมีย หรือซึ่งหมายถึงร่วมประเวณีกับภริยาผู้อื่น หากสามีร่วมประเวณีกับหญิงที่ไม่มีสามี หรือหญิงหม้าย ไม่ถือว่าเป็นชู้ • กรณีที่สามีไปเที่ยวหญิงซึ่งค้าประเวณีแต่ไม่ทราบว่าหญิงนั้นมีสามีแล้วจะถือว่าเป็นชู้ไม่ได้ • แต่หากร่วมประเวณีหญิงคนเดียวกันหรือหลายคนเป็นอาจิณ หรือชอบเที่ยวโสเภณี ภริยาย่อมยกเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ • การเป็นชู้หรือร่วมประเวณีต้องเกิดจากการสมัครใจทั้งสองฝ่ายอีกด้วย • การที่สามีอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องชายอื่นฉันภริยาก็ไม่ต้องด้วยมาตรา 1516(1) นอกจากนี้ สามีชอบมีเพศสัมพันธ์กันเพศเดียวกันไม่ว่าชายนั้นจะแปลงเพศเป็นหญิงแล้วหรือไม่แต่ฐานะทางเพศไม่เปลี่ยนแปลงไป แม้มีพฤติกรรมกระทำเป็นอาจิณ ก็ไม่เข้าเหตุฟ้องหย่าตามมาตรา 1516 (1) กฎหมายครอบครัว
เหตุอันเกิดจากภริยา • การให้อุปการะเลี้ยงดุ ยกย่อง มีความหมายทำเดียวกับการที่สามีกระทำ • ส่วนคำว่ามีชู้ มีความหมายตามพจนานุกรม 2542 ว่า หญิงที่ยังมีสามีอยู่แล้วร่วมประเวณีกับชายอื่น ดังนั้นจึงไม่มีข้อจำกัดว่าชายนั้นยังมีภริยาอยู่หรือไม่ แตกต่างจากคำว่า เป็นชู้ เหตุนี้การที่ภรยาได้ร่วมประเวณีกับชายอื่นที่ค้าบริการทางเพศเพียงครั้งคราวแม้ไม่ถึงกับร่วมประเวณีเป็นอาจิณ สามีก็มีสิทธิยกเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ • การทำชู้หมายถึง การร่วมประเวณีกันระหว่างชายหญิง มิใช่เป็นการล่วงเกินทำนองชู้สาวเท่านั้น • การร่วมประเวณี ต้องกระทำระหว่างชายกับหญิง หากหญิงมีความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกันก็ไม่ใช่การมีชู้ • การมีชู้จะต้องกระทำโดยสมัครใจของหญิง ดังนั้น การที่ภริยาถูกชายอื่นข่มขืนกระทำชำเราจึงไม่ใช่การที่ภริยามีชู้ • ชายที่ทำชู้กับภริยา จะรู้หรือไม่ว่าเป็นภริยาหรือไม่ ก็ไม่สำคัญ กฎหมายครอบครัว
สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง(ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่าย ที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบอีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้ กฎหมายครอบครัว
มาตราเก่าเน้นการกระทำ มาตราใหม่เน้นผลการกระทำ ว่ามีกระทบต่อฝ่ายหนึ่งร้านแรงหรือไม่ ดังนั้นความประพฤตินั้นจะรุนแรงถึงขนาดผิดอาญาหรือไม่ ไม่สำคัญ หากมีผลทำให้อีกฝ่าย.......(ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่าย ที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพฐานะ และความเป็นอยู่ • แม้สามีหรือภริยา จะไม่ได้ตั้งใจให้เกิดผลดังกล่าวหากมีผลเช่นนั้นขึ้นก็เป็นเหตุฟ้องหย่าได้ • ฎีกาที่ 116/2547 กฎหมายครอบครัว
ประพฤติชั่ว ต้อง • ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง คือ จะต้องทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียหายร้ายแรง เช่น ไปไหนมาไหนก็ถูกคนทั่วไปดูถูกเหยียดหยาม ไม่มีใครยอมคบค้าสมาคมด้วย • ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่ตนยังคงเป็นคู่สมรสของฝ่ายที่ประพฤติชั่วอยู่ หรือ • ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกิดควร ในเมื่อเอา.....เช่น สามีเมาสุราทุกวันและตบตีภริยาเป็นประจำ กฎหมายครอบครัว
สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้ • ทำร้ายร่างกายหรือจิตใจ มีความหมายเช่นเดียวกับ ป.อ. มาตรา 295 • จิตใจ มิใช่เรื่องของความรู้สึก ดังนั้นหากการกระทำให้เกิดความรู้สึก ว่าเหว่ เจ็บปวด เจ็บใจ แค้น เหล่านี้เป็นอารมณ์หาใช่อันตรายต่อจิตใจไม่ (ฎีกาที่ 1399/2508, 273/2509) • การกระทำหากไม่เป็นเหตุให้รับอันตรายต่อกาย หรือจิตใจ ก็ไม่เป็นเหตุหย่า เช่น ภริยาไล่แทงสามี สามีหลบทัน ไม่เป็นเหตุฟ้องหย่า (ฎีกา 215/2519) หรือภริยาตัดสายห้ามล้อรถยนต์ เพื่อไม่ให้สามีออกจากบ้าน ยังห่างไกลต่อการที่จะฟ้องว่าภริยาทำร้ายสามี (ฎีกา2943/2524) กฎหมายครอบครัว
การทรมาน หมายถึงการทำให้ลำบากแก่กายหรือจิตใจโดยจงใจ • หมิ่นประมาท หมายถึงการใส่ความให้เขาเสียชื่อเสียง ดูถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง • การเหยียดหยาม หมายถึงการทำให้อับอาย สบประมาทด่าว่าหรือแสดงอาการว่าผู้อื่นต่ำต้อยกว่าตน • การทำร้าย เป็นการทรมานร่างกายหรือจิตใจ หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามที่กระทำต่อคู่สมรสหรือบุพการีของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอันเป็นเหตุหย่าได้นั้น ต้องเป็นการร้ายแรงจนถึงขนาดที่คู่สมรสไม่อาจอยู่กินเป็นสามีภริยากันได้อีก กฎหมายครอบครัว
สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่ง นั้นฟ้องหย่าได้ • การทิ้งร้าง เป็นการแยกกันอยู่ ซึ่งขัดต่อสภาพการอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาตามมาตรา 1461 วรรคหนึ่ง จึงเป็นการย้ายภูมิลำเนาหรือเปลี่ยนถิ่นที่อยู่อาศัย • หากยังคงอยู่ร่วมกันในบ้านเดียวกันแต่มิได้หลับนอนหรือพูดคุยกัน ไม่เป็นเหตุหย่าเพราะทิ้ง (ฎีกาที่ 882/2518) • การทิ้งร้างเกิดจากการการที่ฝ่ายหนึ่งจงใจละทิ้งอีกฝ่ายหนึ่ง โดยเจตนาไม่ให้มีความสัมพันธ์ต่อกันฉันสามีภริยา • ฎีกา 2121/2525 • ฎีกาที่ 780/2502 ต่างฝ่ายต่างสมัครใจแยกกันอยู่ แต่สามียังคงส่งค่าเลี้ยงดูแก่ภริยาไม่มีขาด เป็นที่เห็นได้ว่าภริยาก็สมัครใจไม่อยู่ร่วมกันสามีจึงจะอ้างเป็นเหตุทิ้งร้างไม่ได้ • หากเกิดขึ้นเพราะเหตุการณ์หรืออยู่ภายใต้อำนาจบังคับ เช่น สามีเป็นทหารต้องออกไปรบในสมรภูมิ ไม่ใช่การทิ้งร้าง • เกิดจากอำนาจบังคับ ฎีกา 650/2523 กฎหมายครอบครัว
กรณีต่างฝ่ายต่างประกอบอาชีพเป็นเหตุให้ต้องแยกกันอยู่ เป็นกรณีที่เห็นได้ว่ามีเหตุสมควรที่ต้องแยกกันอยู่ • ฎีกาที่ 1932/2536 จำเลย เคยขอให้โจทก์หาที่พักต่างหากจากที่อาศัยอยู่กับเพื่อนในค่ายทหารที่จังหวัด นครพนม แต่โจทก์ไม่ดำเนินการใด ฉะนั้นการที่จำเลยยังคงทำงานและพักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครจึงเป็นเพราะ โจทก์ไม่ขวนขวายหาที่พักอันเหมาะสม เพื่อโจทก์จำเลยจะได้อยู่ร่วมกันส่อเจตนาว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยไปอยู่ ร่วมกัน กรณีจึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์อันจะเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้อง หย่า • ฎีกาที่ 7229/2537 เหตุฟ้องหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(4)จะต้องเป็นเรื่องที่สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่ง การที่โจทก์จำเลยต่างรับราชการและจำเลยมิได้ย้ายตามโจทก์ จึงมีเหตุสมควรในการแยกกันอยู่ จำเลยไม่ได้เดินทางไปหาโจทก์ เนื่องจากโจทก์จำเลยทะเลาะกัน ประกอบกับจำเลยมีเหตุระแวงสงสัยว่าโจทก์อุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่นฉันภริยา จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ กฎหมายครอบครัว
กรณีที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งกระทำให้อีกฝ่ายหนึ่งแยกไปไม่อยู่กับตน ฝ่ายนั้นจะอ้างว่าอีกฝ่ายทิ้งร้างไม่ได้ • คำพิพากษาศาลฎีกาที่2803/2522ข้อ เท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยคลอดบุตรแล้วโจทก์ไม่อยู่ช่วยเหลือดูแลบุตร จำเลยจึงต้องพาบุตรไปอาศัยอยู่กับมารดาของจำเลยชั่วคราว แต่โจทก์กลับไม่ยอมให้จำเลยอยู่ด้วยโดยไปแจ้งย้ายทะเบียนบ้าน ให้จำเลยและบุตรออกไปจากบ้านโจทก์ เมื่อจำเลยมาพบพูดจากับโจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นสามี โจทก์ก็ไม่ยอมพูดด้วย จำเลยต้องอาศัยอยู่กับมารดาของจำเลยต่อมา ดังนี้ จึงไม่ใช่เป็นเรื่องจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ อันจะเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าได้ กฎหมายครอบครัว
การทิ้งร้างต้องมีการสืบเนื่องกันมาตลอดเวลาหนึ่งปี • ฎีกาที่ 215/2519 ภริยาชอบเล่นการพนันสลากกินแบ่ง กินรวบ ไพ่ผสมสิบ ออกจากบ้านไปค้างที่อื่นครั้งละหลายๆ วัน ไปคบชายแปลกหน้าพากันไปในที่ต่างๆ ไม่เป็นจงใจละทิ้งเกิน 1 ปี • เหตุทิ้งร้างตราบใดที่ยังทิ้งร้างต่อเนื่องกันอยู่ก็ย่อมมีสิทธิฟ้องหย่าได้ • ฎีกาที่ 780/2502 (ญ) เหตุหย่าในข้อจงใจละทิ้งร้างเกินกว่า 1 ปีนั้น ตราบใดที่ยังทิ้งร้างกันอยู่ ก็ย่อมมีสิทธิฟ้องขอหย่าได้ไม่ขาดอายุความ กฎหมายครอบครัว
สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุก เกินหนึ่งปี ในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิด หรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามี ภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกิน ควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้ • ซึ่งมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ • สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก • สามีหรือภริยาได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปี • ความผิดที่ทำให้ถูกจำคุกนั้น คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องมิได้มีส่วนก่อให้เกิดขึ้นหรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิด • การถูกจำคุกดังกล่าวทำให้การเป็นสามีภริยากันต่อไป จะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร กฎหมายครอบครัว
สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกสามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก • คำพิพากษาถึงที่สุด คือ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงผลคำพิพากษาดังกล่าวต่อไปได้ไม่ว่าด้วยการอุทธรณ์หรือฎีกา • โทษ ประการอื่น เช่น ประหารชีวิต กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน มิใช่เหตุหย่าตามมาตรานี้ แม้โทษประหารชีวิตจะเป็นโทษที่หนักกว่าโทษจำคุก(ชาติชาย) หรือการถูกคุมขังเพื่อรอการประหารชีวิตแม้จะเกิน 1 ปี ก็มิใช่โทษจำคุก • สามีหรือภริยาได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปี • ถูกจำคุกเป็นระยะเวลาติดต่อกันเกินหนึ่งปี คือ ถูกศาลพิพากษาให้จำคุกเกินหนึ่งปี ไม่ว่าคำพิพากษาถึงที่สุดนั้นจะครบกำหนดหนึ่งปีแล้วหรือไม่ หากผู้นั้นต้อง • ไม่กว่าจะเป็นการกระทำกรรมเดียว หรือหลายกรรม หากเมื่อรวมโทษจำคุกแล้วทำให้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปี ก็เป็นเหตุหย่า กฎหมายครอบครัว
ความผิดที่ทำให้ถูกจำคุกนั้น คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องมิได้มีส่วนก่อให้เกิดขึ้นหรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิด • การใช้สิทธิต้องใช้สิทธิโดยสุจริต ตามมาตรา 5 • ฎีกาที่ 3288/2527ระหว่าง จำเลยอยู่กินเป็นสามีภริยากับโจทก์ จำเลยมีอาชีพผิดกฎหมายค้ายาเสพติด โจทก์รู้เห็นและร่วมกระทำด้วยโจทก์ให้ญาติของโจทก์นำเฮโรอีนมาจากภาคเหนือ จนญาติของโจทก์และจำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับ ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 20 ปี ถือได้ว่าโจทก์ได้ยินยอมหรือรู้เห็น เป็นใจในการกระทำของจำเลยที่เป็นเหตุหย่านั้น โจทก์จะ ยกขึ้นเป็นเหตุฟ้องหย่าจำเลยหาได้ไม่ กฎหมายครอบครัว
มีส่วนก่อให้เกิดขึ้น มีความหมายเช่นเดียวกับ “ผู้ใช้” ตาม ป.อ. มาตรา 84 ไม่วาจะด้วยการใช้ บังคับ ขู่เข็ญ จ้าง วาน หรือยุยงส่งเสริม หรือโดยวิธีอื่นใด • ยินยอม(consent) มีความหมายครอบคลุมถึงการยินยอมให้คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งกระทำต่อตนเอง หรือยินยอมให้กระทำต่อผู้อื่นหรือกระทำการใดๆอันกฎหมายกำหนดเป็นความผิดและต้องรับโทษทางอาญาก็ได้ • รู้เห็นเป็นใจ connive ไม่ต้องถึงกับเป็นผู้สนับสนุนในทางอาญาและไม่ถึงกับยินยอมในทางแพ่ง ทั้งไม่ต้องกระทำในทางเคลื่อนไหวร่างกาย (active measure)การนิ่งปล่อยให้เป็นไปก็ถือเป็นรู้เห็นเป็นใจได้ เพียงแต่พูดห้ามแล้วไม่ฟังก็ปล่อยไปตามเรื่อง จะว่าไม่เป็นใจไม่ได้ เพราะการปล่อยไปตามเรื่องกลายเป็นเรื่องยินยอม แม้ครั้งแรกจะพูดห้ามปรามเป็นไม่สมัครใจแต่ภายหลังควรขัดขวางได้แต่ไม่ทำก็คือสมัครใจยินยอมให้เป็นเช่นนั้น กฎหมายครอบครัว
กรณีกระทำความผิดหลายกระทง หากมีส่วนก่อให้เกิดขึ้น หรือยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจในกระทงที่ถูกจำคุกเกินหนึ่งปี ก็จะฟ้องหย่าไม่ได้ กฎหมายครอบครัว
การถูกจำคุกดังกล่าวทำให้การเป็นสามีภริยากันต่อไป จะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร • ไม่จำกัดผลตามมาตรา 1516 (2) (ก) หรือ (ข) • เช่น ความเดือนร้อนเพราะขาดผู้ให้การอุปการะเลี้ยงดู ขาดโอกาสมีคู่สมรสใหม่ ความเสียหายอันเนื่องมาจากการจัดการสินสมรสไม่ได้เพราะปราศจากความยินยอม เป็นต้น หากเกินสมควรแก่การเป็นสามีภริยากันแล้วย่อมเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ ทั้งนี้ ไม่จำเป็นต้องพิจารณาถึงสภาพฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบตามมาตรา 1516 (2) (ค) เพราะคู่สมรสมิได้อยู่ร่วมกันฉันสามีภริยา • เหตุหย่าตามมาตรา 1516 (4/1) นั้น หากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งพ้นโทษจำคุกออกมาและยังอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา สิทธิในการฟ้องหย่าย่อมหมดไป เพราะการยอมอยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยาพอถือได้ว่าได้กระทำการอันแสดงให้เห็นว่าได้ให้อภัยในการกระทำของอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นเหตุให้เกิดสิทธิฟ้องหย่า กฎหมายครอบครัว
สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตาม สมควร หรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่าย หนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้ • การไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูนั้น จะต้องมิใช่เป็นเพราะอีกฝ่ายไม่ยอมรับการช่วยเหลือ (ฎีกาที่ 6058/2501) • ทำอย่างไรก็ได้ให้คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งเดือนร้อน • ฎีกาที่ 853/2520 สามี ไม่จ่ายเงินให้ภริยาเหมือนแต่ก่อน แต่ได้มอบเงินให้ลูกหรือคนใช้ไว้ใช้จ่ายในบ้าน ภริยาได้ใช้เงินนั้นไม่เดือดร้อนไม่เป็นการไม่ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูตาม ควร ไม่เป็นเหตุหย่าตาม มาตรา 1500(3) กฎหมายครอบครัว
การไม่ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูนี้ สามีภรยาจะต้องอยู่ในฐานะที่จะกระทำได้ • หากการไม่ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อน เป็นเหตุฟ้องหย่าได้ • ฎีกาที่ 3608/2531 หลังจากจดทะเบียนสมรสแล้ว จำเลยเป็นฝ่ายก่อเหตุให้เกิดความระหองระแหงในครอบครัว ด้วยการไปรับบุตรสาวซึ่งเกิดจากภริยาเก่ามาเลี้ยงดูอยู่ในบ้านเดียวกัน อันเป็นการผิดถ้อยคำพูดที่จำเลยเคยให้ไว้แก่โจทก์ว่าจำเลยไม่เคยมีภริยาและ บุตรมาก่อนแล้วหลังจากนั้นจำเลยก็ไม่จ่ายเงินเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ และครอบครัวเช่นที่เคยปฏิบัติมา เป็นเหตุให้โจทก์ต้องนำเงินเดือนแต่ละเดือนของโจทก์มาใช้จ่ายเลี้ยงดูครอบ ครัวจำเลยเกือบหมดทั้งจำเลยยังติดต่อกับภริยาเก่าและแสดงกิริยาวาจาเหยียด หยามมารดาของโจทก์จนกระทั่งโจทก์ไม่สามารถอยู่ร่วมกับจำเลยต่อไปได้เช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูโจทก์ตามสมควรอันประกอบ ด้วยเหตุอื่น ๆ อีกถึงขนาดที่โจทก์เดือดร้อนเกินสมควรที่โจทก์จะอยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยา กับจำเลยต่อไปได้อันเป็นเหตุฟ้องหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(6) • ถ้าไม่เดือดร้อน เพราะมีรายได้และได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากบิดามารดา ซึ่งมีฐานะมั่นคงก็ไม่เป็นเหตุหย่า (ฎีกาที่ 1633/2542) กฎหมายครอบครัว
ทำการเป็นปรปักษ์ • การกระทำที่เป็นอุปสรรคหรือขัดขวางสามีและภริยาจะดำเนินชีวิตครอบครัวอย่างปกติสุข หรือการกระทำที่เป็นอุปสรรคหรือขัดขวางต่อความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาเกี่ยวกับความเป็นอยู่ร่วมกันอันอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่กายและจิตใจของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง • ฎีกาที่ 5347/2538 การกระทำของจำเลยเป็นการทำหนังสือถึงผู้บังคับบัญชาของโจทก์โดยเหล่า เหตุการณ์ตามความเป็นจริงเป็นการกล่าวป้องกันส่วนได้เสียของจำเลยมิให้โจทก์แสดงต่อบุคคลภายนอกว่าจำเลยมิใช่ภริยาโจทก์ดังที่แล้วมาไม่เป็นการใส่ความ โจทก์และไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง กฎหมายครอบครัว
ทำการเป็นปรปักษ์ • ทำร้ายร่างกายอีกฝ่ายหนึ่ง ทุจริตต่อทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ร้องเรียน ไม่ยอมให้ร่วมประเวณีโดยไม่มีเหตุอันควร • การกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง หากมีการกระทำต่อเนื่องตลอดมา คดีไม่ขาดอายุความ • ฎีกาที่ 769/2523 จำเลยมิได้อยู่กินเป็นสามีภริยากับโจทก์มาถึงทุกวันนี้เป็นเวลากว่า 20 ปีแล้วโดยจำเลยมีสามีใหม่และอยู่กินกับสามีใหม่ตลอดมาจนขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ การกระทำของจำเลยดังกล่าว นอกจากจะเป็นเหตุหย่าในเหตุอื่นเช่นมีชู้จงใจละทิ้งอีกฝ่ายหนึ่งไปเกิน 1 ปี เป็นต้นแล้วยังเป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยาอย่างร้ายแรง อีกด้วย และเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องตลอดมาทุกวัน คดีจึงไม่ขาดอายุความ กฎหมายครอบครัว
ถ้าการกระทำได้เกิดขึ้น แต่ฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าเพิกเฉยมิได้แสดงท่าทีติดใจ อาจถือได้ว่าเป็นการให้อภัย สิทธิฟ้องหย่าย่อมสิ้นสิทธิลงตามมาตรา 1518 • ฎีกาที่ 3822/2524 จำเลย ใช้มีดจะแทงโจทก์ตั้งแต่ก่อนโจทก์จำเลยจะมีบุตรด้วยกัน ต่อมาโจทก์เห็นว่าจำเลยเป็นภริยาและมีบุตรด้วยกัน จึงไม่ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลย แสดงว่าโจทก์ได้ให้อภัยจำเลยแต่แรกแล้ว ถือได้ว่าสิทธิฟ้องหย่าในข้อนี้ย่อมหมดไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1518 • ฎีกาที่6002/2534โจทก์ จำเลยต่างสมัครใจแยกกันอยู่ โจทก์จะกล่าวอ้างว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ไม่ได้ จำเลยใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ 2 ครั้ง แม้จะเป็นความจริงดังที่โจทก์ฎีกา แต่เหตุเกิดก่อนฟ้องประมาณ 14 ปี และ 4 ปี ตามลำดับไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลย คงอยู่กินด้วยกันตลอดมาแสดงว่าโจทก์ได้ให้อภัยจำเลยแล้ว สิทธิฟ้องหย่าในข้อนี้ย่อมหมดไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1518 กฎหมายครอบครัว
สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ • ทัณฑ์บนจะต้องกระทำเกี่ยวกับความประพฤติ ซึ่งความประพฤตินั้นจะต้องมิใช่นิสัยตามปกติธรรมดาของบุคคลสามัญชนโดยทั่วไป เช่น การนอนดึก หรือตื่นเช้า • ฎีกาที่ 6483/2534 การ ฝ่าฝืนข้อตกลงระหว่างสามีภริยาเรื่องต่างฝ่ายจะไม่นำบุตรหรือญาติเข้ามาอยู่ ในบ้านที่สามีซื้อเป็นเรือนหอ ไม่เป็นเหตุฟ้องหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 • ต่างฝ่ายต่างผิดทัณฑ์บนด้วยกัน จะฟ้องหย่าไม่ได้ • 5161/2538 การที่จำเลยหึงหวงและโกรธที่โจทก์หนีไปมีความสัมพันธ์ทางชู้สาวกับหญิงอื่น จึงด่าโจทก์และบุพการีว่ามึงมันเลวเหมือนโคตรมึงนั้นไม่เป็นการหมิ่นประมาท โจทก์หรือบุพการีของโจทก์เป็นการร้ายแรงเพราะเป็นเพียงถ้อยคำที่จำเลยกล่าว ด้วยความน้อยใจการกระทำของจำเลยต่อโจทก์ดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะโจทก์เป็นผู้ ก่อขึ้นถือว่าเป็นเรื่องกระทบกระทั่งกันระหว่างสามีภริยาทั่วไปไม่ร้ายแรง ถึงกับเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1516(3) หลังจากทำทัณฑ์บนแล้วโจทก์ยังมีความสัมพันธ์ทางชู้สาวกับหญิงอื่นจำเลยจึงดุ ด่าและทำร้ายโจทก์อีกการกระทำของจำเลยมีสาเหตุจากการกระทำของโจทก์จึงยังไม่ ถือว่าเป็นการประพฤติผิดทัณฑ์บนที่ให้ไว้อันจะเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1516(8) กฎหมายครอบครัว
ทัณฑ์บนสามีภริยาทำก่อนสมรสได้หรือไม่ทัณฑ์บนสามีภริยาทำก่อนสมรสได้หรือไม่ • 2553/2526 ก่อน จดทะเบียนสมรสโจทก์จำเลยทำสัญญากันว่า 'ฝ่ายภรรยาจะไม่ประพฤติตัวให้ผิดจารีตประเพณีและให้อยู่กินปรนนิบัติในฐานะ ให้เป็นสามีภรรยาอยู่กินร่วมกันตลอดไปและจะไม่ประพฤติปฏิบัตินอกใจสามีอีก ต่อไป เมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้กระทำผิดพลาดเงื่อนไขดังกล่าวยินยอมให้ปรับเป็น จำนวนเงิน 50,000 บาท' สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาอย่างหนึ่งมีลักษณะเป็นทัณฑ์บนในเรื่องความประพฤติ ของภรรยาดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(8) ซึ่งเป็นเหตุให้สามีฟ้องหย่าภรรยาได้ หากผิดทัณฑ์บนที่ทำกันเป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ และไม่เป็นการฝ่าฝืนศีลธรรมอันดีหรือจำกัดสิทธิเสรีภาพในส่วนบุคคล ไม่มีวัตถุประสงค์เป็นที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายใด ๆ อีกทั้งมิได้เป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ต่อมาโจทก์และจำเลยได้จดทะเบียนสมรสก็ได้ยอมรับสัญญาฉบับนี้ให้มีผลผูกพัน บังคับระหว่างกันได้ สัญญาฉบับนี้จึงมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมายไม่เป็นโมฆะ กฎหมายครอบครัว
ทัณฑ์บนบอกล้างได้หรือไม่ทัณฑ์บนบอกล้างได้หรือไม่ • หนังสือทัณฑ์บนไม่ใช่สัญญาระหว่างสมรสจึงบอกล้างไม่ได้ • ทัณฑ์บนจะต้องทำเป็นหนังสือจะตกลงด้วยวาจาไม่ได้ กฎหมายครอบครัว
เหตุที่ที่ทำให้ชีวิตสมรสสิ้นสุดหรือไม่สามารถดำเนินต่อไปได้โดยปกติสุขเหตุที่ที่ทำให้ชีวิตสมรสสิ้นสุดหรือไม่สามารถดำเนินต่อไปได้โดยปกติสุข • สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของ ศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ • เนื่องจากการอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาเป็นไปโดยไม่ปกติสุข คู่สมรสจึงอาจตกลงแยกกันอยู่ชั่วคราว หรือร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแยกกันอยู่โดยอาศัยเหตุตามมาตรา 1462 เมื่อปรากฏว่าการแยกกันอยู่ไม่สามารถแก้ไขสภาพปัญหาครอบครัวให้กลับคืนสู่ปกติสุขได้เป็นเวลาเกินสามปี กฎหมายจึงเปิดโอกาสให้คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ เมื่อสามารถตกลงหย่ากันได้ ซึ่งแยกได้ 2 กรณี • สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี • สามีและภริยาแยกกันอยู่ตามคำสั่งของ ศาลเป็นเวลาเกินสามปี กฎหมายครอบครัว
สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี • สามีภริยาสมัครใจแยกกันอยู่ • แยกกันอยู่ หมายถึง แยกกันอยู่อาศัย มิได้อยู่ร่วมกัน • ยังอยู่ร่วมกันในบ้านเดียวกันแต่อาศัยอยู่คนละห้อง ไม่เรียกว่าแยกกันอยู่เพราะยังพบปะกันได้ แม้จะไม่พูดจาหรือร่วมหลับนอนกัน • การแยกกันอยู่อาจเกิดจากการตกลงกันก็ได้ซึ่งกฎหมายไม่ได้กำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือ ดังนั้นจึงอาจตกลงด้วยวาจาก็ได้ แต่ต้องมีความชัดเจน • ฎีกาที่ 4135/2541 • หรืออาจเกิดจากพฤติการณืที่แสดงให้เห็นว่าต่างฝ่ายต่างสมัครใจแยกกนอยู่ก็ได้ • ฎีกาที่ 1771/2540 8225/2540 • หากสามีหรือภริยาเพียงฝ่ายเดียวสมัครใจแยกกันอยู่โดยอีกฝ่ายหนึ่งมิได้สมัครใจด้วย ดังนี้ ฝ่ายทีสมัครใจแยกกันอยู่จะอ้างเป็นเหตุหย่าไม่ได้ • ฎีกาที่ 5196/2538 ,7004/2539, 1762/2542,1633/2542 กฎหมายครอบครัว
การแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขการแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุข • ต้องไม่ได้เกิดจากการถูกขู่เข็ญบังคับ เช่น ถูกไล่ให้ออกจากบ้าน 8225/2540 • หากแต่การอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาโดยไม่ปกติสุข เป็นสาเหตุให้เกิดความสมัครใจขึ้น • ฎีกาที่ 2520/2549 ,6471/2548 • หากการแยกกันอยู่มิได้เกิดจากเหตุดังกล่าว เช่น ต่างไปประกอบอาขีพอยู่คนละแห่ง ไม่เข้าเหตุหย่า • การแยกกันอยู่ต้องมีลักษณะขาดความสัมพันธ์ฉันสามีภริยาด้วย หากแยกกันอยู่แต่ยังไปมาหาสู่กันตามปกติ ก็ยังถือว่าอยู่ร่วมกันฉันสามีภรยาโดยปกติสุข • แต่กรณีที่สามีภริยาติดต่อกันบ้างตามประสาสามีภริยาแต่ไม่ได้ไปมาหาสู่ร่วมอยู่กินหลับนอนฉันสามีภริยา น่าจะถือว่าฝ่ายที่ไปจากบ้านสมัครใจแยกกันอยู่ (ฎีกาที่ 7004/2539 ) • การแยกกันอยู่ต้องมีระยะเวลาเกิน 3 ปีติดต่อกัน • การนับระยะเวลาเกิน 3 ปี ต้องต่อเนื่องกัน กฎหมายครอบครัว
สามีและภริยาแยกกันอยู่ตามคำสั่งของ ศาลเป็นเวลาเกินสามปี • คำสั่งของศาลที่สั่งให้แยกกันอยู่ตามมาตรา 1462 ก็เพื่อคุ้มครองมิให้คู่สมรสฝ่ายที่ยื่นคำร้องขอต้องได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนจนกว่าเหตุดังกล่าวจะสิ้นสุดลง เมื่อไม่มีเหตุดังกล่าวแล้ว สามีหรือภริยา ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งให้แยกกันอยู่ได้ หากปรากฎว่าเหตุดงกล่าวยังคงมีอยู่ต่อไปเป็นระยะเวลานานกว่า 3ปี ย่อมแสดงว่าการที่สามีและภริยาจะอยู่กันร่วมกันฉันสามีต่อไปไม่ปกติสุข ยากแก่การแก้ไขเยียวยาให้สภาพครอบครัวกลับฟื้นคืนดีดังเดิม ดังนั้น ตามาตรา 1516 (4/2) จึงให้สิทธิแก่สามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ โดยฝ่ายที่ฟ้องหย่าอาจจะมิใช่เป็นผู้ยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งอนุญาตให้แยกกันอยู่ก็ได้ • แม้เหตุที่แยกกันอยู่ได้หมดแล้ว หากมิได้ร้องขอให้ศาลเปลี่ยนแปลงเพิกถอนคำสั่ง เมื่อระยะเวลาเกินกว่าสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ยังคงมีสิทธิฟ้องหย่าได้เช่นกัน หากไมได้ฟ้องหย่าและต่อมาภายหลังกลับมาอยู่ด้วยกันอีก พฤติการณ์เช่นนี้พอแสดงว่าต่างฝ่ายต่างไม่ประสงคที่จะใช้สิทธิในการฟ้องหย่า และถือได้ว่าได้ให้อภัยในการกระทำของอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นเหตุให้เกิดสิทธิฟ้องหย่า สิทธิฟ้องหย่าย่อมหมดไปตามมาตรา 1518 กฎหมายครอบครัว
สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปี โดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไรอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ • เหตุหย่าเนื่องจากสาบสูญ มีอยู่ตลอดเวลาที่ยังเป็นคนสาบสูญ หากภายหลังศาลได้มีคำสั่งถอนจากการเป็นคนสาบสูญแล้วจะถือเป็นเหตุหย่าไม่ได้ • หากมิได้ฟ้องหย่า แล้วฝ่ายที่จากไปได้เดินทางกลับมา เช่นนี้ น่าจะทำให้สิทธิในการฟ้องหย่าระงับลง กฎหมายครอบครัว
สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมี ลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ • อาการวิกลจริตดังกล่าวจะต้องประกอบด้วยเงื่อนไข 3 ประการคือ • มีระยะเวลาในการวิกลจริตติดต่อกันมาเกิน 3 ปี • มีลักษณะยากจะหายได้ • มีอาการถึงขนาดที่จะทดอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ กฎหมายครอบครัว
สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรัง ไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้ • เป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่ง และ • โรคติดต่ออันตราย มี 4 โรค ได้แก่ กาฬโรค อหิวาตกโรค ไข้ทรพิษ และไข้เหลือง (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข) • โรคเอดส์ • เป็นโรคอันตรายแต่ไม่ไม่ติดต่อ • โรคมะเร็ง • มีลักษณะเรื้อรัง ไม่มีทางที่จะหายได้ • ไข้หวัดนก กฎหมายครอบครัว
สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกายทำให้สามีหรือภริยานั้น ไม่อาจร่วม ประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ • อวัยวะเพศทำงานไม่ได้ สามีผ่าตัดแปลงเพศ เป็นอัมพาตลำตัวช่วงล่าง • สภาพที่ไม่อาจร่วมประเวณีต้องเป็นอยู่ตลอดกาล ถ้าเป็นแต่เพียงร่างกายตอบสนองอารมณ์เพศน้อย อันเกิดจากร่างกายไม่แข็งแรง สมบูรณ์ หรือเกิดจากโรค เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ยังไม่เข้าเหตุฟ้องหย่ากรณีนี้ • เหตุหย่ากรณีนี้จะต้องไม่เกิดจากคู่สมรสฝ่ายฟ้องหย่าเอง ก็จะยกเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้ กฎหมายครอบครัว
การยกเหตุหย่าขึ้นฟ้องไม่ได้การยกเหตุหย่าขึ้นฟ้องไม่ได้ • เหตุฟ้องหย่าตามมาตรา ๑๕๑๖ (๑) และ (๒) ถ้าสามีหรือภริยาแล้วแต่กรณี ได้ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่านั้น ฝ่ายที่ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจนั้นจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้ (มาตรา ๑๕๑๗ วรรคหนึ่ง) • เหตุฟ้องหย่าตามมาตรา ๑๕๑๖ (๑๐) ถ้าเกิดเพราะการกระทำของอีกฝ่ายหนึ่งอีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้ (มาตรา ๑๕๑๗ วรรคสอง) กฎหมายครอบครัว
เหตุไม่พึงให้หย่า • ในกรณีฟ้องหย่าโดยอาศัยเหตุแห่งการผิดทัณฑ์บนตามมาตรา ๑๕๑๖ (๘) นั้น ถ้าศาลเห็น ว่าความประพฤติของสามีหรือภริยาอันเป็นเหตุให้ทำทัณฑ์บนเป็นเหตุเล็กน้อย หรือไม่สำคัญเกี่ยวแก่การอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาโดยปกติสุข ศาลจะไม่พิพากษาให้หย่าก็ได้ (มาตรา ๑๕๑๗ วรรคสาม) กฎหมายครอบครัว
สิทธิฟ้องหย่าระงับ • ข้อพิจารณา • ในกรณีมีเหตุหย่าหลายเหตุ ก็ต้องให้อภัยทุกๆเหตุ จึงจะหมดสิทธิฟ้องหย่า • การให้อภัยจะต้องมีพฤติการณ์ก่อให้เกิดเหตุหย่าขึ้นเสียก่อน จะให้อภัยล่วงหน้าไม่ได้ • การให้อภัย มีความหมายว่า ยกโทษให้ • ฎีกาที่ 3190/2549 • การให้อภัยจะต้องไม่มีเงื่อนไขใดๆ การมีเงื่อนไขแสดงว่ายังถือโทษหรือคาดโทษอยู่มิใช่ยกโทษให้ • ฎีกาที่ 173/2540 กฎหมายครอบครัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่3190/2549 การ ยินยอมและให้อภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1518 หมายถึง คู่สมรสฝ่ายที่ยินยอมและให้อภัยได้ทราบข้อเท็จจริงทั้งหมดเกี่ยวกับการกระทำ อันเป็นเหตุให้เกิดสิทธิฟ้องหย่านั้น แต่แสดงเจตนาให้ปรากฏอย่างชัดแจ้งว่าอนุญาตให้กระทำหรือไม่ใช้สิทธิฟ้องหย่า โจทก์ไม่ทราบแน่ชัด และไม่คาดคิดว่าจำเลยจะจริงจังกับ ส. เพราะขณะนั้นจำเลยยังมีหญิงอื่นอีกหลายคน จนเมื่อปี 2545 โจทก์ทราบว่าจำเลยกับ ส. มีบุตรด้วยกันจึงได้นำคดีมาฟ้อง อันเป็นเหตุผลที่โจทก์ไม่ฟ้องหย่าจำเลยแต่แรกที่ทราบเรื่องความสัมพันธ์ ระหว่างจำเลยกับ ส. จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เคยยินยอมหรือให้อภัยในเรื่องที่จำเลยอุปการะเลี้ยงดู หรือยกย่อง ส. ฉันภริยา โจทก์จึงมีสิทธิที่จะฟ้องหย่าจำเลยด้วยเหตุหย่าดังกล่าวได้ การอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นเป็นเหตุฟ้องหย่าที่มีพฤติการณ์ที่ต่อ เนื่อง ตราบที่จำเลยยังอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง ส. ฉันภริยา เหตุฟ้องหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (1) ก็ยังคงมีอยู่ แม้โจทก์จะทราบพฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยมาเกิน 1 ปีแล้ว โจทก์ก็ยกเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ สิทธิฟ้องร้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตามมาตรา 1529 กฎหมายครอบครัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่173/2540 โจทก์ จำเลยจดทะเบียนสมรสกันต่อมาจำเลยไปได้ม.เป็นภริยาโจทก์ได้ฟ้องหย่าจำเลยศาล ไกล่เกลี่ยโจทก์จำเลยตกลงกันว่าจำเลยจะต้องกลับมาอยู่ในบ้านหลังเดียวกับ โจทก์ห้ามเกี่ยวข้องกับหญิงอื่นต่อไปโจทก์จึงได้ถอนฟ้องไปปรากฏว่าหลังจาก ถอนฟ้องแล้วจำเลยยังคงอยู่ร่วมกับม. ฉันสามีภริยาต่อมาการที่โจทก์ยอมถอนฟ้องก็เพราะจำเลยตกลงเงื่อนไขกับโจทก์ ไว้เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขจึงมิใช่กรณีที่โจทก์ยอมให้อภัยจำเลยการ กระทำของจำเลยถือได้ว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้าย แรงอันเป็นเหตุฟ้องหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1516(6) กฎหมายครอบครัว
การให้อภัยกฎหมายมิได้กำหนดว่าจะต้องแสดงเจตนาเป็นลายลักษณ์อักษร อาจแสดงให้ปรากฏด้วยวิธีใดก็ได้ไม่มีแบบ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3822/2524 จำเลย ใช้มีดจะแทงโจทก์ตั้งแต่ก่อนโจทก์จำเลยจะมีบุตรด้วยกัน ต่อมาโจทก์เห็นว่าจำเลยเป็นภริยาและมีบุตรด้วยกัน จึงไม่ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลย แสดงว่าโจทก์ได้ให้อภัยจำเลยแต่แรกแล้ว ถือได้ว่าสิทธิฟ้องหย่าในข้อนี้ย่อมหมดไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1518 กฎหมายครอบครัว
การขอให้ศาลมีคำสั่งชั่วคราวระหว่างพิจารณาการขอให้ศาลมีคำสั่งชั่วคราวระหว่างพิจารณา มาตรา 1530 “ขณะคดีฟ้องหย่าอยู่ในระหว่างพิจารณา ถ้าฝ่ายใดร้องขอ ศาลอาจสั่งชั่วคราวให้จัดการตามที่เห็นสมควร เช่น ในเรื่องสินสมรส ที่พักอาศัย การอุปการะเลี้ยงดูสามีภริยาและการพิทักษ์อุปการะเลี้ยงดูบุตร” กฎหมายครอบครัว
อายุความ • สิทธิฟ้องร้องโดยอาศัยเหตุในมาตรา 1516 (1) (2) (3) หรือ (6) หรือมาตรา 1523ย่อมระงับไปเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันผู้กล่าวอ้างรู้หรือควรรู้ความ จริงซึ่งตนอาจยกขึ้นกล่าวอ้าง (มาตรา 1529 วรรคหนึ่ง) • เหตุในมาตรา 1516 (1) (2) (3) หรือ (6) นั้นจะนับอายุความตั้งแต่เหตุนั้นๆยุติลง ดังนั้นหากระหว่างที่ยังทำการปฏิปักษ์อยู่ เป็นเหตุต่อเนื่องตลอดเวลา ก็ยังไม่เริ่มนับอายุความ • 63/2520 ,769/2523,981/2535 • เหตุอันจะยกขึ้นฟ้องหย่าไม่ได้แล้วนั้น อาจนำสืบสนับสนุนคดีฟ้องหย่าซึ่งอาศัยเหตุอย่างอื่น กฎหมายครอบครัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 63/2520 การ ที่สามีนำหญิงอื่นเข้ามาอยู่ในบ้านและยังอยู่ร่วมกันตลอดมาถือว่าสามีทำการ เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภรรยากันอย่างร้ายแรงจนภรรยาไม่อาจอยู่กินเป็น สามีภรรยากันต่อไปได้ การนับอายุความฟ้องร้องขอหย่าในกรณีเช่นนี้จะต้องนับตั้งแต่เมื่อการทำการ เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภรรยากันอย่างร้ายแรงได้ยุติลงตราบใดที่ เหตุการณ์ดังกล่าวยังคงมีอยู่ย่อมเป็นเหตุต่อเนื่องกันตลอดมาคดีไม่ขาดอายุ ความเพราะอายุความยังไม่เริ่มนับ กฎหมายครอบครัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2523 แจ้งแก้ไขข้อมูลจำเลย มิได้อยู่กินเป็นสามีภริยากับโจทก์มาถึงทุกวันนี้เป็นเวลากว่า 20 ปีแล้วโดยจำเลยมีสามีใหม่และอยู่กินกับสามีใหม่ตลอดมาจนขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ การกระทำของจำเลยดังกล่าว นอกจากจะเป็นเหตุหย่าในเหตุอื่นเช่นมีชู้จงใจละทิ้งอีกฝ่ายหนึ่งไปเกิน 1 ปี เป็นต้นแล้วยังเป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยาอย่างร้ายแรง อีกด้วย และเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องตลอดมาทุกวัน คดีจึงไม่ขาดอายุความ กฎหมายครอบครัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 981/2535 พฤติการณ์ ที่จำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 อยู่ร่วมเรือนเดียวกันและมีความสัมพันธ์กับจำเลยที่ 1 อย่างเปิดเผย โดยเป็นที่ประจักษ์ทั่วไปว่าบุคคลทั้งสองมีความสัมพันธ์ในทำนองชู้สาวต่อกัน จำเลยที่ 2 ก็ยอมรับว่าโจทก์เคยไปพบบิดาของจำเลยที่ 2 ขอให้ห้ามจำเลยที่ 1 ไปบ้านจำเลยที่ 2 ฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้แสดงโดยเปิดเผยว่าตนมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 กับโจทก์เป็นสามีภรรยากันโดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อจำเลยที่ 2 แสดงตนแก่บุคคลทั่วไปว่ามีความสัมพันธ์กับจำเลยที่ 1ในทำนองชู้สาวจึงเป็นเรื่องที่ผิดทำนองคลองธรรมอยู่ในตัวและเกิดความเสีย หายแก่โจทก์ผู้ซึ่งเป็นภรรยาโดยตรง ซึ่งโจทก์ก็แสดงให้เห็นว่ามีฐานะทางสังคมที่ดี เมื่อมีพฤติการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นผู้บังคับบัญชาของโจทก์มีทัศนะต่อโจทก์ใน ทางไม่ดี ทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงถึงความราบรื่นในชีวิตสมรสของโจทก์ และความผาสุกในครอบครัว ซึ่งถูกกระทบกระเทือนอยู่แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523วรรคสอง โจทก์ได้ทราบถึงความสัมพันธ์ของจำเลยทั้งสองกลางปี 2525แต่คำฟ้องและชั้นนำสืบพยานหลักฐานของโจทก์ยืนยันความสัมพันธ์ของจำเลย ทั้งสองเกิดขึ้นต่อเนื่องตลอดมาถึงปี 2528 มิได้หยุดการกระทำและสิ้นไป เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเรียกค่าทดแทนภายในปี 2528คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1529 กฎหมายครอบครัว
เหตุอื่นนอกจากที่กำหนดไว้ ก็ฟ้องหย่าได้ โดยไม่มีอายุความ และตลอดเวลาที่เหตุนั้นยังคงมีอยู่ก็ยังฟ้องหย่าได้ • ฎีกาที่ 1425/2494 การที่สามีหรือภริยาทิ้งร้างไม่อุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งนั้นการนับอายุ ความในกรณีเช่นนี้ จะต้องตั้งต้นนับเมื่อการทิ้งร้างและไม่อุปการะเลี้ยงดูนั้นได้ยุติลง ถ้ายังไม่ยุติคือ ยังคงทิ้งร้าง และไม่อุปการะเลี้ยงดูเรื่อยๆ มาจะเป็นกี่ปีก็ตาม อายุความก็ยังไม่เริ่มนับ ฉะนั้น ย่อมฟ้องหย่าโดยอาศัยเหตุนี้ได้เสมอ ไม่ขาดอายุความ • ฎีกาที่ 1456/2495 เหตุหย่าเพราะสามีจงใจละทิ้งภรรยา หรือสามีไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูภรรยานั้น ตราบใดที่เหตุดังกล่าวแล้วยังคงอยู่ ย่อมเป็นเหตุที่เกิดต่อเนื่องกันตลอดมา • ฎีกาที่ 780/2502(ญ) เหตุหย่าในข้อจงใจละทิ้งร้างเกินกว่า 1 ปีนั้น ตราบใดที่ยังทิ้งร้างกันอยู่ ก็ย่อมมีสิทธิฟ้องขอหย่าได้ไม่ขาดอายุความ กฎหมายครอบครัว
ผลของการหย่า • ผลต่อบุตร • ในกรณีหย่าโดยคำพิพากษาของศาล ให้ศาลซึ่งพิจารณาคดีฟ้องหย่านั้นชี้ขาดด้วยว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรคนใด (มาตรา 1520 วรรคสอง) • ถ้าหย่าโดยคำพิพากษาของศาล ให้ศาลกำหนดเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ (มาตรา 1522 วรรคสอง) กฎหมายครอบครัว
ผลต่อคู่สมรส • สิทธิเรียกค่าทดแทน • สิทธิเรียกค่าทดแทน คำว่า “ค่าทดแทน” หมายความถึง การที่ฝ่ายหนึ่งได้ก่อให้เกิดเสียประโยชน์แก่อีกฝ่ายหนึ่ง จึงจำต้องมีการจ่ายค่าทดแทนในการที่ฝ่ายนั้นเสียประโยชน์ไป • สามีหรือภริยาแต่จะต้องยื่นขอค่าทดแทนไปพร้อมกับคำฟ้องในคดีขอหย่านั้นด้วย มิฉะนั้น ศาลจะไม่พิพากษาให้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเกินคำขอ กฎหมายครอบครัว