210 likes | 499 Views
แหล่งเรียนรู้สำคัญในเกาะรัตนโกสินทร์ (ต่อ). วิชา ท้องถิ่นของเรา. ป้อมมหากาฬ. ตั้งอยู่บริเวณเชิงสะพานผ่านฟ้า ลีลาศ ติด กับถนนมหาไชย เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ทาง ด้านหลังมีกำแพงเมืองพระนครหลงเหลืออยู่
E N D
แหล่งเรียนรู้สำคัญในเกาะรัตนโกสินทร์ (ต่อ) วิชา ท้องถิ่นของเรา
ป้อมมหากาฬ • ตั้งอยู่บริเวณเชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ติดกับถนนมหาไชย เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ทางด้านหลังมีกำแพงเมืองพระนครหลงเหลืออยู่ • ป้อมมหากาฬสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ-พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในปี เป็นป้อม 1 ใน 14 ป้อมที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อป้องกันรักษาพระนคร มีลักษณะรูปแปดเหลี่ยม มีกำแพงล้อมรอบ 2 ชั้น เป็นป้อมประจำ พระนครด้านตะวันออก • กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนป้อมมหากาฬพร้อมด้วยกำแพงเมืองเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 66 ตอนที่ 65 วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492
วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหารวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร • เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวร- มหาวิหาร 1 ใน 6 ของไทย และถือเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 8 ตั้งอยู่ ริมถนนตีทอง 1 ถนนบำรุงเมือง หน้าวัดออกทางถนนอุณากรรณ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร • การก่อสร้างวัดมาเสร็จบริบูรณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ. 2390 และพระราชทานนามว่า “วัดสุทัศนเทพวราราม”
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผูกนามพระประธานใน พระวิหาร พระอุโบสถและศาลาการเปรียญให้คล้องกันว่า “พระศรีศากยมุนี” “พระพุทธตรีโลกเชษฐ์” และ “พระพุทธ-เสรฏฐมุนี” • เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร- มหาอานันทมหิดลเสด็จสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บรรจุพระบรมราช-สรีรางคารพระบรมเชษฐาธิราชเจ้าไว้ ณ ผ้าทิพย์ เบื้องหน้าฐานชุกชีพระศรีศากยมุนี (พระประธานในพระวิหารหลวง)
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม • เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า-เจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นวัดประจำรัชกาล • มีลักษณะผสมระหว่างสถาปัตยกรรมไทยและยุโรป คือ ลักษณะภายนอกเป็นสถาปัตยกรรมไทย ส่วนภายในออกแบบตกแต่งอย่างตะวันตก และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม • เป็นพระอารามหลวงสุดท้าย ที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างตามโบราณราชประเพณีที่มีการสร้างวัดประจำรัชกาล
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารมีสุสานหลวง ซึ่งตั้งอยู่นอกเขตกำแพงมหาสีมาธรรมจักของวัดด้านทิศตะวันติดกับถนนอัษฎางค์ ริมคลองคูเมืองเดิม • อนุสาวรีย์ที่สำคัญคือ เจดีย์สีทอง 4 องค์ เรียงลำดับจากเหนือไปใต้ ซึ่งมีชื่อสอดคล้องกันดังนี้ สุนันทานุสาวรีย์รังษีวัฒนาเสาวภาประดิษฐานสุขุมาลนฤมิตร์
เสาชิงช้า • เป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีโล้ชิงช้า ในพระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย ของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดูโดยทั่วไปหมายถึง เสาชิงช้าที่ตั้งอยู่หน้าวัดสุทัศน์เทพวรารามและลานหน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร(ลานคนเมือง) ใกล้กับ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ • ในประเทศไทยยังมีเสาชิงช้าอีกแห่งหนึ่ง ที่หน้าหอพระอิศวร เมืองนครศรีธรรมราชซึ่งมีการประกอบพิธีโล้ชิงช้ามาแต่โบราณเช่นกัน แต่ได้เลิกไปก่อนที่จะมีการก่อสร้างขึ้นใหม่ในภายหลัง
ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร • กรุงเทพมหานคร เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ซึ่งทำหน้าที่บริหาร เขตการปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร ตามกฎหมายปัจจุบัน คือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 • กรุงเทพมหานคร กำหนดเครื่องหมายราชการเป็นภาพพระอินทร์ พระหัตถ์ขวาทรงวชิราวุธ พระหัตถ์ซ้ายทรงตะขอ ประทับบนหลังช้างเอราวัณหนึ่งเศียรสี่งาทรงเครื่อง ประกอบด้วยรัศมีและลายเมฆ
เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ • เป็นศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ที่มีความสำคัญมากที่สุดในบรรดาวัดฮินดูทั้งหมดในประเทศไทย ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นสถานที่ประดิษฐานเทวรูปที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์และมีความงดงามที่สุดอีก แห่งหนึ่งในประเทศไทย ตั้งอยู่ ณ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ใกล้เสาชิงช้าและศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2327 มีโบสถ์ทั้งหมด 3 หลัง เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนชั้นเดียว มีกำแพงล้อมรอบ ปัจจุบันมีอายุได้ 229 ปี • สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบ พระราชพิธีสำคัญประจำพระนคร อาทิ พระราชพิธีตรียัมปวาย ตรีปวาย เป็นต้น พระนารายณ์ พระคเณศ พระอิศวร
วัดบวรนิเวศวิหาร • สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เป็นวัดชั้นเอกชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ ต้นถนนตะนาวและถนนเฟื่องนคร บางลำพู กรุงเทพฯ • วัดนี้เป็นวัดที่ประทับของพระมหากษัตริย์เมื่อ ทรงผนวชหลายพระองค์ เช่น พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 และพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน • นอกจากนี้ยังเป็นที่ประทับของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกและเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
กำแพงและประตูเมืองหน้าวัดบวรนิเวศวิหารกำแพงและประตูเมืองหน้าวัดบวรนิเวศวิหาร • ตั้งอยู่ริมถนนพระสุเมรุ ตรงข้ามวัดบวรนิเวศน์วิหาร แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นแนวกำแพงและประตูเมืองอยู่ในช่วงระหว่างป้อมพระสุเมรุและ ป้อมมหากาฬ ซึ่งเหลืออยู่เพียงประตูเดียวในจำนวนทั้งหมด 16 ประตูของกำแพงเมืองรอบพระนคร • กำแพงและประตูเมืองหน้าวัดบวรนิเวศวิหารนี้เป็นส่วนที่เหลืออยู่ของแนวกำแพงเมืองชั้นนอกซึ่งสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1แต่เดิมนั้นแนวกำแพงเมืองชั้นนอกนั้นเริ่มจากปากคลองบางลำพูยาวจรด ปากคลองโอ่งอ่าง อันเป็นแนวคูเมืองชั้นกลาง
ตลาดบางลำพู • บางลำพูเป็นถิ่นที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง เพราะเป็นย่านตลาดการค้าที่สำคัญ • บางลำพูเริ่มเจริญขึ้นเมื่อตัดถนนจักรพงษ์ต่อจากถนนเจ้าฟ้าขึ้นไปถึงสะพานนรรัตนสถาน และตัดถนนสามเสนต่อจากสะพานนรรัตน-สถานขึ้นไปจนถึงถนนนครไชยศรี • ปัจจุบันย่านบางลำพูเป็นศูนย์กลางการค้าหลายชนิด ทั้งผ้า เสี้อผ้าและอาหาร มีทั้งร้านค้าที่ตั้งอยู่ในอาคารตึกเก่าบางลำพู และร้านค้าที่ตั้งอยู่ริมถนนสิบสามห้าง ถนนบวรนิเวศ ถนนสามเสน และถนน จักรพงษ์
พระที่นั่งสันติชัยปราการพระที่นั่งสันติชัยปราการ • สร้างขึ้นตอนเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 โดยสร้างตอนที่ปรับปรุง ภูมิทัศน์ของป้อมพระสุเมรุโดยพระที่นั่งองค์นี้ใช้เป็นสถานทีประกอบงาน พระราชพิธีทางชลมารถ • ในบริเวณเดียวกันมีสวนสาธารณะ สันติชัยปราการ เป็นสวนสาธารณะระดับชุมชนเมือง สร้างบนพื้นที่ประมาณ 8 ไร่เศษ บริเวณโดยรอบ ป้อมพระสุเมรุ
ป้อมพระสุเมรุ • เป็นป้อมปราการที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ในสมัยนั้นได้มีการสร้าง ป้อมปราการ 14 แห่งเพื่อป้องกัน พระนคร แต่เมื่อเวลาผ่านไปป้อมปราการหมดความจำเป็นจึงถูกรื้อถอนไป ป้อมพระสุเมรุเป็น 1 ใน 2 ป้อมที่ยังคงเหลืออยู่ อีกป้อมหนึ่งคือป้อมมหากาฬ ชื่อป้อมพระสุเมรุได้นำมาตั้งเป็นชื่อถนนพระสุเมรุ
วัดอรุณราชวราราม • นิยมเรียกกันในภาษาพูดว่า วัดแจ้งหรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า วัดอรุณ เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยอยุธยา ว่ากันว่าเดิมเรียกว่า วัดมะกอก • ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า-เจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดอรุณราชธารามหลายรายการ และให้อัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธ- เลิศหล้านภาลัยมาบรรจุไว้ที่พระพุทธอาสน์ของพระประธานในพระอุโบสถด้วย เมื่อการปฏิสังขรณ์เสร็จสิ้นลง พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดอรุณราชวราราม”
ป้อมวิไชยประสิทธิ์ • ป้อมวิไชยประสิทธิ์ เป็นป้อมสำคัญที่ใช้ป้องกันข้าศึกตามริมแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านตะวันตก ทางเหนือของปากคลองบางหลวง (คลองบางกอกใหญ่) • สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เดิมชื่อ ป้อมวิไชยเยนทร์ ตั้งตามชื่อของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ชาวกรีกที่เป็นผู้กราบบังคมทูลให้สร้างป้อมแห่งนี้ เพื่อป้องกันเรือรบของฮอลันดา • ต่อมาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสถาปนา กรุงธนบุรีเป็นราชธานี ได้ทรงสร้างพระราชวังขึ้นบริเวณป้อมนี้ พร้อมกับปรับปรุงป้อมพระราชทานนามว่า “ป้อมวิไชยประสิทธ์”
โรงพยาบาลศิริราช • เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2429 พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาการจัดสร้างโรงพยาบาลขึ้น • ในระหว่างที่เตรียมการก่อสร้างโรงพยาบาลนั้น สมเด็จ พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ พระราชโอรส อันประสูติจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถได้ประชวรโรคบิดสิ้นพระชนม์ลง • ครั้นเสร็จงานพระเมรุแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อโรงเรือนและเครื่องใช้ต่าง ๆ ในงานพระเมรุนำไปสร้างโรงพยาบาล ณ บริเวณวังหลัง • พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงพระกรุณาเสด็จ พระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดและพระราชทานนามว่า โรงศิริราชพยาบาล หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า โรงพยาบาลวังหลัง
ศูนย์นิทรรศน์รัตนสังวาลย์ศูนย์นิทรรศน์รัตนสังวาลย์ • เป็นโครงการพัฒนานวัตกรรมและ แหล่งเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติฯจัดทำขึ้นเนื่องในโอกาสมหามงคล 3 ประการ คือ (1) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชฯ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา (2) ครบ 111 ปี วันพระราช-สมภพของสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนีผู้ทรงเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนสตรีวิทยา (3) โรงเรียนสตรีวิทยาได้ก่อตั้งมาครบ 111 ปีใน พ.ศ. 2554