1 / 1

การตั้งตำรับยาเหน็บทวารหนักจากสารสกัดเห็ด Phellinus linteus

การตั้งตำรับยาเหน็บทวารหนักจากสารสกัดเห็ด Phellinus linteus Formulation of rectal suppositories from mushroom ( Phellinus linteus ) extract. ฐาปนัท นาคครุฑ , ภัทธนากร ใจตุรงค์, สุรพล นธการกิจกุล ภาควิชาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ผลการศึกษาและอภิปราย.

kaiser
Download Presentation

การตั้งตำรับยาเหน็บทวารหนักจากสารสกัดเห็ด Phellinus linteus

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การตั้งตำรับยาเหน็บทวารหนักจากสารสกัดเห็ด Phellinuslinteus Formulation of rectal suppositories from mushroom (Phellinuslinteus) extract ฐาปนัท นาคครุฑ, ภัทธนากร ใจตุรงค์, สุรพล นธการกิจกุล ภาควิชาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผลการศึกษาและอภิปราย ที่มาและความสำคัญ เห็ด เป็นสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำประเภทรา เกิดชุกในธรรมชาติในฤดูฝน ซึ่งปัจจุบันมีการนำเอาเห็ดมาใช้ประโยชน์หลาย ๆด้าน ทั้งการนำมารับประทานเป็นอาหาร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และยาสมุนไพร อุตสาหกรรมในครัวเรือนได้รับการส่งเสริมให้เพาะเลี้ยงเห็ด รวมทั้งยังเป็นที่สนใจของนักวิทยาศาสตร์ในการที่จะนำสารสกัดจากเห็ดมาใช้ประโยชน์ในหลายๆ ด้าน เห็ด Phellinus linteus มีรูปร่างคล้ายกับเห็ดหลินจือแต่มีขนาดที่ใหญ่กว่าเห็ดหลินจือหลายเท่าตัว และมีการเจริญซ้อนทับกันเป็นชั้น หมวกเห็ดด้านบนมีสีน้ำตาลดำส่วนด้านใต้มีสีอ่อนกว่า ( ดูรูปที่ 1 ประกอบ ) เห็ดดังกล่าวนี้กำลังเป็นที่นิยมสนใจในตลาดและมีรายงานการค้นคว้าวิจัย และการนำไปประยุกต์ใช้ ภาพที่ 1 เห็ดPhellinus linteus Leo JLD Van Griensven and H. Savelkoul ได้รายงานผลการทดสอบฤทธิ์ที่มีอยู่ในสารสกัดPhellinus linteusโดยศึกษา ค้นคว้าทางชีวเคมีและทางชีววิทยาระดับโมเลกุล พบสารซึ่งมีฤทธิ์ทางยาใน ได้แก่ โพลีแซค-คาไลด์ D6 (Polysaccharide D6), ไตรเทอร์พีนอยด์ (Triterpenoids), อดีโนซีน ( Adenosine ) และสารโปรตีนกลุ่มอื่น ๆ นอกจากนี้ยังพบว่าสารสกัดจาก Phellinus linteus มีประสิทธิผลในการกระตุ้น IL-10 ซึ่งเป็นตัวควบคุมระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ อย่างมีนัยสำคัญโดยการทดสอบ ELISA จากข้อมูลหลายด้านที่มีอยู่ประกอบกับความต้องการในระดับอุตสาหรรมและการรักษาทางคลินิก ผู้ทำวิจัยจึงเห็นถึงประโยชน์ของเห็ดดังกล่าว จึงมีความต้องการในการที่จะนำเอาสารสกัดจากเห็ด Phellinus linteusซึ่งได้รับการสนับสนุนจากทางบริษัทอินทิเกรเต็ด โปรโมชั่น เทคโนโลยี จำกัด เตรียมยาในรูปแบบยาเตรียมยาเหน็บ ในการรักษาโรคในสัตว์เลี้ยง ได้แก่ สุนัขและแมว ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงที่นิยมในคนไทยและคนต่างชาติ จากผลิตภัณฑ์ของเห็ด Phellinus linteusในท้องตลาดมีเพียงรูปแบบสารสกัดที่เป็นน้ำและผงแห้งเท่านั้น ลักษณะภายนอกของยาเหน็บที่สังเกตได้ ตารางที่ 1 ลักษณะภายนอกของยาเหน็บ 2. ความแข็ง ( mechanical strength ) แผนภูมิที่ 1 ความแข็งของตัวยาสำคัญ (mechanical strength ) 3. ความสม่ำเสมอของตัวยาสำคัญ ( uniformity of content ) ตารางที่ 2 ความสม่ำเสมอของตัวยาสำคัญ ( uniformity of content ) วัตถุประสงค์ เพื่อทำการตั้งตำรับยาเหน็บทวารหนักจากสารสกัดเห็ด Phellinuslinteus เพื่อตรวจสอบและประเมินคุณภาพวัตถุดิบจากสารสกัดที่ได้จากเห็ด เพื่อตรวจสอบและประเมินคุณภาพยาเหน็บที่ตั้งตำรับให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานกำหนด วิธีการศึกษา 1. ทบทวนวรรณกรรม สำรวจข้อมูล 2. ขั้นการหาตำรับยาพื้นและการเตรียมตำรับยาเหน็บทวารจากสารสกัด 3. การตรวจสอบและประเมินคุณภาพ แบ่งการตรวจสอบและประเมินคุณภาพออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้ ทำการประเมินทดสอบทันทีหลังจากเตรียมเสร็จ ทำการประเมินทดสอบหลังจากการเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 1 เดือน ทำการประเมินทดสอบหลังจากการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4◦C เป็นเวลา 1 เดือน 5. สรุปและอภิปรายผลการทดลอง 6. ประเมินผลและจัดทำรูปเล่มรายงาน สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ ยาพื้นที่เหมาะสมกับการนำมาตำรับยาเหน็บทวารหนักจากสารสกัดเห็ด Phellinus linteus คือยาพื้นตำรับที่ 3 โดยมีส่วนประกอบของ PEG 4000, PEG1540, PEG 400 ในอัตราส่วน 50 : 30 : 20 ตามลำดับ ลักษณะภายนอกมีความเรียบเนียน มันวาวเล็กน้อย มีการกระจายตัวที่ดีไม่พบฟองอากาศอยู่ภายในเม็ดยา มีสีน้ำตาลเข้ม เมื่อบีบจะมีลักษณะที่นุ่มเล็กน้อย การนำไปทำการตรวจสอบและประเมินคุณภาพตามข้อกำหนดและวิธีการที่เป็นที่ยอมรับพบว่า ยาเหน็บที่เตรียมได้มีลักษณะเป็นไปตามข้อกำหนด มีความคงตัวในอุณหภูมิที่แตกต่างกันคือ อุณหภูมิห้องและที่ 4◦C โดยยังคงมีลักษณะภายนอกที่ไม่เปลี่ยนแปลง ความแข็งของเม็ดยาเหน็บเพิ่มขึ้นแต่พบทั้งในการเก็บที่อุณหภูมิห้องและที่ 4◦C จุดหลอมเหลวที่อุณหภูมิประมาณ 54.8◦C โดยสภาวะที่เก็บรักษาไม่มีผลเปลี่ยนแปลงจุดหลอมเหลว ใช้เวลาในการแตกตัวประมาณ 13 – 15 นาที ความสม่ำเสมอของตัวยาสำคัญ ( uniformity of content )เป็นไปตามข้อกำหนดคือไม่มียาเหน็บเม็ดใดที่ค่าเฉลี่ยเกินช่วง 85 – 115% ของค่าเฉลี่ย และ %RSD ไม่เกิน 6 เอกสารอ้างอิง • The United States Pharmacopeia 30, The National Formulary 25, Maryland, United States Pharmacopeial Convention, 2007 • Gold M., Vepuri M., Block, LH. (1996) Suppository development and production. In : Lieberman, HA, Reiger, MM, Banker, GS.Pharmaceutical dosage forms : Disperse systems volume II. 2nd ed. New York, Marcel Dekker. • Leo JLD Van Griensven and H. Savelkoul. Effects of mushroom glucans on the cytokine expression of human peripheral blood mononuclear cells. อ้างในหนังสือ แฟรงค์ ชาญบุญญสิทธิ์. สมุนไพรว่าด้วยเห็ดหลิงจือพันปี. ศูนย์ค้นคว้าวิจัยเห็ดฟีลินัสธรรมชาติไทย-เกาหลี : บริษัทอินทิเกรเต็ด โปรโมชั่น เทคโนโลยี จำกัด : กรุงเทพ.2550.

More Related