230 likes | 460 Views
สาธิตการใช้ผลิตภัณฑ์อินทรีย์บางชนิดเพื่อเพิ่มผลผลิต และคุณภาพของหอมแดงในกลุ่มชุดดินที่ 35 จังหวัดศรีสะเกษ. โดย นายยุทธสงค์ นามสาย กลุ่มวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดิน สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 3. ความสำคัญ.
E N D
สาธิตการใช้ผลิตภัณฑ์อินทรีย์บางชนิดเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของหอมแดงในกลุ่มชุดดินที่ 35 จังหวัดศรีสะเกษ โดยนายยุทธสงค์นามสาย กลุ่มวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดิน สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 3
ความสำคัญ หอมแดงเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดศรีสะเกษ ทำรายได้ให้จังหวัดประมาณ 400-700 ล้านบาทต่อปี อำเภอยางชุมน้อย เป็นแหล่งผลิตที่สำคัญที่สุดของจังหวัด เป็นพืชที่สามารถสร้างงานสร้างรายได้ให้กับคนในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันเกษตรกรมีการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกันมาก ทำให้มีต้นทุนที่ค่อนข้างสูง และอาจมีสารพิษตกค้างในผลผลิตได้ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกรและประชาชนผู้บริโภค ในฐานะเป็นนักวิชาการในพื้นที่ ที่มีการผลิตหอมแดงเพื่อการค้าเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ และกรมพัฒนาที่ดินมีผลิตภัณฑ์ พด. ที่ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้หลายชนิด มีแนวคิดอยากส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของกรมฯ ในการผลิตหอมแดง เพื่อช่วยให้ได้ผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ ปลอดภัย และลดต้นทุนการผลิต แต่เพื่อให้การแนะนำส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์อินทรีย์กับการผลิตหอมแดง เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องศึกษาเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนว่าผลิตภัณฑ์อินทรีย์ต่าง ๆ นั้น มีผลดี และสามารถช่วยยกระดับผลผลิตหอมแดงได้ดีมากน้อยเพียงใด
วัตถุประสงค์ • เพื่อศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยพืชสด โดโลไมท์ ปุ๋ยพืชสด ผลิตภัณฑ์อินทรีย์ พด.2 พด.3 พด.7 แลปุ๋ยเคมีที่มีผลต่อผลผลิตและคุณภาพหอมแดงในกลุ่มชุดดินที่ 35 • เพื่อศึกษาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจากการใช้ปุ๋ยพืชสด โดโลไมท์ ผลิตภัณฑ์พด.2 พด.3 พด.7 และปุ๋ยเคมีในการปลูกหอมแดงในกลุ่มชุดดินที่ 35
อุปกรณ์ 1.เมล็ดพันธุ์ถั่วพร้า หัวพันธุ์หอมแดง 2. ปูนโดโลไมท์ (อัตรา 920 กก./ไร่ ตามความต้องการปูนของดิน) 3.ปุ๋ยหมัก(สำหรับผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ ผลิตภัณฑ์ พด.3) 4.ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 5.สารเคมีป้องกันวัชพืชและโรค - แมลง 6.วัสดุคลุมดิน (ฟางข้าว) 7.สารเร่ง พด.2 3 7 สำหรับทำผลิตภัณฑ์ พด. -ผลิตภัณฑ์ พด.2 คือ น้ำหมักชีวภาพที่ผลิตจากสารเร่ง พด.2 - ผลิตภัณฑ์ พด.3 คือ ปุ๋ยหมักชีวภาพควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืชที่ผลิตจากสารเร่ง พด.3 - ผลิตภัณฑ์ พด.7 คือ สารสกัดสมุนไพรป้องกันแมลงศัตรูพืชที่ผลิตจากสารเร่ง พด.7
การดำเนินงาน 1. การใส่ผลิตภัณฑ์ พด.3(ปุ๋ยหมักชีวภาพควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืชจากสารเร่ง พด.3) ใส่พร้อมการเตรียมดินครั้งสุดท้าย โดยหว่านให้ทั่วทั้งแปลงใน อัตรา 100 กก. /ไร่ 2.ปูนโดโลไมท์ ใส่หลังเตรียมดินครั้งสุดท้ายก่อนปลูกหอมแดง 3.การใช้น้ำหมักชีวภาพ พด.2 ใช้วิธีฉีดพ่นทางใบในอัตรา 20 ลิตร/ไร่/ครั้ง (ผสมกับน้ำ1:400) ฉีดพ่นทุก15วัน ตั้งแต่อายุ15วันจนถึง60วัน(จำนวน 4 ครั้ง)
4. การปลูกและสับกลบพืชปุ๋ยสดปลูกประมาณ ก.ค-ส.ค) อัตราเมล็ดพันธุ์ 10 กก./ไร่ ด้วยวิธีหว่านเมล็ดแล้วคราดกลบ สับกลบเมื่ออายุ 50 วัน5. การปลูกหอมแดง ระยะปลูก 15 x 15 ซ.มก่อนปลูกต้องรดน้ำแปลงให้มีความชื้นพอเหมาะ ให้ลึกประมาณครึ่งหัว คลุมแปลงด้วยฟางข้าว อัตราประมาณ 800 กก./ไร่ (ปลูกหอมแดงกลางเดือนต.ค พร้อมกันทุกแปลง)
วิธีการทดลอง • ดำเนินการทดลองแบบ Observation Trial มี 5 วิธีการ ดังนี้
วิธีการที่ 1 CHECK(ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช)
วิธีการที่ 2 วิธีเกษตรกร (ใช้ปุ๋ยเคมี 13-13-21 อัตรา 80 กก./ไร่+สารเคมีกำจัดวัชพืช และศัตรูพืช)
วิธีการที่ 3 ปุ๋ยพืชสด ปูนโดโลไมท์ ผลิตภัณฑ์ พด.1 2 3 7 (ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมี)
วิธีการที่ 4 ปุ๋ยพืชสด โดโลไมท์ ผลิตภัณฑ์ พด.1 2 3 7 +ปุ๋ยเคมี 13-13-21 อัตรา 40 กก./ไร่
วิธีการที่ 5 ปุ๋ยพืชสด โดโลไมท์ ผลิตภัณฑ์ พด.1 2 3 7 +ปุ๋ยเคมี 13-13-21 อัตรา 40 กก./ไร่
2. มวลชีวภาพพืชปุ๋ยสด(กก./ไร่)
4. จำนวนหัวหอมแดงต่อกิโลกรัม
5.ต้นทุนและผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจ(บาทต่อไร่)5.ต้นทุนและผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจ(บาทต่อไร่)
รายละเอียดต้นทุนพื้นฐาน (บาท/ไร่)
สรุปผลการทดลอง • การที่ใช้ปุ๋ยพืชสด โดโลไมท์ และผลิตภัณฑ์ พด.2,3 และ7 สมบัติของดินมีแนวโน้มดีขึ้น • การใช้ปุ๋ยพืชสด โดโลไมท์ และผลิตภัณฑ์ พด.2,3 และ7 ให้ผลผลิตหอมแดงเพิ่มขึ้นจาก Control51% และเมื่อใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี ได้ผลผลิตเพิ่ม 63%-66% ขณะที่การใช้ปุ๋ยเคมีอัตรา 80 กก./ไร่และใช้สารเคมีป้องกันกำจัดวัชพืช-ศัตรูพืช (วิธีเกษตรกร) ให้ผลผลิตเพิ่ม 66% เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามวการที่ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมี(วิธีการของเกษตรกร) กับการใช้ปุ๋ยพืชสด โดโลไมท์ และผลิตภัณฑ์ พด.2,3 และ7 (ไม่ใช้สารเคมี) แต่ใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี พบว่า ให้ผลผลิตไม่แตกต่างกัน • จำนวนหัวหอมแดงต่อกิโลกรัมพบว่าการใช้ปุ๋ยพืชสด โดโลไมท์ และผลิตภัณฑ์ พด.2,3 และ7ทั้งที่ใช้โดยไม่ใช้สารเคมี หรือใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี มีจำนวนหัวต่อกิโลกรัมน้อยกว่าการใช้ปุ๋ยเคมี (วิธีการของเกษตรกร) แสดงว่าหอมแดงมีขนาดของหัวที่โตกว่า และมีคุณภาพดีกว่า • การผลิตหอมแดงมีต้นทุนค่อนข้างสูง (ระหว่าง 11,550- 18,340 บาท/ไร่)โดยการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีมีต้นทุนที่สูงที่สุด สูงกว่าการที่ใช้ปุ๋ยพืชสด โดโลไมท์ และผลิตภัณฑ์ พด.2,3 และ7 (ไม่ใช้สารเคมี) 23.9% สำหรับผลตอบแทนที่เป็นกำไรพบว่า ทั้งวิธีของเกษตรกร และ วิธีการใช้ปุ๋ยพืชสด+โดโลไมท์+ ผลิตภัณฑ์ พด.2,3,7 ทั้งที่ไม่ใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี และใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีต่างให้ผลตอบแทนที่เป็นกำไร มีเพียงแปลงควบคุมเท่านั้นที่ให้ผลตอบแทนขาดทุน
ข้อคิดเห็นและเสนอแนะ 1.) การใช้ผลิตภัณฑ์ พด. ซึ่งไม่ใช้สารเคมีสำหรับป้องกันกำจัดวัชพืช มีปัญหาเรื่องวัชพืชรบกวนมาก ซึ่งการจัดการวัชพืชในแปลงหอมต้องใช้แรงงานคนเท่านั้น ทำให้เกิดต้นทุนในการกำจัดวัชพืชค่อนข้างสูง (1,500 บาท/ไร่) ซึ่งถ้าหากลดต้นทุนส่วนนี้ได้จะทำให้การใช้ผลิตภัณฑ์ พด.มีกำไรที่เพิ่มขึ้น และ การถอนวัชพืชในแปลงมีผลกระทบกระเทือนต่อการเจริญเติบโตของหอมแดงค่อนข้างมาก อันอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่กระทบต่อการให้ผลผลิต 2.) ควรมีการนำผลิตภัณฑ์พัฒนาที่ดินชนิดอื่น ๆ เช่น สารเร่ง พด.12 ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงสูตรกรมพัฒนาที่ดิน มาร่วมทดสอบด้วย 3.) น่าจะมีการศึกษาผลของการใช้ผลิตภัณฑ์พัฒนาที่ดินที่มีต่อคุณภาพในด้านการเก็บรักษาผลผลิตหอมแดง(หัวฝ่อ) น่าจะเกิดประโยชน์ได้มากยิ่งขึ้น
ขอแสดงความขอบคุณสวัสดีครับขอแสดงความขอบคุณสวัสดีครับ