601 likes | 1.64k Views
แนวทางการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทุนชุมชน. สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์. ทุนชุมชน ( Community Capital).
E N D
แนวทางการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทุนชุมชนแนวทางการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทุนชุมชน สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์
ทุนชุมชน (Community Capital) หมายถึง สิ่งที่เป็นมูลค่าหรือมีคุณค่าที่มิใช่เงินตราเพียงอย่างเดียว แต่ยังหมายถึงสิ่งอื่นๆ ที่มีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคน เช่น ทรัพยากรต่างๆ ที่ก่อให้เกิดผลผลิตรวมถึงเงินและสินทรัพย์อื่นๆ ที่เป็นความรู้ ประสบการณ์ ทุนสังคม วัฒนธรรม ประเพณี ปัจจัยบริการทางโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น
ประเภทของทุนชุมชน ทุนชุมชน มี 5 ประเภท ดังนี้ 1. ทุนมนุษย์ (Human Capital) หมายถึง คุณสมบัติต่างๆ ของคนทุกเพศทุกวัยในชุมชน ที่คุณสมบัติในด้านสุขภาพอนามัย อายุขัย/การศึกษา ภูมิปัญญา ความสามารถ ฯลฯ เช่น ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน ครู พระสงฆ์ เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ เป็นต้น
2. ทุนสังคม (Social Capital) หมายถึง ทรัพยากรทางสังคมที่ประชาชนใช้เพื่อการดำรงชีพ รวมทั้งความไว้เนื้อเชื่อใจ การยอมรับซึ่งกันและกันในชุมชน กลุ่มองค์กร เครือข่ายภาคประชาชน/ประชาสังคม ความเชื่อถือศรัทธา รวมถึงวัฒนธรรมที่สืบทอดมายาวนาน
3. ทุนกายภาพ (Physical Capital) หมายถึง สิ่งที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการดำเนินชีวิต หรือเป็นปัจจัยพื้นฐานในการผลิตที่สนับสนุนการดำรงชีพของประชาชน ได้แก่ การคมนาคมขนส่ง ระบบไฟฟ้า ประปา ระบบพลังงาน การสื่อสาร โทรคมนาคม โบราณวัตถุ โบราณสถาน สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ
4. ทุนธรรมชาติ (Natural Capital) หมายถึง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่เป็นตัวกำหนดศักยภาพในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพขอประชาชนในชุมชน ได้แก่ แหล่งน้ำธรรมชาติ ป่าไม้ ดิน น้ำ ภูเขา เกาะ สัตว์ป่า แร่ธาตุ พลังงาน น้ำพุ ฯลฯ
5. ทุนการเงิน (Financial Capital) หมายถึง ทรัพยากรที่เป็นตัวเงินตา รวมถึงโอกาสทางการเงินที่ประชาชนใช้เพื่อการดำรงชีพ ได้แก่ ทุนทางการเงินที่มาจากการออม ที่เป็นเงินสด/เงินฝาก อัญมณี และทุนที่มาจากรายได้อื่น ได้แก่ เงินบำนาญ ค่าตอบแทน เงินกองทุนต่างๆ
แนวทางการพัฒนาทุนชุมชนแนวทางการพัฒนาทุนชุมชน
แนวทางที่ 1 การจัดทำแผนชุมชนของหมู่บ้าน/ชุมชน โครงการ/กิจกรรม จำแนกออกเป็น 3 ประเภท ประเภทที่ 1 หมู่บ้าน/ชุมชน ทำได้เอง ประเภทที่ 2 หมู่บ้าน/ชุมชน ร่วมทำกับหน่วยงานภาคี ประเภทที่ 3 หน่วยงานภาคีทำให้
แนวทางที่ 2 หน่วยงานหรือภาคการพัฒนานำข้อมูล ที่ได้จากการวิเคราะห์ หรือโครงการ/กิจกรรมจากแผนชุมชน ประเภทที่ 2 และ 3 ไปจัดทำแผนงาน/งบประมาณของแต่ละหน่วยงานหรือของตัวเอง ไปขับเคลื่อนการพัฒนา ทุนชุมชนโดยออกมาในรูปแบบการจัดทำโครงการ/กิจกรรม เพื่อส่งเสริมหรือสนับสนุนหมู่บ้าน/ชุมชน
โครงการ/กิจกรรม ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาทุนชุมชน ประกอบด้วย โครงการ/กิจกรรมที่หมู่บ้าน/ชุมชน มีขีดความสามารถทำได้ โครงการ/กิจกรรมที่หน่วยงานหรือภาคีการพัฒนาให้การช่วยเหลือสนับสนุนในรูปวัสดุอุปกรณ์/วิชาการ/งบประมาณ ผลที่ได้ 1. แผนชุมชน 2. โครงการ/กิจกรรม เพื่อพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาทุนชุมชน
การพัฒนาทุนสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์การพัฒนาทุนสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์
เศรษฐกิจสร้างสรรค์ หมายถึง มีองค์ประกอบร่วมของแนวคิด การขับเคลื่อนเศรษฐกิจบนพื้นฐานของการใช้องค์ความรู้ การศึกษา การสร้างสรรค์งาน และการใช้ทรัพย์สิน ทางปัญญา ที่เชื่อมโยงกับรากฐานทางวัฒนธรรม การสั่งสมความรู้ของสังคม และเทคโนโลยี/นวัตกรรมสมัยใหม่
ตัวอย่างกิจกรรม ทุนกายภาพ 1. การพัฒนาอนุรักษ์โบราณสถาน/แหล่งท่องเที่ยวที่ชุมชนสร้างขึ้น 2. สนับสนุน/จัดตั้งกลุ่มมัคคุเทศก์ท้องถิ่น 3. การส่งเสริมกลุ่มอาชีพผลิตของฝาก/ของที่ระลึก 4. การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน 5. การพัฒนาตลาดเก่า/ตลาดร้อยปี/หมู่บ้านท่องเที่ยว 6. การพัฒนาพลังงานทางเลือก เช่น ไบโอก๊าส ไฟฟ้าพลังน้ำตก (นำไปสร้างรายได้แก่ชุมชน) 7. สนับสนุนกลุ่มเกษตรอินทรีย์/ผลิตปุ๋ยชีวภาพ ฯลฯ
ตัวอย่างกิจกรรม ทุนธรรมชาติ 1. ปรับปรุงพัฒนาสภาพแวดล้อมแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในชุมชน 2. กิจกรรมอนุรักษ์ป่าชุมชน/ปลูกไม้เศรษฐกิจ 3. กิจกรรมกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติ/กลุ่มนำเที่ยว 4. กิจกรรมล่องแพ/ล่องแก่ง/เดินป่าชมธรรมขาติ 5. กิจกรรมจัดค่ายพักแรม/เต็นท์ 6. กิจกรรมให้เช่าจักรยาน/จักรยานยนต์ท่องเที่ยว 7. กิจกรรมสปา และสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ฯลฯ
ตัวอย่างกิจกรรม ทุนสังคม 1. กิจกรรมสืบสานวัฒนธรรมประเพณีแก่เยาวชน 2. กิจกรรมส่งเสริมอาชีพกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน 3. กิจกรรมหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม/ชนเผ่า/ กลุ่มชาติพันธุ์ 4. สนับสนุนกิจกรรมกลุ่ม/เครือข่าด้านอาชีพ/การอนุรักษ์/การท่องเที่ยว ฯลฯ
ตัวอย่างกิจกรรม ทุนมนุษย์ 1. สนับสนุนกิจกรรมฝึกอบรมอาชีพโดยปราชญ์ชาวบ้าน เช่น เศรษฐกิจพอเพียง นวดแผนไทย อาหารไทย สมุนไพรไทย 2. สนับสนุนการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมโดยปราชญ์ชาวบ้าน เช่น ดนตรีพื้นบ้านการละเล่นพื้นบ้าน (ละคร ฟ้อนรำ ลิเก หนังตะลุง ฯลฯ) 3. สนับสนุนกิจกรรมปราชญ์ชาวบ้านในศูนย์เรียนรู้ชุมชน (ฝึกอบรมหลักสูตรอาชีพต่างๆ) 4. สนับสนุนกิจกรรมบันทึกองค์ความรู้/ภูมิปัญญา/เทคนิควิธีการสร้างอาชีพและรายได้ ของปราชญ์ชาวบ้านเผยแพร่และจำหน่าย(เอกสารสิ่งพิมพ์ DVD VDO) ฯลฯ
คลังข้อมูลทุนชุมชน หมายถึง แหล่งรวบรวมข้อมูล/ความรู้ จากชุมชนหลายช่วงเวลา ซึ่งรวมถึงข้อมูลทั้งอดีตและปัจจุบัน หรือเป็นแหล่งเก็บรวบรวมข้อมูลไว้เป็นจำนวนมาก เช่น ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลป วัฒนธรรม ประเพณี โครงสร้างพื้นฐาน ข้อมูลด้านสาธารณสุข ข้อมูลด้านการเกษตร ข้อมูล จปฐ.กชช ๒ค. ซึ่งได้ข้อมูลทุนทั้ง ๕ ด้าน ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนสังคม ทุนกายภาพ ทุนธรรมชาติ และทุนการเงิน ซึ่งทุนเหล่านี้ นับเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน ซึ่งเมื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ จะก่อให้เกิดผลผลิต เช่น ปัจจัยสี่ ความรู้ ภูมิปัญญา ประสบการณ์ชีวิตของผู้คน ทุนทางสังคม วัฒนธรรม ประเพณี โครงสร้างพื้นฐาน และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ประโยชน์ของคลังข้อมูลประโยชน์ของคลังข้อมูล ใช้เป็นแหล่งศึกษาและเรียนรู้ โดยสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ได้ตรงความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์ เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ตรงกับความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง
แนวทางการนำเสนอคลังข้อมูลทุนชุมชนแนวทางการนำเสนอคลังข้อมูลทุนชุมชน
1. จัดทำเป็นแผนที่ข้อมูล
3. ตารางข้อมูลแสดงปัญหาแนวทางความต้องการ
4. แฟ้ม เอกสาร รูปเล่ม โปสเตอร์
8. แผนกิจกรรม/โครงการ รูปภาพกิจกรรม