480 likes | 1.12k Views
การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ กับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา. อ.ชนิดา เรืองศิริวัฒนกุล สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาควิชาคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. แนวคิดและหลักการการจัดระบบบริหารและสารสนเทศภายในสถานศึกษา.
E N D
การจัดระบบบริหารและสารสนเทศการจัดระบบบริหารและสารสนเทศ กับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา อ.ชนิดา เรืองศิริวัฒนกุล สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาควิชาคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แนวคิดและหลักการการจัดระบบบริหารและสารสนเทศภายในสถานศึกษาแนวคิดและหลักการการจัดระบบบริหารและสารสนเทศภายในสถานศึกษา • การจัดระบบบริหารและสารสนเทศของสถานศึกษา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา เป็นไปตามมาตรฐานที่ต้องการ และครอบคลุมภารกิจด้านการบริหารจัดการได้อย่างมีคุณภาพ สถานศึกษาต้องมีระบบการบริหารและการจัดการศึกษา ที่นำไปสู่คุณภาพของผู้เรียน รวมถึงระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ เป็นระบบ ถูกต้อง สมบูรณ์ เป็นปัจจุบันและสามารถเรียกใช้ข้อมูลสารสนเทศได้ตลอดเวลา โดยผู้บริหารสถานศึกษาสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจดำเนินการต่างๆ ตามระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แสดงความสัมพันธ์ระหว่างระบบบริหารและสารสนเทศกับ ระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา นำไปใช้พัฒนาคุณภาพให้ได้ ตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา อื่น ๆ PMQA TQM - โรงเรียน - ห้องเรียน - นักเรียน SBM ระบบบริหาร ระบบสารสนเทศ PMQA การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ TQMคือ ระบบการบริหารจัดการองค์การที่ เน้นคุณภาพในทุก ๆ ด้านขององค์การ SBMการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
กระบวนการบริหารคุณภาพภายในสถานศึกษากระบวนการบริหารคุณภาพภายในสถานศึกษา • 1. กระบวนการ (PDCA) • การวางแผนและระบบการปฏิบัติงาน (Plan) • การดำเนินการตามแผนและระบบการปฏิบัติงาน (Do) • การตรวจสอบและประเมินผล (Check) • การปรับปรุงและพัฒนา (Action) • 2. กระบวนการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM) • 3. กระบวนการบริหารอื่น ๆ ที่โรงเรียนนำมาใช้ตามความแตกต่างของโรงเรียน เช่น PMQA TQM RMB เป็นต้น
ความหมายของการประกันคุณภาพการศึกษาความหมายของการประกันคุณภาพการศึกษา • การประกันคุณภาพการศึกษาหมายถึง การดำเนินการเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานคุณภาพการศึกษาและกระบวนการตรวจสอบหรือการประเมินว่าเป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษามากน้อยเพียงไร (Murgatroyd,Stephen and Morgan,Colin 1994 : 45) • การบริหารจัดการและการดำเนินกิจกรรมตามภารกิจปกติของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง สร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษา ทั้งผู้รับบริการโดยตรง ได้แก่ ผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้รับบริการทางอ้อม ได้แก่ สถานประกอบการ ประชาชน และสังคมโดยรวม
การประกันคุณภาพการศึกษาการประกันคุณภาพการศึกษา • เมอร์กาทรอยด์ และ มอร์แกน (Murgatroyd & Morgan 1994) ได้จำแนกลักษณะเด่นของการประกันคุณภาพทางการศึกษาไว้ 5 ประการ • 1. มาตรฐานการศึกษากำหนดโดยผู้เชี่ยวชาญภายนอก • 2. มาตรฐานเขียนในรูปของความคาดหวังที่โรงเรียนจะต้องบรรลุถึง • 3. มาตรฐานต้องสามารถประเมินได้โดยใช้เกณฑ์ที่เป็นปรนัย • 4. มาตรฐานต้องใช้อย่างเสมอภาค ไม่มีการยกเว้นโดยปราศจากเหตุผลสมควร • 5. การประกันคุณภาพการศึกษาจะประกอบด้วยการตรวจสอบและทบทวน (Audit and Review) การทดสอบด้วยแบบ ทดสอบมาตรฐาน และการประเมินคุณภาพการศึกษา
การประกันคุณภาพการศึกษาการประกันคุณภาพการศึกษา • การประกันคุณภาพการศึกษามีความสำคัญ 3 ประการ คือ • 1. ทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลคุณภาพการศึกษาที่เชื่อถือได้ เกิดความเชื่อมั่นและสามารถตัดสินใจเลือกใช้บริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน • 2. ป้องกันการจัดการศึกษาที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งจะเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคและเกิดความเสมอภาคในโอกาสที่จะได้รับการบริการการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง • 3. ทำให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษามุ่งบริหารจัดการศึกษาสู่คุณภาพและมาตรฐานอย่างจริงจัง ซึ่งมีผลให้การศึกษามีพลังที่จะพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง
การดำเนินการประกันคุณภาพการดำเนินการประกันคุณภาพ • การประกันคุณภาพการศึกษาเกี่ยวข้องกับการดำเนินการที่สำคัญ 3 ขั้นตอนดังนี้ • 1. การควบคุมคุณภาพ (Quality Control )เป็นการกำหนดมาตรฐานคุณภาพการศึกษาเพื่อให้สถานศึกษาตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นเป้าหมายและเป็นเครื่องมือในการพัฒนาซึ่งหลักปฏิบัติทั่วไปมาตรฐานจะกำหนดโดยองค์คณะบุคคล ผู้เชี่ยวชาญ หรือ ผู้มีประสบการณ์ (Murgatroyd,Stephen and Morgan,Colin 1994 : 45)
การดำเนินการประกันคุณภาพการดำเนินการประกันคุณภาพ • 2. การตรวจสอบคุณภาพ (Quality Audit)เป็นการตรวจสอบและติดตามผลการดำเนินการจัดการศึกษาว่าเป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาที่กำหนดขึ้นมากน้อยเพียงไร และมีขั้นตอนการดำเนินการที่จะทำให้เชื่อถือได้หรือไม่ว่าการจัดการศึกษาจะเป็นไปอย่างมีคุณภาพ • 3. การประเมินคุณภาพ (QualityAssessment) เป็นการประเมินคุณภาพของสถานศึกษาโดยบุคลากรของสถานศึกษาหรือโดยหน่วยงานที่กำกับดูแลในเขตพื้นที่และหน่วยงานต้นสังกัดในส่วนกลางที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษา
การดำเนินการประกันคุณภาพการดำเนินการประกันคุณภาพ • ทั้งนี้ การตรวจสอบและประเมินคุณภาพนี้จะกระทำอย่างเป็นระบบ โดยมีกฎเกณฑ์และแนวทางการดำเนินการที่ชัดเจน มีการนำผลการประเมินในทุกขั้นตอนมาใช้เพื่อการวางแผน ออกแบบ และการปฏิบัติเพื่อให้เกิดการ ปรับปรุงพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement)
ความแตกต่างระหว่างการประกันคุณภาพภายในและภายนอกความแตกต่างระหว่างการประกันคุณภาพภายในและภายนอก
ประโยชน์ที่ได้จากการประกันคุณภาพการศึกษาประโยชน์ที่ได้จากการประกันคุณภาพการศึกษา 1. ผู้เรียนและผู้ปกครองมีหลักประกันและความมั่นใจว่าสถานศึกษาจะจัดการศึกษาที่มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด 2. ครูได้ทำงานอย่างมืออาชีพ มีการทำงานที่เป็นระบบ โปร่งใส มีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ มีประสิทธิภาพ และเน้นคุณภาพ ได้พัฒนาตนเองและผู้เรียนอย่างต่อเนื่องทำให้เป็น ที่ยอมรับของผู้ปกครองและชุมชน 3. ผู้บริหารได้ใช้ภาวะผู้นำและความรู้ ความสามารถในการบริหารงานอย่างเป็นระบบและมีความโปร่งใส เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับและนิยมชมชอบของผู้ปกครองและชุมชน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจและเป็นประโยชน์ต่อสังคม
ประโยชน์ที่ได้จากการประกันคุณภาพการศึกษาประโยชน์ที่ได้จากการประกันคุณภาพการศึกษา 4. กรรมการสถานศึกษาได้ทำงานตามบทบาทหน้าที่อย่างเหมาะสม เป็นผู้ที่ทำประโยชน์และมีส่วนพัฒนาสถานศึกษาและคุณภาพทางการศึกษาให้แก่เยาวชนและชุมชนร่วมกับผู้บริหารและครู สมควรที่ได้รับความไว้วางใจให้มาเป็นกรรมการสถานศึกษา 5. หน่วยงานที่กำกับดูแล ได้สถานศึกษาที่มีคุณภาพและศักยภาพในการพัฒนาตนเองซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระในการกำกับ ดูแลสถานศึกษา และก่อให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพทางการศึกษาและคุณภาพของสถานศึกษา
ประโยชน์ที่ได้จากการประกันคุณภาพการศึกษาประโยชน์ที่ได้จากการประกันคุณภาพการศึกษา 6. ชุมชนและสังคมประเทศชาติ ได้เยาวชนและคนที่ดี มีคุณภาพและศักยภาพที่จะ ช่วยพัฒนาองค์กร ชุมชน และสังคมประเทศชาติต่อไป 7. ผู้รับบริการได้รับความพึงพอใจจากการให้บริการของหน่วยงาน
ความสำคัญของการบริหารสถานศึกษาความสำคัญของการบริหารสถานศึกษา • ระบบการบริหารสถานศึกษา หมายถึง กิจกรรมทั้งมวลที่จำเป็นต่อการธำรงรักษาและดำเนินการภายในสถานศึกษาเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ของสถานศึกษา • การบริหารสถานศึกษา เป็นภารกิจหลักของสถานศึกษาที่จะต้องกำหนดแบบแผน วิธีการ และขั้นตอนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานไว้อย่างเป็นระบบ เพราะถ้าระบบการบริหารงาน ไม่ดีจะกระทบกระเทือนต่อส่วนอื่น ๆ ขององค์การ
หลักการบริหารสถานศึกษาหลักการบริหารสถานศึกษา การบริหารจัดการศึกษาภายในสถานศึกษาให้เกิดพลังและมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องยึดเงื่อนไขและหลักการสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ คือ • 3.1 ยึดโรงเรียนเป็นศูนย์กลางในการตัดสินใจ (School-Based Decision) เป็นแนวคิดที่มุ่งให้โรงเรียนมีอิสระในการตัดสินใจด้วยตนเอง โดยยึดประโยชน์ที่จะเกิดกับผู้เรียนเป็นสำคัญ • 3.2 การมีส่วนร่วม (Participation) กำหนดให้บุคคลหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษา เข้ามามีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการร่วมแสดงความคิดเห็นหรือร่วมกำกับติดตาม ดูแล • 3.3 การกระจายอำนาจ (Decentralization) เป็นการกระจายอำนาจด้านการบริหารจัดการด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารบุคคลและการบริหารทั่วไป ให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบ
หลักการบริหารสถานศึกษาหลักการบริหารสถานศึกษา • 3.4 ความรับผิดชอบตรวจสอบได้ (Accountability) มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบและภารกิจของผู้รับผิดชอบ เพื่อเป็นหลักประกันคุณภาพการศึกษาให้เกิดขึ้น • 3.5 ธรรมาภิบาล (Good Governance) เป็นหลักคิดสำหรับการบริหารจัดการที่ดี เพื่อประกันว่าในองค์การจะไม่มีการฉ้อราษฎร์บังหลวง ไม่ด้อยประสิทธิภาพ ทั้งนี้ยึดหลักเป้าหมายสอดคล้องต่อสังคม กระบวนการโปร่งใสและทุกขั้นตอนมีผู้รับผิดชอบ
หลักการบริหารสถานศึกษาหลักการบริหารสถานศึกษา • 3.6 ความเป็นนิติบุคคล (A juristic person) เป็นการให้สิทธิและอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้เป็นของตนเอง ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ ซึ่งได้กำหนดอำนาจหน้าที่ที่เป็นของโรงเรียน ไว้โดยเฉพาะ
ภารกิจการบริหารและการจัดการศึกษาของสถานศึกษาภารกิจการบริหารและการจัดการศึกษาของสถานศึกษา วิชาการ บุคคล งบประมาณ บริหารทั่วไป
ระบบสารสนเทศในสถานศึกษาระบบสารสนเทศในสถานศึกษา • ในสถานศึกษามีข้อมูลมากมาย กระจัดกระจายอยู่ในส่วนต่าง ๆ ตามภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบของครู บุคลากรในสถานศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้อง หากไม่มีการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศให้เป็นระบบระเบียบแล้ว จะเกิดความไม่สะดวกหรือเกิดความยุ่งยากในการนำไปใช้ หรือมีข้อมูลสารสนเทศที่ไม่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งไม่เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา
ระบบสารสนเทศในสถานศึกษาระบบสารสนเทศในสถานศึกษา • สถานศึกษาที่มีระบบสารสนเทศที่สมบูรณ์ ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน เรียกใช้ได้สะดวกและตรงตามความต้องการ จะช่วยให้สถานศึกษาสามารถดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล เป็นการสร้างความมั่นใจที่ตั้งอยู่บนรากฐานของหลักวิชา • สารสนเทศทั้งหลายนั้นนอกจากจะใช้ในการวางแผนการดำเนินงานและประกอบการตัดสินใจแล้ว ยังนำไปสู่การพัฒนาแนวความคิด และสร้างทางเลือกใหม่ๆ ในการดำเนินการต่างๆ ด้วย
การจัดระบบสารสนเทศ • การจัดระบบสารสนเทศ สามารถจำแนกตามวิธีดำเนินการออกเป็น 3 ระบบ มีจุดเด่นและจุดด้อย สรุปได้ดังนี้ • 1. ระบบทำด้วยมือ (Manual System) เป็นระบบที่เก็บโดยการใช้เอกสารในรูปแบบต่าง ๆ ระบบนี้มีข้อดี คือค่าใช้จ่ายน้อย ส่วนข้อเสียคือ การเรียกใช้ไม่สะดวกและไม่ทันการหากจัดระบบแฟ้มเอกสารไม่เหมาะสมเท่าที่ควร
การจัดระบบสารสนเทศ • 2. ระบบกึ่งอัตโนมัติ (Semi – Automation) ระบบนี้ใช้มือทำส่วนหนึ่ง และใช้เครื่องกลส่วนหนึ่ง กล่าวคือ ส่วนที่เป็นเอกสารต่าง ๆ ทำด้วยมือ และส่วนที่สร้างระบบสารสนเทศใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย ระบบนี้มีข้อดีคือ ค่าใช้จ่ายไม่สูง การฝึกอบรมบุคลากรไม่มากนัก แต่มีข้อเสียคือ ถ้ารูปแบบเอกสารไม่เหมาะสม การปฏิบัติงานไม่เหมาะสม การดำเนินการจะล่าช้าหากข้อมูลจากการกรอกเอกสารผิดพลาด ระบบนี้จะทำได้ดีต่อเมื่อส่วนที่ทำด้วยมือทำได้สมบูรณ์แบบ ได้แก่ การกรอกข้อมูลครบถ้วน ถูกต้อง มีระบบควบคุม ตรวจสอบอย่างดี
การจัดระบบสารสนเทศ • 3. ระบบอัตโนมัติ (Full – Automation) เป็นระบบที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ดำเนินงาน ระบบนี้ต้องมีการออกแบบให้เข้ากับลักษณะงาน เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สร้างมาจะมีลักษณะและขนาดของเครื่องแตกต่างกัน
การจัดระบบสารสนเทศ ตัวอย่างการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ โดยใช้แฟ้มเอกสาร อาจแบ่งได้ดังนี้ • แฟ้มข้อมูลหลัก: เป็นข้อมูลพื้นฐานซึ่งแบ่งเป็นหลายแฟ้มตามโครงสร้างของงาน • แฟ้มข้อมูลย่อย : เป็นแฟ้มข้อมูลใหม่ ๆ ของแฟ้มข้อมูลหลักแต่ยังอาจต้องปรับ ให้เป็นปัจจุบัน • แฟ้มดัชนี: เป็นแฟ้มเลขดัชนี้ที่ระบุว่าข้อมูลใดอยู่ส่วนไหนของข้อมูลหลัก • แฟ้มตารางอ้างอิง : เป็นแฟ้มรวบรวมข้อมูลในลักษณะตารางซึ่งใช้ประโยชน์ใน การอ้างอิง • แฟ้มข้อมูลสรุป : เป็นแฟ้มที่รวบรวมข้อมูลในรูปแบบของการสรุปผล • แฟ้มข้อมูลสำรอง : เป็นการสร้างแฟ้มสำรองข้อมูลสำคัญ ๆ เพื่อประโยชน์ ในกรณีที่ข้อมูลเดิมสูญหาย
การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา • ในการประเมินคุณภาพผู้เรียนเพื่อจัดทำข้อมูลสารสนเทศ นั้น สถานศึกษาต้องประเมินจากผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา ผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี และผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมตามนโยบายพิเศษ จะได้ข้อมูลสารสนเทศที่สมบูรณ์ พร้อมนำไปใช้ในการเขียนรายงานและเป็นข้อมูลสำหรับวางแผนพัฒนาในปีต่อไป ลักษณะหรือรูปแบบการจัดเก็บ อาจจำแนกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่
การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา • ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา • ข้อมูลสารสนเทศที่เกิดจากการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา • ข้อมูลสารสนเทศที่เกิดจากการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี
การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา • นอกจากนี้ สถานศึกษาควรจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศย้อนหลังอย่างน้อย 3 ปี เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา และเตรียมความพร้อมในการรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก ซึ่งควรจัดเก็บผลการดำเนินงานของสถานศึกษาให้ครอบคลุมมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ดังนี้ • 1. ผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา (ผลจาก SAR ของสถานศึกษาย้อนหลัง) • 2. ผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีย้อนหลัง • 3. ผลการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาย้อนหลัง
ตัวอย่างข้อมูลสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษาที่ใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษาตัวอย่างข้อมูลสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษาที่ใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษา • 1. สารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา ข้อมูลเกี่ยวกับสถานศึกษา เช่น • ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ • เป้าหมาย/เป้าประสงค์ • โครงสร้าง • บุคลากร • ภูมิปัญญาท้องถิ่น • แหล่งเรียนรู้ • ทรัพยากรและงบประมาณ • เกียรติยศชื่อเสียง/ผลงาน/โครงการดีเด่นของสถานศึกษา
ตัวอย่างข้อมูลสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษาที่ใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษาตัวอย่างข้อมูลสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษาที่ใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษา • 2. สารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียน • 1) จำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียน • 2) จำนวนนักศึกษาที่จบการศึกษา
ตัวอย่างข้อมูลสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษาที่ใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษาตัวอย่างข้อมูลสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษาที่ใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษา • 3. สารสนเทศบริหารงานวิชาการ • 3.1 หลักสูตสถานศึกษา • -ระดับประถมศึกษา -ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น -ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย • 3.2 กลุ่มหมวดวิชาพื้นฐาน • 3.3 กลุ่มหมวดวิชาประสบการณ์ • 3.4 ระเบียบและแนวทางต่างๆ เช่น คู่มือการวัดผลและประเมินผลการเรียน การเทียบโอนผลการเรียน เป็นต้น
ตัวอย่างข้อมูลสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษาที่ใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษาตัวอย่างข้อมูลสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษาที่ใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษา • 4. สารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ • 4.1 งานบริหารทั่วไป • งานพัฒนาบุคลากร • งานทะเบียนนักศึกษา • งานการเงินและบัญชี • งานประกันคุณภาพการศึกษา • งานเครือข่าย 4.2 งานนโยบายและแผน 4.2 งบประมาณ 4.4 การประกันคุณภาพการศึกษา
ตัวอย่างข้อมูลสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษาที่ใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษาตัวอย่างข้อมูลสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษาที่ใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษา • 5. สารสนเทศเพื่อการรายงาน • รายงาน แผนงาน/โครงการ • รายงานการประชุมประจำเดือน • รายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือน ส • รุปผลการดำเนินงานตามรายโครงการ/กิจกรรม • รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2553 รอบ 6 เดือน • รายงานการประเมินตนเอง (SAR)
ตัวอย่างข้อมูลสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษาที่ใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษาตัวอย่างข้อมูลสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษาที่ใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษา • 6. สารสนเทศ คู่มือและแนวทางการปฏิบัติงาน • คู่มือ/แนวทางการจัดการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาพื้นฐาน • คู่มือดำเนินงาน หลักสูตร • คู่มือการฝึกอบรม • คู่มือวิจัยปฎิบัติการแบบมีส่วนร่วม • คู่มือการใช้โปรแกรม • คู่มือการใช้โปรแกรมฐานข้อมูลห้องสมุด • คู่มือผู้ใช้งานระบบ E-Library • คู่มือการจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
Assignment คำถาม การประกันคุณภาพระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีมาตรฐานการศึกษาและตัวบ่งชี้ เพื่อประเมินคุณภาพการศึกษา ขั้นพื้นฐานมีกี่มาตรฐาน มีมาตรฐานอะไรบ้าง และแต่ละมาตรฐานมีกี่ตัวบ่งชี้ คำถาม การประกันคุณภาพระดับอุดมศึกษา มีองค์ประกอบและตัวบ่งชี้เพื่อประเมินคุณภาพการศึกษา ระดับอุดมศึกษา มีกี่องค์ประกอบ มีองค์ประกอบอะไรบ้าง และแต่ละองค์ประกอบมีกี่ตัวบ่งชี้ คำถาม จากเกณฑ์การประเมินดังกล่าวมีมาตรฐานหรือองค์ประกอบใดหรือตัวบ่งชี้ใดบ้าง ที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ จงอธิบาย
Assignment ให้นักศึกษาออกแบบ แบบฟอร์มบันทึกข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา เช่น • ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา • ข้อมูลผู้บริหาร • ข้อมูลนักเรียน • ข้อมูลครูและบุคลากร • ข้อมูลอาคารสถานที่ • ข้อมูลงบประมาณ • ผลงานดีเด่น • งาน/โครงการ/กิจกรรม • ฯลฯ โดยให้นักศึกษาเขียนแบบฟอร์มดังกล่าวลงในกระดาษ A4