480 likes | 609 Views
นัยของข้อตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อม ที่มีต่อเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมไทย :. ข้อตกลงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. ดร.ชโลทร แก่นสันติสุขมงคล สัมมนาทางวิชาการประจำปี 2553 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. เกริ่นนำ.
E N D
นัยของข้อตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อมที่มีต่อเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมไทย:นัยของข้อตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อมที่มีต่อเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมไทย: ข้อตกลงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดร.ชโลทร แก่นสันติสุขมงคล สัมมนาทางวิชาการประจำปี 2553 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เกริ่นนำ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นวิกฤตการณ์ทางสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ ซึ่งน่าจะมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบกายภาพ ระบบนิเวศ และรวมถึง ระบบเศรษฐกิจและสังคมของโลก อย่างมาก ในปัจจุบันมีข้อตกลงพหุภาคีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับโลก อยู่ 2 ข้อตกลง คือ กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) และ พิธีสารเกียวโต เป้าหมายการเจรจาในปัจจุบัน: การหาข้อตกลงร่วมกันในการจัดการสภาพภูมิอากาศหลังปี 2012 ประเด็นปัญหา: การจัดสรรระดับพันธกรณีสำหรับประเทศพัฒนาแล้ว (Annex I countries: AI) และ ประเทศกำลังพัฒนา (Non-Annex I countries: NAI)
วัตถุประสงค์/ภาพรวมของบทความวัตถุประสงค์/ภาพรวมของบทความ • สรุปทิศทาง/แนวโน้มที่เกิดขึ้นในกระบวนการเจรจา ในประเด็นเกี่ยวกับ (ก) ระดับความจำเป็นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวม และ (ข) การกระจายพันธกรณีระหว่างกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว/ประเทศกำลังพัฒนา • ทดลองการคำนวณการจัดสรรพันธกรณี ภายในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา (Non-Annex I countries: NAI) และ เปรียบเทียบภาระของประเทศไทย • พิจารณาความเป็นไปได้/ทางเลือกของประเทศไทยในการลดการปล่อยก๊าซ CO2 จากภาคการผลิตพลังงานไฟฟ้า ตามระดับพันธกรณีข้างต้น
ระดับพันธกรณี/การมีส่วนร่วมของประเทศพัฒนาแล้ว/กำลังพัฒนาระดับพันธกรณี/การมีส่วนร่วมของประเทศพัฒนาแล้ว/กำลังพัฒนา
ข้อเสนอในแง่ภาพรวมความจำเป็นระดับโลกข้อเสนอในแง่ภาพรวมความจำเป็นระดับโลก • ควรรักษาระดับการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในระดับไม่เกิน [1.5] [2] องศาเซลเซียส • ควรรักษาระดับความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศที่ระดับ [350] [400] [450] ppm CO2-eq • ปริมาณการปล่อยก๊าซรวมของโลกควรจะหยุดการเพิ่มและเริ่มลดลงภายในปี [2015] [2020] [2015 สำหรับประเทศพัฒนาแล้ว และ 2025 สำหรับประเทศกำลังพัฒนา] [ภายใน 10-15 ปี] • ปริมาณการปล่อยก๊าซรวมของโลกควรจะต้องลดลงอย่างน้อย [50%] [85%] จากระดับในปี 1990 ภายในปี 2050
ข้อเสนอเกี่ยวกับการจัดสรรภาระพันธกรณี/ความมีส่วนร่วมระหว่างกลุ่มประเทศข้อเสนอเกี่ยวกับการจัดสรรภาระพันธกรณี/ความมีส่วนร่วมระหว่างกลุ่มประเทศ • ข้อเสนอของเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซของประเทศพัฒนาแล้ว • ประเทศพัฒนาแล้วควรลดการปล่อยก๊าซลงในระดับ [25-40%] [25%] [30%] [40%] [45%] [50%] จากระดับการปล่อยก๊าซในปี 1990 ภายในปี 2020 • ประเทศพัฒนาแล้วควรลดการปล่อยก๊าซลงในระดับ [80%] [95%]จากระดับการปล่อยก๊าซในปี 1990 ภายในปี 2050 • ข้อเสนอของเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซของประเทศกำลังพัฒนา • ประเทศกำลังพัฒนาควรลดการปล่อยก๊าซในระดับ [ที่มีความแตกต่างอย่างชัดเจน (Substantial Deviation)] [15%-30%]จากระดับการปล่อยในสภาวะเศรษฐกิจปกติ (Business as Usual, BAU) ภายในปี 2020
เปรียบเทียบข้อเสนอกับผลการศึกษาของ IPCC • เมื่อพิจารณาตัวเลขเป้าหมายต่างๆ ที่ปรากฏในข้อเสนอ พบว่าตัวเลขเป้าหมายหลักๆ ที่ปรากฏในข้อเสนอต่างๆ มีความสอดคล้องอย่างสูงมากกับข้อมูลตัวเลขที่ปรากฏในรายงาน IPCC ฉบับล่าสุด (IPCC Fourth Assessment Report, IPCC-AR4) • Table SPM.5: เป้าหมายการลดก๊าซรวมของโลก • Box 13.7: การกระจายพันธกรณีระหว่าง Annex I กับ Non-Annex I
Summary of Box 13.7 in IPCC-AR4 Source: Adjusted from IPCC Working Group III, 2007 (Box13.7, p.776)
Revised Box 13.7 Source: den Elzen and Hohne (2008)
การวิเคราะห์การจัดสรรพันธกรณีในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาการวิเคราะห์การจัดสรรพันธกรณีในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา
คำถาม ถ้ากลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นNAIของ UNFCCC จะต้องถูกกำหนดให้มีพันธกรณีร่วมกันในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในปี 2020ลงในระดับ 15%หรือ 30%จาก BAU ผลของการจัดแบ่งภาระต่อพันธกรณีดังกล่าวจะมีผลการจัดสรรในลักษณะใดได้บ้าง?
เกณฑ์การจัดสรรพันธกรณีเกณฑ์การจัดสรรพันธกรณี *ข้อเสนอเกณฑ์การจัดสรรพันธกรณีที่พิจารณาในการวิเคราะห์ 4 ข้อเสนอ (เกณฑ์อย่างง่าย 2 เกณฑ์ และ เกณฑ์ที่เน้นหลักความเป็นธรรม 2 เกณฑ์) • Equal BAU Percentage • ประเทศ NAI ทุกประเทศมีภาระต้องลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมของตนในปี 2020ลงในสัดส่วนที่เท่าเทียมกันเมื่อเทียบกับปริมาณการปล่อยในกรณี BAU (นั่นคือ ทุกประเทศจะต้องลด 15% หรือ 30% เท่าเทียมกัน) • Equal 1990 Percentage • ประเทศ NAI ทุกประเทศมีภาระต้องลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมของตนในปี 2020ลงในสัดส่วนที่เท่าเทียมกันเมื่อเทียบกับปริมาณการปล่อยของตนในปี 1990
เกณฑ์การจัดสรรพันธกรณี(ต่อ)เกณฑ์การจัดสรรพันธกรณี(ต่อ) • Equal Emission Rights • ประชากรของโลกทุกคนควรมีสิทธิ์เท่าเทียมกันในการร่วมใช้ทรัพยากรส่วนรวมของโลก ดังนั้นประชากรของ NAI ทุกประเทศ ย่อมควรได้รับสิทธิ์ในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหัวประชากรในอัตราที่เท่าเทียมกันทั้งหมด • Contraction and Convergence (C&C) • ตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นไปประเทศ NAI ทุกประเทศจะต้องค่อยๆ ปรับลดความแตกต่างของค่าเฉลี่ยการปล่อยก๊าซต่อหัวของตน เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยรวมของประเทศ NAI ทั้งหมด ลงในอัตรา 25% ต่อทศวรรษ เมื่อเทียบกับค่าความแตกต่างที่ดำรงอยู่ในปี 2010 ซึ่งจะมีผลทำให้ค่าเฉลี่ยของการปล่อยก๊าซต่อหัวของ NAI ทุกประเทศจะถูกปรับค่าจนมีค่าเท่าเทียมกันในปี 2050 *นิยามเกณฑ์ 3&4 เป็นการดัดแปลงจากนิยามข้อเสนอต้นแบบ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ NAI
ฐานข้อมูล และ ข้อจำกัดของการวิเคราะห์ • ข้อมูลหลักของการวิเคราะห์:ข้อมูลของ International Energy Agency ใน 2 รายงาน • CO2 Emissions from Fuel Combustion 2009: Highlights • World Energy Outlook 2009 (ร่วมกับการทำ Interpolation/Extrapolation เพื่อเติมเต็มช่องว่างของข้อมูล) • ข้อจำกัดของข้อมูล • เป็นข้อมูลและประมาณการการปล่อยก๊าซ CO2จากภาคพลังงาน • ข้อมูลประมาณการมีถึงแค่ปี 2030 • ข้อมูลประมาณการรายภูมิภาค + ประเทศสำคัญ + ประเทศใน ASEAN • ข้อจำกัดของการวิเคราะห์ • การแบ่งแยก AI/NAI ทำได้ไม่สมบูรณ์ • เป็นการวิเคราะห์แบบบางส่วน (เฉพาะ CO2; เฉพาะ NAI) • วิเคราะห์เกณฑ์ความเป็นธรรมหลายๆ ข้อเสนอไม่ได้
สรุปผลของประเทศไทยภายใต้เกณฑ์การจัดสรรทั้ง 4 รูปแบบ • กรณี 15% จาก BAU • ได้รับสิทธิ์ในการปล่อยก๊าซ CO2ต่อหัวประชากรในช่วงระหว่าง 2.584 – 3.761 ตันต่อคน • หรือเทียบเท่ากับต้องมีภาระพันธกรณีในการลดการปล่อยก๊าซจากระดับ BAU ลงระหว่าง 15-42% • กรณี 30% จาก BAU • ได้รับสิทธิ์ในการปล่อยก๊าซ CO2ต่อหัวประชากรในช่วงระหว่าง 2.13 – 3.10 ตันต่อคน • หรือเทียบเท่ากับต้องมีภาระพันธกรณีในการลดการปล่อยก๊าซจากระดับ BAU ลงระหว่าง 30-52% (***กรณี BAU อัตราการปล่อยก๊าซ CO2ต่อหัวประชากรของไทย = 4.425 ตันต่อคน ***)
การวิเคราะห์ทางเลือกในการลดการปลดปล่อยการวิเคราะห์ทางเลือกในการลดการปลดปล่อย กรณีศึกษา ภาคการผลิตพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย
คำถาม • ถ้าประเทศไทยมีความจำเป็นจะต้องลดการปล่อยก๊าซ CO2จากภาคการผลิตพลังงานไฟฟ้าลงในระดับ 15% หรือ 30% เมื่อเทียบกับระดับการปลดปล่อยในกรณี BAU ในปี 2020 เราจะมีทางเลือกและความเป็นไปได้ในการจัดการภาคการผลิตพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทยอย่างไรบ้าง?
ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ • แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า ฉบับ PDP 2010 • แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า ฉบับ PDP 2007: Revision 2 วิธีการคำนวณปริมาณการปล่อย CO2 • Revised 1996 IPCC Guidelines for National Greenhouse Gas Inventories ร่วมกับ ข้อมูลค่าความร้อนสุทธิของเชื้อเพลิงแต่ละประเภทจากรายงานไฟฟ้าของประเทศไทย
การกำหนดนิยามของกรณี BAU • ปัญหาการกำหนดขนาดการปลดปล่อยก๊าซในกรณี BAU • ความไม่แน่นอนของการพยากรณ์ เพราะเป็นการคาดประมาณค่าปริมาณการปล่อยก๊าซที่ควรจะเกิดขึ้นในอนาคต ที่ยังไม่ได้มีการเกิดขึ้นจริงๆ • ปัญหาการตีความว่า สภาวะ BAU หรือ “สภาวะเศรษฐกิจปกติ ที่ควรจะเกิดขึ้นหากไม่ได้มีการดำเนินนโยบายและ/หรือมาตรการที่มีเป้าหมายเพื่อที่จะก่อให้เกิดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก” คืออะไร? • ทางเลือกในการกำหนดกรณีอ้างอิง BAU • ปริมาณการปล่อยก๊าซ CO2ภายใต้แผน PDP2010 เอกสาร “นโยบายและแนวทางการปรับปรุงแผน PDP2010” ของกระทรวงพลังงาน ได้มีการระบุให้ “คำนีงถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโรงไฟฟ้าใหม่” และ “พิจารณาการปรับลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการวางแผน” • ปริมาณการปล่อยก๊าซ CO2ภายใต้แผน PDP2007R2
การกำหนดนิยามของกรณี BAU(ต่อ) • ความแตกต่างของปริมาณการปล่อยก๊าซ CO2: PDP2010 vs PDP2007R2 • ความแตกต่างในค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า • ปรับตามความต้องการจริงปี 2552 และ ปรับลดพยากรณ์ GDP ในอนาคต ==> เป็นการปรับเพื่อความถูกต้องของข้อมูล ไม่ใช่ผลของนโยบายการลดก๊าซ • ผลของมาตรการประหยัดพลังงาน • รวมผลของโครงการหลอดผอมใหม่ T5 ==> วัตถุประสงค์ส่วนหนึ่งของโครงการ คือ เพื่อช่วยลดก๊าซเรือนกระจก • ผลของการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของแหล่งพลังงานในการผลิตไฟฟ้า • แผน PDP2010 ลดสัดส่วนการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติและถ่านหินนำเข้า และ เพิ่มสัดส่วนการพึ่งพาพลังงานหมุนเวียน และ การซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศมากขึ้น ทำให้ปริมาณการปล่อยก๊าซ CO2ตามแผน PDP2010 มีค่าลดต่ำลง • แผน PDP2010: จะมีรฟฟ.นิวเคลียร์ในปี 2020 ... แต่เชื่อว่าน่าจะมีความล่าช้า
ทางเลือกในการนิยามกรณี BAU ใหม่ • New BAU1:ถือว่าความแตกต่าง (1) ควรนับรวมใน BAU อยู่แล้ว • ใช้ค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าใหม่ของ PDP2010 เป็นฐาน • ไม่รวมผลการประหยัดพลังงานของโครงการ T5 • สมมติให้สัดส่วนของแหล่งพลังงานในการผลิตพลังงานไฟฟ้ามีค่าเป็นไปตามสัดส่วนที่ปรากฏใน PDP2007R2 • New BAU2 : ถือว่าความแตกต่าง (1) & (3) ควรนับรวมใน BAU อยู่แล้ว • ใช้ค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าใหม่ของ PDP2010 แต่ไม่รวมผลโครงการ T5 • ใช้ปริมาณของแหล่งพลังงานในการผลิตพลังงานไฟฟ้าของ PDP2010เป็นฐาน • สมมติให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่สามารถดำเนินการได้ทันในปี 2020 --> ใช้ถ่านหินนำเข้าแทน • New BAU3 : ถือว่าความแตกต่าง (1) & (3) ควรนับรวมใน BAU อยู่แล้ว • ใช้ค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าใหม่ของ PDP2010 แต่ไม่รวมผลโครงการ T5 • ใช้ปริมาณของแหล่งพลังงานในการผลิตพลังงานไฟฟ้าของ PDP2010เป็นฐาน • สมมติให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่สามารถดำเนินการได้ทันในปี 2020 --> ใช้ก๊าซธรรมชาติแทน
การพิจารณาทางเลือกในการลดก๊าซ CO2 • การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้า เพื่อลดความต้องการในการผลิตพลังงานไฟฟ้า (EE) • การเพิ่มปริมาณการใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้า (RE) เพื่อให้สามารถลดการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ได้แก่ ถ่านหินนำเข้า ลิกไนต์ หรือ ก๊าซธรรมชาติ การวิเคราะห์จึงต้องเริ่มจากการประมาณการขนาดของ “ศักยภาพของการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน” และ “ศักยภาพของการใช้พลังงานหมุนเวียน”ของประเทศไทยในปี 2020
ประมาณการศักยภาพการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าของประเทศไทยประมาณการศักยภาพการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย
ประมาณการศักยภาพพลังงานหมุนเวียนเพื่อการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยประมาณการศักยภาพพลังงานหมุนเวียนเพื่อการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย
การพิจารณาทางเลือกต่างๆ ในการปฏิบัติตามเป้าหมายพันธกรณี 15% และ 30% ข้อสมมติ • การวิเคราะห์ครั้งนี้จะจำกัดเฉพาะการวิเคราะห์ทางเลือกในการจัดการความต้องการและการจัดหาพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายพันธกรณีในการลดก๊าซ CO2ในระดับที่กำหนด เฉพาะในปี 2020 เท่านั้น • การวิเคราะห์ในครั้งนี้จะจำกัดเฉพาะการวิเคราะห์ปริมาณการปลดปล่อยก๊าซ CO2จากการผลิตพลังงานไฟฟ้าภายในประเทศ (ไม่รวมส่วนการนำเข้า) • ใช้กรณี New BAU3 เป็นฐาน: ค่าความต้องการพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งผลิตในประเทศ ก่อนการหักผลการใช้มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานเพิ่มเติม สำหรับปี 2020 จะมีค่าอยู่ที่ระดับ 202,500 GWh (เท่ากับกรณี New BAU3)เสมอ
การพิจารณาทางเลือกต่างๆ ในการปฏิบัติตามเป้าหมายพันธกรณี 15% และ 30% ข้อสมมติ (ต่อ) • ปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากน้ำมันเตา น้ำมันดีเซล และ ไฟฟ้าพลังน้ำ ในปี 2020 มีค่าคงที่ในระดับเดียวกับที่กำหนดในแผน PDP2010 เสมอ นั่นคือ จะอยู่ที่ระดับ 0 GWh 21 GWh และ 6,065 GWh ตามลำดับ • ศักยภาพของมาตรการการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานไฟฟ้าและศักยภาพของการใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ในปี 2020 จะมีค่าเท่ากับ 31,620 และ 39,468 GWh ตามลำดับ ซึ่งจะทำให้ศักยภาพรวมอยู่ที่ 71,088 GWh • การคำนวณปริมาณการปลดปล่อยก๊าซ CO2จะพิจารณาเฉพาะในส่วนของการเผาไหม้เชื้อเพลิงเพื่อการผลิตพลังงาน โดยจะใช้วิธีการคำนวณแบบ Tier 1 Method ตามที่กำหนดไว้ใน Revised 1996 IPCC Guidelines for National Greenhouse Gas Inventories
กรณีพันธกรณี 15% (เป้าหมาย 81.76 ล้านตัน) • ทางเลือก 15A • ปรับลดการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงถ่านหินนำเข้าลงให้เหลือเพียง 16426 GWh (ลดลง 16379 GWh) • เพิ่มการส่งเสริมและพัฒนาการใช้พลังงานหมุนเวียนและการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน (RE&EE) ในระดับ 44% ของศักยภาพทั้งหมด • ทางเลือก 15B • ปรับลดการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงถ่านหินนำเข้าลงให้เหลือเพียง 16426 GWh (ลดลง 16379 GWh) • เร่งดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพื่อให้ทันกับกำหนดการเดิมที่ระบุไว้ในแผน PDP2010 • เพิ่มการส่งเสริมและพัฒนาการใช้พลังงานหมุนเวียนและการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน (RE&EE) ในระดับ 33% ของศักยภาพทั้งหมด
พิจารณาทางเลือกสำหรับกรณีพันธกรณีระดับ 15% • ทั้งสองทางเลือก เป็นทางเลือกที่มีความเป็นไปได้ในระดับสูง เพราะในแผน PDP2010 มีการคาดการณ์ว่าในปี 2020 จะมีการพึ่งพิงการใช้พลังงานหมุนเวียนและการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในระดับ 22% ของศักยภาพทั้งหมดอยู่แล้ว (พึ่งพาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน 14730 GWh และ การประหยัดพลังงานจากโครงการ T5 เท่ากับ 1170 GWh) ดังนั้นการดำเนินมาตรการต่างๆ เพิ่มเติมเพื่อเพิ่มผลการพัฒนาศักยภาพดังกล่าว ในระดับ 11-22% จึงน่าจะถือว่ามีความเป็นไปได้
กรณีพันธกรณี 30% (เป้าหมาย 67.33 ล้านตัน) • ทางเลือก 30A • ยกเลิกการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงถ่านหินนำเข้าในปี 2020 ทั้งหมด • เพิ่มการส่งเสริมและพัฒนาการใช้พลังงานหมุนเวียนและการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน (EE&RE) ในระดับ 67% ของศักยภาพทั้งหมด • ทางเลือก 30B • ยกเลิกการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงถ่านหินนำเข้าในปี 2020 ทั้งหมด • เร่งดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพื่อให้ทันกับกำหนดการเดิมที่ระบุไว้ในแผน PDP2010 • เพิ่มการส่งเสริมและพัฒนาการใช้พลังงานหมุนเวียนและการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน (EE&RE) ในระดับ 56% ของศักยภาพทั้งหมด
กรณีพันธกรณี 30% (เป้าหมาย 67.33 ล้านตัน) • ทางเลือก 30C • หยุดการขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงถ่านหินเพิ่มเติมจากที่มีอยู่ในปัจจุบัน (คงระดับการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินนำเข้าไว้ที่ระดับในปี 2553 ที่ 12320 GWh) • คงปริมาณการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ แต่ปรับลดการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงลิกไนต์ลงให้เหลือเพียง 5435 GWh • เร่งดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพื่อให้ทันกับกำหนดการเดิมที่ระบุไว้ในแผน PDP2010 • เพิ่มการส่งเสริมและพัฒนาการใช้พลังงานหมุนเวียนและการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในระดับ 55% ของศักยภาพทั้งหมด
กรณีพันธกรณี 30% (เป้าหมาย 67.33 ล้านตัน) • ทางเลือก 30D • หยุดการขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงถ่านหินเพิ่มเติมจากที่มีอยู่ในปัจจุบัน (คงระดับการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินนำเข้าไว้ที่ระดับในปี 2553 ที่ 12320 GWh) • คงปริมาณการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงลิกไนต์ แต่ปรับลดการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติลงให้เหลือเพียง 104,017 GWh (ซึ่งใกล้เคียงกับปริมาณการผลิตในปีปัจจุบัน) • เร่งดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพื่อให้ทันกับกำหนดการเดิมที่ระบุไว้ในแผน PDP2010 • เพิ่มการส่งเสริมและพัฒนาการใช้พลังงานหมุนเวียนและการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในระดับ 78% ของศักยภาพทั้งหมด
พิจารณาทางเลือกสำหรับกรณีพันธกรณีระดับ 30% * ทางเลือกที่พิจารณาทั้งหมดเป็นทางเลือกที่เป็นไปได้แต่ค่อนข้างมีปัญหา • ทางเลือก 30A และ 30B (ค่อนข้างเป็นไปได้ยาก) • ยุติการลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ รวมทั้งปลดระวางโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีอยู่ในปัจจุบันออกไปทั้งหมดด้วย • โรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งหมดที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นโรงไฟฟ้าของผู้ผลิตเอกชน และเป็นโรงไฟฟ้าที่ค่อนข้างใหม่ จึงน่าจะเป็นการยากที่จะดำเนินการได้ • ทางเลือก 30C (มีความเป็นไปได้) • ปลดระวางโรงไฟฟ้าแม่เมาะของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าที่มีอายุการใช้งานมายาวนาน และประสบปัญหาการร้องเรียนเรื่องสภาพมลภาวะจากชาวบ้านในพื้นที่พอสมควร • ทางเลือก 30D (มีความเป็นไปได้มากที่สุด) • ไม่ต้องมีการปลดระวางโรงไฟฟ้าก่อนกำหนด • แต่มีความเป็นไปได้มาก/น้อยแค่ไหน ในการที่จะขยายการพึ่งพาการใช้พลังงานหมุนเวียนและการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานไปจนถึงระดับสูงมากถึง 78% ของศักยภาพทั้งหมด
ทางเลือกการผลิตไฟฟ้า ในปี 2020
บทสรุป • ประชาคมโลกมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องร่วมมือร่วมใจกันในการดำเนินการปรับลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงมาอย่างมากและอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เนื่องจากระดับของอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวมของโลกที่มีการปลดปล่อยกันอยู่ในปัจจุบัน มีค่าอยู่ในระดับที่สูงกว่าระดับที่เหมาะสมที่ระบบกายภาพของโลกจะสามารถรองรับได้ในระยะยาวอยู่อย่างมาก • ภายใต้เกณฑ์ข้อเสนอในการจัดสรรพันธกรณีที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ครั้งนี้ทั้งหมด เราไม่พบว่ามีเกณฑ์การจัดสรรใดเลย ที่เลือกจัดสรรให้ประเทศไทยต้องมีพันธกรณี (ในหน่วยของเปอร์เซ็นต์พันธกรณีเทียบกับ BAU) ในระดับที่ต่ำกว่าค่าพันธกรณีเฉลี่ยของ NAI
บทสรุป(ต่อ) • ในกรณีของการลดการปล่อยก๊าซ CO2ในภาคการผลิตไฟฟ้า ประเทศไทยน่าจะมีศักยภาพในการบรรลุเป้าหมายพันธกรณีในระดับ 15% ของ BAUภายในปี 2020 ได้โดยไม่ยุ่งยากมากนัก ขณะที่การบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซ CO2ในระดับพันธกรณี 30% ของ BAUจะเป็นเรื่องที่มีความยุ่งยากมากกว่ามาก แต่ก็ยังมีความเป็นไปได้อยู่
ขอขอบคุณ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อ.ประชา และ คณะทำงานสัมมนา คณะเศรษฐศาสตร์ คณาจารย์ และ เจ้าหน้าที่ คณะเศรษฐศาสตร์ทุกท่าน คุณคมศักดิ์ สว่างไสว และ คุณหิริพงษ์ เทพศีริอำนวย ผู้ช่วยวิจัย