1 / 51

หลักการทั่วไป

หลักการทั่วไป.

Download Presentation

หลักการทั่วไป

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หลักการทั่วไป

  2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล จัดเป็นภาษีทางตรงประเภทหนึ่ง ผู้มีเงินได้ที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ โดยมีหลักเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับความหมายของเงินได้พึงประเมิน และประเภทเงินได้พึงประเมินเช่นเดียวกับหลักเกณฑ์ของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ส่วนหลักเกณฑ์อื่นๆ ได้แก่ แหล่งเงินได้ การยกเว้นภาษี และวิธีคำนวณภาษี นั้น มีบทบัญญัติไว้แตกต่างกัน

  3. การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลของไทยในปัจจุบัน กล่าวได้ว่า เป็นการเก็บภาษีเงินได้ 2 ครั้ง  ครั้งที่หนึ่ง เก็บจากกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการหรือเนื่องจากการประกอบกิจการ  ครั้งที่สอง เมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีกำไร (และเสียภาษีเงินได้แล้ว) ได้จ่ายเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกำไรให้แก่ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนที่เป็นบุคคลธรรมดา ผู้ถือหุ้นนั้น มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามส่วนที่ตนได้รับอีก แต่จะได้รับเครดิตภาษีเงินได้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้เสียไว้แล้วเป็นบางส่วน 

  4. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

  5. 1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย 2. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ 3. กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางค้า หรือหากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศ องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือ นิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ 4. กิจการร่วมค้า (Joint Venture)

  6. 5. มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล 6. นิติบุคคลที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร

  7. นิติบุคคลที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้

  8. ไม่เข้าลักษณะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร เช่น กระทรวง ทบวง กรม องค์การของรัฐบาลหรือสหกรณ์ ( เช่นการทางพิเศษแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง ) วัด หอการค้าจังหวัด พรรคการเมือง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

  9. เข้าลักษณะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร แต่ได้รับการยกเว้นตามบทบัญญัติของกฎหมายต่างๆ ได้แก่ • บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ตามสัญญาว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ หรือทางเทคนิคระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ • บริษัทจำกัดที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน

  10. บริษัทจำกัดและนิติบุคคลที่มีสภาพเช่นเดียวกับบริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่าง ประเทศได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม • บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่อยู่ในประเทศที่มีอนุสัญญาว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนกับประเทศไทย ตามเงื่อนไขที่กำหนดในอนุสัญญา

  11. ฐานภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคลฐานภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคล

  12. ภาษีเงินได้นิติบุคคล คำนวณจากเงินได้ที่ใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณภาษีคูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนด ดังนั้น เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือฐานภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น โดยทั่วไปได้แก่กำไรสุทธิที่คำนวณตาม เงื่อนไขที่กำหนด แต่เพื่อความเป็นธรรมและอุดช่องว่างในการจัดเก็บภาษีเงินได้ จึงได้มี การบัญญัติจัดเก็บภาษีเงินได้ นิติบุคคล จากเงินได้หรือฐานภาษี ที่แตกต่างกัน

  13. ฐานภาษีเงินได้นิติบุคคลฐานภาษีเงินได้นิติบุคคล (1)   กำไรสุทธิ                 (2)   ยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย                 (3)   เงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย                 (4)   การจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย

  14. ฐานกำไรสุทธิ (มาตรา 65) ฐานภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยทั่วไป ได้แก่ ฐานกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการหรือเนื่องจากการประกอบกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ตามเกณฑ์สิทธิ์ (หมายถึง ให้นำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใด แม้ว่าจะยังไม่ได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น มารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น และให้นำรายจ่ายทั้งสิ้นที่เกี่ยวกับรายได้นั้น แม้จะยังมิได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น

  15. แต่ประมวลรัษฎากรไม่ได้กำหนดวิธีการเกี่ยวกับการคำนวณกำไรสุทธิเอาไว้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องอาศัยวิธีการคำนวณตามหลักบัญชีเพื่อกำหนดยอดกำไรสุทธิขึ้น ภายใต้เงื่อนไขในมาตรา 65 ทวิ (รายการที่ให้หักเป็นรายจ่ายได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด) และ 65 ตรี (รายการที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษี) ทำให้กำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลอาจไม่ตรงกับกำไรสุทธิทางบัญชีของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้

  16. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิ • บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย คือ บริษัท จำกัด บริษัทมหาชน จำกัด ห้างหุ้นส่วน จำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน • โดยในกรณีที่บริษัทห้างห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยมีสาขาไม่ว่าจะอยู่ในหรือนอกประเทศไทย จะต้องนำกำไรสุทธิของสาขามารวมกำไรสุทธิของสำนักงานใหญ่เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย

  17. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะต้องนำกำไรสุทธิเฉพาะ ที่ได้จากการกระทำกิจการในประเทศไทยมาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล • กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางการค้าหรือหากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ • กิจการร่วมค้า

  18. อัตราภาษี • ภาษีจากกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลร้อยละ 30 - ภาษีจากกำไรสุทธิเฉพาะกรณีที่ได้จากการประกอบกิจการวิเทศธนกิจตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการประกอบกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่16 กันยายน 2535 ร้อยละ 10

  19. ภาษีเงินได้นิติบุคคลคำนวณจากยอดรายได้ก่อนหักรายจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลคำนวณจากยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย

  20. ฐานภาษี • กรณีกิจการขนส่ง ฐานภาษีสำหรับการให้บริการรับขนคนโดยสารซึ่งต้องนำไปรวมคำนวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้คำนวณ จากมูลค่าของค่าโดยสารที่ได้รับหรือพึงได้รับสำหรับระยะทางจากต้นทางถึงปลายทางตามที่ระบุในตั๋วโดยสาร รวมถึงค่าธรรมเนียมและผลประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บจากคนโดยสารอันเนื่องมาจากการให้บริการรับขนคนโดยสาร ไม่ว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะให้บริการรับขนเองทั้งหมดหรือให้ผู้ประกอบการอื่นรับขนส่งช่วงให้

  21. ฐานภาษีสำหรับการให้บริการรับขนสินค้าซึ่งต้องนำไปรวมคำนวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้คำนวณจากมูลค่าของค่าระวางที่ได้รับหรือพึงได้รับ สำหรับระยะทางจากต้นทางถึงปลายทางตามที่ระบุในแอร์เวย์บิล ในกรณีรับขนสินค้าโดยอากาศยานหรือสำหรับระยะทางถึงปลายทางตามที่ระบุในบิลออฟเลดิงในกรณีรับขนสินค้าโดยเรือทะเล รวมถึงค่าธรรมเนียมและประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บจากผู้รับบริการอันเนื่องมาจากการให้บริการรับขนสินค้า ไม่ว่าสายการบินหรือสายการเดินเรือนั้นจะให้บริการรับขนเองทั้งหมด หรือให้ผู้ประกอบการอื่นรับขนส่งช่วงให้

  22. กรณีมูลนิธิหรือสมาคม รายได้ของมูลนิธิหรือสมาคมที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลรายได้ที่มูลนิธิหรือสมาคมจะต้อง เสียภาษีเงินได้ จะรวมถึงรายได้ทุกอย่างไม่ว่าจะได้มาจากทางใดๆ เช่น รายได้จากการขายสินค้าและบริการ ดอกเบี้ย ค่าเช่า เงินปันผล ฯลฯ รายได้ของมูลนิธิหรือสมาคมที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 65 ทวิ (13) ได้แก่ (1)   ค่าลงทะเบียนหรือค่าบำรุงที่ได้รับจากสมาชิก (2)   เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการรับบริจาค (3)   เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา

  23. อัตราภาษี • กรณีรับขนคนโดยสาร ให้คำนวณภาษีอัตราภาษีร้อยละ 3  • กรณีรับขนของ ให้คำนวณภาษีอัตราร้อยละ 3 • กรณีมูลนิธิและสมาคมต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตรา ดังนี้ (1) เงินได้ประเภทที่ 8 เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือ การอื่นๆ เสียร้อยละ 2 ของรายได้ก่อนหักรายจ่าย (2)   เงินได้อื่น ๆ นอกจาก (1) เสียร้อยละ 10 ของรายได้ก่อนหักรายจ่ายการคำนวณภาษีเงินได้ของมูลนิธิ หรือสมาคม จะต้องคำนวณตามรอบระยะเวลาบัญชีด้วย

  24. ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย

  25. ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศที่มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย และได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2)(3)(4)(5) หรือ (6)ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย

  26. ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับการจำหน่ายกำไรไปนอกประเทศ

  27. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีฐานนี้ ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งจำหน่ายเงินกำไรหรือเงิน ประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยให้เสียภาษีเงินได้โดยหักภาษีจากจำนวนเงินที่จำหน่าย

  28. สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้เสียภาษีเงินได้ตามฐานกำไรสุทธิไปแล้ว หากมีการจำหน่ายกำไรที่เหลืออยู่ออกไปนอกประเทศ ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรอีกครั้งหนึ่ง  เช่น  สาขาส่งกำไรไปให้สำนักงานใหญ่ในต่างประเทศ เป็นต้น แต่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ต้องเสียภาษีจากฐานรายได้ก่อนหักรายจ่ายหรือฐานเงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทยไม่ต้องเสียจากฐานการจำหน่ายกำไรอีกครั้ง แม้จะส่งเงินที่เหลือไปต่างประเทศ

  29. อัตราภาษี • เสียภาษีโดยหักจากจำนวนเงินที่จำหน่ายในอัตราร้อยละ 10

  30. ระบบบริหารการจัดเก็บภาษีระบบบริหารการจัดเก็บภาษี • การวางแผนและเตรียมการ ซึ่งเป็นเรื่องของการออกกฎหมายต่างๆเพื่อเป็นการรองรับการจัดเก็บภาษี เช่น ประมวลรัชฏากร 2481 ในกรณีที่จะมีการปรับลดหรือยกเว้นภาษีก็จะต้องมีการออกกฎหมายมารองรับด้วย เช่น พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 377) พ.ศ. 2544 นอกจากนี้ยังมีการประมาณภาษีอากรที่จะจัดเก็บ เพื่อที่จะได้มีเป้าหมายในการจัดเก็บและเมื่อมีการจัดเก็บภาษีแล้วก็จะได้สามารถนำมาเปรียบเทียบกับผลการจัดเก็บจริง เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ผล และการแก้ไขปรับปรุงต่อไป

  31. การจัดทำทะเบียนผู้มีหน้าที่เสียภาษีสำหรับการเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลกรมสรรพากรจะบันทึกว่านิติบุคคลที่มีหน้าที่จะต้องเสียภาษีนั้นมีใครบ้าง มีกี่ประเภท โดยการจัดเก็บนั้นจะจัดเก็บตามฐานภาษีที่ต่างกันซึ่งจะแยกเป็น 4 ฐาน เพื่อที่จะได้ง่ายต่อการจัดเก็บติดตามและประเมินผล • เมื่อถึงกำหนดการชำระผู้เสียภาษีจะยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี ซึ่งก็คือ ภ.ง.ด.50, ภ.ง.ด.51ภ.ง.ด.52, ภ.ง.ด.53, ภ.ง.ด.54, ภ.ง.ด.55 แก่เจ้าหน้าที่ ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็จะตรวจสอบ ประเมินภาษีอากร ลดหย่อน และคำนวณจำนวนภาษีอากรที่ต้องเสียตามกฎหมาย โดยในการเสียภาษีเงินได้ต่อบุคคลนั้นในบางกรณีจะเป็นการหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยจะเป็นไปตามเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนด เช่น รางวัลในการแข่งขันหักอัตราร้อยละ 5 , ค่าโฆษณาหักอัตราร้อยละ 2

  32. โดยในกรณีที่ผู้เสียภาษีไม่เห็นด้วยกับการประเมินของเจ้าพนักงานผู้ถูกประเมินภาษีสามารถใช้สิทธิคัดค้านการประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมินที่ผู้ถูกประเมินภาษีเห็นว่าไม่ถูกต้องต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ซึ่งผู้ถูกประเมินภาษีจะต้องยื่นคำอุทธรณ์เป็นหนังสือตามแบบ ภ.ส.6โดยระบุให้ชัดแจ้งว่าอุทธรณ์คัดค้านการประเมินภาษีประเภทใด เดือน/ปี ภาษีใด ตามหนังสือแจ้งการประเมินฉบับใดและเป็นจำนวนเงินภาษีเท่าใดและสิ่งสำคัญที่ต้องระบุคือไม่เห็นด้วยกับการประเมินในประเด็นใด พร้อมทั้งให้เหตุผลทุกประเด็น และแสดงเอกสารหลักฐานประกอบเหตุผลนั้นด้วย โดยผู้เสียภาษีจะต้องยื่นอุทธรณ์ ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน

  33. ผลการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล ปีงบประมาณ 2539- 2546

  34. TAX BURDEN ภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดได้ว่าเป็นภาษีทางตรง โดยผู้เสียภาษีตามกฎหมาย คือ บริษัทนิติบุคคล แต่ในความเป็นจริงภาษีเงินได้นิติบุคคลอาจสามารถผลักภาระภาษีได้ แต่ส่วนมากบริษัทนิติบุคคลกับเจ้าของทุนจะเป็นคนคนเดียวกัน ดังนั้นภาษีนิติบุคคลจึงเป็นภาษีที่ผลักภาระได้ยาก เพราะ ภาษีนิติบุคคลก็คือภาระทางตรงที่เก็บจากเจ้าของทุนนั่นเอง

  35. หลักความแน่นอน ความแน่นอนของหนี้ภาษี:ภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดว่าเป็นภาษีที่ง่ายต่อผู้มีหน้าที่เสียภาษีในการประเมินว่าจะต้องเสียเป็นจำนวนเท่าไหร่ เพราะอัตราภาษีนั้นถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจน ความแน่นอนในการลดเงินได้จากภาคเอกชน:ภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้นเป็นภาษีที่ประเมินจากกำไรสุทธิของธุรกิจที่เป็นนิติบุคคล จึงเกิดการหลบเลี่ยงภาษีกันมาก ดังนั้นในบางครั้งภาษีนิติบุคคลก็ไม่สามารถลดการใช้จ่ายของภาคเอกชนลงได้อย่างมีประสิทธิผลตามที่ต้องการได้จริง

  36. ความแน่นอนในการประมาณการรายได้ เนื่องจากภาษีเงินได้นั้นฐานภาษี คือ กำไรที่นิติบุคคลได้รับซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ทำให้การประมาณรายได้ของรัฐบาลนั้นจะไม่ค่อยมีความแน่นอนซักเท่าไรซึ่งส่งผลให้เกิดความผันผวนในรายได้ของรัฐในระยะสั้นได้ ซึ่งหากไม่สามารถประมาณการอย่างถี่ถ้วนและแม่นยำแล้วย่อมส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายและดำเนินโครงการต่างๆของรัฐบาลอย่างแน่นอน

  37. หลักความชัดแจ้ง ประชาชนผู้มีหน้าที่เสียนั้นมีความชัดแจ้งถึงสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่ว่าจะเป็นในฯเรื่องของฐานภาษี อัตราภาษี จำนวนภาษีอากรที่ต้องชำระ ฯลฯ เนื่องจากมีการบัญญัติไว้ในประมวลถึงรายละเอียดต่างๆและวิธีการคำนวณอย่างชัดเจน ประชาชนยังทราบถึงภาระภาษีที่ต้องเสียอย่างชัดแจ้งเพราะ ภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นภาษีทางตรงซึ่งผู้เสียภาษีย่อมจะตระหนักถึงภาระที่ตนเองแบกรับอยู่อย่างชัดเจนอยู่แล้ว

  38. หลักการยืดหยุ่น หากการที่บอกว่าภาษีที่มีความยืดหยุ่นนั้นคือการที่ภาษีนั้นมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในช่วงนั้นๆ ก็ถือได้ว่าภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้นเป็นภาษีที่มีความยืดหยุ่น โดยจะเห็นได้จากพระราชกฤษฎีกาหลายฉบับที่ออกมาลดอัตราภาษีหรือยกเว้นภาษีในช่วงที่ประเทศไทยประสบกับภาวะเศรษฐกิจเกิดปัญหาเงินฝืดเพื่อเป็นการส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดการลงทุน มีการจ้างงาน รักษาระดับการใช้จ่ายรวมได้ให้ลดลงมากจนเกินไป

  39. หลักประสิทธิภาพในการจัดเก็บ กรมสรรพากรได้มีการพัฒนาให้มีขั้นตอนในการจัดเก็บภาษีให้น้อยลง เช่น ให้มีการยื่นแบบแสดงรายการภาษี ภ.ง.ด.50, ภ.ง.ด 51, ภ.ง.ด 52, ภ.ง.ด. 53, ภ.ง.ด 54 ผ่านWebsiteของกรมสรรพากรได้ หรือให้มีการให้มีการลดขั้นตอนในการจัดเก็บภาษีเพื่อให้มีต้นทุนในการจัดเก็บลดลง เช่น ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการโดยการผลักภาระให้แก่ภาคเอกชนรับภาระแทน เช่น ให้มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งก็จะช่วยให้ต้นทุนในการดำเนินการจัดเก็บภาษีและต้นทุนแก่ประชาชนผู้เสียภาษีลดลง

  40. กรอบวิเคราะห์เชิงนโยบายการคลังมหภาคกรอบวิเคราะห์เชิงนโยบายการคลังมหภาค มาตรการภาษีเงินได้นิติบุคคลมีส่วนช่วยในการบรรลุเป้าหมายของรัฐทางเศรษฐกิจ โดยจะสังเกตได้ว่ามาตรการต่างๆที่ออกมานั้นจะเป็นมาตรการที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการลงทุนโดยเมื่อมีการลงทุนก็จะมีเงินเข้ามาหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น

  41. อัตราการว่างงานลดลง ประชาชนมีความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มมากขึ้นซึ่งผลที่เกิดขึ้นจากการใช้มาตรการทางภาษีเหล่านี้จะช่วยให้ภาวะทางเศรษฐกิจดีขึ้นเรื่อยๆ มีสภาพคล่องที่ดี ความผันผวนลดลงซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตและมีเสถียรภาพเพิ่มมากขึ้นตามลำดับแต่ทั้งนี้และทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกอื่นๆด้วย

  42. ตัวอย่างมาตรการทางภาษีตัวอย่างมาตรการทางภาษี • รัฐได้มีการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่ลูกหนี้ที่ดำเนินการประนอมหนี้และได้รับความเห็นชอบจากศาล เพื่อเป็นการช่วยเหลือธุรกิจที่ประสบกับปัญหาสภาพคล่องทางการเงินเพื่อที่ธุรกิจเหล่านั้นจะได้สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้โดยไม่ต้องปิดตัวลง • กำหนดให้มีลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งเป็นบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนอยู่ เพื่อเป็นการจูงใจ • ให้บริษัทนำหลักทรัพย์ที่ได้ออกไว้ไปซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนโดยเฉพาะในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นมาตรการหนึ่งที่จะทำให้ระบบเศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่องและเป็นการพัฒนาตลาดทุนโดยรวม

  43. กำหนดให้มีการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเป็นพิเศษนอกเหนือจากหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ทั่วไป เพื่อเป็นประโยชน์ในการคำนวณกำไรและขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษี โดยกำหนดให้ทรัพย์สินประเภทอาคารถาวรที่บริษัทที่เป็นสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคซื้อหรือได้รับโอนกรรมสิทธิ์เพื่อมีไว้ประกอบกิจการของตนได้รับการหักค่าเสื่อมและค่าสึกหรอในอัตราร้อยละ 25 ของมูลค่าต้นทุนในวันที่ได้รับทรัพย์สินส่วนมูลค่าต้นทุนที่เหลือก็ให้หักในอัตราและเงื่อนไขเดิมตามที่กำหนดไว้( อัตราร้อยละ5 ) การดำเนินเช่นนี้จะเป็นการช่วยสนับสนุนให้มีการลงทุนจากบริษัทต่างประเทศในรูปการจัดตั้งเป็นสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคในประเทศไทยมากขึ้นซึ่งก็จะส่งผลให้เกิดการลงทุนในประเทศมากขึ้น มีเงินหมุนเวียนในระบบเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจมีการขยายตัวและยังจะสามารถช่วยพัฒนาให้ประเทศกลายเป็นศูนย์กลางการลงทุนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อีกด้วย

  44. การส่งเสริมให้เกิดการลงทุนขนาดย่อมเกิดขึ้นโดยให้มีการลดอัตราภาษีเงินได้สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินห้าล้านบาทและมีกำไรสุทธิจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินสามล้านบาทเพื่อลดภาระภาษีให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอันเป็นมาตรการหนึ่งที่จะกระตุ้นให้มีการลงทุนในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมซึ่งจะช่วยทำให้เศรษฐกิจขยายตัวและช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้เร็วขึ้น การส่งเสริมให้เกิดการลงทุนขนาดย่อมเกิดขึ้นโดยให้มีการลดอัตราภาษีเงินได้สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินห้าล้านบาทและมีกำไรสุทธิจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินสามล้านบาทเพื่อลดภาระภาษีให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอันเป็นมาตรการหนึ่งที่จะกระตุ้นให้มีการลงทุนในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมซึ่งจะช่วยทำให้เศรษฐกิจขยายตัวและช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

  45. สรุปผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติและรายได้ประชาชาติประจำปี 2541-2545 ล้านบาท ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ

  46. สรุปอัตราการว่างงานประจำปี 2541-2546 ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ

  47. จากตารางจะเห็นได้ว่าจำนวนผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติและรายได้ประชาชาตินั้นมีอัตราที่สูงขึ้นทุกปี อีกทั้งอัตราการว่างงานก็มีอัตราโดยรวมลดลง ซึ่งเป็นการแสดงถึงการมีศักยภาพในการผลิตที่สูงขึ้น เศรษฐกิจโตขึ้นทำให้ประชาชนมีงานทำและประชาชนมีระดับความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

  48. เพราะมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติและรายได้ประชาชาตินั้นแสดงถึงศักยภาพหรือความสามารถในการผลิตสินค้าและบริการของประเทศโดยรวมและแสดงถึงระดับรายได้ที่ประชาชนได้รับในรูปของค่าตอบแทน ดังนั้นการที่มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติและรายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้นก็ย่อมแสดงถึงการที่เศรษฐกิจของประเทศมีการเจริญเติบโตพัฒนาขึ้น โดยผลดังกล่าวส่วนหนึ่งก็น่าจะมาจากมาตรการทางภาษี

More Related