1 / 31

การประยุกต์ใช้วิธีวิทยาวงศาวาทกรรม ในงานวิจัยความรุนแรงต่อผู้หญิง

การประยุกต์ใช้วิธีวิทยาวงศาวาทกรรม ในงานวิจัยความรุนแรงต่อผู้หญิง. ชเนตตี ทินนาม Ph.D. (candidate) คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต chanettee_tinnam@yahoo.com. วงศาวาทกรรม หรือ “Genealogy” คือวิธีการแกะรอยวาทกรรมในพื้นที่ประวัติศาสตร์

Download Presentation

การประยุกต์ใช้วิธีวิทยาวงศาวาทกรรม ในงานวิจัยความรุนแรงต่อผู้หญิง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การประยุกต์ใช้วิธีวิทยาวงศาวาทกรรมในงานวิจัยความรุนแรงต่อผู้หญิงการประยุกต์ใช้วิธีวิทยาวงศาวาทกรรมในงานวิจัยความรุนแรงต่อผู้หญิง ชเนตตี ทินนาม Ph.D. (candidate) คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต chanettee_tinnam@yahoo.com

  2. วงศาวาทกรรม หรือ “Genealogy” คือวิธีการแกะรอยวาทกรรมในพื้นที่ประวัติศาสตร์ เป็นวิธีวิทยาทางประวัติศาสตร์ในกระบวนทัศน์หลังสมัยใหม่ พัฒนาโดย Michel Foucaultนักปรัชญาชาวฝรั่งเศส วงศาวาทกรรม (Genealogy)คืออะไร? 1926-1984

  3. ที่มาของวิธีวิทยา “วงศาวาทกรรม” แนวคิดมนุษย์นิยม วงศาวาทกรรม Genealogy ≠ ประวัติศาสตร์แบบHegel

  4. Hegel เชื่อว่าสรรพสิ่งทั้งหลายกำลังพัฒนาไปสู่ความก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ สิ่งใหม่ดีกว่าสิ่งเก่า มนุษย์ก็อยู่ในวิวัฒนาการของความก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ ลักษณะของวิวัฒนาการเป็นแบบต่อเนื่อง หมายความว่าสรรพสิ่งทั้งหลายมีสาระหรือธาตุแท้ที่เปลี่ยนแปลงท่ามกลางบริบทต่างๆอย่างไม่ขาดตอน วิวัฒนาการทั้งหลายมีทิศทางหรือแนวโน้มที่ถูกกำกับโดยเป้าหมายบางอย่าง อาทิ เสรีภาพ การเข้าถึงจิตขั้นสูงสุด สังคมไม่มีชนชั้น Foucault สรรพสิ่งมิได้วิวัฒนาการมาทีละขั้น แต่ประวัติศาสตร์เป็นผลมาจากการปะทะประสานผันแปรและกลายตัวของวาทกรรม ความเป็นมาของสรรพสิ่งมิได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง แต่กลับเต็มไปด้วยจุดหักเห แตกดับจากภาวะเดิม และเกิดเป็นภาวะใหม่อยู่เรื่อยๆ เมื่อองค์ประกอบของวาทกรรมเปลี่ยนไปก็จะแตกหักยุติความเป็นสิ่งนั้น แล้วกลายเป็นสิ่งใหม่แทน ไม่เชื่อว่าปลายทางของประวัติศาสตร์จะมีความเป็นอุดมคติอยู่จริง นอกจากเครือข่ายของวาทกรรมและอำนาจที่กระจายอยู่ทุกจุด HegelVs.Foucault

  5. Hegel “อดีต” มีส่วนในการกำหนด “ปัจจุบัน” สิ่งต่างๆที่เราพบเห็นในปัจจุบันล้วนแล้วแต่มีอดีตทั้งสิ้น แม้ว่าอดีตของสิ่งนั้นอาจมีลักษณะหรือคุณสมบัติบางอย่างแตกต่างไปจากปัจจุบันบ้างแต่เราสามารถหาสิ่งนั้นๆในอดีตได้ เชื่อมั่นในพลังอำนาจและศักยภาพของมนุษย์ตามแนวคิดมนุษย์นิยม ดังนั้นประวัติศาสตร์จึงเป็นเรื่องราวของบุคคลสำคัญ ราชวงศ์ วีรบุรุษ ศูนย์กลางอำนาจต่างๆ Foucault “ปัจจุบัน” เป็นผู้กำหนดประวัติศาสตร์ เรื่องราวในอดีตถูกเลือกสรร ตีความจากมุมมองของปัจจุบัน ไม่เชื่อในความเป็นแก่นแท้แน่นอนของสรรพสิ่ง ดังนั้น ประวัติศาสตร์มิใช่เป็นเรื่องราวของศูนย์กลางอำนาจ หรือโดยบุคคลสำคัญคนใดคนหนึ่ง เท่านั้น โดยนัยนี้ฟูโกต์สนใจประวัติศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องราวในชีวิตประจำวันรวมทั้งเสียงเล็กๆของผู้คนที่อยู่ชายขอบของสังคม

  6. คำสำคัญในการวิเคราะห์วงศาวาทกรรม(Genealogy)คำสำคัญในการวิเคราะห์วงศาวาทกรรม(Genealogy) • Discourse • Emergence • Descent • Discontinuity • Threshold • Rupture • Break • Transformation • Mutation • Power & Resistance

  7. Discourse/วาทกรรม (1) • วาทกรรมคือการสื่อความหมาย แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่สอดคล้อง โต้แย้ง หรือเป็นเสริมแต่งกับชุดวาทกรรมอื่น ความสัมพันธ์ของวาทกรรมก่อให้เกิดการยอมรับในสิ่งหนึ่งหรือการกีดกันออกไป • หน่วยพื้นฐานของวาทกรรมคือข้อความที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกันบนพื้นที่และทำให้เกิดบริบท โดยข้อความเหล่านี้อาจปรากฏตัว หรือถูกแทนที่โดยข้อความอื่น • วาทกรรมเป็นเครือข่ายของกฎเกณฑ์ ค่านิยม ความรับรู้ ความเข้าใจร่วม มาตรฐาน ความเชื่อ ในเรื่องต่างๆของชีวิตมนุษย์

  8. Discourse/วาทกรรม (2) • วาทกรรมมาจากการสื่อสารของคนจำนวนมาก จนยากที่จะรู้ที่มาและไม่มีผู้ใดสามารถอ้างความเป็นเจ้าของวาทกรรมนั้นได้ • บริบททางประวัติศาสตร์ จะเป็นที่ซึ่งวาทกรรมจำนวนมหาศาลดำรงอยู่ วาทกรรมมิได้เผยตัวออกมาตรงๆ หากแต่มาจากการประสานกันเข้าของการสื่อความผ่าน กฎเกณฑ์ ความรู้ ความเชื่อ มาตรฐาน ความจริงของยุคสมัยที่ครอบคลุมวิถีชีวิตมนุษย์ • วาทกรรมเป็นทั้งเครื่องมือและผลของอำนาจทั้งยังเป็นแหล่งที่มาของการต่อต้าน

  9. Emergence/การเผยตัว • การเผยตัวของวงศาวาทกรรมมิได้ตั้งต้นมาจากจุดใดจุดหนึ่งในประวัติศาสตร์หรือโดยบุคคลสำคัญคนใดคนหนึ่งการเผยตัวคือช่วงขณะหนึ่งๆที่วัตถุหรือสิ่งหนึ่งเริ่มมีสภาพเช่นนั้น เป็นภาวะที่พลังขององค์ประกอบด้านต่างๆมาปะทะประสานเป็นวาทกรรม

  10. Descent/การสืบสาย • การค้นหาแหล่งที่มาของวาทกรรมด้วยการแยกธาตุสิ่งนั้นออกเป็นองค์ประกอบต่างๆ คล้ายกับการแยกออกของสิ่งหนึ่ง จากนั้นเข้าแทนที่ด้วยอีกสิ่งหนึ่ง แสดงให้เห็นปัจจัยที่หลากหลายเบื้องหลังเหตุการณ์

  11. Discontinuity/ความไม่ต่อเนื่องDiscontinuity/ความไม่ต่อเนื่อง • คือการค้นหาการแตกร้าว รอยปริแตก การแตกหัก ความผันแปร และการกลายพันธุ์ของวาทกรรม อันเป็นผลมาจากการหักเหของทฤษฎี จุดเปลี่ยนของระบบความคิด (episteme)ของยุคสมัยด้วยการทำให้แยกแตกออกจากอุดมการณ์เดิมของอดีตและเผยให้เห็นอุดมการณ์แห่งอดีตนั้น

  12. คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับ Discontinuity • Threshold/การแตกร้าวของวาทกรรม • Rupture/การปริแตกของวาทกรรม • Break/การแตกหักของวาทกรรม • Transformation/การผันแปรของวาทกรรม • Mutation/การกลายพันธุ์ของวาทกรรม

  13. Power & Resistance/อำนาจและการต่อสู้ (1) • 1.อย่ามัวสนใจแต่อำนาจที่เป็นระบบเช่นกฎหมายหรือ อำนาจรัฐ แต่ควรสนใจอำนาจที่แผ่กระจายไปถึงปลายทางของระบบ เพราะอำนาจมีทุกแห่งดังนั้นควรสนใจอำนาจ ณ เหตุการณ์ย่อย ๆ ทั้งหลายในชีวิตมนุษย์ด้วย • 2. อำนาจอยู่ในความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ อำนาจเกิดได้เสมอไม่ว่าจะจงใจหรือไม่ อย่ามัวแต่สนใจเหตุที่มาของอำนาจแต่ควรสนใจการกระทำและผลของอำนาจ • 3. อำนาจเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแยกแยะว่าใครมีมากน้อยกว่ากันเพราะอำนาจอยู่วนเวียน กระจัดกระจายทั่วสังคมทุกขณะที่มีวาทกรรม

  14. Power & Resistance (2) • 4.เมื่อเกิดการใช้อำนาจผ่านกลไกต่างๆในความสัมพันธ์ทางสังคม อำนาจต้องพัฒนาตัวเองต่อไปด้วยการสร้างความรู้ขึ้นรองรับเพื่อการอธิบายอำนาจนั้น • 5.อย่าคิดว่าอำนาจจะมีเฉพาะด้านที่กดขี่ อำนาจมีผลด้านบวกด้วยได้แก่การสร้างวาทกรรมต่างๆจนกลายเป็นอารยธรรม • 6. ที่ใดมีอำนาจ ที่นั่นมีการต่อสู้ การมองอำนาจในลักษณะความสัมพันธ์ทำให้เห็นถึงการต่อต้านขัดขืนและการเอาชนะอำนาจเสมอ

  15. การเผยตัวและการสืบสายวาทกรรมการเผยตัวและการสืบสายวาทกรรม อำนาจและการต่อสู้ อดีต วาทกรรมb วาทกรรมa อำนาจและการต่อสู้ วาทกรรม c วาทกรรม ab ความไม่ต่อเนื่อง ปัจจุบัน วาทกรรม abcf วาทกรรม abce วาทกรรม abcd แนวคิดวงศาวาทกรรม

  16. การประยุกต์ใช้วงศาวาทกรรมในการศึกษาเรื่อง “วงศาวาทกรรมการสื่อสารความรุนแรงต่อผู้หญิง” ( พ.ศ.2449-2549)

  17. แนวคิดในการวิจัยความรุนแรงต่อผู้หญิงแนวคิดในการวิจัยความรุนแรงต่อผู้หญิง • วงศาวาทกรรม (genealogy) • แนวคิดสตรีนิยมแบบผสมผสาน • แนวคิดความรุนแรงต่อผู้หญิง

  18. แนวคิดสตรีนิยม สตรีนิยมหลังสมัยใหม่ -ยอมรับความหลากหลากหลายของผู้หญิง -คัดค้านความเป็นสากล ความรู้ อำนาจที่ทำให้หญิงด้อยกว่าชาย -ปฏิเสธแนวคิดคู่ตรงข้าม -ให้ความสำคัญกับมุมมองท้องถิ่นและบริบทประวัติศาสตร์ -วาทกรรมการกดขี่ผู้หญิงไม่ได้มีความหมายเดียว -สถาปนาการเขียนแบบผู้หญิงเป็นวิธีการต่อสู้ สตรีนิยมสังคมนิยม -ชนชั้น -ทุนนิยม -ชายเป็นใหญ่ -เพศวิถี -โครงสร้างสังคม -โครงสร้างเศรษฐกิจ -โครงสร้างวัฒนธรรม สตรีนิยมถอนรากถอนโคน -ชนชั้นทางเพศ -เพศสภาพ -อคติทางเพศ -ชาติพันธุ์ -โครงสร้างสังคม การเมือง ศาสนา การศึกษา ครอบครัว ระบบคิดชายเป็นใหญ่ -การเมืองเรื่องส่วนตัว สตรีนิยมเสรีนิยม -สิทธิ เสมอภาค -การแก้ไขกฎหมาย -พื้นที่ทางสังคม อาชีพ การศึกษา

  19. สิ่งที่มองเห็น ความรุนแรงทางตรง ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง สิ่งที่มองไม่เห็น ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม ภูเขาน้ำแข็งกับความรุนแรงต่อผู้หญิง

  20. ข้อมูลที่ใช้ในวิเคราะห์วงศาวาทกรรมข้อมูลที่ใช้ในวิเคราะห์วงศาวาทกรรม

  21. ภาพจิตรกรรม

  22. นางเยี่ยม ใจเด็ด “อายุ 22 ปี ต้องหาของกรมอัยการว่าฆ่านายอะมาร์นาทชาติแขกบังคับอังกฤษ ที่ห้องชั้นบนของผู้ตาย จำเลยสารภาพโดยชื่นตา ว่าตนเปนผู้ฆ่าเพื่อป้องกันการอนาจารอันทารุณของผู้ตาย บัดนี้เปนที่น่ายินดี ซึ่งนางเยี่ยมได้รับความอิศระภาพโดยชอบธรรมจากคำพิพากษาศาลคดีต่างประเทศ แต่เมื่อวันที่ 1 เดือนนี้แล้ว” (สตรีไทย 29 มีนาคม 2468) ข่าว/ภาพถ่าย

  23. โฆษณา โฆษณา รถเจ้ากรรมมันโกง อิฉันแก้อยู่หลายชั่วโมง เดินไม่ได้หมดปัญญา เอ๊ะ!คุณนายนั่นทำอะไรกับมือ เลอะเทอะอย่างนั้น ผมจะช่วยเข็นไปยังที่ซึ่ง มีอาหารให้มันกินและเป็น อาหารที่เหมาะแก่รถที่สุด หะๆๆๆก็รถไม่มีน้ำมันคุณนาย จะให้มันวิ่งอย่างไร โซโกนี น้ำมันที่ให้คุณ ประโยชน์แก่รถมากที่สุด มีกำลังแรงและไม่เปลือง ประหยัดทรัพย์ดีที่สุด รถได้พาเขาทั้งสองวิ่ง ไปอย่างรวดเร็วด้วยอำนาจของโซโกนี สยามราษฎร์ 30 กันยายน 2474

  24. คนขาย: ห่อหมกแม่เอ๊ย ร้อนๆจ้า ผู้หญิง: ซื้อพ่อพักตร์สองห่อ วุ๊ย ! เผลอไป (สตรีไทย 1 พฤศจิกายน 2468) การ์ตูน

  25. “หล่อนเจียมเนื้อเจียมตัวว่าเป็นหญิงคนชั่วไม่ใช่หญิงธรรมดาสามัญอันมีคุณสมบัติและความบริสุทธิ์ผุดผ่องพอที่จะเป็นแม่ของเด็กซึ่งเกิดจากวิทย์ชายหนุ่มผู้มีตระกูลสูง”“หล่อนเจียมเนื้อเจียมตัวว่าเป็นหญิงคนชั่วไม่ใช่หญิงธรรมดาสามัญอันมีคุณสมบัติและความบริสุทธิ์ผุดผ่องพอที่จะเป็นแม่ของเด็กซึ่งเกิดจากวิทย์ชายหนุ่มผู้มีตระกูลสูง” วาทกรรมโสเภณี วรรณกรรม วาทกรรมพรหมจารี วาทกรรมความเป็นแม่ ชนชั้น (ก. สุรางคนางค์,หญิงคนชั่ว,2480: น. 152)

  26. ภาพยนตร์

  27. ตัวอย่างชุดวาทกรรมพรหมจารีตัวอย่างชุดวาทกรรมพรหมจารี 2449-2519

  28. วาทกรรมกุลสตรี วาทกรรมความรัก ปิตาธิปไตย 2449-2470 วาทกรรมพรหมจารี มายาคติในข่าว วาทกรรมความงาม ปิตาธิปไตย วาทกรรมรักต้องฉุด วาทกรรมเพศห้ามพูด ศีลธรรม วาทกรรมการแพทย์ ชนชั้น 2471-2512 ปิตาธิปไตย วาทกรรมความเป็นแม่ อาชีพ วาทกรรมโสเภณี ทุนนิยม ประเพณี วาทกรรมตอบโต้ วาทกรรมพรหมจารี ชนชั้น วาทกรรมความงาม ปิตาธิปไตย 2513-2519 วาทกรรมการแพทย์ ปิตาธิปไตย ทุนนิยม วาทกรรมการแพทย์ วาทกรรมพรหมจารี วาทกรรมตอบโต้

  29. จบการนำเสนอ ขอบคุณค่ะ

More Related