1 / 42

ระบบงานบำบัดเด็กและเยาวชน และการทำงานเชิงสหวิชาชีพ

ระบบงานบำบัดเด็กและเยาวชน และการทำงานเชิงสหวิชาชีพ. โครงการพัฒนาหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นและระบบงานพฤตินิสัย โดย นางสาวดวงพร อุกฤษณ์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ชำนาญการพิเศษ วันที่ 25 มกราคม 2553. แนวทางการบรรยาย. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง 1. กรอบแนวคิดเรื่องความปลอดภัย

kelvin
Download Presentation

ระบบงานบำบัดเด็กและเยาวชน และการทำงานเชิงสหวิชาชีพ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระบบงานบำบัดเด็กและเยาวชนและการทำงานเชิงสหวิชาชีพระบบงานบำบัดเด็กและเยาวชนและการทำงานเชิงสหวิชาชีพ โครงการพัฒนาหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นและระบบงานพฤตินิสัย โดย นางสาวดวงพร อุกฤษณ์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ชำนาญการพิเศษ วันที่ 25 มกราคม 2553

  2. แนวทางการบรรยาย ประเด็นที่เกี่ยวข้อง 1. กรอบแนวคิดเรื่องความปลอดภัย 2. กรอบแนวคิดเกี่ยวกับสหวิชาชีพ 3. กรอบแนวทางปฏิบัติงานด้านการบำบัดแก้ไขฟื้นฟูเด็ก/เยาวชนในสถานควบคุม

  3. ปรัชญา แนวความคิดพื้นฐานในการปฏิบัติงานในสถานควบคุม SAFETY & SECURITY RIGHT TREATMENT Education Rehabilitation

  4. Institutional Security and the Correctional Education Staff(USA) “ กระบวนการด้านการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการดำเนินการด้านระเบียบวินัยของสถานควบคุม ถ้าปราศจากกระบวนการด้านการรักษาความปลอดภัยแล้ว สถานควบคุมจะไม่เกิดความปลอดภัยและกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น โปรแกรมด้านการศึกษา โปรแกรมด้านการบำบัดแก้ไขฟื้นฟู ฯลฯ จะไม่สามารถดำเนินการไปได้อย่างเหมาะสม“

  5. บทบาทการรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ด้านการศึกษาเพื่อการบำบัดแก้ไขบทบาทการรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ด้านการศึกษาเพื่อการบำบัดแก้ไข “เจ้าหน้าที่ด้านการศึกษามีบทบาทสำคัญหรือเป็นหลักในด้านการรักษาความปลอดภัยของสถานควบคุมถึงแม้ว่างานอันดับแรกของเจ้าหน้าที่ด้านการศึกษาคือการให้บริการทางด้านการศึกษาและกิจกรรมต่าง ๆ แต่พวกเขาต้องทำงานเป็นส่วนหนึ่งของการช่วยเหลือเพื่อดำรงไว้ซึ่งความปลอดภัยและการรักษาสภาพแวดล้อมให้เกิดความปลอดภัย”

  6. ข้อแนะนำพื้นฐานในการปฏิบัติ(1)ข้อแนะนำพื้นฐานในการปฏิบัติ(1) 1. ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านการรักษาความปลอดภัยโดยการสังเกตและรายงานถึงสิ่งที่ต้องสงสัยหรือกิจกรรมที่ไม่ปกติและโดยการประสานงานในฐานะเดียวกับเป็นเจ้าหน้าที่ด้านการรักษาความปลอดภัยที่ปฏิบัติงานในหน้าที่ 2. เชื่อฟังเคารพระเบียบของสถานควบคุมและกำหนดให้เด็ก/เยาวชนปฏิบัติเช่นเดียวกัน และต้องรายงานทุกครั้งที่มีการฝ่าฝืนระเบียบ 3. ถ้าเกิดความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่ด้านการศึกษาและเจ้าหน้าที่ด้านการรักษาความปลอดภัย รายงานจะต้องถูกส่งขึ้นไปตามลำดับชั้นของการบังคับบัญชาและห้ามการพูดคุยกันในเรื่องนี้กับ/หรือต่อหน้าเด็ก/เยาวชน

  7. ข้อแนะนำพื้นฐานในการปฏิบัติ(2)ข้อแนะนำพื้นฐานในการปฏิบัติ(2) 4. ต้องทำการตรวจพื้นที่ทำงานในส่วนที่รับผิดชอบเพื่อค้นหาสิ่งของต้องห้าม เป็นครั้งคราว 5. ต้องดูแลรักษาสิ่งของต้องห้ามเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่ในรายการและที่ตั้งอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของตนเอง 6. รักษาความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนอย่างเข้มงวดในฐานะนักวิชาชีพ ห้ามการมีความสัมพันธ์เป็นการส่วนตัว 7. ต้องเรียนรู้ทุกครั้งที่มีเวลาในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการด้านการรักษาความปลอดภัย โดยการมีส่วนร่วมในการฝึกอบรมหรือโดยการอ่านและการสอบถาม

  8. ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมและบุคลิกภาพ(1)ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมและบุคลิกภาพ(1) สภาพแวดล้อมของสถานควบคุมและบุคลิกภาพของเจ้าหน้าที่ใน การให้ความช่วยเหลือแก่เด็ก/เยาวชนก่อให้เกิดโอกาสที่จะแสดง พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเป็นอย่างมาก เจ้าหน้าที่ด้านการศึกษาควร ฝึกฝนระมัดระวังเป็นพิเศษในเรื่องดังกล่าวต่อไปนี้ 1. ความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างเจ้าหน้าที่กับเด็กและเยาวชนหรืออื่น ๆ ที่นอกเหนือไปจากความสัมพันธ์ฉันท์ครูกับศิษย์ เป็นอันตรายทั้งต่อครูและเด็ก/เยาวชนรวมทั้งสถานควบคุม 2. ความลำเอียง การปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดต้องเท่าเทียมกัน การลำเอียงนำไปสู่การนินทา ความอิจฉา และความเดือดร้อน

  9. ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมและบุคลิกภาพ (2) 3. สิ่งของต้องห้าม อาคารสถานที่ของโรงเรียน โรงฝึกวิชาชีพ หรือสถานที่จัดกิจกรรมต่าง ๆ และวัสดุอุปกรณ์ ก่อให้เกิดโอกาสที่เด็กและเยาวชนได้มาซึ่งและทำการปิดบังซ่อนเร้นสิ่งของที่ไม่ได้รับอนุญาต อย่างเช่น อาวุธ 4. การค้าขายและการแลกเปลี่ยนสิ่งที่ผิดกฎหมาย ในพื้นที่ของสถานควบคุมในส่วนที่เป็นโรงเรียน โรงฝึกวิชาชีพ หรือสถานที่จัดกิจกรรมต่าง ๆ มักจะถูกใช้เป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนทั้งสิ่งที่ผิดและไม่ผิดกฎหมายเพราะพื้นที่เหล่านี้ยากต่อการควบคุมเมื่อเทียบกับห้องควบคุมตัว/หอนอน

  10. ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมและบุคลิกภาพ (3) 5.การใช้กำลังบังคับ การบังคับขู่เข็ญ ภาษา ในบางครั้งเด็ก/เยาวชนอาจจะกลายมาเป็นผู้ไม่ปฏิบัติตามระเบียบวินัยของสถานควบคุม ถ้าเป็นเช่นนั้น ไม่ให้ใช้กำลังทางกาย ขู่เข็ญ หรือใช้ภาษาที่แสดงถึงความก้าวร้าว การสบประมาทด้วยคำพูด คำพูดที่หยาบคาย หรือการใช้ภาษาแสลงที่ไม่เป็นที่ยอมรับ ห้ามโต้เถียง ห้ามทำให้ขายหน้า หรือการตำหนิต่อหน้าสาธารณะ 6. ถ้าในพื้นที่ของโรงเรียนโรงฝึกวิชาชีพ หรือสถานที่จัดกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ได้รับการควบคุมหรือจัดการที่เหมาะสมอาจจะเปิดโอกาสให้ผู้กระทำผิดเข้าไปพัวพันในพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เป็นที่ยอมรับได้

  11. ขอบเขต/เกณฑ์ด้านการรักษาความปลอดภัยในระดับปกติ (1) 1. การตรวจค้น (shakedown) เพื่อตรวจค้นพื้นที่หรือผู้กระทำผิดเป็นรายคนเพื่อค้นหาสิ่งของต้องห้าม 2. การนับ (count) การนับจำนวนผู้ถูกควบคุมที่เป็นการนับหลักของสถานควบคุมในหนึ่งวันจะต้องมีหลายครั้ง ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าไม่ผู้ใดหลบหนี ในบางกรณี การนับอาจจะเป็นการรบกวนโปรแกรมการเรียนแต่เป็นหน้าที่ที่สำคัญอย่างยิ่งของสถานควบคุม 3. คณะกรรมการจำแนกประเภท (Classification Committee)กระบวนการของคณะกรรมการถูกใช้เพื่อกำหนดปัญหาและความบกพร่อง ของเด็ก/เยาวชน และเพื่อวางแผนตามโปรแกรมการบำบัดฟื้นฟู

  12. ขอบเขต/เกณฑ์ด้านการรักษาความปลอดภัยในระดับปกติ (2) 4. การกำหนดพื้นที่พักอาศัย (Housing assignment) การกำหนดสถานที่นอน การจัดห้องขังเดี่ยว บางครั้งอาจใช้คำว่า “บ้าน” 5. การรายงานด้านระเบียบวินัย (Disciplinary Report)อธิบายวิธีการรายงานเด็ก/เยาวชนที่ฝ่าฝืนกฎระเบียบ เจ้าหน้าที่ด้านการศึกษาจะต้องถูกฝึกฝนและสร้างความรับผิดชอบในการเขียนรายงานข้อเท็จจริง 6. การเรียกผู้ป่วย (Sick Call) สำหรับผู้กระทำผิดที่มีรายงานว่าป่วยและรายงานไปยังสถานพยาบาลที่ได้รับการเรียกตัว จะต้องมีการกำหนดรายการจ่ายยาให้กับเด็ก/เยาวชน

  13. ขอบเขต/เกณฑ์ด้านการรักษาความปลอดภัยในระดับปกติ (3) 7. การกั้นเขตเฉพาะ (Lockup) หลักเกณฑ์เพื่อใช้ในการอธิบายการบริหารจัดการด้านการแยกประเภท หรือพื้นที่สำหรับผู้กระทำผิดที่จัดให้แก่เด็ก/เยาวชนที่ฝ่าฝืนกฎระเบียบ หรือสำหรับการคุ้มครอง 8. การปิดล็อค (Lockdown) เมื่อเด็ก/เยาวชนทุกคนได้เข้าไปอยู่ในห้องหรือในเขตบ้านหรือหอนอนแล้ว การใช้งานตามปกติของอาคารสถานที่รวมทั้งโรงเรียนโรงฝึกวิชาชีพ หรือสถานที่จัดกิจกรรมต่าง ๆ จะต้องหยุดทำการใด ๆ เช่นกัน

  14. การเคารพและปกป้องเกียรติและสิทธิอันพึงมีตามมาตรฐานสิทธิของเด็กและเยาวชนของเจ้าหน้าที่ (1) 1. การป้องกันเด็ก/เยาวชนจากการกระทำอันเป็นการทรมาน โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือ การลงโทษที่ทำให้อับอาย 2. การคัดค้านและต่อสู้เมื่อเกิดการทุจริตและรายงานแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทันที 3. การเคารพกฎระเบียบและรายงานแก่ผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ซึ่งทำการละเมิดกฎ

  15. การเคารพและปกป้องเกียรติและสิทธิอันพึงมีตามมาตรฐานสิทธิของเด็กและเยาวชนของเจ้าหน้าที่ (2) 4. การป้องกันด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็ก/เยาวชน รวมถึง การป้องกันเด็ก/เยาวชนจากการถูกทารุณทางร่างกาย เพศ และจิตใจ และดำเนินการรักษาพยาบาลทันทีหากจำเป็น 5. เคารพสิทธิความเป็นส่วนตัวของเด็ก/เยาวชนและปกป้องความลับข้อมูลสำคัญของเด็กและเยาวชนและครอบครัว ซึ่งถือเป็นการทำงานอย่างมืออาชีพ 6. พยายามลดความแตกต่างระหว่างการใช้ชีวิตภายในและภายนอกสถานควบคุมซึ่งความแตกต่างนี้จะลดความเคารพในเกียรติความเป็นคนของเด็ก/เยาวชน

  16. สหวิชาชีพกับการปฏิบัติงานด้านการบำบัดเด็ก/เยาวชนในสถานควบคุมสหวิชาชีพกับการปฏิบัติงานด้านการบำบัดเด็ก/เยาวชนในสถานควบคุม ความหมายของทีมสหวิชาชีพ (นายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์) “กลุ่มบุคคลที่ได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ มีความรู้ มีทักษะ และความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างกัน มาทำงานร่วมกันเพื่อมุ่งสู่การแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างมีระบบ และเป็นกระบวนการ โดยอยู่บนพื้นฐานของเป้าหมาย และวัตถุประสงค์เดียวกันในการปฏิบัติงาน โดยจะมีการติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างต่อเนื่องในการประเมินสภาพการณ์ของปํญหาและมีความรับผิดชอบร่วมกัน ตั้งแต่ ต้นจนสิ้นสุดกระบวนการ”

  17. รูปแบบของการทำงานแบบสหวิชาชีพรูปแบบของการทำงานแบบสหวิชาชีพ Interdisciplinary คือการประสานความร่วมมือจากหลายสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานโดยใช้วิธีการส่งต่อข้อมูล และประสานทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเป็นทางการ เพื่อใช้ในการดำเนินงานในกระบวนการต่างๆ โดยไม่จำเป็นต้องมีการประชุมกัน Multidisciplinaryการทำงานแบบบูรณาการหรือการประชุมทีมสหวิชาชีพ เป็นการทำงานที่ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในกรณีนั้นๆ มาประชุมปรึกษาหารือกันเพื่อระดมความคิดเห็นและกำหนดแนวทางการช่วยเหลือร่วมกัน โดยอาศัยพื้นฐานความรู้ทักษะ และความสามารถพิเศษของแต่ละสาขาวิชาชีพ

  18. การประชุมทีมสหวิชาชีพการประชุมทีมสหวิชาชีพ • การประชุมในสาขาเดียวกันแต่ต่างวิชาชีพ • การประชุมร่วมกันระหว่างสหวิชาชีพที่มาจากหลายสาขา ซึ่งจะมีผู้ชำนาญการหลายสาขาแตกต่างกันไปทั้งบทบาทและองค์กรที่แตกต่างกัน ดังนั้น พฤติกรรมหนึ่งใดของเด็ก/เยาวชน / case ก็อาจมีการวินิจฉัยและวิเคราะห์ได้หลายแบบ จึงทำให้การเก็บข้อมูลเพื่อนำมาประเมินแตกต่างกันการสร้างความร่วมมือระหว่างหลายสาขาวิชาชีพเข้าด้วยกันในระหว่างหน่วยงานที่ทำงานในหลายสาขาวิชาชีพ เพื่อต่อชิ้นส่วนปริศนาเข้าด้วยกันให้สามารถเห็นภาพรวมที่แท้จริงก็คือการประชุมทีมสหวิชาชีพนั่นเอง

  19. กระบวนการทำงานแบบสหวิชาชีพ(1)กระบวนการทำงานแบบสหวิชาชีพ(1) ขั้นตอนกระบวนการทำงานแบบสหวิชาชีพตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ข้อ 19 และ 39 1. กระบวนการค้นหาความจริงหรือการสืบสวนสอบสวน 2. กระบวนการคุ้มครองและป้องกันเฉพาะหน้า 3. กระบวนการบำบัดฟื้นฟูเด็ก 4. กระบวนการส่งเด็กคืนสู่สังคม 5. การป้องกันด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงภายในครอบครัวและชุมชน

  20. กระบวนการทำงานแบบสหวิชาชีพ(2)กระบวนการทำงานแบบสหวิชาชีพ(2) • คนที่เข้าร่วมทีมมีความเต็มใจทำงานร่วมกับคนอื่น ๆ ในทีม และทุกคนมีเป้าหมายเดียวกันคือ เป้าหมายของทีม • การทำงานแบบทีมสหวิชาชีพต้องอาศัยหลักวิชาชีพในการปฏิบัติหน้าที่โดยคำนึงถึงข้อเท็จจริง การวิเคราะห์วินิจฉัยปัญหาและการแสดงความคิดเห็นตามหลักวิชาชีพในส่วนที่ตนเองศึกษามา โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องรวบรวมข้อเท็จจริงที่ได้จากการสืบค้นโดยผู้ประกอบวิชาชีพทุกแขนงที่อยู่ร่วมทีม และไม่สามารถใช้ความรู้สึกส่วนบุคคลหรือความเชื่อและความคิดเห็นที่ไม่มีหลักวิชาการอ้างอิง • มีการกำหนดหน้าที่และวิธีการของแต่ละคนไว้ชัดเจนและเปิดโอกาสให้คนที่มีดุลยพินิจในการตัดสินใจกระบวนการทำงานนอกจากหน้าที่ของตนเพื่อเสริมให้งานของทีมมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น

  21. เป้าหมายของการประชุมสหวิชาชีพ(1)เป้าหมายของการประชุมสหวิชาชีพ(1) 1. การรวบรวมข้อสังเกตและข้อมูลอื่นๆ ของผู้เข้าร่วมประชุม 2. การประเมินสภาพทางจิตสังคมเด็ก รวมทั้งครอบครัวอย่างเป็นองค์รวม โดยเชื่อมโยงกับการบำบัดที่ได้รับ 3. ประเมินดูว่าเด็กได้รับการดูแลดีเพียงพอหรือไม่ หรือมีทางที่จะช่วยปรับปรุงให้ถึงขั้นที่ดีพอ หรือต้องให้คนอื่นเป็นผู้ดูแลเด็กแทน 4. วางแผนการบำบัดทั้งระยะสั้น และระยะยาว

  22. เป้าหมายของการประชุมสหวิชาชีพ(2)เป้าหมายของการประชุมสหวิชาชีพ(2) 5. การกำหนดบทบาท และความรับผิดชอบของผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งกัน และการแบ่งสรรความรับผิดชอบ 6. มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับความก้าวหน้าของแผนการบำบัด 7. ปรับแผนให้ดีขึ้นเมื่อจำเป็น 8. ชี้ให้เห็นถึงปัญหาและแก้ไขปัญหาที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ที่มีผู้ชำนาญการ ในแต่ละสาขาพบ ทั้งในกระบวนการบำบัด และในการร่วมมือซึ่งกัน และกัน

  23. การบำบัดเด็ก/เยาวชนในสถานพินิจฯและศูนย์ฝึกฯการบำบัดเด็ก/เยาวชนในสถานพินิจฯและศูนย์ฝึกฯ 1. สถานพินิจฯ - การจัดกิจกรรมในห้องควบคุมตัวชั่วคราว - การจัดกิจกรรมบำบัดแบบไปเช้าเย็นกลับ /FCGC/มาตรา 95 * - การบำบัดเบื้องต้นในสถานแรกรับ 2. ศูนย์ฝึกและอบรมฯ - ระยะสั้น ( 1 - 6 เดือน) - ระยะกลาง (6 - 18 เดือน) - ระยะยาว ( 18 - 24 เดือนเป็นต้นไป)

  24. 1. สถานพินิจฯ วัตถุประสงค์การบำบัด - เพื่อบำบัดแก้ไขปัญหาการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน - เพื่อคุ้มครองสิทธิและสวัสดิภาพของเด็กและเยาวชน เป้าหมาย - เด็กและเยาวชนได้รับการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด - เด็กและเยาวชนได้รับการตอบสนองตามสภาพปัญหาและความจำเป็นเบื้องต้น - เด็กและเยาวชนได้รับการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟูในเบื้องต้น - เด็กและเยาวชนได้รับการปกป้อง คุ้มครอง สิทธิ และสวัสดิภาพ

  25. การจัดกิจกรรมบำบัด ฟื้นฟูเบื้องต้นสำหรับเด็กและเยาวชนที่อยู่ระหว่างปล่อยชั่วคราวโดยพิจารณากำหนดระยะเวลาและประเภทกิจกรรมให้สอดคล้องตามระดับและประเภทปัญหาเด็กและเยาวชนแต่ละราย • การจัดกิจกรรมบำบัด ฟื้นฟูเบื้องต้นสำหรับเด็กและเยาวชนที่ผ่านการประชุมกลุ่มครอบครัวและชุมชน มาตรา 63 โดยกำหนดระยะเวลาและประเภทกิจกรรมให้สอดคล้องกับเงื่อนไขข้อตกลงของการประชุมกลุ่มครอบครัวและชุมชนของเด็กและเยาวชนแต่ละราย • การจัดกิจกรรมบำบัด ฟื้นฟูเบื้องต้นสำหรับเด็กและเยาวชนสำหรับเด็กและเยาวชนที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในห้องควบคุมชั่วคราวอย่างเหมาะสม • การติดตามและประเมินผลและรายงานผลการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟูเบื้องต้นของเด็กและเยาวชน เพื่อประกอบการพิจารณาพิพากษาของศาล • มีการติดตามและประเมินผลการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟูเบื้องต้น สำหรับกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ผ่าน หรือที่ผ่านการประชุมกลุ่มครอบครัวและชุมชนตามมาตรา 63 อย่างน้อยปีละ1 ครั้ง ภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี

  26. สถานแรกรับ สถานแรกรับจัดให้มีแผนการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟูเบื้องต้นเด็กและเยาวชน ทุกรายตามผลการจำแนกประเภท เพื่อเป็นแนวทางในการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟูเบื้องต้น โดยมีระยะเวลาสอดคล้องกับการควบคุมตัวอยู่ในสถานแรกรับ วัตถุประสงค์ • เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับการบำบัดแก้ไขเบื้องต้นในด้านต่าง ๆ • เพื่อให้เด็ก / เยาวชน และครอบครัวได้รับการสงเคราะห์ช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ เมื่อมีปัญหาและความเดือดร้อน • เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของเด็กและเยาวชน • เพื่อให้เด็กและเยาวชนสามารถปรับตัวเข้ากับสถานควบคุมตัว เพื่อน เยาวชน เจ้าหน้าที่ และสภาพแวดล้อม

  27. เป้าหมาย • เด็กและเยาวชนที่อยู่ในระหว่างควบคุมตัวทุกราย หรือได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว จะได้รับการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟูเบื้องต้น • ปัญหาและความต้องการของเด็กและเยาวชน ตลอดจนครอบครัวได้รับการแก้ไขและตอบสนอง • จัดบริการสังคมในด้านต่าง ๆ ให้กับเด็กและเยาวชนอย่างเหมาะสมและเพียงพอ มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ • กิจกรรมการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟูเบื้องต้นที่สอดคล้องกับปัญหาของเด็กและเยาวชน

  28. การบำบัด แก้ไข ฟื้นฟูเบื้องต้นจะใช้ระยะเวลาประมาณ 90 - 120 วัน โดยแบ่งออกเป็น 1. การบำบัด แก้ไข ฟื้นฟู ช่วงแรกรับตัวใช้เวลา 15 วัน ปฐมนิเทศ เตรียมความพร้อมทางร่างกาย จิตใจ กิจกรรมสำรวจตนเอง 2. ช่วงการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟูระยะกลางใช้เวลา 60 วัน 3. ช่วงเตรียมความพร้อมก่อนพิพากษาใช้เวลา 15 วัน

  29. กิจกรรมการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟูเบื้องต้น ประกอบด้วย กิจกรรม ต่าง ๆ ดังนี้ • กิจกรรมตามประเภทของกลุ่มที่ได้รับการจำแนกไว้ ได้แก่ บำบัดทางจิตวิทยา กิจกรรมบำบัดด้านยาเสพติดที่จำแนกเป็นกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเสพ และกลุ่มติด กิจกรรมส่งเสริมทักษะชีวิต • ทบทวนการเรียน พลศึกษา กิจกรรมการปรับตัวในการฝึกอบรม หรือการกลับคืนสู่สังคม • การประเมินผลการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟู

  30. ช่วงเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยหรือการส่งต่อไปรับการฝึกอบรม (ใช้เวลา 15 วัน) • การเตรียมเด็กและเยาวชนเข้ารับการพิจารณาตัดสินของศาลเยาวชนและครอบครัว • การเตรียมเด็ก เยาวชน ครอบครัว ชุมชน และสิ่งแวดล้อม กรณีที่เด็กและเยาวชนจะได้รับการปล่อยตัว • การเตรียมประสานข้อมูลเด็กกับองค์กรเครือข่ายภาครัฐ เอกชน และชุมชนในการให้การบำบัด แก้ไข ในชุมชน การสงเคราะห์ช่วยเหลือ การติดตามและประเมินผลภายหลังปล่อย • กิจกรรมการปรับตัวในการกลับคืนสู่สังคมให้กับเด็ก เยาวชน และครอบครัว • กิจกรรมการเตรียมตัวด้านการดำเนินชีวิตในครอบครัวและชุมชน ภายหลังปล่อย การยอมรับของครอบครัว ชุมชน และคุมประพฤติภายหลังปล่อย การประกอบอาชีพ การศึกษาต่อ การรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย การบรรพชา การอุปสมบท การปรับตัวเข้ากับครอบครัว ชุมชนเพื่อนนักเรียน เพื่อนร่วมงาน

  31. กิจกรรมปัจฉิมนิเทศ • กิจกรรมการสงเคราะห์ช่วยเหลือเมื่อมีปัญหาก่อนปล่อยและภายหลังปล่อยการส่งกลับภูมิลำเนา ส่งต่อไปขอรับความช่วยเหลือยังหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน • กิจกรรมการส่งต่อไปรับการฝึกอบรมยังศูนย์ฝึกและอบรม การปรับตัวในการรับการฝึกอบรม • กิจกรรมการเตรียมการติดตามและประเมินผลการสงเคราะห์ช่วยเหลือก่อนปล่อยและภายหลังปล่อย การดำเนินชีวิตภายหลังปล่อย • มีการสงเคราะห์ช่วยเหลือแก่เด็ก / เยาวชน และครอบครัวที่มีปัญหาและความต้องการในระหว่างควบคุมตัวและภายหลังปล่อย โดยมีการจัดบริการให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือเป็นเงิน สิ่งของ และเป็นบริการต่าง ๆ • มีการติดตามและประเมินผลเด็กและเยาวชนภายหลังปล่อยทุก 6 เดือน -1 ปี

  32. 2. ศูนย์ฝึกและอบรมฯ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน มีแผนการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟู ป้องกัน และพัฒนาเด็กและเยาวชน แผนการฝึกอบรม แผนการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย และแผนการสงเคราะห์ช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ โดยเป็นไปตามผลการจำแนกประเภท (ซ้ำ) และกำหนดระยะเวลาที่สอดคล้องกับคำสั่งศาล รวมทั้งการเสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนในกลับคืนสู่สังคม การดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข และไม่หวนกลับไปกระทำผิดซ้ำโดยแผนการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟู ป้องกัน และพัฒนาเด็กและเยาวชน จะสอดคล้องภารกิจ ประเภท และลักษณะของศูนย์ฝึกและอบรมฯ แต่ละแห่ง

  33. วัตถุประสงค์ • เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟู ป้องกัน และพัฒนาในด้านต่าง ๆ • เพื่อให้เด็ก เยาวชน และครอบครัวได้รับการสงเคราะห์ช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ เมื่อมีปัญหาและความเดือดร้อน • เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของเด็กและเยาวชน • เพื่อให้เด็กและเยาวชนสามรถปรับตัวให้เข้ากับศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เพื่อน เยาวชน เจ้าหน้าที่ และสภาพแวดล้อม • เพื่อเตรียมปรับตัวเด็กและเยาวชนให้เข้ากับครอบครัว ชุมชน สังคม และเตรียมสร้างการยอมรับของเด็กต่อครอบครัว ชุมชน และสังคม • เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยและการประกอบอาชีพหรือการศึกษาต่อการฝึกวิชาชีพต่อ ฯลฯ

  34. เป้าหมาย • เด็กและเยาวชนที่ฝึกอบรม หรือได้รับการปลดปล่อย จะได้รับการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟู และสงเคราะห์ช่วยเหลือ • ปัญหาและความต้องการของเด็กและเยาวชน ตลอดจนครอบครัว ได้รับการแก้ไขและตอบสนอง • เด็กและเยาวชนมีครูที่ปรึกษาที่จะคอยให้คำแนะนำปรึกษาปัญหา • ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน มีการจัดบริการสังคมในด้านต่าง ๆ ให้กับเด็ก เยาวชนอย่างเหมาะสม และเพียงพอ มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ • ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน มีกิจกรรมบำบัด แก้ไข ฟื้นฟู การพัฒนา การป้องกัน การฝึกอบรม การเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย และภายหลังปล่อย การสงเคราะห์ และการสงเคราะห์ภายหลังปล่อยที่สอดคล้องกับปัญหาของเด็กและเยาวชน

  35. กรอบแนวคิดการจัดกิจกรรมบำบัด 1. จัดให้เด็กและเยาวชนแต่ละรายมีครูที่ปรึกษาเป็นการเฉพาะนับตั้งแต่วันแรกรับตัว (หากเป็นไปได้) หรือในวันที่ 2 ในช่วงการปฐมนิเทศควรจะได้มีโอกาสพบกันทุกวัน ครั้งละ 30 นาที 2. ให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมบำบัด แก้ไข ฟื้นฟู จะปฏิบัติได้ต่อเมื่อคณะกรรมการของศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน พิจารณาแล้วเห็นว่าจะสามารถช่วยให้เด็กและเยาวชน มีความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นเท่านั้น 3. ในการจัดกิจกรรมบำบัด แก้ไข ฟื้นฟูสามารถให้องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานได้ทุกขั้นตอน

  36. 4. จัดทำแผนการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟูเด็กและเยาวชนทุกคน เพื่อเป็นแนวทางในการบำบัด แก้ไขเด็กและเยาวชนตามสภาพปัญหาและความจำเป็น โดยมีการกำหนดระยะเวลาที่สอดคล้องกับคำสั่งศาล รวมทั้งเสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคม ได้อย่างปกติสุขและไม่กระทำผิดซ้ำ 5. บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดลำดับคะแนนความประพฤติ ทำการสังเกตและบันทึกพฤติกรรมของเด็กหรือเยาวชน แต่ละรายที่ได้พบอย่างสม่ำเสมอ เพื่อการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน รวมทั้งเป็นข้อมูลในการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่อง

  37. 6.จัดตารางสอนให้มีจำนวนชั่วโมงการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับแผนการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟู พร้อมกับจัดเจ้าหน้าที่ให้ดูแลรับผิดชอบตามตารางกิจกรรม 7.จัดให้มีคณะกรรมการดำเนินการวัดผลความเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนทุกราย ตามแผนการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟูเป็นรายบุคคล 8. จัดกิจกรรมด้านการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟูในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน ควรจัดแบ่งการปฏิบัติงานออกเป็น 3 ขั้นตอน โดยเริ่มจากขั้นการปฐมนิเทศเด็กและเยาวชนที่เข้าใหม่ (Orientation Stage) ขั้นการศึกษาอบรมและฝึกวิชาชีพ (Intermediate Stage) และขั้นเตรียมการก่อนปล่อย (Pre-release Stage) ซึ่งแต่ละขั้นตอนจะต้องจัดให้เหมาะสมกับหลักสูตรการเรียนการสอนของเยาวชน 9. จัดทำรายงานผลทุกครั้งที่มีการประเมินผลการฝึกอบรมและเลื่อนขั้นเด็กและเยาวชนถึงความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

  38. ประเภทของกิจกรรม 1. กิจกรรม 1 เดือนแรก: ปฐมนิเทศเด็ก เยาวชน ครอบครัว , จำแนกประเภท (ซ้ำ) เฉพาะบางราย , การกำหนดแผนบำบัดเฉพาะราย , กิจกรรมปรับตน และบำบัด แก้ไข ฟื้นฟู ,กิจกรรมการเข้ามามีส่วนร่วมของครอบครัวชุมชน และ NGO, กิจกรรมแนะแนวการดำเนินชีวิต

  39. 2. กิจกรรมหลัง 1 เดือนแรก : วิชาสามัญ วิชาชีพระยะสั้น กิจกรรมอื่นได้แก่ บำบัดด้านต่าง ๆ ตามแผน เช่น กลุ่มยาเสพติด กลุ่มทักษะชีวิต กลุ่มพัฒนาด้านความมั่งคงทางจิตใจ กลุ่มพัฒนาทักษะด้านความคิด กลุ่มพัฒนาด้านการแสดงออก กลุ่มครอบครัวบำบัด ฯลฯ / พลศึกษา /จริยธรรม /นันทนาการ /ระเบียบวินัย/ ครูที่ปรึกษา /กิ จกรรมนอกหลักสูตร)

  40. 3. กิจกรรมเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยตัว ก่อนปล่อยตัว 3 เดือน : การปัจฉิมนิเทศเด็ก เยาวชน ครอบครัว การเตรียมเด็กและเยาวชน ครอบครัว ชุมชน สิ่งแวดล้อม การจัดกิจกรรมการปรับตัวในการกลับคืนสู่สังคมให้กับเด็กและเยาวชน เช่น การออกไปฝึกงาน ทำงาน เยี่ยมบ้าน ทัศนศึกษา โรงเรียน สถานฝึกวิชาชีพ โรงงาน ห้างร้าน บริษัท ทัศนศึกษา สถานที่สำคัญ ฯลฯ การสงเคราะห์ก่อนปล่อย และภายหลังปล่อย การส่งต่อไปขอรับการช่วยเหลือ การเตรียมการติดตามและประเมินผล

  41. กิจกรรมที่ควรให้ความสำคัญและทำงานร่วมกันแบบสหวิชาชีพกิจกรรมที่ควรให้ความสำคัญและทำงานร่วมกันแบบสหวิชาชีพ 1. การจำแนกเด็ก/เยาวชน 2. การวางแผนบำบัดแก้ไขฟื้นฟูเฉพาะราย 3. การติดตามและประเมินผลเด็ก/เยาวชน 4. การติดต่อและสื่อสารระหว่างบุคลากรโดยให้ความสำคัญกับข้อมูลของเด็ก/เยาวชน เพื่อการป้องกัน แก้ไข บำบัด พัฒนาเด็ก/เยาวชน

  42. ขอบคุณ

More Related