1 / 34

ระบบปฏิบัติการ Linux - SIS

ระบบปฏิบัติการ Linux - SIS. ระบบปฏิบัติการ Linux-SIS หรือ Linux School Internet Server.

kay-sampson
Download Presentation

ระบบปฏิบัติการ Linux - SIS

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระบบปฏิบัติการLinux-SIS

  2. ระบบปฏิบัติการ Linux-SIS หรือ Linux School Internet Server เป็นชุดซอฟต์แวร์ Linux รวมกับซอฟต์แวร์อื่นๆ ที่จำเป็นในการใช้งานเป็น Internet Server อย่างสมบูรณ์แบบ โดยเน้นวิธีการติดตั้งที่ง่าย และมีซอฟต์แวร์ที่จำเป็นมาพร้อม พัฒนาโดยห้องปฏิบัติการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (NTL) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ซึ่งออกแบบมาสำหรับโรงเรียน ที่เชื่อมต่อกับโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อโรงเรียนไทย (SchoolNet) และสถาบันการศึกษาที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายไทยสาร (ThaiSarn)

  3. Linux-SISพัฒนามาจาก Slaceware Linux Distribution โดยมีการเพิ่มซอฟต์แวร์ที่จำเป็นในการใช้งาน Internet Serve พร้อมการตั้งค่าต่างๆ เริ่มต้นให้ มีระบบการติดตั้งที่ง่าย แยกส่วนที่เพิ่มเติมจาก Slackware อย่างชัดเจน -ออกแบบมาเพื่อให้การติดตั้งและเริ่มใช้งาน สามารถทำได้ง่าย และรวดเร็ว -มีซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่จำเป็นในการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ครบครัน

  4. ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIX)

  5. ระบบปฏิบัติการ UNIX มีต้นกำเนิดจากห้องปฏิบัติการวิจัย Bell ประเทศสหรัฐอเมริกา โดย Ken Thompson และ Dennis Ritchie ปี พ.ศ. 2512 โดยมีที่มาคร่าวๆ คือสถาบัน MIT (Massascusetts Institute of Technology), ห้องปฏิบัติการวิจัย AT&T Bell Labs และบริษัท GE (General Electric) ร่วมกันพัฒนาโครงการ Multics ในปี 1960 เพื่อพัฒนาระบบปฏิบัติการสำหรับ Mainframe Computer รุ่น GE 635 โดยให้ระบบปฏิบัติการนี้มีความสามารถทำงานแบบโต้ตอบ (Interactive) มีระบบอำนวยความสะดวกต่อการใช้แฟ้มและข้อมูลร่วมกันได้ แต่เกิดปัญหาหลายประการ จนกระทั่ง Bell Labs ได้ลาออกจากโครงการ แต่โครงการก็ยังดำเนินการต่อโดย Ken Thompson และ Dennis Ritchie ซึ่งทำงานกับ Bell Labs พร้อมๆ กันไปด้วย

  6. ต่อมา Ken & Dennis ได้ร่วมกันพัฒนาระบบปฏิบัติการใหม่ เพื่อทำงานบนเครื่อง PDP-7 และใช้ชื่อว่าระบบปฏิบัติการ UNIX เพื่อให้ออกเสียงใกล้เคียงกับระบบ Multics ดังนั้นต้นกำหนดของ UNIX ก็คือ Multics นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นชื่อ ระบบแฟ้มข้อมูลที่ใช้ แนวคิดของตัวแปรคำสั่ง (Shell) หลังจากนั้นทั้งสองได้พัฒนามาเป็น Version 2 เพื่อทำงานบนเครื่องรุ่น PDP-11/20 โดยใช้ภาษา Assembly และได้พัฒนาปรับปรุงด้วยภาษา C (ภาษา C ก็พัฒนาที่ห้องวิจัย Bell Labs เช่นกัน เพื่อทำงานบนระบบ UNIX) และเผยแพร่ไปสู่มหาวิทยาลัยต่างๆ ด้วย Version 6 ในปี ค.ศ. 1976

  7. ในปี ค.ศ. 1978 Version 7 ก็ถูกพัฒนาออกมา ซึ่งเป็นต้นแบบของระบบ UNIX รุ่นใหม่ๆ หลังจากนั้น AT&T ซึ่งเป็นองค์กรแม่ของ Bell Labs ได้เป็นผู้รับผิดชอบ และควบคุมการออกตัวระบบปฏิบัติการ UNIX ดังนั้น UNIX จึงกลายเป็นผลิตภัณฑ์ แทนที่จะเป็นเครื่องมือวิจัย AT&T ได้พัฒนา UNIX ออกมาใช้งานภายนอก ภายใต้ชื่อ System III ในปี 1982 และปี 1983 ก็ออก System V และพัฒนามาเรื่อยๆ จนได้รับความนิยมในปัจจุบัน

  8. หลังจากนั้นก็มีผู้พัฒนา UNIX เพิ่มขึ้นมา เช่น University of California at Berkley ได้พัฒนา BSD UNIX (Berkley Software Distribution) ต่อมาหน่วยงานกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ (Defense Advanced Research Projects Agency - DARPA) ได้ให้ทุนกับ Berkley ในการพัฒนา UNIX และเกิด Version 4BSD เพื่อสนับสนุนเครือข่ายของ DARPA ที่ใช้โปรโตคอลในการสื่อสาร คือ TCP/IP Version ล่าสุดของ Berkley คือ 4.4BSD ที่ออกมาในปี ค.ศ. 1993 โดยมีความสามารถสนับสนุน Protocol X.25 หลังจากนั้น Berkley ก็หยุดการพัฒนา UNIX

  9. นอกจาก Berkley ยังมีผู้พัฒนารายอื่น เช่น บริษัทซันไมโครซิสเต็ม ก็ได้พัฒนา SunOS และ Solaris บริษัท DEC ได้พัฒนา Ultrix และเปลี่ยนชื่อเป็น OSF/1 บริษัทไมโครซอฟต์พัฒนา XENIX บริษัทไอบีเอ็มพัฒนา AIX แต่ไม่ว่าจะเป็นค่ายใดก็ตาม ต่างก็ยึดแนวทางของ BSD หรือไม่ก็ Sytem V ทั้งนั้น ปัจจุบัน UNIX เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียน (Registered Trademark) ของหน่วยงานที่ชื่อ The Open Group ซึ่งจะทำการกำหนด และรับรองมาตรฐานของระบบปฏิบัติการ UNIX

  10. ระบบปฏิบัติการ UNIX มี 2 ลักษณะ คือ 1.ระบบปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน UNIX เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้ มาตรฐานของ The Open Group ในการพัฒนาขึ้นมา เช่น Digital UNIX, SCO UNIX, IBM's OpenEdition MVS 2.ระบบปฏิบัติการคล้าย UNIX (UNIX Compatible) เป็นระบบปฏิบัติการที่มีลักษณะคล้ายระบบ UNIX แต่ยังไม่ได้จดทะเบียน รับรองเป็นทางการ เช่น Sun Solaris, IBM AIX, Linux

  11. แนะนำระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ - Linux Linux เป็นระบบปฏิบัติการแบบ UNIX - compatible ตัวหนึ่งที่ทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ระดับพีซี (PC) พัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1991 โดยนักศึกษาชื่อ Linus B. Torvalds ณ University of Helsinki ประเทศฟินแลนด์ ในลักษณะของงานอดิเรก โดยมีแรงบันดาลใจมาจากระบบ Minix ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการคล้ายๆ UNIX เล็กๆ ตัวหนึ่งที่พัฒนาโดย Andy Tanenbaum เพื่อประกอบการเรียนรู้ ในหนังสือเกี่ยวกับ การออกแบบระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

  12. Linux Version 0.01 ถูกแจกจ่ายให้ทดลองใช้ประมาณปลายเดือน ส.ค. 1991 โดยมีเฉพาะ Harddisk Driver และระบบไฟล์ขนาดเล็ก ให้ใช้เท่านั้น ไม่มีแม้แต่ Floppy Disk Driver และต้องมีระบบ Minix อยู่แล้ว จึงจะสามารถทำการคอมไพล์ และทดลองใช้งานได้ เนื่องจากยังไม่มีโหลดเดอร์ และคอมไพเลอร์ ต้องอาศัยการคอมไพล์ข้ามระบบ และบูตระบบผ่าน Minix

  13. Linus เปิดตัว Linux อย่างเป็นทางการในวันที่ 5 ตุลาคม 1991 ด้วย Version 0.02 ซึ่งยังคงเป็นระบบปฏิบัติการ สำหรับผู้พัฒนาโปรแกรมระบบอยู่ จนกระทั่งได้เปิดตัว Version 1.0 ในเดือนมีนาคม 1994 และเริ่มมีผู้ใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นระบบปฏิบัติการคล้าย UNIX ที่สมบูรณ์แบบ มีความสามารถสนันสนุนกราฟิก X Window สนับสนุนระบบเครือข่าย TCP/IP สามารถรับส่งอีเมล์ ทำหน้าที่เป็น News, WWW, FTP Server ได้และความสามารถอื่นๆ อีกมาก

  14. สำหรับจุดเด่นที่น่าสนใจของ Linux ได้แก่ 1. เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้งานได้ฟรี 2. ทำงานได้บนเครื่องพีซีทั่วไป ที่มีหน่วยประมวลผลกลางตั้งแต่ 80386 ขึ้นไป รวมถึง Motora 680x0, Compaq (Digital) Alpha, PowerPC, SPARC เป็นต้น จึงเป็นระบบปฏิบัติการที่มีความต้องการทรัพยากรของระบบในขั้นต่ำ 3. สามารถทำงานได้รวดเร็ว เนื่องจากมีระบบการจัดการหน่วยความจำเสมือน (Virtual Memory) การจัดทำงานแบบ Multitasking และระบบป้องกันการรบกวนการทำงานระหว่าง Process ต่างๆ 4. มีกลุ่มผู้ใช้งานบนอินเทอร์เน็ตค่อนข้างสูง ทำให้ข้อบกพร่องต่างๆ ถูกค้นพบ และหาวิธีแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เป็นระบบปฏิบัติการที่มีคุณภาพสูงระบบหนึ่ง

  15. 5. มีความสามารถแบบ UNIX 6. สามารถใช้งานร่วมกับดอส (DOS) และ Microsoft Windows โดยการแบ่งพาติชั่น 7. ความสามารถในการใช้งานไฟล์ร่วมกับระบบปฏิบัติการอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น DOS, Microsoft Windows, NetWare, OS/2, Minix, NFS, System V 8. เป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิด เนื่องจากทุกฟังก์ชันมี Source Code แนบมาพร้อม

  16. คำสั่งสลับหน้าจอเสมือน (Virtual Console) คำสั่งสลับหน้าจอเสมือน (Virtual Console) เพื่อช่วยในการล็อกอินแบบหลายหน้าจอ โดยการปุ่ม <Alt> พร้อมกับปุ่มฟังก์ชั <F1> ถึง <F12> ทำให้มีจอภาพใช้งานถึง 12 หน้าจอ รูปแบบคำสั่ง (กดปุ่มคำสั่ง) <Alt><F1>, <Alt><F2>, ... <Alt><F12>

  17. คุณสมบัติของระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ - Linux 1.เป็นระบบปฏิบัติการแบบหลายงาน และหลายผู้ใช้ (Multitasking & Multiuser) ที่สมบูรณ์แบบ ทำให้สามารถมีผู้ใช้งานพร้อมๆ กัน ได้หลายๆ คน และแต่ละคนก็สามารถรันโปรแกรมได้หลายๆ โปรแกรมพร้อมๆ กัน 2.มีความเข้ากันได้ (Compatible) กับระบบ UNIX ส่วนมากในระดับ Source Code 3.ความสามารถในการสลับหน้าจอระหว่าง Login sessions ต่างๆ บนหน้าจอคอนโซลในเท็กซ์โหมดได้ (Pseudo Terminal, Virtual Console) 4.สนับสนุนระบบไฟล์หลายชนิด เช่น Minix-1, Xenix, ISO-9660, NCPFS, SMBFS, FAT16, FAT32, NTFS, UFS เป็นต้น 5.สนับสนุนเครือข่าย TCP/IP ตลอดจนมีโปรแกรมไคลเอ็นต์ และเซิร์ฟเวอร์สำหรับบริการต่างๆ ในอินเทอร์เน็ตทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น FTP, Telnet, NNTP, SMTP, Gopher, WWW

  18. 6. Kernal ของ Linux มีความสามารถในการจำลองการทำงานของ Math Processor 80387 ทำให้สามารถรันโปรแกรม ที่ต้องการใช้งานคำสั่งเกี่ยวกับ floating-point ได้ 7. Kernal ของ Linux สนับสนุน Demand-Paged loaded executable คือ ระบบจะเรียกใช้โปรแกรม เท่าที่จะใช้งานเท่านั้น จากดิสก์สู่หน่วยความจำ เป็นการใช้หน่วยความจำอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการใช้หน่วยความจำส่วนเดียว กับขบวนการหลายๆ ขบวนการพร้อมๆ กัน (Shared copy-on-write pages) 8.สนับสนุน swap space มากถึง 2 GB ทำให้มีหน่วยความจำใช้งานมากขึ้น จึงรัน Application ขนาดใหญ่ได้ และมีผู้ใช้งานได้พร้อมกันมากขึ้น

  19. 9. Kernal มีระบบ Unified Memory Pool สำหรับโปรแกรมและ Cache ทำให้ Cache ปรับเพิ่ม-ลดขนาดได้โดยอัตโนมัติ ขณะที่มีการเรียกใช้ หรือไม่ใช้โปรแกรมใดๆ 10.โปรแกรมที่รันมีการใช้งาน Library ร่าวมกัน (Dynamically Linked Shared Libraries) ทำให้โปรแกรมมีขนาดเล็ก และทำงานเร็ว 11.สนับสนุนการดีบัก (Debug) โปรแกรม และหาสาเหตุที่ทำให้โปรแกรม ทำงานผิดพลาดได้

  20. คำสั่งดูเนื้อหาของแฟ้มข้อความ (Text file) คำสั่งดูเนื้อหาของแฟ้มข้อความ (Text file) รูปแบบคำสั่ง cat -ve ชื่อไฟล์ <Enter> แสดงเนื้อหาของไฟล์ที่ระบุ โดยให้ใส่เครื่องหมาย "$" เมื่อจบแต่ละหนึ่งบรรทัด เช่น cat -ve sample.txt เป็นต้น

  21. คำสั่งเปลี่ยนไดเรกทรอรี่ (Change Directory) คำสั่งเปลี่ยนไดเรกทรอรี่ (Change Directory) รูปแบบคำสั่ง cd <Enter> ย้ายการทำงานไปยัง Home Directory ของผู้ใช้ รูปแบบคำสั่ง cd ชื่อไดเรกทรอรี่ <Enter> ย้ายการทำงานไปยัง Directory ที่ระบุ เช่น cd /usr/bin

  22. คำสั่งเปลี่ยนไดเรกทรอรี่ (Change Directory)(ต่อ) รูปแบบคำสั่ง cd .. <Enter> ย้ายไดเรกทรอรี่ลงมา 1 ลำดับ เช่น ถ้าอยู่ที่ /usr/bin แล้วใช้คำสั่ง cd .. ก็จะย้ายมาอยู่ที่ /usr

  23. คำสั่งยกเลิกการใช้งานระบบคำสั่งยกเลิกการใช้งานระบบ คำสั่งยกเลิกการใช้งานระบบ สามารถใช้คำสั่ง logout หรือ <Ctrl><D> ก็ได้ ในบางระบบ รูปแบบคำสั่ง exit <Enter> รูปแบบคำสั่ง logout <Enter>

  24. คำสั่งดูรายการในสารระบบคำสั่งดูรายการในสารระบบ คำสั่งดูรายการในสารระบบ (List) รูปแบบคำสั่ง ls <Enter> ดูรายการต่างๆ ในไดเรกทรอรี่ปัจจุบัน เฉพาะไฟล์ที่ไม่ได้ถูกซ่อน (Hidden File) รูปแบบคำสั่ง ls -a <Enter> ดูรายการต่างๆ ในไดเรกทรอรี่ปัจจุบัน ทุกรายการ รวมถึงไฟล์ที่ถูกซ่อน

  25. รูปแบบคำสั่ง ls -l <Enter> ดูรายการต่างๆ ในไดเรกทรอรี่ปัจจุบัน แบบแสดงรายละเอียดครบ (long format) รูปแบบคำสั่ง ls -d ชื่อไดเรกทรอรี่ <Enter> ดูรายละเอียดของไดเรกทรอรี่ที่ระบุ รูปแบบคำสั่ง ls ชื่อไดเรกทรอรี่หรือไฟล์ <Enter> ดูว่ามีไฟล์ หรือไดเรกทรอรี่ที่ระบุหรือไม่

  26. รูปแบบคำสั่ง ls -c <Enter> ดูรายละเอียดของรายการ เรียงตามเวลาที่สร้าง/แก้ไขครั้งสุดท้าย รูปแบบคำสั่ง ls -t <Enter> ดูรายละเอียดของรายการตามเวลาที่แก้ไขล่าสุด รูปแบบคำสั่ง ls -u <Enter> ดูรายละเอียดของรายการเรียงตามเวลาที่เข้าใช้แฟ้มครั้งล่าสุด

  27. รูปแบบคำสั่ง ls -F <Enter> ดูรายละเอียดของรายการ โดยแสดงลักษณะเฉพาะของรายการด้วย เช่น เพิ่ม "/" ท้ายชื่อรายการที่เป็น ไดเรกทรอรี่ "*" ท้ายชื่อรายการที่รันได "@" ท้ายชื่อรายการที่เป็น symbolic link Options ต่างๆ ของ ls สามารถใช้ร่วมกันได้ เช่น ls -la เพื่อแสดงรายการแบบเต็ม รวมถึงไฟล์ที่ซ่อน เป็นต้น นอกนี้สามารถใช้ wildcard ผสมกับชื่อไฟล์หรือไดเรกทรอรี่ เช่น * แทนอักขระใดๆ ? แทนอักขระใดๆ หนึ่งอักขระ [ ] แทนอักขระที่ระบุ เช่น a[0-3] เท่ากับ a0, a1, a2. a3 หรือ [a-c]1 เท่ากับ a1, b1, c1 เป็นต้น

  28. คำสั่งสร้างไดเรกทรอรี่คำสั่งสร้างไดเรกทรอรี่ คำสั่งสร้างไดเรกทรอรี่ (Make Directory) รูปแบบคำสั่ง mkdir ชื่อไดเรกทรอรี่ <Enter> สร้างไดเรกทรอรี่ภายใต้ ไดเรกทรอรี่ปัจจุบัน เช่น mkdir homework รูปแบบคำสั่ง mkdir -p ชื่อไดเรกทรอรี่ <Enter>

  29. สร้างไดเรกทรอรี่เป็นลำดับขั้น เช่น mkdir -p work/homework/math ซึ่งมีค่าเท่ากับคำสั่ง mkdir work cdwork mkdir homework cd homework mkdir math นั่นเอง

  30. คำสั่งเปลี่ยนรหัสผ่านคำสั่งเปลี่ยนรหัสผ่าน คำสั่งเปลี่ยนรหัสผ่าน รูปแบบคำสั่ง passwd <Enter> คำสั่งแสดงไดเรกทอรี่ปัจจุบัน คำสั่งแสดงไดเรกทอรี่ปัจจุบัน - Print Working Directory รูปแบบคำสั่ง pwd <Enter>

  31. คำสั่งปิดเครื่อง คำสั่งปิดเครื่อง ใช้ได้เฉพาะ root หรือ Super User เท่านั้น คำสั่งนี้มีรูปแบบหลายลักษณะได้แก่ รูปแบบคำสั่ง shutdown -h now <Enter> ให้ปิดระบบ และปิดเครื่องทันที (-h = halt) รูปแบบคำสั่ง shutdown -r +5 <Enter> จะทำการบูตเครื่องใหม่ในอีก 5 นาทีข้างหน้า (-r = reboot)

  32. รูปแบบคำสั่ง shutdown -r now <Enter> ให้บูตเครื่องใหม่ทันที รูปแบบคำสั่ง shutdown -r เวลา<Enter> ให้บูตเครื่อง เมื่อถึงเวลาที่ระบุ เช่น shutdown -r 3:00 ให้บูตเครื่องเมื่อถึงเวลา 3 นาฬิกา

  33. เหตุผลที่สนใจ เพราะว่าเป็นระบบปฏิบัติการที่สมารถใช้งานร่วมกับเครือข่ายและระบบปฏิบัติการอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาและปรับปรุงให้มีคุณภาพอยู่เสมอ สามารถหาข้อมูลและศึกษาได้ง่ายเพราะเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายและยังเป็นซอฟต์แวร์ที่ครอบคลุมฟังก์ชั่นการใช้งาน ค้นหาข้อมูลจาก http://www.nectec.com/

  34. ขอบคุณที่มาเยี่ยมชม

More Related