450 likes | 882 Views
ประชุมการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต เรื่องการจัดทำแผนบริหารความต่อเนื่อง (Business Continuity Plan - BCP) สำนักงานจังหวัดสิงห์บุรี. สำนักงานจังหวัดสิงห์บุรี กลุ่มงานข้อมูลฯ สิงหาคม 255 6. ความหมาย ความสำคัญ การเตรียมความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต.
E N D
ประชุมการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤตเรื่องการจัดทำแผนบริหารความต่อเนื่องประชุมการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤตเรื่องการจัดทำแผนบริหารความต่อเนื่อง (Business Continuity Plan - BCP) สำนักงานจังหวัดสิงห์บุรี สำนักงานจังหวัดสิงห์บุรี กลุ่มงานข้อมูลฯ สิงหาคม 2556 Your slide title – Month 2013
ความหมาย ความสำคัญ การเตรียมความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต การบริหารความต่อเนื่อง หรือ Business Continuity Management (BCM)คือ องค์รวมของกระบวนการบริหารซึ่งชี้บ่งภัยคุกคามต่อองค์กร และผลกระทบของภัยคุกคามนั้นต่อการดำเนินธุรกิจ และให้แนวทางในการสร้างขีดความสามารถให้องค์กรมีความยืดหยุ่น เพื่อการตอบสนองและปกป้องผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ชื่อเสียง ภาพลักษณ์ และกิจกรรมที่สร้างมูลค่าที่มีประสิทธิผล หากเกิดสภาวะวิกฤตหรือเหตุการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆขึ้นอาจส่งผลกระทบให้หน่วยงานไม่สามารถดำเนินงาน หรือให้บริการได้ตามปกติ ดังนั้น จึงเป็นความจำเป็นที่หน่วยงานต้องจัดทำแผนความต่อเนื่อง(Business Continuity Plan -BCP) เพื่อเตรียมพร้อมรับภัย
มติ ค.ร.ม.เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2555 เห็นชอบกรอบแนวทางการดำเนินการเตรียมความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต ส่วนราชการ สถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานที่ต้องดำเนินการ จังหวัด อปท. องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ • จัดประชุมให้ความรู้เรื่อง “การบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต” • คณะทำงานฯของส่วนราชการ จัดทำแผนบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต 6 ขั้นตอน • หน่วยงานดำเนินตามแผนบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต รวมถึงติดตามประเมินผล ทบทวน ปรับปรุง สื่อสารสร้างความเข้าใจ ให้ครอบคลุมทั้งกระบวนการตามพันธกิจ และผู้ที่เกี่ยวข้อง อย่างต่อเนื่อง • หน่วยงานปรับปรุงแผนบริหารความต่อเนืองให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ 1. สร้างความรู้-เข้าใจให้ส่วนราชการ 2. การเตรียมความพร้อมให้ส่วนราชการ 4 ขั้นตอน 3. ซักซ้อมแผนและนำไปปฏิบัติจริง 4. ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน โครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต โครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
สภาวะวิกฤต มีอะไรบ้าง? ไฟฟ้าดับในวงกว้าง แผ่นดินไหว สึนามิ ไฟป่า องค์กร / หน่วยงาน ดินถล่ม โรคระบาด ก่อการร้าย พายุใต้ฝุ่น ไฟไหม้ น้ำท่วม ชุมนุมประท้วง / จลาจล ระเบิด
ไฟฟ้าดับในวงกว้าง แผ่นดินไหว สภาวะที่จะส่งผลผลกระทบ ต่อส่วนราชการ โรคระบาด ก่อการร้าย พายุใต้ฝุ่น ไฟไหม้ น้ำท่วม ชุมนุมประท้วง / จลาจล ระเบิด โครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
1. ความเป็นมาการบริหารความต่อเนื่อง จากการที่ประเทศไทยเผชิญกับสถานการณ์อุทกภัยรุนแรง ในช่วงระหว่างเดือนกันยายน - เดือนธันวาคม 2554 ที่ผ่านมา ได้พบว่าระบบและกลไกของรัฐหลายประการมีปัญหาโดยไม่สามารถดำเนินภารกิจในสภาวะวิกฤตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นไปโดยขาดระบบการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งสถานการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าวเป็นบทเรียนอันสำคัญที่ทุกส่วนราชการต้องนำมาปรับกระบวนการทำงานใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการบริการประชาชน เพื่อให้มั่นใจว่าภารกิจหลักของราชการหรืองานบริการประชาชนที่สำคัญ สามารถดำเนินงานหรือให้บริการได้อย่างต่อเนื่องไม่สะดุดหยุดลงแม้ว่าจะประสบกับวิกฤตการณ์หรือภัยพิบัติต่าง ๆ Your slide title – Month 2013
2. วัตถุประสงค์การบริหารความต่อเนื่อง - เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารความต่อเนื่องของการ ปฏิบัติงานในสภาวะวิกฤต- เพื่อให้หน่วยงานมีการเตรียมความพร้อมล่วงหน้าในการรับมือ กับสภาวะวิกฤตหรือเหตุการณ์ฉุกเฉิน ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น- เพื่อลดผลกระทบจากการหยุดชะงักในการดำเนินงาน เช่น ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ การเงิน การให้บริการ สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน - เพื่อบรรเทาความเสียหายให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ - เพื่อให้ประชาชน เจ้าหน้าที่ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานภาครัฐ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) มีความเชื่อมั่นในศักยภาพของหน่วยงาน แม้หน่วยงานจะเผชิญกับเหตุการณ์ร้ายรงและส่งผลกระทบจนทำให้การดำเนินงานต้องหยุดชะงัก Your slide title – Month 2013
3. สมมุติฐานของแผนความต่อเนื่อง(BCP Assumptions) เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นภายใต้สมมุติฐาน ดังต่อไปนี้ เหตุการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาสำคัญต่างๆ แต่มิได้ส่งผลกระทบต่อสถานที่ปฏิบัติงานสำรองที่ได้มีการจัดเตรียมไว้ หน่วยงานเทคโนโลยีสารสนเทศรับผิดชอบในการสำรองระบบสารสนเทศต่างๆ โดยระบบสารสนเทศสำรองมิได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ฉุกเฉินเหมือนกับระบบสารสนเทศหลัก “บุคลากร” ที่ถูกระบุในเอกสารฉบับนี้ หมายถึง เจ้าหน้าที่และพนักงานทั้งหมดของสำนักงานจังหวัด โครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
4. ขอบเขตของแผนความต่อเนื่อง(Scope of BCP) แผนความต่อเนื่อง (BCP) ฉบับนี้ ใช้รับรองสถานการณ์ ในกรณีเกิดสภาวะวิกฤตหรือเหตุการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ สำนักงานของหน่วยงาน หรือภายในหน่วยงานในจังหวัดสิงห์บุรี ด้วยเหตุการณ์ต่างๆดังต่อไปนี้ เหตุการณ์อุทกภัย เหตุการณ์อัคคีภัย เหตุการณ์ชุมนุมประท้วง/จลาจล เหตุการณ์โรคระบาด ฯลฯ โครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
5. การวิเคราะห์ทรัพยากรที่สำคัญ หน่วยงานวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากความเสี่ยงและภัยคุกคามจากเหตุการณ์ต่างๆ สภาวะวิกฤตหรือเหตุการณ์ฉุกเฉินมีหลากหลายรูปแบบ ดังนั้น เพื่อให้หน่วยงานสามารถบริหารจัดการการดำเนินงานขององค์กรให้มีความต่อเนื่อง การจัดหาทรัพยากรที่สำคัญจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องระบุไว้ในแผนความต่อเนื่อง ดังนั้นการเตรียมการสามารถแบ่งประเภทของผลกระทบต่อทรัพยากรที่สำคัญได้ 5 ด้าน ดังนี้ 5. การวิเคราะห์ทรัพยากรที่สำคัญ หน่วยงานวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากความเสี่ยงและภัยคุกคามจากเหตุการณ์ต่างๆ สภาวะวิกฤตหรือเหตุการณ์ฉุกเฉินมีหลากหลายรูปแบบ ดังนั้น เพื่อให้หน่วยงานสามารถบริหารจัดการการดำเนินงานขององค์กรให้มีความต่อเนื่อง การจัดหาทรัพยากรที่สำคัญจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องระบุไว้ในแผนความต่อเนื่อง ดังนั้นการเตรียมการสามารถแบ่งประเภทของผลกระทบต่อทรัพยากรที่สำคัญได้ 5 ด้าน ดังนี้ Your slide title – Month 2013
(1) ผลกระทบด้านอาคาร/สถานที่ปฏิบัติงานหลัก หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้สถานที่ปฏิบัติงานหลักได้รับความเสียหายหรือไม่สามารถใช้สถานที่ปฏิบัติงานหลักได้ และส่งผลให้บุคลากรไม่สามารถเข้าไปปฏิบัติงานได้ชั่วคราวหรือระยะยาว (2) ผลกระทบด้านวัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญ/การจัดหาจัดส่งวัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญ หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ไม่สามารถใช้งานวัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญ หรือไม่สามารถจัดหา/จัดส่งวัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญได้ (3) ผลกระทบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูลที่สำคัญ หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ระบบงานเทคโนโลยี หรือระบบสารสนเทศ หรือข้อมูลที่สำคัญไม่สามารถนำมาใช้ในการปฏิบัติงานได้ตามปกติ (4) ผลกระทบด้านบุคลากรหลัก หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้บุคลากรหลักไม่สามารถมาปฏิบัติงานได้ตามปกติ (5)ผลกระทบด้านคู่ค้า / ผู้ให้บริการที่สำคัญ หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้คู่ค้า/ผู้ให้บริการ/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่สามารถติดต่อหรือให้บริการหรือส่งมอบงานได้ โครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
6. สรุปเหตุการณ์สภาวะวิกฤตและผลกระทบจากเหตุการณ์ โครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
7. ทีมบริหารความต่อเนื่อง (Business Continuity Plan Team) ตาราง 1 รายชื่อบุคลากรและบทบาทของทีมบริหารความต่อเนื่องสำนักงานจังหวัดสิงห์บุรี (BCP Team) โครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
8. กลยุทธ์ความต่อเนื่อง(Business Continuity Strategy) ตาราง 2 กลยุทธ์ความต่อเนื่อง (Business Continuity Strategy) โครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
ตาราง 2 กลยุทธ์ความต่อเนื่อง (Business Continuity Strategy) (ต่อ) โครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
ตาราง 2 กลยุทธ์ความต่อเนื่อง (BusineContinuity Strategy) (ต่อ) โครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
9. ผลกระทบทางธุรกิจ (Business Impact Analysis) ตารางที่ 3 ผลกระทบทางธุรกิจ (Business Impact Analysis) โครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
10. กระบวนการแจ้งเหตุฉุกเฉิน ( Call Tree) • ในกรณีที่ไม่สามารถติดต่อทีมบริหารความต่อเนื่องได้ ให้ติดต่อไปยังบุคลากรสำรอง โดยมีการพิจารณา ดังนี้ • - ถ้าเหตุการณ์เกิดขึ้นในเวลาทำการ ให้ดำเนินการติดต่อบุคลากรหลักโดยติดต่อผ่านเบอร์โทรศัพท์ของหน่วยงานเป็นช่องทางแรก • - ถ้าเหตุการณ์เกิดขึ้นนอกเวลาทำการหรือสถานที่ปฏิบัติงานหลักได้รับผลกระทบให้ดำเนินการติดต่อบุคลากรหลักโดยติดต่อผ่านเบอร์โทรศัพท์มือถือเป็นช่องทางแรก • - ถ้าสามารถติดต่อบุคลากรหลักได้ให้แจ้งข้อมูลแก่บุคลากรหลักของหน่วยงานทราบ ดังต่อไปนี้ • 1. สรุปสถานการณ์ของเหตุการณ์ฉุกเฉินและการประกาศใช้แผนความต่อเนื่อง • 2. เวลาและสถานที่สำหรับการนัดประชุมเร่งด่วนของหน่วยงาน สำหรับผู้บริหารของหน่วยงานและทีมงานบริหารความต่อเนื่อง • 3. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน เพื่อบริหารความต่อเนื่องต่อไป ได้แก่ สถานที่รวมพลในกรณีที่มีการย้ายสถานที่ทำการ โครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
กำหนดโครงสร้างและทีมบริหารความต่อเนื่องกำหนดโครงสร้างและทีมบริหารความต่อเนื่อง หัวหน้าทีมบริหารความต่อเนือง (หัวหน้าสำนักงาน...) • หัวหน้าทีมบริหารความต่อเนื่อง – ผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน • ทีมบริหารความต่อเนื่อง – ผอ.กอง/สำนัก • ผู้ประสานงานทีมบริหารความต่อเนื่อง - หน้าที่ในการติดต่อและประสานงานภายในหน่วยงานและให้การสนับสนุน ผู้ประสานงานทีมบริหารความต่อเนือง ทีมบริหารความต่อเนื่อง (ผอกอง/สำนัก) ทีมบริหารความต่อเนื่อง (ผอกอง/สำนัก) ทีมบริหารความต่อเนื่อง (ผอกอง/สำนัก) ทีมบริหารความต่อเนื่อง (ผอกอง/สำนัก) โครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
หัวหน้าทีมบริหารความต่อเนื่อง(หัวหน้าสำนักงานจังหวัดสิงห์บุรี)หัวหน้าทีมบริหารความต่อเนื่อง(หัวหน้าสำนักงานจังหวัดสิงห์บุรี) ทีมบริหารความต่อเนื่อง (หัวหน้ากลุ่มบริหารทรัพยากร บุคคล ) ทีมบริหารความต่อเนื่อง (หัวหน้ากลุ่มงานอำนวยการ) ทีมบริหารความต่อเนื่อง (หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด) ทีมบริหารความต่อเนื่อง (หัวหน้ากลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร) กำหนดโครงสร้าง Call Tree โครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
11.การวิเคราะห์เพื่อกำหนดความต้องการทรัพยากรที่สำคัญ11.การวิเคราะห์เพื่อกำหนดความต้องการทรัพยากรที่สำคัญ 1) ด้านสถานที่ปฏิบัติงานสำรอง (Working Space Requirement) ดังตารางที่ 4 ตารางที่ 4 การระบุพื้นที่การปฏิบัติงานสำรอง โครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
2) ความต้องการด้านวัสดุอุปกรณ์ (Equipment & Supplies Requirement) ดังตารางที่5 การระบุจำนวนวัสดุอุปกรณ์ โครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
ตารางที่5 การระบุจำนวนวัสดุอุปกรณ์ (ต่อ) โครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
ตารางที่ 6 การระบุความต้องการด้านเทคโนโลยีและข้อมูล 3) ความต้องการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูล (IT & Information Requirement) โครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
4) ความต้องการด้านบุคลากรสำหรับความต่อเนื่องเพื่อปฏิบัติงาน (Personnel Requirement) ปรากฏดังตารางที่ 7 ตารางที่ 7 การระบุจำนวนบุคลากรหลักที่จำเป็น โครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
5) ความต้องการด้านผู้ให้บริการที่สำคัญ (Service Requirement) ตารางที่ 8 การระบุจำนวนผู้ให้บริการที่ต้องติดต่อหรือขอรับบริการ โครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
12.ขั้นตอนการบริหารความต่อเนื่องและการกอบกู้กระบวนการ12.ขั้นตอนการบริหารความต่อเนื่องและการกอบกู้กระบวนการ โครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
ตาราง (ต่อ) โครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
ตาราง (ต่อ) โครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
ตาราง (ต่อ) โครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
ในการปฏิบัติการใดๆ ให้บุคลากรของกลุ่มงานฯคำนึงถึงความปลอดภัย ในชีวิตของตนเองและบุคลากรอื่นๆ และปฏิบัติตามแนวทางและแผนเผชิญเหตุ และขั้นตอนการปฏิบัติงานที่หน่วยงานตนเองและสำนักงานป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยจังหวัดสิงห์บุรีกำหนดขึ้นอย่างเคร่งครัด โครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
ตาราง (ต่อ) โครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
ตาราง (ต่อ) โครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
ในการปฏิบัติการใดๆ ให้บุคลากรของกลุ่มงานฯ คำนึงถึงความปลอดภัย ในชีวิตของตนเองและบุคลากรอื่นๆ และปฏิบัติตามแนวทางและแผนเผชิญเหตุ และขั้นตอนการปฏิบัติงานที่หน่วยงานตนเองและสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดสิงห์บุรีกำหนดขึ้นอย่างเคร่งครัด โครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
ตาราง(ต่อ) โครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
ภาคผนวก โครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
รายชื่อบุคลากรสำนักงานจังหวัดสิงห์บุรีรายชื่อบุคลากรสำนักงานจังหวัดสิงห์บุรี โครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
ส่งแผนบริหารความต่อเนื่อง ดังนี้ 1.เอกสารเล่ม จำนวน 1 เล่ม 2.แผ่น CD จำนวน 1 แผ่น ให้สำนักงานจังหวัด (กลุ่มงานข้อมูลฯ) ภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2556 ขอบคุณค่ะ
จบการนำเสนอ Your slide title – Month 2013