1 / 11

เอกสารประกอบการถ่ายทอดองค์ความรู้ (KM)

“บทบาทของบัณฑิตแรงงาน ต่อการขับเคลื่อนภารกิจของกระทรวงแรงงาน ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเขตพัฒนาพิเศษ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา”. เอกสารประกอบการถ่ายทอดองค์ความรู้ (KM). จัดโดย : กลุ่มสนับสนุนเครือข่ายและประสานภูมิภาค สำนักตรวจและประเมินผล สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน.

Download Presentation

เอกสารประกอบการถ่ายทอดองค์ความรู้ (KM)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. “บทบาทของบัณฑิตแรงงาน“บทบาทของบัณฑิตแรงงาน ต่อการขับเคลื่อนภารกิจของกระทรวงแรงงาน ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเขตพัฒนาพิเศษ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา” เอกสารประกอบการถ่ายทอดองค์ความรู้ (KM) จัดโดย : กลุ่มสนับสนุนเครือข่ายและประสานภูมิภาค สำนักตรวจและประเมินผล สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน

  2. สืบสานแนวพระราชดำริ : “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” โครงการจ้างบัณฑิตอาสาสมัคร(บัณฑิตแรงงาน) ลักษณะโครงการ : โครงการภายใต้แผนการพัฒนาพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แผนงานที่ 3 : แผนพัฒนาคุณภาพคน พหุวัฒนธรรม และมาตรฐานการบริการสังคม ผู้รับผิดชอบโครงการ : กลุ่มสนับสนุนเครือข่ายและประสานภูมิภาค สำนักตรวจและประเมินผล สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณที่ 3 : ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคม คุณภาพชีวิต และลดวามเหลื่อมล้ำทางสังคม แผนงาน 3.2 : การพัฒนาและยกระดับมาตรฐานแรงงาน กิจกรรมหลัก : จ้างบัณฑิตแรงงาน บัณฑิตแรงงานจังหวัดยะลา บัณฑิตแรงงานจังหวัดนราธิวาส บัณฑิตแรงงานจังหวัดสงขลา บัณฑิตแรงงานจังหวัดปัตตานี

  3. 1. หลักการและเหตุผล กระทรวงแรงงานได้ดำเนินการโครงการจ้างบัณฑิตอาสาสมัคร โดยน้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในเรื่อง “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นแนวทางในการดำเนินงาน โดยเริ่มดำเนินการโครงการในปี พ.ศ. 2551 ด้วยการจ้างผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ที่ว่างงาน ไม่จำกัดสาขา เป็นผู้มีภูมิลำเนาในพื้นที่ สามารถปฏิบัติงานในพื้นที่และประสงค์ที่จะเป็นบัณฑิตของกระทรวงแรงงาน ในเขตพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ได้แก่ อำเภอ จะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย จำนวน 294 คน ทำหน้าที่เสมือนผู้แทนกระทรวงแรงงานในการนำภารกิจและบริการของกระทรวงแรงงานไปสู่ประชาชนในพื้นที่/ ชุมชน ด้วยความมุ่งหวังที่จะสร้างงานให้กับบัณฑิตที่ว่างงาน สามารถตรึงคนในพื้นที่ ลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงาน ปลูกฝังสำนักรักบ้านเกิด สร้างความผูกพันต่อถิ่นกำเนิด และการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของท้องถิ่นตนเองอย่างแท้จริง ตลอดรวมถึงการสนับสนุนภารกิจด้านความมั่นคง เพื่อเสริมสร้างสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้

  4. 2. กรอบแนวคิด การดำเนินงานโครงการจ้างบัณฑิตอาสาสมัคร อยู่ภายใต้กรอบแนวคิดหลัก 6 ประการ คือ 2.1 เพื่อจ้างบัณฑิตที่ว่างงานในพื้นที่ มาทำหน้าที่เป็นบัณฑิตอาสาสมัคร และเป็นกลไกในการขับเคลื่อนภารกิจของกระทรวงแรงงาน ให้สนองตอบต่อนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงแรงงาน และ ของชาติ ตลอดจนภารกิจด้านความมั่นคงของจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2.2 เพื่อให้บัณฑิตอาสาสมัคร เป็นผู้เสริมสร้างความเข้มแข็งในการทำงานให้อาสาสมัครแรงงานในระดับพื้นที่ ตลอดจนเป็นพี่เลี้ยงในการดำเนินงานให้อาสาสมัครแรงงาน 2.3 เพื่อขยายเครือข่ายอาสาสมัครแรงงานให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น 2.4 เพื่อเสริมสร้างบัณฑิตอาสาสมัคร ให้มีจิตสำนึกรักความสามัคคี มีสำนึกต่อประเทศในการเป็นผู้ให้ และเสียสละเพื่อชุมชนและหมู่บ้านของตนเอง รวมทั้งมีจิตสำนึกของความเป็นอาสาสมัคร ตลอดจนตระหนักในภาระหน้าที่ด้านความมั่นคง ทั้งในระดับตำบล อำเภอ จังหวัด และประเทศ 2.5 เพื่อเป็นสื่อกลาง และเป็นช่องทางการสื่อสารระหว่างรัฐบาล และประชาชนในพื้นที่ 2.6 เพื่อให้บัณฑิตอาสาสมัคร และอาสาสมัครแรงงานมีส่วนช่วยในการป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานในระดับพื้นที่ เนื่องจากมีบัณฑิตอาสาสมัคร หลายหน่วยงานปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้เกิดความชัดเจน กระทรวงแรงงานจึงได้เปลี่ยนชื่อเรียก “บัณฑิตอาสาสมัคร” เป็น “บัณฑิตแรงงาน” ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2554 เป็นต้นมา

  5. 3. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมให้บัณฑิตแรงงาน เป็นสื่อกลางในการขับเคลื่อนภารกิจของกระทรวงแรงงาน และนโยบายของรัฐบาลไปสู่ประชาชนในพื้นที่ 2. เพื่อให้บัณฑิตแรงงาน เป็นผู้เสริมสร้างความเข้มแข็งในการทำงานให้อาสาสมัครแรงงานในระดับพื้นที่ และเป็นพี่เลี้ยงในการดำเนินงานให้กับอาสาสมัครแรงงาน 3. เพื่อให้บัณฑิตแรงงาน และอาสาสมัครแรงงานมีส่วนช่วยในการป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานในระดับพื้นที่

  6. 4. กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย บัณฑิตผู้ว่างงาน ไม่จำกัดสาขา เป็นผู้มีภูมิลำเนาในพื้นที่ สามารถปฏิบัติงานในพื้นที่ได้ และประสงค์ที่จะเป็นบัณฑิตของกระทรวงแรงงาน ในเขตพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา จำนวน 294 คน ดังนี้ 1. จังหวัดปัตตานี จำนวน 116 คน 2. จังหวัดยะลา จำนวน 59 คน 3. จังหวัดนราธิวาส จำนวน 78 คน 4. จังหวัดสงขลา จำนวน 41 คน ( 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอจะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย) 5. งบประมาณดำเนินการ • ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ได้รับงบกลาง วงเงิน 39,417,300 บาท • ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ได้รับงบประมาณปกติ วงเงิน 39,417,300 บาท • ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ได้รับงบประมาณปกติ วงเงิน 39,659,000 บาท • ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ได้รับงบประมาณปกติ วงเงิน 39,920,000 บาท

  7. 6. ผลที่คาดว่าจะได้รับ ระดับผลผลิต (Output) : บัณฑิตแรงงานภาคใต้ จำนวน 294 คน มีงานทำ และสามารถทำหน้าที่เสมือนสื่อกลางในการขับเคลื่อนภารกิจของกระทรวงแรงงาน และรัฐบาล ไปสู่ประชาชนในพื้นที่ ระดับผลลัพธ์ (Outcome) : 1. บัณฑิตแรงงาน และอาสาสมัครแรงงาน มีส่วนช่วยในการป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานในระดับพื้นที่ และเป็นกลไกขับเคลื่อนภารกิจของกระทรวงแรงงานสู่ประชาชน ในพื้นที่/ ชุมชน ที่มีความอ่อนไหว และมีปัญหาด้านความมั่นคงสูง 2. บัณฑิตแรงงานเป็นผู้เสริมสร้างความเข้มแข็ง ในการทำงานให้อาสาสมัครแรงงานในระดับพื้นที่ อีกทั้งเป็น พี่เลี้ยงในการดำเนินงานร่วมกับอาสาสมัครแรงงาน ด้วยสำนึกของความเสียสละเพื่อชุมชนและหมู่บ้านของตนเอง

  8. 7. ผลการดำเนินงานของบัณฑิตแรงงาน ปี 2551-2554 การดำเนินงานของบัณฑิตแรงงานในพื้นที่ ภายใต้ภารกิจด้านต่าง ๆ ของ กระทรวงแรงงาน มีดังนี้ 1. บริการด้านสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เช่น การคุ้มครองแรงงานผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในพื้นที่ให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน การป้องกันดูแล และแก้ไขปัญหาข้อพิพาทแรงงาน 2.บริการด้านการจัดหางาน เช่น จัดหางานในและต่างประเทศ ส่งเสริมการมีงานทำ และการจัดตั้งกลุ่มอาชีพต่างๆ แก่ประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งสอดส่องดูแลปัญหาด้านแรงงานต่างด้าว 3. บริการด้านการพัฒนาฝีมือแรงงาน เช่น ประสานการช่วยเหลือประชาชน ด้านการฝึกอาชีพอิสระระยะสั้น เพื่อเพิ่มโอกาสการมีงานทำ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ด้วยการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน 4. บริการด้านการประกันสังคม เช่น การส่งเสริมให้แรงงานนอกระบบ เข้าสู่ระบบประกันสังคมมากขึ้น และการให้ความรู้เรื่องสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายแก่ลูกจ้าง และนายจ้าง เป็นต้น 5. บริการด้านอื่นๆ เช่น การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารราชการ และ ข่าวสารด้านแรงงาน การให้ความรู้แก่ประชาชน เพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาด้านแรงงาน และการหลอกลวงคนหางาน เป็นต้น 7. 1 ผลการดำเนินงานปี 2551 ตารางที่ 1 ผลการปฏิบัติงานของบัณฑิตอาสาสมัคร (บัณฑิตแรงงาน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551

  9. 7. 2 ผลการดำเนินงานปี 2552 ตารางที่ 2 ผลการปฏิบัติงานของบัณฑิตอาสาสมัคร (บัณฑิตแรงงาน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ผลการดำเนินงานของบัณฑิตอาสาสมัคร (บัณฑิตแรงงาน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัดผลผลิตหลัก และ 1 ตัวชี้วัดผลผลิตเสริม ผลการดำเนินการส่วนใหญ่สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ ปรากฏตามตาราง ดังต่อไปนี้

  10. 7. 3 ผลการดำเนินงานปี 2553 ตารางที่ 3 สรุปผลการปฏิบัติงานของบัณฑิตอาสาสมัคร (บัณฑิตแรงงาน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 สรุปผลการดำเนินงานของบัณฑิตแรงงาน ตามตัวชี้วัดที่กำหนด ภายใต้โครงการ จ้างบัณฑิตแรงงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553

  11. 7. 3 ผลการดำเนินงานปี 2554 ตารางที่ 3 ผลการปฏิบัติงานของบัณฑิตแรงงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 รอบ 6 เดือน (ตุลาคม 2553 - มีนาคม 2554) สรุปผลการดำเนินงานของบัณฑิตแรงงาน ตามตัวชี้วัดที่กำหนด ภายใต้โครงการ จ้างบัณฑิตแรงงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 รอบ 6 เดือน (ตุลาคม 2553-มีนาคม 2554)

More Related