320 likes | 502 Views
ยินดีต้อนรับ ผู้เข้าร่วมการอบรม. “ การ พ่นและการใช้สารเคมี ในการควบคุมไข้ มาลาเรีย “ ด้วยความยินดียิ่ง. กีฏวิทยามาลาเรีย (Malaria Entomology). ยุงเชื่อว่ามีวิวัฒนาการมานานกว่า 170 ล้านปี ในระหว่างยุคของไดโนเสาร์ ( 206-135 ล้านปี) มีขนาดใหญ่กว่ายุงในปัจจุบัน 3 เท่า. วิ.
E N D
ยินดีต้อนรับ ผู้เข้าร่วมการอบรม “ การพ่นและการใช้สารเคมี ในการควบคุมไข้มาลาเรีย “ ด้วยความยินดียิ่ง
กีฏวิทยามาลาเรีย(Malaria Entomology)
ยุงเชื่อว่ามีวิวัฒนาการมานานกว่า 170 ล้านปี ในระหว่างยุคของไดโนเสาร์ (206-135 ล้านปี) มีขนาดใหญ่กว่ายุงในปัจจุบัน 3 เท่า
วิ วัฒนาการของยุงส่งผลให้ มียุงมากกว่า 3,000 ชนิด และแต่ละปีมีการค้นพบเพิ่มขึ้นอีกราวๆ 20 สายพันธุ์ ยุงมีขนาดเล็ก ส่วนใหญ่เล็กกว่า 15 มม.น้ำหนักยุงอยู่ระหว่าง 2.0-2.5 มก ยุงบินได้เร็วประมาณ 1.5-2.5 กม/ชม
ยุง เคลื่อนตัวได้ว่องไว ด้วยปีกที่สามารถกระพือได้เร็วถึง 600 ครั้งต่อวินาที มากกว่านก humming bird ถึง 10 เท่า นี่คือ ต้นเหตุของเสียงหึ่งๆ ที่เรามักได้ยินเมื่อยุงบินผ่านเราไป
ยุง • ทุกตัวต้องการน้ำหวานจากพืช เพื่อการ • ยังชีพ แต่ยุงเพศเมียเท่านั้นที่ กระหาย • เลือด ด้วยเหตุผลในการขยาย พันธุ์ เพราะเลือดคือแหล่งโปรตีน สำหรับการเจริญเติบโตของไข่
ยุงตัวเมียจะพยายามดื่มเลือด ให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ ระหว่างดื่มกิน มันจะขับน้ำที่ไม่ต้องการออกมา ด้วย การปล่อยหยดน้ำเล็กๆ เพื่อสร้างพื้นที่ให้โปรตีนเพิ่มมากขึ้น
เป็นปัจจัยกำหนดบทบาทของยุงพาหะเป็นปัจจัยกำหนดบทบาทของยุงพาหะ --Anthropophagic ชอบเลือดคนละสัตว์ --Zoophilic ชอบเลือดสัตว์ --Ornithophilic ชอบเลือดคน การเลือกเหยื่อ ( host selection )
Culexpipiensในเขตอบอุ่นเหนือเป็นพาหะนำ West Nile virus และ Coquillettidiametallicaในทวีปอัฟริกาชอบกินเลือดนก Cx. tritaeniorhynchusพาหะนำไข้สมองอักเสบชอบกินเลือดหมูและวัวควาย Aedesaegyptiยุงลายบ้านชอบกินเลือดคน
ปลาตีน mudskippers แหล่งอาหารยุง
บินแบบสุ่ม (randomflight) ขึ้นอยู่กับความ เร็ว และทิศทางของลม • บินทวนลม (orientedupwindflight) ขึ้นอยู่กับสารล่อที่ขับออกมาจากเหยื่อ
ยุงไม่สามารถตรวจหาเลือดภายในตัวเหยื่อในระยะไกลได้ ดังนั้นยุงจึงวิวัฒนาการความ สามารถในการตามหาเหยื่อจาก สารที่ขับออกมาจากเหยื่อที่มีเลือด ไคโรโมน kairomone
ลมหายใจออกของเราคาร์บอนไดออกไซด์ลมหายใจออกของเราคาร์บอนไดออกไซด์ • ความเข้มข้นของ CO2ที่เพิ่มขึ้นเพียง 0.01% กระตุ้นต่อมตรวจจับ CO2บนหนวดยุง และถ้าเพิ่มถึง 0.03% จะมีผลต่อพฤติกรรมของยุง โดยเฉพาะการเลือกเหยื่อ (host preference) • สารเคมีที่ขับออกมากับเหงื่อเช่น lactic acid, acetone, octenolเสริมฤทธิ์ของ CO2
ยุงมองหาเหยื่อด้วยระบบตรวจจับอันเยี่ยมยอดประกอบด้วยยุงมองหาเหยื่อด้วยระบบตรวจจับอันเยี่ยมยอดประกอบด้วย ดวงตา (eye)ขนาดใหญ่ที่มีเลนส์ขนาดจิ๋วนับร้อย งวง(palpi)เป็นเซ็นเซอร์ระยะสั้นคล้ายๆกับจมูกและ เสาอากาศ(antennae)เป็นเซ็นเซอร์ระยะไกลสามารถ ตรวจจับความร้อน, CO2รวมทั้ง lactic acidที่ขับมาจาก ผิวหนังของเราและสัตว์อื่นๆ
เจิดสุดา !!! ถอนปากออกเร็ว .... เธอดูดโดนเส้นเลือดใหญ่เข้าแล้ว ....
แหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงก้นปล่องแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงก้นปล่อง An.dirus An. aconitus An. sundaicus • An. sundic An. maculatus and An. Minimus
ไข้มาลาเรีย Malaria fever
เมื่อยุงก้นปล่องตัวเมียกัดคนที่มีเชื้อมาลาเรียระยะแกมีโตซัยท์ในกระแสเลือด เชื้อเหล่านี้จะผสมพันธุ์กันเป็นไซโกต (zygote) เจริญเป็นเชื้อมาลาเรียระยะโอโอซิสต์ฝังตัวที่กระเพาะยุง แล้วแบ่งตัวเป็นเชื้อมาลาเรียระยะสปอโรซอยต์ไปยังต่อมน้ำลาย เพื่อรอการกัดของยุงอีกครั้ง การเจริญของเชื้อมาลาเรียในยุง
เมื่อยุงก้นปล่องตัวเมียซึ่งมีเชื้อมาลาเรียกัดคน ยุงจะปล่อยเชื้อมาลาเรียระยะสปอโรซอยต์ จากต่อมน้ำลายเข้าสู่กระแสเลือดของคน จากนั้นเชื้อจะเดินทางไปที่ตับ และเกิดการแบ่งเซลแบบไม่อาศัยเพศ ทำให้ได้เชื้อมาลาเรียระยะเมโรซอยต์ (merozoite) นับพันตัว ต่อจากนั้นเซลตับจะโตและแตกออก ปล่อยเชื้อมาลาเรียระยะเมโรซอยต์ออกมาในกระแสเลือด • เข้าเม็ดเลือดแดง และเจริญเป็นเชื้อมาลาเรียระยะโทรโฟซอยต์ (trophozoite) และแบ่งตัวอีกครั้งเป็นเชื้อมาลาเรียระยะเมโรซอยต์6-30 ตัว เมื่อเม็ดเลือดแดงแตก เชื้อมาลาเรียระยะเมโรซอยต์จะเดินทางไปยังเม็ดเลือดแดงอื่น แล้วเจริญแบ่งตัววนเวียนอยู่เช่นนี้ เชื้อมาลาเรียระยะเมโรซอยต์บางตัว จะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นเชื้อมาลาเรียระยะมีเพศ หรือเรียกว่าแกมีโตซัยท์ (gametocyte) โดยมีทั้งเพศผู้ และเพศเมีย
คำถาม: สมชาย มีเชื้อระยะแกมีโตซัยท์(gametocyte) ในร่างกาย เข้ามาพักในหมู่บ้าน ทุ่งหมาเมิน ในวันที่ 19 ก.ค.55 ในหมู่บ้าน ทุ่งหมาเมิน มียุงก้นปล่องที่เป็นพาหะ อยู่ในหมู่บ้านนี้ด้วย เหตุการณ์นี้คาดว่าต้องมีผู้ป่วยเกิดขึ้น เป็นรายที่ 2 ท่านคิดว่าต้องออกเจาะโลหิต ค้นหาผู้ป่วย ในช่วงใด