250 likes | 450 Views
ก้าวย่างเข้าสู่ปีที่ 4… สำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ. 2014 : Drive NSRS THAILAND to AEC ขับเคลื่อนระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติให้เป็นที่ยอมรับใน AEC. - 2013. 2012 : Introduce to Industrial/Service ขยายผลสู่อุตสาหกรรม/บริการเป้าหมาย.
E N D
ก้าวย่างเข้าสู่ปีที่ 4… สำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ 2014 : Drive NSRS THAILAND to AEC ขับเคลื่อนระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติให้เป็นที่ยอมรับใน AEC - 2013 2012 : Introduce to Industrial/Service ขยายผลสู่อุตสาหกรรม/บริการเป้าหมาย 2011 : Try-out, Improvement and Participation ทดลองใช้ ปรับปรุงแก้ไข และสร้างการมีส่วนร่วม 2010 : Collect Data, Manage Information to Innovation ค้นคว้า รวบรวม ศึกษา เรียนรู้ สร้าง Model
Enhancing National Skill Standard Recognition System In Thailand (Project for AEC) • 2009 : Establish of National Skill Standard Recognition Office • กรมพัฒนาฝีมือแรงงานมีคำสั่งที่ 457/2552 ลงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2552 โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานให้จัดตั้งสำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ โดยให้มีหน้าที่ดังนี้ : • ดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ให้มีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับประเทศและสากล • กำหนดแนวทางและรูปแบบการฝึกอบรมบุคลากรด้านการรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ และองค์กรที่ทำหน้าที่ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน เพื่อให้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ • พัฒนาและจัดทำเกณฑ์การประเมินเพื่อรับรองหน่วยงาน หรือองค์กรทีทำหน้าที่ฝึกอบรม หรือทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน • ศึกษาและจัดทำแนวทางเพื่อวางระบบการดำเนินการของสำนักงานฯ เพื่อเตรียมการเป็นหน่วยงานอิสระ • ปฏิบัติงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย สำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน National Skill Standard Recognition Office Department of Skill Development http://home.dsd.go.th/nsro e-mail : nsro@dsd.go.th 0 2354 0281, 08 5483 8195 1
วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555 สำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ จัดตั้งครบรอบ 3 ปี ในโอกาสนี้จึงขอรายงานผลการดำเนินงานในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาดังนี้ 1. กลยุทธ์การผลักดันระบบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ (2010 – 2015) สำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ได้วางกลยุทธ์การทำงาน เพื่อรองรับการดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้มั่นใจว่าการพัฒนา ปรับปรุงและผลักดันงานมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติให้เป็นที่ยอมรับและสอดคล้องกับการจ้างงาน โดยมีแนวทางและเป้าหมายหลัก ๆ สำหรับการดำเนินงานในแต่ละปี ดังรูปต่อไปนี้ 2
2. Collect Data and Manage Information to Innovation ปี 2010 เป็นปีแห่งการ ศึกษา ค้นคว้า รวบรวม และจัดทำ Model ดังนั้น เพื่อเป็นการรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือเสรีในกลุ่มประเทศอาเซียน ที่จะมีขึ้นในปี พ.ศ. 2558 กระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้มอบหมายให้สำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ดำเนินโครงการศึกษาวิธีการจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติให้เป็นที่ยอมรับและสอดคล้องกับการจ้างงาน โดยทำการศึกษารูปแบบการจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติที่ดำเนินการอยู่ ในปัจจุบัน (National Occupation Skill Standard : NOSS) รูปแบบมาตรฐานฝีมือแรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศหรือ ILO(Region Model Competency Standard :RMCS) และนำข้อดี ข้อเสีย และข้อจำกัดของทั้ง 2 รูปแบบมาปรับปรุง พัฒนาเป็นมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติตามอุตสาหกรรม (National Industry Skill Standard : NISS) และทดลองนำร่องดำเนินการในสาขาช่างซ่อมรถยนต์ โดยดำเนินการในลักษณะของการเปรียบเทียบรายการความสามารถของช่างในระดับต่าง ๆ ของแต่ละบริษัท จากนั้นหาข้อสรุปร่วมเพื่อจัดทำเป็นรายการความสามารถที่จำเป็นต้องใช้ในแต่ระดับ โดยกำหนดในลักษณะของทักษะฝีมือต่ำสุดที่แต่ละบริษัทยอมรับได้ ดังตารางเปรียบเทียบต่อไปนี้ 3
2. Collect Data and Manage Information to Innovation เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่ารูปแบบการจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติที่ได้จัดทำขึ้นสามารถใช้ได้กับกลุ่มอุตสาหกรรมหรือกลุ่มอาชีพอื่น ๆ สำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ จึงได้ทดลองนำไปใช้ในการกำหนดมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ โดยร่วมกับสมาคมช่างเหมาไฟฟ้าและเครื่องกลไทย สมาคมผู้จัดการงานบริการอาหารและเครื่องดื่มอันดามัน สมาคมไทยโลจิสติกส์และการผลิต สมาคมผู้ค้าเครื่องปรับอากาศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งผลการดำเนินงานเป็นที่ยอมรับและสอดคล้องกับการจ้างงาน เพื่อให้การดำเนินงานของสำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ กรมพัฒนาฝีมือแรงงานโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ได้ทำความร่วมมือทางวิชาการกับบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย เพื่อร่วมกันพัฒนายกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ การนำไปใช้งานและการให้การรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ดังแสดงในรูปต่อไปนี้ Draft Model for Industrial Skill Recognition System (Automotive Technician ) 4
2. Collect Data and Manage Information to Innovation ผลการดำเนินงานในปี 2010 สามารถนำมาใช้เป็นต้นแบบในการดำเนินงานได้ดังนี้ 2.1 มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ เป็นเครื่องในการบริหารจัดการทักษะ ของกำลังแรงงานเพื่อเพิ่มขีดความ สามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ 2.2 กรอบการรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ 5
2. Collect Data and Manage Information to Innovation 2.3 รูปแบบของ Competency Standard and Assessment 2.4 กระบวนการกำหนดมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ซึ่งดำเนินการร่วมกับสภา สมาคม หรือองค์กรวิชาชีพต่าง ๆ 6
3. Try-Out, Improvement and Participation • ปี 2011 เป็นปีแห่งการ ทดลองนำไปใช้ พัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น และ สร้างการมีส่วนร่วม กระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้รับงบประมาณสำหรับดำเนินโครงการพัฒนาระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ระยะที่ 1 และได้มอบหมายให้สำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการดำเนินโครงการดังกล่าว ซึ่งผลจากการดำเนินโครงการฯ ระยะที่ 1 มีดังนี้ • 3.1 การพัฒนายกระดับหน่วยงานด้านการฝึกอบรมและทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน • จัดสรรงบประมาณให้สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 1-12 หน่วยงานละ 2.5 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงสถานที่ ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์ ที่ใช้สำหรับฝึกและทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ตามข้อกำหนดของมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ใน 4 สาขาอาชีพ (เทคนิครถยนต์ เทคนิคตัวถังรถยนต์ เทคนิคสีรถยนต์ และเทคนิคเครื่องปรับอากาศภายในบ้านและการพาณิชย์ขนาดเล็ก) ให้สามารถรองรับการเข้าสู่การประกันคุณภาพระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ 7
3. Try-Out, Improvement and Participation • ได้รับการสนับสนุนรถยนต์ และอุปกรณ์ จากโครงการความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างกรมพัฒนาฝีมือแรงงานและบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ดังนี้ • 2.1) พัฒนายกระดับ เจ้าหน้าที่ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน • ด้านบริการรถยนต์ ให้เป็นผู้ฝึกอบรมและทดสอบมาตรฐาน • ฝีมือแรงงานแห่งชาติ ระดับ 1&2 ทั่วประเทศ รวม 65 คน • พร้อมมอบ CD– ประกอบการฝึกอบรมช่างเทคนิคโตโยต้า • สาขาเทคนิครถยนต์ ตัวถังรถยนต์ และสีรถยนต์ รวม80 ชุด • 2.2) ร่วมปรับปรุงสถานที่เพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์พัฒนาและรับรอง • ทักษะกำลังแรงงานในศูนย์บริการโตโยต้า ณ สถาบันพัฒนา • ฝีมือแรงงานภาค 7 อุบลราชธานี • 2.3 มอบรถยนต์ฝึก(Goshi - Car)จำนวน 12 คัน • พร้อมชุดเครื่องยนต์สำหรับการฝึกเทคโนโลยี • เครื่องยนต์ดีเซล 12 ชุด และเครื่องยนต์ • เบนซินหัวฉีด 12 ชุด ให้กับสถาบันพัฒนา • ฝีมือแรงงาน ทั้ง 12 ภาค 8
3. Try-Out, Improvement and Participation • ได้รับการสนับสนุนเครื่องปรับอากาศสำหรับการฝึก • และทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขา • ช่างเทคนิคเครื่องปรับอากาศภายในบ้านและการ • พาณิชย์ขนาดเล็ก จากบริษัท Mitsubishi Electric • Consumer Products (Thailand) Co,Ltd. • และ บริษัท ซัมซุง (ประเทศไทย) จำกัด รวม 24 ชุด • 3.2 การจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติตามกลุ่มอุตสาหกรรม • ดำเนินการจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรม ภายใต้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมไทยโลจิสติกส์และการผลิต สมาคมช่างเหมาไฟฟ้าและเครื่องกลไทย สมาคมผู้ค้าเครื่องปรับอากาศไทย และ สมาคมวิชาชีพอื่น ๆ รวมทั้งสิ้น 55 สาขาอาชีพ ใน 13 กลุ่มอุตสาหกรรม 9
3. Try-Out, Improvement and Participation 3.3 เผยแพร่และส่งเสริมการใช้มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและทำความเย็น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดแข่งขัน “สุดยอดช่างแอร์2011” ในงาน Bangkok RHVAC 2011 โดยใช้เกณฑ์ของมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาช่างเทคนิคเครื่องปรับอากาศภายในบ้านและกาพาณิชย์ขนาดเล็ก ระดับ 1&2 ร่วมจัดกิจกรรมสาธิตการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ด้านบริการรถยนต์ ในงานแถลงข่าวอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน ณ กระทรวงแรงงาน 10
3. Try-Out, Improvement and Participation ประชุม สัมมนา และนำเสนอผลงานทางวิชาการ 3.1) ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดสัมมนา “ทำมาตรฐานฝีมือแรงงาน...มีแต่ได้กับได้” ณ ไบเทค บางนา 3.2) ร่วมกับสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย จัดสัมมนา “สร้างมาตรฐานฝีมือแรงงานไทย ผลักดันอุตสาหกรรมชิ้นส่วนก้าวไกลสู่สากล” ณ ไบเทค บางนา 3.3) นำเสนอผลงานวิชาการด้านระบบรับรอง มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ในการประชุมระหว่างประเทศ ของประเทศสมาชิกในกลุ่ม Greek Mekong Sub region (GMS) และ AyeyawadyChao-Phraya Mekong Economic Cooperation Strategy : (ACMECS) ณ ประเทศเวียดนาม 11
4. Introduce to Industrial/Service ปี 2012 เป็นปีของการขยายผลการทำงานไปสู่กลุ่มอุตสาหกรรม/บริการ หรือสมาคมวิชาชีพอื่น ๆ และกกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้มอบหมายให้ สำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ดำเนินโครงการพัฒนาระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติรองรับประขาคมเศรษฐกิจอาเซียน ระยะที่ 2 ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูล ประสบการณ์ที่ได้จากระยะที่ 1 มาพัฒนาเป็นต้นแบบของระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ที่เชื่อมโยงกับอาเซียนหรือนานาชาติ และรองรับการทำระบบการยอมรับในข้อตกลงร่วม (MRA) และการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือเสรีในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 4.1 (ร่าง)กลไกการเชื่อมโยง ระหว่างหน่วยงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานอาเซียน (ASSA) และหน่วยงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงาแห่งชาติ (NSSA) ของแต่ละประเทศสมาชิก โดยใช้ระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานอาเซียน (ASRS) ที่เชื่อมโยงกับระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ (NSRS)(ผลจากโครงการ Enhancing Skills Recognition Systems in ASEAN Project (Under ASEAN Australia Development Cooperation Program: AADCP ) 12
4. Introduce to Industrial/Service 4.2 ปรับปรุงระบบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ที่ดำเนินการตาม พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ให้เป็นระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ (NSRS) ที่รองรับกับระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานอาเซียน และดำเนินการภายใต้ พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545 ซึ่งจะต้องมีการปรับปรุงประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน ที่ออกตามหมวด 2 ในบางมาตรา ดังแสดงในแผนภาพต่อไปนี้ ระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ (ดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545) 13
4. Introduce to Industrial/Service 4.3 เพื่อให้ระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ได้รับการยอมรับทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ สำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ จึงพัฒนาระบบการประกันคุณภาพระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ (National Skill Standard Recognition Quality Assurance System :NSRS-QA) โดยดำเนินการในรูปของคณะอนุกรรมการด้านระบบการประกันคุณภาพ ที่แต่งตั้งจากคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยมีหน้าที่ในการพัฒนา วางแผน ติดตาม ปรับปรุงแก้ไข และรายงานผลการการดำเนินงานด้านการรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติเทียบกับเกณฑ์การประกันคุณภาพ และรายงานผู้บังคับบัญชา เพื่อพิจารณาสั่งการ ซึ่งมีแนวทางในการบริหารจัดการดังแสดงในแผนภาพต่อไปนี้ 14
4. Introduce to Industrial/Service 4.4 เพื่อให้การดำเนินงานด้านมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เป็นที่ยอมรับและสอดคล้องกับระบบการประกันคุณภาพระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ จึงกำหนดกรอบการทำงานสำหรับการพัฒนาและรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ดังแสดงในแผนภาพต่อไปนี้ 4.5 จากกรอบการทำงานสำหรับการพัฒนา และรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติสามารถ แบ่งกลุ่มเป้าหมายของการรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงาน แห่งชาติได้ เป็น 3 กลุ่ม ดังแสดงในแผนภาพต่อไปนี้ 15
4. Introduce to Industrial/Service 4.6 เพื่อให้การพัฒนาและรับรองทักษะกำลังแรงงาน ใน 13 กลุ่มอุตสาหกรรม ที่ได้จัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ไว้แล้ว เป็นไปตามเป้าหมาย สำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ จึงได้จัดทำวิธีทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ระดับ 1 และ 2 ใน 13 กลุ่มอุตสาหกรรม จำนวน 55 สาขาอาชีพ ดังนี้ 16
4. Introduce to Industrial/Service 4.7 เพื่อให้การขับเคลื่อนระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ซึ่งดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545 เป็นเป็นเอกภาพไปในทิศทางเดียว สำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ จึงได้จัดทำกลยุทธ์การขับเคลื่อนระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ (พ.ศ.2556-2558) โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ ดังแสดงในแผนภาพต่อไปนี้ กลยุทธ์การขับเคลื่อนระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ 17
5. Drive NSRS Thailand To AEC 5.1 ปี 2013 เป็นปีแห่งการขับเคลื่อนระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติให้เป็นที่ยอมรับ เพื่อรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จึงมอบหมายให้สำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ดำเนินโครงการพัฒนาระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ระยะที่ 3 พร้อมตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการฯ “กำลังแรงงาน ใน 13 กลุ่มอุตสาหกรรมเข้าสู่ระบบการรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติไม่น้อยกว่า 3,000 คน”เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการดำเนินโครงการฯ สำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ จึงสรุปภาพรวมและความเชื่อมโยงโครงการฯ ตั้งแต่ระยะที่ 1 ถึง ระยะที่ 3 ดังแสดงในแผนภาพต่อไปนี้ 18
5. Drive NSRS Thailand To AEC • 5.2 เพื่อให้การขับเคลื่อนงานด้านมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ มีความต่อเนื่องเป็นเอกภาพและไปในทิศทางเดียวกัน สำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ จึงได้กำหนดแผนงาน โครงการ และกิจกรรม ภายใต้ “แผนกลยุทธ์ขับเคลื่อนระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ (พ.ศ.2556-2558)”ดังแสดงในแผนภาพต่อไปนี้ • ในปี 2013 กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เห็นชอบตามที่สำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ เสนอการบริหารจัดการ การพัฒนาระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ รองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยแบ่งออกเป็น 3 กิจกรรมหลัก ดังนี้ • การจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติและวิธีการทดสอบ • การพัฒนาผู้ทดสอบหรือผู้ฝึกสอน และส่งเสริมศูนย์ทดสอบ/ศูนย์ฝึกอบรม และรับรองมาตรฐานฝีมือของกำลังแรงงานในอุตสาหกรรมเป้าหมาย 19
5. Drive NSRS Thailand To AEC • การจัดทำรับระบบข้อมูลสารสนเทศตามระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ • โดยมีโครงการ กิจกรรมการดำเนินงานดังแสดงในแผนภาพ “แผนงาน โครงการ การขับเคลื่อนระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ให้เป็นที่ยอมรับ ปี พ.ศ. 2556” ดังแสดงต่อไปนี้ 19
ก้าวย่างเข้าสู่ปีที่ 4… สำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ เป็นเอกสาร รวบรวมผลการดำเนินงานของสำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ (National Skill Standard Recognition Office : NSRO) ตั้งแต่มีคำสั่งจัดตั้งสำนักงานฯ เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2552 ในปีงบประมาณ พ.ศ.2553 เป็นปีของการค้นคว้า รวบรวม ศึกษา เรียนรู้ร่วมกับสถานประกอบกิจการ สมาคมวิชาชีพตลอดจนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อสร้าง Model ในการทำงาน ปีงบประมาณ พ.ศ.2554 ได้มีการนำ Model ต่างๆ ไปทดลองใช้ ปรับปรุงแก้ไข และสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนให้มากขึ้น ปีงบประมาณ พ.ศ.2555 มีการขยายผลสู่ภาคอุตสาหกรรม/บริการเป้าหมาย และเป็นปีที่สามารถสร้างองค์ประกอบของระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติได้ครบถ้วน ดังนั้นในปีงบประมาณ 2556 หรือปีที่ 4 ของการจัดตั้ง NSROจึงเป็นปีของการขับเคลื่อนระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติให้เป็นที่ยอมรับ และมีเป้าหมายที่จะพัฒนาและรับรองทักษะฝีมือของกำลังแรงงานในภาคอุตสาหกรรม/บริการ (ผ่านระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ) ไม่น้อยกว่า 3,000 คน และจะขยายผลในปีต่อ ๆ ไป โดยที่การดำเนินงานในรอบ 3 ปี ที่ผ่านมาNSROมีบุคลากรประจำสำนักงานฯ ดังนี้ ผู้อำนวยการสำนักงานฯ นักวิชาการชำนาญการ 3 คน ครูฝึกฝีมือแรงงานชั้น 2 จำนวน 1 คน และพนักงานราชการ 1 คน รวมทั้งสิ้น 6 คน ดังนั้นการปฏิบัติงานของ NSROจะสำเร็จไม่ได้ ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือ ร่วมใจอย่างดียิ่งจาก ผู้บริหารกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สมาชิกของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมไทยโลจิสติกส์และการผลิต สมาคมช่างเหมาไฟฟ้าและเครื่องกลไทย ผู้ประกอบการและภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง สำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติจึงขอขอบพระคุณทุกท่านไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ.... ขอพระคุณครับ For More Information : Please Contact สำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน National Skill Standard Recognition Office http://home.dsd.go.th/nsro e-mail : nsro@dsd.go.th 0 2354 0281, 08 5483 8195