601 likes | 1.75k Views
วิชา สศ 4 02 โภชนศาสตร์และการให้อาหารโค. บทที่ 9 การจัดการให้อาหารโค. ในบทนี้นักศึกษาจะได้เรียนรู้ถึงการจัดการในการให้อาหารโคในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต เพื่อให้ได้รับโภชนะตามต้องการ เทคนิคในการให้อาหารในระยะต่างๆ การประมาณปริมาณอาหารที่ใช้ในฟาร์มและการคำนวณสูตรอาหารเบื้องต้น.
E N D
วิชา สศ 402โภชนศาสตร์และการให้อาหารโค
บทที่ 9การจัดการให้อาหารโค ในบทนี้นักศึกษาจะได้เรียนรู้ถึงการจัดการในการให้อาหารโคในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต เพื่อให้ได้รับโภชนะตามต้องการ เทคนิคในการให้อาหารในระยะต่างๆ การประมาณปริมาณอาหารที่ใช้ในฟาร์มและการคำนวณสูตรอาหารเบื้องต้น
ให้อาหารลูกโคแรกเกิดทำอย่างไรให้อาหารลูกโคแรกเกิดทำอย่างไร ลูกโคแรกเกิด: ต้องกินนมน้ำเหลืองภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด • เนื่องจาก: จะมีค่าเฉลี่ยโปรตีน ไขมัน วัตถุแห้ง ไวตามินและแร่ธาตุสูงกว่าน้ำนมปกติ และมีภูมิคุ้มกันโรค (immunoglobulins) สูง เช่น immunoglobulin G (IgG) • ภูมิคุ้มกันโรค :ป้องกันการติดเชื้อต่างๆ โดยเฉพาะเชื้อโรคติดต่อทางระบบหายใจ และระบบทางเดินอาหาร เช่นปอดบวมและท้องร่วง
ทำไมต้องกินนมน้ำเหลืองภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด • เนื่องจาก : ส่วนประกอบต่างๆในนมน้ำเหลืองจะดูดซึมผ่านผนังลำไส้เข้าไปใช้ประโยชน์ได้โดยตรง โดยไม่ถูกย่อยจากเอนไซม์ :ผนังลำไส้ยังผลิตเอนไซม์ในการย่อยอาหารไม่ได้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด ส่วนประกอบในนมน้ำเหลืองจึงดูดซึมไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด :ส่วนประกอบทางโภชนะในนมน้ำเหลืองมีค่าสูงกว่านมสด เช่น โปรตีน ไวตามิน แร่ธาตุ และมีภูมิคุ้มกันโรค
การให้อาหารลูกโคอายุ 4 วันถึงหย่านม • นมน้ำเหลืองให้กิน 8 – 10%ของน้ำหนักตัว ไม่น้อยกว่า 3 วัน • ในทางปฏิบัติ-สอนให้ลูกโคกินนมจากถังแทนการให้จากขวด • นมน้ำเหลืองใช้ไม่หมดควรเก็บรักษา โดยการนำไปแช่แข็ง หรือทำเป็นนมน้ำเหลืองหมัก ใช้เลี้ยงลูกโคตัวอื่นได้
การให้อาหารลูกโคอายุ 4 วันถึงหย่านม 1. ให้อาหารแทนนม (milk replacer) 10 %ของน้ำหนักตัว อาหารแทนนมควรมีโปรตีน 20-22% และไขมันระหว่าง 10-20% 2. ให้อาหารข้นสำหรับลูกโค (calf starter) 3. ให้หญ้าแห้งหรือหญ้าสดที่มีคุณภาพให้ลูกโคหัดกิน หญ้าแห้งดีกว่าหญ้าสด: เร่งการกระตุ้นการพัฒนาของกระเพาะรูเมน : ป้องกันไม่ให้มีการถ่ายมูลเหลว (ท้องเสีย)
มีหลักเกณฑ์ในการเลือกอาหารแทนนมอย่างไรมีหลักเกณฑ์ในการเลือกอาหารแทนนมอย่างไร : ดูแหล่งโปรตีน ควรเป็นโปรตีนจากนมหรือผลิตภัณฑ์นม เช่นหางนม (dried skim milk) หางเนย (dried whey) โปรตีนเข้มข้นจากหางเนย (whey protein concentrate) และ เคซีน (casein) : แหล่งโปรตีนจากถั่วเหลือง เช่นแป้งถั่วเหลืองใช้เป็นส่วนผสมในอาหารแทนนมได้ แต่ไม่ควรใช้ในส่วนผสมเกิน 50 %ของโปรตีนในนม • ในระยะลูกโคเล็กไม่มีเอนไซม์ย่อยโปรตีนจากถั่วเหลือง
อาหารข้นลูกโคควรมีลักษณะอย่างไรอาหารข้นลูกโคควรมีลักษณะอย่างไร : เป็นอาหารเม็ด : มีความน่ากินสูง : มีค่าโภชนะที่ย่อยได้สูงกว่า 70% : มีค่าโปรตีนเฉลี่ย 18 -20 % และไขมันไม่ต่ำกว่า 3% หลักการให้อาหารข้นลูกโค • ใส่ในถังอาหารให้กินอิสระตลอดเวลา • อาหารข้นควรเปลี่ยนใหม่ทุกวัน • ไม่ให้อาหารเปียก หรือเป็นเชื้อรา
วิธีการสอนให้ลูกโคกินอาหารข้นและอาหารหยาบวิธีการสอนให้ลูกโคกินอาหารข้นและอาหารหยาบ • ใช้มือกำอาหารข้นเล็กน้อยใส่ปากให้ทดลองกิน • ทาอาหารข้นไว้ที่บริเวณรอบปากหลังจากลูกโคกินนมเสร็จใหม่ๆ ผลของอาหารข้นที่กิน - จุลินทรีย์จะย่อย ได้กรดไขมันที่ระเหยง่าย เกี่ยวข้องกับการพัฒนาของ papillae และขนาดกระเพาะรูเมน • อาหารหยาบ: ใช้หญ้าที่ทำเป็นก้อนเล็กๆใส่ปากให้หัดกินเอง
ทำไมต้องหย่านมลูกโค การหย่านมลูกโค คือ การหยุดให้ลูกโคกินนม ให้กินแต่หญ้าและเสริมอาหารข้น วิธีการ : หยุดให้นมทันที หรือ ลดลงวันละ 0.5 กก. จุดประสงค์ของการหย่านม - กระเพาะรูเมนจะทำงานได้เต็มที่ - สัตว์เคี้ยวเอื้องต้องกินหญ้าเป็นอาหารหลัก - ประหยัดค่าอาหาร
เมื่อใดควรหย่านมลูกโคเมื่อใดควรหย่านมลูกโค เกษตรกรสามารถที่จะหย่านมลูกโคได้ : เมื่อลูกโคกินอาหารข้นได้ไม่ต่ำกว่า 700 – 1,000 กรัมต่อวัน เป็นเวลาติดต่อกันนาน 5-7 วัน : กินหญ้าสดได้ไม่ต่ำกว่า 3 กิโลกรัม : หรือกินหญ้าแห้งได้ไม่ต่ำกว่า 0.5 กิโลกรัมต่อวัน • ทั้งนี้ในขณะหย่านมลูกโคควรมีสุขภาพแข็งแรงด้วย
หลังหย่านมลูกโคควรให้อาหารอย่างไรหลังหย่านมลูกโคควรให้อาหารอย่างไร • ให้อาหารข้นประมาณ 2.0 กิโลกรัมต่อวัน • อาหารหยาบที่มีคุณภาพดี ให้กินอย่างอิสระตลอดเวลา • มีแร่ธาตุเสริมในรูปแร่ธาตุก้อน หรือกระดูกป่นและเกลือ • ไม่ควรให้อาหารข้นที่มียูเรียเป็นแหล่งโปรตีน หรือให้ฟางหมักยูเรียแก่ลูกโคที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือน เนื่องจากกระเพาะรูเมนยังพัฒนาไม่เต็มที่ • กระเพาะยังพัฒนาไม่เต็มที่ให้ยูเรียโคอาจตายได้ง่าย
การเลี้ยงโคอายุ 6 เดือนถึง 18 เดือน • : ให้อาหารหยาบกินอย่างเต็มที่ • : มีน้ำสะอาดและแร่ธาตุ ให้กินอิสระตลอดเวลา • : กรณีให้อาหารหยาบมีคุณภาพต่ำ หรือวัสดุเศษเหลือทางการเกษตรควรมีการเสริมไวตามินเอด้วย • อาหารข้นที่ให้มี NPN เสริมได้ อาหารข้นควรมีโปรตีนเฉลี่ย 15 % การเลี้ยงโคสาวในคอกแบบขังรวม
หลักในการให้อาหารข้นโคท้องแรกหลักในการให้อาหารข้นโคท้องแรก • : ใช้ body score ในการเพิ่มหรือลดปริมาณอาหารข้น • :ให้อาหารหยาบกินเต็มที่ • : 2 เดือนก่อนคลอด แยกโคไปรวมฝูงกับแม่โครีดนม เพื่อฝึกโคให้คุ้นเคยกับการรีดนม • ระยะ 2 เดือนก่อนคลอดลูกโคในท้องเจริญเติบโตเร็ว จึงควรดูแลเป็นพิเศษ โคควรได้รับอาหารที่มีความเข้มข้นของโภชนะสูงขึ้นกว่าในระยะโคสาวหรือตั้งท้องระยะแรก
การให้อาหารโคในระยะรีดนมการให้อาหารโคในระยะรีดนม แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มคือ 1.ระยะแรกของการให้นม (หลังคลอด - ให้นม 100 วัน) : ให้อาหารหยาบคุณภาพดีกินอย่างเต็มที่ : อาหารข้นโปรตีน 16 % ไม่ควรให้เพิ่มทันทีหลังคลอด แต่ค่อยๆเพิ่มให้แก่โคทีละน้อยไม่เกิน 0.5 – 1.0 กิโลกรัมต่อวัน ระยะนี้เป็นระยะที่โคต้องนำโภชนะที่สะสมในร่างกายมาใช้เป็นพลังงานในการสร้างน้ำนม การนำโภชนะที่สะสมมาใช้เป็นพลังงาน
การให้อาหารระยะให้นม 100 – 200 วัน 2. ระยะให้นม 100 – 200 วัน (ผ่านระยะการให้นมสูงสุดมาแล้ว) - การให้นมอยู่ในสภาพคงที่ระยะหนึ่งก่อนแล้วจึงเริ่มที่จะลดลง - เป็นระยะที่ตัวอ่อนเริ่มมีการพัฒนาอีกครั้งหนึ่ง • การให้อาหาร:ให้อาหารหยาบที่มีคุณภาพให้กินเต็มที่ : ปริมาณอาหารข้นที่ให้ ควรลดลงจากระยะหลังคลอด หรือให้อาหารตามปริมาณการให้นม
ให้อาหารในระยะให้นม 200 – 305 วัน 3. ระยะให้นม 200 – 305 วัน • ระยะนี้ปริมาณน้ำนมที่ผลิตลดลง • ลูกโคเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น • แม่โคจึงมีความต้องการอาหารเพื่อการเจริญเติบโต (กรณีโคท้องแรก) เพื่อดำรงชีพ เพื่อให้นม และเพื่อการเติบโตของลูกในท้อง การให้อาหาร: อาหารหยาบควรเป็นอาหารที่มีคุณภาพ : ให้อาหารข้นให้ตามปริมาณการให้นม เช่นเดียวกับในระยะให้นม 100-200 วัน โปรตีนอาหารข้น 16 %
ระยะโคพักรีดนม(โคดราย)ระยะโคพักรีดนม(โคดราย) 4. ระยะโคพักรีดนม(โคดราย) : เป็นระยะที่โคมีการสะสมไขมันในร่างกาย : ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอก่อนการให้นมครั้งต่อไป การให้อาหาร:ให้อาหารหยาบ และอาหารข้นอย่างเพียงพอ (อาหารข้นให้ประมาณ 1.0 – 2.0 กิโลกรัมต่อวัน) : ให้ตรวจค่าคะแนนความสมบูรณ์ของร่างกาย ไม่ให้โคอ้วนเกินไป (คะแนนมากกว่า 4) จะมีปัญหาการคลอดยาก
การคำนวณสูตรอาหารและการให้อาหารโคการคำนวณสูตรอาหารและการให้อาหารโค อาหารโค แตกต่างจากอาหารสุกร และสัตว์ปีก เนื่องจากโคมีจุลินทรีย์ในกระเพาะ ที่ช่วยในการย่อยอาหาร จึงแบ่งประเภทของอาหารเป็น 2 ประเภท คือ • อาหารหยาบ และ อาหารข้นที่มีความแตกต่างกันทางองค์ประกอบทางเคมี และลักษณะทางกายภาพอย่างเห็นได้ชัดโดยเฉพาะปริมาณความชื้นที่มีในอาหาร โดยทั่วไปมีหลักการในการคิดคำนวณหรือการให้อาหาร 3 แบบคือ • As fed basis, air dry basis , dry matter basis
As fed basis, air dry basis , dry matter basis • As fed basis :อาหารที่อยู่ในรูปสด ยังมีความชื้นตามสภาพเป็นจริง • Air dry basis :อาหารที่มีความชื้นเท่ากับสภาพบรรยากาศ • อาหารผ่านการทำให้แห้งมาแล้ว • Dry matter basis :อาหารที่ไม่มีความชื้นอยู่เลย ปริมาณสิ่งแห้งในอาหาร(Dry matter) มีความสำคัญต่อโคมาก เพราะเป็นส่วนที่บอกถึงปริมาณโภชนะที่โคจะได้รับจริงในแต่ละวันว่าเพียงพอหรือไม่
การให้อาหาร • อาจให้ตามปริมาณสิ่งแห้ง หรือให้ตามความต้องการ การให้ตามปริมาณสิ่งแห้งในอาหาร มีคำศัพท์คือ • dry matter intake, DMI = ปริมาณสิ่งแห้งที่กิน • Voluntary feed intake = จำนวนอาหารที่ให้กินโดยที่สัตว์มีกินอย่างอิสระตลอดเวลา • ad libitum feeding =จำนวนอาหารที่ให้กินมากกว่าความต้องการอย่างน้อย 10% ทุกวันมีการเอาอาหารเก่าออกละอาหารใหม่เข้า
การให้ตามความต้องการโภชนะการให้ตามความต้องการโภชนะ • โดยทั่วไปให้ตามมาตรฐาน NRC (National research Council) เป็นระบบของสหรัฐอเมริกา และระบบมาตรฐาน ARC (Agricultural research Council) เป็นระบบของอังกฤษ • มาตรฐานการให้อาหาร คือตารางแสดงจำนวนหรือ ปริมาณโภชนะแต่ละตัวที่จำเป็นสำหรับสัตว์ตามประเภท ชนิดสัตว์ อายุ และเพศ รวมทั้งระยะการให้ผลผลิต
มาตรฐานอาหารสัตว์ • ประเทศไทยไม่มีมาตรฐานของตัวเอง ปกตินิยมใช้มาตรฐานตาม NRC • มีข้อจำกัดคือ ส่วนใหญ่ค่าที่แสดงเป็นค่าเฉลี่ยที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น และเหมาะสมกับบางที่ นอกจากนี้ไม่บอกว่าอาหารมีความน่ากิน และสัตว์จะกินอาหารชนิดนั้นหรือไม่
ทำไมต้องรู้ปริมาณอาหารที่สัตว์กินทำไมต้องรู้ปริมาณอาหารที่สัตว์กิน • - เตรียมอาหารให้โคได้กินตามต้องการ • - นำข้อมูลไปคำนวณเพื่อเตรียมเงินทุน • - เตรียมสถานที่ในการเก็บรักษาอาหาร • - ไม่มีปัญหาเรื่องการขาดอาหาร ที่ทำให้มีผลต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิต • ในแต่ละวันสามารถประมาณปริมาณอาหารที่โคกินในรูปวัตถุแห้งได้โดยคำนวณจากค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัว หรืออายุโค
ตัวอย่างคำนวณปริมาณอาหารที่กินตัวอย่างคำนวณปริมาณอาหารที่กิน 1. คิดความต้องการตามน้ำหนักตัว 1.1 การให้อาหารหยาบอย่างเดียว ถ้าโคมีน้ำหนัก 500 กก. กิน 3% น้ำหนักตัว • ปริมาณการกินอาหาร(DM) = 15 kg.DM/ วัน ( 500x3/100) เนื่องจากไม่มีอาหารหยาบที่มีวัตถุแห้ง 100 % จึงต้องรู้เปอร์เซ็นต์ความชื้นในอาหารหยาบที่กิน โดยทั่วไป: อาหารหยาบสดเช่นหญ้าสดมีวัตถุแห้งเฉลี่ย 20 % • ปริมาณหญ้าสดที่โคต้องกินต่อวัน = 75 กก./วัน (15x100/20)
มีสัดส่วนอาหารหยาบและอาหารข้นมีสัดส่วนอาหารหยาบและอาหารข้น 1.2 มีสัดส่วนอาหารข้นและอาหารหยาบ = 1:2 โคมีน้ำหนักตัว 500 กก.กินอาหาร 3% น้ำหนักตัว เป็นอาหารข้น 5kg.DM( 1x500/100) อาหารหยาบ 10 kg.DM (2x500/100) คิดเป็นอาหารข้น = 5.56 กก. ( 5x100/90) เป็นอาหารหยาบ = 50กก.(10x100/20)
2. กรณีลูกโคก่อนหย่านม ให้ลูกโคกินอาหารแทนนมวันละ 4 กก. มีระยะหย่านม 90 วัน • อาหารแทนนมที่ต้องใช้เลี้ยง= 360 กก. คิดเป็นอาหารแทนนม 40 กก. (อัตราส่วน 1:8 คิดเป็น 360/9 ) • ให้อาหารหยาบ และอาหารข้นอย่างละ 1 % น้ำหนักตัว ถ้าลูกโคมีน้ำหนักตัว 50 กก. • ต้องให้อาหารข้น และ อาหารหยาบ อย่างละ 0.5 กก.ต่อวัน(DM) ลูกโคก่อนหย่านม ให้กินอาหารแทนนม, อาหารข้นลูกโค, อาหารหยาบ
คำนวณอาหารลูกโค(ต่อ) • คิดเป็นอาหารข้นลูกโค 0.55 กก./วัน • คิดเป็นหญ้าแห้งที่ต้องให้ลูกโคกินต่อวัน 0.55 กก./วัน • สามารถคำนวณปริมาณหญ้าแห้ง และอาหารข้นที่ใช้เลี้ยงลูกโคจากแรก เกิดจนกระทั่งหย่านมเป็นเวลา 90 วัน ต้องใช้หญ้าแห้ง และอาหารข้น อย่างละ = 49.5 กก.( 0.55x90) อาหารแทนนมที่ใช้ = 40 กก.
รูปแบบในการให้อาหารโครูปแบบในการให้อาหารโค การให้อาหารโคแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ 1.แบบให้อาหารหยาบแยกจากอาหารข้น ซึ่งเป็นวิธีที่เกษตรกรนิยมใช้ 2.แบบอาหารหยาบผสมรวมกับอาหารข้น (total mixed ration, TMR หรือ complete feeding) • ทราบรูปแบบการให้อาหารช่วยให้คำนวณสูตรอาหารได้ถูกต้องตามความต้องการ
การคำนวณสูตรอาหารต้องรู้อะไรบ้างการคำนวณสูตรอาหารต้องรู้อะไรบ้าง • ต้องทราบความต้องการโภชนะต่อวันต่อตัวของสัตว์แต่ละชนิด อายุ ระยะการเจริญเติบโต ใช้ตารางมาตราฐานตาม NRC (national research council) หรือ แบบ ARC ( agricultural research council) • ทราบชนิดวัตถุดิบอาหารสัตว์และองค์ประกอบทางเคมี ที่ใช้ • ทราบวิธีการในการคำนวณสูตรอาหาร
วิธีการในการคำนวณสูตรอาหารวิธีการในการคำนวณสูตรอาหาร • การคำนวนโดยใช้หลักพีชคณิต เป็นการตั้งสมการ • การคำนวนด้วยวิธีใช้รูปสี่เหลี่ยม • การใช้ตารางคำนวนแบบลองผิดลองถูก • การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ excel
การย่อยในกระเพาะรวม • ตัวอย่างที่ 1 ผสมอาหาร 100 กก. ให้มีโปรตีน16 % ใช้รำละเอียด (RB) และกากถั่วเหลือง (SBM) เป็นส่วนประกอบปริมาณเท่าใด กำหนดให้ : รำละเอียดมีโปรตีน 10% และกากถั่วเหลืองมีโปรตีน 45% • ใช้วิธีคณิตศาสตร์ ให้ใช้กากถั่วเหลือง = X กก. ในอาหาร 100 กก. รำละเอียดต้องใช้ = 100 – X กก. • จากโจทย์ :ในอาหาร 100 กก. ต้องการโปรตีน 16 % หรือ 16 กก.
คำนวณสูตรอาหารใช้วัตถุดิบ 2 ชนิด(ต่อ) • โปรตีนของ SBM + RB = 16 • 0.45X + ( 100 – X ) ( 0.10 ) = 16 • 0.45X + 10 - 0.10X = 16 • 0.45X - 0.10X = 6 • 0.35X = 6 • X = 17.14 • ต้องใช้ กากถั่วเหลือง = 17.14 กก. • และใช้รำละเอียด 100 - 17.14 = 82.86 กก.
การคำนวณแบบ Pearson’s square ขั้นตอน: • กำหนดรูปสี่เหลี่ยมลากเส้นทแยงมุม • ใส่ค่าโปรตีนในวัตถุดิบที่มุมด้านซ้ายของสี่เหลี่ยม • ใส่ค่าโปรตีนที่ต้องการตรงกลางรูปสี่เหลี่ยม • ลบตัวเลขตามเส้นทแยงมุม ให้ใช้ค่ามากเป็นตัวตั้ง
การคำนวณแบบ Pearson’s square • 5.ค่าที่ได้ที่มุมบนขวาคือสัดส่วนของวัตถุดิบที่มุมบนซ้าย • 6.ค่าที่ได้ที่มุมลางขวาคือค่าวัตถุดิบที่มุมล่างซ้าย • 7.รวมตัวเลขทางขวามือคือสัดส่วนทั้งหมดในอาหารผสม • 8.เทียบสัดส่วนเป็นร้อยละ รำละเอียด 1029 กากถั่วเหลือง 456 35 • คิดเป็นกากถั่วเหลือง =17.14 และรำละเอียด =82.86 กก. สัดส่วนของรำละเอียด 16 สัดส่วนของกากถั่วเหลือง สัดส่วนของอาหารผสม
ใช้วัตถุดิบ >2 ชนิดและกำหนดปริมาณวัตถุดิบบางชนิด ตัวอย่างที่ 2 ผสมอาหาร 100 กก. ให้มีโปรตีน 16 % ใช้หญ้าแห้งบด 20 กก. ข้าวโพดป่น 10 กก. ไวตามินและแร่ธาตุรวม 5 กก. จะต้องใช้รำสกัดน้ำมัน (RM) และกากถั่วเหลือง (SBM) เท่าใด รำสกัดน้ำมันมีโปรตีน 14% กากถั่วเหลืองมีโปรตีน 45% หญ้าแห้งมีโปรตีน 6% ข้าวโพดป่นมีโปรตีน 10% ไวตามินและแร่ธาตุรวมมีโปรตีน 0% ใช้วิธีคณิตศาสตร์ • ปริมาณรำสกัดฯและกากถั่วเหลือง = 100 – ผลรวมของวัตถุดิบที่กำหนด = 100 - ( 20 + 10 + 5 ) = 65 กก.
ใช้วัตถุดิบ >2 ชนิดและกำหนดปริมาณวัตถุดิบบางชนิด • กำหนดให้ กากถั่วเหลือง = X กก. ในอาหาร 65 กก. • ดังนั้น รำสกัดน้ำมัน = 65 – X กก. • โปรตีนที่ต้องการ=16 % • หาโปรตีนในวัตถุดิบที่กำหนดคือ หญ้าแห้งบด+ข้าวโพดป่น+ไวตามินฯ • โปรตีนในวัตถุดิบที่กำหนด =1.2+0.1+0= 1.3 กก. • ต้องการโปรตีนอีก=16-1.3 (14.7) ในอาหารผสมที่มีรำสกัดและกากถั่ว
ใช้วัตถุดิบ >2 ชนิดและกำหนดปริมาณวัตถุดิบบางชนิด • อาหารผสม 65 กก. ต้องมีโปรตีน = 14.7 กก. • 0.45x + (65-x)0.14 = 14.7 • 0.45x+ 9.1- 0.14x = 14.7 • 0.31x = 5.6 • x = 18.06 • กากถั่วเหลือง = 18.06 กก. • รำสกัดน้ำมัน = 65-18.06= 46.94 กก.
ใช้วัตถุดิบ > 2 ชนิดมีการกำหนดปริมาณและสัดส่วน ตัวอย่างที่ 3 ผสมอาหาร 100 กก. ให้มีโปรตีน 14 % ใช้หญ้าแห้งบด 20 กก. รำละเอียดและข้าวโพดป่นในอัตราส่วน 60 : 40 และกากฝ้าย จงหาปริมาณของ รำละเอียด ข้าวโพดป่นและกากฝ้ายในอาหารผสม รำละเอียดมีโปรตีน 12% ข้าวโพดป่นมีโปรตีน 10% หญ้าแห้งมีโปรตีน 8% กากฝ้ายมีโปรตีน 40% ใช้วิธีคณิตศาสตร์ • ส่วนผสมที่มีรำละเอียด+ข้าวโพด +กากฝ้าย = 80 กก.(100-20) • ในอาหาร 80 กก. ถ้ารำละเอียด+ ข้าวโพดป่น (60 : 40) = X กก. กากฝ้าย = 80 – X กก.
ใช้วัตถุดิบ > 2 ชนิดกำหนดปริมาณและสัดส่วน(ต่อ) หญ้าแห้ง +[รำ+ ข้าวโพด(60 : 40)] + กากฝ้าย = โปรตีนในอาหารผสม 20x0.08+ [(0.60X) x 0.12 +(0.40 X) x 0.10] +( 80 – X) x 0.40 = 14 1.6 + [ 0.072X +0.04X ] + 32 - 0.40X = 14 0.288X = 19.60 X = 68.06 ต้องใช้ รำละเอียด+ ข้าวโพดป่น (60 : 40) = 68.06 กก. และกากฝ้าย 80 - 68.06 = 11.94 กก. ปริมาณรำละเอียดในอาหารผสม 68.06 x 0.60 = 40.84 กก. ปริมาณข้าวโพดป่นในอาหารผสม 68.06 x 0.40 = 27.22 กก.
ใช้วัตถุดิบ > 2 ชนิดกำหนดปริมาณและสัดส่วน ใช้วิธี Pearson’s squar หาโปรตีนในหญ้าแห้ง 20 กก.=1.6 กก. (0.08 x 20) ส่วนผสม 80 กก. [รำ+ ข้าวโพด (60 : 40)]+ กากฝ้าย ต้องมีโปรตีน= 12.4 กก.(14 - 1.6) หาโปรตีนรวมในส่วนผสม(รำละเอียด+ ข้าวโพดป่น) จำนวน100 กก. รำละเอียด 60 กก. มีโปรตีน = 7.2 กก. ข้าวโพดป่น 40 กก. มีโปรตีน = 4.0 กก. ส่วนผสมรำละเอียด+ ข้าวโพดป่น 100 กก. มีโปรตีน = 11.2 กก. ในส่วนผสม(รำ+ข้าวโพด+กากฝ้าย) 80 กก.ต้องมีโปรตีน = 12.4 กก. ในส่วนผสม 100 กก. ต้องมีโปรตีน = 15.5 กก.
ใช้วัตถุดิบ > 2 ชนิดกำหนดปริมาณและสัดส่วน (ต่อ) รำ+ข้าวโพด 12.4 24.5 กากฝ้าย 40 4.3 ส่วนผสม 28.8 กก.ใช้กากฝ้าย 4.3 กก.และรำ+ข้าวโพด (60 : 40) =24.5 กก. ส่วนผสม 100 กก. จะใช้กากฝ้าย = 14.93 กก.(4.3x100/28.8) ใช้รำละเอียด+ ข้าวโพดป่น (60 : 40) = 85.07 กก. (100 - 14.93) ในส่วนผสม 80 กก.ต้องใช้กากฝ้าย 14.93 x 80/100 =11.94 กก. เป็นส่วนผสม(รำ+ข้าวโพด) = 68.06 กก. คิดเป็นรำ =68.06x.60=40.84 กก. เป็นข้าวโพดป่น =27.22 กก. 15.5 28.8
คำนวณโภชนะสมดุล 2 กลุ่มใช้วัตถุดิบ >2 ชนิด ตัวอย่างที่ 4 ผสมอาหาร 100 กก. ให้มีโปรตีน 12 % และ TDN 74% โดยใช้หญ้าแห้งบด ข้าวโพดป่น และกากถั่วเหลืองที่มีโปรตีน 8,10, 40% และมี TDN 55, 80,80 %ตามลำดับ จงหาปริมาณของส่วนผสม วิธี Pearson’s square ครั้งที่ 1 หาส่วนผสมที่ 1 โดยใช้วัตถุดิบ 2 ชนิด ให้มีโปรตีน 12% TDN > 74% SBM 40 2 ส่วนผสมที่ 1 จำนวน 30 กก.เป็น กากถั่วเหลือง 2 กก.ข้าวโพด 28 กก. corn 10 28 ส่วนผสมที่ 1 จำนวน 100 กก.เป็นกากถั่วเหลือง 6.67 กก. เป็นข้าวโพด 93.33 กก. 12 30
คำนวณโภชนะสมดุล 2 กลุ่มใช้วัตถุดิบ >2 ชนิด กากถั่วเหลือง 6.67 กก. มี TDN = = 5.34 % (6.67 x 0.80) ข้าวโพดป่น 93.33 กก. มี TDN = = 74.66 % (93.33 x 0.80) รวมส่วนผสมที่ 1 (กากถั่วเหลืองและข้าวโพดป่น) 100 กก. มี TDN = 80.00 % ครั้งที่ 2 หาส่วนผสมที่ 2 โดยใช้วัตถุดิบ 2 ชนิด ให้มีโปรตีน 12% TDN < 74% SBM 40 4 ส่วน 12 Hay 8 28 ส่วน 32 ถ้าส่วนผสม 100 กก. ใช้กากถั่วเหลือง = 12.5 กก. (4 x 100/32 ) มีTDN 10% ใช้หญ้าแห้ง = 87.5 กก.(28x100/32) มีTDN48.13% ในส่วนผสมที่ 2 จำนวน 100 กก. มี TDN = 58.13 %
คำนวณโภชนะสมดุล 2 กลุ่มใช้วัตถุดิบ >2 ชนิด(ต่อ) หาส่วนผสมที่ 3ให้มี TDN >74% โดยใช้ส่วนผสมที่ 1 และ 2 ส่วนผสมที่ 1 มี 80 15.87 ส่วน 74 ส่วนผสมที่ 2 มี 58.13 6 ส่วน ผลรวมส่วน = 21.87 ส่วนผสมที่ 3 จำนวน 21.87 กก. ใช้ส่วนผสมที่ 1 = 15.87 กก. ส่วนผสมที่ 3 100 กก. ใช้ส่วนผสมที่ 1 = 72.57 กก. (15.87 x 100/21.87) ส่วนผสมที่ 1 จำนวน 100 กก. มีกากถั่วเหลือง = 6.67 กก. ส่วนผสมที่ 1 จำนวน 72.57 กก. มีกากถั่วเหลือง = 4.84 กก. (6.67x 0.7257) มีข้าวโพดป่น = 72.57-4.84 = 67.73 กก.
คำนวณโภชนะสมดุล 2 กลุ่มใช้วัตถุดิบ >2 ชนิด(ต่อ) ส่วนผสมที่ 3 จำนวน 21.87 กก. ใช้ส่วนผสมที่ 2 = 6 กก. ส่วนผสมที่ 3 100 กก. ใช้ส่วนผสมที่ 2 = 27.43 กก. (6 x100/ 21.87) ส่วนผามที่ 2 จำนวน 100 กก. มีกากถั่วเหลือง = 12.50 กก. ส่วนผสมที่ 2 จำนวน 27.43 กก. มีกากถั่วเหลือง = 12.50 x .2743 = 3.43 กก. ส่วนผามที่ 2 จำนวน 100 กก. มีหญ้าแห้ง = 87.50 กก. ส่วนผสมที่ 2 จำนวน 27.43 กก. มีหญ้าแห้ง = 87.50 x .2743 = 24.00 กก. ในสูตรอาหารใช้ กากถั่วเหลือง = 3.43+4.84 = 8.27 กก. หญ้าแห้ง = 24.0 กก. ข้าวโพดป่น =67.73 กก.
ตัวอย่างที่ 5 โคขุนมีน้ำหนัก 250 กก. กินหญ้าสดอย่างเต็มที่ ความต้องการโภชนะต่อวัน คือ โปรตีน 0.61 กก./ตัว /วัน และ TDN 3.6 กก./ตัว/วัน กำหนดให้หญ้าสดมีวัตถุแห้ง 24.4% มีโปรตีน 7.38 % ในวัตถุแห้ง และ TDN 50 % ในวัตถุแห้ง จะต้องใช้หญ้าสดเลี้ยงโคในแต่ละวันเป็นจำนวนกี่กิโลกรัม แต่ละวันต้องการ TDN จากหญ้าสด = 3.6 กก. หญ้าสดมี TDN 50 กก. จากวัตถุแห้ง = 100 กก. TDN 3.6 กก. จากวัตถุแห้ง = 7.2กก. วัตถุแห้งในหญ้าสด 24.4 กก. คิดเป็นหญ้าสด= 100 กก. ต้องการวัตถุแห้ง 7.2 กก. คิดเป็นหญ้าสด = 29.51 กก. ในหญ้าสด 29.15 กก. มีโปรตีน = 29.15x0.738 = 0.531 กก. โคกินหญ้าเต็มที่ได้ TDN เพียงพอแต่โปรตีนไม่เพียงพอ ขาด= 0.61-0.531= 0.079 กก. ถ้าต้องการเสริมอาหารข้นโปรตีน 12% จำนวน = 0.658 กก. (0.079x0.12) คิดเป็นอาหารข้น = 0.774 กก.(อาหารข้นมีวัตถุแห้ง 90%)