480 likes | 1.19k Views
รายงานการเงิน และการวิเคราะห์งบการเงิน. รหัสวิชา 41 4329 . อ.กมลวรรณ ศิริจันทร์ชื่น. 13 สัปดาห์. สัปดาห์ที่ 1 ( 23 ธ.ค. 55) – ความรู้ทั่วไปทางการบัญชี และงบการเงิน สัปดาห์ที่ 2 ( 30 ธ.ค. 55) – หยุดวันขึ้นปีใหม่
E N D
รายงานการเงินและการวิเคราะห์งบการเงินรายงานการเงินและการวิเคราะห์งบการเงิน รหัสวิชา 41 4329 อ.กมลวรรณ ศิริจันทร์ชื่น
13 สัปดาห์ • สัปดาห์ที่ 1 (23 ธ.ค. 55) – ความรู้ทั่วไปทางการบัญชี และงบการเงิน • สัปดาห์ที่ 2 (30 ธ.ค. 55) – หยุดวันขึ้นปีใหม่ • สัปดาห์ที่ 3 (6 ม.ค. 56) – การวิเคราะห์งบการเงิน และอัตราส่วนทางการเงิน • สัปดาห์ที่ 4 (13 ม.ค. 56) – การวิเคราะห์งบการเงิน และอัตราส่วนทางการเงิน • สัปดาห์ที่ 5 (20 ม.ค. 56) – การวิเคราะห์ย่อส่วนแนวดิ่ง และการวิเคราะห์แนวโน้ม • สัปดาห์ที่ 6 (27 ม.ค. 56) – สอบกลางภาค • สัปดาห์ที่ 7 (3 ก.พ. 56) – การบริหารเงินทุนหมุนเวียน และงบกระแสเงินสด • สัปดาห์ที่ 8 (10 ก.พ. 56) – งบกระแสเงินสด • สัปดาห์ที่ 9 (17 ก.พ. 56) – โครงสร้างทางการเงิน วิเคราะห์ค่าของทุน และวิเคราะห์จุดคุ้มทุน • สัปดาห์ที่ 10 (24 ก.พ. 56) – หยุดทำรายงาน • สัปดาห์ที่ 11 (3 มี.ค. 56) – รายงาน • สัปดาห์ที่ 12 (10 มี.ค. 56) – รายงาน และทบทวนบทเรียน • สัปดาห์ที่ 13 (17 มี.ค. 56) – สอบปลายภาค
เกณฑ์การให้คะแนน • สอบกลางภาค 30 คะแนน • รายงาน 25 คะแนน • จิตพิสัย 10 คะแนน • สอบปลายภาค35คะแนน • รวม100 คะแนน
การตัดเกรด • 80 – 100 A • 75 – 79 B+ • 70 – 74 B • 65 – 69 C+ • 60 – 64 C • 55 – 59 D+ • 50 – 54 D • ต่ำกว่า 50 F
ความรู้ทั่วไปทางการบัญชีความรู้ทั่วไปทางการบัญชี
การบัญชี คือ • การบัญชี คือ การเก็บรวบรวมข้อมูล การบันทึก การจัดจำแนก และจัดทำรายงานสรุปข้อมูลทางการเงิน วัตถุประสงค์ของการจัดทำบัญชี • เพื่อให้ข้อมูลที่สามารถประเมินฐานะความมั่นคงของธุรกิจ • เพื่อทราบถึงการเปลี่ยนแปลงในทรัพยากรสุทธิ • เพื่อช่วยประมาณการแนวโน้มการหารายได้ • เพื่อให้ทราบการเปลี่ยนแปลงของภาระหนี้สิน
แนวความคิดขั้นมูลฐานทางการบัญชีแนวความคิดขั้นมูลฐานทางการบัญชี ข้อสมมติฐานทางการบัญชี • สินทรัพย์ • หนี้สิน • ส่วนของเจ้าของ • รายได้ • ค่าใช้จ่าย • กำไร • รายการค้า • หน่วยงานทางเศรษฐกิจ • การดำเนินงานต่อเนื่อง • หน่วยเงินตรา • งวดเวลา
กลุ่มผู้ใช้งบการเงิน • ผู้ลงทุน • ลูกจ้าง • ผู้ให้กู้ • ผู้ขายสินค้าและเจ้าหนี้อื่น • ลูกค้า • รัฐบาลและหน่วยงานราชการ • สาธารณชน
ลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงินลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงิน ให้ข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ วัตถุประสงค์ ข้อสมมุติ ในการจัดทำงบการเงิน ข้อจำกัด ลักษณะเชิงคุณภาพ ลักษณะแรก ลักษณะรอง การดำเนินงานต่อเนื่อง เกณฑ์คงค้าง ทันต่อเวลา ความสมดุลของ ลักษณะเชิงคุณภาพ ความสมดุลระหว่างประโยชน์ที่ ได้รับกับต้นทุนที่เสียไป การแสดงข้อมูลที่ถูกต้องตามควร เข้าใจได้ เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ เชื่อถือได้ เปรียบเทียบกันได้ นัยสำคัญ เป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม เนื้อหาสำคัญกว่ารูปแบบ ความเป็นกลาง ความระมัดระวัง ความครบถ้วน
องค์ประกอบของงบการเงินองค์ประกอบของงบการเงิน • ฐานะการเงิน --งบแสดงฐานะการเงิน • สินทรัพย์ หมายถึง ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการ ทรัพยากรดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้นในอนาคต • หนี้สินหมายถึง ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการ ซึ่งเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต โดยการชำระภาระผูกพันนั้นคาดว่าจะส่งผลให้กิจการสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์ เชิงเศรษฐกิจ • ส่วนของเจ้าของ หมายถึง ส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการหลังจากหักหนี้สินทั้งสิ้นออกแล้ว • ผลการดำเนินงาน --งบกำไรขาดทุน • รายได้หมายถึง การเพิ่มขึ้นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีในรูปกระแสเข้าหรือการเพิ่มค่าของสินทรัพย์ หรือการลดลงของหนี้สิน อันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ไม่รวมถึงเงินทุนที่ได้รับจากผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของ • ค่าใช้จ่ายหมายถึง การลดลงของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีในรูปกระแสออกหรือการลดค่าของสินทรัพย์ หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สิน อันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของลดลง ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการแบ่งปันให้กับผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของ
การรับรู้รายการขององค์ประกอบของงบการเงินการรับรู้รายการขององค์ประกอบของงบการเงิน • การรับรู้รายการ หมายถึง การรวมรายการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของงบดุลหรืองบกำไรขาดทุน หากรายการนั้นเป็นไปตามคำนิยามขององค์ประกอบและเข้าเกณฑ์การรับรู้รายการทั้ง 2 ข้อ ดังนี้ 1. มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับหรือสูญเสียประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจากรายการดังกล่าว • ความน่าจะเป็นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต ประเมินระดับความไม่แน่นอนของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตทำได้โดยอาศัยหลักฐานที่มีอยู่ในขณะจัดทำงบการเงิน 2. รายการดังกล่าวมีราคาทุนหรือมูลค่าที่สามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ • ความเชื่อถือได้ของการวัดมูลค่า รายการนั้นต้องมีราคาทุนหรือมูลค่าที่สามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ
การแสดงราคาในงบดุล - การวัดมูลค่าองค์ประกอบของงบการเงิน • การวัดมูลค่า คือ กระบวนการกำหนดจำนวนที่เป็นตัวเงินเพื่อรับรู้องค์ประกอบของงบการเงินในงบดุลและงบกำไรขาดทุน การวัดมูลค่าจะเกี่ยวข้องกับการเลือกใช้เกณฑ์การวัดมูลค่า • ราคาทุนเดิม (Historical Cost) จำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่จ่ายหรือด้วยมูลค่ายุติธรรมของสิ่งที่นำไปแลกสินทรัพย์ ณ เวลาที่ได้มาซึ่งสินทรัพย์นั้น • ราคาทุนปัจจุบัน(Current Cost) จำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่ต้องจ่ายในขณะนั้นเพื่อให้ได้มาซึ่งสินทรัพย์ชนิดเดียวกันหรือสินทรัพย์ที่เท่าเทียมกัน • มูลค่าที่จะได้รับ (จ่าย) (Realizable or Settlement Value) จำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่จะได้มาในขณะนั้นหากกิจการขายสินทรัพย์ • มูลค่าปัจจุบัน(Present Value) มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับสุทธิในอนาคตซึ่งคาดว่าจะได้รับจากสินทรัพย์นั้นในการดำเนินงานตามปกติของกิจการ
กลุ่มธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์กลุ่มธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์ • กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร(AGRO) ได้แก่ธุรกิจการเกษตร(AGRI) ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม(FOOD) • กลุ่มอสังหาริมทรัพย์(PROPCON)ได้แก่ วัสดุก่อสร้าง(CONMAT) พัฒนาอสังหาริมทรัพย์(PROP) • กลุ่มธุรกิจการเงิน(FINCIAL)ได้แก่ ธนาคาร(BANK) เงินทุนและหลักทรัพย์(FIN) ประกันภัยและประกันชีวิต(INSUR) • กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค(COMSUMP)ได้แก่ แฟชั่น(FASHION) ของใช้ในครัวเรือนและสำนักงาน(HOME) ของใช้ส่วนตัว(PERSON) • กลุ่มทรัพยากร(RESOURC)ได้แก่ พลังงานและสาธารณูปโภค(ENERG) เหมืองแร่(MINE) • กลุ่มเทคโนโลยี(TECH)ได้แก่ ชิ้นส่วนอิเลกทรอนิกส์(ETRON) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ICT) • กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม(INDUS)ได้แก่ ยานยนต์(AUTO) วัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร(IMM) กระดาษและวัสดุการพิมพ์(PAPER) ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์(PETRO) บรรจุภัณฑ์(PKG) เหล็ก(STEEL) • กลุ่มบริการ(SERVICE)ได้แก่ ค้าพาณิชย์(COMM) การแพทย์(HEALTH) สื่อและสิ่งพิมพ์(MEDIA) บริการเฉพาะกิจ(PROF) การท่องเที่ยว(TOURISM) ขนส่งและโลจิสติกส์(TRANS)
งานค้นคว้า • ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มเป็น 8 กลุ่ม • โดยให้แต่ละกลุ่มเลือกกลุ่มธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์ • ค้นหางบการเงินของกลุ่มธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์ที่เลือก • งบการเงิน ประกอบด้วย • งบแสดงฐานะการเงิน • งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ • งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ • งบกระแสเงินสด • หมายเหตุประกอบงบการเงิน