1 / 22

นสพ . นิติพัฒน์ วัฒนจิตศิริ นสพ . เจษฎา พิมพ์รัตน์

อัตราส่วนจำนวนภาชนะเก็บกักน้ำภายในครัวเรือนที่ไม่มีการป้องกันลูกน้ำมีความสัมพันธ์กับอุบัติการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชนหรือไม่. นสพ . นิติพัฒน์ วัฒนจิตศิริ นสพ . เจษฎา พิมพ์รัตน์. หลักการและเหตุผล.

kelli
Download Presentation

นสพ . นิติพัฒน์ วัฒนจิตศิริ นสพ . เจษฎา พิมพ์รัตน์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. อัตราส่วนจำนวนภาชนะเก็บกักน้ำภายในครัวเรือนที่ไม่มีการป้องกันลูกน้ำมีความสัมพันธ์กับอุบัติการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชนหรือไม่อัตราส่วนจำนวนภาชนะเก็บกักน้ำภายในครัวเรือนที่ไม่มีการป้องกันลูกน้ำมีความสัมพันธ์กับอุบัติการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชนหรือไม่ นสพ.นิติพัฒน์วัฒนจิตศิริ นสพ.เจษฎาพิมพ์รัตน์

  2. หลักการและเหตุผล • มีการระบาดของไข้เลือดออกในจังหวัดพิษณุโลกทุกปีแม้ว่าจะมีการประชาสัมพันธ์ให้มีการป้องกันการเกิดโรคด้วยวิธีการต่างๆให้ประชากรในชุมชนทราบแล้วก็ตาม • การป้องกันการระบาดของไข้เลือดออกที่ดีก็ต้องมีการกำจัดยุงลายที่มีประสิทธิภาพทำให้ลดอุบัติการณ์การเกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชนได้

  3. ทบทวนวรรณกรรม • จากการสำรวจของกรมควบคุมโรคติดต่อที่ได้สำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในภาคต่างๆปี 2533 พบว่าแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายร้อยละ 70.82 เป็นแหล่งเก็บกักน้ำภายในเขตครัวเรือนทั้งที่เป็นน้ำดื่มและน้ำใช้ร้อยละ 15.68 เป็นแหล่งน้ำจานรองขาตู้กันมดที่เหลือเป็นแหล่งอื่นๆที่มีน้ำขังได้ในชุมชนเช่นยางรถยนต์

  4. คำถามหลัก • จำนวนภาชนะเก็บกักน้ำภายในครัวเรือนที่ไม่มีการป้องกันลูกน้ำมีความสัมพันธ์กับจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนหรือไม่

  5. คำถามรอง • จำนวนภาชนะเก็บกักน้ำภายในครัวเรือนที่ไม่มีการป้องกันลูกน้ำเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชนหรือไม่

  6. วัตถุประสงค์การวิจัย • เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของจำนวนแหล่งเก็บกักน้ำในเขตครัวเรือนที่ไม่มีการป้องกันลูกน้ำกับจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกภายในชุมชน

  7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ • ส่งเสริมการป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชนโดยการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในเขตครัวเรือน • ทราบถึงอัตราความเสี่ยงของประชากรในชุมชนที่มีภาชนะเก็บกักน้ำที่ไม่มีการป้องกันลูกน้ำที่จะป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก

  8. ระเบียบวิธีการวิจัย • รูปแบบการวิจัยCross Sectional Analytic Study • กลุ่มประชากรที่ทำการศึกษา ศึกษาเปรียบเทียบในชุมชน 2 ชุมชนที่มีอุบัติการณ์ของโรคไข้เลือดออกในชุมชนโดยสำรวจประชากรเป็นหลังคาเรือนเพื่อเก็บข้อมูลการเกิดโรคไข้เลือดออกภายในครอบครัวนั้นๆภายในปีพ.ศ.2545 และข้อมูลจำนวนแหล่งเก็บกักน้ำในเขตครัวเรือน

  9. ขนาดประชากร • กำหนดการสำรวจและสอบถามภายในชุมชนหมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 2 หมู่บ้านวังส้มซ่าตำบลท่าโพธิ์อำเภอเมืองจังหวัดพิษณุโลกโดยใช้กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจและสอบถามจำนวนชุมชนละ 25 หลังคาเรือน

  10. การคัดเลือกกลุ่มประชากรการคัดเลือกกลุ่มประชากร • คัดเลือกบ้านที่จะทำการสำรวจโดยวิธีการสุ่มเลือกบ้านที่อยู่ติดกันภายในรัศมี 50 เมตรจากจุดเริ่มต้นในการสำรวจเนื่องจากมีการศึกษาพบว่ายุงลายจะหากินภายในเขตรัศมี 50 เมตรเท่านั้น

  11. อคติการวิจัย • ยุงลายที่แพร่กระจายมาจากแหล่งอื่นนอกชุมชนเช่นทางรถยนต์ • ผลกระทบจากปัจจัยอื่นเช่นการพ่นยาฆ่าแมลง,การนอนกางมุ้ง,การเลี้ยงปลากินลูกน้ำเป็นต้นชึ่งจะมีผลต่อการเพาะพันธุ์ยุงลาย • ผลกระทบจากค่าลูกน้ำยุงลาย BI ,CI และ HI

  12. เครื่องมือการวิจัย • การสัมภาษณ์เก็บข้อมูลชุมชนตามแบบสอบถาม • ผู้ทำการวิจัยเก็บข้อมูลบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมจากการเดินสำรวจภายในบริเวณบ้าน

  13. ตัวอย่างแบบสอบถาม แบบสอบถามการวิจัย : ความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดโรคไข้เลือดออกและแหล่งเก็บกักน้ำที่ไม่มีฝาปิดในเขตครัวเรือนภายในชุมชน • -บ้านเลขที่........................................... • -จำนวนผู้อยู่อาศัย................................คน • -จำนวนสมาชิกในครอบครัวที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไข้เลือดออกภายในปี 2545 มี.......คน • -จำนวนแหล่งเก็บกักน้ำในเขตครัวเรือน • 1.ภาชนะเก็บกักน้ำที่มีฝาปิดมีจำนวน ...................... • 2.ภาชนะเก็บกักน้ำที่ไม่มีฝาปิด (ใส่ทรายอะเบท) มีจำนวน ......... • 3.ภาชนะเก็บกักน้ำที่ไม่มีฝาปิด (ไม่ใช้ทรายอะเบท) มีจำนวน ......

  14. การวิเคราะห์ข้อมูล • เป็นการศึกษาวิจัยในรูปแบบ Cross Sectional Analytic Study โดยนำข้อมูลที่เก็บมาได้จะมี 2 ตอนคือ ตอนที่1 : ความสัมพันธ์ของจำนวนภาชนะเก็บกักน้ำที่ไม่มีฝาปิดและไม่มีการป้องกันลูกน้ำยุงลายมีผลต่อจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนหรือไม่ ข้อมูล :ข้อมูลเชิงคุณภาพ (ได้ข้อมูลจากการนับ) การวิเคราะห์ข้อมูล : Pearson Chi-Square

  15. การวิเคราะห์ข้อมูล ตอนที่ 2 :การศึกษาจำนวนภาชนะเก็บกักน้ำภายในครัวเรือนที่ไม่มีการป้องกันลูกน้ำเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชนหรือไม่ ข้อมูล: ข้อมูลเชิงคุณภาพ (ได้ข้อมูลจากการนับ) การวิเคราะห์ข้อมูล : Case-Controlเพื่อหาค่าRelative Risk และ Odds ratio

  16. กรอบความคิด ปัจจัยที่กระทบ -การใช้สารเคมีกำจัดยุง -การป้องกันยุงกัด -แหล่งเพาะพันธุ์ยุงอื่นๆ ชุมชนที่ 2 มีการระบาดของไข้เลือดออกน้อย ชุมชนที่1 มีการระบาดของไข้เลือดออกมาก ความแตกต่างของแหล่งเก็บกัก น้ำภายในครัวเรือนของทั้ง2ชุมชน

  17. ผลการศึกษา ตอนที่1 : ความสัมพันธ์ของอัตราส่วนจำนวนภาชนะเก็บกักน้ำที่ไม่มีการป้องกันลูกน้ำยุงลายมีผลต่อจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนหรือไม่

  18. หมู่ที่(อุบัติการณ์ไข้เลือดออก)หมู่ที่(อุบัติการณ์ไข้เลือดออก) ภาชนะที่ไม่มีการป้องกันลูกน้ำยุงลาย ภาชนะที่มีการป้องกันลูกน้ำยุงลาย รวม 2(อุบัติการณ์สูง) 38 161 199 1(อุบัติการณ์ต่ำ) 11 125 136 รวม 49 289 335 ตาราง :แสดงจำนวนจำนวนภาชนะเก็บกักน้ำภายในครัวเรือนที่มีการป้องกันลูกน้ำกับจำนวนภาชนะเก็บกักน้ำภายในครัวเรือนที่ไม่มีการป้องกันลูกน้ำชุมชนหมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 2 บ้านวังส้มซ่าตำบลท่าโพธิ์อำเภอเมืองจังหวัดพิษณุโลก

  19. Chi-square • Chi-square = 335*((38*125)-(161*11))2/(49*286*199*136) = 7.84 • อัตราส่วนจำนวนภาชนะที่ไม่มีการป้องกันลูกน้ำมีผลทำให้อุบัติการณการเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น > 99% (p<0.01)

  20. หมู่ที่ จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวนประชากรที่ทำการสำรวจ รวม 2 8 105 113 1 3 86 89 รวม 11 191 202 ตอนที่ 2 :การศึกษาจำนวนภาชนะเก็บกักน้ำภายในครัวเรือนที่ไม่มีการป้องกันลูกน้ำเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชนหรือไม่ ตาราง แสดงจำนวนผู้ป่วยด้วยไข้เลือดออกภายในปีพ.ศ.2545 ของชุมชนหมู่ที่ 1 และชุมชนหมู่ที่ 2 บ้านวังส้มซ่าตำบลท่าโพธิ์อำเภอเมืองจังหวัดพิษณุโลก

  21. ตอนที่ 2(ต่อ) • Odds ratio = 2.18

  22. จริยธรรมในการวิจัย • เนื่องจากการศึกษานี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับจำนวนภาชนะเก็บกักน้ำที่ไม่มีฝาปิดในครัวเรือนว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชนหรือไม่โดยทำการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ตามแบบสอบถามที่ได้จัดทำขึ้นซึ่งจะทำการสัมภาษณ์โดยผู้ทำการวิจัยไม่มีการบันทึกชื่อผู้ถูกสัมภาษณ์และไม่มีการนำเสนอข้อมูลที่จะส่งผลกระทบต่อผู้ถูกสัมภาษณ์แต่อย่างใดจึงเชื่อได้ว่าจะไม่มีผลกระทบต่อจริยธรรมการวิจัยทางการแพทย์

More Related