1.61k likes | 2.41k Views
ทฤษฎีการบริหาร และสภาพแวดล้อมทางการบริหาร. โดย. ดร.ธีร์วิสิฐ มูลงามกูลจ์ ดร.กล้าณรงค์ สุทธิรอด บรรยายพิเศษ ว่าที่ ดร.กฤษฎา อัครพัทธยากุล. รัฐประศาสนศาสตร์ หมายถึง ศาสตร์หรือองค์ความรู้ที่ เกี่ยวข้องกับ การบริหารราชการ หรือ การบริหารรัฐกิจ. รัฐประศาสนศาสตร์ การบริหารราชการ
E N D
ทฤษฎีการบริหาร และสภาพแวดล้อมทางการบริหาร โดย ดร.ธีร์วิสิฐ มูลงามกูลจ์ ดร.กล้าณรงค์ สุทธิรอด บรรยายพิเศษ ว่าที่ ดร.กฤษฎา อัครพัทธยากุล
รัฐประศาสนศาสตร์หมายถึง ศาสตร์หรือองค์ความรู้ที่ เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการหรือ การบริหารรัฐกิจ รัฐประศาสนศาสตร์ การบริหารราชการ การบริหารรัฐกิจ Public Administration
การบริหารราชการ หมายถึง การดำเนินกิจกรรมในส่วน ของราชการต่างๆของรัฐให้บรรลุ เป้าหมายที่วางไว้ด้วยศาสตร์หรือองค์ ความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์ การบริหารราชการ มีองค์ประกอบอย่างน้อย 2 ส่วน 1. ต้องมีหน่วยงานหรือส่วนราชการ 2. ต้องมีระเบียบการบริหารงาน โดยยึดหลักการการจัดระเบียบบริหารราชการ 3 หลักการ 1. หลักการรวมอำนาจ 2.หลักการแบ่งอำนาจ 3. หลักการกระจายอำนาจ กล่าวโดยสรุปการบริหารราชการก็คือการนำนโยบาย (policy)มาปฏิบัติโดย บรรดาข้าราชการนั่นเอง
ความแตกต่างระหว่างการบริหารธุรกิจกับการบริหารรัฐกิจความแตกต่างระหว่างการบริหารธุรกิจกับการบริหารรัฐกิจ การบริหารธุรกิจ มุ่งความประหยัดลดค่าใช้จ่าย เป้าหมายเพื่อผลกำไร(คนส่วนน้อย) การบริหารรัฐกิจหรือการบริหารราชการ มุ่งคุณภาพงานและประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ เป้าหมายเพื่อสาธารณะ(คนส่วนใหญ่)
จุดมุ่งหมายของการบริหารจุดมุ่งหมายของการบริหาร ให้งานดำเนินลุล่วงตามเป้าหมาย หรือบรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ (ความสำเร็จ) ความสำคัญของการบริหาร การบริหาร เป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญ ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ และบรรลุถึงเป้าหมาย การบริหารจัดการที่ดีย่อมส่งผลต่อประสิทธิภาพคุณภาพงานของโครงการด้านต่าง ๆ ในการดำเนินงานและสามารถทำให้องค์กรอยู่รอดปลอดภัยในสถานการณ์ต่าง ๆ แม้ มีอุปสรรคที่มีผลกระทบต่อองค์การไม่ว่าจะเป็น ปัจจัยภายในองค์การปัจจัยภายนอกองค์การ และปัจจัยทางคุณลักษณะ การบริหาร มีความสำคัญต่อองค์การพอสรุปได้ 5 ประการ คือ
1. ใช้เป็นเครื่องมือหรือวิธีการเพื่อช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ โดยผู้บริหารขององค์การจะต้องตระหนักว่าโครงสร้างการจัดองค์การถูกกำหนดขึ้นมามิใช่เป็นเป้าหมายสุดท้าย แต่ถูกกำหนดขึ้นมาเป็นเครื่องมือหรือวิธีการเพื่อช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่แต่ละองค์การตั้งไว้
2. การจัดองค์การแสดงให้เห็นถึงตำแหน่งงาน การจัดโครงสร้างหรือการจัดองค์การจะแสดงให้เห็นถึงการแบ่งงานกันทำออกเป็นตำแหน่งต่าง ๆ และยังชี้ให้เห็นถึงการกำหนดมาตรฐานของงานในองค์การในอันที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมพฤติกรรมของบุคลากรในองค์การ
3. แสดงให้เห็นถึงการจัดกลุ่มของหน่วยงาน และขนาดขององค์การ การบริหารจะแสดงให้เห็นถึงการจัดกลุ่มของหน่วยงานว่า มีการรวมกลุ่มตำแหน่งงานและจัดแบ่งหน่วยงานออกตามลักษณะอย่างไร เช่น แบ่งตามหน้าที่ แบ่งตามผลิตภัณฑ์ แบ่งตามพื้นที่ แบ่งตามลูกค้า ฯลฯ หรือใช้การแบ่งหน่วยงานหลาย ๆ ลักษณะผสมผสานกัน
4. แสดงให้เห็นระบบของการเชื่อมโยงในด้านการวางแผน และการควบคุม รวมถึงกลไกในการติดต่อสื่อสาร การจัดโครงสร้างองค์การจะแสดงให้เห็นระบบการเชื่อมโยงระหว่างการวางแผน และการควบคุมขององค์การว่ามีลักษณะเป็นเช่นไรในแต่ละระดับ รวมถึง การชี้ให้เห็นถึงกลไกในการติดต่อสื่อสารภายในองค์การว่ามีลักษณะเป็นเช่นใดบ้าง
5. แสดงให้เห็นถึงระบบการตัดสินใจขององค์การ การจัดโครงสร้างองค์การสามารถชี้ให้เห็นได้ว่า องค์การนั้นมีระบบการตัดสินใจกำหนดไว้เป็นอย่างไร มีลักษณะที่เน้นการรวมอำนาจในการตัดสินใจ หรือเน้นกระจายอำนาจในการตัดสินใจ
ความหมายของการบริหาร การดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยการอาศัยปัจจัยทั้งหลาย ได้แก่ คน เงิน วัตถุสิ่งของเป็นอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานนั้นKoontz (1968) กระบวนการที่จะนำความเรียบร้อยเข้าไปแก้ไขความยุ่งเหยิง ที่เกิดขึ้นในระบบใดระบบหนึ่งTauskyCurt (1978) การใช้ศาสตร์ และศิลป์ นำเอาทรัพยากรการบริหาร มาประกอบตามกระบวน การบริหาร ให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ สมพงศ์ เกษมสิน (2526) การบริหารจัดการ หมายถึง ศิลป์ในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายร่วมกับผู้อื่น สถาบันดำรงราชานุภาพ (25404)
การบริหารจัดการองค์การ หมายถึง การดำเนินงานโดยใช้ศาสตร์ และศิลป์เข้าไปแก้ไขความยุ่งเหยิง ที่เกิดขึ้นในระบบใดระบบหนึ่งหรือกระบวนการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ธีร์วิสิฐ มูลงามกูลจ์ (2552)
ลักษณะเด่นของการบริหารที่เป็นสากล มีอยู่หลาย 9ประการ ดังนี้ (สมพงศ์ เกษมสิน) 1. การบริหารย่อมมีวัตถุประสงค์ 2. การบริหารอาศัยปัจจัยบุคคลเป็นองค์ประกอบ 3. การบริหารต้องใช้ทรัพยากรการบริหารเป็นองค์ประกอบพื้นฐาน 4. การบริหารมีลักษณะการดำเนินการเป็นกระบวนการ 5. การบริหารเป็นการดำเนินการร่วมกันของกลุ่มบุคคล
6. การบริหารอาศัยความร่วมมือร่วมใจของบุคคล กล่าวคือ ความร่วมใจ จะก่อให้เกิดความร่วมมือของกลุ่ม อันจะนำไปสู่พลังของกลุ่ม ที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ 7. การบริหารมีลักษณะการร่วมมือกันดำเนินการอย่างมีเหตุผล 8. การบริหารมีลักษณะเป็นการตรวจสอบผลการปฏิบัติงานกับวัตถุประสงค์ 9. การบริหารไม่มีตัวตนแต่มีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์
หลักการบริหารงานที่ดีนั้นจำเป็นต้องคำนึงถึงด้านต่าง ๆ หลายด้าน สมพงศ์ เกษมสิน (2526) 1. ด้านการประหยัด 2. ด้านความเป็นธรรม 3. ด้านความซื่อสัตย์และมีเกียรติ 4. ด้านประสิทธิผล 5. ด้านประสิทธิภาพ
ประสิทธิผลและประสิทธิภาพนี้ ให้ความหมายใกล้เคียงกันมาก หากจะพิจารณาให้เจาะจงลงไปแล้วก็จะเห็นได้ว่าประสิทธิผลนั้น หมายถึงการพิจารณาผลของการทำงานที่สำเร็จลุล่วงดังประสงค์ หรือที่คาดหวังไว้เป็นหลัก และความสำเร็จของงานอย่างมีประสิทธิผลนี้ อาจเกิดจากการปฏิบัติที่ไม่ประหยัด หรือไม่มีประสิทธิภาพก็ได้ เพราะประสิทธิภาพเป็นเรื่องของการที่จะทำงานให้ได้ผลสูงสุด ส่วนประสิทธิผลเป็นเรื่องของการนำเอาผลงานที่สำคัญดังที่คาดหวังไว้มาพิจารณา ดังนั้น งานที่มีประสิทธิผลจึงไม่จำเป็นต้องมีประสิทธิภาพเสมอไป
วิวัฒนาการของการบริหารวิวัฒนาการของการบริหาร 1. การศึกษาการบริหารแบบคลาสสิค(Classical management approach) 2.การศึกษาการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์(Behavioral management approach) 3.การศึกษาการจัดการเชิงปริมาณ (The quantitative management approach) ศาสตร์การจัดการ(Management science) หรือการวิจัยการปฏิบัติการ (Operation research) 4. กลุ่มทฤษฎีการบริการ ที่เพิ่งได้รับการพัฒนาขึ้นมาในระยะหลังๆ (Recent development in management theory)
1.ทฤษฎีการศึกษาการบริหารแบบคลาสสิค1.ทฤษฎีการศึกษาการบริหารแบบคลาสสิค • การบริหารโดยทฤษฎีกลุ่มนี้ เป็นทฤษฎีที่มุ่งเน้นองค์การโดยรวมและวิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลทฤษฎีการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ เช่น • การจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์(Scientific management) • การจัดการตามระบบราชการ(Bureaucratic management) • การจัดการตามแบบหลักการบริหาร(Administrative management)
2.ทฤษฎีการศึกษาการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์2.ทฤษฎีการศึกษาการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์ การบริหารเชิงพฤติกรรม จะมุ่งการเพิ่มประสิทธิภาพโดยการทำความเข้าใจมนุษย์ถ้าผู้บริหารได้เข้าใจพฤติกรรมของบุคคลและปรับองค์การให้สอดคล้องกับพวกเขาแล้วความสำเร็จขององค์การก็จะตามมาเอง เช่น • ทฤษฎีทางจิตวิทยาอุตสาหกรรม (Industrial psychology approach • ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ (Hierarchy of needs theory) • ทฤษฎี Xและทฤษฎี Y (Douglas McGregor)
3.การศึกษาการจัดการเชิงปริมาณ3.การศึกษาการจัดการเชิงปริมาณ การศึกษาการจัดการเชิงปริมาณเป็นทัศนะการจัดการซึ่งนำเทคนิคทางคณิตศาสตร์ เครื่องมือสถิติและข้อมูลมาเพื่อช่วยในการแก้ปัญหาทางการบริหารจัดการศาสตร์การจัดการหรือการวิจัยการปฏิบัติการ เป็นทัศนะการบริหารเชิงปริมาณซึ่งประยุกต์ใช้ คณิตศาสตร์ในการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆผู้ตัดสินใจจะใช้หลักเกณฑ์เชิงปริมาณในการเลือกระหว่างทางเลือกต่าง ๆ ที่มีอยู่ โดยเฉพาะในการวางแผนการจัดการปฏิบัติการ เป็นการบริหารจัดการที่มุ่งการเก็บรวบรวมข้อมูล และการส่งข้อมูล เพื่อสนับสนุนหน้าที่การจัดการ เช่นการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ • การจัดการปฏิบัติการ(Operations management) • ระบบข้อมูลการจัดการ(Management System : MIS)
4.ทฤษฎีการบริการ • ทฤษฎีการบริการเป็นหลักการ การบริหารที่เพิ่งได้รับการพัฒนาขึ้นมาในระยะหลังๆ เช่น • ทฤษฎีระบบ(System theory) • ทฤษฎี Z ของ Ouchi • ทฤษฎี TQM : Total Quality Management
แนวคิดทฤษฎีการบริหารและหลักการบริหารแนวคิดทฤษฎีการบริหารและหลักการบริหาร • ทฤษฎีการบริหารการจัดการตามระบบราชการ(Bureaucratic management) • ทฤษฎีการบริหารองค์กรแบบเฉพาะกิจ (Adhocracy) • ทฤษฎีการบริหารแบบ Balanced Scorecard • ทฤษฎีการบริหารแบบเปรียบเทียบ (Benchmarking) • ทฤษฎีการบริหารแบบความสามารถหลัก( Core Competence) • ทฤษฎีการบริหารแบบการกระจายอำนาจ (Decentralization) • ทฤษฎีการบริหารแบบการมอบอำนาจตัดสินใจ( Empowerment)
แนวคิดทฤษฎีการบริหารและหลักการบริหาร(ต่อ)แนวคิดทฤษฎีการบริหารและหลักการบริหาร(ต่อ) • ทฤษฎีการบริหารตามวัตถุประสงค์(Management by objective) • ทฤษฎีการบริหารแบบความเป็นเลิศขององค์กร (Organizational Excellence) • ทฤษฎีการบริหารแบบผู้มีส่วนได้เสีย ( Stakeholders) • ทฤษฎีการบริหารแบบ ทฤษฎี X ทฤษฎี Yและทฤษฎี z • ทฤษฎีการบริหารแบบTQM(total quality management) • ทฤษฎีการบริหารแบบระบบ(System theory) • ทฤษฎีการบริหารแบบ 7s • ทฤษฎีการบริหารแบบ 4m • ทฤษฎีหลักการบริหาร 14 หลักการ
แนวคิดทฤษฎีการบริหารและหลักการบริหาร(ต่อ)แนวคิดทฤษฎีการบริหารและหลักการบริหาร(ต่อ) • ทฤษฎีการบริหารแบบ แรงจูงใจ • ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ • ทฤษฎีแรงจูงใจBarnard • ทฤษฎีการบริหารแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้ ( Learning Organizational) • ทฤษฎีการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์(results based management; RBM) • ทฤษฎีการบริหารแบบมีส่วนร่วม( Participative Management) • ทฤษฎีการบริหารแบบPOSDCORB model • หลักการบริหารแบบP4. DRUCBOWBIGSIC Model
ทฤษฎีการบริหารการจัดการตามระบบราชการ(Bureaucratic managementMax Weber (1864-1920) ทฤษฎีการจัดการระบบราชการลักษณะองค์การนั้นจะถูกบริหารบนพื้นฐานของเหตุผล และไม่เป็นส่วนตัวมีกรอบการวิเคราะห์ที่ว่า ยิ่งรัฐมีการพัฒนา และมีการขยายตัวของชุมชน เมือง การศึกษา เศรษฐกิจฯลฯ เพิ่มมากขึ้นเท่าใด “รัฐ” ก็ยิ่งต้องพึ่งพาอาศัยระบบราชการ จัดการแก้ไขปัญหาในสังคมเพิ่มขึ้นการมองความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับระบบราชการชี้ให้เห็นว่าระบบราชการขยายตัวไปพร้อม ๆ กับการฝึกฝนอบรมจะยิ่งทำให้ระบบราชการมีผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการพิเศษ ที่รอบรู้ปัญหาทางเทคนิคมากกว่าผู้ปกครอง ที่เป็นผู้ควบคุมระบบราชการเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
ลักษณะที่สำคัญขององค์การแบบราชการของเวเบอร์ คือ • มีการแบ่งงานกันทำเฉพาะด้าน • มีการระบุสายการบังคับบัญชาอย่างชัดเจน • บุคคลจะถูกคัดเลือกและเลื่อนตำแหน่งบนพื้นฐานของ • คุณสมบัติทางเทคนิค • การบริหารกับการเป็นเจ้าขององค์การจะถูกแยกจากกัน • ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาอยู่บน • พื้นฐานของความไม่เป็นส่วนตัว • มีการกำหนดกฎและระเบียบวิธีปฏิบัติการไว้อย่างเป็นทางการ
ปรัชญาของการ Weber ในการบริหารงานภาครัฐ หลักการพื้นฐาน 1 . การแบ่งงานกันทำตามแนวราบ 2. การแบ่งงานกันทำตามแนวตั้ง 3. การทำงานกันเป็นลายลักษณ์อักษร 4. กฎระเบียบ 5 . การเลื่อนขั้นตำแหน่ง ตามหลักอาวุโส ความสามารถ 6. การแยกเรื่องส่วนตัวออกจากเรื่องงาน
ผลลัพธ์ 1 . การเพิ่มผลผลิต การเพิ่มความชำนาญงาน 2. ความถูกต้องในการทำงาน เกิดตัดสินใจที่สนองผลประโยชน์รวมขององค์การ 3. การทำงานขององค์การมีความต่อเนื่องอ้างอิงได้ ไม่ขึ้นกับตัวคน 4. บรรลุการประสานงานระหว่างองค์การ 5 . เกิดความแน่นอนในการทำงาน 6. ลดการสื่อสารที่ไม่จำเป็น 7. สร้างกรอบพฤติกรรมพื้นฐานของสมาชิกให้เป็นแบบแผนเดียวกัน 8. ให้องค์การมีพลวัต 9. สร้างขวัญกำลังใจให้สมาชิก 10. ทำให้สมาชิกมีความผูกพันกับองค์การ 11. บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ
รูปแบบการใช้อำนาจ Weber มี 3 รูปแบบ • 1. อำนาจเฉพาะตัว อำนาจหน้าที่ที่มีมาแต่กำเนิด • หรือ อำนาจหน้าที่จากความสามารถพิเศษ • 2. อำนาจแบบประเพณี • 3. อำนาจตามกฎหมาย
องค์การแบบระบบราชการโครงสร้างพื้นฐานของ Max Weber ประกอบด้วย 7 ประการ 1. หลักลำดับขั้น 2. หลักความรับผิดชอบ 3. หลักแห่งความสมเหตุสมผล 4. การมุ่งสู่ผลสำเร็จ 5. หลักการทำให้เกิดความแตกต่างหรือความชำนาญเฉพาะด้าน 6. หลักระเบียบวินัย 7. ความเป็นวิชาชีพ
หลักลำดับขั้น (hierarchy) หลักการนี้ มีเป้าหมายที่จะทำให้องค์การต้องอยู่ภายใต้การควบคุม โดยเชื่อว่า การบริหารที่มีลำดับขั้น จะทำให้ระบบการสั่งการและการควบคุมมีความรัดกุม ทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพการบริหารที่เน้นกฎเกณฑ์และขั้นตอนมีความเหมาะสม
หลักความรับผิดชอบ (responsibility) เจ้าหน้าที่ทุกคนต้องมีความสำนึกแห่งความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนความรับผิดชอบ หมายถึง การ รับผิดและรับชอบต่อการกระทำใด ๆ ที่ ตนได้กระทำลงไปและความพร้อมที่จะให้มีการตรวจสอบโดยผู้บังคับบัญชาอยู่ตลอดเวลาด้วย
หลักแห่งความสมเหตุสมผล (rationality) Weber ให้ความสำคัญกับกระบวนการทำงาน ว่ามีความสำคัญต่อการที่จะทำให้งานบรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะวิธีการทำงานแสดงให้เห็นว่า จะทำงาน อย่างไร โดยวิธีการใดจึงทำให้งานสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ ความถูกต้องเหมาะสมของแนวปฏิบัติที่จะนำมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานให้บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ
หลักการมุ่งสู่ผลสำเร็จ (achievement orientation) การปฏิบัติงานใด ๆ จะต้องมุ่งสู่เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ขององค์การเสมอ
หลักการทำให้เกิดความแตกต่างหรือการมีความชำนาญเฉพาะด้าน(Specialization)หลักการทำให้เกิดความแตกต่างหรือการมีความชำนาญเฉพาะด้าน(Specialization) การจัดส่วนงานอาจยึดหลักการจัดองค์การ ได้หลายรูปแบบคือ • การแบ่งส่วนงานตามพื้นที่ • การแบ่งงานตามหน้าที่ • การแบ่งงานตามลูกค้า หรือผู้รับบริการ • การแบ่งงานตามขั้นตอนหรือกระบวนการทำงาน
หลักระเบียบวินัย(discipline) ต้องมีการกำหนดระเบียบ วินัย และบทลงโทษ ขึ้นมาเพื่อเป็นกลไกการควบคุมความประพฤติของสมาชิกทุกคนในองค์การ
ความเป็นวิชาชีพ (Professionalization) ผู้ปฏิบัติงานในองค์การราชการ ถือเป็นอาชีพอย่างหนึ่ง และต้องปฏิบัติงานเต็มเวลาความเป็นวิชาชีพ “รับราชการ” นั้น ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในภาระหน้าที่ของตนด้วย
ทฤษฎีการบริหารองค์กรแบบเฉพาะกิจ (Warren G Bennis , 1968) (Alvin Toffler, 1970) การบริหารองค์กรแบบเฉพาะกิจ เป็นการบริหารที่มีโครงสร้างองค์กรที่ตรงกันข้ามกับการบริหารแบบระบบราชการโดยสิ้นเชิง กล่าวคือ การบริหารองค์กรแบบเฉพาะกิจ ไม่มีโครงสร้างที่กำหนดไว้ตายตัว มีการกระจายอำนาจ และสามารถตอบสนองความต้องการขององค์กรได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่องค์กรแบบราชการจะให้ความสำคัญกับโครงสร้างมากกว่าบุคลากร แต่องค์กรแบบเฉพาะกิจกลับถูกออกแบบมาเพื่อดึงเอาความสามารถของบุคลากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
ทฤษฎีการบริหารองค์กรแบบเฉพาะกิจ (Alvin Toffler, 1970) การบริหารองค์กรแบบเฉพาะกิจ เป็นการบริหารที่ต้องมีโครงสร้างองค์กรที่เป็นแนวนอนที่แบบราบมากขึ้น การบริหารองค์กร ลักษณะนี้ Toffler มองว่า เป็นองค์กร รูปแบบใหม่ที่มีอิสระและไม่หยุดนิ่ง
ทฤษฎีการบริหารองค์กรแบบเฉพาะกิจ (Henry Mintzberg , 1979) โครงสร้างองค์กรพื้นฐาน 4 ประเภท แบ่งโครงสร้างองค์กรออกตามลักษณะการใช้งาน(โครงสร้างแบบง่ายและแบบซับซ้อน) ประเภทขององค์กร ตามแนวคิด Henry Mintzberg (2x2) 1.องค์กรแบบเครื่องจักรกล 2.องค์กรทางวิชาชีพ 3.องค์กรใหม่ที่บริหารแบบผู้ประกอบการ 4.องค์กรแบบเฉพาะกิจ
ประเภทขององค์กร ตามแนวคิด Henry Mintzberg (2x2)
องค์กรแบบเครื่องจักรกลองค์กรแบบเครื่องจักรกล มีโครงสร้างสำหรับการปฏิบัติงานเป็นประจำ ต้องใช้ความชำนาญเฉพาะด้าน มีกระบวนการทำงานที่กำหนดไว้อย่างอย่างเป็นทางการ มีกฎระเบียบและข้อบังคับมากมายในองค์กร ใช้รูปแบบการสื่อสารที่เป็นทางการ มีหน่วยงานปฏิบัติงานขนาดใหญ่ การตัดสินใจอยู่ที่ศูนย์กลาง มีกลุ่มผู้ชำนาญการเชิงเทคนิคเป็นจำนวนมาก
องค์กรทางวิชาชีพ เป็นองค์ที่กลุ่มบุคคลมีอิทธิพลมากที่สุด ผู้ปฏิบัติงานเป็นผู้เชี่ยวชาญและชำนาญการในการปฏิบัติงานในองค์กร บุคคลจะทำงานค่อนข้างเป็นอิสระจากกัน บุคคลจะปฏิบัติงานตามกฎเกณฑ์อย่างเคร่งครัด
องค์กรใหม่ที่บริหารแบบผู้ประกอบการองค์กรใหม่ที่บริหารแบบผู้ประกอบการ โดยบริหารมุ่งเน้นที่การสร้างความภักดีของพนักงานและในขณะเดียวกันก็ไม่เข้าไปก้าวก่ายในการวางแผนมากนัก มีความยืดหยุ่นและไม่เป็นทางการ มีกลุ่มผู้ชำนาญการในจำนวนไม่มาก มีการรวมศูนย์อำนาจสูงโดยอำนาจควบคุมอาจอยู่ในมือของผู้ก่อตั้ง
องค์กรแบบเฉพาะกิจ มีกระบวนการทำงานที่กำหนดไว้อย่างไม่เป็นทางการ มีกฎระเบียบและข้อบังคับน้อยในองค์กร ใช้รูปแบบการสื่อสารที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ให้อำนาจในการตัดสินใจ มีการกระจายอำนาจ และสามารถตอบสนองความต้องการขององค์กรได้อย่างรวดเร็ว เน้นการใช้ความสามารถของบุคลากร
ทฤษฎีการบริหารแบบ Balanced Scorecard (BSC) (Robert S. Kaplan and David Norton) ลักษณะของการบริหารเป็นการนำกลยุทธ์ขององค์กรมาแยกเป็นเป้าหมายที่วัดได้ในเชิงปริมาณ แล้วจึงทำการประเมินว่าองค์กรบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่โดยเริ่มต้นจากการกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กรและแยกย่อยออกเป็นกลยุทธ์องค์กร และกำหนดตัวชี้วัด โดยโครงสร้างของตัวชี้วัดหรือกิจกรรมที่วัดผล จะต้องมีความสมดุล ตามชื่อแนวคิดนี้ โดยนักวิชาการทั้ง 2 สรุปมุมมองสำคัญในหลักการบริหารตามทฤษฎีไว้ทั้งหมด 4 ด้าน 1. มุมมองด้านการเงิน 2.มุมมองด้านลูกค้า3. มุมมองด้านกระบวนการ 4. มุมมองด้านการเรียนรู้และการเติบโต
มุมมองด้านการเงิน มุมมองด้านนี้เริ่มต้นด้วยคำถามที่ว่า เราเป็นอย่างไรในสายตาของผู้ถือหุ้น? (เราเป็นอย่างไรในสายตาของ...................) มุมมองด้านนี้ให้ความสำคัญต่อข้อมูลทางการเงิน(ตัวเลขสถิติ) เพราะผลการดำเนินงานด้านการเงินขององค์กรเป็นสิ่งสำคัญในการอยู่รอดขององค์กร การมีข้อมูลทางการเงินที่ถูกต้องตามความเป็นจริง เช่น อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน ต้นทุนต่อหน่วย กระแสเงินสด ส่วนแบ่งการตลาด อัตราการเติบโตของผลกำไร
มุมมองด้านลูกค้า มุมมองด้านนี้เริ่มต้นด้วยคำถามที่ว่า เราเป็นอย่างไรในสายตาของลูกค้า? มุมมองด้านนี้ให้ความสำคัญตระหนักถึงความจำเป็นของการมองสิ่งต่างๆ จากมุมมองของลูกค้ามากขึ้น และยอมรับความจริงที่ว่า การหาลูกค้าใหม่มีต้นทุนสูงกว่าการรักษาลูกค้าเดิม ดังนั้นคำว่า การสร้างความพึงพอใจของลูกค้า จึงกลายเป็นสิ่งที่ทุกองค์กรต้องท่องไว้จนขึ้นใจ มุมมองด้านนี้ องค์กรจะต้องวัดความพึงพอใจของลูกค้าต่อสินค้าและบริการที่ได้รับจากองค์กร โดยตัวชี้วัดที่ใช้ในมุมมองนี้ ได้แก่ 1. ความพึงพอใจของลูกค้า 2.อัตราการรักษาลูกค้าเดิม (ความภักดี) 3. อัตราการตอบสนองความต้องการของลูกค้า และ4. ชื่อเสียงขององค์กร
มุมมองด้านกระบวนการ มุมมองด้านนี้เริ่มต้นด้วยคำถามที่ว่า เราทำงานภายในองค์กรของเรามีประสิทธิผลเพียงใด ? มุมมองด้านนี้เป็นการมองสิ่งที่เกิดขึ้นภายในองค์กรโดยจะวัดผลของกระบวนการทำงานที่สำคัญๆ ที่เป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจทั้งหมด ได้แก่.......
มุมมองด้านการเรียนรู้และการเติบโตมุมมองด้านการเรียนรู้และการเติบโต มุมมองด้านนี้เริ่มต้นด้วยคำถามที่ว่า เราจะทำอย่างไรเพื่อเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิม ? มุมมองด้านนี้เป็นการนำคำตอบของคำถาม มาเป็นตัวชี้วัดและวัดผลการดำเนินงานที่เป็นไปได้ในอนาคต โดยเน้นที่ความจำเป็นในการลงทุนเพื่อ พัฒนาบุคลากรขององค์กร โดยการเรียนรู้ (learning) มีความหมายครอบคลุม การฝึกอบรม (training) การเรียนรู้ ในมุมมองด้านนี้ ยังรวมถึง ที่ปรึกษาหรือพี่เลี้ยง และผู้สอนเสริมด้านต่างๆ..ภายในองค์กรด้วย ดังนั้น จำนวนชั่วโมงการฝึกอบรมและจำนวนพนักงานที่เข้ารับการฝึกอบรม อาจเป็นตัวชี้วัดในมุมมองด้านนี้ ความสำคัญของการฝึกอบรมที่ปรึกษาหรือพี่เลี้ยง และผู้สอนเสริม มุมมองด้านนี้อาจเพิ่มตัวชี้วัด อีก เช่น สัดส่วนของเงินลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาเมื่อเทียบกับยอดขายหรือเปอร์เซ็นต์ของยอดขาย เป็นต้น