1 / 19

ยุคของคอมพิวเตอร์

ยุคของคอมพิวเตอร์. ยุคของคอมพิวเตอร์ 5 ยุค. คอมพิวเตอร์ยุค หลอดสุญญากาศ (พ.ศ. 2488 – 2501 ) คอมพิวเตอร์ยุคทรานซิสเตอร์ (พ.ศ.2500-2507 ) คอมพิวเตอร์ยุควงจรรวม ( พ.ศ. 2508 - 2512 ) คอมพิวเตอร์ยุควีแอลเอสไอ ( พ.ศ. 2513 - 2532 ) คอมพิวเตอร์ยุค เครือข่าย ( พ.ศ. 2533 - ปัจจุบัน).

karlyn
Download Presentation

ยุคของคอมพิวเตอร์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ยุคของคอมพิวเตอร์

  2. ยุคของคอมพิวเตอร์ 5 ยุค • คอมพิวเตอร์ยุคหลอดสุญญากาศ (พ.ศ. 2488 – 2501) • คอมพิวเตอร์ยุคทรานซิสเตอร์ (พ.ศ.2500-2507) • คอมพิวเตอร์ยุควงจรรวม ( พ.ศ. 2508 - 2512 ) • คอมพิวเตอร์ยุควีแอลเอสไอ (พ.ศ. 2513 - 2532) • คอมพิวเตอร์ยุคเครือข่าย ( พ.ศ. 2533 - ปัจจุบัน)

  3. คอมพิวเตอร์ยุคหลอดสุญญากาศ(พ.ศ. 2488 – 2501) • เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศ (vacuum tube) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ขนาดเท่าหลอดไฟฟ้าตามบ้านเป็นองค์ประกอบหลักของวงจรไฟฟ้า และใช้บัตรเจาะรูในการเก็บข้อมูล และคำสั่งที่จะให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ใช้ดรัมแม่เหล็ก (magnetic) เป็นหน่วยความจำหลัก หน่วยความจำหลักนี้จะเก็บข้อมูลในขณะที่มีการประมวลผลเท่านั้น ความเร็วในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคนี้มีหน่วยเป็น หนึ่งในพันวินาที (millisecond) ใช้กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนที่ดีมาก ทำให้มีการพัฒนาอุปกรณ์อื่นขึ้นใช้งานแทน

  4. หลอดสุญญากาศ

  5. การสั่งงาน ใช้ภาษาเครื่องในระยะแรกซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน ต่อมาได้มีการคิดค้นภาษาสัญลักษณ์ (symbolic language) ขึ้นช่วยงาน โดยใช้ภาษาชนิดเขียนคำสั่งเป็นภาษาอังกฤษก่อนแล้วจึงใช้ตัวแปลภาษาแปลงเป็นภาษาเครื่องอีกครั้งหนึ่ง เครื่องคอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน (MARK I) , อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC)

  6. ENIAC MARK I UNIVAC

  7. คอมพิวเตอร์ยุคสุญญากาศคอมพิวเตอร์ยุคสุญญากาศ

  8. ENIAC • ในปี พ.ศ. 2486 วิศวกรสองคนคือ จอห์น มอชลี (John Mouchly) และเจ เพรสเปอร์ เอ็ดเคิร์ท (J.Presper Eckert)ได้เริ่มพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ และจัดได้ว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานทั่วไปเป็นเครื่องแรกของโลก มีชื่อว่า อินิแอค (Electronic Numerical Integrator And calculator : ENIAC) โดยเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศและใช้งานที่มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ในระยะเวลาใกล้เคียงกันนี้ก็มีการสร้างคอมพิวเตอร์และเครื่องคำนวณที่ใช้หลอดสุญญากาศขึ้นอีกหลายรุ่น เช่น IBM 603 IBM 604 และ IBM SSEC แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไอบีเอ็มสร้างในยุคหลอดสุญญากาศยุคแรกนี้ยังเน้นในเรื่องการคำนวณ

  9. ENIAC

  10. IBM SSEC

  11. ในปี พ.ศ. 2488 จอห์น วอน นอยแมน (John von Neumann) ได้สนใจเครื่องอินิแอค และได้เสนอแนวคิดในการสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยความจำ เพื่อใช้เก็บข้อมูลและโปรแกรมการทำงานหรือชุดคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะทำงานโดยเรียกชุดคำสั่งที่เก็บไว้ในหน่วยความจำมาทำงาน หลักการนี้เป็นหลักการที่ใช้มาถึงจนปัจจุบัน

  12. ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 • ใช้อุปกรณ์ หลอดสุญญากาศ (Vacuum Tube) เป็นส่วนประกอบหลัก ทำให้ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก และเกิดความร้อนสูง • ทำงานด้วยภาษาเครื่อง (Machine Language) เท่านั้น • เริ่มมีการพัฒนาภาษาสัญลักษณ์ (Assembly / Symbolic Language) ขึ้นใช้งาน

  13. คอมพิวเตอร์ยุคทรานซิสเตอร์ (พ.ศ.2500-2507) • เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ โดยมีผู้คิดค้น 3 ท่าน คือ บาร์ดีน (J.Bardeen) แบรทเทน (H.W.Brattain) และชอคเลย์ (W.Shockley) โดยทรานซิสเตอร์ที่พัฒนาขึ้นครั้งแรกมีขนาด 1 ใน 100 ของหลอดสุญญากาศเท่านั้น นอกจากขนาดเล็กแล้วยังมีคุณสมบัติที่ดีอีกหลายประการ คือ ไม่เปลืองกระแสไฟฟ้า ไม่ต้องใช้เวลาอุ่นเครื่องเมื่อแรกเปิดเครื่อง ทำให้คอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพและความเร็วเพิ่มขึ้น จนกระทั่งสามารถบวกจำนวน 2 จำนวนได้ในเวลาประมาณหนึ่งในล้านวินาที (microsecond) โดยที่ทรานซิสเตอร์เป็นปัจจัยในการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญยิ่ง จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์ทั้งสามคนได้รับรางวัลโนเบล

  14. ทรานซิสเตอร์มีแกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีการพัฒนาภาษาที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ในยุคนี้มีการใช้ภาษาแอสเซมบลี (assembly language) ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้คำย่อเป็นคำสั่งแทนรหัสตัวเลข ทำให้การเขียนโปรแกรมสะดวกขึ้น และได้มีการพัฒนาภาษาระดับสูง ซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่คนสามารถเข้าใจได้

  15. สำหรับในประเทศไทยก็มีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้เข้ามาใช้เช่นกันในปี พ.ศ. 2507 โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนำเข้ามาใช้ในการศึกษา ในระยะเดียวกันสำนักสถิติแห่งชาติก็นำมาเพื่อใช้ในการคำนวณสำมโนครัวประชากร นับเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นแรกที่ใช้ในประเทศไทย คอมพิวเตอร์ยุคทรานซิสเตอร์นี้ หน่วยเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ได้รับการพัฒนาไปมากจนทำให้ระบบการเก็บข้อมูลในจานแม่เหล็กมีความจุได้สูงขึ้นมาก • ในยุคนี้การสร้างคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงที่เราเรียกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputers) คือ Livermore Atomic Research Computer (LARC) และเครื่อง IBM 7030 เพื่อตอบสนองความต้องการในด้านความเร็วในการคำนวณ และเริ่มมีการใช้คอมพิวเตอร์กับการสื่อสาร (network)

  16. IBM 7030

  17. ทรานซิสเตอร์ • นักวิทยาศาสตร์ของห้องปฏิบัติการวิจัยเบล (Bell Laboratories) แห่งสหรัฐอเมริกา ได้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์ได้สำเร็จ ทรานซิสเตอร์มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในการสร้างคอมพิวเตอร์ เพราะทรานซิสเตอร์มีขนาดเล็ก ใช้กระแสไฟฟ้าน้อย มีความคงทนและเชื่อถือได้สูงกว่าและที่สำคัญคือสามารถผลิตได้ในราคาที่ถูกกว่าหลอดสุญญากาศ ดังนั้นคอมพิวเตอร์ในยุคต่อมาจึงใช้ทรานซิสเตอร์และทำให้สิ้นสุดคอมพิวเตอร์ยุคหลอดสุญญากาศในเวลาต่อมา

  18. ทรานซิสเตอร์ชนิดต่างๆทรานซิสเตอร์ชนิดต่างๆ

  19. ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 2 • ใช้อุปกรณ์ ทรานซิสเตอร์ (Transistor) ซึ่งสร้างจากสารกึ่งตัวนำ (Semi-Conductor) เป็นอุปกรณ์หลัก แทนหลอดสุญญากาศ เนื่องจากทรานซิสเตอร์เพียงตัวเดียว มีประสิทธิภาพในการทำงานเทียบเท่าหลอดสุญญากาศได้นับร้อยหลอด ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดเล็ก ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อย ความร้อนต่ำ ทำงานเร็ว และได้รับความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น • เก็บข้อมูลได้ โดยใช้ส่วนความจำวงแหวนแม่เหล็ก (Magnetic Core) • มีความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันของวินาที (Millisecond : mS) • สั่งงานได้สะดวกมากขึ้น เนื่องจากทำงานด้วยภาษาสัญลักษณ์ (Assembly Language) • เริ่มพัฒนาภาษาระดับสูง (High Level Language) ขึ้นใช้งานในยุคนี้

More Related