540 likes | 724 Views
ข้อจำกัดการค้นในเรื่องเวลา. ป.วิ.อ.มาตรา 96 “ การค้นในที่รโหฐานต้องกระทำระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและตก มีข้อยกเว้นดังนี้ (๑) เมื่อลงมือค้นแต่ในเวลากลางวัน ถ้ายังไม่เสร็จจะค้นต่อไปในเวลากลางคืนก็ได้
E N D
ข้อจำกัดการค้นในเรื่องเวลาข้อจำกัดการค้นในเรื่องเวลา • ป.วิ.อ.มาตรา 96“การค้นในที่รโหฐานต้องกระทำระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและตก มีข้อยกเว้นดังนี้ (๑) เมื่อลงมือค้นแต่ในเวลากลางวัน ถ้ายังไม่เสร็จจะค้นต่อไปในเวลากลางคืนก็ได้ (๒) ในกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง หรือซึ่งมีกฎหมายอื่นบัญญัติให้ค้นได้เป็นพิเศษ จะทำการค้นในเวลากลางคืนก็ได้ (๓) การค้นเพื่อจับผู้ดุร้ายหรือผู้ร้ายสำคัญจะทำในเวลากลางคืนก็ได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตพิเศษจากศาลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของประธานศาลฎีกา” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
หลักเกณฑ์ : ไม่ว่าจะค้นได้โดยมีหมายค้น หรือไม่ก็ตามต้องกระทำระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและตก หรือห้ามมิให้ทำการค้นในเวลากลางคืน • ยกเว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ สามารถค้นในเวลากลางคืนได้ (แต่ต้องสามารถทำการค้นในที่รโหฐานนั้นได้) • เมื่อลงมือค้นแต่ในเวลากลางวัน ถ้ายังไม่เสร็จจะค้นต่อไปในเวลากลางคืนก็ได้ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ในกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง • กรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง กล่าวคือ เหตุหรือพฤติการณ์ต่างๆหากไม่ทำการค้น(ในเวลากลางคืน) จะมีผลทำให้ไม่อาจจับผู้กระทำผิดได้เลย และพยานหลักฐานต่างๆอาจสูญหายหรือถูกทำลายไปหมด • มีกฎหมายอื่นบัญญัติให้ค้นได้เป็นพิเศษ จะทำการในเวลากลางคืนก็ได้ • มีกฎหมายอื่นบัญญัติให้ค้นได้เป็นพิเศษ เช่น พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ.2519 แก้ไขเพิ่มเติม ฉ.2 พ.ศ.2534 มาตรา 14 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ.2519 แก้ไขเพิ่มเติม ฉ.2 พ.ศ.2534 มาตรา 14 (1)..........แต่ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามียาเสพติดซุกซ่อนอยู่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือบุคคลที่จะถูกจับได้หลบซ่อนอยู่ในเคหสถาน หรือสถานที่นั้น ประกับมีเหตุอันควรเชื่อว่าหากไม่ดำเนินการทันที ยาเสพติดนั้นจะถูกโยกย้าย หรือบุคคลที่หลบซ่อนอยู่จะหลบหนี ก็ให้มีอำนาจเข้าไปในเวลากลางคืนภายหลังพระอาทิตย์ตกได้ (2).......” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การค้นเพื่อจับผู้ดุร้ายหรือผู้ร้ายสำคัญจะทำในเวลากลางคืนก็ได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตพิเศษจากศาลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของประธานศาลฎีกา • -ผู้ดุร้าย ได้แก่ ผู้ที่อาจทำอันตรายบุคคลอื่นได้ • -ผู้ร้ายสำคัญ ได้แก่ ผู้ต้องหาซึ่งกระทำความผิดร้ายแรง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
หลักปฏิบัติในการค้นที่รโหฐานหลักปฏิบัติในการค้นที่รโหฐาน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ถ้าเป็นการค้นโดยมีหมาย ก่อนลงมือค้น ต้องแสดงหมายค้น(ม.94 ว.1)และต้องค้นโดยเจ้าพนักงานผู้มีชื่อในหมายค้น หรือผู้รักษาการแทน (ม.97) ถ้าค้นโดยไม่มีหมาย ต้องแสดงนาม และตำแหน่งก่อนลงมือค้น มาตรา 94“ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจที่ทำการค้นในที่รโหฐาน สั่งเจ้าของหรือคนอยู่ในนั้นหรือผู้รักษาสถานที่ซึ่งจะค้น ให้ยอมให้เข้าไปโดยมิหวงห้าม อีกทั้งให้ความสะดวกตามสมควรทุกประการในอันที่จะจัดการตามหมาย ทั้งนี้ให้พนักงานผู้นั้นแสดงหมายหรือถ้าค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายก็ให้แสดง นามและตำแหน่ง ถ้าบุคคล ดั่งกล่าวในวรรคต้นมิยอมให้เข้าไป เจ้าพนักงานมีอำนาจใช้กำลังเพื่อเข้าไป ในกรณีจำเป็นจะเปิดหรือทำลายประตูบ้าน ประตูเรือน หน้าต่าง รั้วหรือสิ่งกีดขวางอย่างอื่นทำนองเดียวกันนั้นก็ได้” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การค้นต้องค้นต่อหน้าผู้ครอบครองสถานที่ หรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้น หรือบุคคลอื่นอย่างน้อยสองคนซึ่งเจ้าพนักงานได้ร้องขอให้มาเป็นพยาน มาตรา 102 ว.1 • การค้นที่อยู่ หรือสำนักงานของผู้ต้องหา หรือจำเลยซึ่งควบคุม หรือขังอยู่ ต้องทำต่อหน้าบุคคลหรือต่อหน้าผู้แทนของผู้ต้องหาหรือจำเลย ถ้าไม่มีก็ค้นต่อหน้าบุคคลในครอบครัวของผู้ต้องหาหรือจำเลย หรือพยานอย่างน้อยสองคนซึ่งเจ้าพนักงานได้ร้องขอให้มาเป็นพยานมาตรา 102 ว.2 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๑๐๒ “การค้นในที่รโหฐานนั้น ก่อนลงมือค้นให้เจ้าพนักงานผู้ค้นแสดงความบริสุทธิ์เสียก่อน และเท่าที่สามารถจะทำได้ให้ค้นต่อหน้าผู้ครอบครองสถานที่หรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้น หรือถ้าหาบุคคลเช่นกล่าวนั้นไม่ได้ ก็ให้ค้นต่อหน้าบุคคลอื่นอย่างน้อยสองคนซึ่งเจ้าพนักงานได้ขอร้องมาเป็นพยาน การค้นที่อยู่หรือสำนักงานของผู้ต้องหาหรือจำเลยซึ่งถูกควบคุมหรือขังอยู่ให้ทำต่อหน้าผู้นั้น ถ้าผู้นั้นไม่สามารถหรือไม่ติดใจมากำกับจะตั้งผู้แทน หรือให้พยานมากำกับก็ได้ ถ้าผู้แทนหรือพยานไม่มี ให้ค้นต่อหน้าบุคคลในครอบครัวหรือต่อหน้าพยานดั่งกล่าวในวรรคก่อน” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ก่อนลงมือค้น เจ้าพนักงานจะต้องแสดงความบริสุทธิ์เสียก่อน • มาตรา 102การค้นในที่รโหฐานนั้น ก่อนลงมือค้นให้เจ้าพนักงานผู้ค้นแสดงความบริสุทธิ์เสียก่อน และเท่าที่สามารถจะทำได้ให้ค้นต่อหน้าผู้ครอบครองสถานที่หรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้น หรือถ้าหาบุคคลเช่นกล่าวนั้นไม่ได้ ก็ให้ค้นต่อหน้าบุคคลอื่นอย่างน้อยสองคนซึ่งเจ้าพนักงานได้ขอร้องมาเป็นพยาน • ในการค้นเจ้าพนักงานจะต้องพยายามมิให้มีการเสียหายและจัดกระจายเท่าที่จะทำได้ • มาตรา 99“ในการค้นนั้น เจ้าพนักงานต้องพยายามมิให้มีการเสียหายและกระจัดกระจายเท่าที่จะทำได้” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
เจ้าพนักงานมีอำนาจสั่งให้เจ้าของ หรืออยู่ในที่รโหฐาน หรือผู้รักษาสถานที่ซึ่งจะค้น ให้ยอมให้เข้าในที่รโหฐานโดยมิหวงห้าม และให้ความสะดวกตามสมควร ม.94 ว.2 • ถ้าบุคคลดังกล่าวไม่ยอมให้เข้าไป เจ้าพนักงานมีอำนาจใช้กำลังเพื่อเข้าไป และถ้าจำเป็นมีอำนาจเปิด หรือทำลายประตูบ้าน ประตูเรือน หน้าต่าง รั้วหรือสิ่งกีดขวงอย่างอื่นได้ • การค้นเพื่อหาสิ่งของ เจ้าพนักงานอาจอนุญาตให้เจ้าของหรือผู้แทนเข้าไปร่วมค้นหาของได้ ม.95 มาตรา 95 “ในกรณีค้นหาสิ่งของที่หาย ถ้าพอทำได้ จะให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองสิ่งของนั้นหรือผู้แทนของเขาไปกับเจ้าพนักงานในการค้นนั้นด้วยก็ได้” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
กรณีที่เจ้าพนักงานมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลซึ่งอยู่ในที่ซึ่งค้นหรือจะถูกค้น จะขัดขวางถึงกับทำให้การค้นไร้ผล เจ้าพนักงานผู้ค้นมีอำนาจควบคุมตัวบุคคลนั้น หรือให้อยู่ในความดูแลของเจ้าพนักงานในขณะที่ทำการค้นเท่าที่จำเป็น เพื่อมิให้ขัดขวางถึงกับทำให้การค้นนั้นไร้ผล (ม.100ว.1) • ในกรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลดังกล่าวเอาของที่ต้องการพบซุกซ่อนในร่างกาย เจ้าพนักงานมีอำนาจค้นตัวบุคคลนั้นได้(ม.100ว.2) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 100 “ถ้ามีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลซึ่งอยู่ในที่ซึ่งค้นหรือจะถูกค้นจะขัดขวางถึงกับทำให้การค้นไร้ผล เจ้าพนักงานผู้ค้นมีอำนาจเอาตัวผู้นั้นควบคุมไว้หรือให้อยู่ในความดูแลของเจ้าพนักงานในขณะที่ทำการค้นเท่าที่จำเป็น เพื่อมิให้ขัดขวางถึงกับทำให้การค้นนั้นไร้ผล ถ้ามีเหตุอันควร สงสัยว่าบุคคลนั้นได้เอาสิ่งของที่ต้องการพบซุกซ่อนในร่างกายเจ้าพนักงานผู้ ค้นมีอำนาจค้นตัวผู้นั้นได้ดั่งบัญญัติไว้ตามมาตรา 85 มาตรา 85 เจ้าพนักงานผู้จับหรือรับตัวผู้ถูกจับไว้ มีอำนาจค้นตัวผู้ต้องหา และยึดสิ่งของต่างๆ ที่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ การค้นนั้นจักต้องทำโดยสุภาพ ถ้าค้นผู้หญิงต้องให้หญิงอื่นเป็นผู้ค้น สิ่งของใดที่ยึดไว้เจ้าพนักงานมีอำนาจยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่สุด เมื่อเสร็จคดีแล้วก็ให้คืนแก่ผู้ต้องหาหรือแก่ผู้อื่น ซึ่งมีสิทธิเรียกร้องขอคืนสิ่งของนั้น เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ในการค้นเจ้าพนักงานจะค้นได้เฉพาะเพื่อหาตัวคน หรือสิ่งของที่ต้องการค้นเท่านั้น(ม.98) ยกเว้นแต่ • การค้นเพื่อพบสิ่งโดยไม่จำกัดสิ่ง มีอำนาจยึดสิ่งของใดๆ ซึ่งน่าจะใช้เป็นพยานหลักฐานเพื่อเป็นประโยชน์หรือยันผู้ต้องหาหรือจำเลยซึ่งอาจใช้ยัน • เจ้าพนักงานไม่มีอำนาจจับบุคคลใด ยกเว้นแต่ • บุคคลนั้นกระทำความผิดซึ่งหน้า หรือเป็นบุคคลที่มีให้หมายจับ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
สิ่งของที่ค้นได้ยึดได้ • เจ้าพนักงานต้องให้บรรจุ ตีตราสิ่งของที่ยึด ม.101 • เจ้าพนักงานต้องบันทึกรายละเอียดสิ่งของที่ยึด ม. 103 • เจ้าพนักงานต้องให้บุคคลในครอบครัวผู้ต้องหา จำเลย ผู้แทน หรือพยานดู เพื่อให้รับรองว่าถูกต้อง(ม.102 ว.ท้าย ม.103 ว.ท้าย) • ถ้าบุคคลนั้นรับรองหรือไม่รับรองก็ให้บันทึกเหตุนั้นไว้ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การปล่อยชั่วคราว กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
หลักในการขอปล่อยชั่วคราว • ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ม.40(7) • คำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว ต้องได้รับการพิจารณาโดยเร็ว • จะเรียกหลักประกันเกินสมควรมิได้ • การไม่ให้ประกันต้องอาศัยเหตุตามกฎหมาย • ผู้อื่นขอประกันมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตให้ประกัน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ร.ธ.น. มาตรา ๔๐ (๗) “บุคคลย่อมมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ดังต่อไปนี้ (๗) ในคดีอาญา ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิได้รับการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีที่ถูกต้องรวดเร็ว และเป็นธรรม โอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเพียงพอ การตรวจสอบหรือได้รับทราบพยานหลักฐานตามสมควร การได้รับความช่วยเหลือในทางคดีจากทนายความ และการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราว • ผู้ต้องหา, จำเลย • ผู้มีประโยชน์ได้เสีย เช่น บุพการี ผู้สืบสันดาน สามี ภริยา ญาติพี่น้อง ผู้บังคับบัญชา นายจ้าง บุคคลที่เกี่ยวพันโดยทางสมรสบุคคลที่เจ้าพนักงาน หรือศาลเห็นว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเสมือนเป็นญาติพี่น้องหรือมีความสัมพันธ์ในทางอื่นที่เจ้าพนักงานหรือศาลเห็นสมควรให้ประกันได้ หรือนิติบุคคล เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด สำหรับกรณีผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นกรรมการ ผู้แทน ตัวแทน หุ้นส่วน พนักงานหรือลูกจ้างของนิติบุคคลนั้น กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจให้ปล่อยชั่วคราวเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจให้ปล่อยชั่วคราว • พนักงานสอบสวน ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาซึ่งอยู่ในความควบคุม ม.106 (1),ม.113 ได้ไม่เกิน 6 เดือน • พนักงานอัยการ ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาซึ่งอยู่ในความควบคุม ม.106 (1),ม.113, ม.143 (2) (ข) ได้ไม่เกิน 6 เดือน • ศาลชั้นต้น • ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาซึ่งถูกขังระหว่างสอบสวนตามคำร้องขอของพนักงานสอบสวน หรือพนักงานอัยการ ม.106 (2) ได้ไม่เกินระยะเวลาตามมาตรา 87 • ปล่อยชั่วคราวจำเลยซึ่งถูกขังระหว่างพิจารณาในศาลชั้นต้น ม.106 (3),ระหว่างอายุอุทธรณ์, อายุฎีกาม.106 (4) ได้จนกว่าจะเพิกถอนการปล่อยชั่วคราว • ศาลอุทธรณ์ จำเลยถูกขังอยู่ในระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์, ศาลฎีกา จำเลยถูกขังอยู่ในระหว่างการพิจารณาฎีกาม.106 (5) ได้จนกว่าจะเพิกถอนการปล่อยชั่วคราว กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 113“เมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการสั่งปล่อยชั่วคราวไม่ว่าจะมี ประกันหรือมีประกันและหลักประกันหรือไม่ การปล่อยชั่วคราวนั้นให้ใช้ได้ระหว่างการสอบสวนหรือจนกว่าผู้ต้องหาถูกศาล สั่งขังระหว่างสอบสวนหรือจนถึงศาลประทับฟ้อง แต่มิให้เกินสามเดือนนับแต่วันแรกที่มีการปล่อยชั่วคราว ไม่ว่าเป็นการปล่อยชั่วคราวโดยพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นทำให้ไม่อาจทำการสอบสวนได้เสร็จภายในกำหนดสามเดือนจะ ยืดเวลาการปล่อยชั่วคราวให้เกินสามเดือนก็ได้ แต่มิให้เกินหกเดือน เมื่อการปล่อยชั่วคราวสิ้นสุดลงตามวรรคหนึ่งแล้ว ถ้ายังมีความจำเป็นที่จะต้องควบคุมผู้ต้องหาไว้ต่อไปให้ส่งผู้ต้องหามาศาล และให้นำบทบัญญัติมาตรา 87วรรคสี่ ถึงวรรคเก้ามาใช้บังคับ” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 106 “คำร้องขอให้ปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราวโดยไม่ต้องมีประกันหรือมีประกัน หรือมีประกันและหลักประกัน ไม่ว่าผู้นั้นต้องควบคุมหรือขังตามหมายศาล ย่อมยื่นได้โดยผู้ต้องหา จำเลย หรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องดังนี้ (1) เมื่อผู้ต้องหาถูกควบคุมอยู่และยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล ให้ยื่นต่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ แล้วแต่กรณี (2) เมื่อผู้ต้องหาต้องขังตามหมายศาลและยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล ให้ยื่นต่อศาลนั้น (3) เมื่อผู้ต้องหาถูกฟ้องแล้ว ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้นที่ชำระคดีนั้น (4)เมื่อศาลอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์แล้ว แม้ยังไม่มีการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกา หรือมีการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาแล้ว แต่ยังไม่ได้ส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้นที่ชำระคดีนั้น ในกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราว ให้ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตมิฉะนั้นให้รีบส่งคำร้องพร้อมสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาเพื่อสั่ง แล้วแต่กรณี (5) เมื่อศาลส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาแล้ว จะยื่นต่อศาลชั้นต้นที่ชำระคดีนั้น หรือจะยื่นต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณีก็ได้ในกรณีที่ยื่นต่อศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นรีบส่งคำร้องไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาเพื่อสั่ง แล้วแต่กรณี” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
เหตุที่จะพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวม.108เหตุที่จะพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวม.108 • ความหนักเบาแห่งข้อหา • พยานหลักฐานที่ปรากฏแล้วมีเพียงใด • เชื่อถือผู้ขอประกันและหลักประกันเพียงใด • ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนีหรือไม่ • ภัยอันตรายหรือความเสียหายอันเกิดจากการปล่อยชั่วคราว • มีคัดค้านของพนักงานสอบสวนหรืออัยการ • ฟ้องเท็จจริง รายงาน หรือความอื่น กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การสั่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราวการสั่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราว • หลัก : ต้องอนุญาต (ม.107,(ม.108/1) • ถ้าไม่อนุญาต ต้องให้เหตุผลในคำสั่งโดยอาศัยเหตุผลและแจ้งให้ผู้ขอทราบโดยเร็ว มาตรา 107 “เมื่อได้รับคำร้องให้ปล่อยชั่วคราว ให้เจ้าพนักงานหรือศาลรีบสั่งอย่างรวดเร็วและผู้ต้องหาหรือจำเลยทุกคนพึงได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว โดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 108 มาตรา 108/1 มาตรา 109 มาตรา 110 มาตรา 111 มาตรา 112 มาตรา 113 และมาตรา 113/1 คำสั่งให้ปล่อยชั่วคราวตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการตามคำสั่งดังกล่าวโดยทันที” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 108/1“การสั่งไม่ให้ปล่อยชั่วคราว จะกระทำได้ต่อเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนี (๒) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน (๓) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น (๔) ผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันไม่น่าเชื่อถือ (๕) การปล่อยชั่วคราวจะเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงานหรือการดำเนินคดีในศาล คำสั่งไม่ให้ปล่อยชั่วคราวต้องแสดงเหตุผล และต้องแจ้งเหตุดังกล่าวให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยและผู้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวทราบเป็นหนังสือโดยเร็ว” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประเภทของการปล่อยชั่วคราวประเภทของการปล่อยชั่วคราว • ปล่อยโดยไม่มีประกัน • คดีที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี • ไม่ต้องมีการทำสัญญาประกัน • ให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยสาบานหรือปฏิญาณตนว่าจะมาตามนัดหรือหมายเรียก(ม.111) • ปล่อยโดยมีประกัน • คดีที่มีอัตราโทษจำคุกเกินกว่า 5 ปี • มีการทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหา หรือจำเลย • ปล่อยโดยมีประกันและหลักประกัน • คดีที่มีอัตราโทษจำคุกเกินกว่า 5 ปี • มีการทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหา หรือจำเลย • เจ้าพนักงานหรือศาลเห็นสมควรเรียกหลักประกัน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
หลักประกันในการขอปล่อยชั่วคราวหลักประกันในการขอปล่อยชั่วคราว มาตรา ๑๑๔ “เมื่อจะปล่อยชั่วคราวโดยให้มีประกันและหลักประกันด้วย ก่อนปล่อยตัวไป ให้ผู้ร้องขอประกันจัดหาหลักประกันมาดั่งต้องการ หลักประกันมี ๓ ชนิด คือ (๑) มีเงินสดมาวาง (๒) มีหลักทรัพย์อื่นมาวาง (๓) มีบุคคลมาเป็นหลักประกัน โดยแสดงหลักทรัพย์” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
หลักประกันในการขอปล่อยชั่วคราวหลักประกันในการขอปล่อยชั่วคราว • 1. การใช้หลักทรัพย์เป็นประกัน ได้แก่ • 1.1 เงินสด • 1.2 ที่ดินมีโฉนด หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 หรือน.ส. 3 ก.)ซึ่งมีหนังสือรับรองราคาประเมินของสำนักงานที่ดินและไม่มีภาระผูกพันอันอาจกระทบต่อการบังคับคดี (จำนอง) • 1.3 ห้องชุดมีโฉนดที่ดินและมีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด และต้องไม่มีภาระผูกพันอันอาจกระทบต่อการบังคับคดี • 1.4 หลักทรัพย์อย่างอื่นที่กำหนดราคามูลค่าที่แน่นอนได้ เช่น-พันธบัตรรัฐบาล- สลากออมสิน- สลากออมทรัพย์ทวีสินของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร- ใบรับเงินฝากประจำของธนาคาร- กรมธรรม์ประกันภัย - ตั๋วเงินที่ธนาคารรับรอง เป็นผู้ออกตั๋ว หรือเป็นผู้สั่งจ่าย - หนังสือค้ำประกันหรือหนังสือรับรองของธนาคาร กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
2. การใช้บุคคลเป็นประกัน (ตำแหน่ง) • 3. ส่วนราชการตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการช่วยเหลือข้าราชการหรือลูกจ้างของทางราชการที่ต้องหาคดีอาญา • 4. เป็นผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่การงานหรือมีรายได้แน่นอน เช่น ข้าราชการ ข้าราชการบำนาญ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานของรัฐประเภทอื่น ๆ รวมถึงลูกจ้างของทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานบริษัทเอกชนให้ทำสัญญาประกันได้ในวงเงินไม่เกิน 10 เท่า ของอัตราเงินเดือนหรือรายได้เฉลี่ยต่อเดือน • 5. เป็นผู้ประกอบวิชาชีพ เช่น แพทย์ เภสัชกร พยาบาล วิศวกร สถาปนิก ผู้สอบบัญชี ครู ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชน ฯ เมื่อต้องเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย อาจใช้ตนเองเป็นหลักประกันได้ สำหรับกรณีความผิดที่ถูกกล่าวหาเกิดจากการปฎิบัติหน้าที่หรือการปฎิบัติงานในการประกอบวิชาชีพโดยสามารถทำสัญญาประกันได้ในวงเงินไม่เกิน 15 เท่าของอัตราเงินเดือนหรือรายได้เฉลี่ยต่อเดือน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อสังเกต • ในกรณีที่วงเงินประกันมียอดสูงกว่าวงเงินที่ผู้นั้นมีสิทธิประกันได้ เจ้าพนักงานหรือศาลอาจกำหนดให้ผู้ขอประกันวางเงินหรือหลักทรัพย์อื่นเพิ่มเติมให้เพียงพอ กับวงเงินประกันหรืออาจให้มีผู้ขอประกันหลายคนร่วมกัน ทำสัญญาประกันโดยใช้วงเงินของแต่ละคนรวมกันได้ • ในกรณีหลักประกัน มียอดสูงกว่าวงเงินประกัน ผู้นั้นมีสิทธินำไปประกันผู้ต้องหรือจำเลยคนอื่นได้อีก กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
หลักฐานที่ต้องนำมาแสดงในการขอประกันตัวต่อศาลหลักฐานที่ต้องนำมาแสดงในการขอประกันตัวต่อศาล - บัตรประจำตัวประชาชน บัตรข้าราชการ หรือบัตรแสดงตำแหน่งหน้าที่การงาน ทะเบียนบ้านของจำเลยและผู้ขอประกันพร้อมสำเนา - หลักทรัพย์ที่ใช้ประกัน เช่น เงินสดโฉนดที่ดิน หนังสือรับรองการ ทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) สมุดเงินฝากประจำพร้อมสำเนา - หนังสือรับรองจากต้นสังกัดหรือนายจ้าง (กรณีขอประกันตัวด้วยตำแหน่งหน้าที่) - หนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินจากสำนักงานที่ดิน (กรณีใช้โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นประกัน)พร้อมสำเนา - หนังสือรับรองจากธนาคาร (กรณีใช้สมุดเงินฝากประจำเป็นประกัน) - หนังสือยินยอมของคู่สมรส (กรณีผู้ขอประกันมีคู่สมรส) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ตัวอย่างอัตราหลักทรัพย์ตัวอย่างอัตราหลักทรัพย์ • อัตราหลักทรัพย์ที่ขอประกันผู้ต้องหาหรือจำเลย • ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย 1. ฆ่าผู้อื่น 300,000 บาทขึ้นไป 2. พยายามฆ่า 200,000 บาทขึ้นไป 3. ประมาทเป็นเหตุให้คนตาย - รถส่วนตัว 200,000 บาท - รถรับจ้าง 250,000 บาทขึ้นไป 4. ทำร้ายร่างกายสาหัส 150,000 บาทขึ้นไป กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
+ 48 ชั่วโมง พนักงานสอบสวนปล่อยชั่วคราว กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ยื่นคำร้องขอให้ศาลขังยื่นคำร้องขอให้ศาลขัง หมายขัง ค.1 12 วัน 48 ชั่วโมง ศาลปล่อยชั่วคราว กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
เมื่อมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันเมื่อมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกัน • คำสั่งของเจ้าพนักงาน • อุทธรณ์ไม่ได้ • ขอปล่อยชั่วคราวใหม่ได้ • คำสั่งของศาลชั้นต้น, อุทธรณ์, • อุทธรณ์,ฎีกาได้ คำสั่งยืนให้เป็นที่สุด • ขอปล่อยชั่วคราวใหม่ได้ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
เมื่อมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันเมื่อมีคำสั่งอนุญาตให้ประกัน • ได้รับการปล่อยชั่วคราว จนกว่าจะเรียกตัว • เมื่อเรียกตัวแล้ว ต้องพาผู้ต้องหา,จำเลยมา • ถ้านายประกันไม่นำตัวผู้ต้องหา, จำเลยมา ถือว่าผิดสัญญาประกัน ถ้าผู้ประกันไม่ชำระค่าปรับตามสัญญา บังคับทางสัญญาโดย • เจ้าพนักงาน ฟ้องบังคับตามสัญญาประกันเว้นแต่การวางเงินประกัน บังคับค่าปรับได้ทันที • ศาลพิพากษาปรับตามสัญญา ถ้าไม่ชำระ ศาลออกหมายบังคับคดีโดยหัวหน้าสำนักงานประจำศาลยุติธรรมเป็นผู้ดำเนินการบังคับคดีในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา (มาตรา 119 ว.2) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
หลักประกันจะได้รับคืนเมื่อหลักประกันจะได้รับคืนเมื่อ • คืนผู้ต้องหา จำเลย ต่อผู้อนุญาตให้ประกัน • ความรับผิดตามสัญญาสิ้นสุด • คดีถึงที่สุด กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การควบคุมตัว การฝากขัง การผัดฟ้อง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาคดีอาญาศาลแขวง พ.ศ. 2499 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คดีที่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาคดีอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 ได้แก่ • พื้นที่ที่มีการจัดตั้งศาลแขวง • คดีอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ • คดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน 3 แสนบาท • พื้นที่ที่ไม่มีการจัดตั้งศาลแขวง แต่มีกฎหมายให้นำ พ.ร.บ. จัดตั้งฯไปใช้ในพื้นที่โดยอนุโลม กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
พนักงานสอบสวน หรือพนักงานอัยการต้องยื่นฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล ภายใน 48ชม. นับแต่ผู้ต้องหาถูกจับม.7 พ.ร.บ.ศาลแขวงฯ • ถ้าฟ้องไม่ทันภายใน 48 ชม. พนักงานสอบสวน หรือพนักงานอัยการต้องยื่นคำร้องขอผัดฟ้องต่อศาล • ศาลอนุญาตได้คราวหนึ่งไม่เกิน 6 วัน รวมกันไม่เกิน 3 คราว • หากศาลอนุญาตครบ 3 คราวแล้ว ยังฟ้องไม่ทันอีก หากพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อขอผัดฟ้องต่อไปอีกโดยอ้างเหตุจำเป็น ศาลจะอนุญาตตามขอนั้นได้ ก็ต่อเมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการได้แสดงถึงเหตุจำเป็นและนำพยานเข้าเบิกความประกอบจนเป็นที่พอใจ • ศาลอนุญาตให้ผัดฟ้องต่อไปได้อีก 2 คราว ๆละ ไม่เกิน 6 วัน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงฯ ม.7 “ในการสอบสวนคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ เมื่อมีการจับตัวผู้ต้องหาได้แล้ว ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมด้วยสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ เพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับ แต่มิให้นับเวลาเดินทางตามปกติที่นำตัวผู้ต้องหาจากที่จับมายังที่ทำการของพนักงานสอบสวน......ในเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนั้นด้วย” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ในกรณีที่มีความจำเป็นไม่สามารถฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลได้ทันภายในกำหนดเวลาดังกล่าวในวรรคแรก ให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ขอผัดฟ้องต่อไปได้อีกคราวละไม่เกินหกวัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินสามคราว ....... เมื่อศาลอนุญาตให้ผัดฟ้องครบสามคราวแล้ว หากพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อขอผัดฟ้องต่อไปอีกโดยอ้างเหตุจำเป็น ศาลจะอนุญาตตามขอนั้นได้ ก็ต่อเมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการได้แสดงถึงเหตุจำเป็นและนำพยานเข้าเบิกความประกอบจนเป็นที่พอใจ....ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งอนุญาตให้ผัดฟ้องต่อไปได้คราวละไม่เกินหกวัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินสองคราว กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การขัง ยื่นคำร้องขอผัดฟ้อง อนุญาตผัดฟ้อง (ค.1) 6 วัน ควบคุมได้ 48 ชั่วโมง อนุญาตผัดฟ้อง (ค.2) 6 วัน ฟ้อง ภายใน 48 ชั่วโมง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
พนักงานสอบสวน หรือพนักงานอัยการมีอำนาจปล่อยชั่วคราว หรือควบคุมตัวผู้ถูกจับได้ไม่เกิน 48 ชั่วโมงถ้ามีความจำเป็นที่จะต้องควบคุมต่อไปให้ยื่นคำร้องฝากขังต่อศาลพร้อมกับคำขอผัดฟ้องต่อศาล ซึ่งศาลมีคำสั่งอนุญาตฝากขังได้เท่ากับระยะเวลาที่ศาลอนุญาตให้ผัดฟ้อง(พนักงานสอบสวนไม่ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหา) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงฯ ม.8 “ในคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้นั้น การควบคุมผู้ต้องหาให้เป็นไปตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แต่กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตาม พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะควบคุมตัวผู้ต้องหาไว้เกินกว่ากำหนดเวลาดังกล่าวในมาตรา7 วรรคหนึ่งมิได้ ถ้าผู้ต้องหาอยู่ในความควบคุมของพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี นำตัวผู้ต้องหามาส่งศาลพร้อมกับการยื่นคำขอผัดฟ้อง และขอให้ศาลออกหมายขังผู้ต้องหาไว้ แต่ถ้าผู้ต้องหาป่วยอยู่ในสภาพที่ไม่อาจนำมาศาลได้ ให้พนักงานสอบสวน หรือพนักงานอัยการขออนุญาตศาลออกหมายขังผู้ต้องหา โดยมีพยานหลักฐานประกอบจนเป็นที่พอใจแก่ศาลในเหตุที่ไม่อาจนำตัวผู้ต้องหามาศาลได้ ในกรณีที่ศาลสั่งอนุญาตให้ผัดฟ้องให้ศาลออกหมายขังผู้ต้องหาเท่ากับระยะเวลาที่ศาลอนุญาตให้ผัดฟ้องนั้น” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ยื่นคำร้องขอผัดฟ้อง และฝากขัง อนุญาตผัดฟ้อง (ค.1) 6 วัน 48 ชั่วโมง อนุญาตผัดฟ้อง (ค.2) 6 วัน ฟ้อง ภายใน 48 ชั่วโมง พนักงานสอบสวนปล่อยชั่วคราว กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ยื่นคำร้องขอผัดฟ้อง และฝากขัง อนุญาตผัดฟ้อง (ค.1) 6 วัน และขอฝากขัง (ค.1) 6 วัน 48 ชั่วโมง ศาลไม่อนุญาต ปล่อยชั่วคราว อนุญาตผัดฟ้อง (ค.2) 6 วัน ฟ้อง ภายใน 48 ชั่วโมง และขอฝากขัง (ค.2) 6 วัน พนักงานสอบสวนไม่ ปล่อยชั่วคราว กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ยื่นคำร้องขอผัดฟ้อง และฝากขัง อนุญาตผัดฟ้อง (ค.1) 6 วัน ขอฝากขัง (ค.1) 6 วัน 48 ชั่วโมง ศาลอนุญาต ปล่อยชั่วคราว อนุญาตผัดฟ้อง (ค.2) 6 วัน ฟ้อง ภายใน 48 ชั่วโมง พนักงานสอบสวนไม่ ปล่อยชั่วคราว กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อสังเกต • กรณีที่พนักงานสอบสวนมิได้ผัดฟ้องต่อศาล หรือฟ้องผู้ต้องหาไม่ทันกำหนดเวลาที่ผัดฟ้อง พนักงานอัยการจะต้องขออนุญาตต่ออัยการสูงสุดจึงจะฟ้องผู้ต้องหาในความผิดนั้นได้ ตาม พ.ร.บ. วิธีพิจารณาคดีอาญาในศาลแขวง มาตรา 9 มาตรา 9 “ห้ามมิให้พนักงานอัยการฟ้องคดี เมื่อพ้นกำหนดเวลาตามมาตรา 7 เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ” • กรณีที่พนักงานสอบสวนต้องฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลภายใน 48 ช.ม. ตาม พ.ร.บ. วิธีพิจารณาคดีอาญาในศาลแขวง มาตรา 7 เฉพาะกรณีที่มีการจับผู้ต้องหาดังนั้น ถ้าไม่มีการจับผู้ต้องหา พนักงานสอบสวนไม่จำต้องขอผัดฟ้องต่อศาล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๙ “ห้ามมิให้พนักงานอัยการฟ้องคดี เมื่อพ้นกำหนดเวลาตามมาตรา ๗ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ” มาตรา ๗“ในการสอบสวนคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ เมื่อมีการจับตัวผู้ต้องหาได้แล้ว ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมด้วยสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ เพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับ แต่มิให้นับเวลาเดินทางตามปกติที่นำตัวผู้ต้องหาจากที่จับมายังที่ทำการของพนักงานสอบสวน......ในเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนั้นด้วย” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา