110 likes | 529 Views
บทที่ 2 บทบาท ของการบริหาร การเงิน. SIRIPORN SOMKHUMPA. บทบาทของการบริหารการเงิน.
E N D
บทที่ 2 บทบาทของการบริหารการเงิน SIRIPORN SOMKHUMPA
บทบาทของการบริหารการเงินบทบาทของการบริหารการเงิน เมื่อก่อนการบริหารการเงินในธุรกิจของตนเองบทบาทก็จะไม่มาก เริ่มจากการวางแผน หรือประมาณการว่าธุรกิจเรานี้เริ่มแรกต้องใช้เงินเท่าไร แล้วกลับมามองว่าธุรกิจมีเงินอยู่แล้ว เท่าไร ขาดอีกเท่าไรที่ต้องจัดหาเพิ่ม หลังจากนั้นก็ดำเนินการจัดหาเงินมาลงทุนในกิจการ เช่น ซื้ออาคาร ซื้ออุปกรณ์ ซื้อวัตถุดิบ ซื้อสินค้ามาเพื่อดำเนินธุรกิจ ในภาวะปัจจุบันบทบาทของการเงินธุรกิจมีมากขึ้น เพราะเราไม่ได้เป็นธุรกิจเดียวต้องมีคู่แข่งขัน ต้องประสบกับภาวะที่ไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ ภาวะเงินเฟ้อ การคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ ๆ ยิ่งทำให้ธุรกิจต้องใช้เงินทุนเพิ่มมากขึ้น การขยายตัวการดำเนินงานไปต่างประเทศจะผลักดันให้ผู้จัดการทางการเงินมีบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในการบริหารทั่ว ๆ ไปด้วย
วิวัฒนาการของการเงินธุรกิจวิวัฒนาการของการเงินธุรกิจ วิวัฒนาการของการเงินธุรกิจไว้ว่า การเงินธุรกิจ (Business Finance) มาจากคำเดิมในหมวดวิชาเศรษฐศาสตร์ คือ การเงินองค์การ (Corporate Finance) เพราะแต่เดิมวิชานี้เป็นสาขาหนึ่งของวิชาเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเน้นการศึกษาจัดหาเงินทุนระยะยาว และวงจรชีวิตของกิจการ มีวิวัฒนาการแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะเริ่มแรก (พ.ศ.2483 – 2491) การดำเนินธุรกิจด้านการเงินมุ่งจัดหาเงินทุนจากแหล่งภายนอกมาลงทุน ระยะกลาง (หลังสงครามโลกครั้งที่ 2) ธุรกิจมีการขยายตัวสูงทางด้านการผลิต และเทคโนโลยีการซื้อขายระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้น การจัดหาเงินทุนระยะสั้นจากแหล่งภายในเพิ่มมากขึ้น การศึกษาทางการเงินธุรกิจในระยะนี้ มุ่งด้าน การบริหารเงินทุนหมุนเวียน (Working Capital) รวมทั้งศึกษาการวิเคราะห์ ความเคลื่อนไหวของเงินทุนและเงินสด ระยะที่สาม (ตั้งแต่ พ.ศ.2498 เป็นต้นมา) เศรษฐกิจขยายตัวมากการจัดหาเงินทุนมีข้อจำกัดมากขึ้น ธุรกิจมีทุนจำกัด ฉะนั้นต้องจัดสรรเงินทุนกี่ยวกับการใช้เงินทุนระยะยาว จัดอันดับความสำคัญและความจำเป็นก่อนหลัง วิเคราะห์และประเมินผลการบริหารทางการเงิน ซึ่งการตัดสินใจนี้ต้องอาศัยการพิจารณาข้อมูล และทางเลือกทุกทางที่อาจเป็นไปได้แล้วจึงตัดสินใจ
ความรับผิดชอบในการดำเนินธุรกิจความรับผิดชอบในการดำเนินธุรกิจ 1.เจ้าหนี้ (Creditor) ต้องการให้มีความมั่นคงทางการเงิน สามารถจ่ายชำระหนี้ตามกำหนด 2.เจ้าของหรือผู้ถือหุ้น (Owner) ต้องการผลตอบแทนจากการลงทุนสูงสุด ต้องการกำไรมาก ๆเงินปันผลมาก ๆ มูลค่าของธุรกิจพิ่มขึ้น 3.ใสังคม (Society) ต้องการให้ดำเนินงานไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดี ไม่เป็นภัยต่อสุขภาพ ไม่เอาเปรียบผู้บริโภค 4.รัฐบาล (Government) ต้องการให้ดำเนินงานไม่ขัดต่อนโยบายของรัฐบาลและกฎหมายของประเทศ พร้อมทั้งมีการชำระภาษีอย่างถูกต้อง 5.ลูกจ้างพนักงาน (Employee)ต้องการโอกาสก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน มีความมั่นคงในการทำงานมีสวัสดิการที่ดี
จุดมุ่งหมายของธุรกิจ และจุดมุ่งหมายทางการเงิน 1.เพื่อให้เจ้าของได้รับความมั่งคั่งสูงสุด (Shareholder Wealth Maximization) หมายถึง การพยายามทำให้เจ้าของหรือผู้ถือหุ้นได้รับผลตอบแทนสูงที่สุด นั่นคือให้มี Highest Combination ของเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรของกิจการ ในขณะเดียวกัน เราอาจจะแยกพิจารณาเป็นประเด็นๆ ได้ ดังนี้ 1.1ราคาตลาดของหุ้นสามัญ 1.2ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น 1.3ผู้ถือหุ้นมีสัดส่วนการเป็นเจ้าของ 1.4การจ่ายเงินปันผล
จุดมุ่งหมายของธุรกิจ และจุดมุ่งหมายทางการเงิน(ต่อ) 2.เพื่อให้ได้กำไรสูงสุด (Profit Maximization) คือการทำให้ธุรกิจกำไรสูงสุด (To Maximize Profit) ในทางทฤษฎีจะเป็นจริงภายใต้ข้อสมมติว่าภาวะต่าง ๆ มีความแน่นอนหรือไม่มีความเสี่ยง เป้าหมายกำไรสูงสุดนี้ คือ การเพิ่มกำไรรวมทั้งหมดที่ได้จากการประกอบการให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ จะเห็นว่าเป้าหมายนี้มีจุดบกพร่องหลายประการ เช่น 2.1เป้าหมายที่ไม่พิจารณาเรื่องความเสี่ยง 2.2เป้าหมายนี้ผู้บริหารจะขาดความใส่ใจในเรื่องของความเสี่ยงที่เกิดจากการจัดหาเงินมาเพื่อลงทุน 2.3เป้าหมายนี้มีความไม่ชัดเจนในเรื่องของการวัดกำไร 2.4เป้าหมายนี้ไม่คำนึงถึงมูลค่าของเงินตามเวลา 2.5เป้าหมายนี้ไม่มีการกระจายผลตอบแทนให้กับผู้เป็นเจ้าของ
หน้าที่ของผู้จัดการทางการเงินหน้าที่ของผู้จัดการทางการเงิน หน้าที่ของผู้บริหารทางการเงินจะแตกต่างกันไปในแต่ละองค์การขึ้นกับรูปแบบขององค์การ ขนาดขององค์การ และทัศนคติผู้บริหาร แต่อย่างไรก็ตามพอจะกำหนดหน้าที่ของผู้จัดการทางการเงินได้ดังนี้ 1.ตัดสินใจการลงทุนหรือบริหารโครงสร้างทรัพย์สินของกิจการ 2.ตัดสินใจเรื่องการจัดหาเงินทุนหรือบริหารโครงสร้างทางการเงินของกิจการ • จำนวนเงินทุนที่สามารถจัดหาได้ (Availability) • ต้นทุนของเงินทุน (Cost of Funds) • เวลา (Timing) • เงินปันผล (Cash Dividend) 3.การวางแผนและวิเคราะห์ทางการเงิน
สรุป การวางแผนทางการเงินนี้รวมถึงการประเมินเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่อาจจะเกิด และโอกาสที่จะเกิดด้วย การประเมินค่า (Evaluation) ของความต้องการเงินทุนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ก็เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวางแผน ประโยชน์อย่างหนึ่งของการวางแผนคือ It Shortens Reaction Time to Events ดังนั้น ตอนนี้ก็ควรเป็นเวลาที่กิจการต้องเตรียมดำเนินการเพื่อที่จะรองรับการขยายตัวนี้ โดยอาจจะมีการเจรจาขอวงเงินกู้ กับธนาคารหรืออาจจะออกขายหุ้นกู้และหุ้นทุนเพิ่มเติม เงินที่คาดว่าจะจัดหานี้เพื่อที่จะใช้ขยายการลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ตลอดจนเตรียมสั่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับความต้องการดังกล่าว จะเห็นได้ว่าการประเมินการตัดสินใจ เกี่ยวกับการลงทุน และการจัดหาเงินทุน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวางแผนทางการเงิน