230 likes | 357 Views
โครงสร้างภาษีประเทศไทย. ความท้าทายที่มีต่อโครงภาษีของประเทศไทย. กระแสและแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลก กระแสและแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของประเทศไทย แนวคิดในการปฏิรูประบบภาษีอากรของประเทศไทย. ประเทศไทยได้เติบโตพ้นความเป็นประเทศที่ยากจนและล้าหลังแล้ว
E N D
โครงสร้างภาษีประเทศไทยโครงสร้างภาษีประเทศไทย
ความท้าทายที่มีต่อโครงภาษีของประเทศไทยความท้าทายที่มีต่อโครงภาษีของประเทศไทย • กระแสและแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลก • กระแสและแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของประเทศไทย • แนวคิดในการปฏิรูประบบภาษีอากรของประเทศไทย
ประเทศไทยได้เติบโตพ้นความเป็นประเทศที่ยากจนและล้าหลังแล้วประเทศไทยได้เติบโตพ้นความเป็นประเทศที่ยากจนและล้าหลังแล้ว • ภาคอุตสาหกรรมมีขนาดใหญ่กว่าภาคเกษตรโดยเด็ดขาด 3. ความเปิดประเทศมีมากขึ้น 4. เศรษฐกิจภาคทันสมัยกำลังเติบใหญ่และเศรษฐกิจภาคดังเดิมกำลังหดลง 5. โครงสร้างอายุของประชากรกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่สังคมไทยกำลังย่างเข้าสู่วัยชรา • ความตื่นตัวในเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชนกำลังเพิ่มมากขึ้นอย่างกว้างขวางรัฐธรรมนูญได้บัญญัติเรื่องสิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมของประชาชน 7.นโยบายประชานิยมของฝ่ายการเมือง และบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญกำลังทำให้ประเทศไทยเป็นรัฐสวัสดิการมากขึ้น 8. การกระจายอำนาจรัฐสู่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งผลกระทบถึงโครงสร้างอำนาจรัฐและระบบราชการไทย 9. กระแสในเรื่องธรรมาภิบาล ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
โครงสร้างรายได้ของรัฐบาลในปี 2531-2552 • รายได้ของรัฐบาลไทยส่วนใหญ่มาจากรายได้จากภาษีอากรคือประมาณร้อยละ 90 ของรายได้ทั้งหมด • รายได้ที่ไม่ใช่ภาษีอากรมีสัดส่วนค่อนข้างน้อยคือประมาณร้อยละ 10 ของรายได้ทั้งหมด
โครงสร้างรายได้ของรัฐบาลในปี 2531-2552 • รายได้จากภาษีอากรจำแนกเป็น 2 ประเภทหลัก: • ภาษีทางตรง (Direct Taxes)ซึ่งเป็นภาษีที่จัดเก็บจากฐานรายได้หรือทรัพย์สิน • ภาษีทางอ้อม (Indirect Taxes)ซึ่งเป็นการจัดเก็บภาษีจากสินค้าและบริการ ส่วนใหญ่แล้วผู้ผลิตมักจะผลักภาระภาษีไปสู่ผู้บริโภค หากเป็นไปได้
โครงสร้างรายได้ของรัฐบาลในปี 2533-2552 • รายได้ของรัฐบาลในช่วงปี 2533-2552 เพิ่มขึ้นหกเท่าตัว คือเพิ่มขึ้นจาก 404,939 ล้านบาท เป็น 1,684,297 ล้านบาท • นอกจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ของรัฐบาลแล้ว โครงสร้างรายได้ของรัฐบาลยังมีการเปลี่ยนแปลงในหลายด้านในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา
โครงสร้างรายได้ของรัฐบาลในปี 2533-2552 1. สัดส่วนของรายได้ จากรายได้ที่มาจากภาษีอากรต่อรายได้ที่ไม่ใช่ภาษีอากร ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก 2. ภาษีทางตรงมีความสำคัญในฐานะเป็นแหล่งรายได้เพิ่มขึ้นตามลำดับจากสัดส่วนร้อยละ 28ในปี 2533 เป็นร้อยละ 45.1 ในปี 2552 โดยที่ภาษีเงินได้นิติบุคคลมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากคือจากร้อยละ 11 ในปี 2533 เป็นร้อยละ 24 ในปี 2548 ซึ่งเป็นการขยายตัวตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยลดต่ำลงในช่วงปี 2551-2552 แต่โดยเฉลี่ยเพิ่มร้อยละ 12 ต่อปีในช่วง 2533-2552
โครงสร้างรายได้ของรัฐบาลในปี 2531-2552 3. ภาษีทางอ้อม มีบทบาทลดลงตามลำดับ จากสัดส่วนร้อยละ 70 ในปี 2531 เป็นร้อยละ 52 ในปี 2552 4. ภาษีการขายทั่วไป มีการยกเลิกภาษีการค้าในปี 2535 และมีการนำภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะมาจัดเก็บแทน 5. ภาษีสรรพสามิต สัดส่วนรายได้จากภาษียาสูบ ภาษีน้ำมัน และภาษีสุราลดลง ในขณะที่สัดส่วนรายได้จากภาษีเบียร์เพิ่มขึ้น ซึ่งสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของประชากร
โครงสร้างรายได้ของรัฐบาลในปี 2531-2552 6. มีการอนุญาตให้นำเข้ารถยนต์ได้โดยเสรี ตามนโยบายภาษีของรัฐบาลอานันท์ แต่ได้มีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากรถยนต์นั่ง และจากสินค้าบริโภคที่มีราคาแพง 7. รายได้จากภาษีสรรพสามิตอีกแหล่งหนึ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาในปัจจุบัน ซึ่งมีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 1 คือภาษีการโทรคมนาคม 8. สัดส่วนรายได้ที่มาจากอากรนำเข้าและส่งออกลดลงเป็นลำดับจากร้อยละ 23 ในปี 2531 เป็นร้อยละ 5.2ในปี 2552 เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีการนำเข้าและส่งออก
โครงสร้างรายได้ของรัฐบาลในปี 2531-2552 9. ภาษีจากทรัพยากรธรรมชาติในปัจจุบันได้จัดสรรไปให้เป็นรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแทนการเป็นรายได้ของรัฐบาลโดยรัฐบาลกำลังเสนอภาษีใหม่ที่จัดเก็บจากทรัพย์สินให้แก่ อปท. แทนภาษีเดิม
การวิเคราะห์ประสิทธิผลของระบบภาษีการวิเคราะห์ประสิทธิผลของระบบภาษี • ดัชนีความเข้มข้น Concentration Index • ดัชนีการกระจาย Dispersion Index • ดัชนี Erosion Index • ดัชนีความล่าช้าในการจัดเก็บ Collection Lags Index • ดัชนีความจำเพาะ Specificity Index • Objective Index • ดัชนีการบังคับEnforcement Index • ดัชนีต้นทุนในการจัดเก็บ Cost-of-Collection Index ที่มา: VitoTanzi, Fiscal policy for Emerging Countries, Chapter 10
ดัชนีความเข้มข้น Concentration Index • ระบบภาษีที่ดีรายได้ส่วนใหญ่ควรมาจากภาษีไม่มากประเภท และไม่มากอัตรา • ทำให้มีความโปร่งใสและจัดการได้ง่าย • กำหนดและประสานนโยบายภาษีได้ง่ายกว่าการที่มีภาษีหลายชนิด • การที่มีหลายอัตราอาจเหมือนการเป็นภาษีต่างชนิดกัน
ดัชนีการกระจาย Dispersion Index • การไม่มีภาษีที่เก็บเล็กเก็บน้อยต่ำ (low-yielding Taxes หรือ Nuisance Taxes) • ผู้เสียภาษีรู้สึกมีต้นทุนสูงในการรับภาระภาษีหลายชนิด แม้ว่าอัตราภาษีไม่มากก็ตาม • ผู้จัดเก็บมีต้นทุนในการบริหารมาก และอาจมากกว่ารายได้ที่จัดเก็บได้ • การปฏิรูปภาษีจึงต้องลดหรือยกเลิกภาษี ที่มีลักษณะดังกล่าว หรืออัตราภาษีที่ซับซ้อนตัวอย่าง ภาษีการเดินทางออกนอกประเทศ ภาษีศุลกากรเป็นต้น • พิจารณาโดยดูจากค่าเฉลี่ยต้นทุนจัดเก็บต่อรายได้ภาษีหาก(สูง) ต่ำ แสดงว่า(ไม่)เหมาะสม
ดัชนี Erosion Index • ปัญหาจากการที่มีระเบียบข้อยกเว้น ลดหย่อนของภาษีที่ทำให้เก็บได้ไม่ถึง potential • การที่มีดัชนีนี้สูงบางประเทศเลือกออกภาษีหลายชนิดมากขึ้น ซึ่งทำให้สถานะโครงสร้างภาษีแย่ลง • ตัวอย่างภาษีนำเข้าเก็บได้เพียงบางส่วนของมูลค่านำเข้าทั้งหมด หรือภาษีการบริโภคเป็นเพียงส่วนเล็กน้อยของมูลค่าการบริโภคทั้งหมด • สาเหตุมาจากการที่มีอัตราภาษีสูงมากเกินไป จึงทำให้มีข้อยกเว้นมากตามไปด้วย
ดัชนีความล่าช้าในการจัดเก็บ Collection Lags Index • คือความล่าช้าในการจัดเก็บภาษี • อาจเนื่องจากการยินยอมให้มีการยกเว้นหรือลดหย่อนมากมาใช้ในการคำนวณภาษี หรือ • การที่ผู้เสียภาษีหลบเลี่ยงไม่ยอมชำระ และการบังคับลงโทษไม่รุนแรงพอให้เข้าสู่ระบบการเสียภาษี • มีผลให้สัดส่วนภาษีต่อ GDP อ่อนไหวต่อเงินเฟ้อ (น้อยลงเมื่ออัตราเงินเฟ้อสูง และสัดส่วนสูงขึ้นเมื่ออัตราเงินเฟ้อต่ำ)
ดัชนีความจำเพาะ Specificity Index • การที่ภาษีขึ้นกับภาษีต่อหน่วย (Specific taxes) เพราะสาเหตุคือ • ภาษี Ad Valorem มีอัตราสูงทำให้การหลีกเลี่ยงมากขึ้น • ภาษีต่อหน่วยทำให้การแจ้งมูลค่าต่ำกว่าจริงไม่จำเป็น รัฐบาลจึงสามารถคาดการผลของนโยบายได้ดีขึ้น • ประโยชน์ต่อการนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบ เพราะไม่ต้องกังวลถึงมูลค่าของการนำเข้า
Objective Index • การพิจารณาภาษีตามวัตถุประสงค์ของภาษีนั้นๆ เช่นภาษีเงินได้เพื่อการวัดมูลค่ารายได้ ภาษีการบริโภคควรสะท้อนมูลค่าการบริโภค เป็นต้น • ผลทำให้สามารถรู้ผลกระทบของภาษีที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ • พยายามอย่าใช้ภาษีหนึ่งๆ เพื่อวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย
ดัชนีการบังคับEnforcement Index • การยอมรับภาษีที่แสดงการยินยอมจ่ายภาษีควรมีสูง อาจดูได้จากความแตกต่างระหว่างผลตามระบบภาษีที่เป็นกฎหมาย (statutory) กับ (effective) เช่นผู้จ่าย (รับภาระ) ตามกฎหมายกับผู้รับภาระแท้จริง หากแตกต่างกันมากอาจทำให้ไม่รู้ภาระภาษีที่แท้จริงว่าตกกับผู้ใด • ต้องพิจารณาบทลงโทษ และต้นทุนการบริหารจัดการควบคู่ไปด้วย
ดัชนีต้นทุนในการจัดเก็บ Cost-of-Collection Index • ต้นทุนในการจัดเก็บภาษีควรที่จะต้องต่ำที่สุดเท่าที่ทำได้ • การคิดว่าภาษีใดมีความเหมาะสมในประเด็นนี้ต้องคำนึงโครงสร้างของภาษีด้วยว่าแตกต่างกันอย่างไร วิธีการจัดเก็บ ความยุ่งยากในการประเมิน ความแตกต่างในกลุ่มผู้รับภาระภาษี ระดับการพัฒนา และการศึกษาของผู้เสียภาษี ฯลฯ ก่อนจะทำการเปรียบเทียบกันระหว่างประเภทของภาษี
การวิเคราะห์ประสิทธิผลของระบบภาษีการวิเคราะห์ประสิทธิผลของระบบภาษี • ดัชนีความเข้มข้น Concentration Index (สูง) • ดัชนีการกระจาย Dispersion Index (ต่ำ) • ดัชนี Erosion Index (ต่ำ) • ดัชนีความล่าช้าในการจัดเก็บ Collection Lags Index (ต่ำ) • ดัชนีความจำเพาะ Specificity Index (สูง) • Objective Index (สูง) • ดัชนีการบังคับEnforcement Index (เหมาะสม) • ดัชนีต้นทุนในการจัดเก็บ Cost-of-Collection Index (ต่ำ)