280 likes | 437 Views
หลักเกณฑ์ในการป้องกัน การกระทำ. ที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง ทางผลประโยชน์ในการจัดการกองทุน (ประกาศที่ สน. 29/2549). หัวข้อในการบรรยาย. การกระทำที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ( COI ) การดำเนินการของบริษัทจัดการที่เกี่ยวข้องกับ COI
E N D
หลักเกณฑ์ในการป้องกันการกระทำหลักเกณฑ์ในการป้องกันการกระทำ ที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง ทางผลประโยชน์ในการจัดการกองทุน (ประกาศที่ สน. 29/2549)
หัวข้อในการบรรยาย • การกระทำที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (COI) • การดำเนินการของบริษัทจัดการที่เกี่ยวข้องกับ COI • การลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของบริษัทจัดการ (proprietary trading) • การทำธุรกรรมของกองทุนกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง (affiliated transaction) • การรับผลประโยชน์ตอบแทนเนื่องจากการที่กองทุนใช้บริการบุคคลอื่น (soft commission) • การลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของพนักงาน (staff dealing)
การใช้บังคับ • บริษัทหลักทรัพย์จัดการ MF • บริษัทจัดการ PF และ PVD หมายเหตุ: มิให้ใช้บังคับกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนต่างด้าว จำกัด
COI • การกระทำอันมีลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการจัดการกองทุน และถือว่าต้องห้ามตามมาตรา 126(1) และ มาตรา 139(5) ได้แก่ (1) รับผลประโยชน์ตอบแทนเพื่อบริษัทจัดการเอง เนื่องจากการที่กองทุนใช้บริการบุคคลอื่น (2) ทำธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยเอาเปรียบกองทุนหรือทำให้กองทุนเสียประโยชน์ที่ดีที่สุดไป เว้นแต่ปฏิบัติตามเกณฑ์ของประกาศนี้ (3) ซื้อขายทรัพย์สินหรือเข้าเป็นคู่สัญญาเพื่อพอร์ตบริษัทก่อนกองทุน
COI • บริษัทจัดการต้องบริหารจัดการในเรื่องที่อาจก่อให้เกิด COI แก่กองทุน ดังต่อไปนี้ • Proprietary trading • Affiliated transaction • Soft Commission • Staff dealing • โดยบริษัทจัดการต้องจัดให้มีระบบงานที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพ (โดยให้เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับระบบงานในการป้องกัน COI)
proprietary trading • การใช้บังคับบริษัทจัดการ MF และ PF ที่ได้รับอนุญาตตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2543) • บริษัทจัดการต้องปฏิบัติดังนี้ 1. บังคับใช้กรณีที่บริษัทจัดการมีการบริหารพอร์ตลงทุนเพื่อบริษัทเอง • ต้องจัดให้มีระบบงานที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานก่อนเริ่มลงทุน(ตามแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับระบบงานในการป้องกัน COI) • ขอความเห็นชอบ: จัดให้มีบุคลากรและหน่วยงานย่อยที่ทำหน้าที่เฉพาะ prop.trade ซึ่งแบ่งแยกจากหน่วยงานที่ดูแลการลงทุนของกองทุน และมีมาตรการป้องกัน coi หรือ
proprietary trading • ได้รับความเห็นชอบตามประกาศแล้ว : หากมีนโยบายลงทุนในเงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเพื่อบริหารสภาพคล่อง ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรต่างๆ หน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดที่ตนรับผิดชอบ ให้กำหนดนโยบายการลงทุนเพื่อพอร์ตบริษัท หลักปฏิบัติเพื่อป้องกัน coi การกำหนดให้มีการรายงานต่อผู้บริหาร • กรณีที่บริษัทจัดการมอบหมายให้ PF อื่นบริหารพอร์ตลงทุนของบริษัท • บริษัทจัดการต้องไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจลงทุน
proprietary trading 3. เกณฑ์การลงทุนเพื่อพอร์ตบริษัท • ทรัพย์สินที่ลงทุนได้ต้องถือหรือมีไว้เกิน 1 ปี โดยรวมถึงกรณีที่มอบหมายให้ PF อื่นบริหารด้วย ยกเว้นการลงทุน ดังนี้ • เงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝาก • ตราสารที่มีอายุคงเหลือต่ำกว่า 1 ปี และถือจนครบกำหนด • หน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดที่ไม่สามารถจำหน่ายทรัพย์สินได้อย่างเหมาะสม โดยบริษัทจัดการต้องจำหน่ายหน่วยลงทุนนั้นในโอกาสแรกที่ทำได้และรายงานให้สำนักงานทราบตามภายในวันทำการถัดจากวันที่จำหน่ายหน่วยลงทุน
proprietary trading • ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นและสมควรที่ต้องจำหน่ายทรัพย์สินหรือเลิกสัญญาก่อน 1 ปีนับแต่วันลงทุน บริษัทจัดการต้องขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัทและรายงานให้สำนักงานทราบตามภายในห้าวันทำการนับแต่วันที่จำหน่ายทรัพย์สิน • การลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อพอร์ตบริษัทต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ของประกาศคณะกรรมการเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของบริษัทหลักทรัพย์(ประกาศที่ กธ/น/ข. 34/2548 ลงวันที่ 13 กันยายน 2548)
affiliated transaction • ไม่ใช้บังคับกับ กอง 2 กอง 3 และกอง 4 • บริษัทจัดการต้องปฏิบัติดังนี้ 1. ลักษณะของธุรกรรมเพื่อกองทุนกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง • เป็นประโยชน์ที่ดีที่สุดต่อกองทุนในสถานการณ์ขณะนั้น (best execution) • มีความจำเป็นและเป็นประโยชน์กับกองทุน • กระทำเสมือนเป็นทางค้าปกติ (at arm’s length transaction) 2. ธุรกรรมระหว่างกองทุนที่ฝ่ายหนึ่งเป็นกองทุนรวมภายใต้การจัดการเดียวกัน ต้องมีความเหมาะสมต่อลักษณะและนโยบายของกองทุน 3. บริษัทจัดการต้องจัดให้มีเอกสารหรือหลักฐานอ้างอิงเพื่อให้สำนักงานสามารถตรวจสอบการทำธุรกรรมได้
affiliated transaction 4. การทำธุรกรรม cross tradeที่เหมาะสม กำหนดราคาที่เหมาะสมซึ่งมีแหล่งอ้างอิงที่ได้รับการยอมรับเป็นการทั่วไปและเป็นราคาที่ผู้จัดการกองทุนไม่ทราบมาก่อน (ex-ante / forward price) ได้แก่ • ราคาตลาด • ราคาใน exchange ที่มีการซื้อขายคล่อง (actively traded) อันได้แก่ 1. ราคาปิดของวันที่มีการทำธุรกรรม 2. ราคาตกลงซื้อขายใน exchange ในขณะที่มีการทำธุรกรรม (current price) 3. ราคาเฉลี่ยของราคาเสนอซื้อและเสนอขายในขณะที่มีการทำธุรกรรม เช่น ราคาของหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
affiliated transaction • ราคาที่ประกาศใน ThaiBMA ซึ่งเป็นราคาที่มีการซื้อขายจริงในขณะนั้น • ราคาเฉลี่ยของราคาเสนอซื้อสูงสุดและราคาเสนอขายต่ำสุดของวันที่มีการทำธุรกรรม (ราคาเฉลี่ย ณ สิ้นวัน) ทั้งนี้ ราคาดังกล่าวจะถือเป็นราคาตลาดได้หากไม่มีราคาที่กำหนดข้างต้น • เมื่อไม่มีราคาตลาด ได้แก่ราคาเสนอซื้อหรือเสนอขายของ dealer ที่เกิดขึ้นในวันที่มีการทำธุรกรรม
affiliated transaction 5. ธุรกรรมที่ต้องขอความเห็นชอบจากสำนักงาน ได้แก่ ธุรกรรมระหว่างกองทุนรวมกับบริษัทจัดการเฉพาะกรณีที่มีเหตุจำเป็นและสมควร โดยต้องขอความเห็นชอบจากสำนักงานก่อนการเข้าทำธุรกรรมทุกครั้ง 6. บริษัทจัดการต้องระบุธุรกรรมในการซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์กับบุคคลที่เกี่ยวข้องไว้อย่างชัดเจนในโครงการจัดการกองทุนรวมและหนังสือชี้ชวนว่า อสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่จะลงทุนนั้นเป็นของบุคคลดังกล่าว หรือเมื่อได้รับมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด
affiliated transaction 7. ธุรกรรมที่ต้องขอความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม หรือได้รับความยินยอมจากลูกค้า หรือคณะกรรมการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ได้แก่ • ธุรกรรมไม่มีราคาตลาดหรือมีราคาที่ไม่สอดคล้องกับราคาตลาดระหว่างกองทุนรวมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง (รวม crossing ที่ไม่ใช้ราคาตลาดด้วย) • ธุรกรรมระหว่างกองทุนส่วนบุคคลกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยอาจกำหนดไว้ก่อนล่วงหน้าในสัญญา หรือก่อนการทำธุรกรรมทุกครั้งก็ได้ • single fund: ขอความยินยอมในทุกกรณี
affiliated transaction • pooled fundและกองทุนส่วนบุคคล: ขอความยินยอมกรณี • การลงทุนในตราสารที่บุคคลที่เกี่ยวข้อง เป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ำประกัน • การทำธุรกรรมกับบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล • การทำธุรกรรมกับกองทุนที่อยู่ภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการเดียวกัน • การทำธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนหรือการทำธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์กับบริษัทในเครือของบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล ทั้งนี้ หากธุรกรรมข้างต้นไม่มีราคาตลาด หรือใช้ราคาอื่นที่ไม่เป็นไป ตามราคาตลาดให้อธิบายเหตุผล และที่มาของการใช้ราคาอื่นให้ลูกค้าหรือคณะกรรมการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทราบก่อนขอรับความยินยอม โดยอาจกำหนดไว้ก่อนล่วงหน้าในสัญญาจัดการกองทุนส่วนบุคคลก็ได้
affiliated transaction 8. เปิดเผยข้อมูลการทำธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยมีแนวทางดังนี้ • กองทุนรวม:เปิดเผยข้อมูลต่อผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นรายเดือนผ่านทาง website และในรายงาน 6 เดือนและรายงานประจำปี และเก็บไว้ที่บริษัทจัดการเพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ • กองทุนส่วนบุคคล:รายงานการทำธุรกรรมข้างต้นต่อลูกค้า หรือคณะกรรมการกองทุนฯ ตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญาฯ เว้นแต่ลูกค้าหรือคณะกรรมการกองทุนฯ กำหนดเรื่องการรายงานไว้เป็นอย่างอื่น
affiliated transaction 9. บุคคลที่จัดว่าเป็นการทำธุรกรรมกับบุคลที่เกี่ยวข้องตามประกาศที่ สน.29/2549ได้แก่ (ข)(2) >30% บริษัทแม่ (ข)(1) >50% >50% >5% กรณีทั่วไป (จ) + (ฉ) > 30% บริษัทจัดการ (ง) (จ) (ช) >10% (ฉ) (ค) (ฌ) กองทุน (ญ) กองทุนรวม >10% (ซ)
affiliated transaction กองทุนส่วนบุคคล กองทุนส่วนบุคคล บริษัทจัดการ เป็นที่ปรึกษา (D) (C) (B) ผู้มีอำนาจถือหุ้น > 5% / รวมกัน >10% / เป็นกรรมการ (A) ผู้มีอำนาจจัดการ
affiliated transaction (๕) (๑), (๒), (๓) หรือ (ฌ) > 5% กองทุนรวมอสังหาฯ >30% (๔) >5% (๓) (ฌ) (๑) (๒) (๑), (๒), (๓) หรือ (ฌ) > 10% >10% บริษัทจัดการ (๖) กองทุนรวมอสังหาฯ
affiliated transaction • กำหนดบุคคลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามข้อ 20(4) ดังนี้ (ข)(1) หรือ (ข)(2) เป็นบริษัทจัดการ (ข)(2) (ข)(2) >30% >30% >30% (ข)(1) (ข)(1) >5% >5% >5% บริษัทจัดการ ก. บริษัทจัดการ A. บริษัทจัดการ ก. กองทุน B. กองทุน ก. กองทุน A. กองทุน ก.
affiliated transaction >5% + กรรมการบริษัทของ(ข)(2) เป็นกรรมการบริษัท D เกินกึ่งหนึ่ง (ข)(2) >5% + กรรมการบริษัทของ(ข)(1) เป็นกรรมการบริษัท C เกินกึ่งหนึ่ง >30% (ข)(1) (ข)(1) บริษัท D. >5% >5% บริษัทจัดการ ก. บริษัทจัดการ ก. บริษัท C. กองทุน ก. กองทุน ก.
affiliated transaction >5% + กรรมการบริษัทเมื่อรวมกรรมการของ(ข)(1) เกินกึ่งหนึ่ง กรรมการบริษัทของ(ข)(1) เป็นกรรมการบริษัท D เกินกึ่งหนึ่ง (ข)(2) (ข)(2) >30% >5% >30% >5% >30% บริษัท E. (ข)(1) บริษัท F. (ข)(1) >5% >5% บริษัทจัดการ ก. บริษัทจัดการ ก. กรรมการบริษัทเมื่อรวมกรรมการของ(ข)(2) เกินกึ่งหนึ่ง กองทุน ก. กองทุน ก.
affiliated transaction กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทจัดการ ก. นายจ้าง กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก. กองทุน G.
soft commission • บริษัทจัดการต้องปฏิบัติดังนี้ 1. เกณฑ์การรับผลประโยชน์ตอบแทน • เป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจและเป็นประโยชน์โดยตรงต่อกองทุน เช่น บทวิเคราะห์ บทวิจัยต่างๆ • ไม่มีเจตนาในการใช้บริการจากบุคคลดังกล่าวที่บ่อยเกินความจำเป็น (churning) • จัดสรรการรับผลประโยชน์ตอบแทนด้วยความเป็นธรรม และคำนึงถึงนโยบายการลงทุนของกองทุน
soft commission 2. แนวทางการเปิดเผยข้อมูล • บริษัทจัดการต้องระบุเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การรับผลประโยชน์ตอบแทนไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมหรือในสัญญารับจัดการกองส่วนบุคคลว่า บริษัทไม่สามารถรับ soft commission เพื่อประโยชน์ของบริษัทได้ เว้นแต่เป็นการรับผลประโยชน์ตามเทศกาลที่เป็นประเพณีนิยมตามแนวทางปฏิบัติที่บริษัทจัดการประกาศไว้ภายในบริษัท ซึ่งผู้ถือหน่วยลงทุนอาจขอดูแนวทางนี้ได้ที่ .......... (โปรดระบุ) ทั้งนี้ แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการรับผลประโยชน์ตามเทศกาลที่เป็นประเพณีนิยม ให้ระบุสิ่งของหรือมูลค่าที่บริษัทจัดการและพนักงานของบริษัทจัดการจะสามารถรับไว้ได้ และสื่อสารให้พนักงานภายในบริษัททราบแนวทางดังกล่าว รวมทั้งจัดเก็บเป็นเอกสารหลักฐานเพื่อให้สำนักงานสามารถตรวจสอบได้ด้วย
soft commission • รายงานการรับผลประโยชน์ข้างต้นให้ผู้ลงทุนทราบ โดยระบุบุคคลที่ให้ผลประโยชน์ตอบแทนแก่บริษัทจัดการ ผลประโยชน์ตอบแทนที่ได้รับ และเหตุผลในการรับผลประโยชน์ตอบแทน • กองทุนรวมอสังหาฯ: รายงานทุกสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีประจำปี • กองทุนรวมทั่วไป : รายงานรอบระยะเวลา 1 ปี กรณีกองทุนปิด และรายงาน 6 เดือน และรายงานประจำปี กรณีกองทุนเปิด • กองทุนส่วนบุคคล : แจ้งพร้อมการเปิดเผยข้อมูลการลงทุนและผลการดำเนินงานของกองทุนส่วนบุคคล
staff dealing • การลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของพนักงานโดยจัดให้มี • ระบบงานที่มีประสิทธิภาพ เพื่อดูแลให้พนักงานในบริษัทมีมาตรฐานในการปฏิบัติงานตามแนวปฏิบัติที่สมาคมกำหนดเกี่ยวกับการควบคุมการซื้อขายหลักทรัพย์ของพนักงานในบริษัทจัดการ • กำหนดมาตรการทางวินัยหากพนักงานของตนไม่ปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าว • จัดให้มีการชดใช้ความเสียหายกรณีที่การไม่ปฏิบัติตามของพนักงานก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองทุน