1 / 38

การจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ

การจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ. INFORMATION STORAGE and RETRIEVAL : ISR. ห้องสมุดดิจิตอล (Digital Library). หมายถึง ห้องสมุดที่มีทรัพยากรอยู่ในรูปแบบของดิจิตอล โดยเนื้อหาในรูปแบบดิจิตอลนั้นอาจจัดเก็บอยู่ภายในห้องสมุดหรือภายนอกก็ได้ ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์.

kato
Download Presentation

การจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศการจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ INFORMATION STORAGE and RETRIEVAL : ISR

  2. ห้องสมุดดิจิตอล (Digital Library)

  3. หมายถึง ห้องสมุดที่มีทรัพยากรอยู่ในรูปแบบของดิจิตอล โดยเนื้อหาในรูปแบบดิจิตอลนั้นอาจจัดเก็บอยู่ภายในห้องสมุดหรือภายนอกก็ได้ ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ความหมายของห้องสมุดดิจิตอล

  4. โดยทั่วไปห้องสมุดดิจิตอลจะให้บริการโดยทั่วไปห้องสมุดดิจิตอลจะให้บริการ - ด้านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ - วารสารอิเล็กทรอนิกส์ - บริการอื่นๆ ที่มีเนื้อหาแบบดิจิตอลและ สามารถเข้าถึงได้จากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การให้บริการของห้องสมุดดิจิตอล

  5. ห้องสมุดดิจิตอลถือเป็นห้องสมุดของอนาคต สามารถมองในมุมมองในรูปแบบ 4 มิติดังนี้ 1. Technology 2. Content 3. Service 4. Community มิติของห้องสมุดดิจิตอล

  6. Technology มิติต่างๆ ของห้องสมุดดิจิตอล Community content Service

  7. เทคโนโลยีด้าน ICT (Information Communication Technology) เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดของห้องสมุดดิจิตอล โดยจำเป็นต้องมี 1. โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ทาง ICT 2. เทคโนโลยีการสืบค้น เพื่อการเข้าถึงข้อมูล 3. อินเทอร์เฟซ (Interface) มิติของเทคโนโลยี

  8. ประกอบด้วย - เครือข่ายคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง - เครื่องคอมพิวเตอร์ - เครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Server) - คลังเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ (Mass Storage) โครงสร้างพื้นฐานทาง ICT

  9. ในการสืบค้น ห้องสมุดดิจิตอลเน้นการบริการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จึงจำเป็นต้องอาศัยการจัดทำดรรชนี การสร้างเมทาดาตา รวมทั้งกลไกในการเข้าถึงต่างๆ เพื่อให้การสืบค้นได้ผลลัพธ์มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามต้องการ เทคโนโลยีการสืบค้น

  10. ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงและอ่านผลได้หลายวิธีและหลายลักษณะ กล่าวคือ สามารถใช้คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะจากที่บ้าน ที่ทำงาน หรือใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค หรือคอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็กอื่น ๆ ซึ่งคอมพิวเตอร์ดังกล่าว อาจเชื่อมต่อผ่าน Wi-Fi หรือ GPRS ก็ได้ อินเทอร์เฟส(Interface)

  11. ห้องสมุดจะให้บริการเนื้อหาในรูปของอิเล็กทรอนิกส์ เช่น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Journal) เป็นต้น ในลักษณะมัลติมิเดีย ทั้งตัวอักษร ภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว มิติของเนื้อหา (Content)

  12. มิติของเนื้อหา (Content)(ต่อ) ประเด็นที่ต้องพิจารณาด้านเนื้อหามีดังนี้ - การคัดสรรและการจัดหา ( Selection & Acquisition) - การสร้างดรรชนีและเมทาดาตา (Indexing & Metadata) - การบำรุงรักษาและการเก็บรักษา (Maintenance & Conservation)

  13. สำหรับหนังสือหรือเอกสารเก่า สามารถใช้วิธี scan เป็นภาพ โดยอาจมีการแปลงภาพให้กลายเป็นข้อความที่อ่านเข้าใจได้และให้สืบค้นได้ สำหรับสิ่งตีพิมพ์รุ่นใหม่ สามารถนำเข้าได้หลายวิธีเช่น การใช้แป้นพิมพ์ แสกนเนอร์ ไมโครโฟน กล้องดิจิตอลและเครื่องมืออื่นๆ การคัดสรรและการจัดหา

  14. จากผลของการจัดหาที่ได้มา นำมาสร้างดรรชนีและเมทาดาตา เพื่อประโยชน์ในการสืบค้นที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในแง่ของการสืบค้นได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องและครบถ้วน การสร้างดรรชนีและเมทาดาตา

  15. ข้อมูลที่จัดเก็บได้มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ดังนั้นการบำรุงรักษาและการเก็บรักษาจึงเกี่ยวข้องกับ - การปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย - การควบคุมเวอร์ชันของข้อมูล เพื่อลดความสับสนในช่วงเวลาต่างๆ ที่มีการปรับปรุงให้ทันสมัย - การสำรองข้อมูล(Backup) เป็นประจำ เพื่อป้องกันการสูญเสียหรือถูกทำลาย - การจัดการเชื่อมโยงข้อมูล จากเนื้อหาหนึ่งไปสู่อีกเนื้อหาหนึ่งอย่างเป็นระบบ การบำรุงรักษาและการเก็บรักษา

  16. การบำรุงรักษาและการเก็บรักษา(ต่อ)การบำรุงรักษาและการเก็บรักษา(ต่อ) - การจัดการเชื่อมโยงข้อมูล จากเนื้อหาหนึ่งไปสู่อีกเนื้อหาหนึ่งอย่างเป็นระบบ - การรองรับการเก็บรักษาข้อมูลที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จาก Giga-Byte(GB) เป็น Tera-Byte(TB) และเป็น Peta-Byte(PB) ในไม่ช้า

  17. ห้องสมุดดิจิตอลให้บริการคนกับคอมพิวเตอร์มากกว่าคนกับคน กล่าวคือ เป็นการสืบค้นด้วยตัวผู้ใช้เองมากกว่าการพึ่งบรรณารักษ์ ดังนั้นการให้บริการจึงเป็นไปได้ตลอด 24/7 หรือตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน และ 7 วันต่อหนึ่งสัปดาห์ ทั้งปีไม่มีวันหยุดใช้บริการต้องสามารถเข้าถึงได้โดยไม่มีข้อจำกัดของเวลา มิติของบริการ

  18. มิติของบริการ(ต่อ) ค่าใช้จ่ายของห้องสมุดดิจิตอลเพื่อการให้บริการ ควรจะลดลงด้วยในแง่ของสถานที่ สาธารณูปโภค หนังสือ วารสาร สิ่งตีพิมพ์ บุคลากรที่ให้บริการ ในขณะเดียวกันบุคลากรบางส่วนอาจต้องเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ เช่น เชี่ยวชาญด้านฐานข้อมูล การพัฒนาระบบ เป็นต้น

  19. ห้องสมุดดิจิตอลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการเรียนรู้และการทำกิจกรรมของประชาคมในผู้คนที่เข้ามาใช้ประโยชน์ กล่าวคือ เมื่อห้องสมุดดิจิตอลจัดเก็บ e-Book, e-Journal และอื่นๆ เสมือนเป็นคลังความรู้ ดังนั้นการเรียนรู้ผ่านทางห้องสมุดดิจิตอลจึงเกิดขึ้น กลุ่มคนที่สนใจและใฝ่หาความรู้จึงเข้าใช้งาน เกิดเป็นประชาคมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน มิติของประชาคม(Community)

  20. มิติของประชาคม(Community)(ต่อ)มิติของประชาคม(Community)(ต่อ) เมื่อเกิดประชาคมผู้ใช้ห้องสมุดดิจิตอล สิ่งหนึ่งที่ต้องทำให้ประชาคมมีความตะหนักมากขึ้นคือ เรื่องของลิขสิทธิ์ การละเมิดทรัพย์สิน เช่น การคัดลอกบทความจากหนังสือ วารสารต่างๆ นั้นทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยากเหมือนในอดีต ดังนั้นจึงควรทำความเข้าใจเรื่องระเบียบว่าด้วยเรื่องของลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และสิทธิต่างๆ แก่ผู้ใช้บริการ เพื่อให้ยึดถือปฎิบัติเป็นหลักประกันพื้นฐานในประชาคมและสังคมต่อไป

  21. ทรัพยาการสารสนเทศในรูปแบบดิจิตอลที่น่าสนใจสำหรับห้องสมุดดิจิตอล ได้แก่ - หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) - วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Journal) ทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบดิจิตอล

  22. ความแตกต่างที่สำคัญของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์กับหนังสือทั่วไปที่พิมพ์บนกระดาษ คือ - การสืบค้นและการเข้าถึงทำได้ง่าย และสะดวก หนังสืออิเล็กทรอนิกส์(e-Book)

  23. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีรูปแบบการจัดเก็บในคอมพิวเตอร์หลากหลายรูปแบบมาก โดยสังเกตจากนามสกุลของแฟ้มข้อมูล(File) เช่น .djvu, .doc, .html, .pdf, .jpg, .rtf, .txt เป็นต้น ด้วยความหลากหลายนี้ทำให้การอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จำเป็นต้องทราบชื่อและนามสกุลของแฟ้มข้อมูลก่อนเพื่อการอ่านที่ถูกต้อง แฟ้มข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่น่าสนใจมีดังนี้ รูปแบบการจัดเก็บ (Formats)

  24. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้จัดเก็บเป็น Bitmap ด้วยการแสกนจากหนังสือต้นฉบับเข้าสู่คอมพิวเตอร์ นามสกุลจะลงท้ายด้วย .bmp .jpeg ข้อดี - จัดทำได้ง่าย ข้อเสีย - แฟ้มข้อมูลมีขนาดใหญ่ - ไม่อาจสืบค้นลงไปในเนื้อหาได้ Image File

  25. เป็นแฟ้มข้อมูลนามสกุล .pdf ที่สร้างโดย Adobe System เพื่อการจัดเก็บเอกสาร สิ่งตีพิมพ์ หนังสืออย่างมีมาตรฐาน ข้อดี - แฟ้มข้อมูลมีขนาดเล็กกว่าแบบ Image File มาก - สามารถจัดเก็บและนำเสนอได้ทั้งภาพและตัวอักษร - สามารถซูมเข้า-ออกได้ตามต้องการ Portable Document Format(PDF)

  26. รูปแบบ TeX เป็นรูปแบบที่นิยมในวงการศึกษาเป็นอย่างมาก เหมาะกับการงานเขียนบทความที่มีสมการคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนเขียนกันหลายขั้นตอน เครื่องมือที่นำมาใช้ คือ LATeX ซึ่งสามารถจัดรูปแบบการพิมพ์ที่สวยงานแบบอัตโนมัติ มีการจัดหน้า การเรียงตัวเลขกำกับข้อ รุปแบบตาราง รวมทั้งการทำบรรณานุกรรม ก็ทำได้สะดวกรวดเร็ว นามสกุลของแฟ้มข้อมูล คือ .tex TEX

  27. ตัวอย่าง การพิมพ์คำสั่งต่างๆ ของTEX

  28. ตัวอย่างผลลัพธ์ที่ได้

  29. ภาษาสำหรับจัดทำเว็บเพจ และอ่านผ่านทางเว็บเบราเซอร์ Hypertext Markup Language(HTML)

  30. เป็นรูปแบบไฟล์ของ FlipBooks ที่ใช้ในการเผยแพร่ โดยใช้ภาษา XML เป็นตัวสร้าง โดย FlipBooks เป็น e-Book ที่มีทั้งสารบัญและดรรชนี บทความ รูปภาพ เสียงและวิดิโอ Open Electronic Book Package Format

  31. Open Electronic Book Package Format

  32. นามสกุลของแฟ้มข้อมูลคือ .azwถูกพัฒนาขึ้นโดย Amazon.com เพื่อนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์สำหรับใช้อ่าน e-book ที่ชื่อ “Kindle” Amazon Kindle Format

  33. “Amazon Kindle”

  34. สามารถอ่านรายละเอียดแฟ้มข้อมูล e-book เพิ่มเติมได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Comparison_of_e-book_formats

  35. หมายถึง วารสารทางวิชาการหรือนิตยสารที่สามารถเข้าถึงโดยผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รูปแบบการจัดเก็บที่นิยม ได้แก่ pdf หรือ html วารสารอิเล็กทรอนิกส์(e-Journal)

  36. วารสารอิเล็กทรอนิกส์(e-Journal)วารสารอิเล็กทรอนิกส์(e-Journal) วารสารอิเล็กทรอนิกส์มีการเผยแพร่ในลักษณะ 2-3 รูปแบบ คือ - ออนไลน์เท่านั้น (Online-Only Journal) - ออนไลน์ในฉบับเดียวกับวารสารสิ่งพิมพ์ (Printed Journal) - ออนไลน์ในเนื้อหาเทียบเคียงกับวารสารสิ่งพิมพ์แต่เพิ่มเติมบางส่วนที่เป็นของออนไลน์โดยเฉพาะ เช่นมีการใส่ภาพเคลื่อนไหวและเสียง

  37. วารสารอิเล็กทรอนิกส์(e-Journal)วารสารอิเล็กทรอนิกส์(e-Journal) วารสารอิเล็กทรอนิกส์โดยทั่วไป จะให้บอกรับเป็นสมาชิก โดยคิดค่าใช้จ่ายเป็นรายปี สมาชิกอาจเป็นบุคคลหรือเป็นสถาบันก็ได้ หากเป็นบุคคลจะมีการกำหนด User Account และ Password เพื่อใช้ในการเข้าอ่านวารสาร ส่วนสถาบันอาจใช้ User Account Password และหมายเลขไอพี (IP Address)ของสถาบัน เพื่อให้เป็นการจำเพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น

  38. สามารถเข้าถึงได้จากเว็บไซต์ของหอสมุด มหาวิทยาลัยศิลปากร http://www.lib.su.ac.th/db.asp ตัวอย่างฐานข้อมูล e-Journal

More Related