1 / 16

บทที่ 7 ปัญหาในชนบท

บทที่ 7 ปัญหาในชนบท.

Download Presentation

บทที่ 7 ปัญหาในชนบท

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 7ปัญหาในชนบท ราชบัณฑิตยสถาน (2542) ได้ให้ความหมายไว้ว่า ชุมชนชนบท หมายถึง พื้นที่ส่วนที่อยู่นอกเขตเมือง หรือ เขตเทศบาล มีประชากรที่เลี้ยงชีพด้วยการเกษตรกรรมเป็นสำคัญ มีระเบียบสังคมที่สอดคล้อง กับลักษณะชุมชนแบบหมู่บ้าน ตั้งบ้านเรือนเป็นกลุ่มก้อน หรือกระจัดกระจายตามลักษณะภูมิประเทศ หรือประเพณีนิยม

  2. ชุมชนบ้านแม่สามแลบ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

  3. ประชากรที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในชนบทของประเทศไทยมีประมาณ คิดเป็นร้อยละ 70.5 ของประชากรทั้งประเทศ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร ส่วนประชากรที่เหลืออีกร้อยละ 29.5 ประกอบอาชีพ * ช่างและกรรมกร * ผู้ปฏิบัติงานในขบวนการผลิต * การบริการ การค้า * นักวิชาการ ข้าราชการ ผู้ทำงานบริหาร

  4. ปัญหาเกี่ยวกับอาชีพการเกษตร ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาประชากร รวมทั้งปัญหาสาธารณูปโภคต่างๆ 1. การขาดแคลนเงินทุน 2. การขาดแคลนน้ำ 3. ราคาผลผลิตต่ำ พ่อค้าคนกลางกดราคา 4. ที่ดินทำกินน้อยเกินไป 5. อัตราดอกเบี้ยสูงเกินไป 6. ขาดแคลนการดูแลเอาใจใส่จากเจ้าหน้าที่ 7. ขาดแคลนแรงงาน 8. ไม่มีใครมาส่งเสริมวิชาการทำฟาร์ม 9. ดินไม่ดี 10. มีโรคและสัตว์รบกวน

  5. 1. ปัญหาเศรษฐกิจ ตารางที่ 7.1 แสดงจำนวนและร้อยละของคนยากจนในชนบทแยกเป็นรายภาค พ.ศ.2522 จากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2522 ปรากฏว่าประชากรไทยมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวเท่ากับ 5,849 บาทต่อปี ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ เป็นภาคที่มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่ำสุดคือ 4,991 บาท และ 8,781 บาทต่อปี สำหรับภาคกลาง (ไม่รวมกรุงเทพฯ) และภาคใต้เป็นภาคที่ประชากรมีรายได้ปานกลาง คือเฉลี่ยต่อหัว 14,706 บาทและ 12,683 บาทต่อปี ภาคตะวันออกและกรุงเทพฯ เป็นบริเวณที่ประชากรมีฐานะดีที่สุด คือ รายได้เฉลี่ยต่อหัวประมาณ 23,774 บาท และ 30,161 บาทต่อปีตามลำดับ

  6. 1.1 รายได้ไม่แน่นอน 1.1.1 ปริมาณน้ำมากเกินไปจนอยู่ในภาวะน้ำท่วม กับการขาดแคลนน้ำ 1.1.2 ราคาผลผลิต ก. พ่อค้ารวมสินค้าในท้องถิ่นคือพ่อค้าที่ทำหน้าที่ซื้อสินค้าจากเกษตรกรโดยตรง ข. พ่อค้าคนกลาง คือพ่อค้าที่รับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรเป็นส่วนใหญ่หรือซื้อจากพ่อค้าผู้รวบรวมสินค้าเกษตรกรรมในท้องถิ่น ค. พ่อค้าขายส่ง เป็นพ่อค้าที่รับซื้อสินค้าจากพ่อค้าคนกลาง หรือจากโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปแล้วขายให้กับพ่อค้าขายปลีกหรือพ่อค้าผู้ส่งออก ง. พ่อค้าขายปลีก เป็นพ่อค้าที่ทำหน้าที่รับซื้อสินค้าจากพ่อค้าขายส่ง หรืออาจรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร แล้วนำผลผลิตดังกล่าวขายให้แก่ผู้บริโภคอีกครั้งหนึ่ง 1.1.3 แมลงและโรคพืช

  7. 1.2 ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง 1.2.1 การถือครองที่ดิน เมื่อ พ.ศ. 2506 เกษตรกรในชนบทที่มีที่ดินถือครองเฉลี่ยครอบครัวละ 16 ไร่ พ.ศ.2513 ขนาดถือครองที่ดินลดลงเหลือ 15.8 ไร่ พ.ศ.2518 ลดลงเหลือ 14.7 ไร่ และคาดว่าใน พ.ศ.2528 จะลดลงเหลือครอบครัวละ 11.6 ไร่ ในจำนวนครอบครัวที่มีพื้นที่ถือครองขนาดเล็กปรากฏว่า ในภาคเหนือมีมากที่สุด 1.2.2 การเช่าที่ดินทำกิน เกษตรกรในภาคกลางมีผู้เช่าที่ดินมากที่สุด รองลงมาคือภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามลำดับ 1.2.3 การไร้ที่ดินทำกิน คือ เกษตรกรที่มิได้ถือครองที่ดินในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง แต่ยังคงประกอบอาชีพทางการเกษตรในฐานะลูกจ้างในพื้นที่เกษตร

  8. 1.3 ทุน ในการผลิตทางการเกษตร คำว่า ทุน หมายถึงทุนที่นำมาใช้เพื่อการเกษตร เช่น เงินทุน พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ เครื่องมือเครื่องจักร ยานพาหนะ และอาหารที่ใช้ในการบริโภคระหว่างฤดูกาลผลิต เป็นต้น 1.3.1 ขาดเงินทุน 1.3.2 ภาวการณ์มีหนี้สินมาก

  9. 2. ปัญหาสังคม 2.1 ปัญหาประชากร ประชากรในชนบทเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งมีถึงร้อยละ 70 ของประชากรทั้งประเทศ 2.1.1 ขนาดของครอบครัวหัวหน้าครอบครัวเป็นภาระในการเลี้ยงดูคนเหล่านี้ 2.1.2 การอพยพย้ายถิ่น การอพยพย้ายถิ่นของชาวชนบทเข้าสู่เมืองมีผลเสียต่อชนบทเอง เพราะจะหาแรงงานที่ช่วยในการเกษตรได้น้อย ก. สาเหตุทางธรรมชาติ อันได้แก่ ความแห้งแล้งของพื้นที่ โรคระบาด ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ข. สาเหตุทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ไม่มีที่ทำกิน ผลผลิตได้น้อยไม่คุ้มกับการลงทุน ครอบครัวฐานะยากจน ค. สาเหตุทางสังคม ได้แก่ การมีลูกมากไม่สามารถเลี้ยงดูได้ทั่วถึงและมีแรงงานในครอบครัวเหลือพอที่จะออกไปหางานต่างกัน

  10. การอพยพย้ายถิ่นไปทำงานในตะวันออกกลางของประชากรในชนบทมีจำนวนเพิ่มขึ้น เพราะผู้ที่ไปทำงานจะมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 7,000-17,500 บาท การย้ายถิ่นของชาวชนบทไปทำงานในตะวันออกกลาง เริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2518 และประเทศที่ไปทำงานมากได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย อิหร่าน คูเวต ลิเบีย อิรัก เป็นต้น โดยมีจำนวนผู้อพยพเพิ่มมากขึ้นทุกปี คนไทยที่ไปทำงานดังกล่าวส่วนมากเป็นแรงงานฝีมือที่สำคัญ เช่น ช่างปูน ช่างไม้ ช่างไฟฟ้า ช่างเหล็ก รวมทั้งพวกแรงงานไร้ผีมือ เช่น กรรมกรแบกหาม พนักงานทำความสะอาด เป็นต้น

  11. 2.1.3 การศึกษา ประชากรในชนบทส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำโดยจบการศึกษาในระดับหลักสูตรภาคบังคับ สาเหตุที่ทำให้คนในชนบทได้รับการศึกษาน้อย คือ ก. การศึกษาขยายไปไม่ถึง โรงเรียนมีน้อย จำนวนครูและอุปกรณ์มีไม่เพียงพอ ข. ปัญหาครอบครัวในชนบท เช่น ความยากจนไม่สามารถจัดหาอุปกรณ์จำพวกเสื้อผ้า รองเท้าอุปกรณ์การเรียน ให้บุตรหลานไปโรงเรียนได้ รวมทั้งการมีบุตรหลานคนทำให้คนพี่ต้องดูแลน้องเพราะพ่อแม่ต้องออกไปทำงานในไร่นา ค. ไม่สนใจและไม่เห็นคุณค่าของการศึกษา เพราะทำให้เสียเวลาทำมาหากิน ง. การคมนาคมไม่สะดวกเนื่องจากบ้านอยู่ไกลจากโรงเรียนมาก

  12. 2.1.4 สุขภาพอนามัย ก. ด้านโภชนาการ บริโภคอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าของอาหาร ข. ขาดแคลนอาหารบริโภค ซึ่งอาจมีสาเหตุจากความยากจนไม่มีเงินซื้ออาหาร ไกลตลาดไม่สามารถไปหาซื้ออาหารได้ การคมนาคมไม่สะดวก ค. ขาดความสนใจต่อสุขภาพของตนเอง เวลาเจ็บป่วยมักจะไม่ค่อยรักษา ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติหรือบางคนอาจใช้การรักษาพยาบาลด้วยหมอกลางบ้านหรือการซื้อยารับประทานเอง ง. การบริการด้านสาธารณสุขไม่เพียงพอ จ. การรักษาความสะอาด เพราะความไม่สะอาดเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย ครอบครัวในชนบทแต่ละครอบครัวไม่นิยมการสร้างส้วม

  13. 2.2 การกระจายบริการของรัฐ 2.2.1 การคมนาคม 2.2.2 ไฟฟ้า 2.2.3 น้ำสะอาดเพื่อบริโภค

  14. Question ?

More Related