1 / 15

บทที่ 7 การบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม

บทที่ 7 การบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax หรือ VAT).

kale
Download Presentation

บทที่ 7 การบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 7การบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax หรือ VAT) ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีการขายที่จัดเก็บจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการเฉพาะส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนการจำหน่ายสินค้าและบริการ เป็นภาษีที่ผู้ซื้อ หรือผู้รับบริการคนสุดท้ายเป็นผู้รับภาระ แต่การจัดเก็บ จะให้ผู้ประกอบการในแต่ละขั้นตอนของการจำหน่ายหรือให้บริการเป็น ผู้เรียกเก็บภาษีจากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการแทนรัฐบาล ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  3. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม • ผู้ประกอบการในรูปของบุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือนิติบุคคลใดก็ตาม ถ้าการประกอบกิจการมีรายรับเกินกว่า 1,200,000 บาท ต่อปี ผู้ประกอบกิจการจะต้องมีหน้าที่จดทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่ม • ตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดกิจการที่จะต้อง เสียภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ 3 ประเภท คือ • 1. การขายสินค้าในราชอาณาจักรโดยผู้ประกอบการ • 2. การให้บริการในราชอาณาจักรโดยผู้ประกอบการ • 3. การนำเข้าโดยผู้นำเข้า ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  4. การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องทำการคำนวณภาษี มูลค่าเพิ่มที่จะต้องชำระหรือมีสิทธิได้รับคืน โดยการคำนวณจะทำเป็น รายเดือน ดังนี้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ภาษีขาย - ภาษีซื้อ ส่วนต่างที่เกิดขึ้นแสดงผลดังนี้ ภาษีขาย > ภาษีซื้อ = ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระ ภาษีขาย < ภาษีซื้อ = ภาษีที่มีสิทธิได้รับคืน หรือเครดิตภาษี ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  5. เอกสารที่ใช้ประกอบการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มเอกสารที่ใช้ประกอบการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องเป็นไปตามหลักฐานเอกสารที่เกิดขึ้น ในระหว่างเดือนภาษี เอกสารที่ใช้ประกอบการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ใบกำกับภาษี (Tax Invoice)คือ เอกสารที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องออกให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้ใช้บริการ ในการขายสินค้าหรือให้บริการทุกครั้ง และต้องจัดทำในทันทีที่ความรับผิด ในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ใบกำกับภาษีแบ่งได้เป็น 2 ประเภท 1. ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป 2. ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  6. ใบเพิ่มหนี้ (Debit Note) • เมื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าหรือให้บริการและนำภาษีขายไปรวมคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามระบบแล้ว แต่ต่อมาต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มใหม่ เพราะมีเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นผลทำให้ภาษีขายที่คำนวณไว้ในตอนแรกมีจำนวนเพิ่มขึ้น เนื่องจาก • มีการเพิ่มราคาสินค้าที่ขายหรือเพิ่มค่าบริการขึ้น เนื่องจากสินค้ามีจำนวนเกินกว่าที่ตกลงซื้อขายกัน • -คำนวณราคาสินค้าหรือค่าบริการผิดพลาดต่ำกว่าความเป็นจริงหรือเหตุอื่น ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  7. ใบลดหนี้ (Credit Note) • เมื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าหรือให้บริการและนำภาษีขายไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามระบบแล้ว แต่ต่อมาต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มใหม่ เพราะมีเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นผลทำให้ภาษีขายที่คำนวณไว้ในตอนแรกมีจำนวนลดลง เนื่องจาก • มีการลดราคาสินค้าที่ขายหรือลดค่าบริการลงเนื่องจากสินค้าชำรุดเสียหาย ผิดข้อตกลงบางอย่าง หรือบริการที่ให้ไปผิดข้อกำหนดที่ตกลงกัน • คำนวณราคาสินค้าหรือค่าบริการผิดพลาดสูงกว่าความเป็นจริง • -ได้รับสินค้าที่ขายไปแล้วคืนกลับมาเนื่องจากบกพร่อง หรือเหตุอื่น • - มีการบอกเลิกสัญญาการซื้อขายสินค้าหรือบริการ ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  8. ภาษีขาย คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้เรียกเก็บ หรือพึ่งเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ เมื่อมีการขายสินค้าหรือรับ ค่าบริการ หรือ คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ เสียในการขายสินค้า หรือในกรณีที่เป็นการให้บริการ ตัวอย่าง1 บริษัท เอส บี จำกัด เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ในเดือนสิงหาคม 2547 ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในราคา 8,000 บาท และได้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  9. การคำนวณ ภาษีขาย = 8,000 x 7% = 560 บาท การบันทึกบัญชี สมุดรายวันทั่วไป หน้า 1 ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  10. ภาษีซื้อ คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนถูกผู้ประกอบการจดทะเบียนอื่นเรียกเก็บ เนื่องจากการซื้อหรือรับบริการมาเพื่อใช้ในการประกอบกิจการของตน เมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ตัวอย่าง2 บริษัท เอส บี จำกัด เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้ซื้อสินค้ามาเพื่อขายในเดือนสิงหาคม 2547 จำนวน 20,000 บาท และได้ ถูกผู้ขายเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  11. การคำนวณ ภาษีซื้อ = 20,000 x 7% = 1,400 บาท การบันทึกบัญชี สมุดรายวันทั่วไป หน้า 1 ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  12. จากตัวอย่างที่ 1 และ 2 สมมติในระหว่างเดือนสิงหาคมไม่มีรายการค้าเกิดขึ้น ดังนั้น สิ้นเดือนสิงหาคมกิจการจะต้องสรุปโดยจัดทำรายงานภาษีซื้อ และรายงานภาษีขาย เพื่อเก็บรวบรวมรายการที่เกี่ยวกับภาษีซื้อและภาษีขายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในระหว่างเดือนสิงหาคม ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ภาษีขาย – ภาษีซื้อ = 560 – 1,400 = (840) จากการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในกรณีนี้ กิจการมีสิทธิได้รับคืนภาษีในจำนวน 840 บาท ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  13. การยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหน้าที่คำนวณภาษีและ ยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มหรือขอรับคืนตามแบบ ภ.พ. 30 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ณ สำนักงานสรรพากรเขตในท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้กำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดทำ รายงานเกี่ยวกับการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มดังต่อไปนี้ 1. รายงานภาษีขาย 2. รายงานภาษีซื้อ 3. รายงานสินค้าและวัตถุดิบ ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  14. รายงานภาษีขาย รายงานภาษีขาย เป็นแบบรายงาน เพื่อทำการสรุปภาษี ซึ่งทำให้ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับมูลค่าสินค้า หรือบริการและจำนวนภาษีขายที่ผู้ประกอบการได้เรียกเก็บจากลูกค้าไว้ทั้งสิ้นในเดือนภาษีนั้น ตามหลักฐานในเอกสารใบกำกับภาษี รายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีซื้อ เป็นแบบรายงาน เพื่อทำการสรุปภาษีซื้อ ซึ่งทำให้ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับมูลค่าสินค้า หรือบริการและจำนวนภาษีซื้อที่ผู้ประกอบการรายอื่นได้เรียกเก็บไปทั้งสิ้นในเดือนภาษีนั้น ตามหลักฐานในเอกสารใบกำกับภาษี ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  15. รายงานสินค้าและวัตถุดิบรายงานสินค้าและวัตถุดิบ รายงานสินค้าและวัตถุดิบ เป็นแบบรายงานเพื่อแสดงปริมาณสินค้าหรือวัตถุดิบที่รับมาหรือจ่ายไปจริง และปริมาณสินค้าที่คงเหลือยู่ การจัดทำรายงานต้องมีเอกสารประกอบเป็นใบสำคัญรับหรือจ่ายสินค้า ซึ่งควรแยกออกเป็นแต่ละประเภท ชนิดและขนาด ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

More Related