200 likes | 308 Views
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ. การปฏิวัติสารสนเทศ (Information Revolution). สังคมสารสนเทศ (Information Society). สังคมความรู้ (Knowledge Society). ข้อมูลกับสารสนเทศ.
E N D
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
การปฏิวัติสารสนเทศ (Information Revolution) สังคมสารสนเทศ (Information Society) สังคมความรู้ (Knowledge Society)
ข้อมูลกับสารสนเทศ “ข้อมูล” (Data) หมายถึง สิ่งที่บอกความเป็นไปของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น บอกสภาพการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอาจเป็นตัวอักษร ตัวเลข หรือรูปภาพ
หากพิจารณาในแง่ขององค์การ ข้อมูลแบ่งเป็น 1. ข้อมูลภายใน งบประมาณ • ข้อมูลการปฏิบัติงานของฝ่ายต่างๆ ค่าใช้จ่าย พัสดุคงคลัง
2. ข้อมูลภายนอก • ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจการดำเนินงานของหน่วยงานอื่นข้อมูลของบริษัทคู่แข่ง
หากพิจารณาในแง่ของการบันทึกข้อมูลเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลอาจจัดแบ่งเป็น 1. ข้อมูลเชิงจำนวน (Numeric Data) เป็นข้อมูลที่บันทึกเป็นตัวเลข และอาจนำมาใช้คำนวณได้ เช่น ข้อมูลเงินเดือนข้าราชการในสถาบันราชภัฏสวนดุสิต หรือข้อมูลนักท่องเที่ยวที่เข้าใช้บริการห้องพักของโรงแรมดุสิตเพลสปี 2546
2. ข้อมูลอักขระ (Character Data) หรือข้อความ (Text) เป็นข้อมูลที่เป็นตัวอักษรและสัญลักษณ์ ที่แสดงออกมาได้ จัดเรียงลำดับได้ แต่นำไปคำนวณไม่ได้ เช่น ชื่อข้าราชการ และรหัสหน่วยงาน เป็นต้น
3. ข้อมูลกราฟิก (Graphical Data) เป็นข้อมูลที่เป็นจุดพิกัดของรูปหรือแผนที่ที่ใช้ในการสร้างรูปและแผนที่ ปัจจุบันนิยมนำมาใช้ในการออกแบบสินค้า ผลิตภัณฑ์ แบบก่อสร้างอาคาร และแผนที่
4. ข้อมูลภาพลักษณ์ (Image) เป็นข้อมูลที่แสดงความเข้มและสีของรูปภาพหรือเอกสารที่ใช้เครื่องสแกนเนอร์บันทึกไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลประเภทนี้สามารถแสดงผ่านทางจอภาพ ย่อหรือขยาย และตัดต่อได้ แต่ไม่สามารถนำมาใช้คำนวณหรือดำเนินการอย่างอื่นได้
“สารสนเทศ” หรือ “สารนิเทศ” (Information) เป็นข้อความรู้ที่เกิดจากการประมวลหรือสังเคราะห์ (Synthesis) จากข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการวางแผน การพัฒนา การควบคุม และการตัดสินใจ
ข้อมูล การประมวลผล สารสนเทศ
ประโยชน์ของข้อมูลและสารสนเทศประโยชน์ของข้อมูลและสารสนเทศ • ด้านการวางแผน • การจัดการองค์การ • การบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ • กระบวนการผลิตสินค้า การตลาด
2. ด้านการตัดสินใจ เพื่อเลือกแนวทางหรือทางเลือกที่มีปัญหาน้อยที่สุดในการแก้ปัญหาต่าง ๆ
3. ด้านการดำเนินงาน - ใช้เพื่อควบคุมหรือติดตามผลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับกฎระเบียบ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์การ
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology :IT) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(Informationand Communication Technologies:ICTs) ดร.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วยเทคโนโลยีสำคัญ 2 สาขา คือ 1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 2. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จะช่วยทำงานด้านการจัดเก็บ บันทึก และประมวลผลข้อมูลให้รวดเร็วและถูกต้อง
2. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมจะช่วยส่งผลลัพธ์ของการใช้งานคอมพิวเตอร์ไปยังผู้ใช้ที่อยู่ห่างไกลได้อย่างรวดเร็วและสะดวก
เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ข้อความหรือตัวอักษร และตัวเลข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์