500 likes | 1.18k Views
ทฤษฎีและแนวคิดการพัฒนา (Development Theory and Concepts). กลุ่มทฤษฎีกระแสหลัก. Modernization Theory (1950-1960). ประเด็นทฤษฎีภาวะทันสมัย ( Modernization Theory ) มุ่งสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ด้วย : - กระบวนการพัฒนาอุตสาหกรรม - การจัดโครงสร้างทางการเมือง
E N D
ทฤษฎีและแนวคิดการพัฒนา(Development Theory and Concepts) กลุ่มทฤษฎีกระแสหลัก Modernization Theory (1950-1960)
ประเด็นทฤษฎีภาวะทันสมัย (Modernization Theory) มุ่งสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ด้วย : - กระบวนการพัฒนาอุตสาหกรรม - การจัดโครงสร้างทางการเมือง - การบริหารแบบประเทศตะวันตก วัดผล : การเพิ่มรายได้ / การพัฒนาเมือง ผลการพัฒนา : ภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตร ภาคการค้าและธุรกิจ ภาคการเงินและธนาคาร ภาคก่อสร้าง และภาคอื่นๆ
ความหมายของความทันสมัย (Modernization) J.G. Taylor ความทันสมัยเป็นกระบวนการการพัฒนาที่ประเทศในโลกที่สามทั้งหลายพยายามที่จะเดินตามทาง จากแบบดั้งเดิมไปสู่ “ความเป็นสมัยใหม่” ด้วย “ทุนนิยมอุตสาหกรรม” ตามแบบอย่างของยุโรปและอเมริกาเหนือ Sunkel, Ferenzalida, O’ Brien, Landon และคณะ ความทันสมัยเป็นการรวมตัวกันของระบบทุนนิยมโลก โดยกระบวนการของการนำเอาเทคโนโลยีชั้นสูงไปใช้เป็นแบบแผนการบริโภค ตลอดจนวิถีชีวิตในด้านต่างๆ
Ankie M.M. Hoogvelt3 ด้าน ความทันสมัยทางด้านเศรษฐกิจ 1. จากเศรษฐกิจแบบเก่า ไปสู่แบบใหม่ ที่คำนึงถึงผลกำไรสูงสุด 2. การมีตลาดและเงินตราเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน 3. ระบบเศรษฐกิจและสังคมแบบเสรี 4. การเกษตรเพื่อการค้าและอุตสาหกรรม 5. การแบ่งแยกงานตามความถนัดและชำนาญการ
ความทันสมัยทางสังคมและวัฒนธรรมความทันสมัยทางสังคมและวัฒนธรรม 1. ความเสมอภาคทางสังคม 2. ยึดถือกฎหมายเป็นหลักในการควบคุมสังคม และยอมรับในทรัพย์สินส่วนบุคคล 3. มีการเคลื่อนย้ายและเลื่อนชั้นสูงและเป็นอิสระ 4. มีกลุ่ม ชมรม หรือองค์กรอาสาสมัครในรูปของสถาบัน 5. มีระบบครอบครัวแบบครอบครัวเดี่ยว ความทันสมัยทางการเมือง เป็นระบบการเมืองที่มีความหลากหลายในโครงสร้างระบบ มีองค์กรประชาธิปไตยที่ให้สิทธิ์เสียงในการเลือกตั้งแก่ประชาชน ด้วยระบบพรรคการเมืองแบบหลายพรรค
ความเป็นมาของการนำเสนอแนวคิดความเป็นมาของการนำเสนอแนวคิด • ความสำเร็จของการฟื้นฟูยุโรปภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ภายใต้แผนการ Marchall (1945-1955) =ERP (European Recovery Progamme) • โครงการบูรณะประเทศอุตสาหกรรมยุโรปตะวันตกจากหายนะสงครามโลกครั้งที่ 2 • - เพิ่มบทบาทรัฐบาลในการวางแผนเพื่อพัฒนาสร้างความเจริญเติบโต • - อาศัยทุนและความช่วยเหลือระหว่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐตาม Marshall Plan • สมัยประธานาธิบดี Truman • - เป้าหมายต้องการให้อัตราการเติบโตเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 5% ต่อปี ใน England • Italy France Western German
ความเป็นมาของการนำเสนอแนวคิดความเป็นมาของการนำเสนอแนวคิด • 2. แนวความคิดนักทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดทฤษฎีความทันสมัย • 2.1 นักทฤษฎีเศรษฐศาสตร์พัฒนาการ • W.W.Rostowเสนอแนวคิด“การสร้างความเจริญเติบโตตามลำดับขั้น (The Stages of Growth)เชื่อว่า • “การพัฒนามีแนวทางเดียวที่ใช้ได้กับทุกสังคม” • หนังสือชื่อว่า The Stages of Economic Growth : A Non Communist Manifesto ปี 1960 • สังคมต่างๆ มีลำดับขั้นความเจริญเติบโตอยู่ 5 ขั้นตอน และไม่มีการข้ามขั้นตอนในการพัฒนา ยังเป็นแนวทางการขจัดปัญหาสภาวะสังคมทวิภาค (Dualistic Society) ที่เกิดความไม่เท่าเทียมกันระหว่างสาขาการผลิตและพื้นที่
ความเป็นมาของการนำเสนอแนวคิดความเป็นมาของการนำเสนอแนวคิด • 2. แนวความคิดนักทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดทฤษฎีความทันสมัย • 2.2 นักทฤษฎีสังคมวิทยา • ความคิดของ Max Weber และ Talcott Parson ถูกนำมา • ประยุกต์ใช้กำหนดแนวทาง • 2.1 สังคมทันสมัย • 2.2 สถาบันทันสมัย • 2.3 บุคคลทันสมัย
ความเป็นมาของการนำเสนอแนวคิดความเป็นมาของการนำเสนอแนวคิด • 2. แนวความคิดนักทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดทฤษฎีความทันสมัย • 2.3 นักรัฐศาสตร์และนักรัฐประศาสนศาสตร์ • Samuel P. Hungtintionเสนอแนวความคิดและทฤษฎีความทันสมัย โดยอาศัยแนวทางสังคมวิทยา • Max Weberสถาปนาระบบราชการ สังคมเชิงจริยธรรมของศาสนาโปรแตสแตน ที่เปลี่ยน Tradition Soc. Modern Soc. • Parson นำไปสร้างแนวคิด Tradition Society และ Modern Society • Hungtintionนำมาใช้กำหนดคุณลักษณะภาวะทันสมัย หรือ • Characteristic of Modernity
ความเป็นมาของการนำเสนอแนวคิดความเป็นมาของการนำเสนอแนวคิด • 2. แนวความคิดนักทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดทฤษฎีความทันสมัย • 2.3 นักรัฐศาสตร์และนักรัฐประศาสนศาสตร์ • Tradition Soc. Modern Soc. • 1) ความผูกพันทางสังคม • Particularistis Universalistic • 2) ความสำเร็จในหน้าที่การงาน • Ascription Achievement • 3) การตัดสินใจเชิงคุณค่า • Affectivity Objectivity • 4) บทบาทองค์กร/สถาบัน • Differseness Specification
ความเป็นมาของการนำเสนอแนวคิดความเป็นมาของการนำเสนอแนวคิด • 2. แนวความคิดนักทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดทฤษฎีความทันสมัย • 2.3 นักรัฐศาสตร์และนักรัฐประศาสนศาสตร์ • Tradition Soc. Modern Soc. • 5) การกำหนดอำนาจ/หน้าที่/แบ่งงาน • Centralization Decentralization • 6) การผลิต • Low Productivity High Productivity • 7) ความสัมพันธ์ทางการแลกเปลี่ยน • Local-Exchange Inter-Exchange • 8) ระบบการบริหาร • Inefficient Efficient
ความเป็นมาของการนำเสนอแนวคิดความเป็นมาของการนำเสนอแนวคิด • 3. ความเกรงกลัวต่อการขยายตัวของลัทธิสังคมนิยม ซึ่งมีแนวโน้มจะเติบโตมากขึ้น ถ้าหากจะทำการพัฒนาแบบไม่มีแผนต่อไป • - ประเทศสหรัฐอเมริกา • - กลุ่มประเทศพันธมิตรทุนนิยม แบบประชาธิปไตย • 4. แนวคิดที่ได้จากการจำลองตัวแบบ ตามแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์ • John M. Keynes การปฏิวัติสังคมแบบมีแผน (Social Revolution Planning) • รัฐบาลจะต้องเข้าไปมีบทบาททางนโยบายต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยการผสมผสานระหว่างบทบาทของรัฐและภาคเอกชน เพื่อร่วมกันเปลี่ยนแปลงสังคม
Paradigm (กระบวนทัศน์ / แนวคิด) การพัฒนา คือ การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ด้วยกระบวนการพัฒนา อุตสาหกรรม โดยมีการจัดโครงสร้างการเมืองและการบริหารตามแบบอย่างประชาธิปไตยของประเทศในตะวันตก ที่ยึดถือแนวทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ที่วัดผลการพัฒนาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้และการเติบโตของเมือง โดยเชื่อว่า ผลของการพัฒนาจะแพร่กระจายไปสู่ภาคชนบทและการเกษตร เงินทุน เทคโนโลยี เมือง อุตสาหกรรม Know-How Infra-Structure วัตถุดิบ แรงงาน ชนบท เกษตรกรรม
ตัวแบบของการพัฒนา (ปัจจัยหลักที่เป็นตัวกำหนด) • 1. การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในแนวทางของทุนนิยม (Capitalism) • 2. เพิ่มบทบาทของรัฐบาลในการวางแผนการพัฒนา • 3. กำหนดเป้าหมายและแผนการพัฒนาที่อยู่บนพื้นฐานของการขอรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ
แนวคิดและทฤษฎีทางการพัฒนาแนวคิดและทฤษฎีทางการพัฒนา • 1. ทฤษฎีความเจริญเติบโตตามลำดับขั้น(W.W.Rostow 1960) • (The Stage of Economic Growth) • 1. Traditional Society • 2. Pre-Condition for take-off • 3. Take-off • 4. Drive to Marturity • 5. Stage of high Mass Consumption • ทฤษฎีการพัฒนาของ W.W. Rostow การพัฒนาของทุกสังคม จะดำเนินไปในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน โดยการแปรเปลี่ยนสภาพสังคมจากสภาวะล้าหลังไปสู่สภาวะที่ทันสมัย ในลักษณะเช่นเดียวกัน มี 5 ขั้นตอน
1. ขั้นปฐมภูมิ (Traditional Society)เป็นสังคมดั้งเดิมก่อนการพัฒนา มีการเกษตรเป็นสาขาหลักของระบบเศรษฐกิจ การผลิตสินค้ามีอยู่อย่างจำกัดภายใต้สภาพทางธรรมชาติ ขนบธรรมเนียมประเพณี ใช้แรงงานคนเป็นหลัก เป็นการผลิตเพื่อพออยู่พอกิน • 2. ขั้นเตรียมการ (Pre-conditions for take-off)เป็นระยะที่สังคมมีการสร้างทุนขั้นพื้นฐานอย่างกว้างขวาง เริ่มมีการนำเอาวิทยาการความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่ทางการผลิตมาปรับใช้ในการเกษตร เพื่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยการเพิ่มผลิตภาพของแรงงานและที่ดิน • 3. ขั้นทะยานตัวเพื่อการพัฒนา (Take-off)เป็นระยะที่มีการเร่งรัดการลงทุน เพื่อขยายฐานการผลิตโดยมีอุตสาหกรรมเป็นสาขานำ และเร่งรัดให้มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เป็นการผลิตสินค้าหรืออุตสาหกรรมที่ใช้ผลผลิตทางการเกษตรเป็นวัตถุดิบ ที่เริ่มมีการใช้เทคโนโลยีและวิชาการทันสมัย และมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น เสริมสร้างสถาบันทางสังคมและการเมืองเข้ารองรับเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
4. ขั้นก้าวสู่การตั้งตัวของการพัฒนา (Driveto Maturity)เป็นระยะที่มีการนำเอาความรู้สมัยใหม่ทางการบริหาร การจัดการ หรือการประยุกต์เทคโนโลยีสมัยใหม่ เข้ามาใช้ในกระบวนการพัฒนา เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพ พัฒนาด้านแรงงานให้เป็นแรงงานที่มีฝีมือ เสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบและกลไกทางเศรษฐกิจให้สามารถต่อสู่กับภาวะการแข่งขันได้ • 5. ขั้นอุดมสมบูรณ์(Stage of High Mass Consumption) เป็นระยะที่คนในสังคมเริ่มมีการกินดีอยู่ดี โดยมีสวัสดิการสวัสดิภาพและวิถีชีวิตที่มั่นคง
Saving Growth Investment Economic Growth ผกผัน Capital Output สร้าง Investment Productive Capacity • 2. ทฤษฎีการสะสมทุน (Capital Accumulation) • 2.1 ทฤษฎีการพัฒนาในแนวคิดของ Harrod-Domar ทุนเป็นปัจจัยเงื่อนไข • สำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจ ดังนั้นประเทศที่กำลังพัฒนาจะต้องทำ • การสะสมทุน เนื่องจากความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ • หรือมีดุลยภาพนั้น การลงทุนจะต้องเท่ากับการออม • Economic Growth แปรผันตาม Saving
ดังนั้น การพัฒนาจะต้องดำเนินการเงื่อนไขสำคัญ 2 ประการ • 1. มีการระดมการสะสมทุนขึ้นในประเทศ • 2.มีการถ่ายโอนเทคโนโลยี (Technology Transfer) จากต่างประเทศ • การจัดตั้งสถาบันเพื่อทำหน้าที่รองรับทั้ง 2 ประการเป็นสิ่งสำคัญ
2.2 ทฤษฎีการพัฒนาในแนวคิดของ Mahalanobis • แนวคิดนี้มุ่งเน้นความสำคัญที่ทุน (Capital intensive) คือ ถ้าประเทศที่มี • การออมที่สูงขึ้นจะส่งผลให้ระดับรายได้ประชาชาติ และการบริโภคสูงขึ้น • ในเวลาต่อมา ดังนั้นการลงทุนควรมุ่งเน้นใน 2 สาขา คือ • สาขาผลิตปัจจัยประเภททุน • สาขาผลิตสินค้าเพื่อการบริโภค • โดยให้มีการลงทุนในอัตราที่ใกล้เคียงกันและสัมพันธ์กัน แต่เนื่องจากประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลายยังไม่มีความรู้ความชำนาญที่เพียงพอสำหรับการผลิตสินค้าประเภททุนอย่างมีประสิทธิภาพอาจทำให้สินค้าไม่ได้มาตรฐาน และมีราคาแพง ดังนั้นการพัฒนาควรเริ่มต้นจากการผลิตสินค้าเพื่อการบริโภค
กลยุทธของพัฒนาในแนวคิดของการสะสมทุนกลยุทธของพัฒนาในแนวคิดของการสะสมทุน • 1. การลงทุนขนาดใหญ่ (Big Push Programs)Rosenstein-Rodan: การ • สร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจจะทำได้จริง จะต้องลงทุนขนานใหญ่ • ในกระบวนการพัฒนา จึงจะมีแรงส่งแพร่กระจายอย่างเพียงพอ • การพัฒนาอุตสาหกรรมต้องทำหลายอย่างพร้อมกันเพื่อช่วยให้มี • อุปสงค์มากพอสำหรับสินค้าอุตสาหกรรมที่ผลิตขึ้นและเกิดการประหยัด • ตามมา เพราะอุตสาหกรรมต่างๆ มีส่วนเกี่ยวข้องและพึ่งพากัน เช่น • การพึ่งพาทุนประเภทสาธารณูปโภค (Social Overhead Capital) อาจจะ • ทำขึ้นในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง
ข้อดีของแนวคิด • ประหยัดวงเงิน เนื่องจากโครงการต่างๆ สามารถประสานการใช้ประโยชน์จากต้นทุนพื้นฐานร่วมกัน การลงทุนพื้นฐานสำหรับโครงการเดี่ยวๆ ไม่คุ้มค่า • สามารถลงทุนพัฒนากำลังคนได้อย่างจริงจังเนื่องจากคุ้มค่าการสนองตอบความต้องการ • รายได้ที่เพิ่มขึ้นจะแพร่กระจายทั่วทุกสาขา สามารถสร้างโอกาสและสร้างทางเลือกได้ • ข้อเสียในแนวคิด • ประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลายมีทรัพยากรอย่างจำกัด การทุ่มทุนขนานใหญ่ให้กับ • พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งจะส่งผลทำให้กระทบต่อความเป็นธรรมของการกระจายโอกาส • และรายได้ • การทุ่มทุนขนานใหญ่จะทำให้การพัฒนาของประเทศเกิดช่องว่างหลายๆ ประการ • ขึ้นในกระบวนการพัฒนา
2. การพัฒนาอย่างมีดุลยภาพ (Balanced Growth Theory) • Ragnar Nurkseกล่าวว่า การลงทุนเพื่อสร้างความเจริญเติบโตทาง • เศรษฐกิจ จะต้องทำทุกด้านทุกส่วนของระบบเศรษฐกิจไปพร้อมกัน • เพื่อให้ตลาดมีขนาดใหญ่ เพราะอุตสาหกรรมหนึ่งๆ จะสร้างตลาดให้ • เกิดขึ้นในแต่ละด้าน ขณะเดียวกันก็เป็นแหล่งที่มาของอุปทานให้กับ • ส่วนอื่นๆ • การลงทุนหลายด้านหลายสาขาพร้อมกัน จะทำให้เกิดการแพร่ • กระจายไปทั่วระบบเศรษฐกิจ (Multiplier effect) และก่อให้เกิด การ • ประหยัดทางเศรษฐกิจทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ ทำให้การใช้ทรัพยากร • เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ขนาดของอุปสงค์และอุปทานมีเพียงพอ • สำหรับสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้น
2. การพัฒนาอย่างมีดุลยภาพ (Balanced Growth Theory) • ข้อดี/ข้อเสียของแนวคิด • Singerกล่าวว่า กลยุทธ์ของการลงทุนแบบ Balanced Growth จะไม่เหมาะที่จะเป็นวิธีแก้ปัญหาสำหรับประเทศด้อยพัฒนา เนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากที่เกินกว่าความสามารถในการชำระหนี้ได้ กลยุทธ์นี้ใช้ได้สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้ว เนื่องจากมีปัจจัยความพร้อมหลายประการ ทั้งกำลังคนและกำลังเงิน แต่จะต้องทำภายหลังที่ผ่านพ้นระยะเศรษฐกิจหดตัว (Economic Recession) แล้ว
3. การพัฒนาแบบไม่สมดุล (Unbalanced Growth Theory) • A. O. Hirochman กล่าวว่า การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศด้อยพัฒนา ควรเริ่มด้วยการลงทุนขนาดใหญ่เฉพาะในสาขาเศรษฐกิจที่เป็นยุทธศาสตร์หรือเป็นสาขาในการพัฒนา(Strategies or Leading Sector) เพื่อกระตุ้นการพัฒนาในสาขาอื่นๆ เช่น • การสร้างโครงสร้างพื้นฐาน (Social Overhead Capital) จะเป็นกลยุทธ์สำหรับการจูงใจให้เกิดการลงทุนขนานใหญ่ • การลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตสินค้าสำเร็จรูป (Finished Product) หรือเกือบสำเร็จรูปเพื่อการอุปโภคบริโภค โดยอาจใช้วัตถุดิบหรือชิ้นส่วนจากต่างประเทศเป็นการเริ่มต้น วิธีการนี้จะทำให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าขั้นกลาง และขั้นพื้นฐานขึ้นในประเทศ
ความไม่สมดุลของการลงทุนจะเป็นตัวช่วยในการสร้าง พลังการตลาด และนอกตลาดให้เกิดขึ้นเพราะ : • พลังการตลาด เป็นตัวสร้างโอกาสให้กับผู้ประกอบการมีกำไร เมื่อกำไรมีมากขึ้นจะจูงใจให้ผู้ประกอบการตัดสินใจริเริ่มขยายตัวทางเศรษฐกิจ • พลังนอกตลาด จะกดดันให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเกิดความพยายามที่จะหามาตรการแก้ไขการขาดดุลยภาพ การผลิตหรือปรับปรุงการบริการที่ล้าหลังให้ ทันกับความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นใหม่ หรือสภาวะที่เรียกว่า การใช้ภาคเอกชนเป็นตัวกระตุ้นการทำงานในภาครัฐบาล • การสร้างพลังการตลาด มี 2 แบบ • อุปสงค์มากกว่าอุปทาน (Excess Demand) • อุปทานมากกว่าอุปสงค์ (Excess Supply)
อุปสงค์มากกว่าอุปทาน (Excess Demand) จะส่งผลกระตุ้นต่อระบบเศรษฐกิจได้ง่ายและมากกว่า เนื่องจากมีผลกำไรเป็นล่อหรือจูงใจ แบบนี้ให้ความสำคัญพัฒนาอุตสาหกรรมมากกว่าเกษตรกรรมหรือผลิตสินค้าขั้นปฐมภูมิ อุปทานมากกว่าอุปสงค์ (Excess Supply)เป็นการเชิญชวนนักลงทุน ด้วยการให้ความสะดวกในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ เช่น การลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ การให้สิทธิประโยชน์สูงสุด การมีทรัพยากรกำลังคนที่เพียงพอ(มีสถาบันการศึกษา)
ข้อวิจารณ์กลยุทธ์ Unbalanced Growth • 1. นักลงทุนมีทัศนคติต่อการตัดสินใจเลือกกิจกรรมของการลงทุน ที่มุ่งหาประโยชน์ส่วนตัวมากจนเกินไป จนไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น • 2. กลยุทธ์แต่ละแบบต่างก็มีจุดอ่อนคือ • แบบ Excess demand จะส่งผลต่อ • ราคาสินค้าบีบตัวสูงขึ้นและนำไปสู่ภาวะเงินเฟ้อ • ดุลการชำระเงินมีความยุ่งยากมากขึ้น • การปรับเข้าสู่ระบบปกติต้องใช้เวลานาน • แบบ Excess supply จะส่งผลต่อ • ความเติบโตของเศรษฐกิจในสาขาอื่นๆ ที่เกิดขึ้นตามหลังจะก้าวตามไม่ทันกับอัตรากำลังส่วนเกิน จะก่อให้เกิดความสิ้นเปลืองทางเศรษฐกิจ
ข้อวิจารณ์กลยุทธ์ Unbalanced Growth • 3. ทรัพยากรที่มีมาก ถ้ารัฐไม่อำนวยความสะดวกก็ขยายตัวได้ยาก รัฐจะต้องรวบรวมทรัพยากรที่มีอยู่ ให้สามารถสอดประสานกันได้ • 4. คำกล่าวที่ว่าภาครัฐขาดผู้มีความรู้ความสามารถนั้นไม่ถูก ในสภาพที่เป็นจริงนั้นมีจำนวนคนมากที่รู้ แต่ไม่มีโอกาสได้ใช้ความรู้
4. Inward & Outward Looking • เป็นวิธีการพัฒนาที่มุ่งเน้นการสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทำให้การค้าระหว่างประเทศเป็นตัวนำของการขยายตัวเพื่อสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ • Inward การส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศ • Outward การส่งเสริมเพื่อพัฒนาการส่งออก • การพัฒนาภายใต้แนวคิดนี้จะทำได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับศักยภาพ โอกาสและคุณลักษณะพิเศษ เช่น สิงคโปร์
รูปแบบของการพัฒนาภายใต้แนวคิดนี้ (Pattern of Development) ก่อให้เกิดสภาวะการเปลี่ยนแปลงในหลายลักษณะ คือ • 1. การพัฒนาที่ใช้ทรัพยากรอย่างกว้างขวาง ขยายการผลิตโดยเปิดโอกาสให้ใช้พื้นที่ใหม่ๆ ของประเทศ (Expansionist) เช่น การขยายที่ดินทำกินในเขตป่าเสื่อมโทรม การเปิดเขตส่งเสริมอุตสาหกรรม • 2. การพัฒนาที่มุ่งใช้ปัจจัยประเภททุนและความรู้ความชำนาญมากเป็นพิเศษ โดยการสร้างคนและฝึกอบรมแรงงานที่มีความรู้ความสามารถขึ้นสูงและมีความพร้อมในเรื่องของทุน (Intrinsic)ซึ่งมีทั้งภาคการผลิตและภาคบริการ ส่วนมากจะเป็นประเทศเล็กๆ ที่มีทรัพยากรจำกัด เช่น สวิสเซอร์แลนด์ เบลเยี่ยม สิงคโปร์
3. การพัฒนาที่ใช้ปัจจัยต่างๆ ของตนเองเท่าที่มีอยู่ โดยการสร้างความพร้อมให้มีมากขึ้น ซึ่งเป็นการพัฒนาที่พยายามพึ่งตนเองเป็นหลัก (Dominant)เช่น พยายามสร้างเงินออมขึ้นในประเทศ โดยไม่อาศัยความช่วยเหลือจากต่างประเทศ หรือโดยอาศัยตลาดต่างประเทศ • 4. การพัฒนาที่มุ่งแสวงหาความช่วยเหลือจากต่างประเทศทั้งเงินทุน เทคโนโลยี ความรู้ความชำนาญ และการบริหารจากต่างประเทศในลักษณะของการพึ่งพา (Satellitic)
5. เป็นการพัฒนาที่มุ่งให้ภาคเอกชนมีบทบาทเป็นหลักของการพัฒนา โดยรัฐเป็นผู้สนับสนุนให้มีเสรีในการลงทุนการผลิตสินค้า การขนส่ง การค้า การตัดสินใจที่เกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากร (Autonomous)และก็มักจะไม่มีการจัดเก็บภาษีเพื่อการลงทุนในโครงการพัฒนาต่างๆ เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย • 6. การพัฒนาที่รัฐเป็นผู้ชักนำ หรือภาครัฐเป็นหลักนำของการพัฒนาเป็นผู้ริเริ่มลงทุน หรือประกอบการ (Induced)ส่วนมากมักจะเป็นกิจกรรมขนาดใหญ่
3. ทฤษฎี 4 ทันสมัยของเติ้งเสี่ยงผิง การก้าวผ่านจากสภาพของสังคมนิยมสู่สังคมคอมมิวนิสต์ ท่ามกลางการต่อสู่กับทุนนิยมโลกเป็นไปด้วยความยากลำบากมาก การเปลี่ยนแปลงสังคมจีนโดยเพียงติดยึดอยู่กับ รูปแบบการสร้างจิตสำนึกทางอุดมการณ์เพียงอย่างเดียว ไม่ได้ จำเป็นที่จะต้องมีแนวคิดและวิธีการการพัฒนาประเทศ อย่างเป็นรูปธรรมโดยที่ยังมีเป้าหมายเชิงอุดมการณ์เช่นเดิม
3. ทฤษฎี 4 ทันสมัยของเติ้งเสี่ยงผิง การพัฒนาประเทศจำเป็นที่จะต้องอาศัยองค์ความรู้ เทคโนโลยีและปัจจัยการผลิตใหม่ๆ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ โดยการ สร้างความทันสมัยใน 4 ด้าน คือ 1. วิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย 2. การเกษตรที่ทันสมัย 3. อุตสาหกรรมที่ทันสมัย 4. ความมั่นคงที่ทันสมัย
กลยุทธ์การพัฒนาของแนวคิด 4 ทันสมัย 1. การส่งคนรุ่นใหม่เข้าสู่การเรียนรู้วิทยาการสมัยใหม่จากทั่วโลก 2. การจัดให้มี 2 ระบบเศรษฐกิจขึ้นในประเทศ (One Nation Two Systems) เพื่อต่อสู้กับทุนนิยมโลก 3. ปฏิรูประบบและกระบวนการผลิตของชุมชน จากระบบคอมมูน (Commun) สู่ระบบกึ่งเสรี
กลยุทธ์การพัฒนาในแนวคิด 4 ทันสมัย 4. ให้นำเอาเทคโนโลยีและกระบวนการผลิตสมัยใหม่เข้าสู่การปฏิรูปการเกษตรและอุตสาหกรรม 5. การเสริมสร้างประสิทธิภาพของกองทัพ โดยใช้วิทยาศาสตร์และวิทยาการสมัยใหม่
4. ทฤษฎีสู่ยุคเศรษฐกิจใหม่ที่ทันสมัย สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมในสงครามเวียดนานกว่า 10 ปี ส่งผลให้อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยเฉพาะทางการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ การขนส่งและระบบสื่อสาร เติบโตอย่างรวดเร็ว อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็กที่เกี่ยวข้องกับการอุปโภคบริโภคกลับตกต่ำ ส่งผลให้ฐานการผลิตจากเอเชียสามารถรุกเข้าสู่ตลาดอเมริกาอย่างกว้างขวาง ทำให้เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศในเอเชียเติบโตอย่างรวดเร็ว ประเทศที่กำลังพัฒนาหลายประเทศเริ่มก้าวสู่สังคมของความเป็นอุตสาหกรรม (New Industrial Country)
4. ทฤษฎีสู่ยุคเศรษฐกิจใหม่ที่ทันสมัย สหรัฐอเมริกาจำเป็นต้องเร่งรัดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว การแก้ไขปัญหาดังกล่าว จะใช้การพัฒนาใน “แนวคิดเดิม”คือ การแก้ไขภาคการผลิตสาขาเดิมๆ ที่ตกต่ำ ซึ่งต้องใช้เวลายาวนานและ พบกับภาวะการแข่งขันที่รุนแรงกับสินค้าที่มาจากเอเชีย ขณะที่กำลังซื้อของประชาชนยังอยู่ในสภาพเช่นเดิมหรือจะใช้แนวความคิดใหม่เพื่อเปลี่ยนโฉมหน้าทางเศรษฐกิจ
การพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสงคราม ทำให้เกิดองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างมากมาย โดยเฉพาะ- : เทคโนโลยีทางด้านการสื่อสาร (Information Technology: IT) : ระบบการประมวลผลและติดตามข้อมูลที่รวดเร็ว (Computer) : ระบบการขนส่ง ทางอากาศยานและอวกาศ สหรัฐอเมริกานำเอาองค์ความรู้ เทคโนโลยีใหม่เหล่านี้เข้าสู่ภาคการผลิต เพื่อเป็นสินค้าตัวใหม่เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโลก (New Economy)
กลยุทธ์ของแนวคิดนี้ 1. สร้างกระแสโลกาภิวัตน์ให้เกิดขึ้นทั่วโลก 2. บังคับให้ทุกประเทศต้องยอมรับเงื่อนไขในกติกาว่าด้วย ลิขสิทธิ์และ สิทธิบัตร โดยเฉพาะประเทศที่ทำการค้ากับสหรัฐอเมริกา เพื่อการผูกขาดสินค้าในกลุ่มนี้ไว้กับตน 3. สร้างระบบมาตรฐานสากลเข้าสู่กระบวนการผลิต การบริการ การขนส่ง และในอีกหลายด้าน เพื่อเป็นเครื่องมือในการกีดกันทางการค้า 4. ผลักดันการค้าเสรีให้เกิดขึ้นในเวทีการค้าโลก เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน 5. สร้างรูปแบบของผลิตภัณฑ์หรือสินค้าชนิดใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในตลาดการค้าของโลก เพื่อสร้างความได้เปรียบจากการมีขีดความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูง มากกว่าประเทศอื่นๆ
สาระสมมติฐานของแนวคิด Modernization • 1. ทุกสังคมมีความแตกต่างกัน แม้กระทั่งในตัวเองจึงต้องลดความแตกต่าง โดยขบวนการพัฒนาเปลี่ยนแปลงสังคมที่ล้าหลัง ไปสู่สังคมที่ทันสมัยให้เหมือนกัน • Modernization Process • Traditional Society Modern Society • 2. ความด้อยพัฒนา เกิดจากความไม่เท่าเทียมกันของสาขาการผลิตสังคมดั้งเดิมให้ความสำคัญกับสัดส่วนของสาขาเกษตรกรรมมากกว่าอุตสาหกรรมและอื่นๆ และใช้วิธีการผลิตแบบ Primitive ส่วนใหญ่ • 3. การพัฒนาจะต้องมีขั้นตอนตามลำดับ จะลัดขั้นตอนไม่ได้ การพัฒนาจะกระทำได้ก็โดยการดูดซับและถ่ายโอนวิทยาการที่ทันสมัยมาปรับใช้และจะต้องเป็น วิทยาการที่สอดคล้องตามสภาพในแต่ละลำดับขั้น
4. จุดมุ่งหมายที่เป็นปลายทางของเศรษฐกิจอยู่ที่การสร้าง • โครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ทันสมัย • สาขาการผลิต แบบอุตสาหกรรม • เมืองที่ทันสมัย • ความเป็นระเบียบของระบบสังคมและการเมืองแบบตะวันตก • Socio-Political Order Western Societies 5. สร้างระบบเสรีประชาธิปไตยให้เกิดขึ้น 6. การมีบุคลากรที่มีความสามารถในฐานะของผู้เชี่ยวชาญ (Expertise) ที่มีความรู้ความเข้าใจและความก้าวหน้าทางวิชาการ
กลยุทธการพัฒนาในแนวคิดความทันสมัยกลยุทธการพัฒนาในแนวคิดความทันสมัย 1. สร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยการเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ โดยการพัฒนาอุตสาหกรรม ในแนวทางของการทดแทนการนำเข้า (เป็นการมุ่งเน้นเพื่อการบริโภค มิใช่เพื่อการลงทุน) 2. สร้างเมือง ที่มีระบบบริการสาธารณะต่างๆ เพื่อให้สภาวะของระบบชุมชนที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมและเป็นแบบอย่างของความทันสมัย 3. ปรับปรุงระบบราชการ ด้วยการเสริมสร้างความสามารถทางด้านการวางแผนและการบริหาร (โดยคาดหวังให้เป็นแกนนำของการสร้างสังคม)
กลยุทธการพัฒนาในแนวคิดความทันสมัยกลยุทธการพัฒนาในแนวคิดความทันสมัย 4. มีระบบและกลไกการวางแผน เพื่อเป็นกรอบกำหนดหลักการและแนวคิดการพัฒนาต่างๆ ที่ได้รับการวางรูปแบบไว้อย่างมั่งคงและแน่นอน พร้อมที่จะถูกนำไปปฏิบัติ 5. ส่งเสริมการลงทุนที่สามารถรองรับการหลั่งไหลจากต่างประเทศ โดยเฉพาะการมีความคิดที่พร้อมจะรับความช่วยเหลือ 6. พัฒนาสถาบันต่างๆ ให้เหมาะสมและเข้มแข็ง เช่น สถาบันทางการเมืองหรือสถาบันทางการศึกษาฯ เพื่อพัฒนาไปสู่การรอปรับเงื่อนไขของการเปลี่ยนแปลงภายใต้ภาวะความทันสมัย
ผลกระทบ (Impact) ที่เกิดขึ้นกับประเทศที่กำลังพัฒนา 1. วัฒนธรรมทางเศรษฐกิจเกือบทุกสังคมมีความคล้ายคลึงกัน แต่ต่างกันที่ ระดับหรือขนาด ส่วนสังคมนั้นจะถูกจัดให้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบใหญ่ ที่ตรงจุดใด 2. สังคมเมือง สังคมใหญ่ได้รับการพัฒนา ส่วนสังคมชนบทกลับถูกปล่อยปละ ละเลย ถูกทอดทิ้ง (สถาบันครอบครัว สถาบันชุมชน) 3. ระบบการเมืองถูกพัฒนาขึ้นเพื่อรองรับกลุ่มผู้มีอำนาจและกลุ่มที่มีผลประโยชน์จากกระบวนการพัฒนา
ผลกระทบ (Impact) ที่เกิดขึ้นกับประเทศที่กำลังพัฒนา 4. ความเติบโตของระบบเกิดขึ้นกับภาคเอกชน ในขณะที่ระบบราชการคงสภาพ เหมือนเดิม จะมีการเปลี่ยนแปลงก็แต่เฉพาะวิทยาการในตัวคน 5. วัฒนธรรมชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่มีอยู่อย่างหลากหลายนั้น ถูกทำลายล้างจนไม่อาจคงเหลือไว้ซึ่งเอกลักษณ์และคุณค่า ซึ่งทุกสังคมควรจะต้องมีแก่นแท้ของตนเอง