1 / 18

วรรณคดีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

วรรณคดีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์.

kanan
Download Presentation

วรรณคดีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วรรณคดีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์วรรณคดีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

  2. ๑.  สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นเริ่มตั้งแต่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ใน พ.ศ.๒๓๒๕ จนกระทั่งปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ใน พ.ศ. ๒๓๖๗๒.  สมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลางเริ่มในระหว่างรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจนกระทั่งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวคือระหว่าง พ.ศ. ๒๓๖๗ – พ.ศ. ๒๔๗๕๓.  สมัยรัตนโกสินทร์ปัจจุบัน (หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง) เริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง แบ่งออกตามพัฒนาการของวรรณคดีได้๓ระยะ

  3. ลักษณะทั่วไป เมื่อบ้านเมืองรุ่งเรืองและสงบสุขอีกครั้ง กิจการด้านศิลปวัฒนธรรมก็ย่อยเจริญรุ่งเรืองตามด้วย วรรณกรรมและวรรณคดีจำนวนมากได้รีบการฟื้นฟู ซึ่งที่จริงก็ ได้มีการฟื้นฟูมาบ้างแล้วในสมัยกรุงธนบุรี ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ ๑ ก็ได้รับการฟื้นฟูต่อไปอีก เพราะทรงเห็นว่าพระนครที่สร้างขึ้นใหม่จะขาดสิ่งสำคัญคือวรรณกรรมและวรรณคดีไม่ได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิต ทั้งพระสงฆ์และฆราวาสช่วยกันสร้างสรรค์งานวรรณกรรมอย่างรีบด่วน ใครถนัดด้านใดก็ให้ขวนขวายทำทางนั้น

  4. ที่มา มีส่วนสืบเนื่องและมีที่มาสำคัญจากวรรณกรรมและวรรณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยา ผลงานจำนวนมากปรากฏแบบแผนและวิธีการทุกประเภทเด่นชัดตามแบบอย่างกรุงศรีอยุธยา

  5. วรรณคดีที่สำคัญ บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๑ บทละครเรื่องอิเหนาพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ บทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ลิลิตตะเลงพ่าย พระราชพิธีสิบสองเดือน นิทานคำกลอน เรื่องพระอภัยมณี

  6. บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๑   พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ทรงพระ ราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ขึ้นเพื่อใช้ในพิธีสมโภชพระนครใหม่  คือ กรุง รัตนโกสินทร์ ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๒๘ - ๒๓๒๙ เนื้อเรื่องประกอบด้วยเรื่องราวน่ารู้ ต่างๆ เริ่มด้วยหิรัญยักษ์ม้วนแผ่นดิน และกำเนิดตัวละครสำคัญๆทั้งฝ่ายยักษ์ ลิง และมนุษย์ แล้วจึงดำเนินเรื่องการสู้รบระหว่างพระรามกับทศกัณฐ์ซึ่งต้องสู้รบกัน หลายครั้งกว่าจะได้ชัยชนะเด็ดขาด   ประกอบด้วยเรื่องราวที่น่าตื่นเต้นและเรื่อง แทรกที่สนุกสนานบันเทิง เสริมด้วยอารมณ์ขัน ทำให้เรื่องราวมีสีสันเหมาะสมกับ การแสดงละคร ทั้งยังให้คติธรรมที่ว่า ธรรมย่อมชนะอธรรม และยกย่องความ ซื่อสัตย์ ความกตัญญู บทละครเรื่องนี้ได้รับความนิยมจากคนไทยทุกยุคทุกสมัย

  7. ตัวอย่าง ตอนกุมภกรรณลับหอกโมกขศักดิ์ บอกชื่อเพลงโอด ดังนี้ ฯ๒คำฯ โอด     เมื่อนั้น                       ทศเศียรสุริยวงศ์รังสรรค์  เห็นน้องท้าวเจ็บปวดจาบัลย์   กุมภัณฑ์ตระหนกตกใจ    จึ่งมีพระราชบัญชา            เจ้าผู้ฤทธาแผ่นดินไหว ออกไปรณรงค์ด้วยพวกภัย       เหตุใดจึ่งเป็นดั่งนี้ฯ

  8. อิเหนา วรรณคดีเก่าแก่เรื่องหนึ่งของไทย เป็นที่รู้จักกันมานาน เข้าใจว่าน่าจะ เป็นช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยได้ผ่านมาจากหญิงเชลยปัตตานี ที่เป็น ข้าหลวงรับใช้พระราชธิดาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศโดยเล่าถวายเจ้าฟ้า กุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ พระราชธิดา จากนั้นพระราชธิดาทั้งสองได้ทรงแต่งเรื่อง ขึ้นมาองค์ละเรื่อง เรียกว่าอิเหนาเล็ก (อิเหนา) และอิเหนาใหญ่ (ดาหลัง) ประวัติดังกล่าวมีบันทึกไว้ในพระราชนิพนธ์อิเหนา ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ดังนี้ อันอิเหนาเอามาทำเป็นคำร้องสำหรับงานการฉลองกองกุศล ครั้งกรุงเก่าเจ้าสตรีเธอนิพนธ์ แต่เรื่องต้นตกหายพลัดพรายไปฯ

  9. บทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนบทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน บางตอนกล่าวถึงพระมหากษัตริย์ บ้าง แต่มิได้ต้องการแสดงเรื่องราวของพระมหากษัตริย์  นับได้ว่าเป็นเรื่องราวของ คนไทยแท้ ๆ โดยมิได้ดัดแปลงจากวรรณกรรมของชาติอื่น ตัวละครในเรื่องมีชีวิต จิตใจราวกับคนจริงๆ ที่มีชีวิตอย่างคนธรรมดาซึ่งมีทั้งทุกข์และสุข ความสมหวัง และความผิดหวัง แก่นสำคัญของเรื่องกล่าวถึงรักสามเส้าของขุนแผน ขุนช้าง และ นางพิมหรือนางวันทอง การดำเนินเรื่องเริ่มต้นตั้งแต่ชีวิตวัยเด็กของตัวละครเอกทั้ง สาม ความสมหวังในรักของขุนแผนหรือพลายแก้วกับนางพิม แล้วกลายเป็นการ พลัดพรากจากกัน ไปสู่ความสมหวังในรักของขุนช้างที่มีต่อนางพิม เกิดการแย่งชิง ความรักกันระหว่างขุนช้างกับขุนแผน

  10. ขณะเดียวกัน ผู้อ่านผู้ฟังเสภาเรื่องนี้จะได้รับสารประโยชน์เกี่ยวกับค่านิยม ของคนไทยในด้านไสยศาสตร์และโหราศาสตร์ประเพณีต่างๆ ลักษณะของชีวิตความ เป็นอยู่สำนวนภาษา คำคมที่จับใจ และสุภาษิต การใช้ภาษาในบทเสภาเรื่องขุนช้าง ขุนแผนเป็นตัวอย่างที่คนไทยยึดถือและจดจำได้อย่างขึ้นใจ ตัวอย่างโวหารขุนแผนกล่าวย้ำความรักที่มีต่อวันทอง  "...โอ้แสนสุดสวาทของพี่เอ๋ย    อย่าคิดเลยพี่หาเป็นเช่นนั้นไม่    อันตัวเจ้าท่าเทียมกับดวงใจ    สิ้นสงสัยแล้วเจ้าอย่าเสียดแทง    พี่รักเจ้าเท่ากับเมื่อแรกรัก    ด้วยประจักษ์เห็นใจไม่กินแหนง..."

  11. ลิลิตตะเลงพ่าย เค้าเรื่องมาจากพงศาวดารสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  กล่าวถึง การเสด็จเสวยราชสมบัติสืบต่อจากพระราชบิดา และมีพระราชประสงค์ที่จะเสด็จ ไปตีเขมร เพื่อเป็นการแก้แค้นเขมรที่ยกทัพมาตีชายแดนไทย ต่อจากนั้น เนื้อเรื่อง กล่าวถึงพระเจ้าหงสาวดีโปรดให้พระมหาอุปราชากรีฑาทัพมาตีไทย เมื่อสมเด็จ พระนเรศวรทรงทราบข่าวศึกก็ยกทัพเสด็จออกไปทำศึกนอกพระนครระหว่างที่ทัพ พม่าปะทะกับทัพหน้าของไทย ช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวร และของสมเด็จ พระเอกาทศรถตกมันวิ่งเข้าไปท่ามกลางข้าศึกตามลำพัง สมเด็จพระนเรศวรทรง ระงับความตกพระทัย และตรัสท้าพระมหาอุปราชากระทำสงครามยุทธหัตถี

  12. สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถทรงได้รับชัยชนะ เมื่อเลิกทัพ กลับพระนคร สมเด็จพระนเรศวรทรงปูนบำเหน็จรางวัลแก่ทหารผู้มีความชอบ และ ลงโทษประหารทหารที่ติดตามพระองค์ไม่ทัน ทั้งนี้เป็นไปตามกฎมณเฑียรบาล แต่ สมเด็จพระวันรัตวัดป่าแก้วได้กราบทูลขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่ทหารเหล่านั้น สมเด็จพระนเรศวรทรงยินยอมและโปรดให้ไปทำสงครามแก้ตัว หลังจากนั้นทรง ดำเนินพระราชกรณียกิจต่อ ด้วยการทำนุบำรุงหัวเมืองเหนือ และรับทูตจากเมือง เชียงใหม่ที่มาขอเป็นเมืองขึ้น

  13. ตัวอย่าง โวหารแสดงความโกรธจากลิลิต ตะเลงพ่าย ตอนที่สมเด็จพระ นเรศวรมหาราชทรงปรารภเรื่องที่จะไปปราบเขมร เนื่องจากเขมรมักจะยกทัพ มาตีไทยระหว่างที่ไทยมีศึกกับพม่าทรงรู้สึกโกรธและเจ็บช้ำพระทัย ทำให้คิด อะไรก็หมดความรื่นรมย์ จึงต้องยกทัพไปปราบให้หายแค้น ดังนี้     "...คลุ้มกมลแค้นคั่ง ดังหนามเหน็บเจ็บช้ำ ย้ำ      ยอกทรวงดวงแด แลบชื่นอื่นชม..."      "...ครานี้กูสองตน ผ่านสกลแผ่นหล้า ควรไป      ร้ารอนเข็น เห็นมือไทยที่แกล้ว แผ้วภพให้เป็น      เผื่อน เกลื่อนภพให้เป็นพง..."

  14. พระราชพิธีสิบสองเดือน เนื้อเรื่องกล่าวถึงพระราชพิธีต่างๆที่กระทำในแต่ละเดือนตลอดทั้งปีทรง อธิบายตำราเดิมของพระราชพิธี การแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือเลิกพิธี เพื่อให้ผู้อ่าน ได้รับถึงปลายปียกเว้น พิธี เดือน ๑๑ ที่มิได้รวมไว้ ทรงศึกษาค้นคว้าข้อมูลทั้งจาก ตำราและจากคำบอกเล่าของบุคคลเช่น  พระมหาราชครู พราหมณ์ผู้ทำพิธี และจาก การสังเกตเหตุการณ์ที่ทรงคุ้นเคย นับได้ว่าหนังสือเล่มนี้มีคุณค่าทางด้าน สังคมศาสตร์ ทรงใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย และเขียนอธิบายตามลำดับจากง่ายไปสู่ยาก จากอดีตมาสู่ปัจจุบัน เหมาะสมกับการเป็นคำอธิบายชี้แจงให้เกิดความรู้ความเข้าใจ

  15. ตัวอย่าง พระราชพิธีลอยพระประทีป    "การลอยพระประทีปลอยกระทงนี้ เป็น    นักขัตฤกษ์ที่รื่นเริงทั่วไปของชนทั้งปวงทั่วไป ไม่    เฉพาะแต่การหลวง แต่จะนับว่าเป็นพระราชพิธี    อย่างใดก็ไม่ได้ ด้วยไม่ได้มีพิธีสงฆ์ พิธีพราหมณ์    อันใดเกี่ยวข้องเนื่องในการลอยพระประทีปนั้น    เว้นไว้แต่จะเข้าใจว่า ตรงกับคำว่าลอยโคมลงน้ำ    เช่นกล่าวมาแล้ว แต่ควรนับว่าเป็นราชประเพณี    ซึ่งมีมาในแผ่นดินสยามแต่โบราณ..."

  16. นิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณีนิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณี กล่าวถึงเรื่องราวชีวิตและการผจญภัยที่สนุกสนาน ตื่นเต้น มีทั้งสุขและ ทุกข์ของตัวเอก คือ พระอภัยมณี ซึ่งมีลักษณะที่แปลกใหม่แตกต่างไปจากตัวเอก ในเรื่องอื่นๆ ที่คนไทยเคยได้ยินได้ฟัง เช่น พระอภัยมณีเดินทางเข้าป่าเพื่อศึกษา หาความรู้เยี่ยงกษัตริย์ในสมัยนั้น แต่มิได้เรียนวิชาศิลปะศาสตร์ กลับเรียนวิชา เป่าปีซึ่งสามารถสะกดคนฟังให้หลับได้ ศรีสุวรรณซึ่งเป็นพระอนุชาของพระอภัย มณีก็เลือกเรียนวิชากระบี่กระบอง การผจญภัยที่ตื่นเต้นของพระอภัยมณี เริ่ม ด้วยพระอภัยมณีถูกนางผีเสื้อสมุทรลักพาไปอยู่กินกับนางในถ้ำใต้น้ำ จนกระทั่ง นางได้ให้กำเนิดบุตรชายชื่อ สินสมุทร

  17. ซึ่งมีฤทธิ์และความสามารถเหนือมนุษย์ธรรมดา สามารถพาพระอภัยมณีหนีนาง ผีเสื้อสมุทรไปสู่อิสรภาพได้ขณะว่ายน้ำหนี ได้มีครอบครัวเงือกช่วยพาไปยังเกาะ แก้วพิสดาร พระอภัยมณีได้เงือกสาวเป็นชายา และมีบุตรชายชื่อ สุดสาคร   การผจญภัยของพระอภัยมณีครั้งต่อไปเป็นการสู้รบกับอุศเรนคู่หมั้นของ นางสุวรรณมาลี พอได้รับชัยชนะก็เดินทางไปยังเมืองผลึก และอภิเษกสมรสกับ นางสุวรรณมาลี นางละเวงขึ้นครองเมืองลังกาและคิดทำศึกกับเมืองผลึก นางใช้ ไสยศาสตร์เป็นอาวุธทำให้พระอภัยมณีคลุ้มคลั่ง และถูกนางละเวงหลอกไปจนถึง เมืองลังกา ต่อมา พระอภัยมณีเบื่อหน่ายการใช้ชีวิตทางโลก จึงออกบวชเป็นฤาษี นางสุวรรณมาลีกับนางละเวงก็ออกบวชเป็นชี ส่วนสินสมุทรได้ครองเมืองผลึก และสุดสาครได้ครองเมืองลังกา

  18. ที่มา • http://www.learners.in.th/blogs/posts/27850 • http://rungfa.chs.ac.th/inaostory.htm • http://guru.sanook.com/enc_preview.php?id=963&title=

More Related