520 likes | 1.08k Views
ประเทศพม่า กับการล่าอาณานิคมของอังกฤษ. นายมาโนชญ์ มูลทรัพย์. ประวัติความเป็นมา. ประวัติความเป็นมา ต่อ.
E N D
ประเทศพม่า กับการล่าอาณานิคมของอังกฤษ นายมาโนชญ์ มูลทรัพย์
ประวัติความเป็นมา ต่อ • ประเทศพม่าเป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นประเทศที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ มีอารยธรรมที่มีความเจริญ ในด้านเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง ศิลปะและวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของพม่านั้นมีความยาวนานและซับซ้อน มีประชาชนหลายเผ่าพันธุ์เคยอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้ เผ่าพันธุ์เก่าแก่ที่สุดที่ปรากฏได้แก่ชาวมอญ
ประวัติความเป็นมา ต่อ • พุทธศตวรรษที่ 13 พม่าได้อพยพลงมาจากบริเวณพรมแดนระหว่างจีนและทิเบต เข้าสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิระวดี และได้กลายเป็นชนเผ่าส่วนใหญ่ที่ปกครองประเทศในเวลาต่อมา ความซับซ้อนของประวัติศาสตร์พม่าเกิดจากการอพยพย้ายถิ่นฐานมาของชุมชนต่างๆที่มาอาศัยในลุ่มแม่น้ำอิระวดีทำให้เกิดการขยายตัวกลายเป็นเมืองและอาณาจักรในเวลาต่อมา
อาณาจักรมอญ • มอญ ถือได้ว่า ชนเผ่าแรกที่สามารถสร้างอารยธรรมขึ้นเป็นเอกลักษณ์ของตนได้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้เมื่อราว 2,400 ปี และได้สถาปนาอาณาจักรสุวรรณภูมิ อันเป็นอาณาจักรแห่งแรกขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 2 ณ บริเวณใกล้เมืองท่าตอน (Thaton) • ชาวมอญได้รับอิทธิพลของศาสนาพุทธผ่านทางอินเดียในราวพุทธศตวรรษที่ 2 ซึ่งเชื่อว่ามาจากการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช
อาณาจักรพยู หรือ เพียว • ชาวพยูหรือบางที่เราก็เรียกว่า เพียว คือกลุ่มที่เข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนประเทศพม่าตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 4 และได้สถาปนานครรัฐขึ้นหลายแห่ง เช่น 1. พินนาคา (Binnaka) 2. มองกะโม้ (Mongamo) 3. ศรีเกษตร (Sri Ksetra) 4. เปียทะโนมโย (Peikthanomyo) 5. หะลินยี (Halingyi) มีเมืองอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของชาวพยู 18 เมือง และชาวพยูเป็นชนเผ่าที่รักสงบ ไม่ปรากฏว่ามีสงครามเกิดขึ้นระหว่างชนเผ่าพยู
อาณาจักรพุกาม • "พุกาม" (Bagan) โดยได้เข้ามาแทนที่อำนาจภายหลังจากการเสื่อมสลายไปของอาณาจักรชาวพยู • อาณาจักรพุกามในรัชสมัยของพระเจ้าอโนรธา พระองค์สามารถรวบรวมแผ่นดินพม่าให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันสำเร็จ และเมื่อพระองค์ทรงตีเมืองท่าตอนของชาวมอญได้ใน พุทธศักราช 1600 อาณาจักรพุกามก็กลายเป็นอาณาจักรที่เข้มแข็งที่สุดในดินแดนพม่า ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 17 ดินแดนในคาบสมุทรสุวรรณภูมิเกือบทั้งหมดถูกครอบครองโดยอาณาจักรเพียงสองแห่ง คือเขมร (เมืองพระนคร) และพุกาม
อาณาจักรพุกาม ต่อ • การเสื่อมของอาณาจักรพุกาม 1. สถาบันกษัตริย์สนับสนุนสถาบันศาสนามากเกินไป 2. จากการรุกรานของจักรวรรดิมองโกล - พระเจ้านราธิหบดี ได้ทรงนำทัพสู่ยูนานเพื่อยับยั้งการ ขยายอำนาจของมองโกล แต่เมื่อพระองค์แพ้สงคราม - พระเจ้านราธิหบดีถูกพระราชโอรสปลงพระชนม์ ทำให้ อาณาจักรมองโกลสามารถเข้าครอบครองดินแดนของ อาณาจักรพุกามได้ทั้งหมด
อาณาจักรอังวะและหงสาวดีอาณาจักรอังวะและหงสาวดี • จากการล่มสลายของอาณาจักรพุกาม พม่าได้แตกแยกออกจากกันอีกครั้ง • มีการสถาปนาอาณาจักรอังวะในปีพุทธศักราช 1907 • ศิลปะและวรรณกรรมของพุกามได้ถูกฟื้นฟูจนยุคนี้กลายเป็นยุคทองแห่งวรรณกรรม • ดินแดนทางใต้ ชาวมอญได้สถาปนาอาณาจักรของพวกตนขึ้นใหม่อีกครั้งที่หงสาวดี โดยกษัตริย์ธรรมเจดีย์ เป็นจุดเริ่มต้นยุคทองของมอญ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนานิกายเถรวาทและศูนย์กลางทางการค้าขนาดใหญ่ในเวลาต่อมา
อาณาจักรตองอู • อาณาจักรพุกามถูกรุกรานจากไทใหญ่ ชาวอังวะได้อพยพลงมาสถาปนาอาณาจักรแห่งใหม่ โดยมีศูนย์กลางที่เมืองตองอู ในปีพุทธศักราช 2074 พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ซึ่งสามารถรวบรวมพม่าเกือบทั้งหมดให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้อีกครั้ง ในช่วงระยะเวลานี้ ได้มีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่เกิดขึ้นในภูมิภาค ชาวไทใหญ่มีกำลังเข้มแข็งเป็นอย่างมากทางตอนเหนือ • โปรตุเกสได้เริ่มมีอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสามารถเข้าครอบครองมะละกาได้
อาณาจักรตองอู ต่อ • การที่พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่เมืองหงสาวดี เหตุผลส่วนหนึ่งก็เนื่องด้วยทำเลทางการค้า • พระเจ้าบุเรงนองได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ และสามารถเข้าครอบครองอาณาจักรต่าง ๆ รายรอบได้ อาทิ มณีปุระ (พ.ศ. 2103) อยุธยา (พ.ศ. 2112)
อาณาจักรตองอู ต่อ • กษัตริย์แห่งราชวงศ์ตองอูจำเป็นต้องถอนตัวจากการครอบครองดินแดนตอนใต้โดยย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เมืองอังวะ พระเจ้าอะนอกะเพตลุน (Anaukpetlun) พระนัดดาของพระเจ้าบุเรงนอง สามารถรวบรวมแผ่นดินพม่าให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอีกครั้งในพุทธศักราช 2156 พระองค์ตัดสินใจที่จะใช้กำลังเข้าต่อต้านการรุกรานของโปรตุเกส พระเจ้าธารุน (Thalun) ผู้สืบทอดราชบัลลังก์ ได้ฟื้นฟูหลักธรรมศาสตร์ของอาณาจักรพุกามเก่า แต่พระองค์ทรงใช้เวลากับเรื่องศาสนามากเกินไป จนละเลยที่จะใส่ใจต่ออาณาเขตทางตอนใต้ ท้ายที่สุด หงสาวดี ที่ได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศสซึ่งตั้งมั่นอยู่ในอินเดีย ก็ได้ทำการประกาศเอกราชจากอังวะ จากนั้นอาณาจักรของชาวพม่าก็ค่อย ๆ อ่อนแอลง จากการรุกรานของชาวมอญ
ภาพเจดีย์ ชเวดากอง วาดโดยช่างภาพชาวอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2368
ราชวงศ์อลองพญา หรือ อาณาจักรคองบอง • ราชวงศ์ อลองพญาได้รับการสถาปนาขึ้นและสร้างความเข้มแข็งจนถึงขีดสุดได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว พระเจ้า อลองพญาซึ่งเป็นผู้นำที่ได้รับความนิยมจากชาวพม่า ได้ขับไล่ชาวมอญที่เข้ามาครอบครองดินแดนของชาวพม่าได้ใน พ.ศ. 2296 จากนั้นก็สามารถเข้ายึดครองอาณาจักรมอญได้อีกครั้งใน พ.ศ. 2302 ทั้งยังสามารถกลับเข้ายึดครองกรุงมณีปุระได้ในช่วงเวลาเดียวกัน
ราชวงศ์อลองพญา หรือ อาณาจักรคองบอง ต่อ • พระเจ้า อลองพญาสถาปนาเมืองย่างกุ้งเป็นเมืองหลวงใน พ.ศ. 2303 หลังจากเข้ายึดครองตะนาวศรี (Tenasserim) พระองค์ได้ยาตราทัพเข้ารุกรานอยุธยา แต่ต้องประสบความล้มเหลวเมื่อพระองค์ทรงสวรรคตในระหว่างสงคราม • พระเจ้าสินบูหชิน (Hsinbyushin)พระราชโอรส ได้นำทัพเข้ารุกรานอาณาจักรอยุธยาอีกครั้งใน พ.ศ. 2309 และประสบความสำเร็จในปีถัดมา ในรัชสมัยนี้ แม้จีนจะพยายามขยายอำนาจเข้าสู่ดินแดนพม่า แต่พระองค์ก็สามารถยับยั้งการรุกรานของจีนได้ทั้งสี่ครั้ง
ราชวงศ์อลองพญา หรือ อาณาจักรคองบอง ต่อ • รัชสมัยของพระเจ้าโบดอพญา (Bodawpaya ) พระโอรสอีกพระองค์ของพระเจ้าอลองพญา พม่าต้องสูญเสียอำนาจที่มีเหนืออยุธยาไป แต่ก็สามารถผนวกดินแดนยะไข่ และตะนาวศรี เข้ามาไว้ได้ ในรัชสมัยของพระเจ้าบาคยีดอว์ (Bagyidaw) ครองราชย์ ขุนนางชื่อมหาพันธุละ (Maha Bandula) เข้ารุกรานแคว้นอัสสัมได้สำเร็จ • เกิดการเผชิญหน้าโดยตรงระหว่างพม่า กับ อังกฤษที่ครอบครองอินเดียอยู่ในขณะนั้น
พม่า ในยุคสงครามกับอังกฤษ • จากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในประเทศอังกฤษ แล้ว ยุโรปหลายประเทศเร่งพัฒนาศักยภาพทางด้านการเกษตร และอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นที่ต้องการของชาวยุโรป ทำให้เกิดสังคมการเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตรขึ้นเป็นอย่างมาก ยิ่งในภาคอุตสาหกรรมนั้น เช่น ประเทศ อังกฤษ และฝรั่งเศส ที่ต้องการผลผลิตทางด้านการเกษตรเพื่อนำมาใช้ในประเทศของตนเอง ทำให้ประเทศเหล่านี้ต้องช่วงชิงอำนาจ และ อาณานิคม ในดินแดนต่างๆเพื่อนำผลผลิตในพื้นที่ มาใช้ จนเกิดการล่าอาณานิคมของชาวยุโรปในดินแดนต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศตน
พม่า ในยุคสงครามกับอังกฤษ ต่อ • สำหรับในทวีปเอเชียนั้นอังกฤษ และฝรั่งเศสให้ความสำคัญเป็นอย่างมากเพราะมีทรัพยากรที่มีประโยชน์จำนวนมาก จนทำให้เกิดยุคการล่าอาณานิคม โดยเฉพาะในอินเดียที่อังกฤษ และฝรั่งเศสให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ในขณะเดียวกันอังกฤษ และฝรั่งเศสก็ให้ความสำคัญกับประเทศพม่า โดยประเทศฝรั่งเศสต้องการที่จะติดต่อกับพม่า อังกฤษมองว่าการที่ฝรั่งเศสจะเข้าไปมีอิทธิพลเหนือ พม่า นั้นจะทำให้อังกฤษเสียผลประโยชน์เป็นอย่างมากดังนั้นอังกฤษจำเป็นที่จะต้องเข้าแทรกประเทศพม่าก่อนที่ฝรั่งเศสจะเข้ายึดครอง
พม่า ในยุคสงครามกับอังกฤษ ต่อ • สงครามระหว่าง อังกฤษ และพม่าในครั้งที่หนึ่ง (พ.ศ. 2367–2369) • สาเหตุ - เจ้าเมืองมณีปุระยกเลิกไม่ส่งเครื่องราชบรรณาการ - เจ้าเมืองมณีปุระได้หนีไปให้เจ้าเมืองกะชาร์ช่วยเหลือแต่ไม่ได้เข้าไป อย่างผู้ลี้ภัยแต่ ไปในการขับไล่เจ้าเมืองกะชาร์ - เจ้าเมืองกะชาร์เข้าไปขอความช่วยเหลือจากข้าหลวงอังกฤษ - สนธิสัญญายันดาโบ (Yandaboo) ทำให้พม่าต้องสูญเสียดินแดนอัสสัม มณีปุระ ยะข่าย และตะนาวศรีไป
มุมมองของนักวิชาการ • ชาญวิทย์ เกษตรศิริ . พม่าประวัติศาสตร์ และการเมือง : มองว่าการที่อังกฤษจำเป็นต้องทำสงครามกับพม่านั้นมาจาก 2 ปัจจัยหลักคือ • 1 การที่พม่าขยายอิทธิพลไปในพื้นที่ที่อังกฤษยึดครองคือ บริเวณยะไข่ จิตตะกอง และอัสสัม จนกลายเป็นชนวนของสงครามระหว่างอังกฤษ และพม่า • 2 การขยายอิทธิพลของอังกฤษจากอินเดีย เข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อหาทางทำการค้ากับจีน
มุมมองของนักวิชาการ ต่อ • นินิเมียม . ฉลอง สุนทราวาณิชย์ ผู้แปล . มองว่า การที่อังกฤษจำเป็นต้องเข้ายึดครองพม่านั้นมีสาเหตุมาจากการสกัดกั้นการขยายอิทธิพลของฝรั่งเศสในการเป็นมหาอำนาจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังที่ฝรั่งเศสสามารถครอบครอง เมือง ฮานอย บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดง แค้วนตังเกี๋ย และอันนัม ทำให้อังกฤษจำเป็นต้องเข้ายึดครองพม่า
พม่า ในยุคสงครามกับอังกฤษ ต่อ • อังกฤษเริ่มก็ต้นตักตวงทรัพยากรต่างๆ ของพม่านับแต่นั้น เพื่อเป็นหลักประกันสำหรับวัตถุดิบที่จะป้อนสู่สิงคโปร์ สร้างความแค้นเคืองให้กับทางพม่าเป็นอย่างมาก กษัตริย์องค์ต่อมาจึงทรงยกเลิกสนธิสัญญายันดาโบ และทำการโจมตีผลประโยชน์ของฝ่ายอังกฤษ ทั้งต่อบุคคลและเรือ • สงครามระหว่างพม่าและอังกฤษครั้งที่สอง อังกฤษได้ผนวกหงสาวดีและพื้นที่ใกล้เคียงเข้าไว้กับตน โดยได้เรียกดินแดนดังกล่าวเสียใหม่ว่าพม่าตอนใต้
พม่า ในยุคสงครามกับอังกฤษ ต่อ • สงครามครั้งนี้ก่อให้เกิดการปฏิวัติครั้งใหญ่ในพม่า เริ่มต้นด้วยการเข้ายึดอำนาจโดยพระเจ้ามินดง (Mindon Min) จากพระเจ้าปะกัน (Pagin Min ) ซึ่งเป็นพระเชษฐาต่างพระชนนี พระเจ้ามินดงพยายามพัฒนาประเทศพม่าเพื่อต่อต้านการรุกรานของอังกฤษ
พม่า ในยุคสงครามกับอังกฤษ ต่อ • พระองค์ได้สถาปนากรุงมัณฑะเลย์ ซึ่งยากต่อการรุกรานจากภายนอก ขึ้นเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะหยุดยั้งการรุกรานจากอังกฤษได้
วัดชาวอินบิน เมืองมัณฑะเลย์
พม่า ในยุคสงครามกับอังกฤษ ต่อ • สงครามระหว่างพม่า กับ อังกฤษ ครั้งที่สามในปีพุทธศักราช 2428 • ผลของสงคราม - อังกฤษสามารถเข้าครอบครองดินแดนประเทศพม่าส่วนที่เหลือเอาไว้ได้ - อังกฤษยกเลิกระบบกษัตริย์ในพม่า - อังกฤษให้ข้าราชการท้องถิ่นปกครอง แทนระบบกษัตริย์ ( ข้าหลวงใหญ่คอยดูแล)
เศรษฐกิจพม่าในสมัยอาณานิคมของอังกฤษเศรษฐกิจพม่าในสมัยอาณานิคมของอังกฤษ • การปกครองพม่าตอนบน - มีการสนับสนุนให้ประชาชนอพยพลงมาในพม่าตอนล่างเพื่อทำ การเกษตร • การปกครองพม่าตอนกลาง - ส่งเสริมการปลูกอ้อย ถั่วลิสง งา ฝ้าย ยาสูบ ข้าวสาลี
เศรษฐกิจพม่าในสมัยอาณานิคมของอังกฤษเศรษฐกิจพม่าในสมัยอาณานิคมของอังกฤษ • การปกครองพม่าตอนล่าง - การสนับสนุนให้พม่าตอนล่างมีการทำในภาคการเกษตร - เปิดดำเนินการกิจการป่าไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้มีการเพิ่มเที่ยวการ เดินเรือของบริษัทเรือกลไฟ อิระวดี และมีการสร้างทางรถไฟ • การแสวงหาผลประโยชน์ของนายทุน - นายทุนต่างชาติ ชาวจีน และชาวอินเดีย
มุมมองของนักวิชาการ • ชาญวิทย์ เกษตรศิริ . พม่าประวัติศาสตร์ และการเมือง : มองว่า สำหรับในด้านเศรษฐกิจของพม่าในสมัยอาณานิคมของอังกฤษโดยรวม นับได้ว่าการเกษตร การทำเหมือง และการทำไม้ซึ่งเป็นเศรษฐกิจหลักของ พม่า นั้นมีการขยายตัวในด้านกำลังการผลิตสูงกว่าในยุคกษัตริย์อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณการผลิตข้าวได้เพิ่มขึ้นหลายเท่าอันเนื่องเพราะมีการขยายพื้นที่เพาะปลูกข้าวในเขตพม่า ตอนล่าง และยังสามารถส่งออกข้าวในปริมาณที่สูงมาก )
มุมมองของนักวิชาการ • หม่องทินอ่อง . ประวัติศาสตร์พม่า : มองว่าแม้อังกฤษจะเข้ามาพัฒนาในด้านการเกษตรในประเทศก็ตามแต่จุดประสงค์หลักนั้นเพื่อให้ชาวพื้นเมืองผลิตสินค้าให้กับตนมากกว่าผลประโยชน์ของคนพื้นเมืองเอง ขณะที่การเกษตรมีการเติบโต ชาวไร่ชาวนาพม่า จึงมีความจำเป็นด้านเงินทุน แต่ต้องกู้เงินด้วยดอกเบี้ยสูงจากพวกหากินกับเงินกู้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกแขกชิตตี แต่ด้วยเกิดภาวะแทรกซ้อนจากภัยธรรมชาติซึ่งทำให้ชาวนาปลูกข้าวได้น้อย อีกทั้งจำนวนข้าวเท่าที่ผลิตได้ยังถูกกดราคาโดยเหล่านายทุนต่างชาติ ดังนั้นชาวนาจึงไม่อาจใช้หนี้คืนได้จนที่นาถูกยึดในที่สุด
ลัทธิชาตินิยมในพม่า • ขบวนการลัทธิชาตินิยมในพม่า เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากการปลดปล่อยตนเองให้เป็นเอกราช จากอำนาจของเจ้าอาณานิคม ( อังกฤษ ) ขบวนการชาตินิยมเริ่มแรกของพม่า ได้อิทธิพลจากพุทธศาสนา
ลัทธิชาตินิยมในพม่า • อังกฤษมิได้ให้ความสนใจในเรื่องของศาสนา โดยถือว่าตนให้เสรีภาพกับประชาชนเต็มที่ในเรื่องของการนับถือศาสนา • เกิดการก่อตั้งสมาคมชาวพุทธหนุ่ม YMBA • เกิดการประท้วงขึ้นในกลุ่มพระสงฆ์ ( กบฏเกือก ) ในกรณีที่ฝรั่งเศสสวมรองเท้าเข้าวัด
มุมมองนักวิชาการ • ชาญวิทย์ เกษตรศิริ . พม่าประวัติศาสตร์ และการเมือง: มองว่าขบวนการชาตินิยมในพม่านั้นมีสาเหตุมุ่งเน้นเรื่องของศาสนาที่มีความแตกต่างกัน โดยอังกฤษเองไม่ได้ไม่ได้ให้ความสำคัญกับพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวพม่านับถือ จนทำให้พระสงฆ์ต้องออกมาชุมนุมประท้วง และรุกลามกลายเป็นขบวนการชาตินิยมของกลุ่มนักศึกษาต่อไป
มุมมองนักวิชาการ • ศิวพร ชัยประสิทธิกุล . ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอดีตถึงปัจจุบัน.มองว่า การก่อตัวของขบวนการชาตินิยมนั้นมาจากสาเหตุที่รัฐบาลอังกฤษเข้ามา ควบคุมนโยบายหลักของประเทศ เกิดการคอรัปชั่นมากมายในนักการเมือง หนังสือพิมพ์ตกเป็นเครื่องมือของนักการเมือง รัฐบาลไม่สนใจปากท้องของประชาชน จึงเกิดช่องว่างระหว่างประชาชนกับนักการเมืองจึงเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ขบวนการชาตินิยมในพม่า
ขบวนการชาตินิยมในพม่า โดยนายพล อองซาน
ขบวนการชาตินิยมในพม่า โดยนายพล อองซาน ต่อ • ออง ซาน (Aung San) หรือ อู อองซาน (U Aung San)เกิดเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2458 ในครอบครัวที่ต่อต้านการปกครองของสหราชอาณาจักร ซึ่งในช่วงนั้นพม่าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินเดียที่เป็นอาณานิคมของ สหราชอาณาจักร เขาเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง ซึ่งได้แสดงความเคลื่อนไหวทางการเมือง และได้รับเลือกให้เป็นผู้นำนักศึกษา พ.ศ. 2484
ขบวนการชาตินิยมในพม่า โดยนายพล อองซาน ต่อ • ออง ซานได้รับการสนับสนุนจากประเทศญี่ปุ่น โดยเขาได้ก่อตั้งกองกำลังปลดปล่อยพม่าที่กรุงเทพมหานคร ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองญี่ปุ่นสามารถยึดพม่าจากสหราชอาณาจักรได้ • ญี่ปุ่นได้ประกาศว่าพม่าเป็นประเทศเอกราช และตั้งออง ซานเป็นนายกรัฐมนตรี ออง ซานพบว่าเอกราชที่ญี่ปุ่นสัญญาไว้ไม่เป็นความจริง ในช่วงปลายสงครามโลก จึงได้กลับไปเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อขับไล่ญี่ปุ่นออกไปจากพม่า
ขบวนการชาตินิยมในพม่า โดยนายพล อองซาน ต่อ • อองซานได้ก่อตั้ง องค์การสันนิบาตเสรีภาพแห่งประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์ (Anti-Fascist Peoples Freedom League : AFPFL) เพื่อต่อต้านญี่ปุ่นอย่างลับ ๆ อองซานและพรรคAFPFL ได้เจรจากับอังกฤษ โดยอังกฤษยืนยันที่จะให้พม่ามีอิสรภาพปกครองตนเองภายใต้เครือจักรภพ และมีข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำพม่าช่วยให้คำปรึกษา
ขบวนการชาตินิยมในพม่า โดยนายพล อองซาน ต่อ • อองซานมีอุดมการณ์ที่ต้องการเอกราชอย่างสมบูรณ์ อังกฤษได้พยายาม สนับสนุนพรรคการเมืองอื่น ๆ ขึ้นแข่งอำนาจกับพรรค AFPFL ของอองซานแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ จึงยินยอมให้พรรค AFPFL ขึ้นบริหารประเทศโดยมีอองซานเป็นหัวหน้า อองซานมีนโยบายสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และต้องการเจรจากับรัฐบาลอังกฤษโดยสันติวิธี จึงทำให้เกิดความขัดแย้งกับฝ่ายนิยมคอมมิวนิสต์ในพรรค AFPFLจนนำไปสู่การลอบฆ่านายพลอองซาน และรัฐมนตรีในคณะรัฐบาล
ผลกระทบต่อประเทศ • อูนุได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทนประกาศใช้รัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2490 โดยอังกฤษได้มอบเอกราชให้แก่พม่าแต่ยังรักษาสิทธิทางการทหาร • 4 มกราคม พ.ศ. 2491 อังกฤษจึงได้มอบเอกราชให้แก่พม่าอย่างสมบูรณ์ • นายอูนุถูกบีบให้ลาออก เมื่อพ.ศ. 2501 • นายพล เนวิน ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทนซึ่งได้ทำการปราบจลาจลและพวกนิยมซ้ายจัดอย่างเด็ดขาด เขาได้จัดไห้มีการเลือกตั้งทั่วประเทศในพ.ศ. 2503 ทำให้นายอูนุได้กลับมาเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลใหม่ เพราะได้รับเสียงข้างมากในสภา
การได้รับเอกราชของพม่าจากประเทศอังกฤษการได้รับเอกราชของพม่าจากประเทศอังกฤษ • (1 ) รัฐบาลสันนิบาตอิสรภาพต่อต้านฟาสซิส์ ( พ.ศ. 2391 – 2501 ) - จัดมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาทุก 4 ปี - พรรคสันนิบาตอิสรภาพต่อต้านฟาสซิสต์ได้รับเลือกเป็นรัฐบาล - พรรคสันนิบาตอิสรภาพต่อต้านฟาสซิสต์ประกอบด้วยสมาชิกพรรคที่ มีแนวคิดหลากหลายทางการเมือง อาทิ คอมมิวนิสต์ สังคมนิยม และ กลุ่มทหารเพื่อประชาชน ท้ายสุดได้ส่งผลให้เกิดความแตกแยก
การได้รับเอกราชของพม่าจากประเทศอังกฤษ ต่อ • (2 ) รัฐบาลรักษาการ ( พ.ศ. 2501 - 2503 ) - เนวินเข้ารับตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมบุคคลทางการเมืองอีก 14 คน เข้าร่วมรัฐบาล - รัฐบาลรักษาการประสบผลสำเร็จเป็นพิเศษในการรักษาความสงบเรียบร้อยและ การรักษากฎหมาย คำสั่งอภัยโทษถูกยกเลิกและให้การปราบปรามผู้ก่อการร้าย ดำเนินต่อไป - กำหนดการปกครองรัฐฉานในรูปแบบเดียวกับแผ่นดินหลัก ให้แบ่งการปกครอง เป็นจังหวัด อำเภอ ตำบล - แต่งตั้งรัฐมนตรีกำกับกิจการรัฐแต่ละรัฐสำหรับรัฐกะฉิ่น รัฐคะยา รัฐกะเหรี่ยง
การได้รับเอกราชของพม่าจากประเทศอังกฤษ ต่อ • (3 ) รัฐบาลสหภาพ ( พ.ศ. 2503 – 2505 ) ) - ในการเลือกตั้งที่จัดในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 นั้น กลุ่มของ พรรคสันนิบาตอิสรภาพต่อต้านฟาสซิสต์ได้รับชัยชนะ เปลี่ยนชื่อ พรรคของตนเป็นพรรคสหภาพ - เกิดการแตกแยกภายในพรรคสหภาพเป็น 2 กลุ่มคือ ( 1 ) กลุ่มตะขิ่น ( 2 ) กลุ่มทหาร