710 likes | 2.62k Views
บทที่10 ตั๋วเงิน. เอกสารที่ใช้แทนเงิน ปกติในเวลาที่ทำการซื้อขายทรัพย์สินในราคาสูง ผู้ซื้อ จำต้องนำเงินไปชำระให้ผู้ขายซึ่งในการนำเงินไปมาก ๆ ทำให้ไม่สะดวกในการตรวจนับ และ ในการ เดินทางก็ไม่ปลอดภัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยปัจจุบันนี้ดังนั้นนัก ธุรกิจส่วนมาก นิยมใช้. ความหมายของตั๋วเงิน.
E N D
บทที่10ตั๋วเงิน เอกสารที่ใช้แทนเงิน ปกติในเวลาที่ทำการซื้อขายทรัพย์สินในราคาสูง ผู้ซื้อจำต้องนำเงินไปชำระให้ผู้ขายซึ่งในการนำเงินไปมาก ๆ ทำให้ไม่สะดวกในการตรวจนับ และ ในการเดินทางก็ไม่ปลอดภัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยปัจจุบันนี้ดังนั้นนักธุรกิจส่วนมากนิยมใช้
ความหมายของตั๋วเงิน • ตั๋วเงิน หมายถึง เอกสารที่ใช้แทนเงิน ปกติในเวลาที่ทำการซื้อขายทรัพย์สินในราคาสูง ผู้ซื้อจำต้องนำเงินไปชำระให้ผู้ขายซึ่งในการนำเงินไปมาก ๆ ทำให้ไม่สะดวกในการตรวจนับ และ ในการเดินทางก็ไม่ปลอดภัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยปัจจุบันนี้ดังนั้นนักธุรกิจส่วนมากนิยมใช้ ตั๋วเงินแทน ยิ่งกว่าในบางครั้งผู้ซื้อจำต้องชำระหนี้อาจมีเงินสดไม่เพียงพอในขณะนั้น แต่เจ้าหนี้ มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการชำระหนี้ ซึ่งถ้าลูกหนี้ออกตั๋วเงินล่วงหน้าให้เจ้าหนี้ย่อมมีโอกาส เอาตั๋วเงินนั้นมาใช้ก่อนได้ ตั๋วเงินนี้นับว่าเป็นที่นิยมใช้กันมากขึ้นทุกวัน แต่ความหมายหรือ คำจำกัดความของตั๋วเงินตามกฎหมายนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อันเป็นแม่บท เรื่องนี้มิได้บัญญัติไว้ให้ชัดเจนว่าตั๋วเงินคืออะไร เพียงแต่บัญญัติว่า “อันตั๋วเงิน” ตามกฎหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้ มีสามประเภท คือ ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน และเช็ค
1. ตั๋วแลกเงิน คือ หนังสือตราสารซึ่งบุคคลหนึ่ง เรียกว่า ผู้สั่งจ่าย สั่งบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้จ่าย ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลหนึ่งซึ่ง เรียกว่า ผู้รับเงิน • 2. ตั๋วสัญญาใช้เงิน คือ หนังสือตราสารซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้ออกตั๋วให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับเงิน • 3. เช็ค คือ หนังสือตราสาร ซึ่งบุคคลหนึ่ง เรียกว่า ผู้สั่งจ่าย สั่งธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่ง เมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่า ผู้รับเงิน
ฉะนั้นตราสารเปลี่ยนมือชนิดอื่น เช่น ใบกำกับของ ใบประทวนสินค้า หรือแม้แต่เล็ตเตอร์ออฟเครดิต ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเงิน คล้ายคลึงกับตั๋วเงินแต่ก็มิใช่ตั๋วเงินตามความหมายของกฎหมายนี้ แต่พิจารณาต่อไปในมาตรา 908 , 982 และ 987 อันว่าด้วย ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน และเช็คตามลำดับแล้ว จะเห็นว่ามีคำจำกัดความของตั๋วเงินทั้ง 3 ประเภท ที่กล่าวมาแล้ว อยู่ในตัวบทนั้นเอง ซึ่งพอสรุปรวมกันเป็นหลักโดยย่อได้ว่า ตั๋วเงิน คือ
1. หนังสือตราสาร หมายความว่าตั๋วเงินจะต้องมีลักษณะดังนี้ • 1.1 เป็นหนังสือที่มีลักษณะเป็นสัญญา มิใช่เป็นหนังสือดังที่ท่านทั้งหลายกำลังถืออ่านอยู่ขณะนี้เมื่อเป็นหนังสือที่มีสัญญา ก็หมายความว่า ผู้ซึ่งลงลายมือชื่อในตั๋วเงินนั้นจะต้องเป็นผู้ซึ่ง สามารถทำนิติกรรมได้ตามกฎหมาย 6 และ • 1.2 เป็นตราสาร หมายถึง เอกสารชนิดหนึ่งที่กฎหมายรับรองว่า เมื่อถึงกำหนดตามที่ ได้ตกลงกันไว้ในตั๋วเงิน แล้วจะมีผู้ใช้เงินตามจำนวนที่ได้ระบุไว้ในตั๋วเงินนั้น และถ้าถึงกำหนดแล้วไม่มีการใช้เงินตามคำสั่งหรือคำมั่นสัญญา ผู้ซึ่งมีตั๋วเงินนั้นอยู่ในความครอบครอง สามารถฟ้องบังคับให้ผู้ลงลายมือชื่อทั้งหลาย ชำระเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในตั๋วเงินนั้น • 1.3 หนังสือตราสารนั้นต้องเป็นหรือคำมั่นสัญญาในการใช้เงิน จะเป็นคำสั่ง หรือ คำมั่นสัญญาให้กระทำการหรืองดเว้นการกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งมิได้ จะต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเงินเท่านั้น
2. ความรับผิดตามตั๋วเงิน ผู้ต้องรับผิดตามตั๋วเงิน ได้แก่ผู้ซึ่งลงลายมือชื่อในตั๋วเงิน • โดยไม่จำกัดว่าลายมือชื่อนั้นจะเป็นภาษาใดก็ตาม 8 ถ้าลงแต่เครื่องหมายอย่างใด ๆ เช่น แกงได หรือลายพิมพ์นิ้วมือ แม้ว่าจะมีพยานลงชื่อรับรองถูกต้อง ก็ไม่ถือว่าเป็นการลงลายมือชื่อ 9 ทั้งนี้เพราะกฎหมาย ถือว่าตั๋วเงินเป็นเอกสารที่มีความสำคัญยิ่งต่อวงการธุรกิจ จึงจำเป็นที่จะต้องมีหลักฐานเป็นที่แน่นอน ต้องการให้ผู้รู้หนังสือ เช่น อ่านออกหรือเขียนได้เข้าผูกพันด้วยการลงลายมือชื่อในตั๋วเงินจะเห็นได้ว่าความรับผิดตามตั๋วเงินนั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการลงลายมือชื่อ แต่ถ้าผู้ซึ่งลงลายมือชื่อได้แถลงไว้ว่ากระทำการแทนบุคคลหนึ่งบุคคลใดบุคคลผู้ลงลายมือชื่อนั้น ก็ไม่ต้องรับผิด ตามความในตั๋วเงินนั้น
ดังกล่าวแล้วว่าผู้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินทุกคนต้องรับผิดชอบตามความในตั๋วเงินหากปรากฏว่าในตั๋วเงินฉบับหนึ่ง มีลายเซ็น นาย ก. ซึ่งเป็นผู้เยาว์หรือเป็นผู้ไร้ความสามารถ โดยหลักแล้ว นาย ก. ก็ยังคงต้องรับผิด จะปฏิเสธว่าตนเป็นผู้เยาว์หรือเป็นผู้ซึ่งถูกจำกัดความสามารถไม่ได้ ในกรณีที่ตั๋วเงินฉบับหนึ่งมีการลงลายมือชื่อของบุคคลหลายคน และปรากฏว่าในบรรดาลายมือชื่อ ทั้งหลายมีชื่อผู้เยาว์อยู่ด้วย และผู้แทนโดยชอบธรรม ได้บอกล้างนิติกรรมที่ผู้เยาว์ได้กระทำลง ซึ่งก็สามารถกระทำได้ เพราะตั๋วเงินเป็นสัญญาอย่างหนึ่ง ซึ่งก็ต้องนำหลักในเรื่องนิติกรรมสัญญา มาใช้ด้วย เมื่อผู้เยาว์ได้กระทำคือ ลงลายมือชื่อก็ถือว่าได้ทำสัญญาและสัญญานั้นเป็นโมฆียะ และผู้แทนโดยชอบธรรมสามารถบอกล้างได้ ซึ่งเมื่อบอกล้างแล้วสัญญาที่เป็นโมฆียะนั้นก็จะกลายเป็น โมฆะ ทันที
สำหรับการใช้เงิน ตามตั๋วนั้น เมื่อตั๋วเงินถึงกำหนดผู้ทรงมีหน้าที่ที่จะต้องนำไปยื่นให้ผู้จ่ายเงินทันทีจะไปผ่อนผันเลื่อนวันจ่ายกับผู้จ่ายไม่ได้13 หากผู้ทรงยอมผ่อนเวลาให้กับผู้จ่ายเงิน ต่อมา ผู้จ่ายเงินไม่จ่ายเงิน ผู้ทรงย่อมหมดสิทธิที่จะไล่เบี้ยกับบุคคลอื่น ซึ่งต้องรับผิดตามตั๋ว เว้นแต่ว่าบุคคล ซึ่งต้องรับผิดตามตั๋วเงินให้ความยินยอมในการที่ผู้ทรงยอมผ่อนเวลาให้กับผู้จ่าย กรณีเป็นอย่างเดียวกัน หากมีผู้สลักหลังซึ่งจะต้องรับผิดตามตั๋ว เพราะมีลายมือชื่อในตั๋วเงิน หากผู้ทรงผ่อนเวลาชำระหนี้ตามตั๋ว โดยที่ผู้สลักหลังไม่ยินยอมเช่นนี้ ผู้สลักหลังย่อมพ้นจากความรับผิดด้วย
3. ลักษณะสำคัญพิเศษของตั๋วเงิน เนื่องจากตั๋วเงินเป็นเอกสารที่มีความสำคัญมาก ดังได้กล่าวมาแล้วว่าสามารถใช้แทนเงินได้ ดังนั้นในวงการธุรกิจจึงมีผู้นิยมใช้ตั๋วเงิน เป็นจำนวนมาก เพื่อความคล่องตัวและรัดกุมในการใช้ตั๋วเงิน เพื่อป้องกันความยุ่งยากในการใช้ตั๋วเงิน จึงได้เกิดหลักว่า“ถ้าข้อความใด ซึ่งมิได้บัญญัติไว้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะตั๋วเงินนี้หากคู่สัญญา ได้เขียนลงไว้ในตั๋วเงินข้อความนั้นถือว่าไม่มีผล”
4. ผู้ทรง หมายถึง ผู้ซึ่งมีสิทธิเรียกร้องให้บุคคลซึ่งต้องรับผิดตามตั๋วเงินชำระเงิน ตามตั๋วเงินโดยที่ตนมีตั๋วเงินไว้ในครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าการครอบครองนั้น จะได้ครอบครองในฐานะอย่างใด เช่น • 1. ฐานะผู้รับเงิน เช่น นาย ก. เขียนในตั๋วเงินว่าจ่าย นาย ข. เช่นนี้ เป็นผู้ทรง ในฐานะเป็นผู้รับเงิน • 2. ฐานะผู้รับสลักหลัง เช่น นายดำเขียนเช็คว่าจ่ายนายขาวแล้วส่งให้นายขาว นายขาวสลักหลังว่าจ่ายนายเขียว นายเขียวเป็นผู้ทรงฐานะเป็นผู้สลักหลัง • 3. ฐานะผู้ถือในกรณีที่เป็นตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ เช่น นาย ก. เขียนเช็คว่าจ่ายนาย ข. หรือผู้ถือ นาย ข. ถือเช็คนั้นไว้ นาย ข. ย่อมเป็นผู้ทรงฐานะเป็นผู้ถือ หรือแม้แต่นาย ค. ถือเช็คนั้นไว้ นาย ค. ย่อมเป็นผู้ทรงในฐานะผู้ถือเช่นกัน
คำว่า “ ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ” หมายถึง การได้รับตั๋วเงินมาไว้ในครอบครองโดยได้รับการโอนมาจากการสลักหลังไม่ขาดสาย หรือโดยการส่งมอบ ไม่ใช่ว่าได้มาโดย ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น การเก็บได้เมื่อมีผู้ทำตกไว้หรือได้มาโดยวิธีไม่สุจริต เป็นต้น ในกรณีที่มีข้อสงสัย เกิดขึ้นผู้ทรงตั๋วเงินจะต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าตนมีตั๋วเงินโดยได้รับโอนติดต่อ มาจนถึงตนผู้ครอบครอง
5. การโอนกรรมสิทธิ์ตั๋วเงิน การโอนกรรมสิทธิ์ตั๋วเงิน มีวิธีการพิเศษแตกต่างกับการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชนิดอื่น ๆ แม้แต่วิธีการโอนตั๋วเงินด้วยกันเองก็ยังแตกต่างกัน ตามประเภทของตั๋วเงิน ซึ่งอาจแบ่งแยกได้ดังนี้ • 1. ตั๋วแลกเงินหรือเช็คย่อมโอนได้2 วิธี คือ • 1.1 ตั๋วเงินที่สั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ ตั๋วผู้ถือย่อมโอนกรรมสิทธิ์ในตั๋วได้โดยวิธีส่งมอบตั๋วนั้นให้แก่ผู้รับโอนโดยไม่ต้องสลักหลัง ถึงแม้จะมีการลงชื่อของผู้ทรงด้านหลัง ของตั๋วเงินซึ่งเป็นการสลักหลังลอยแล้วส่งมอบให้แก่ผู้รับโอน การกระทำเช่นนั้นก็หาเป็นการสลักหลัง ไม่ถือว่าผู้ทรง ซึ่งลงชื่อนั้นเป็นเพียงผู้รับอาวัลให้แก่ผู้สั่งจ่าย • 1.2 ตั๋วเงินที่ระบุชื่อผู้รับ(ตั๋วระบุชื่อ) จะโอนได้ต้องมีการสลักหลัง และส่งมอบ ตั๋วไว้แก่ผู้รับสลักหลังหรือเรียกว่าผู้รับโอน โดยระบุชื่อผู้รับสลักหลังไว้หรือไม่ก็ได้22
2. ตั๋วสัญญาใช้เงิน จะโอนกันได้แต่เฉพาะสลักหลังและส่งมอบเท่านั้น เพราะ ตั๋วสัญญาใช้เงินจะต้องระบุชื่อผู้รับเงินไว้เสมอ 3. การสลักหลังตั๋วเงิน ผู้ทรงจะสลักหลังตั๋วเงินให้แก่ใครก็ได้ แม้จะเป็น การสลักหลัง ให้แก่ผู้จ่ายหรือผู้ซึ่งมีลายมือชื่ออยู่ก่อนแล้วก็ได้25 แต่ถ้าเป็นการสลักหลังตั๋วเงิน ที่สั่งให้ใช้เงินให้แก่ผู้ถือแล้ว การสลักหลังนั้นกฎหมายไม่ถือว่าเป็นการสลักหลังเพื่อการโอนตั๋วเงิน แต่เป็นเพียง การประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายเท่านั้น
สำหรับวิธีการสลักหลังตั๋วเงิน จะพิจารณาได้ดังต่อไปนี้ • (1) สลักหลังลอย คือ การเซ็นชื่อของผู้ทรงด้านหลังตั๋วเงินหรือใบประจำต่อ เช่น นายก. ผู้ทรงตั๋วเงินต้องการจะโอนตั๋วเงินที่มีชื่อตนเป็นผู้รับเงินให้แก่บุคคลอื่น นาย ก. กระทำได้โดยเซ็นชื่อ นาย ก. ด้านหลังตั๋วเงินนั้นและส่งมอบให้แก่ผู้ซึ่งประสงค์ต่อไป • (2) สลักหลังให้บุคคลอื่นหรือสลักหลังเฉพาะ คือ การเซ็นชื่อผู้ทรงและการเขียน ข้อความว่า จ่ายให้ใครด้านหน้าหรือด้านหลังตั๋วเงินหรือใบประจำต่อ เช่น ดำจ่ายตั๋วเงินให้ขาว ขาวต้องการโอน ตั๋วเงินให้เขียว ขาวก็เซ็นชื่อตนและเขียนด้านหน้าหรือหลังตั๋วเงินว่าโอนให้เขียว เป็นต้น • ในกรณีที่ไม่มีที่ให้สลักหลังพอในตั๋วเงิน ผู้ซึ่งต้องการสลักหลังย่อมกระทำได้ โดยนำกระดาษมาต่อที่ด้านหลังของตั๋วเงิน กระดาษนั้นเรียกว่า “ใบประจำต่อ” การสลักหลัง ครั้งแรกบนใบประจำต่อจะต้องเขียนหรือสลักหลังควบส่วนต่อของใบประจำต่อนั้นการสลักหลังนั้นเมื่อได้ขีดฆ่าก่อนส่งมอบแล้ว ถือเสมือนว่ามิได้มีการสลักหลัง
6. คู่สัญญา คู่สัญญาหมายถึง • 6.1 ผู้สั่งจ่ายและหรือผู้ออกตั๋ว คือ ผู้สั่งให้บุคคลหนึ่ง หรือธนาคารจ่ายเงินให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือผู้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง • 6.2 ผู้ทรง คือ ผู้ซึ่งมีตั๋วเงินไว้ในครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายในฐานะเป็น ผู้รับเงิน หรือผู้รับสลักหลังรวมตลอดถึงมือผู้ถือ • 6.3 ผู้สลักหลัง คือ ผู้ทรงเดิมซึ่งอาจเป็นผู้ทรงในฐานะผู้รับเงินหรือผู้รับสลักหลังเดิม และต่อมาได้ลงลายมือชื่อของตนบนด้านหลังหรือด้านหน้าของตั๋วเพื่อโอนตั๋วให้บุคคลอื่นต่อไป • 6.4 ผู้รับรอง คือ ผู้จ่ายซึ่งเข้ามารับรองว่าจะมีการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น โดยลงลายมือชื่อ ของตนบนด้านหน้าของตั๋วเงิน
6.5 ผู้สอดเข้าแก้หน้า คือ ผู้ซึ่งมาเข้ารับรอง หรือใช้เงินเพื่อแก้หน้าในกรณีตั๋วเงินนั้น ปราศจากการรับรองหรือการใช้เงินตามตั๋ว • 6.6 ผู้ใช้เงินยามประสงค์ คือ ผู้ซึ่งต้องรับผิดตามตั๋วเงินได้ระบุชื่อไว้ว่าหากไม่มีการใช้เงินตามตั๋วเงิน ผู้นี้จะเป็นผู้สอดเข้าแก้หน้าเพื่อใช้เงินตามตั๋ว • 6.7 ผู้รับอาวัล คือ ผู้ซึ่งประกันการใช้เงินตามตั๋วเงิน โดยเขียนข้อความทำนองเป็นอาวัล และเซ็นชื่อแสดงเจตนาของตนว่า เป็นผู้อาวัลในตั๋วเงินหรือจะกระทำบนด้านหน้าหรือหลังตั๋วเงินก็ได้หรือเพียงลงลายมือชื่อลำพังด้านหน้าตั๋วเงินก็ได้ เว้นแต่ผู้สั่งจ่าย และผู้จ่ายจะเซ็นชื่อลำพังด้านหน้าตั๋วเงิน เพื่อเป็นการอาวัลไม่ได้ต้องเขียนข้อความไว้ให้ชัดเจนว่าอาวัล อนึ่งผู้รับอาวัลให้หมายความรวมถึงผู้สลักหลังตั๋วเงินที่สั่งจ่ายให้กับผู้อื่นถือด้วย
1. ตั๋วแลกเงิน • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติว่า “อันว่าตั๋วแลกเงินนั้น คือ หนังสือ ตราสาร ซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้สั่งจ่าย สั่งบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้จ่ายให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้รับเงิน” ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าตั๋วแลกเงิน คือ • 1. หนังสือตราสาร หมายถึง หนังสือสัญญาซึ่งกฎหมายรับรอง • 2. หนังสือที่บุคคลหนึ่งสั่งบุคคลอีกคนหนึ่ง กล่าวคือ หนังสือนั้นจะต้องเป็นการสั่ง มิใช่การขอร้อง เช่น นาย ก. สั่ง นาย ข. ให้จ่ายเงินแก่นาย ค.
3. คำสั่งในตราสารต้องเป็นคำสั่งให้บุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่า “ผู้จ่าย” จ่ายเงิน จำนวนหนึ่งแก่บุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่า “ ผู้รับเงิน ” หรือจะเป็นคำสั่งให้ใช้เงินตามคำสั่งของผู้รับเงิน เช่น นาย ก. สั่ง นาย ข. ให้จ่ายเงิน นาย ค. หรือตามสั่ง ซึ่งหมายความว่าให้ นาย ข. จ่ายเงิน นาย ค. หรือ ตามคำสั่ง นาย ค. จากมาตรา 908 นี้จะเห็นได้ว่าตั๋วแลกเงินจะต้องมีบุคคล 3 ฝ่าย คือ (ก) ผู้สั่งจ่าย (ข) ผู้จ่าย และ (ค) ผู้รับเงิน แต่ในขณะเดียวกัน กฎหมายก็เปิดโอกาสให้ผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงิน สั่งให้จ่ายเงินตามคำสั่งของผู้สั่งจ่ายเองหรือจะสั่งจ่ายเพื่อบุคคลภายนอกก็ได้
ลักษณะสำคัญของตั๋วแลกเงินลักษณะสำคัญของตั๋วแลกเงิน • ตั๋วแลกเงินนั้นจะต้องมีรายการตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ มิฉะนั้นถือว่าตั๋วแลกเงินนั้นไม่สมบูรณ์ แต่ความไม่สมบูรณ์ของตั๋วเงินนั้นไม่เป็นโมฆะเสียเปล่าใช้ไม่ได้เลย แต่บางรายการหากขาด หายไปก็ยังคงใช้ได้อยู่ดังจะได้ศึกษาต่อไป • ในตั๋วแลกเงินนั้นกฎหมายบังคับไว้ว่าจะต้องมีรายการดังต่อไปนี้ คือ • 1. คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงิน ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์ให้บุคคลซึ่งเกี่ยวข้องทราบว่าเป็นตราสารที่กฎหมายรับรู้ ถ้าเอกสารนั้นไม่บอกชื่อไว้โดยชัดแจ้งย่อมไม่ถือว่าเอกสารนั้นเป็น ตั๋วแลกเงิน
2. คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินเป็นจำนวนแน่นอน กล่าวคือ ตั๋วแลกเงินนั้น จะต้องเป็นคำสั่งให้จ่ายเงิน มิใช่ว่าผู้จ่ายจะจ่ายก็ได้แล้วแต่ความพอใจ และคำสั่งนั้นต้องเป็น คำสั่งที่ปราศจากเงื่อนไข คำสั่งนั้นต้องเป็นคำสั่งให้กระทำการหรือละเว้นกระทำการอย่างใด อย่างหนึ่ง และ คำสั่งนั้นจะต้องเป็นคำสั่งที่ชัดเจน ปราศจากข้อเคลือบคลุมสงสัย หรือมีข้อกำหนดแต่ประการใด หากตั๋วแลกเงินใดมิได้ให้จ่ายเงินจำนวนแน่นอนและโดยไม่มี เงื่อนไขแล้ว ถือว่าตั๋วแลกเงินนั้นใช้ไม่ได้ไม่เป็นตั๋วแลกเงิน ส่วนดอกเบี้ยนั้นจะกำหนดให้จ่ายไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้ ถ้ามิได้กำหนดไว้ให้เป็นไป ตามกฎหมาย และถ้าจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย จะกำหนดเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไม่ได้
3. ชื่อหรือยี่ห้อผู้จ่าย ในตั๋วแลกเงินนั้นจะต้องระบุชื่อผู้จ่ายหรือยี่ห้อผู้จ่ายอย่างใด อย่างหนึ่งเพื่อที่ผู้ทรงตั๋วจะได้ทราบว่าผู้ใดจะเป็นผู้จ่ายเงินจำนวนนั้น หากในตั๋วแลกเงินใด ไม่มีชื่อผู้จ่ายหรือยี่ห้อผู้จ่ายถือว่าตั๋วแลกเงินนั้นไม่เป็นตั๋วแลกเงิน อนึ่ง ผู้จ่ายและผู้สั่งจ่าย จะเป็นบุคคลเดียวกันก็ได้ และผู้จ่ายจะเป็นบุคคลเดียวหรือหลายคนก็ได้ ถ้าตั๋วแลกเงินใดไม่มีชื่อหรือ ยี่ห้อผู้จ่ายถือว่าเอกสารนั้นไม่เป็นตั๋วแลกเงิน • 4. วันถึงกำหนดใช้เงิน ในตั๋วแลกเงินนั้นจะต้องมีกำหนดวันที่แน่นอนในการใช้รับเงินว่าจะต้องเป็นวันที่เท่าไร ซึ่งอาจจะเป็น • 4.1 วันหนึ่งวันใดที่กำหนดไว้ในตั๋วแลกเงินนั้นอย่างชัดแจ้ง ตัวอย่างเช่น ให้จ่ายเงิน วันที่1 มกราคม 2516 • 4.2 วันที่ถึงกำหนดระยะเวลาใดนับแต่วันที่ลงในตั๋วแลกเงิน ตัวอย่างเช่น ให้จ่ายเงินเมื่อครบกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ลงในตั๋วเงิน • 4.3 วันที่เมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น เช่น ระบุไว้ในตั๋วแลกเงินว่าให้จ่ายเงินเมื่อ ผู้ทรงหรือผู้รับเงินทวงถามหรือเมื่อผู้จ่ายได้เห็น ในกรณีนี้ผู้ทรงหรือผู้รับเงินต้องนำตั๋วไปยื่น ให้แก่ผู้จ่ายได้เห็นเพื่อทราบ
4.4 วันที่สิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่ได้เห็น คือ ผู้จ่ายจะชำระเงิน เมื่อครบกำหนดเวลาแต่วันที่ผู้ทรงตั๋วหรือผู้รับเงินนำตั๋วไปแสดงให้ผู้จ่ายเห็น เช่น จ่ายเงินภายหลัง 30 วัน นับแต่ได้เห็นตั๋วแลกเงินเช่นนี้ เมื่อผู้ทรงหรือผู้รับเงินนำตั๋วแลกเงินไปให้ผู้จ่ายเห็นเมื่อไรนับแต่วันนั้นไป 30 วัน ผู้จ่ายจะจ่ายเงินให้แก่ผู้ทรงหรือผู้รับเงินถ้าตั๋วแลกเงินมิได้ระบุเวลาใช้เงินก็ไม่ทำให้ตั๋วแลกเงินไม่สมบูรณ์ ตั๋วแลกเงินนั้นก็ยังคงใช้ได้โดยให้ถือว่าใช้เงินเมื่อได้เห็น • 5. สถานที่ใช้เงิน ในตั๋วแลกเงินจะต้องกำหนดสถานที่ใช้เงินที่ผู้ทรงจะไปรับเงินได้ถ้ามิได้กำหนดไว้ตั๋วแลกเงินนั้นยังคงสมบูรณ์ ยังคงใช้ได้โดยให้ถือว่าสถานที่ใช้เงินได้แก่ภูมิลำเนาของผู้จ่าย
6. ชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อที่ผู้จ่ายเงินจะได้ทราบว่าตนจะต้องจ่ายให้แก่ผู้ใด ถ้าตั๋วแลกเงินใดไม่มีชื่อ หรือยี่ห้อผู้รับเงินหรือคำขอแจ้งว่าให้จ่ายแก่ผู้ถือแล้ว ถือว่าเอกสารนั้นไม่เป็นตั๋วแลกเงิน • 7. วันและสถานที่ออกตั๋วเงิน ตั๋วแลกเงินจะต้องมีวันและสถานที่ออกตั๋วแลกเงิน ทั้งนี้ เพราะประโยชน์ที่จะให้ทราบถึง วันเวลาที่ออกตั๋วเงินเพื่อประโยชน์ที่จะคิดดอกเบี้ย ( ถ้ามี และ สำหรับ สถานที่ ที่ออกตั๋วเงินก็นับว่าเป็นส่วนสำคัญของตั๋วเงินด้วยเช่นกัน • ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย เพื่อจะได้ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้รับผิดในกรณีเมื่อมีการยื่นตั๋วแลกเงินนั้น โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่มีการจ่ายเงินหรือไม่มีการรับรอง ถ้าไม่มีการรับรอง ถ้าไม่มีลายมือชื่อ ผู้สั่งจ่าย ถือว่าเอกสารนั้นไม่เป็นตั๋วแลกเงิน แต่ถ้าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายที่ลงไว้เป็นลายมือปลอมตั๋วเงินยังคงสมบูรณ์ไม่กระทบถึงลายมือชื่อคู่สัญญาอื่น ๆ
นอกเหนือไปจากข้อความที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีข้อความบางอย่างที่กฎหมายยอมรับให้ผู้สั่งจ่ายเขียนในตั๋วเงินได้โดยไม่ถือว่า ข้อความนั้นเสียเปล่า กล่าวคือผู้สั่งจ่ายหรือ ผู้สลักหลัง จะกำหนดข้อความใด ๆ ลงไว้ตามที่กฎหมายอนุญาตก็ได้เช่น • (1) ข้อกำหนดลบล้างหรือจำกัดความรับผิดของตนต่อผู้ทรงก็ได้53 กล่าวคือ ทั้งผู้สั่งจ่าย และผู้สลักหลังจะเขียนข้อความลบล้างความรับผิดของตนต่อผู้ทรงเป็นข้อความที่กฎหมายยินยอมให้มีการเขียนเช่นนั้นได้ข้อความเช่นนั้นจึงมีผล • (2) ข้อกำหนดยอมลดละให้แก่ผู้ทรงตั๋วเงิน ในหน้าที่บางอย่างของผู้ทรง เกี่ยวกับผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้
ความรับผิดชอบของผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังความรับผิดชอบของผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลัง • เมื่อผู้สั่งจ่ายได้สั่งให้ผู้ใดจ่ายเงินแล้วถึงกำหนดเวลาผู้จ่ายไม่ยอมจ่ายเงิน ผู้สั่งจ่ายจะเป็นผู้รับผิดตามตั๋วนั้น และหากว่าตั๋วนั้นมีการหลักหลัง ก็หมายความว่าผู้สลักหลัง จะรับผิดเมื่อผู้จ่าย ไม่ยอมจ่ายเมื่อถึงกำหนดเวลา แต่ทั้งนี้ผู้ทรงจะต้องกระทำการคัดค้าน ตามที่กฎหมายบัญญัติ เมื่อผู้จ่ายปฏิเสธการจ่าย
การโอนตั๋วแลกเงิน • การโอนตั๋วแลกเงินนั้นทำได้ 2 วิธีกล่าวคือ • 1. การส่งมอบ ในกรณีที่ตั๋วแลกเงินนั้นเป็นตั๋วแลกเงินสั่งใช้เงินแก่ผู้ถือ • 2. การสลักและส่งมอบ ในกรณีที่เป็นตั๋วแลกเงินระบุชื่อผู้รับเงินในกรณีที่ตั๋วแลกเงินมีการสลักหลังแต่มิได้ระบุชื่อผู้รับสลักหลัง การโอนตั๋วในครั้งต่อ ๆ ไป กระทำได้โดยการส่งมอบเพียงอย่างเดียว • อนึ่ง แม้ว่าผู้สั่งจ่ายจะเขียนลงไว้ด้านหน้าแห่งตั๋วแลกเงินว่า “เปลี่ยนมือไม่ได้” หรือ ข้อความอื่นที่มีความหมายทำนองเดียวกันเช่นนี้ซึ่งก็เป็นสิทธิของผู้จ่าย กฎหมายยินยอม ให้เขียนได้
การสลักหลัง • การสลักหลัง คือ การที่ผู้ทรงเดิมลงลายมือชื่อของตน โดยจะระบุผู้รับประโยชน์หรือจะไม่ระบุชื่อผู้รับประโยชน์เช่น ดำออกตั๋วแลกเงินสั่งขาวให้จ่ายเขียว เขียวเป็นผู้ทรง เขียวต้องการจะโอนตั๋วแลกเงินให้แก่แดง เขียวจะเขียนชื่อเขียวด้านหลัง หรือจะเขียนว่าจ่ายแดงแล้วลงชื่อเขียวก็ได้ และในกรณีที่ตั๋วแลกเงินมีที่ไม่พอจะเขียนในใบประจำต่อก็ได้ • คำว่าการสลักหลังน่าจะหมายความว่าต้องเขียนด้านหลัง แต่ก็มิได้มีกฎหมายมาตราใด บังคับว่าจะสลักได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง หรือด้านหน้าเช่นเดียวกับเรื่องการรับรอง จึงทำให้คิดไปว่า น่าจะสลักได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง แต่ถ้าเป็นการสลักหลังลอย จะต้องเขียนด้านหลัง เพราะ ถ้าลงแต่ลายมือชื่อด้านหน้า ผู้นั้นก็จะกลายเป็นผู้รับรองอาวัลไป
อาวัล • คือ การค้ำประกันหรือรับประกันการใช้เงินตามที่ระบุไว้ในตั๋วแลกเงิน อาจเป็นการ รับประกันจำนวนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้64 และจะเข้ารับอาวัลก่อนหรือหลังที่ตั๋วแลกเงินนั้นขาดความเชื่อถือก็ได้ กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้โดยเฉพาะ แต่จะต้องเป็นการรับประกันก่อนที่ ตั๋วแลกเงินจะหมดอายุ กรณีการอาวัลและความรับผิดชอบของผู้รับอาวัลแตกต่างจากวิธีการและ การรับรองเพื่อแก้หน้า
การสอดเข้าแก้หน้า • หมายความว่า การที่บุคคลหนึ่งซึ่งผู้สั่งจ่าย หรือ ผู้สลักหลังจะระบุไว้ล่วงหน้า หรือ จะเป็นบุคคลภายนอก หรือจะเป็นผู้สั่งจ่ายหรือผู้จ่ายหรือผู้ซึ่งจะต้องรับผิดตามตั๋วแลกเงินอยู่แล้วก็ได้เมื่อผู้จ่ายไม่รับรอง เมื่อถึงกำหนดตนจะจ่ายให้หรือสอดเข้ามาใช้เงินเมื่อตั๋วแลกเงินถึงกำหนดและ ผู้จ่ายไม่จ่าย ในการสอดเข้าแก้หน้าเพื่อรับรองหรือใช้เงิน ผู้สอดเข้าแก้หน้าต้องระบุว่า ตนสอดเข้า มาแก้หน้า คู่สัญญาใด และจะต้องบอกคู่สัญญานั้นด้วยว่าตนได้เข้ามาสอด เพื่อแก้หน้า ไม่จำเป็นจะต้องบอกกล่าวไปยังผู้ซึ่งตนเข้าแก้หน้า การสอดเข้าแก้หน้านี้ก็เพื่อรักษาชื่อเสียงของคู่สัญญา • การสอดเข้าแก้หน้านี้มีอยู่ 2 ชนิด คือ • 1. การรับรองด้วยการสอดเข้าแก้หน้า • 2 การใช้เงินเพื่อแก้หน้า
2. ตั๋วสัญญาใช้เงิน • อันว่าตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น คือหนังสือตราสารซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้ออกตั๋ว ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับเงิน • ลักษณะของตั๋วสัญญาใช้เงิน • 1. หนังสือตราสาร หมายถึงหนังสือที่กฎหมายรับรอง • 2. ผู้ออกหนังสือให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งหรือใช้เงินตามคำสั่ง • 3. ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง คือ การออกตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น มีบุคคลเกี่ยวข้องกัน 2 ฝ่าย ได้แก่ ผู้ออกตั๋ว และผู้รับเงิน
ตั๋วสัญญาใช้เงินจะต้องมีรายการตามที่กฎหมายระบุไว้ มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นตั๋วสัญญา ใช้เงินที่ไม่สมบูรณ์ รายการนั้นส่วนมากเหมือนรายการตั๋วแลกเงิน แต่มีข้อแตกต่างเล็กน้อยดังนี้ คือ • (1) ตั๋วแลกเงินเป็นคำสั่งให้บุคคลอีกคนหนึ่งจ่ายเงินให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง แต่ตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นคำมั่น สัญญาของผู้ออกตั๋วว่าจะใช้เงิน • (2) ชื่อและยี่ห้อผู้จ่ายไม่มี เพราะผู้ออกตั๋วเป็นผู้จ่าย • (3) ตั๋วสัญญาใช้เงินจะออกให้แก่ผู้ถือไม่ได้ เพราะตั๋วสัญญาใช้เงินที่ไม่ระบุชื่อ หรือยี่ห้อผู้รับเงิน ไม่เป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน
ข้อยกเว้น • ในกรณีที่ตั๋วสัญญาใช้เงินไม่สมบูรณ์ ตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นย่อมไม่เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินเลยแต่บางครั้งตั๋วสัญญาใช้เงินก็ยังคงใช้ได้โดยมีข้อยกเว้นเป็นต้นว่า หากตั๋วสัญญาใช้เงินไม่ระบุวันที่ใช้เงิน ให้ถือว่าใช้เงินเมื่อได้เห็น เป็นต้น เว้นแต่ในเรื่องสถานที่ใช้เงินก็คือภูมิลำเนาของผู้ออกตั๋วนั่นเอง ฉะนั้น ในกรณีที่มิได้มีการระบุสถานที่ใช้เงินไว้ ก็ถือว่าให้ใช้เงิน ณ ภูมิลำเนาของผู้ออกตั๋ว • เนื่องจากตั๋วสัญญาใช้เงินก็เป็นตั๋วเงินชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับ ตั๋วแลกเงิน ฉะนั้นในเรื่องนี้กฎหมายจึงได้บัญญัติให้นำวิธีการต่าง ๆ ที่ใช้ในตั๋วแลกเงินมาใช้กับตั๋วสัญญาใช้เงินโดยอนุโลม
3. เช็ค • อันว่าเช็คนั้นคือหนังสือตราสารซึ่งบุคคลหนึ่ง เรียกว่า ผู้สั่งจ่าย สั่งธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่ง เมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง อันเรียกว่า ผู้รับเงิน จะเห็นได้ว่ากฎหมายได้ให้คำจำกัดความว่าเช็คต้องมีลักษณะดังนี้คือ • 1. หนังสือตราสาร หมายถึงตราสารที่กฎหมายรับรอง • 2. เป็นหนังสือที่สั่งให้ธนาคาร • 3. จ่ายเงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถาม กล่าวคือ เมื่อยื่นเช็ควันใดธนาคารต้องจ่ายเงินในวันนั้น
4. ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง จะเห็นได้ว่าผู้ซึ่งจะสั่งให้ธนาคารจ่ายเงินให้ใครก็ได้ ผู้นั้นจะต้องเป็นเจ้าหนี้ธนาคารเสียก่อนโดยมีเงินฝาก ฝากไว้ ในธนาคาร มิฉะนั้นแล้วธนาคารก็จะไม่จ่ายเงินให้ตามคำสั่งของผู้สั่งจ่ายเช็ค จะมีผู้เกี่ยวข้อง สามฝ่าย คือ ธนาคารซึ่งเป็นผู้จ่ายเงิน ผู้สั่งจ่ายซึ่งเป็นผู้ออกเช็ค และผู้รับเงิน ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็ค แต่ผู้สั่งจ่ายและผู้รับเงินอาจเป็นบุคคลเดียวกันก็ได้ • เนื่องจากเช็คเป็นตั๋วเงินที่สามารถใช้ได้เช่นเงินสด และมีผู้นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบันนี้ ฉะนั้นกฎหมายจึงบัญญัติว่าเช็คจะต้องมีรายการอย่างใดบ้าง กล่าวคือ
1. คำบอกชื่อว่าเป็นเช็ค • 2. คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้ใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน • 3. ชื่อหรือยี่ห้อและสำนักงานของธนาคาร • 4. ชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับเงินหรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ • 5. สถานที่ใช้เงิน • 6. วันและสถานที่ออกเช็ค • 7. ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย • หากเช็ครายใดมีรายการดังกล่าวข้างต้นขาดไป เช็คนั้นก็ไม่สมบูรณ์
ความรับผิดตามเช็ค • ผู้ทรงเช็คต้องยื่นเช็คแก่ธนาคาร เพื่อใช้เงินภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันออกเช็ค ซึ่งหมายถึง วันที่ลงในเช็คนั้นเองถ้าเป็นเช็คที่ให้ใช้เงินเมืองเดียวกัน และภายในสามเดือนนับแต่ วันออกเช็คถ้าเป็นเช็คที่ให้ใช้เงินที่อื่นเมื่อผู้ทรงยื่นเช็คต่อธนาคารแล้วธนาคารจำต้องใช้เงินตามเช็คเว้นแต่ • 1. ไม่มีเงินบัญชีของผู้สั่งจ่ายหรือมีแต่ไม่พอจ่าย • 2. เช็คนั้นยื่นเมื่อพ้นกำหนดหกเดือนนับแต่วันออกเช็ค • 3. เมื่อได้มีคำบอกกล่าวว่าเช็คหายไปหรือถูกลักไป เมื่อผู้ทรงทำเช็คหายย่อมเป็นหน้าที่ของ ผู้ทรงซึ่งทำเช็คหายหรือถูกลักไป ต้องรีบบอกกล่าวธนาคารเพื่อป้องกันมิให้บุคคลอื่น รับเงินตามเช็ค
การรับรองเช็ค • คือ การนำเช็คไปให้ธนาคารรับรู้ว่าจะใช้เงินตามเช็คนั้น ให้แก่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย เช่นเดียวกับเรื่องการรับรองตั๋วแลกเงิน หากแต่ผลของการรับรองตั๋วแลกเงิน มีประการเดียว คือ มีผู้รับรองต้องรับผิดเสมอ แต่ในกรณีเช็คจะเห็นว่าบุคคลซึ่งมีสิทธิ นำเช็คไปให้ธนาคารรับรองมี 2 พวก ซึ่งจะก่อผลไม่เหมือนกันคือ • 1. ถ้าผู้ทรงเช็คให้ธนาคารเขียนข้อความว่า “ใช้ได้” หรือ “ใช้เงินได้” หรือข้อความอย่างอื่น อันมีผลว่าใช้ได้ ธนาคารต้องผูกพันในฐานะเป็นลูกหนี้ชั้นต้น ผู้สั่งจ่ายละผู้สลักหลังย่อมหลุดพ้น จากความรับผิด • 2. ถ้าผู้สั่งจ่ายเป็นผู้ขอให้ธนาคาร เขียนข้อความเช่นนั้น ผู้สั่งจ่าย และผู้สลักหลัง ไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
วิธีออกเช็ค • ผู้สั่งจ่ายหรือผู้ทรงจะออกเช็คธรรมดา โดยไม่มีการคร่อมหรือจะออกเช็ค โดยมีการขีดคร่อม ได้หากเป็นเช็คธรรมดาคือเช็คที่ไม่มีการขีดคร่อม ผู้ทรงย่อมนำไปรับเงินสด ณ ธนาคารตามที่ระบุไว้ในเช็คได้ทันที หากเป็นเช็คขีดคร่อม ผู้ทรงจะต้องนำเช็คเข้าบัญชีในธนาคารของผู้ทรง จะเบิกเป็น เงินสดไม่ได้ • การขีดคร่อมเช็คมี2 วิธีด้วยกันคือ • 1. ขีดคร่อมทั่วไป หมายถึง การขีดเส้นขนานไว้ด้านหน้า และจะเขียนคำว่า และบริษัท ไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้ • 2. ขีดคร่อมเฉพาะ หมายถึง การขีดเส้นขนานสองเส้น และเขียนระบุชื่อธนาคาร ลงไป ในระหว่างเส้นขนานนั้น ๆ ทำให้เช็คนั้นธนาคารผู้จ่ายเงินตามเช็คจะจ่ายเงินได้ แต่เฉพาะธนาคารที่มีชื่อระบุไว้เท่านั้น
เมื่อธนาคารได้รับเช็คขีดคร่อมเฉพาะ จะซ้ำขีดคร่อมเฉพาะให้แก่ธนาคารอื่น เพื่อ เรียกเก็บจากธนาคารผู้จ่ายเงินตามเช็คก็ได้เช็คขีดคร่อมเฉพาะให้แก่ธนาคารมากกว่าธนาคารหนึ่งขึ้นไป เมื่อเบิกเอาแก่ธนาคารใดท่านให้ธนาคารนั้นบอกปัดเสียอย่าใช้เงินให้ เว้นแต่ที่ขีดคร่อมให้แก่ธนาคารในฐานะเป็นตัวแทนเรียกเก็บเงินธนาคารใดได้รับเงินไว้เพื่อผู้เคยค้าของตนโดยสุจริต และปราศจากประมาทเลินเล่ออันเป็น เงินเขาใช้ให้ตามเช็คขีดคร่อมทั่วไปก็ดีขีดคร่อมเฉพาะให้แก่ตนก็ดีหากปรากฏว่า ผู้เคยค้านั้นไม่มีสิทธิ หรือสิทธิเพียงอย่างบกพร่องในเช็คนั้นไซร้ ท่านว่าเพียงแต่เหตุที่ได้รับเงินไว้หาทำให้ธนาคารนั้น ต้องรับผิดชอบต่อผู้เป็นเจ้าของอันแท้จริงแห่งเช็คนั้นแต่อย่างหนึ่งอย่างใดไม่
อายุความ • อายุความ คือ กำหนดระยะเวลาที่กฎหมายให้ผู้มีสิทธิเรียกร้องใช้สิทธิเรียกร้องของตนหากใช้สิทธิเมื่อพ้นกำหนดอายุความแล้ว คู่กรณีย่อมยกเหตุแห่งความสิ้นสุดของอายุความขึ้นกล่าวอ้างได้ และในกรณีเช่นนี้ศาลจำต้องยกฟ้อง91 อายุความเรื่องตั๋วเงินนี้กฎหมายได้บัญญัติไว้เป็นกรณีพิเศษและ ต่าง ๆ กัน เนื่องจากในตั๋วเงินนั้นมีคู่สัญญาอยู่ด้วยกันหลายประเภทกล่าวคือ • 1. ถ้าเป็นการฟ้องผู้รับรองตั๋วแลกเงิน ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินกฎหมายกำหนดไว้ภายใน 3 ปีนับแต่วันที่ตั๋วถึงกำหนดใช้เงิน • 2. ถ้าเป็นการฟ้องผู้สลักหลัง และผู้สั่งจ่ายกฎหมายกำหนดไว้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้ลงคำคัดค้าน หรือนับแต่วันที่ตั๋วถึงกำหนด ในกรณีข้อกำหนดว่า “ไม่จำต้องมีคำคัดค้าน” • 3. ในกรณีผู้สลักหลังฟ้องไล่เบี้ยกันเอง และไล่เบี้ยเอากับผู้สั่งจ่าย กฎหมายกำหนดไว้ภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ผู้สลักหลังเข้าถือเอาตั๋วเงิน และใช้เงินหรือนับแต่วันที่ ผู้สลักหลังเข้าถือเอาตั๋วเงิน และใช้เงินหรือนับแต่วันที่ผู้สลักหลังถูกฟ้อง
ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค • พระราชบัญญัติว่าความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ .ศ. 2534 • 1. การกระทำที่มีลักษณะเป็นความผิดมาตรา 4 “ ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีจริง และบังคับได้ตามกฎหมาย โดยมีลักษณะ หรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ • (1) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น • (2) ในขณะที่ออกเช็คนั้นไม่มีเงินอยู่ในบัญชี อันจะถึงให้ใช้เงินได้ • (3) ให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชี อันจะพึงให้ใช้เงินได้ในขณะที่ออกเช็คนั้น
(4) ถอนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนออกจากบัญชี อันจะพึงให้ใช้เงินตามเช็คจนจำนวนเหลือไม่เพียงพอที่จะให้ใช้เงินตามเช็คนั้นได้ • (5) ห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริตเมื่อได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย ถ้าธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตาม เช็คนั้น ผู้ออกเช็คมีความรับผิดต้องระวางโทษ ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือทั้งจำทั้งปรับ
2. การดำเนินคดีลงโทษผู้กระทำความผิด • 2.1 เนื่องจากความผิดตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวนี้ เป็นความผิดที่มีการยอมความได้ดังนั้น ผู้เสียหาย ซึ่งได้แก่ ผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย ในขณะที่ธนาคารปฏิเสธ การจ่ายเงินต้องดำเนินการ ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในเขตท้องที่มีอำนาจ ผู้สั่งจ่ายเช็ค ได้สั่งจ่ายเช็คนั้นหรือดำเนินการ ฟ้องคดีด้วยตนเอง ต้องยื่นภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่ธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าว • 2.2. ความระงับของความผิดตาม พ.ร.บ. ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ฯ • (1) ผู้สั่งจ่ายเช็คจัดให้มีการชำระเงินตามเช็คภายใน 15 วัน นับแต่ผู้ทรงเช็คได้ให้คำบอกกล่าวให้ผู้ออกเช็คว่า ธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค • (2) เมื่อผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์ หรือยอมความโดยถูกต้องตามกฎหมาย