660 likes | 1.02k Views
หลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และ การสร้างจิตสำนึกของความเป็นชาติ. โ. ( การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในระบบรัฐสภา). ประวัติโดยย่อ. รศ.พิเศษ ดร.อดิศร เพียงเกษ จบมัธยมต้น จาก โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน
E N D
หลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และ การสร้างจิตสำนึกของความเป็นชาติ โ
(การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในระบบรัฐสภา)
ประวัติโดยย่อ • รศ.พิเศษ ดร.อดิศร เพียงเกษ • จบมัธยมต้น จาก โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน • จบมัธยมปลาย จาก โรงเรียนวัดเทพศิรินทร์ กรุงเทพมหานคร • จบ นิติศาสตร์บัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ • จบ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา) จาก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย • จบ ปริญญาเอก Ph.D.,D.Littจากมหาวิทยาลัยมคธ(Magadh University) ประเทศอินเดีย • ศิลปศาตรดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ (สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา) จาก มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย • ประกาศนียบัตรชั้นสูง (ปปร.๑) จาก สถาบันพระปกเกล้า หลักสูตร การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข สำหรับผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ ๑ • ธรรมศึกษาตรี • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น ๔ สมัย • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ ๑ สมัย • รัฐมนตรี ๔ กระทรวง (รมช.ศึกษาธิการ,รมช.วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม,รมช.คมนาคม และ รมช.เกษตรและสหกรณ์) • ประธานวิปฝ่ายค้าน • เป็นรองศาสตราจารย์พิเศษ แห่งคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย • อาจาย์ผู้บรรยาย หลักสูตรปริญญาโท – เอก พุทธศาสตรมหาบัณฑิตและพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์,การจัดการเชิงพุทธและพุทธบริหารการศึกษา”) • นักประพันธ์เพลง • อดีต รองหัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค รองเลขาธิการพรรค และโฆษกพรรคการเมือง
โลกของเรา มีอายุนับจากเริ่มก่อตัวจนถึงปัจจุบันประมาณ ๔,๕๐๐ ล้านปี • แต่มนุษย์โฮโมเซเปี้ยนส์กลุ่มแรกๆที่จัดอยู่ในสายพันธุ์มนุษย์ เพิ่งจะปรากฏขึ้นมาในโลกเพียง”หนึ่งแสนปีเศษๆ” • พัฒนามาเป็นมุษย์ โครมันยอง ก่อนหน้านี้ประมาณ ๕๐,๐๐๐ ปี • ส่วน โฮโมเซเปี้ยนส์ กลุ่มซึ่งถือว่าเป็นมนุษย์ในยุคปัจจุบันที่มีอารยธรรม นักโบราณคดีเชื่อว่า เพิ่งถือกำเนิดมาได้เพียงแค่ประมาณ ๑๐,๐๐๐ ปี นี้เอง
ถ้าคิดเฉลี่ย ช่วงเวลาจากรุ่นหนึ่งไปอีกรุ่นหนึ่งในชั่วอายุคนอยู่ที่ ๕๐ ปี • ก็แสดงว่า เมื่อเริ่มต้นนับจากมนุษย์รุ่นแรก ตัวเราก็เป็นมนุษย์แห่งอารยธรรมรุ่นที่ ๒๐๐ บนโลกนี้เท่านั้น • โดยทั่วไป เราสามารถไล่ชื่อบรรพบุรุษได้แค่ห้าชั่วอายุคน คือ พ่อ แม่ ลูกหลาน เหลน โหลน ถ้าเป็นตระกูลใหญ่หน่อย เป็นไปได้ที่อาจสืบได้ขึ้นไปได้ถึง ๑๐ รุ่นบรรพบุรุษ แต่มากกว่านั้นหาได้ยากมาก
จึงเกิดปัญหาตามมาว่า แล้วตัวเราเป็นใครมาจากไหน • มีนักวิทยาศาสตร์ พยายามตรวจสอบต้นตระกูลของมนุษย์ โดยสืบจาก ดีเอ็นเอ • ซึ่งมีหน่วยพันธุกรรมบางอย่างที่ถ่ายทอดกันมาจากอดีตกาล จากแม่สู่ลูก รุ่นแล้วรุ่นเล่า • พบว่า มนุษย์เราที่แบ่งออกเป็นหลายเชื้อชาติ หลายภาษา ต่างสีผิว ล้วนแต่มีต้นกำเนิดมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน • ถ้าเป็นเช่นนั้น หมายความว่า ต้นตระกูลของมนุษย์ทั้งหมดบนโลกนี้ จำนวน ๖,๐๐๐ ล้านคน อดีตล้วนแต่เป็นเครือญาติกันทั้งนั้น • และอีกไม่เกิน ๑๐๐ ปีนับจากนี้ มนุษย์ที่ ๒๐๐ ก็จะทยอยล้มหายตายไปจากโลกนี้หมดสิ้น
เพื่อนเรา ศัตรูเรา คนรักเรา คนดี คนเลว ล้วนหนีไม่พ้น • ในปี ๒๑๐๗ หรือ พ.ศ. ๒๖๕๐ เกือบทุกชีวิต ๖,๐๐๐ ล้านคนในปัจจุบันถึงกาลดับสูญ เกิดเป็นมนุษย์รุ่นใหม่ขึ้นมาแทนที่ • ซึ่งในเวลา ๑๐,๐๐๐ ปี ที่ผ่านมา มีมนุษย์เคยเกิดขึ้นมาบนโลกใบนี้รวมแล้วทั้งสิ้น ๘๐,๐๐๐ ล้านคน
วิวัฒนาการสังคม • จากชุมชนบุพกาล • สังคมทาส (นายทาส- ลูกทาส) • สังคมศักดินา • สังคมนายทุน • สังคมสังคมนิยม • สังคมคอมมิวนิสต์
หลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย ๐หลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย คือ การปกครอง โดยประชาชน เพื่อประชาชน และเป็นของประชาชน ๐ เปิดเพลง ประชาธิปไตยของประชาชน เนื้อร้อง-ทำนอง รศ.พิเศษ ดร.อดิศร เพียงเกษ วันชนะ เกิดดี ขับร้อง ๐ ของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน ประชาธิปไตย เริ่มต้น ประชาชน นั้นย่อมเป็นใหญ่ นี่คือความหมายสูงค่า ประชาธิปไตย อุดมการณ์ทุกคนจำได้ ประชาธิปไตยประชาชน ๐ของมวลประชา โดยมวลประชา เพื่อมวลประชา ประชาธิปไตยก้าวหน้า มวลประชา เป็นคนเริ่มต้น หนึ่งสิทธิ์หนึ่งเสียง ร้อยเรียงเสียงประชาชน ประชาธิปไตย เข้มข้น ประชาชนประชาธิปไตย ๐มีประชาชน เปรียบเหมือนมี ทุกสิ่งทุกอย่าง ประชาชนเป็นศูนย์กลาง ผู้สร้างเส้นทาง สว่างไสว สิทธิ์เสรี ภราดรและความเป็นไท มีอยู่ในประชาธิปไตย ทุกคนมีได้ มีใช้ด้วยกัน ๐ของคนทุกคน โดยคนทุกคน เพื่อทุกชั้นชน ประชาธิปไตย ตั้งต้น ให้คนทุกคน ไม่มีกีดกั้น หญิงหรือชาย รวยหรือจน ก็คนเหมือนกัน ไม่มีใครใหญ่กว่านั้น เพราะเราเหมือนกัน คือ ประชาชน.....
ลัทธิประชาธิปไตย • อุดมการณ์ประชาธิปไตย ได้เกิดขึ้นประมาณครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ ๕ ก่อนคริสต์ศักราช เกิดขึ้นที่นครรัฐกรีก (Greek City State) กล่าวได้ว่า เอเธนส์(Athens) เป็นนครแห่งประชาธิปไตยมากที่สุด • พลเมืองเอเธนส์มีเสรีภาพ เช่น เสรีภาพในการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์โดยไม่มีขอบเขตจำกัด • มีสถาบันปกครองประเทศที่เป็นสภานิติบัญญัติ • ข้าราชการผู้บริหารประเทศได้รับเลือกตั้งจากประชาชน • ซีโนฟอน(Xenophon) กล่าวว่า รัฐธรรมนูญของเอเธนส์เป็นรัฐธรรมนูญการปกครองประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ และ การปกครองของเอเธนส์เป็นการปกครองที่เป็นตัวอย่างและมีแนวทางที่ดีที่สุด
คำว่า “ประชาธิปไตย” ถอดศัพท์มาจากคำว่า “Democracy” มีรากศัพท์ มาจากภาษากรีก ๒ คำ คือ “Demos”แปลว่า “ปวงชน” และ “Kratien”ซึ่งมีความหมายว่า “การปกครอง” • ประชาธิปไตยหมายถึง ระบบการปกครองซึ่งประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจ
หลักการประชาธิปไตย • อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (popular sovereignty) นิติบัญญัติ บริหาร และ ตุลาการ ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย คือ ระบบที่ประชาชนมีอำนาจอธิปไตย และ มอบหมายให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งทำหน้าที่แทนตน (มีปัญญหาว่า องค์กรอิสระต่างๆ ทำหน้าที่แทนราษฎรที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยในปัจจุบันหรือไม่) การเลือกตั้งจึงเป็นการแสดงออกถึงสิทธิและอำนาจของประชาชน จนมีคำกล่าวว่า “เสียงของประชาชนคือเสียงสวรรค์”(voxpopuli,voxdei)
การแสดงออกซึ่งอำนาจอธิปไตยของประชาชนการแสดงออกซึ่งอำนาจอธิปไตยของประชาชน • หรือประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย • ประชาชนจึงแสดงออกซึ่งการเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ดังนี้ • ๑.การออกเสียงเลือกตั้ง เลือกผู้แทน เป็นเจตนารมณ์ทั่วไป(general will)ของประชาชน • ๒.การออกเสียงประชามติ(referendum) เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีสิทธิ์ที่จะแสดงเจตนาของตน โดยปกติมักจะเป็นเรื่อง การแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ ในบางประเทศก็ใช้การประชามติในเรื่องกฎหมายธรรมดาด้วย เช่น ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๑๙๗๑ ถามประชามติว่า ผู้หญิงสมควรมีสิทธิ์เลือกตั้งหรือไม่ • ในประเทศที่ใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย มีหลักสำคัญ คือ ประชาชนเป็นองค์อธิปัตย์ • ๓.ประชาชนมีสิทธิเสนอร่างกฎหมาย • ๔.สิทธิในการถอดถอน • ๕.การให้ประชาชนตัดสินปัญหาสำคัญของชาติ
หลักประชาธิปไตย • ๒. สิทธิเสรีภาพ ( rights and freedom) • เป็นหัวใจสำคัญของระบอบประชาธิปไตยแบบประชาธิปไตย • สิทธิดังกล่าวนี้ ต้องกำหนดในรัฐธรรมนูญ • เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ในการพิมพ์ การนับถือศาสนา การศึกษา การประกอบอาชีพ การจัดตั้งสมาคม เลือกถิ่นที่อยู่อาศัย • และการบังคับกฎหมาย เจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้แก่ ผู้ดำรงตำแหน่งบริหารและข้าราชการประจำที่มีอำนาจตามกฎหมาย จะต้องยึดถือตัวบทกฎหมายอย่างเคร่งครัด ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพราะ ถ้ามีการกระทำดังกล่าวก็เท่ากับละเมิดเจ้าของอำนาจอธิปไตย
หลักประชาธิปไตย • ๓. ความเสมอภาค (equality) • ความเสมอภาคภายใต้ระบอบประชาธิปไตย ถือว่า ทุกคนเสมอภาคเท่ากันหมด หนึ่งคนมีสิทธิลงคะแนนได้หนึ่งเสียง(one man one vote) • ความเสมอภาคนี้ หมายถึง ความเสมอภาคทางการเมืองและความเสมอภาคต่อหน้ากฎหมาย(equality before the law)ความเสมอภาคในความเป็นมนุษย์ ในโอกาส • การเลือกปฏิบัติด้วยเหตุผลอันใดก็ตาม ถือว่า ขัดต่อหลักการประชาธิปไตย
หลักประธิปไตย • ๔. หลักนิติธรรม (the rule of law) • ได้แก่ การใช้กฎหมายในการบริหารประเทศ โดยกฎหมายดังกล่าวนั้น ต้องผ่านกระบวนการร่างกฎหมายอย่างถูกต้อง • หลักของกฎหมายนั้น ต้องเป็นกฎหมายที่คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพและอำนาจอธิปไตยของประชาชน • โดยกระบวนการยุติธรรม(due process of law)จะต้องเป็นไปตามครรลอง • หลักนิติธรรม(the rule of law)จึงต่างจาก the rule by law ซึ่งหมายถึง การใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการบริหารประเทศโดยไม่คำนึงถึงหลักการประชาธิปไตย และบ่อยครั้งก็กลายเป็นการบริหารงานโดยตัวบุคคล(the rule by men) มากกว่าหลักการ
หลักประชาธิปไตย • ๕.ค่านิยมและจิตวิญญาณความเป็นประชาธิปไตย(the democratic ethos) • หมายถึงค่านิยมที่ได้รับการอบรมตั้งแต่ครอบครัว สถาบันการศึกษาและทางสังคม ให้มีความเชื่อและศรัทธาในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย มีพฤติกรรมที่เป็นประชาธิปไตย มองคนอื่นด้วยสายตาเสมอภาค • ทั้งหมดนี้ถือได้ว่า เป็นการพัฒนาจิตวิญญาณประชาธิปไตย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของการพัฒนาและธำรงไว้ซึ่งระบบประชาธิปไตย
หลักประชาธิปไตย • ๖.ความอดทนอดกลั้น(tolerance) • และความมีน้ำใจนักกีฬา(sporting spirit) • ทั้งหมดนี้เป็นหัวใจสำคัญของสังคมประชาธิปไตย • เพราะในสังคมประชาธิปไตยนั้น จะต้องยอมรับความแตกต่าง ทั้งในเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี จุดยืนและความคิดเห็นทางการเมืองของคนในสังคม • การรู้แพ้ รู้ชนะ เปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักปราชญ์ ราชบัณฑิตและผู้มีประสบการณ์ เพื่อนำมาประมวลใช้ให้เป็นประโยชน์ในการทำงาน • ที่สำคัญ อะไรที่ตนไม่เห็นด้วย ไม่ชอบ ไม่พอใจ แต่ตราบเท่าที่ไม่กระทบต่อสิทธิของตน ก็ต้องยอมให้สิ่งนั้นปรากฏอยู่ เพราะเป็นสิทธิส่วนบุคคลภายใต้ระบบที่มีความเสมอภาค
หลักประชาธิปไตย • ๗.ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย คือ กรรมวิธี(means) เพื่อเป้าหมายทางการเมือง แต่ขณะเดียวกัน ระบบประชาธิปไตยก็เป็นเป้าหมายอันสูงส่ง(noble end)ในตัวของมันเอง • การมองว่าระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นเฉพาะกรรมวิธีหริอ means จึงไม่ถูกต้อง ถึงแม้ว่า end คือ ผลประโยชน์จะตกต่อสังคมก็ตาม • เพราะ ถ้าทำลายกระบวนของความถูกต้อง แม้จะส่งผลในทางบวกต่อสังคม แต่ถ้ามีผลกระทบในทางลบต่อระบบ ก็จะเป็นการทำลายเป้าหมายอันสูงส่งของระบบประชาธิปไตย อันเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาอย่างยิ่ง • ประชาธิปไตยจึงเป็นทั้งกรรมวิธีmeansและเป้าหมายend ในตัวของมันเอง ทั้งสองส่วนนี้ต้องไปด้วยกัน
หลักประชาธิปไตย • ๘.ผู้ดำรงตำแหน่งบริหารระดับสูงทั้งในนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ จะต้องตระหนักว่า ตนเป็นผู้ซึ่งได้รับอาณัติจากประชาชน • ดังนั้น ผลประโยชน์สูงสุดจะต้องเป็นผลประโยชน์ที่เอื้อต่อผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ • การประทำอันใดขัดต่อผลประโยชน์ของประชาชนของประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย การนั้นย่อมไม่ถูกต้อง • นอกจากนั้น ยังต้องมีความรู้สึกว่า สิ่งที่ตนทำอยู่นั้นเป็นการประกอบภารกิจศักดิ์สิทธิ์(sacred mission) หรือ หน้าที่อันสูงส่ง(noblesse oblige)
หลักประชาธิปไตย • ๙. ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งบริหารระดับสูง ทั้งใน นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ จำเป็นอย่างยิ่ง ต้องยึดหลักจริยธรรมทางการเมือง รวมตลอดทั้งมารยาททางการเมือง โดยจะต้องทำหน้าที่อย่างซื่อสัตย์สุจริต คำนึงถึงผลดี ผลเสีย ที่จะเกิดต่อประชาชน ชาติ และบ้านเมือง • เสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อส่วนรวม เพราะงานการเมือง เป็นงานอาสาสมัคร ที่ไดรับมอบหมายจากประชาชน
หลักประชาธิปไตย • ๑๐. ภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย การกระทำอันใดก็ตาม ต้องคำนึงถึงหลักการใหญ่ๆดังต่อไปนี้คือ • ความถูกต้องตามกฎหมาย(legality) • ความชอบธรรมทางการเมือง(legitimacy) • ความถูกต้องเหหมาะสม(decency) • ความน่าเชื่อถือ(credibility) • ทั้งหมดนี้ จะทำให้งานที่รับผิดชอบอยู่นั้น ประสบความสำเร็จ การมุ่งเน้นไปที่ตัวบทกฎหมายตามลายลักษณ์อักษร แต่เพียงอย่างเดียว เป็นสิ่งที่ไม่พอเพียง การกระทำอันใดที่ไม่เหมาะสม แม้จะถูกต้องตามกฎหมาย ก็จะขาดความชอบธรรมทางการเมือง อันจะส่งผลถึงความน่าเชื่อถือของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในที่สุด
หลักประชาธิปไตย • ๑๑.การบริหารบ้านเมือง จะต้องอิงหลักธรรมรัฐาภิบาล(good governance) • ความโปร่งใส(transparency) • การมีส่วนร่วมของประชาชน(participation) • ความรับผิดชอบเปิดให้ไล่เบี้ยได้(accountability) • ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล(efficiency and effectiveness) ซึ่งหมายถึง การกระทำนั้นต้องส่งผลในทางบวกทั้งในแง่ผลได้(output)และผลลัพธ์(outcome)
หลักประชาธิปไตย • ๑๒. ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้บริหารระดับสูง ซึ่งสามารถนำประเทศชาติและสังคมไปสู่ความเจริญ หรือ ไปสู่ความเสียหายในด้านต่างๆ ทั้งในแง่การเมือง สังคม เศรษฐกิจ อุดมการณ์ ศรัทธาและความเชื่อในระบบ ฯลฯ ต้องเป็นบุคคลที่เปี่ยมไปด้วยคุณสมบัติ อันได้แก่ • การมีอุดมการณ์ทางการเมือง (political ideology) • การมีจริยธรรมทางการเมือง(political ethics) • การมีความรู้ทางการเมือง(political knowledge) • และการเข้าใจอารมณ์ทางการเมือง(political mood)ของประชาชนอย่างถูกต้อง • นอกจากนั้น ยังต้องบริหารประเทศโดยคำนึงถึงหลักนิติธรรมและคุณสมบัติอื่นๆที่กล่าวมา ๑๑ ข้อ เบื้องต้น เพื่อจะธำรงไว้ซึ่งความชอบธรรมที่จะดำรงตำแหน่งบริหารและการใช้อำนาจรัฐ(moral authority) ผู้ใดที่ขาดข้อที่ ๑๒ ดังกล่าวมานี้ ย่อมจะเสียความชอบธรรมทางการเมืองในการดำรงตำแหน่งทางการเมือง • (ที่มา..ศาสตราจารย์ ดร.ลิขิต ธีรเวคิน ราชบัณฑิต)
ระบบรัฐสภา • ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยคณะราษฎร (อ่านว่าคณะราส-สะ-ดอน มิใช่อ่านว่า คณะราษฎร์) • คณะราษฎร ประกอบด้วย ข้าราชการสายทหารบก ทหารเรือ และสายพลเรือน จำนวน ๙๙ นาย มีพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหัวหน้า • ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธย ใน “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕” มี ๓๙ มาตรา • มีสภาเดียว คือ สภาผู้แทนราษฎร แต่แบ่งสมาชิกออกเป็น ๓ ระยะ • ระยะที่ ๑ วาระเริ่มแรก คณะราษฎรโดยผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารเป็นผู้ใช้อำนาจแต่งตั้งผู้แทนราษฎรชั่วคราว จำนวน ๗๐ นาย • ระยะที่ ๒ ภายในเวลา ๖ เดือน ให้มีผู้แทนราษฎร ๒ ประเภท คือ ประเภทที่ ๑ ราษฎรเลือกตั้งจังหวัดละ ๑ คนต่อราษฎร ๑๐๐,๐๐๐ คน ประเภทที่ ๒ ผู้แทนราษฎรที่เป็นชั่วคราวอยู่แล้วในระยะที่ ๑ • ระยะที่ ๓ เมื่อราษฎรจบการศึกษาประถมศึกษาเกิอนกึ่งหนึ่ง หรืออย่างช้า ๑๐ ปี ให้เลือกตั้งผู้แทนราษฎรทั้งหมด • มีฝ่ายบริหาร เรียกว่า “คณะกรรมการราษฎร” จำนวน ๑๕ นาย
รัฐธรรมนูญฉบับที่ ๒ “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๕” ประกาศใช้ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ • รัฐสภา มีสภาเดียว มีสมาชิก ๒ ประเภท
รธน.ฉบับที่ ๓ • “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๔๘๙” • รัฐสภามีสองสภา คือ พฤตสภา(อ่านว่าพรึดสภา)และสภาผู้แทนราษฎร • รัฐธรรมนูญฉบับนี้ กำหนดให้มี”คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ”ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่รัฐสภาแต่งตั้งขึ้นมา
“รัฐธรรมนูญ.ฉบับที่ ๔ • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉะบับชั่วคราว) พ.ศ.๒๔๙๐” • พลโทผิณ ชุณหวัณ ก่อการรัฐประหาร ๘ พ.ย.๒๔๙๐ • เรียกว่า “รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม” เพราะ พลโทกาจสงคราม(กาจ เก่งระดมยิง)หนึ่งในคณะรัฐประหาร เป็นผู้ร่างเอาไปซ่อนไว้ใต้ตุ่มน้ำ เพราะเกรงว่าความจะแตกหากมีใครมาพบเข้า • รัฐสภามี ๒ สภา คือ วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร
รธน.ฉบับที่ ๕ • “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๔๙๒” • รัฐสภามีสองสภาคือ วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร
รธน.ฉบับที่ ๖ • “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๔๗๕ แก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ.๒๔๙๕” • รัฐสภา มีสภาเดียว คือสภาผู้แทนราษฎร แต่มี ๒ ประเภท จากการเลือกตั้งและแต่งตั้ง
รธน.ฉบับที่ ๗(จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ) • “ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๐๒” • มีสภาเดียว คือ สภาร่างรัฐธรรมนูญ มีหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญและทำหน้าที่นิติบัญญัติด้วย ไม่มีหน้าที่ควบคุมฝ่ายบริหาร
รธน.ฉบับที่ ๘ • “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. ๒๕๑๑” • มีสองสภา คือวุฒิสภาและสภาผผู้แทนราษฎร วุฒิสภามีอำนาจมากกว่าสภาผู้แทนราฎรทั้งๆที่มาจากการแต่งตั้ง • พยายามแยกฝ่ายบริหารออกจากฝ่ายนิติบัญญัติ
รธน.ฉบับที่ ๙ • “ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๑๕” • มีสภาเดียวคือ “สภานิติบัญญัติแห่งชาติ”
รธน.ฉบับที่ ๑๐ • “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๑๗” • มีสองสภา – สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ประณานสภาผู้แทนเป็นประธานรัฐสภา • ร่างรธน.นี้หลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖
รธน.ฉบับที่ ๑๑ • “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๑๙” • (พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจ ประกาศใช้รธน.ฉบับที่๑๑) • มีสภาเดียว คือ สภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
รธน.ฉบับที่ ๑๒ • “ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินพ.ศ.๒๕๒๐” • มีสภาเดียว คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ แต่มีอำนาจน้อยมาก ไม่สามารถควบคุมการบริหารของฝ่ายบริหารได้ มีสภานโยบายแห่งชาติคอยควบคุมคณะรัฐมนตรี
รธน.ฉบับที่ ๑๓ • “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๒๑” • มีสองสภา คือ วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิเป็นประธานรัฐสภา
รธน.ฉบับที่ ๑๔ • “ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๓๔” • (พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ รสช.) • มีสภาเดียว คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
รธน.ฉบับที่ ๑๕ • “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๓๔” • มีสองสภา วุฒิสภา(แต่งตั้ง) กับ สภาผู้แทนราฎร • ประธานสภาผู้แทนเป็นประธานรัฐสภา(ต่อมา)
รธน.ฉบับที่ ๑๖ • “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐” • มีสองสภา สภาผู้แทนราษฎร สส.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด จากเขตเลือกตั้ง(๔๐๐คน)และบัญชีรายชื่อ(๑๐๐ คน) • วุฒิสภาชิก มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด(๒๐๐ คน)
รธน.ฉบับที่ ๑๗ • “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว)พ.ศ.๒๕๔๙” • (คปค.) • มีสภาเดียว คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
รธน.ฉบับที่ ๑๘ • “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐” • มี ๒ สภา วุฒิสภา เลือกตั้งจว.ละคน และแต่งตั้ง(สรรหา) สภาผู้แทนราษฎร
สภาผู้แทนราษฎร มี ๒ ประเภท • เลือกตั้งจากเขตเลือกตั้ง (ส.ส.เขต)- ๓๗๕ คน • เลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ (ส.ส.บัญชีรายชื่อ) – ๑๒๕ คน • วุฒิสภา • มาจากการเลือกตั้ง และ สรรหา ? (ขัดต่อหลักการประชาธิปไตยหรือไม่ที่ไม่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน)
ระบบรัฐสภา • อังกฤษเป็นประเทศแม่แบบในการปกครองแบบรัฐสภา • รัฐสภาเป็นสถาบันของประชาชน เป็นสถาบันเดียวที่ประชาชนสามารถเข้าไปมีบทบาททางการเมือง • รัฐสภาของอังกฤษ เป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุด ทั้งนี้ เพราะว่า รัฐสภาเป็นสถาบันเดียวที่มาจากประชาชนโดยตรง • รัฐสภาทรงไว้ซึ่งอำนาจที่จะไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้ • แต่ในขณะเดียวกัน คณะรัฐมนตรี(นายกรัฐมนตรี)มีอำนาจยุบสภา ถ่วงดุลย์กันได้
รัฐบาลในระบบรัฐสภา • คณะรัฐมนตรีส่วนใหญ่ต้องมาจากสมาชิกรัฐสภา เพราะถือว่า สมาชิกรัฐสภาเป็นตัวแทนของประชาชน • รูปแบบการปกครองแบบนี้ กำหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร • ในทางปฏิบัติ และขนบประเพณี จะมีการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีจากหัวหน้าพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากในรัฐสภา เช่น ประเทศอังกฤษและญี่ปุ่น • นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีร่วมรัฐบาลจะรับผิดชอบร่วมกัน(collective responsibility)ในการบริหารประเทศ • นายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำฝ่ายบริหาร ก็เป็นผู้นำพรรคการเมืองในรัฐสภา ในขณะเดียวกันด้วย
คณะรัฐมนตรี สามารถบริหารตามนโยบายของพรรคได้โดยสะดวก • กฎหมายทั้งหลายที่รัฐบาลออกมา จึงเป็นกฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบของพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากมาก่อน • ตราบใดที่พรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากสนับสนุนรัฐบาลอยู่ คณะรัฐมนตรี ก็มีอำนาจในการบริหารประเทศอยู่ตลอดไป จนกว่าอายุรัฐบาลจะสิ้นสุดลง หรือมีการยุบสภา • คณะรัฐมนตรี จะเป็นผู้เสนอร่างกฎหมายเพื่อรัฐสภาจะได้พิจารณาออกใช้เป็นกฎหมาย • นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี ต้องตอบข้อซักถาม หรือ กระทู้ของสมาชิกรัฐสภา • ระยะเวลาการอยู่ในตำแหน่งของคณะรัฐมนตรี ขึ้นอยู่กับอายุของรัฐสภา • เมื่อมีการเลือกตั้งใหม่ ประชาชนจะเลือกพรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลหรือเป็นฝ่ายที่ไม่ได้เป็นรัฐบาล ขึ้นอยู่กับการทำงานของฝ่ายนั้น กลับมาเป็นรัฐบาล
ข้อดีข้อเสียของระบบรัฐสภาข้อดีข้อเสียของระบบรัฐสภา • ข้อดี • ๑. การปกครองระบบรัฐสภา มีการประสานงานและร่วมมือกันระหว่างฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ เพราะมีที่มาจากแหล่งเดียวกัน คือรัฐสภา • ๒.ในประเทศอังกฤษ พรรคการเมืองใดได้เสียงข้างมาก และเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล จะสามารถบริหารงานได้อย่างราบรื่น • ๓.ฝ่ายบริหารงานจะอยู่ได้ ต้องได้รับความไว้วางใจจากรัฐสภา • ๔.เมื่อเกิดความขัดแย้งกันระหว่างรัฐบาลและรัฐสภา หรือพรรคฝ่ายค้านชนะโหวตในการแสดงความไว้วางใจ รัฐบาลมีสิทธิแนะนำประมุขรัฐให้ยุบสภา เพื่อเลือกตั้งใหม่ อันเป็นการคานอำนาจไม่ให้รัฐสภาทำอะไรได้ตามใจชอบ • ๕.การทำงานรับผิดชอบร่วมกันของคณะรัฐมนตรี เป็นการป้องกันไม่ให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้หนึ่งผู้ใดในคณะรัฐบาลใช้อำนาจลำพังผู้เดียว
ข้อเสีย • การปกครองแบบรัฐสภา อาจขาดเสถียรภาพทางการเมือง ในกรณีรัฐสภาไม่มีเอกภาพ เพราะมีรัฐบาลผสมหลายพรรค • ไม่มีพรรคการเมืองใดได้เสียงข้างมาก • ไม่สามารถประนีประนอมกันได้ บริหารล้มเหลว • ประชาชนจะเสื่อมศรัทธาต่อ สส.และรัฐบาลในที่สุด
พระมหากษัตริย์ • มีกฎหมาย”รัฐธรรมนูญ” กำหนดบทบาทระหว่างอำนาจอธิปไตยต่างๆ ฯลฯ • กำหนดบทบาทของพระมหากษัตริย์ไว้ อย่างชัดเจน • ที่สำคัญ พระมหากษัตริย์ อยู่เหนือการเมือง • The king can do no wrong • พระมหากษัตริย์ อยู่ในฐานะที่จะล่วงละเมิดมิได้ • ประวัติศาสตร์ของชาติไทย กับ ประวัติศาสตร์ของพระมหากษัตริย์ไทย แยกกันไม่ออก แยกกันไม่ได้ • พระมหากษัตริย์จึงเป็นที่สักการะบูชา เทอดทูน เป็นจิตวิญญาณของชนชาวไทย • เพื่อเป็นเกียรติขององค์พระมหากษัตริย์ของไทยและเป็นไปตามจารีตประเพณีอันมีมาตั้งแต่บรรพอดีต การปกครองในระบอบประชาธิปไตยของไทย จึงมีคำว่า”อันมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข” เป็นเสมือนหนึ่งคำจำกัดความของประชาธิปไตยไทย • แต่ทั่งนี้ มิใช่องค์พระมหากษัตริย์จะมาเกลือกกลั้วกับการเมือง แต่พระองค์จะทรงใช้อำนาจอธิปไตย โดยนิติบัญญัติ ทางรัฐสภา ทางบริหารผ่านทางรัฐบาล ตุลาการ ผ่านทางศาล • พระมหากษัตริย์ไทย ไม่เหมือนที่ใดในโลก ความสัมพันธ์ระหว่างองค์พระมหากษัตริย์กับราษฎร เหมือนปลากับน้ำ เหมือนพ่อกับลูก “พ่อหลวงไทย”
เดิม คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “ Council for Democratic Reform under Constitutional Monarchy”(อักษรย่อ CDRM)ออก เพื่อมิให้สื่อต่างประเทศนำไปตีความคณะปฏิรูปฯเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็น “Council for Democratic Reform (ตัวย่อ CDR) ยังคงภาษาไทยตามเดิม