1 / 48

สิทธิและมาตรฐานแรงงาน

สิทธิและมาตรฐานแรงงาน. กธ. 301 ธุรกิจกับสังคมและชุมชน สฤณี อาชวานันทกุล. มาตรฐานแรงงาน. มาตรฐานแรงงาน คือ กฎเกณฑ์ ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับสภาพการจ้างและสภาพการทำงาน เช่น ค่าจ้าง ชั่วโมงทำงาน วันหยุด และความปลอดภัยในการทำงาน

keon
Download Presentation

สิทธิและมาตรฐานแรงงาน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สิทธิและมาตรฐานแรงงานสิทธิและมาตรฐานแรงงาน กธ. 301 ธุรกิจกับสังคมและชุมชน สฤณี อาชวานันทกุล

  2. มาตรฐานแรงงาน • มาตรฐานแรงงาน คือ กฎเกณฑ์ ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับสภาพการจ้างและสภาพการทำงาน เช่น ค่าจ้าง ชั่วโมงทำงาน วันหยุด และความปลอดภัยในการทำงาน • เป้าหมายของการมีมาตรฐานแรงงาน คือเพื่อให้แรงงานได้รับการคุ้มครองอย่างทัดเทียมเสมอภาค ก่อให้เกิดคุณภาพชีวิต มีความปลอดภัย มีแรงงานสัมพันธ์ที่ดี และมีขวัญกำลังใจในการทำงาน

  3. ประเภทของมาตรฐานแรงงานประเภทของมาตรฐานแรงงาน มาตรฐานแรงงานแบ่งเป็น 3 ประเภทหลักๆ ดังนี้ • มาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ คือ อนุสัญญาและข้อแนะ รวมทั้งประกาศอื่นๆ ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) • มาตรฐานแรงงานตามกฎหมาย คือ ข้อบังคับตามกฎหมาย ได้แก่ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน และ พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 • มาตรฐานแรงงานเอกชน คือ ข้อกำหนดที่ประกาศใช้โดยองค์กรพัฒนาเอกชน กลุ่มธุรกิจ และผู้ผลิตสินค้า เช่น SA8000 WRAP ETI ฯลฯ รวมทั้งหลักปฏิบัติของผู้ผลิต เช่น อดีดาส-ซาโลมอน ไนกี้ และ วอลท์ ดิสนีย์ ฯลฯ

  4. ระดับของมาตรฐานแรงงานระดับของมาตรฐานแรงงาน • มาตรฐานแรงงานในระดับสากล • มาตรฐานแรงงานในภูมิภาค เช่น มาตรฐานแรงงานของสหภาพยุโรป มาตรฐานแรงงานของกลุ่มประเทศนอร์ดิก • มาตรฐานแรงงานในระดับกลุ่มการค้าและสถาบันในความร่วมมือ • มาตรฐานแรงงานในระดับชาติ (กฎหมายของประเทศและข้อตกลงร่วมระหว่างประเทศ และมาตรฐานแรงงานไทย) • มาตรฐานแรงงานในระดับอุตสาหกรรม • มาตรฐานแรงงานในระดับสาขาอาชีพ • มาตรฐานแรงงานในระดับสถานประกอบการและกลุ่มบริษัท (จรรยาบรรณธุรกิจด้านแรงงาน หรือสภาพการจ้างในสถานประกอบการ) • มาตรฐานแรงงานในระดับย่อย เช่น ระดับพื้นที่ และกลุ่มกิจกรรมต่างๆ

  5. มาตรฐานที่สำนักพัฒนามาตรฐานแรงงานแนะนำมาตรฐานที่สำนักพัฒนามาตรฐานแรงงานแนะนำ • มาตรฐานแรงงานไทย ความรับผิดชอบทางสังคมของธุรกิจไทย มรท. 8001-2546 (Thai Labor-Standard : TLS 8001-2546) เป็นมาตรฐานที่จัดทำโดยภาครัฐร่วมกับเอกชนมาตรฐานแรงงานว่าด้วยความรับผิดชอบทางสังคม (Social Accountability 8000-SA 8000) เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการส่งออก • มาตรฐานแรงงานว่าด้วยข้อปฏิบัติในสถานที่ทำงาน (Workplace Code of Conduct) • มาตรฐานแรงงานว่าด้วยสมาคมสิทธิคนงาน (Worker Rights Consortium Code of Conduct)

  6. มาตรฐานที่สำนักพัฒนามาตรฐานแรงงานแนะนำ (ต่อ) • มาตรฐานแรงงานว่าด้วยหลักจรรยาบรรณของบริษัท ไนกี้ (Nike Code of Ethics) กำหนดขึ้นโดยบริษัทในเครือไนกี้ เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการผลิตเครื่องกีฬา • มาตรฐานแรงงานว่าด้วยหลักการผลิตที่เป็นสากลทั่วโลก (Mattel Global Manufacturing Principles) • มาตรฐานจริยธรรมพื้นฐานทางการค้า (Ethical Trading Initiative (ETI) Standard) (International Council of Toy Industries Code of Business Practice) (ICTI) เหมาะสมกับอุตสาหกรรมผู้ผลิตของเล่นเด็ก

  7. มาตรฐานแรงงานขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศมาตรฐานแรงงานขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ • องค์กรแรงงานระหว่างประเทศหรือ International Labour Organization (ILO) เป็นองค์กรสากลภายใต้สหประชาชาติ มีบทบาทในการกำหนดมาตรฐานแรงงานสากลในรูปแบบที่รู้จักกันในนาม “อนุสัญญา ILO” เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงด้านสิทธิแรงงานสำหรับสหภาพแรงงานเพื่อใช้ในการส่งเสริมสิทธิของลูกจ้างในการเจรจาต่อรองกับนายจ้างและรัฐบาล โดย ILO มีนโยบายว่าอนุสัญญาหลักมีผลบังคับใช้สำหรับทุกประเทศและทุกบริษัท รวมถึงประเทศที่ยังไม่ได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาหลักของ ILO ด้วย • อนุสัญญาหลักมี 4 เรื่อง (8 อนุสัญญา)

  8. มาตรฐานแรงงานขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ต่อ) • เสรีภาพในการสมาคมและการยอมรับสิทธิการเจรจาต่อรองร่วม(อนุสัญญาฉบับที่ 87 และ 98) ประเทศไทยยังไม่ให้สัตยาบัน • การตั้งองค์กรและการเข้าเป็นสมาชิก เป็นสิทธิการตัดสินใจของคนงานโดยไม่ต้องขออนุญาตใคร • การร่างข้อบังคับและกฎขององค์กร เป็นสิทธิการตัดสินใจของคนงาน • การเลือกผู้แทนขององค์กร เป็นสิทธิการตัดสินใจของคนงาน • การดำเนินกิจการขององค์กร เป็นสิทธิการตัดสินใจของคนงาน • ภาครัฐจะต้องไม่แทรกแซงใดๆ อันส่งผลต่อการจำกัดสิทธิ • ภาครัฐไม่มีสิทธิยุบหรือพักการดำเนินกิจการขององค์กร • การรวมองค์กรเข้าด้วยกัน เป็นสิทธิการตัดสินใจของคนงานและองค์กร

  9. มาตรฐานแรงงานขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ต่อ) • การยกเลิกการใช้แรงงานภาคบังคับทุกรูปแบบ (อนุสัญญาฉบับที่ 29 และ 105) โดย “แรงงานภาคบังคับ” ไม่นับกรณีต่อไปนี้ • งานเกี่ยวกับการทหารที่ต้องทำภายใต้กฏหมายเกณฑ์ทหาร • งานหรือบริการใดๆ ที่ทำในฐานะพลเมืองหรือสมาชิกชุมชน (เช่น ลูกขุน) • งานหรือบริการใดๆ ที่เป็นผลจากคำพิพากษาในชั้นศาล แต่ทั้งนี้บุคคลนั้นต้องทำงานดังกล่าวภายใต้การสอดส่องดูแลของเจ้าหน้าที่รัฐ • งานหรือบริการใดๆ ที่กระทำในภาวะฉุกเฉิน เช่น ภัยธรรมชาติ • การยกเลิกการใช้แรงงานเด็ก = 15 ปี (ฉบับที่ 138 และ 182) • การขจัดการเลือกปฏิบัติในอาชีพและการจ้างงาน (อนุสัญญาฉบับที่ 100 และ 111)

  10. มาตรฐานสากลขององค์กรสหประชาชาติมาตรฐานสากลขององค์กรสหประชาชาติ • UN Global Compact หลักปฏิบัติสากล 10 ประการ ประกาศปี 1999 • สนับสนุนและเคารพการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน • การกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน • เสรีภาพในการสมาคมและการยอมรับสิทธิการเจรจาต่อรองร่วม • ขจัดการใช้แรงงานบังคับทุกรูปแบบ • ยกเลิกการใช้แรงงานเด็ก • ขจัดการเลือกปฏิบัติในอาชีพและการจ้างงาน • สนับสนุนมาตรการ/วิธีการที่ป้องกันความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม • ส่งเสริมแนวทาง/มาตรการที่ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม • ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม • ขจัดการคอรัปชั่นทุกรูปแบบ รวมถึงการติดสินบนและการใช้อำนาจบังคับ

  11. มาตรฐานแรงงานใน SA8000 • No child labor: No workers under the age of 15 • No forced labor • Health and Safety: Provide a safe and healthy work environment; take steps to prevent injuries; regular health and safety worker training; system to detect threats to health and safety; access to bathrooms and potable water • Freedom of Association and Right to Collective Bargaining: Respect the right to form and join trade unions and bargain collectively; where law prohibits these freedoms, facilitate parallel means of association and bargaining • Discrimination: No discrimination based on race, caste, origin, religion, disability, gender, sexual orientation, union or political affiliation, or age; no sexual harassment

  12. มาตรฐานแรงงานใน SA8000 (ต่อ) • Discipline: No corporal punishment, mental/physical coercion or verbal abuse • Working Hours: Comply with the applicable law but, in any event, no more than 48 hours per week with at least one day off for every seven day period; voluntary overtime paid at a premium rate and not to exceed 12 hours per week on a regular basis; overtime may be mandatory if part of a collective bargaining agreement • Compensation: Wages paid for a standard work week must meet the legal and industry standards and be sufficient to meet the basic need of workers and their families; no disciplinary deductions • Management Systems: Facilities seeking to gain and maintain certification must go beyond simple compliance to integrate the standard into their management systems and practices.

  13. กฎหมายแรงงานของไทย • กฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน • กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ • กฎหมายว่าด้วยความร่วมมือกับองค์การไตรภาคี • กฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจ • กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม • กฎหมายว่าด้วยการฝึกอาชีพ • กฎหมายว่าด้วยศาลแรงงาน

  14. กฎหมายคุ้มครองแรงงาน 2541 เวลาทำงาน: • ไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน และ 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ • งานอันตรายตามที่กำหนดในกฎกระทรวงไม่เกิน 7 ชั่วโมงต่อวัน และ 42 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เช่น งานที่ต้องอยู่กับความร้อน หรือมีอุณหภูมิสูงๆ

  15. กฎหมายคุ้มครองแรงงาน 2541 เวลาพัก: • ในวันที่มีการทำงาน ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมงภายใน 5 ชั่วโมงแรกของการทำงาน • นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้าให้มีเวลาพักน้อยกว่าครั้งละ 1 ชั่วโมงก็ได้ แต่ต้องไม่น้อยกว่าครั้งละ 20 นาที และเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง • กรณีงานในหน้าที่มีลักษณะต้องทำติดต่อกันไป หรือเป็นงานฉุกเฉิน โดยหยุดเสียมิได้ นายจ้างจะไม่จัดเวลาพักให้ลูกจ้างก็ได้ แต่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง

  16. กฎหมายคุ้มครองแรงงาน 2541 วันหยุดประจำสัปดาห์ • ต้องไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 วัน โดยมีระยะห่างกันไม่เกิน 6 วัน • ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ (ยกเว้น: ลูกจ้างรายวัน รายชั่วโมง หรือตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย) • นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้าโดยกำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์วันใดก็ได้ • งานโรงแรม งานขนส่ง งานในป่า งานในที่ทุรกันดาร งานประมง งานดับเพลิง และงานอื่นๆ ตามที่กฎกระทรวงกำหนด นายจ้างและลูกจ้างจะต้องตกลงกันล่วงหน้าว่าสามารถสะสมหรือเลื่อนวันหยุดประจำสัปดาห์ไปเมื่อใดก็ได้ แต่ต้องอยู่ในระยะเวลาไม่เกิน 4 สัปดาห์ติดต่อกัน • กรณีที่วันหยุดประจำสัปดาห์ไม่แน่นอน ให้นายจ้างประกาศวันหยุดให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วัน และแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานตรวจแรงงานทราบภายใน 7 วัน วันหยุดตามประเพณี • ต้องไม่น้อยกว่าปีละ 13 วัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติด้วย ถ้าวันหยุดตามประเพณีตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ ให้หยุดชดเชยในวันทำงานถัดไป • ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดตามประเพณี

  17. กฎหมายคุ้มครองแรงงาน 2541 วันหยุดพักผ่อนประจำปี • ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาครบ 1 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีไม่น้อยกว่าปีละ 6 วันทำงาน • ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปี • ถ้าลูกจ้างทำงานยังไม่ครบ 1 ปีจะให้หยุดตามส่วนก็ได้ • นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า หรือกำหนดตามที่ตกลงกัน • นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้าว่า จะสะสมหรือเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีไปรวมหยุดในปีอื่นก็ได้

  18. กฎหมายคุ้มครองแรงงาน 2541 การลา: การลาป่วย • ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยโดยได้รับค่าจ้างตามปกติปีหนึ่งไม่เกิน 30 วันทำงาน การลาคลอด • ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ มีสิทธิลาคลอดก่อนและหลังการคลอดครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วันโดยให้นับรวมวันหยุดที่มีระหว่างวันลาด้วย และให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างที่ลาคลอดเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 45 วัน

  19. กฎหมายคุ้มครองแรงงาน 2541 การลาเพื่อทำหมัน • ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อทำหมันได้ และมีสิทธิลาเนื่องจากการทำหมันตามระยะเวลาที่แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งกำหนด และออกใบรับรองแพทย์ให้ โดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันลานั้นด้วย การลากิจ • ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน โดยไม่ได้รับค่าจ้างในวันลา

  20. กฎหมายคุ้มครองแรงงาน 2541 การลาเพื่อรับราชการทหาร • ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อรับราชการทหาร ในการเรียกพลเพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร หรือเพื่อทดสอบความพร้อม โดยลาได้เท่ากับวันที่ทางทหารเรียก และได้รับค่าจ้างตลอดเวลาที่ลาแต่ไม่เกิน 60 วันต่อปี การลาเพื่อฝึกอบรม • ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อการฝึกอบรม หรือพัฒนาความรู้ความสามารถตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยไม่ได้รับค่าจ้างในวันลานั้น

  21. กฎหมายคุ้มครองแรงงาน 2541 ค่าจ้างและค่าล่วงเวลา: ค่าจ้าง • เป็นเงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้าง สำหรับระยะเวลาการทำงานปกติ เป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ หรือระยะเวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุด และวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงาน แต่มีสิทธิได้รับตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน • ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ

  22. กฎหมายคุ้มครองแรงงาน 2541 การทำงานล่วงเวลาและการทำงานในวันหยุด • ในกรณีที่งานมีลักษณะต้องทำติดต่อกันไป ถ้าหยุดจะเสียหายแก่งาน หรือเป็นงานฉุกเฉิน นายจ้างอาจให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุดเท่าที่จำเป็นก็ได้ • กิจการโรงแรม สถานมหรสพ งานขนส่ง ร้านขายอาหารและเครื่องดื่ม สโมสร สมาคม สถานพยาบาล และกิจการอื่นๆ ตามที่กระทรวงกำหนด นายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดเท่าที่จำเป็นก็ได้ โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างเป็นคราวๆ ไป • ในกรณีที่มีการทำงานล่วงเวลาต่อจากเวลาทำงานปกติไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพัก ไม่น้อยกว่า 20 นาที ก่อนที่ลูกจ้างเริ่มทำงานล่วงเวลา (ยกเว้นงานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานที่ต้องทำติดต่อกันไปโดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง หรือเป็นงานฉุกเฉิน

  23. กฎหมายคุ้มครองแรงงาน 2541 ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด • ถ้าทำงานเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาไม่น้อยกว่า หนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือไม่น้อย หนึ่งเท่าครึ่ง ของอัตราค่าจ้างต่อหน่วย ในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้ สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงาน

  24. กฎหมายคุ้มครองแรงงาน 2541 • ถ้าทำงานในวันหยุดเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตรา สามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน ตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือตามจำนวนผลงานที่ทำได้ สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย • ถ้าทำงานในวันหยุด ในเวลาทำงานปกติ นายจ้างต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้าง ที่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดเพิ่มขึ้นอีก หนึ่งเท่า ของค่าจ้างในวันทำงาน ตามชั่วโมงที่ทำงานในวันหยุด หรือตามจำนวนผลงานที่ทำได้ สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย • สำหรับลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดต้องจ่ายไม่น้อยกว่า สองเท่า ของค่าจ้างในวันทำงานตามชั่วโมงที่ทำงานในวันหยุด หรือตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

  25. กฎหมายคุ้มครองแรงงาน 2541 สวัสดิการ: • สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ให้นายจ้างจัดให้มีคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ ประกอบด้วยผู้แทนฝ่ายลูกจ้างอย่างน้อย 5 คน เพื่อร่วมหารือ และเสนอแนะความเห็นแก่นายจ้าง ในการจัดสวัสดิการสำหรับลูกจ้าง และตรวจตรา ควบคุม ดูแลการจัดสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้าง • สถานประกอบกิจการใดที่มีคณะกรรมการลูกจ้าง ตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์แล้วให้คณะกรรมการลูกจ้างทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ

  26. กฎหมายคุ้มครองแรงงาน 2541 ค่าชดเชย: • ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย หากนายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิด ดังนี้ • ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 120 วันแต่ไม่ครบ 1 ปี มีสิทธิให้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน • ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 1 ปีแต่ไม่ครบ 3 ปี มีสิทธิให้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน

  27. กฎหมายคุ้มครองแรงงาน 2541 • ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปี มีสิทธิให้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน • ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 6 ปีแต่ไม่ครบ 10 ปี มีสิทธิให้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน • ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป มีสิทธิให้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน

  28. กฎหมายคุ้มครองแรงงาน 2541 ค่าชดเชยพิเศษกรณีปรับปรุงหน่วยงาน: • ในกรณีที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุปรับปรุงหน่วยงานกระบวนการผลิต การจำหน่าย หรือการบริการอันเนื่องมาจากการนำเครื่องจักรมาใช้ หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร หรือเทคโนโลยีจึงเป็นเหตุให้ต้องลดจำนวนลูกจ้างลง นายจ้างจะต้องปฏิบัติดังนี้

  29. กฎหมายคุ้มครองแรงงาน 2541 • แจ้งวันที่จะเลิกจ้าง เหตุผลของการเลิกจ้าง และรายชื่อลูกจ้างที่จะถูกเลิกจ้าง ให้ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงานทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 60 วันก่อนวันที่จะเลิกจ้าง • ถ้าไม่แจ้งแก่ลูกจ้างที่จะเลิกจ้างทราบล่วงหน้า หรือแจ้งล่วงหน้าน้อยกว่าระยะเวลา 60 วัน นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลูกจ้าง เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 60 วัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงาน 60 วันสุดท้าย สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย ค่าชดเชยแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านี้ ให้ถือว่านายจ้างได้จ่ายค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมายด้วย

  30. กฎหมายคุ้มครองแรงงาน 2541 • นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้นจากค่าชดเชยปกติดังต่อไปนี้ • ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 6 ปีขึ้นไป นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้นจากค่าชดเชยปกติ ซึ่งลูกจ้างนั้นมีสิทธิได้รับอยู่แล้ว ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 15 วันต่อการทำงานครบ 1 ปี หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 15 วันสุดท้ายต่อการทำงานครบ 1 ปี สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย • ค่าชดเชยพิเศษนี้รวมแล้วต้องไม่เกินค่าจ้างอัตราสุดท้าย 360 วัน หรือไม่เกินค่าจ้างของการทำงาน 360 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วยแต่รวมแล้วต้องไม่เกินค่าจ้างอัตราสุดท้าย 360 วัน • เพื่อประโยชน์ในการคำนวณค่าชดเชย เศษของระยะเวลาทำงานที่มากกว่า 180 วันให้นับเป็นการทำงานครบ 1 ปี

  31. กฎหมายคุ้มครองแรงงาน 2541 • ในกรณีที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้ง ณ สถานที่อื่นอันมีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัว • นายจ้างต้องแจ้งล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้างทราบล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนย้าย ถ้าลูกจ้างไม่ประสงค์จะไปทำงานด้วยลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างได้ โดยได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของอัตราค่าชดเชยปกติ ที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับ • ถ้านายจ้างไม่แจ้งให้ลูกจ้างทราบการย้ายสถานประกอบกิจการล่วงหน้า นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน

  32. กฎหมายคุ้มครองแรงงาน 2541 ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังนี้ • ลูกจ้างลาออกเอง • ทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง • จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย • ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

  33. กฎหมายคุ้มครองแรงงาน 2541 • ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว ซึ่งหนังสือเตือนนั้นต้องมีผลบังคับไม่เกิน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ลูกจ้างได้รับทราบหนังสือเตือน เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน • ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกัน ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร • ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก

  34. กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ 2518 ขอบเขตการบังคับใช้ มิให้ใช้บังคับแก่ (มาตรา 4) • 1.1 ราชการส่วนกลาง • 1.2 ราชการส่วนภูมิภาค • 1.3 ราชการส่วนท้องถิ่น • 1.4 ราชการกรุงเทพมหานค • 1.5 กิจการรัฐวิสาหกิจ ตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ • 1.6 กิจการอื่นตามกำหนดในพระราชกฤษฎีกา • (ปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นกิจการที่อยู่นอกข่ายบังคับของกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ โดยได้มีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดกิจการที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ไม่ใช้บังคับ พ.ศ. 2523 ขึ้น)

  35. กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ 2518 • ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง คือ ข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง หรือระหว่างสมาคมนายจ้างกับสหภาพแรงงานที่เกี่ยวกับสภาพการจ้าง เช่น เงื่อนไขการจ้างงาน การทำงาน กำหนดวันและเวลาทำงาน ค่าจ้าง สวัสดิการ การเลิกจ้าง หรือประโยชน์อื่นของนายจ้างหรือลูกจ้างอันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงาน • ข้อพิพาทแรงงาน คือ ข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง เกี่ยวกับสภาพการจ้าง • คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ประกอบด้วยตัวแทนฝ่ายนายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาล ทำหน้าที่วินิจฉัย และชี้ขาดพิพาทแรงงาน พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำอันไม่เป็นธรรม มีอำนาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงาน

  36. กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ 2518 ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง • สถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 20 คนขึ้นไปต้องจัดให้มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไว้เป็นหนังสือ หากไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอยู่แต่เดิม ให้ถือว่าข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง (มาตรา 10) • อายุของข้อตกลงมีผลใช้บังคับภายในระยะเวลาที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกัน แต่ไม่เกิน 3 ปี ถ้าไม่กำหนดเวลาไว้ ให้ถือว่ามีผลบังคับใช้ 1 ปีนับแต่วันที่ได้ตกลงกัน หรือให้นับจากวันที่ลูกจ้างเข้าทำงานแล้วแต่กรณี • เมื่อข้อตกลงฯ สิ้นสุดลง และมิได้มีการเจรจาตกลงกันใหม่ ให้มีผลใช้บังคับต่อไปอีกคราวละ 1 ปี (มาตรา 12)

  37. กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ 2518 • การปิดงาน (lockout) คือการที่นายจ้างปฎิเสธไม่ยอมให้ลูกจ้างเข้าทำงานชั่วคราว เนื่องจากข้อพิพาทแรงงาน • การนัดหยุดงาน (strike) คือ การที่ลูกจ้างร่วมกันไม่ทำงานชั่วคราว เนื่องจากข้อพิพาทแรงงาน • คณะกรรมการลูกจ้าง ทำหน้าที่ประชุมหารือกับนายจ้างอย่างน้อยสามเดือนครั้ง ในเรื่องจัดสวัสดิการแก่ลูกจ้าง พิจารณาคำร้องทุกข์ของลูกจ้าง หาทางปรองดองระงับข้อขัดแย้ง กำหนดข้อบังคับที่เป็นประโยชน์ต่อนายจ้างและลูกจ้าง

  38. กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ 2518 • สมาคมนายจ้าง คือ องค์กรของนายจ้างที่จัดตั้งขึ้นตาม พรบ.นี้ เช่น สมาคมนายจ้างอิเล็กโทรนิคส์ สมาคมเครื่องนุ่งห่ม • สหภาพแรงงาน คือ องค์กรลูกจ้างที่จัดตั้งขึ้นตาม พรบ. นี้ • องค์การของสมาคมนายจ้าง หรือลูกจ้างตั้งแต่สองสมาคมขึ้นไป ที่จัดตั้งขึ้นตาม พรบ. นี้ – 15 คนจัดตั้งสหภาพแรงงาน 2 สมาคมนายจ้าง หรือ 2 สหภาพแรงงาน จัดตั้งสหพันธ์ 5 สหพันธ์นายจ้าง หรือ 5 สหพันธ์ลูกจ้าง จัดตั้ง สภาฯ

  39. แรงงานสัมพันธ์ ในอดีต • เป็นเรื่องของสิทธิ • ท้าทายอำนาจบริหาร • ใช้วิธีการรุนแรง • เผชิญหน้า • เจรจาเพื่อผลแพ้ชนะ • ขาดการมีส่วนร่วม ปัจจุบัน • เน้นการให้ข้อมูลสื่อสาร • ใช้ระบบการปรึกษาหารือ • มีความไว้วางใจกันมากขึ้น • ยุติธรรมขึ้น • โปร่งใสขึ้น • เจรจาต่อรองด้วยเหตุผล

  40. แรงงานสัมพันธ์ • การขูดรีด • ใช้วิธีการรุนแรง • เผชิญหน้า • เจรจาเพื่อผลแพ้ชนะ • ขาดการมีส่วนร่วม • ขาดการสนับสนุนจากฝ่ายจัดการ

  41. แรงงานสัมพันธ์ • ลูกจ้างได้มีส่วนร่วมในการบริหาร เช่น กิจกรรมข้อเสนอแนะ คณะกรรมการต่างๆ 5ส QCC เป็นต้น • และรับรู้ข่าวสารมากขึ้น เช่น การเงินบริษัท ผลประกอบการ การขยายกิจการ เป็นต้น • การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม เช่น คณะกรรมการลูกจ้าง คณะกรรมการสหภาพ • เน้นการสื่อสารสองทาง

  42. แรงงานสัมพันธ์ • การฝึกอบรมในเรื่องต่างๆ เช่น ทักษะการรับเรื่องราวร้องทุกข์ให้มีประสิทธิภาพ ทักษะการสื่อสาร การแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ • ส่งเสริมนักแรงงานสัมพันธ์มืออาชีพ • ให้พนักงานมีส่วนร่วมทางการเงิน แบ่งปันผลกำไร profit sharing / Incentive / หุ้น เป็นต้น • ผู้บริหารระดับสูงต้องแถลงนโยบาย แรงงานสัมพันธ์ • สวัสดิการของพนักงาน เช่น การรักษาพยาบาล เงินสงเคราะห์สหกรณ์

  43. บทบาทของนายจ้างในการเสริมสร้างแรงงานสัมพันธ์บทบาทของนายจ้างในการเสริมสร้างแรงงานสัมพันธ์ • มีนโยบายแรงงานสัมพันธ์ที่ชัดเจน • ใช้ระบบการปรึกษาหารือ • ฝ่ายจัดการควรกำหนดกรอบและทิศทางที่จะร่วมมือกับลูกจ้าง • ฝ่ายจัดการควรตั้งงบประมาณ • หัวหน้างาน ระดับบริหารทุกระดับจะต้องได้รับการถ่ายทอดนโยบาย • ฝึกอบรมหัวหน้างานให้มีทักษะด้านแรงงานสัมพันธ์ • ให้โอกาสพนักงานได้แสดงความคิดเห็น

  44. บทบาทของลูกจ้างในการเสริมสร้างแรงงานสัมพันธ์บทบาทของลูกจ้างในการเสริมสร้างแรงงานสัมพันธ์ • พนักงานต้องมีวินัย และจริยธรรมในการทำงาน • ต้องตระหนักว่าลูกจ้าง นายจ้างมีผลประโยชน์ร่วมกัน • ศึกษาความรู้ด้านสภาวะตลาด การลงทุน และเศรษฐกิจ

  45. การเจรจาต่อรอง (Collective Bargaining) • เสนอหรือรับเงื่อนไขไปพิจารณา • มาตรการกดดันที่กฎหมายรองรับ • สิทธิการนัดหยุดงาน • สิทธิการปิดงาน • ความเสียหายหากไม่ยอมรับข้อเสนอ • ชื่อเสียง • การผลิต • รายได้ (ทั้งสองฝ่าย)

  46. สรุปความหมายของการเจรจาต่อรองของแรงงานสัมพันธ์สรุปความหมายของการเจรจาต่อรองของแรงงานสัมพันธ์ • เป็นการเจรจาต่อรองกันระหว่างสองฝ่าย คือนายจ้างและลูกจ้าง • เนื้อหาการเจรจาต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเงื่อนไขการจ้าง การำงาน หรือสภาพการจ้างเท่านั้น • ต้องมีอำนาจในการต่อรองเป็นองค์ประกอบพื้นฐาน • การเจรจามีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อยุติ และพอใจทั้งสองฝ่าย

  47. ขั้นตอนการเจรจาต่อรองตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ขั้นตอนการเจรจาต่อรองตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ • ยื่นข้อเรียกร้อง พนักงานต้องใช้ 15 % ของพนักงานทั้งหมด, สหภาพต้องมีสมาชิก 20 %, ยื่นก่อนข้อตกลงเดิมหมดอายุ 30 วัน • เจรจาภายใน 3 วัน • ถ้าตกลงได้ นำไปจดทะเบียนภายใน 15 วัน • ถ้าตกลงไม่ได้ ถือเป็นข้อพิพาทแรงงาน พนักงานประนอมต้องมาไกล่เกลี่ยภายใน 5 วัน • ถ้าตกลงได้ นำไปจดทะเบียนภายใน 15 วัน • หากยังตกลงกันไม่ได้อีก ถือเป็นข้อพิพาทที่ตกลงกันไม่ได้

  48. ขั้นตอนการเจรจาต่อรองตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ขั้นตอนการเจรจาต่อรองตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ • ระหว่างที่มีข้อพิพาทที่ตกลงกันไม่ได้ สหภาพอาจนัดหยุดงาน หรือนายจ้างอาจปิดงาน ระหว่างปิดงานหรือหยุดงานรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้กลับเข้าทำงานได้ • ทั้งสองฝ่ายตั้งอนุญาโตตุลาการ • ให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ (ครส.) ชี้ขาด • หากไม่พอใจคำตัดสิน ครส ให้อุทธรณ์กับรัฐมนตรีภายใน 7 วัน • หากยังไม่พอใจก็ฟ้องศาลได้

More Related